อีกแล้ว! รัฐบาลส่อเจ๊ง ระบายมันสำปะหลังในสต๊อก คาดขาดทุนไม่ต่ำกว่า 6 พันล้านบาท เพราะจำนำราคาสูง แต่มีแนวโน้มขายได้ราคาต่ำ ไม่ว่าจะใช้วิธีใดๆ ก็ตาม ทั้งขายจีทูจี ขายให้เอกชนต่างประเทศ ในประเทศ และให้ ปตท.รับซื้อไปผลิตเอทานอล เตรียมสรุปวิธีการขายที่ดีที่สุดให้ “กอร์ปศักดิ์” พิจารณาสัปดาห์นี้
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านการตลาดมันสำปะหลัง ที่มี นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบให้กรมการค้าภายใน และองค์การคลังสินค้า (อคส.) ศึกษาวิธีระบายมันสำปะหลังที่เปิดรับจำนำโครงการ 2551/52 โดยแบ่งเป็นมันเส้น 2.8 ล้านตัน และแป้งมัน 7.6 แสนตัน ให้เสร็จ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังที่มี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาให้ทันในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ การระบายมันสำปะหลัง กระทรวงพาณิชย์ศึกษาว่า หากระบายช่วง มี.ค.-เม.ย.2552 รัฐอาจขาดทุนไม่ต่ำกว่า 5,000-6,000 ล้านบาท โดยในส่วนมันเส้น 2.8 ล้านตัน รัฐบาลมีต้นทุนค่าหัวมันรวมค่าแปรสภาพ และค่าเก็บรักษากก.ละ 5.358-5.398 บาท สูงกว่าราคาตลาดที่ กก.ละ 4.10 บาท ซึ่งรัฐจะขายได้ 11,074-11,484 ล้านบาท แต่ขาดทุน 3,398-3,636 ล้านบาท ส่วนแป้งมัน 7.6 แสนตัน มีต้นทุนเฉลี่ยกก.ละ 11.567-11.622 บาท ขณะที่ราคาตลาดเพียง กก.ละ 8.30 บาท ซึ่งรัฐจะขายได้ 5,870-6,288 ล้านบาท แต่ขาดทุน 2,310-2,517 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งระบายออกให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งเก็บไว้นาน ก็ต้องแบกภาระค่าเช่าโกดัง ค่าแรงงาน ค่าตรวจสอบสภาพเพิ่ม อีกทั้งยังทำให้หัวมันเสื่อมสภาพ ยิ่งจะทำให้ขายไม่ได้ราคาอีก นอกจากนี้ โกดังกลางที่ใช้เก็บมันก็เริ่มเต็ม ประกอบกับเริ่มมีฝนตกมาทำให้มันบางโกดังเริ่มเละขึ้นรา ดังนั้น หากไม่รีบขายออก รัฐจะยิ่งขาดทุนมากขึ้น ส่วนเรื่องขายขาดทุนถือเป็นเรื่องปกติ เพราะการแทรงแซงราคามีเป้าหมายเพื่อช่วยเกษตรกร และพยุงราคามันไม่ให้ตกต่ำ
รายงานข่าวแจ้งว่า การศึกษาวิธีระบายมันมี 4 วิธี ได้แก่ 1.การระบายแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) โดยให้กระทรวงพาณิชย์สำรวจดูความต้องการจากรัฐบาลประเทศต่างๆ ว่ามีที่ใดต้องการบ้าง เพื่อนำไปขายทั้งรูปแบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า (บาร์เตอร์เทรด) หรือการขายเงินสด 2.ให้รัฐบาลจำหน่ายให้ภาคเอกชนต่างประเทศโดยตรง 3.รัฐบาลเปิดประมูลขายแก่เอกชนในประเทศ และ 4.การเสนอขายให้กับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน (เอนานอล) โดยจะหารือกับคณะอนุกรรมการด้านพลังงานทดแทน ที่มี รมว.พลังงาน เป็นประธานต่อไป
ทุกวิธีต่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่วิธีจีทูจี น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด เพราะขายได้ปริมาณมาก และกระทบต่อราคาตลาดโลกน้อยกว่า การขายให้เอกชนโดยตรงที่รัฐอาจขาดทุนมาก และกระทบราคาตลาดในประเทศ ส่วนการขายให้ ปตท.ยังมีปัญหาราคาตลาดต่ำกว่าราคาจำนำมาก และเมื่อนำไปผลิตเป็นเอทานอลทำให้มีต้นทุนสูงและมีราคาแพง ซึ่งถ้ารัฐต้องการให้ ปตท.รับซื้อจะต้องหาแนวทางสนับสนุนเรื่องราคาซื้อ และต้นทุนการผลิต
