ค่ายกสิกรไทยชี้ดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ช่วงขาลงหลังธนาคารกลางทั่วโลกร่วมมือลดดอกเบี้ยฉุกเฉิน ส่วนการคงดอกเบี้ยอาร์พีในประเทศของไทย กนง.คงไตร่ตรองดีแล้ว คาดปีนี้จีดีพีขยายตัว 5% ปีหน้า 4.5% ด้านสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเห็นด้วย พร้อมคาดเศรษฐกิจเอเชียเข้าสู่ภาวะถดถอย
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มดอกเบี้ยว่า ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วงขาลงแล้ว หลังจากธนาคารกลางของสหรัฐและยุโรป รวมถึงประเทศต่างๆ ก็ได้ร่วมมือกันปรับลดดอกเบี้ยฉุกเฉินลง เพื่อพยุงปัญหาเศรษฐกิจที่ลุกลามจากสหรัฐไปยังส่วนอื่นๆ ของโลก และยอมรับว่าปัจจัยในต่างประเทศขณะนี้ จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้
นายเชาว์กล่าวถึงการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.75% อาจเป็นเพราะมองว่าปัญหาภาคการเงินในสหรัฐและหลายประเทศยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อไทย และไม่ได้เป็นปัญหาที่เกิดจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทย ซึ่งต่างจากปี 2540 ที่เป็นวิกฤติภาคการเงินของไทยเอง นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดทางเศณษฐกิจต่างๆ ยังไม่ได้บ่งชี้ว่า ปัจจัยภายนอกจะส่งผลกระทบต่อไทยโดยตรง
"แบงก์ชาติคงชั่งน้ำหนักแล้วก่อนตัดสินใจคงดอกเบี้ย เพราะในเอกสารระบุว่า กนง.จะดำเนินโยบายการเงินโดยยึดการเติบโตเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งและมองว่าความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจชะลอตัวมีมากขึ้นจากสภาวะแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก และยังไม่สายที่แบงก์ชาติจะติดตามเรื่องนี้ต่อไปก่อน" นายเชาว์กล่าว
ส่วนจะมีการเรียกประชุม กนง. ในวาระฉุกเฉินฯ เพื่อปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงตามต่างประเทศหรือไม่นั้น กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่กว่าที่จะถึงกำหนดประชุมครั้งต่อไปในเดือน ธ.ค.ก็ค่อนข้างนาน เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์การเงินโลกมีความผันผวนมาก รวมทั้งตลาดหุ้นทั่วโลกก็ปรับลดลงอย่างรุนแรงอีก ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ กนง.หยิบยกมาพิจารณาได้
"การประชุม กนง.ฉุกเฉินฯ ต้องมีเหตุผลชัดเจน ซึ่งต่างกับกรณีของธนาคารกลางประเทศอื่นๆ เพราะขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ" นายเชาว์กล่าวและว่า จากปัจจัยภายในและนอกประเทศ ทำให้ศูนย์วิจัยฯ ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้เหลือ 5% โดยคาดว่าครึ่งปีหลังจะขยายตัว 4.3% จากครึ่งปีแรกเติบโต 5.7% ส่วนปี 2552 ยอมรับว่ามีความกังวลมากว่าจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกมาก โดยคาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 4.5% ขึ้นอยู่กับผลกระทบและการแก้ปัญหาภาคการเงินของสหรัฐ จะได้ผลหรือไม่ หรือจะลุกลามบานปลายไปมากน้อยแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งผลกระทบต่อไทย ทั้งในส่วนของตลาดหุ้น และสถาบันการเงินที่มีธุรกิจเกี่ยวโยงกับต่างประเทศ ทั้งนี้ เป็นห่วงผลกระทบต่อภาคการส่งออก การลงทุน เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป และต้องติดตามเศรษฐกิจเอเซียจะมีสถาบันการเงินมีปัญหาตามไปด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิดที่อาจกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ สภาพคล่อง ตลาดเงิน สถาบันการเงิน
***ชาร์เตอร์ดชี้ ศก.เอเชียถดถอย
น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉินของธนาคารกลาง 6 แห่งรวมทั้งการปรับลดดอกเบี้ยฉุกเฉินของเฟดเมื่อวันก่อนอีก 0.5 % จะส่งผลดีต่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้น และมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทิศทางดอกเบี้ยจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี นักลงทุนส่วนใหญ่ยังหวั่นวิตกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยยังไม่เพียงพอที่จะควบคุมวิกฤตการไม่ให้ลุกลามไปมากนี้ จึงทำให้เมื่อคืนนี้ ดัชนีหุ้นดาวโจนท์ปรับลดลงกว่า 2% และอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินก็ได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอยู่ที่ 3-4 % เป็น 7% สะท้อนให้เห็นว่าตลาดเงินอยู่ในภาวะที่ขาดความเชื่อมั่นอย่างรุนแรง
"ประเทศในภูมิภาคเอเชียจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินของสหรัฐฯทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยสถาบันการเงินต่างประเทศจะต้องขายสินทรัพย์ เพื่อนำเงินไปเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินในต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกงและสิงคโปร์ มีโอกาสเกิดภาวะถดถอยมากขึ้น ขณะที่ประเทศจีนเศรษฐกิจก็จะชะลอตัว" นางอุสรากล่าวและว่า มาตรการ 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐที่สภาสหรัฐอนุมัตินั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อหนี้เสียของสถาบันการเงิน ไม่ได้ใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องในตลาดเงิน จึงทำให้นักลงทุนยังไม่เชื่อมั่นในมาตรการดังกล่าว
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มดอกเบี้ยว่า ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วงขาลงแล้ว หลังจากธนาคารกลางของสหรัฐและยุโรป รวมถึงประเทศต่างๆ ก็ได้ร่วมมือกันปรับลดดอกเบี้ยฉุกเฉินลง เพื่อพยุงปัญหาเศรษฐกิจที่ลุกลามจากสหรัฐไปยังส่วนอื่นๆ ของโลก และยอมรับว่าปัจจัยในต่างประเทศขณะนี้ จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้
นายเชาว์กล่าวถึงการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.75% อาจเป็นเพราะมองว่าปัญหาภาคการเงินในสหรัฐและหลายประเทศยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อไทย และไม่ได้เป็นปัญหาที่เกิดจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทย ซึ่งต่างจากปี 2540 ที่เป็นวิกฤติภาคการเงินของไทยเอง นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดทางเศณษฐกิจต่างๆ ยังไม่ได้บ่งชี้ว่า ปัจจัยภายนอกจะส่งผลกระทบต่อไทยโดยตรง
"แบงก์ชาติคงชั่งน้ำหนักแล้วก่อนตัดสินใจคงดอกเบี้ย เพราะในเอกสารระบุว่า กนง.จะดำเนินโยบายการเงินโดยยึดการเติบโตเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งและมองว่าความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจชะลอตัวมีมากขึ้นจากสภาวะแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก และยังไม่สายที่แบงก์ชาติจะติดตามเรื่องนี้ต่อไปก่อน" นายเชาว์กล่าว
ส่วนจะมีการเรียกประชุม กนง. ในวาระฉุกเฉินฯ เพื่อปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงตามต่างประเทศหรือไม่นั้น กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่กว่าที่จะถึงกำหนดประชุมครั้งต่อไปในเดือน ธ.ค.ก็ค่อนข้างนาน เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์การเงินโลกมีความผันผวนมาก รวมทั้งตลาดหุ้นทั่วโลกก็ปรับลดลงอย่างรุนแรงอีก ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ กนง.หยิบยกมาพิจารณาได้
"การประชุม กนง.ฉุกเฉินฯ ต้องมีเหตุผลชัดเจน ซึ่งต่างกับกรณีของธนาคารกลางประเทศอื่นๆ เพราะขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ" นายเชาว์กล่าวและว่า จากปัจจัยภายในและนอกประเทศ ทำให้ศูนย์วิจัยฯ ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้เหลือ 5% โดยคาดว่าครึ่งปีหลังจะขยายตัว 4.3% จากครึ่งปีแรกเติบโต 5.7% ส่วนปี 2552 ยอมรับว่ามีความกังวลมากว่าจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกมาก โดยคาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 4.5% ขึ้นอยู่กับผลกระทบและการแก้ปัญหาภาคการเงินของสหรัฐ จะได้ผลหรือไม่ หรือจะลุกลามบานปลายไปมากน้อยแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งผลกระทบต่อไทย ทั้งในส่วนของตลาดหุ้น และสถาบันการเงินที่มีธุรกิจเกี่ยวโยงกับต่างประเทศ ทั้งนี้ เป็นห่วงผลกระทบต่อภาคการส่งออก การลงทุน เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป และต้องติดตามเศรษฐกิจเอเซียจะมีสถาบันการเงินมีปัญหาตามไปด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิดที่อาจกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ สภาพคล่อง ตลาดเงิน สถาบันการเงิน
***ชาร์เตอร์ดชี้ ศก.เอเชียถดถอย
น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉินของธนาคารกลาง 6 แห่งรวมทั้งการปรับลดดอกเบี้ยฉุกเฉินของเฟดเมื่อวันก่อนอีก 0.5 % จะส่งผลดีต่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้น และมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทิศทางดอกเบี้ยจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี นักลงทุนส่วนใหญ่ยังหวั่นวิตกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยยังไม่เพียงพอที่จะควบคุมวิกฤตการไม่ให้ลุกลามไปมากนี้ จึงทำให้เมื่อคืนนี้ ดัชนีหุ้นดาวโจนท์ปรับลดลงกว่า 2% และอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินก็ได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอยู่ที่ 3-4 % เป็น 7% สะท้อนให้เห็นว่าตลาดเงินอยู่ในภาวะที่ขาดความเชื่อมั่นอย่างรุนแรง
"ประเทศในภูมิภาคเอเชียจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินของสหรัฐฯทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยสถาบันการเงินต่างประเทศจะต้องขายสินทรัพย์ เพื่อนำเงินไปเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินในต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกงและสิงคโปร์ มีโอกาสเกิดภาวะถดถอยมากขึ้น ขณะที่ประเทศจีนเศรษฐกิจก็จะชะลอตัว" นางอุสรากล่าวและว่า มาตรการ 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐที่สภาสหรัฐอนุมัตินั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อหนี้เสียของสถาบันการเงิน ไม่ได้ใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องในตลาดเงิน จึงทำให้นักลงทุนยังไม่เชื่อมั่นในมาตรการดังกล่าว