วันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ ทำเกษตรกรไก่ไข่ร้องจ๊าก เหตุคนลดการบริโภค ด้านสมาคม เดินหน้ายื่นหนังสือรัฐวอนช่วยเหลือด่วน
นายสุธี เตชะธนะวัฒน์ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่จากแสงอุไรฟาร์ม จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า เทศกาลปีใหม่ปีนี้มีวันหยุดยาว คนไทยเดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก เป็นเหตุให้การบริโภคไข่ไก่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ลดลง เกิดปัญหาไข่ไก่ส่วนเกินถึงวันละ 3 ล้านฟอง ทำให้ราคาไข่ไก่ตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว ณ ช่วงเทศกาลนี้ราคาไข่คละหน้าฟาร์ม จึงเหลือเพียงฟองละ 1.90 บาท ขณะที่ต้นทุนยังคงอยู่ที่ฟองละ 2.30 บาท ซ้ำเติมภาวะขาดทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่อย่างยิ่ง
“คนเลี้ยงไก่ไข่ ต้องแบกรับภาระขาดทุนอย่างต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี จากราคาไข่ตกต่ำ แต่ไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไขจากภาครัฐ ขณะที่ข้าวโพดกิโลกรัมละ 6 บาท ภาครัฐยังช่วยประกันราคาที่กิโลกรัมละ 8 บาท เป็นการช่วยเหลือคนปลูกข้าวโพดก็จริง แต่ก็ส่งผลกระทบให้ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงขึ้นอีก ต้นทุนการผลิตไข่ไก่ก็จะสูงขึ้นตาม จะเรียกว่า ซ้ำเติมคนเลี้ยงไก่ไข่ก็ได้ จึงอยากขอให้ภาครัฐหันมาช่วยดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ด้วย” นายสุธี กล่าว
ด้าน นายเสน่ห์ กรรณสูตร อุปนายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยว่า ทางสมาคมได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรผู้เลี้ยงไก่ไข่ จากภาวะขาดทุน โดยเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ขอการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ สำหรับค่าใช้จ่ายในการเก็บไข่ส่วนเกินเข้าห้องเย็นเพื่อรอการส่งออก เพราะปริมาณไข่จะเหลือจากการบริโภคทุกวันๆ ละ 2-3 ล้านฟอง หากปล่อยออกสู่ตลาดจะทำให้ราคาไข่ไก่ตกต่ำลงอีก 2) ขอการสนับสนุนงบประมาณในการปลดแม่ไก่แก่ อายุเกิน 72 สัปดาห์ ในอัตราตัวละ 5-10 บาท เพื่อลดกำลังการผลิตไข่ไก่จากวันละ 27 ล้านฟอง ให้ลงมาใกล้เคียงอัตราการบริโภคที่วันละ 24-25 ล้านฟอง โดยคาดว่าจะต้องปลดแม่ไก่ประมาณ 4 ล้านตัว และ 3) ขอให้รัฐบาลสนับสนุนการโฆษณา-ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคไข่ไก่อย่างจริงจัง
“อัตราการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยมีเพียง 160 ฟอง/คน/ปี ยังต่ำมากเมื่อเทียบกับมาเลเซีย ประเทศเพื่อนบ้านที่บริโภค 230 ฟอง/คน/ปี และประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และ สหภาพยุโรป บริโภคกันมากกว่า 300 ฟอง/คน/ปี ทั้งนี้ เพราะไทยขาดการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ผู้เลี้ยงไก่ไข่ของไทยก็มีการปรับปรุงฟาร์มและระบบป้องกันโรคตามมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์ ทำให้การเลี้ยงไก่ไข่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตไข่ไก่ได้มากขึ้น สวนทางกับการบริโภคของคนไทย จึงจำเป็นต้องขอร้องให้ท่านรัฐมนตรีทั้ง 2 กระทรวงช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่อย่างจริงจังด้วย” อุปนายกสมาคม กล่าว
นายสุธี เตชะธนะวัฒน์ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่จากแสงอุไรฟาร์ม จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า เทศกาลปีใหม่ปีนี้มีวันหยุดยาว คนไทยเดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก เป็นเหตุให้การบริโภคไข่ไก่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ลดลง เกิดปัญหาไข่ไก่ส่วนเกินถึงวันละ 3 ล้านฟอง ทำให้ราคาไข่ไก่ตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว ณ ช่วงเทศกาลนี้ราคาไข่คละหน้าฟาร์ม จึงเหลือเพียงฟองละ 1.90 บาท ขณะที่ต้นทุนยังคงอยู่ที่ฟองละ 2.30 บาท ซ้ำเติมภาวะขาดทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่อย่างยิ่ง
“คนเลี้ยงไก่ไข่ ต้องแบกรับภาระขาดทุนอย่างต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี จากราคาไข่ตกต่ำ แต่ไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไขจากภาครัฐ ขณะที่ข้าวโพดกิโลกรัมละ 6 บาท ภาครัฐยังช่วยประกันราคาที่กิโลกรัมละ 8 บาท เป็นการช่วยเหลือคนปลูกข้าวโพดก็จริง แต่ก็ส่งผลกระทบให้ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงขึ้นอีก ต้นทุนการผลิตไข่ไก่ก็จะสูงขึ้นตาม จะเรียกว่า ซ้ำเติมคนเลี้ยงไก่ไข่ก็ได้ จึงอยากขอให้ภาครัฐหันมาช่วยดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ด้วย” นายสุธี กล่าว
ด้าน นายเสน่ห์ กรรณสูตร อุปนายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยว่า ทางสมาคมได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรผู้เลี้ยงไก่ไข่ จากภาวะขาดทุน โดยเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ขอการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ สำหรับค่าใช้จ่ายในการเก็บไข่ส่วนเกินเข้าห้องเย็นเพื่อรอการส่งออก เพราะปริมาณไข่จะเหลือจากการบริโภคทุกวันๆ ละ 2-3 ล้านฟอง หากปล่อยออกสู่ตลาดจะทำให้ราคาไข่ไก่ตกต่ำลงอีก 2) ขอการสนับสนุนงบประมาณในการปลดแม่ไก่แก่ อายุเกิน 72 สัปดาห์ ในอัตราตัวละ 5-10 บาท เพื่อลดกำลังการผลิตไข่ไก่จากวันละ 27 ล้านฟอง ให้ลงมาใกล้เคียงอัตราการบริโภคที่วันละ 24-25 ล้านฟอง โดยคาดว่าจะต้องปลดแม่ไก่ประมาณ 4 ล้านตัว และ 3) ขอให้รัฐบาลสนับสนุนการโฆษณา-ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคไข่ไก่อย่างจริงจัง
“อัตราการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยมีเพียง 160 ฟอง/คน/ปี ยังต่ำมากเมื่อเทียบกับมาเลเซีย ประเทศเพื่อนบ้านที่บริโภค 230 ฟอง/คน/ปี และประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และ สหภาพยุโรป บริโภคกันมากกว่า 300 ฟอง/คน/ปี ทั้งนี้ เพราะไทยขาดการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ผู้เลี้ยงไก่ไข่ของไทยก็มีการปรับปรุงฟาร์มและระบบป้องกันโรคตามมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์ ทำให้การเลี้ยงไก่ไข่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตไข่ไก่ได้มากขึ้น สวนทางกับการบริโภคของคนไทย จึงจำเป็นต้องขอร้องให้ท่านรัฐมนตรีทั้ง 2 กระทรวงช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่อย่างจริงจังด้วย” อุปนายกสมาคม กล่าว