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐรับจำนำมันเข้ามาแล้วประมาณ 8 ล้านตันเศษ และแปรสภาพเป็นมันเส้นและแป้งมันได้ 2.8 ล้านตัน และ 7.6 แสนตัน แต่ยังเปิดรับจำนำเพิ่มอีกจนกว่าจะครบโควตา 10 ล้านตัน ซึ่งระหว่างนี้อาจมีมันเส้น กับแป้งมันเพิ่มอีกได้ ซึ่งทำให้รัฐอาจต้องขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านการตลาดมันสำปะหลัง ที่มี นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบให้กรมการค้าภายใน และองค์การคลังสินค้า (อคส.) ศึกษาวิธีระบายมันสำปะหลังที่เปิดรับจำนำโครงการ 2551/52 โดยแบ่งเป็นมันเส้น 2.8 ล้านตัน และแป้งมัน 7.6 แสนตัน ให้เสร็จ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังที่มี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาให้ทันในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ การระบายมันสำปะหลัง กระทรวงพาณิชย์ศึกษาว่า หากระบายช่วง มี.ค.-เม.ย.2552 รัฐอาจขาดทุนไม่ต่ำกว่า 5,000-6,000 ล้านบาท โดยในส่วนมันเส้น 2.8 ล้านตัน รัฐบาลมีต้นทุนค่าหัวมันรวมค่าแปรสภาพ และค่าเก็บรักษากก.ละ 5.358-5.398 บาท สูงกว่าราคาตลาดที่ กก.ละ 4.10 บาท ซึ่งรัฐจะขายได้ 11,074-11,484 ล้านบาท แต่ขาดทุน 3,398-3,636 ล้านบาท ส่วนแป้งมัน 7.6 แสนตัน มีต้นทุนเฉลี่ยกก.ละ 11.567-11.622 บาท ขณะที่ราคาตลาดเพียง กก.ละ 8.30 บาท ซึ่งรัฐจะขายได้ 5,870-6,288 ล้านบาท แต่ขาดทุน 2,310-2,517 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งระบายออกให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งเก็บไว้นาน ก็ต้องแบกภาระค่าเช่าโกดัง ค่าแรงงาน ค่าตรวจสอบสภาพเพิ่ม อีกทั้งยังทำให้หัวมันเสื่อมสภาพ ยิ่งจะทำให้ขายไม่ได้ราคาอีก นอกจากนี้ โกดังกลางที่ใช้เก็บมันก็เริ่มเต็ม ประกอบกับเริ่มมีฝนตกมาทำให้มันบางโกดังเริ่มเละขึ้นรา ดังนั้น หากไม่รีบขายออก รัฐจะยิ่งขาดทุนมากขึ้น ส่วนเรื่องขายขาดทุนถือเป็นเรื่องปกติ เพราะการแทรงแซงราคามีเป้าหมายเพื่อช่วยเกษตรกร และพยุงราคามันไม่ให้ตกต่ำ
รายงานข่าวแจ้งว่า การศึกษาวิธีระบายมันมี 4 วิธี ได้แก่ 1.การระบายแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) โดยให้กระทรวงพาณิชย์สำรวจดูความต้องการจากรัฐบาลประเทศต่างๆ ว่ามีที่ใดต้องการบ้าง เพื่อนำไปขายทั้งรูปแบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า (บาร์เตอร์เทรด) หรือการขายเงินสด 2.ให้รัฐบาลจำหน่ายให้ภาคเอกชนต่างประเทศโดยตรง 3.รัฐบาลเปิดประมูลขายแก่เอกชนในประเทศ และ 4.การเสนอขายให้กับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน (เอนานอล) โดยจะหารือกับคณะอนุกรรมการด้านพลังงานทดแทน ที่มี รมว.พลังงาน เป็นประธานต่อไป
ทุกวิธีต่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่วิธีจีทูจี น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด เพราะขายได้ปริมาณมาก และกระทบต่อราคาตลาดโลกน้อยกว่า การขายให้เอกชนโดยตรงที่รัฐอาจขาดทุนมาก และกระทบราคาตลาดในประเทศ ส่วนการขายให้ ปตท.ยังมีปัญหาราคาตลาดต่ำกว่าราคาจำนำมาก และเมื่อนำไปผลิตเป็นเอทานอลทำให้มีต้นทุนสูงและมีราคาแพง ซึ่งถ้ารัฐต้องการให้ ปตท.รับซื้อจะต้องหาแนวทางสนับสนุนเรื่องราคาซื้อ และต้นทุนการผลิต
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐรับจำนำมันเข้ามาแล้วประมาณ 8 ล้านตันเศษ และแปรสภาพเป็นมันเส้นและแป้งมันได้ 2.8 ล้านตัน และ 7.6 แสนตัน แต่ยังเปิดรับจำนำเพิ่มอีกจนกว่าจะครบโควตา 10 ล้านตัน ซึ่งระหว่างนี้อาจมีมันเส้น กับแป้งมันเพิ่มอีกได้ ซึ่งทำให้รัฐอาจต้องขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก