เสี่ยวิทย์เจ้าพ่อวงการเหล็กค่ายสหวิริยา ควงลูกชาย ตบเท้าพบรมว.อุตสาหกรรม ล็อบบี้ให้ดูแลโรงถลุงเหล็กด้านระบบสาธารณูปโภคเหตุไทยให้เอกชนลงทุนหมดพบอุปสรรคด้านกฏระเบียบ ขู่ถอนลงทุน 5 แสนล้านบาทไปเวียดนามหรือจีนหลัง 2 ประเทศยื่นเงื่อนไขที่ดีกว่า
วานนี้(12พ.ย.) นายวิทย์ วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสหวิริยา สตีลอินดัสตรี จำกัด(มหาชน) หรือ SSI ได้เข้าพบหารือกับพ.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.อุตสาหกรรมเกี่ยวกับความคืบหน้าการลงทุนโรงถลุงเหล็ก
นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการ SSI กล่าวว่า บริษัทได้หารือกับรมว.อุตสาหกรรมเพื่อขอให้รัฐบาลพิจารณาแนวทางการสนับสนุนแผนการลงทุนโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยาเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภค ทั้งไฟฟ้า น้ำ ท่าเรือ ซึ่งนโยบายของไทยให้เอกชนลงทุนทั้งหมดเองซึ่งมีหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคขณะที่ล่าสุดจีนและเวียดนามมีเงื่อนไขที่ดีกว่าโดยรัฐลงทุนเอง แถมพื้นที่ของเวียดนามเสนอให้เช่าระยะยาวในราคาต่ำ ขณะเดียวกันการเมืองก็มั่นคงกว่าไทยมาก ดังนั้นเครือสหวิริยาคงจะดูปัจจัยเหล่านี้หากไทยไม่มีอะไรชัดเจนก็อาจตัดสินใจย้ายการลงทุนไปยัง 2 ประเทศเหล่านี้แทนในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยจะลงทุนเองทั้งหมด 100%
“ แผนลงทุนโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยาที่ก่อนหน้านี้มีแผนลงทุน 5 เฟสมูลค่าประมาณ 5 แสนล้านบาทและจะเริ่มลงทุนเฟสแรก 9 หมื่นล้านบาทกำลังผลิต 5 ล้านตันต่อปีนั้นยอมรับว่ายังไม่ได้เป็นข้อยุติถึงการลงทุนดังกล่าวว่าจะเริ่มได้เมื่อใดเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาทั้งเศรษฐกิจโลกและการส่งเสริมจากรัฐเนื่องจากพบว่าการลงทุนด้านสาธารณูปในไทยเอกชนลงทุนได้ก็จริงแต่ทางปฏิบัติเช่น ระบบสายส่ง และท่อน้ำมีกฏหมายรองรับไม่อยู่ในอำนาจที่บริษัทจะทำเองได้และหน่วยงานที่กำกับดูแลต่างฝ่ายก็ต่างทำไม่เล่นเป็นทีมเดียวกัน”นายวินกล่าว
ทั้งนี้บริษัทมีความพยายามมาตั้งแต่ก.ย. 2547 ปัจจุบันยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ซึ่งรัฐควรเห็นความสำคัญกับโรงถลุงเหล็กที่จะเป็นเหล็กต้นน้ำที่จะป้อนยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้มีต้นทุนต่ำลงโดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐ ประกอบกับโรงถลุงจะก่อให้เกิดการจ้างงานถาวร 5,500 คนและระหว่างก่อสร้างจะต้องจ้างแรงงานอีกหมื่นกว่าคน โดยบริษัทฯได้ลงทุนเหล็กอื่นๆแล้วที่อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันไปแล้ว 5 หมื่นล้านบาทหากต่อยอดโรงถลุงที่นี่ได้ตามแผนก็จะทำให้ต้นทุนต่ำโดยบริษัทฯยืนยันว่าหากเลือกได้พยายามจะเลือกลงทุนที่ไทยก่อน ขณะเดียวกันยังเห็นว่าการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนกิจการโรงถลุงเหล็กจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ซึ่งมีการลงทุนนับแสนล้านบาทต่างจากกิจการอื่นๆ ที่ลงทุนไม่มากควรจะมีกรอบเวลาในการส่งเสริมฯที่มากกว่าปัจจุบัน
สำหรับราคาเหล็กตลาดโลกที่ลดลงโดยเฉพาะเหล็กเส้นที่ลดเกือบ 50% นั้นน่าจะเป็นจังหวะที่ดีของภาคก่อสร้างที่ควรจะสต็อกไว้เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างแทนที่จะรอให้เหล็กราคาขึ้นแล้วทำให้โครงการก่อสร้างมีปัญหาเช่นที่ผ่านมาโดยมองว่าในปี 2552 ราคาเหล็กน่าจะฟื้นตัวจากช่วงปลายปีนี้
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว ในฐานะประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท. ว่า เศรษฐกิจโลกถดถอยส่งผลให้ราคาเหล็กตลาดโลกลดลงอย่างมากโดยเหล็กเส้นราคา 30 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)เหลือ 16-17 บาทต่อกก. เศษเหล็กจาก 500 เหรียญต่อตันเหลือเพียง 200-300 เหรียญฯต่อตันคาดว่าผู้ประกอบการฯจะขาดทุนจากสต็อกเหล็กรวมกันไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาทจากสต็อกที่เหลือประมาณแสนตัน
“ รัฐบาลควรกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดความต้องการใช้เหล็กและสินค้าอื่น ๆ ภายในประเทศ เพราะขณะนี้แรงงานในอุตสาหกรรมเหล็กที่มีมากกว่า 100,000 คน ได้ลดการทำงานล่วงเวลาแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาด และยอมรับว่ากำลังการผลิตขณะนี้อยู่ในระดับ 50-70% ขึ้นอยู่แต่ละโรงงาน” นายพยุงศักดิ์กล่าว
วานนี้(12พ.ย.) นายวิทย์ วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสหวิริยา สตีลอินดัสตรี จำกัด(มหาชน) หรือ SSI ได้เข้าพบหารือกับพ.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.อุตสาหกรรมเกี่ยวกับความคืบหน้าการลงทุนโรงถลุงเหล็ก
นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการ SSI กล่าวว่า บริษัทได้หารือกับรมว.อุตสาหกรรมเพื่อขอให้รัฐบาลพิจารณาแนวทางการสนับสนุนแผนการลงทุนโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยาเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภค ทั้งไฟฟ้า น้ำ ท่าเรือ ซึ่งนโยบายของไทยให้เอกชนลงทุนทั้งหมดเองซึ่งมีหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคขณะที่ล่าสุดจีนและเวียดนามมีเงื่อนไขที่ดีกว่าโดยรัฐลงทุนเอง แถมพื้นที่ของเวียดนามเสนอให้เช่าระยะยาวในราคาต่ำ ขณะเดียวกันการเมืองก็มั่นคงกว่าไทยมาก ดังนั้นเครือสหวิริยาคงจะดูปัจจัยเหล่านี้หากไทยไม่มีอะไรชัดเจนก็อาจตัดสินใจย้ายการลงทุนไปยัง 2 ประเทศเหล่านี้แทนในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยจะลงทุนเองทั้งหมด 100%
“ แผนลงทุนโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยาที่ก่อนหน้านี้มีแผนลงทุน 5 เฟสมูลค่าประมาณ 5 แสนล้านบาทและจะเริ่มลงทุนเฟสแรก 9 หมื่นล้านบาทกำลังผลิต 5 ล้านตันต่อปีนั้นยอมรับว่ายังไม่ได้เป็นข้อยุติถึงการลงทุนดังกล่าวว่าจะเริ่มได้เมื่อใดเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาทั้งเศรษฐกิจโลกและการส่งเสริมจากรัฐเนื่องจากพบว่าการลงทุนด้านสาธารณูปในไทยเอกชนลงทุนได้ก็จริงแต่ทางปฏิบัติเช่น ระบบสายส่ง และท่อน้ำมีกฏหมายรองรับไม่อยู่ในอำนาจที่บริษัทจะทำเองได้และหน่วยงานที่กำกับดูแลต่างฝ่ายก็ต่างทำไม่เล่นเป็นทีมเดียวกัน”นายวินกล่าว
ทั้งนี้บริษัทมีความพยายามมาตั้งแต่ก.ย. 2547 ปัจจุบันยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ซึ่งรัฐควรเห็นความสำคัญกับโรงถลุงเหล็กที่จะเป็นเหล็กต้นน้ำที่จะป้อนยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้มีต้นทุนต่ำลงโดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐ ประกอบกับโรงถลุงจะก่อให้เกิดการจ้างงานถาวร 5,500 คนและระหว่างก่อสร้างจะต้องจ้างแรงงานอีกหมื่นกว่าคน โดยบริษัทฯได้ลงทุนเหล็กอื่นๆแล้วที่อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันไปแล้ว 5 หมื่นล้านบาทหากต่อยอดโรงถลุงที่นี่ได้ตามแผนก็จะทำให้ต้นทุนต่ำโดยบริษัทฯยืนยันว่าหากเลือกได้พยายามจะเลือกลงทุนที่ไทยก่อน ขณะเดียวกันยังเห็นว่าการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนกิจการโรงถลุงเหล็กจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ซึ่งมีการลงทุนนับแสนล้านบาทต่างจากกิจการอื่นๆ ที่ลงทุนไม่มากควรจะมีกรอบเวลาในการส่งเสริมฯที่มากกว่าปัจจุบัน
สำหรับราคาเหล็กตลาดโลกที่ลดลงโดยเฉพาะเหล็กเส้นที่ลดเกือบ 50% นั้นน่าจะเป็นจังหวะที่ดีของภาคก่อสร้างที่ควรจะสต็อกไว้เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างแทนที่จะรอให้เหล็กราคาขึ้นแล้วทำให้โครงการก่อสร้างมีปัญหาเช่นที่ผ่านมาโดยมองว่าในปี 2552 ราคาเหล็กน่าจะฟื้นตัวจากช่วงปลายปีนี้
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว ในฐานะประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท. ว่า เศรษฐกิจโลกถดถอยส่งผลให้ราคาเหล็กตลาดโลกลดลงอย่างมากโดยเหล็กเส้นราคา 30 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)เหลือ 16-17 บาทต่อกก. เศษเหล็กจาก 500 เหรียญต่อตันเหลือเพียง 200-300 เหรียญฯต่อตันคาดว่าผู้ประกอบการฯจะขาดทุนจากสต็อกเหล็กรวมกันไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาทจากสต็อกที่เหลือประมาณแสนตัน
“ รัฐบาลควรกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดความต้องการใช้เหล็กและสินค้าอื่น ๆ ภายในประเทศ เพราะขณะนี้แรงงานในอุตสาหกรรมเหล็กที่มีมากกว่า 100,000 คน ได้ลดการทำงานล่วงเวลาแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาด และยอมรับว่ากำลังการผลิตขณะนี้อยู่ในระดับ 50-70% ขึ้นอยู่แต่ละโรงงาน” นายพยุงศักดิ์กล่าว