บลจ.เอวายเอฟไม่ห่วง 7 เดือนแรกสินทรัพย์วูบ 3 พันล้าน ชี้เป็นผลจากกองทุน ECP ครบอายุ แม้จะออกกองทุนพันธบัตรเกาหลี แต่ชดเชยไม่ได้ทั้งหมด ประกอบกับให้ดอกเบี้ยสูงแบงก์ดูดเงินฝาก ระบุหลังจากนี้ จะเห็นการเติบโตที่แท้จริง แต่ต้องเพิ่มทางเลือกที่นอกเหนือตราสารหนี้เอาชนะเงินเฟ้อ จ่อคิวส่งกองทุนเอฟไอเอฟรองรับ เน้นลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ 4 ประเภท ล็อกอายุลงทุน 3 ปีให้ผลตอบแทน 20% ต่อปี
นายฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด (เอวายเอฟ) เปิดเผยว่า สินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ลดลงไปประมาณ 3,000 ล้านบาท จากสิ้นปี 2550 ที่มีอยู่ประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากลูกค้ากองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในตราสารทางการเงินของสถาบันการเงินในต่างประเทศ (Euro Commercial Paper: ECP) จำนวนกว่า 1 หมื่นล้านบาทที่เปิดขายเป็นจำนวนมากในช่วงปลายปีที่แล้ว ครบกำหนดไถ่ถอนไป ถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทจะเปิดขายกองทุนต่างประเทศที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ออกมาเพื่อรองรับเงินลงทุนดังกล่าว แต่ก็ไม่สามารถชดเชยได้ทั้งหมด
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนักลงทุนมีทางเลือกการลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งบางแห่งให้ดอกเบี้ยสูงถึง 6% ทำให้ผลตอบแทนของกองทุนไม่น่าน่าจูงใจ
"ที่ผ่านมาเราสามารถออกกองทุนพันธบัตรเกาหลีมารองรับเงินลงทุนจากกองทุน ECP ได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่งผลให้เงินลงทุนของเราลดลงไปดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากผู้ลงทุนเองมีทางเลือกการลงทุนมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะเงินฝากธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง"นายฉัตรพีกล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้เชื่อว่าจะเริ่มเห็นการเติบโตมากขึ้น หลังจากกองทุนที่ครบอายุไถ่ถอนทยอยหมดไปแล้ว ซึ่งแนวโน้มการขยายตัวของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารในช่วงครึ่งปีหลังที่เหลือ บริษัทยังเชื่อว่าจะเป็นไปตามอุตสาหกรรมหรือโตไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยกลยุทธ์การลงทุนจำเป็นต้องหากองทุนที่มีการลงทุนในตราสารประเภทอื่นนอกจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อให้กองทุนมีความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การลงทุนในหุ้น หรือ การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น และอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในภาวะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง เพราะผลตอบแทนจากตราสารหนี้จะต่ำกว่าเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ บลจ.อยุธยา กำลังอยู่ระหว่างศึกษากองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) โดยจะเป็นกองทุนที่มีการกระจายลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ 4 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย สินค้าซอร์ฟคอมมอดิตี เช่น สินค้าเกษตร ฮาร์ดคอมมอดิตี ประเภทโลหะหนัก รวมถึงกล่มโลหะมีค่า พวกทองคำ เพชร และกลุ่มพลังงาน โดยในเบื้องต้น กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะออกมาในรูปของกองทุนปิดหรือกองทุนเปิด ซึ่งการลงทุนกองทุนเลือกลงทุนในหลายแอสเซทคลาส เนื่องจากเราต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับนักลงทุน เพราะหากในจังหวะที่บางแอสเซทคลาสไม่ดี ก็สามารถ
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นคาดว่า จะออกมาเป็นกองทุนปิดที่กำหนดผลตอบแทนชัดเจน มีอายุโครงการไม่น้อยกว่า 3 ปี และสามารถบอกอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังได้ ซึ่งอัตราผลตอบแทนควรจะได้ประมาณ 20% ต่อปี โดยในช่วงไตรมาส 3 น่าจะเปิดขายหน่วยลงทุนได้"นายฉัตรพีกล่าว
"จริงๆ แล้วบริษัทอยากออกกองทุนประเภทกองทุนเปิดมากกว่ากองทุนปิด เพราะเงินลงทุนจะอยู่กับบริษัทระยะยาวมากกว่า แต่ว่าพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนในบ้านเราจะชอบกองทุนปิดมากกว่า เนื่องจากสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ ซึ่งในช่วงต่อไปหลังจากนี้ บริษัทก็จะมีกองทุนปิดออกมาเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่จะต้องหากองทุนที่ให้ผลตอบแทนได้สูงกว่าตราสารหนี้ เช่น กองทุนสตรัคเจอร์โน้ต ที่อ้างอิงผลตอบแทนกับดัชนีประเภทต่างๆ เพราะภาวะในปัจจุบันกองทุนตราสารหนี้อย่างเดียวไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อที่สูงได้ขึ้นได้แล้ว"นายฉัตรพีกล่าว
นายฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด (เอวายเอฟ) เปิดเผยว่า สินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ลดลงไปประมาณ 3,000 ล้านบาท จากสิ้นปี 2550 ที่มีอยู่ประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากลูกค้ากองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในตราสารทางการเงินของสถาบันการเงินในต่างประเทศ (Euro Commercial Paper: ECP) จำนวนกว่า 1 หมื่นล้านบาทที่เปิดขายเป็นจำนวนมากในช่วงปลายปีที่แล้ว ครบกำหนดไถ่ถอนไป ถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทจะเปิดขายกองทุนต่างประเทศที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ออกมาเพื่อรองรับเงินลงทุนดังกล่าว แต่ก็ไม่สามารถชดเชยได้ทั้งหมด
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนักลงทุนมีทางเลือกการลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งบางแห่งให้ดอกเบี้ยสูงถึง 6% ทำให้ผลตอบแทนของกองทุนไม่น่าน่าจูงใจ
"ที่ผ่านมาเราสามารถออกกองทุนพันธบัตรเกาหลีมารองรับเงินลงทุนจากกองทุน ECP ได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่งผลให้เงินลงทุนของเราลดลงไปดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากผู้ลงทุนเองมีทางเลือกการลงทุนมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะเงินฝากธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง"นายฉัตรพีกล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้เชื่อว่าจะเริ่มเห็นการเติบโตมากขึ้น หลังจากกองทุนที่ครบอายุไถ่ถอนทยอยหมดไปแล้ว ซึ่งแนวโน้มการขยายตัวของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารในช่วงครึ่งปีหลังที่เหลือ บริษัทยังเชื่อว่าจะเป็นไปตามอุตสาหกรรมหรือโตไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยกลยุทธ์การลงทุนจำเป็นต้องหากองทุนที่มีการลงทุนในตราสารประเภทอื่นนอกจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อให้กองทุนมีความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การลงทุนในหุ้น หรือ การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น และอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในภาวะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง เพราะผลตอบแทนจากตราสารหนี้จะต่ำกว่าเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ บลจ.อยุธยา กำลังอยู่ระหว่างศึกษากองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) โดยจะเป็นกองทุนที่มีการกระจายลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ 4 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย สินค้าซอร์ฟคอมมอดิตี เช่น สินค้าเกษตร ฮาร์ดคอมมอดิตี ประเภทโลหะหนัก รวมถึงกล่มโลหะมีค่า พวกทองคำ เพชร และกลุ่มพลังงาน โดยในเบื้องต้น กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะออกมาในรูปของกองทุนปิดหรือกองทุนเปิด ซึ่งการลงทุนกองทุนเลือกลงทุนในหลายแอสเซทคลาส เนื่องจากเราต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับนักลงทุน เพราะหากในจังหวะที่บางแอสเซทคลาสไม่ดี ก็สามารถ
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นคาดว่า จะออกมาเป็นกองทุนปิดที่กำหนดผลตอบแทนชัดเจน มีอายุโครงการไม่น้อยกว่า 3 ปี และสามารถบอกอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังได้ ซึ่งอัตราผลตอบแทนควรจะได้ประมาณ 20% ต่อปี โดยในช่วงไตรมาส 3 น่าจะเปิดขายหน่วยลงทุนได้"นายฉัตรพีกล่าว
"จริงๆ แล้วบริษัทอยากออกกองทุนประเภทกองทุนเปิดมากกว่ากองทุนปิด เพราะเงินลงทุนจะอยู่กับบริษัทระยะยาวมากกว่า แต่ว่าพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนในบ้านเราจะชอบกองทุนปิดมากกว่า เนื่องจากสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ ซึ่งในช่วงต่อไปหลังจากนี้ บริษัทก็จะมีกองทุนปิดออกมาเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่จะต้องหากองทุนที่ให้ผลตอบแทนได้สูงกว่าตราสารหนี้ เช่น กองทุนสตรัคเจอร์โน้ต ที่อ้างอิงผลตอบแทนกับดัชนีประเภทต่างๆ เพราะภาวะในปัจจุบันกองทุนตราสารหนี้อย่างเดียวไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อที่สูงได้ขึ้นได้แล้ว"นายฉัตรพีกล่าว