เตือนผู้ส่งออกรับมือบาทแข็งปีหน้าแตะ 32.5 บาท/ดอลลาร์ หลังเงินต่างชาติไหลเข้าเอเชีย ทำให้ค่าเงินในภูมิภาคนี้แข็งค่า ขณะที่ราคาพลังงานทั้งน้ำมัน-ถ่านหิน-ค่าระวางเรือ ขยับเพิ่มสูงขึ้น โดยประเมิน ศก.ไทยปีนี้โต 3-3.7%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง Global Trading Outlook 2010 วานนี้ (30 ก.ย.) ว่า ในปีนี้ไทยมีโอกาสเกินดุลการค้าประมาณ 2 หมื่นล้านบาท จากช่วง 7 เดือนแรก ไทยเกินดุลการค้าไปแล้ว 1.3 หมื่นล้านบาท ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น ไม่ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยด้อยลง เนื่องจากค่าเงินในภูมิภาคนี้ก็แข็งค่าขึ้นเช่นกันส่วนเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงในอีก 2-3 ปีข้างหน้า แต่เงินหยวนของจีนจะแข็งค่าขึ้นแทน ทำให้ค่าเงินบาทในปี 2553 จะแข็งขึ้นค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 32.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจุบันอยู่ที่ 33.50 บาท/ดอลลาร์
ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรวางแผนรับมือกับค่าเงินบาทที่จะแข็งค่าขึ้นในอนาคต ซึ่งโอกาสที่จะเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่ามาอยู่ที่ระดับ 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ คงเป็นไปได้ยาก ในปีหน้าคาดการณ์ว่า จีดีพีไทยจะขยายตัว 3% หากสถานการณ์การเมืองไทยนิ่ง ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย มีโอกาสปรับขึ้นในช่วงไตรมาส 2/2553 ร้อยละ 0.5 แต่ยังเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำอยู่ ขณะที่ค่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2%
นายจรัมพร โชติกเสถียร รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่าธนาคารไทยพาณิชย์ มองเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะขยายตัวอยู่ที่ 3.7% เนื่องจากมีตัวขับเคลื่อนมาจากภาคการผลิตทั้งพืชผลทางการเกษตรที่โตขึ้น ภาคอุตสาหกรรม การใช้จ่ายของภาครัฐผ่านกองทุนไทยเข้มแข็ง ที่คาดว่า จะมีการเบิกจ่ายในปี 2553 ประมาณ 2 แสนล้านบาท และการลงทุนเอกชนหลังจากที่มีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม ในภาคการท่องเที่ยวยังน่าเป็นห่วงในปีหน้า จากตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่หายไป แต่ทั้งนี้ มองว่า ระยะ 2-3 ปี การท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัวขึ้นมา ขณะที่ราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 70-75 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ในปีหน้าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอย่างแน่นอนตามการอ่อนค่าของดอลลาร์ เนื่องจากเงินตราต่างประเทศไหลเข้าในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมองว่าจะเป็นภูมิภาคที่ฟืนตัวก่อนสหรัฐฯและยุโรป รวมทั้งเป็นจะขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคนี้แข็งค่า ดังนั้นเอกชนไทยจำเป็นต้องเร่งลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและหาตลาดใหม่เพื่อให้สามารถแข่งขันได้
นายสุรงค์ บูลกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยมีการพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าสูงกว่า 70% ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านพลังงาน ภาครัฐจำเป็นวางนโยบายในการกระจายการใช้พลังงานอื่นๆมาแทนไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ แม้ว่าก๊าซจะเป็นพลังงานที่มีราคาต่ำ แต่เมื่อพิจารณาจากแหล่งผลิตในอ่าวไทย มีเหลือใช้เพียง 30 ปี ทำให้ไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง พม่า มาเลเซีย เป็นต้น
