สมาคมภัตตาคารไทย ชง “อภิสิทธิ์” พัฒนาร้านอาหารไทยขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ หวั่นตกชะตากรรมเดียวกับโชวห่วยล้มหายตายจาก หลังวิกฤตเศรษฐกิจพ่นพิษ ผจญการแข่งขันธุรกิจอาหารต่างประเทศบุกขยายสาขา ร้านอาหารญี่ปุ่น-อิตาเลียน บูม ผนึก 8 กระทรวง บูรณาการร่วม ส่งโมเดลธุรกิจไก่ย่างส้มตำ ผัดไทย ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกงนำร่อง หวังโกอินเตอร์ต่างประเทศ
วานนี้ (11 มี.ค.) สมาคมภัตตาคารไทยจัดงานเสวนาในหัวข้อ “บทบาทใหม่ สมาคมภัตตาคารไทยกับการอยู่รอดของธุรกิจร้านอาหารไทย” เพื่อยกระดับมาตรฐานอาหารไทยสู่สากล และฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจที่ถดถอย ท่ามกลางการเผชิญกับการแข่งขันรุนแรงจากร้านอาหารต่างประเทศ
นางปวรวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า ทางสมาคมเตรียมเข้าพบกับนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อผลักดันการบูรณาการธุรกิจร้านอาหารไทยสู่มาตรฐานสากล เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทั้งการทำตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยการส่งเสริมผลักดันให้มีการยกระดับมาตรฐานร้านอาหารให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ศักยภาพเติบโตท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในแง่ของการส่งออกมีมูลค่าถึง 5 แสนล้านบาท
“สมาคมได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการปรับตัว และความเร่งด่วนที่ร่วมมือกันฟันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งธุรกิจร้านอาหารนั้นนับว่า น่าจะมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เพื่อการตอบรับรูปแบบการใช้ชีวิต พฤติกรรมการบริโภค ตลอดจนภาวะการแข่งขัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การส่งเสริมผลักดันให้มีการยกระดับมาตรฐานร้านอาหารให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น”
ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจแต่ธุรกิจร้านอาหารไทยยังเติบโตได้ โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ ถือว่ามีศักยภาพมาก เพราะกลุ่มเป้าหมายมีกำลังการซื้อและราคาอาหารต่อเมนูสูง ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าได้มากกว่า โดยวางเป้าหมายขยายร้านอาหารเพิ่มจาก 1.3 หมื่นแห่ง เพิ่มเป็น 1.5 หมื่นแห่ง
สำหรับสถานการณ์ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยมีจำนวน 3 แสนแห่ง หรือมีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี โดยปีที่ผ่านมาและปีนี้ คาดว่า มีการขยายตัว 5% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ พฤติกรรมการกินข้าวลดลง อีกทั้งการแข่งขันยังรุนแรง โดยเฉพาะร้านอาหารต่างประเทศ ซึ่งพบว่า มีการขยายตัวเติบโต 20% เป็นอัตราโตต่อเนื่องทุกปี และปีนี้คาดว่าโต 20%
ในปีนี้คาดว่า ยอดขายของธุรกิจร้านอาหารไทยขนาดใหญ่ 500 ที่นั่ง ลดลง 50% ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ขณะที่อัตราค่าใช้จ่ายร้านอาหารไทยปัจจุบันเหลือ 200 บาทต่อคนต่อหัว ส่วนต่างจังหวัด 100 บาทต่อคนต่อหัว เทียบกับร้านอาหารญี่ปุ่น 400-500 บาทต่อคนต่อหัว
ทั้งนี้ พบว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 500 บริษัท เข้ามาธุรกิจในไทยมีมูลค่า 6,000 ล้านบาท เติบโต 20% และล่าสุดขยายเพิ่มเป็น 1,000 บริษัท พร้อมทั้งมีแนวโน้มว่าร้านอาหารอิตาเลี่ยนขยายตัวอีกมาก
“ที่ผ่านมา โชวห่วยในประเทศไทยล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมากจากแสนแห่ง จนกระทั่งเหลือเพียง 5 หมื่นแห่ง ซึ่งในอนาคตธุรกิจร้านอาหารไทยอาจตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับโชวห่วย เริ่มล้มหายตายจาก เพราะปัจจุบันมีผู้ประกอบรายเล็ก 1.5 แสนราย หรือคิดเป็นกว่า 50% อีกทั้งยังขาดการจัดการ และการยกระดับสู่มาตรฐานสากล”
นางปวรวรรณ กล่าวว่า ทางสมาคมได้วางแนวทางดำเนินการเพื่อยกระดับธุรกิจร้านอาหารไทย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 3-5 ปี โดยแผนระยะสั้น ผนึกกับ 8 กระทรวง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ แรงงาน สาธารณสุข เป็นต้น ออกนโยบาย-ประสานจุดแข็ง อยู่ระหว่างการร่างเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ การบริหารจัดการ และการทำประชาพิจารณ์ จะสรุปและเปิดตัวโครงการได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้
ทั้งนี้ ได้เตรียมพัฒนาโมเดล 4 ร้านต้นแบบ ได้แก่ 1.ร้านไก่ย่างส้มตำ 2.ข้าวแกง 3.ก๋วยเตี๋ยว และ 4.ผัดไทย ออกมานำร่อง โดยใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท และโครงการพัฒนาผู้ประกอบการร้านอาหารสู่ตลาดโลกเพื่อเพิ่มรายได้เข้าประเทศ โดยรุกเข้าไปในประเทศที่มีศักยภาพ อาทิ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อินเดีย ตะวันออกกลาง เป็นต้น
นางปวรวรรณ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีนี้ การที่จะห้ามขายเหล้าเบียร์ ช่วงระยะเวลา 7 วันอันตรายนั้น เท่ากับเป็น 7 วันตายของร้านอาหาร อย่างแน่นอน จากปัจจุบันยอดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 15% และอาหาร 85% ฉะนั้น ทางสมาคมภัตตาคารไทย จึงอยากร้องขอให้นายกฯ เข้ามาพิจารณาก่อนออกประกาศ โดยทางสมาคมเสนอให้ยกเว้นร้านค้าที่มีใบอนุญาต ซึ่งปัจจุบันมี 1.7 แสนราย จาก 3 แสนราย ให้สามารถขายได้หรือผ่อนผันให้เหลือแค่วันเดียว
วานนี้ (11 มี.ค.) สมาคมภัตตาคารไทยจัดงานเสวนาในหัวข้อ “บทบาทใหม่ สมาคมภัตตาคารไทยกับการอยู่รอดของธุรกิจร้านอาหารไทย” เพื่อยกระดับมาตรฐานอาหารไทยสู่สากล และฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจที่ถดถอย ท่ามกลางการเผชิญกับการแข่งขันรุนแรงจากร้านอาหารต่างประเทศ
นางปวรวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า ทางสมาคมเตรียมเข้าพบกับนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อผลักดันการบูรณาการธุรกิจร้านอาหารไทยสู่มาตรฐานสากล เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทั้งการทำตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยการส่งเสริมผลักดันให้มีการยกระดับมาตรฐานร้านอาหารให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ศักยภาพเติบโตท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในแง่ของการส่งออกมีมูลค่าถึง 5 แสนล้านบาท
“สมาคมได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการปรับตัว และความเร่งด่วนที่ร่วมมือกันฟันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งธุรกิจร้านอาหารนั้นนับว่า น่าจะมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เพื่อการตอบรับรูปแบบการใช้ชีวิต พฤติกรรมการบริโภค ตลอดจนภาวะการแข่งขัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การส่งเสริมผลักดันให้มีการยกระดับมาตรฐานร้านอาหารให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น”
ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจแต่ธุรกิจร้านอาหารไทยยังเติบโตได้ โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ ถือว่ามีศักยภาพมาก เพราะกลุ่มเป้าหมายมีกำลังการซื้อและราคาอาหารต่อเมนูสูง ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าได้มากกว่า โดยวางเป้าหมายขยายร้านอาหารเพิ่มจาก 1.3 หมื่นแห่ง เพิ่มเป็น 1.5 หมื่นแห่ง
สำหรับสถานการณ์ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยมีจำนวน 3 แสนแห่ง หรือมีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี โดยปีที่ผ่านมาและปีนี้ คาดว่า มีการขยายตัว 5% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ พฤติกรรมการกินข้าวลดลง อีกทั้งการแข่งขันยังรุนแรง โดยเฉพาะร้านอาหารต่างประเทศ ซึ่งพบว่า มีการขยายตัวเติบโต 20% เป็นอัตราโตต่อเนื่องทุกปี และปีนี้คาดว่าโต 20%
ในปีนี้คาดว่า ยอดขายของธุรกิจร้านอาหารไทยขนาดใหญ่ 500 ที่นั่ง ลดลง 50% ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ขณะที่อัตราค่าใช้จ่ายร้านอาหารไทยปัจจุบันเหลือ 200 บาทต่อคนต่อหัว ส่วนต่างจังหวัด 100 บาทต่อคนต่อหัว เทียบกับร้านอาหารญี่ปุ่น 400-500 บาทต่อคนต่อหัว
ทั้งนี้ พบว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 500 บริษัท เข้ามาธุรกิจในไทยมีมูลค่า 6,000 ล้านบาท เติบโต 20% และล่าสุดขยายเพิ่มเป็น 1,000 บริษัท พร้อมทั้งมีแนวโน้มว่าร้านอาหารอิตาเลี่ยนขยายตัวอีกมาก
“ที่ผ่านมา โชวห่วยในประเทศไทยล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมากจากแสนแห่ง จนกระทั่งเหลือเพียง 5 หมื่นแห่ง ซึ่งในอนาคตธุรกิจร้านอาหารไทยอาจตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับโชวห่วย เริ่มล้มหายตายจาก เพราะปัจจุบันมีผู้ประกอบรายเล็ก 1.5 แสนราย หรือคิดเป็นกว่า 50% อีกทั้งยังขาดการจัดการ และการยกระดับสู่มาตรฐานสากล”
นางปวรวรรณ กล่าวว่า ทางสมาคมได้วางแนวทางดำเนินการเพื่อยกระดับธุรกิจร้านอาหารไทย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 3-5 ปี โดยแผนระยะสั้น ผนึกกับ 8 กระทรวง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ แรงงาน สาธารณสุข เป็นต้น ออกนโยบาย-ประสานจุดแข็ง อยู่ระหว่างการร่างเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ การบริหารจัดการ และการทำประชาพิจารณ์ จะสรุปและเปิดตัวโครงการได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้
ทั้งนี้ ได้เตรียมพัฒนาโมเดล 4 ร้านต้นแบบ ได้แก่ 1.ร้านไก่ย่างส้มตำ 2.ข้าวแกง 3.ก๋วยเตี๋ยว และ 4.ผัดไทย ออกมานำร่อง โดยใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท และโครงการพัฒนาผู้ประกอบการร้านอาหารสู่ตลาดโลกเพื่อเพิ่มรายได้เข้าประเทศ โดยรุกเข้าไปในประเทศที่มีศักยภาพ อาทิ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อินเดีย ตะวันออกกลาง เป็นต้น
นางปวรวรรณ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีนี้ การที่จะห้ามขายเหล้าเบียร์ ช่วงระยะเวลา 7 วันอันตรายนั้น เท่ากับเป็น 7 วันตายของร้านอาหาร อย่างแน่นอน จากปัจจุบันยอดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 15% และอาหาร 85% ฉะนั้น ทางสมาคมภัตตาคารไทย จึงอยากร้องขอให้นายกฯ เข้ามาพิจารณาก่อนออกประกาศ โดยทางสมาคมเสนอให้ยกเว้นร้านค้าที่มีใบอนุญาต ซึ่งปัจจุบันมี 1.7 แสนราย จาก 3 แสนราย ให้สามารถขายได้หรือผ่อนผันให้เหลือแค่วันเดียว