ผู้บริหาร ธ.ทหารไทย คาดที่ประชุม กนง.วันที่ 8 ต.ค.นี้ คงอัตรา ดบ.ไว้ที่ระดับ 3.75% เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ เชื่อเงินเฟ้อชะลอตัวลง พร้อมประเมินทิศทาง ดบ.3 เดือนสุดท้ายปีนี้ แนวโน้มไม่มีการปรับขึ้น
วันนี้ (3 ต.ค.) นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 8 ต.ค.ที่จะถึงนี้ คาดว่า น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3.75% เนื่องจากหากไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็จะสามารถช่วยกระตุ้นด้านการบริโภคได้
อีกทั้งปัจจัยในปัจจุบันทั้งภาวะเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐฯ ที่ชะลอตัว รวมถึงเงินเฟ้อที่เริ่มลดลงก็เป็นปัจจัยหนุนให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ ทั้งนี้ นายบุญทักษ์ มองว่า จากนี้ไปจนถึงสิ้นปีแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยไม่น่าจะมีการปรับขึ้นแล้ว ขณะที่คาดว่าการส่งออกของไทยในปี 2552 น่าจะขยายตัวไม่ถึง 15% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก
“แม้ว่าแผนการฟื้นฟูสถาบันการเงินของสหรัฐฯ 7 แสนล้านเหรียญ ในเบื้องต้นจะได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาของสหรัฐฯ แล้ว ถ้าหากแผนดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาจะทำให้สถาบันการเงินดีขึ้น ความเชื่อมั่นดีขึ้น ในส่วนของภาพรวมของเศรษฐกิจยังต้องใช้เวลาไปอีกประมาณ 1 ปี จึงจะสามารถฟื้นตัวได้”
ทั้งนี้ มองว่า ราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวขึ้นไปสูงในปีนี้ก็น่าจะปรับลดลงในปีหน้า ทั้งนี้ ในส่วนของการส่งออกไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก เพราะ 2-3 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการปรับตัวโดยหันไปทำการส่งออกในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมองว่ารัฐบาลจะต้องมีการลงทุนของภาครัฐเพื่อชดเชยการส่งออกที่จะชะลอลงไป
ในส่วนของปีนี้ ยังมองว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจน่าจะยังเติบโตได้ 4-6% ตามที่สำนักวิจัยหลายๆ แห่งได้คาดการณ์
สำหรับในส่วนของธนาคารนั้น จากช่วงกลางปีที่ผ่านมาเงินฝากของธนาคารเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท หลังจากที่ก่อนหน้านี้เงินฝากได้มีการไหลออกไป ซึ่งธนาคารได้มีการออกผลิตภัณฑ์ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูง แต่การให้อัตราดอกเบี้ยสูงดังกล่าวไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระให้กับธนาคารเพราะธนาคารได้ใช้กลยุทธ์ในการลดต้นทุนการแจกของที่ระลึกสำหรับลูกค้าลง แล้วนำงบประมาณดังกล่าวมาตอบแทนลูกค้าในรูปของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการที่ธนาคารมีผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงก็จะไม่ส่งผลกระทบให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารลดลง
นอกจากนี้ ในส่วนของสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย มองว่า ยังมีอยู่มาก เนื่องจากสถาบันการเงินของไทยมีฐานทุนที่แข็งแกร่ง อีกทั้งผู้ประกอบการในประเทศไทยได้มีการปรับตัวที่ดีมาตั้งแต่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 แล้ว จึงไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ มาก อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ไทยมีความพร้อมในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการจึงไม่น่ามีปัญหาภาวะเงินฝืด
วันนี้ (3 ต.ค.) นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 8 ต.ค.ที่จะถึงนี้ คาดว่า น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3.75% เนื่องจากหากไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็จะสามารถช่วยกระตุ้นด้านการบริโภคได้
อีกทั้งปัจจัยในปัจจุบันทั้งภาวะเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐฯ ที่ชะลอตัว รวมถึงเงินเฟ้อที่เริ่มลดลงก็เป็นปัจจัยหนุนให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ ทั้งนี้ นายบุญทักษ์ มองว่า จากนี้ไปจนถึงสิ้นปีแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยไม่น่าจะมีการปรับขึ้นแล้ว ขณะที่คาดว่าการส่งออกของไทยในปี 2552 น่าจะขยายตัวไม่ถึง 15% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก
“แม้ว่าแผนการฟื้นฟูสถาบันการเงินของสหรัฐฯ 7 แสนล้านเหรียญ ในเบื้องต้นจะได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาของสหรัฐฯ แล้ว ถ้าหากแผนดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาจะทำให้สถาบันการเงินดีขึ้น ความเชื่อมั่นดีขึ้น ในส่วนของภาพรวมของเศรษฐกิจยังต้องใช้เวลาไปอีกประมาณ 1 ปี จึงจะสามารถฟื้นตัวได้”
ทั้งนี้ มองว่า ราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวขึ้นไปสูงในปีนี้ก็น่าจะปรับลดลงในปีหน้า ทั้งนี้ ในส่วนของการส่งออกไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก เพราะ 2-3 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการปรับตัวโดยหันไปทำการส่งออกในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมองว่ารัฐบาลจะต้องมีการลงทุนของภาครัฐเพื่อชดเชยการส่งออกที่จะชะลอลงไป
ในส่วนของปีนี้ ยังมองว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจน่าจะยังเติบโตได้ 4-6% ตามที่สำนักวิจัยหลายๆ แห่งได้คาดการณ์
สำหรับในส่วนของธนาคารนั้น จากช่วงกลางปีที่ผ่านมาเงินฝากของธนาคารเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท หลังจากที่ก่อนหน้านี้เงินฝากได้มีการไหลออกไป ซึ่งธนาคารได้มีการออกผลิตภัณฑ์ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูง แต่การให้อัตราดอกเบี้ยสูงดังกล่าวไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระให้กับธนาคารเพราะธนาคารได้ใช้กลยุทธ์ในการลดต้นทุนการแจกของที่ระลึกสำหรับลูกค้าลง แล้วนำงบประมาณดังกล่าวมาตอบแทนลูกค้าในรูปของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการที่ธนาคารมีผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงก็จะไม่ส่งผลกระทบให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารลดลง
นอกจากนี้ ในส่วนของสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย มองว่า ยังมีอยู่มาก เนื่องจากสถาบันการเงินของไทยมีฐานทุนที่แข็งแกร่ง อีกทั้งผู้ประกอบการในประเทศไทยได้มีการปรับตัวที่ดีมาตั้งแต่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 แล้ว จึงไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ มาก อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ไทยมีความพร้อมในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการจึงไม่น่ามีปัญหาภาวะเงินฝืด