ขณะเดียวกัน การสนับสนุนด้านราคาแอลพีจีของภาครัฐทำให้มีการใช้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งๆ ที่ราคาตลาดโลกอยู่ตันละ 570 เหรียญสหรัฐฯ แต่ถูกควบคุมราคาอยู่ที่ 350 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ทำให้ไทยต้องนำเข้าแอลพีจีเดือนละ 6-8 หมื่นตัน สูญเสียเงินตราต่างประเทศ สำหรับราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 4 นี้จะอยู่ที่ 70 เหรียญสหรัฐฯ และปีหน้าจะปรับขึ้นมาอีกเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้อย่างแท้จริง โดยมองว่าการใช้น้ำมันโลกผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ขณะที่กำลังการผลิตของกลุ่มโอเปคยังเกินอยู่ 1 ล้านบาร์เรล/วัน
นายกลินท์ สารสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ค้าสากลซิเมนต์ไทย จำกัด (SCT) กล่าวว่าแนวโน้มราคาถ่านหินในปีหน้าจะปรับตัวเพิ่มระหว่าง 70-90 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ผนวกกับความต้องการใช้จากจีนและอินเดียที่เพิ่ม ซึ่งจีนและอินเดียจะเป็นประเทศที่มีบทบาททำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวในปีหน้า โดยรัฐบาลอินเดียมีนโยบายที่จะลงทุนด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นขณะที่จีนก็มีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศต่อเนื่อง
นายสุเมธ ตันธุวนิตย์ กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท โงวฮก กล่าวว่า ในปีหน้าค่าระวางเรือขนส่งสินค้ามีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีปริมาณเรือใหม่เข้ามาในระบบ เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และช่วงต้นปีนี้ บริษัทเดินเรือรายใหญ่ของโลกต่างประสบปัญหาการขาดทุนอย่างมาก ทำให้ภาครัฐต้องเข้าไปอุ้มหลังจากอุปสงค์ของการขนส่งทางเรือโดยรวมลดลง9.14% โดยช่วงที่ผ่านมา ค่าระวางเรือแบบเทกองสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากจีนมีการนำเข้าแร่เหล็กและถ่านหินจำนวนมาก ทำให้ซัปพลายเรือลดลง แต่ปีหน้าเชื่อว่า แนวโน้มการนำเข้าเช่นนี้จากจีนคงไม่น่าเพิ่มขึ้น เพราะรัฐบาลจีนประกาศคุมเข้มอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก
นายธนวรรธน์ พลวิชัย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง Global Trading Outlook 2010 วานนี้ (30 ก.ย.) ว่า ในปีนี้ไทยมีโอกาสเกินดุลการค้าประมาณ 2 หมื่นล้านบาท จากช่วง 7 เดือนแรก ไทยเกินดุลการค้าไปแล้ว 1.3 หมื่นล้านบาท ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น ไม่ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยด้อยลง เนื่องจากค่าเงินในภูมิภาคนี้ก็แข็งค่าขึ้นเช่นกันส่วนเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงในอีก 2-3 ปีข้างหน้า แต่เงินหยวนของจีนจะแข็งค่าขึ้นแทน ทำให้ค่าเงินบาทในปี 2553 จะแข็งขึ้นค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 32.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจุบันอยู่ที่ 33.50 บาท/ดอลลาร์
ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรวางแผนรับมือกับค่าเงินบาทที่จะแข็งค่าขึ้นในอนาคต ซึ่งโอกาสที่จะเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่ามาอยู่ที่ระดับ 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ คงเป็นไปได้ยาก ในปีหน้าคาดการณ์ว่า จีดีพีไทยจะขยายตัว 3% หากสถานการณ์การเมืองไทยนิ่ง ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย มีโอกาสปรับขึ้นในช่วงไตรมาส 2/2553 ร้อยละ 0.5 แต่ยังเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำอยู่ ขณะที่ค่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2%
นายจรัมพร โชติกเสถียร รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่าธนาคารไทยพาณิชย์ มองเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะขยายตัวอยู่ที่ 3.7% เนื่องจากมีตัวขับเคลื่อนมาจากภาคการผลิตทั้งพืชผลทางการเกษตรที่โตขึ้น ภาคอุตสาหกรรม การใช้จ่ายของภาครัฐผ่านกองทุนไทยเข้มแข็ง ที่คาดว่า จะมีการเบิกจ่ายในปี 2553 ประมาณ 2 แสนล้านบาท และการลงทุนเอกชนหลังจากที่มีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม ในภาคการท่องเที่ยวยังน่าเป็นห่วงในปีหน้า จากตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่หายไป แต่ทั้งนี้ มองว่า ระยะ 2-3 ปี การท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัวขึ้นมา ขณะที่ราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 70-75 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ในปีหน้าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอย่างแน่นอนตามการอ่อนค่าของดอลลาร์ เนื่องจากเงินตราต่างประเทศไหลเข้าในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมองว่าจะเป็นภูมิภาคที่ฟืนตัวก่อนสหรัฐฯและยุโรป รวมทั้งเป็นจะขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคนี้แข็งค่า ดังนั้นเอกชนไทยจำเป็นต้องเร่งลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและหาตลาดใหม่เพื่อให้สามารถแข่งขันได้
นายสุรงค์ บูลกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยมีการพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าสูงกว่า 70% ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านพลังงาน ภาครัฐจำเป็นวางนโยบายในการกระจายการใช้พลังงานอื่นๆมาแทนไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ แม้ว่าก๊าซจะเป็นพลังงานที่มีราคาต่ำ แต่เมื่อพิจารณาจากแหล่งผลิตในอ่าวไทย มีเหลือใช้เพียง 30 ปี ทำให้ไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง พม่า มาเลเซีย เป็นต้น
ขณะเดียวกัน การสนับสนุนด้านราคาแอลพีจีของภาครัฐทำให้มีการใช้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งๆ ที่ราคาตลาดโลกอยู่ตันละ 570 เหรียญสหรัฐฯ แต่ถูกควบคุมราคาอยู่ที่ 350 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ทำให้ไทยต้องนำเข้าแอลพีจีเดือนละ 6-8 หมื่นตัน สูญเสียเงินตราต่างประเทศ สำหรับราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 4 นี้จะอยู่ที่ 70 เหรียญสหรัฐฯ และปีหน้าจะปรับขึ้นมาอีกเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้อย่างแท้จริง โดยมองว่าการใช้น้ำมันโลกผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ขณะที่กำลังการผลิตของกลุ่มโอเปคยังเกินอยู่ 1 ล้านบาร์เรล/วัน
นายกลินท์ สารสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ค้าสากลซิเมนต์ไทย จำกัด (SCT) กล่าวว่าแนวโน้มราคาถ่านหินในปีหน้าจะปรับตัวเพิ่มระหว่าง 70-90 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ผนวกกับความต้องการใช้จากจีนและอินเดียที่เพิ่ม ซึ่งจีนและอินเดียจะเป็นประเทศที่มีบทบาททำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวในปีหน้า โดยรัฐบาลอินเดียมีนโยบายที่จะลงทุนด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นขณะที่จีนก็มีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศต่อเนื่อง
นายสุเมธ ตันธุวนิตย์ กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท โงวฮก กล่าวว่า ในปีหน้าค่าระวางเรือขนส่งสินค้ามีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีปริมาณเรือใหม่เข้ามาในระบบ เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และช่วงต้นปีนี้ บริษัทเดินเรือรายใหญ่ของโลกต่างประสบปัญหาการขาดทุนอย่างมาก ทำให้ภาครัฐต้องเข้าไปอุ้มหลังจากอุปสงค์ของการขนส่งทางเรือโดยรวมลดลง9.14% โดยช่วงที่ผ่านมา ค่าระวางเรือแบบเทกองสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากจีนมีการนำเข้าแร่เหล็กและถ่านหินจำนวนมาก ทำให้ซัปพลายเรือลดลง แต่ปีหน้าเชื่อว่า แนวโน้มการนำเข้าเช่นนี้จากจีนคงไม่น่าเพิ่มขึ้น เพราะรัฐบาลจีนประกาศคุมเข้มอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก