สถานการณ์ตลาดนิตยสาร ปีนี้ คาดเติบโตลดลง 2-3% เหตุรายเล็กสู้ฤทธิ์เศรษฐกิจไม่ไหว ส่วนบริษัทใหญ่ติดท็อป 20 ครึ่งปีแรก มีการเติบโต 1.55% คิดเป็นมูลค่า 490 ล้านบาท ล่าสุด พบการเกิดนิตยสารใหม่มีเพียง 40 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นนิตยสารโลคอล เหตุหัวนอกเข้ามาเปิดในประเทศเกือบหมดแล้ว
นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ นายกสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดนิตยสารครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เพราะมีปัจจัยเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันเกิดขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมในครึ่งปีแรกตลาดมีการเติบโตเล็กน้อย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กที่ได้รับผลกระทบ ส่วนรายใหญ่ยังมีอัตราการเติบโตได้ดีอยู่
จากการสำรวจพบว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่กว่า 20 บริษัทในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา มียอดการเติบโตของการลงโฆษณาเพิ่มขึ้น 1.55% คิดเป็นมูลค่า 490 ล้านบาท จากปีก่อนทำได้ 458 ล้านบาท ถือเป็นยอดการเติบโตต่ำสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมมา ซึ่งยอดรายของทั้ง 20 บริษัทนี้ คิดเป็น 20% ของตลาดรวมนิตยสาร ส่วนภาพรวมการเติบโตของสมาชิกสมาคม พบว่า 7 เดือนนี้ มีการเติบโต เฉลี่ย 6.10%
“สาเหตุที่รายใหญ่ยังอยู่ได้ เนื่องจากมีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจมานานกว่า มีความหลากหลายในการมีนิตยสารอยู่หลายหัว บวกกับความน่าเชื่อถือ จึงทำให้ยังมีอัตราการเติบโตอยู่ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ขณะที่รายเล็กจะได้รับผลกระทบมากกว่า ดังนั้น ทั้งปีภาพรวมตลาดนิตยสารคาดว่า จะมีการเติบโตเพียง 10% เป็นการเติบโตที่ลดลงประมาณ 2-3% เทียบจากปีก่อน”
โดยที่ผ่านมาเรื่องของต้นทุน ยอมรับว่า ราคากระดาษสำหรับผลิตนิตยสารเพิ่มขึ้น 10-15% ถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับราคากระดาษของหนังสือพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว ส่วนหนึ่งมาจากในประเทศสามารถผลิตกระดาษสำหรับนิตยสารได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกับการขนส่งที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นแล้ว ถือว่าเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างหนัก แต่สำหรับผู้ประกอบ โดยเฉพาะที่เป็นสมาชิกในสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย เราให้สิทธิ์ในการปรับราคานิตยสาร แต่ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีรายใดปรับขึ้น ส่วนหนึ่งมองว่าอาจกลัวที่จะเสียฐานผู้อ่านลง เพราะในตลาดเองก็ยังไม่มีใครกล้าปรับราคา ยังคงกัดฟันคงราคาเดิมอยู่
นายธนาชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ครึ่งปีที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนนิตยสารปิดตัวไป 7 หัว และเกิดขึ้นใหม่เพียง 40 หัว โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นนิตยสารผู้หญิง 14 หัว และเป็นหัวนอกเพียง 3 หัว คือ ZOO, QP แมกกาซีน และ EVO ทั้งปีคาดว่าจะมีจำนวนนิตยสารเกิดใหม่น้อยกว่าปีก่อน 10% จากปกติต่อปีจะมีการเกิดนิตยสารใหม่ปีละ 100 หัว โดยทิศทางการเกิดใหม่ของนิตยสารจะเป็นนิตยสารในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นิตยสารหัวนอกชั้นนำถูกนำมาเปิดในประเทศไทยแล้วมากกว่า 90% ดังนั้น หลังจากนี้ ทิศทางการเปิดตัวนิตยสารจะเป็นหัวในประเทศมากกว่าต่างประเทศ หรืออาจจะเป็นต่างประเทศบ้าง ในกลุ่มนิชลงมา แต่ถ้าเป็นไปได้ไม่อยากให้ใครเลี่ยงลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจและการเมืองยังน่าเป็นห่วงแบบนี้
คนไทยหันอ่านนิตยสารมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดงานสัมมนา ในหัวข้อ “ศักยภาพสื่อนิตยสารไทยและแนวโน้มผู้อ่านนิตยสารในปัจจุบัน” ขึ้นในวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา โดย นายธนาชัย กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า สื่อนิตยสาร เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อแก่ผู้บริโภคมากที่สุด การลงโฆษณาในสื่อนิตยสารจึงยังสำคัญ ถึงแม้ว่าจะมีสื่อนิวมีเดียเกิดขึ้นอย่างอินเตอร์เน็ต แต่ก็มองเป็นสื่อที่จะมาเสริมสื่อหลักมากกว่ามาเป็นคู่แข็ง และคนที่หันมาทำสื่อนิวมีเดีย คือ กลุ่มคนทำมีเดียเดิม
นอกจากนี้ ทางสมาคมยังได้ทำการวิจัยในหัวข้อ “ศักยภาพสื่อนิตยสารไทยและแนวโน้มผู้อ่านในปัจจุบัน” ด้วย จากการสำรวจ พบว่า มากกว่า 60% ของผู้อ่านนิตยสาร ยืนยันว่า มีการอ่านนิตยสารมากขึ้นในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา โดยเนื้อหายอดนิยม 3 อันดับแรกของผู้ชาย คือ เทคโนโลยี, ข่าวสาร ข้อมูล และกีฬา ส่วนผู้หญิง ได้แก่ สุขภาพ, ความสวยความงาม และแฟชั่น ตามลำดับ ซึ่งพฤติกรรมการอ่านเกิดจาก ซื้อมาอ่านเองกว่า 85%
นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ นายกสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดนิตยสารครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เพราะมีปัจจัยเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันเกิดขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมในครึ่งปีแรกตลาดมีการเติบโตเล็กน้อย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กที่ได้รับผลกระทบ ส่วนรายใหญ่ยังมีอัตราการเติบโตได้ดีอยู่
จากการสำรวจพบว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่กว่า 20 บริษัทในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา มียอดการเติบโตของการลงโฆษณาเพิ่มขึ้น 1.55% คิดเป็นมูลค่า 490 ล้านบาท จากปีก่อนทำได้ 458 ล้านบาท ถือเป็นยอดการเติบโตต่ำสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมมา ซึ่งยอดรายของทั้ง 20 บริษัทนี้ คิดเป็น 20% ของตลาดรวมนิตยสาร ส่วนภาพรวมการเติบโตของสมาชิกสมาคม พบว่า 7 เดือนนี้ มีการเติบโต เฉลี่ย 6.10%
“สาเหตุที่รายใหญ่ยังอยู่ได้ เนื่องจากมีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจมานานกว่า มีความหลากหลายในการมีนิตยสารอยู่หลายหัว บวกกับความน่าเชื่อถือ จึงทำให้ยังมีอัตราการเติบโตอยู่ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ขณะที่รายเล็กจะได้รับผลกระทบมากกว่า ดังนั้น ทั้งปีภาพรวมตลาดนิตยสารคาดว่า จะมีการเติบโตเพียง 10% เป็นการเติบโตที่ลดลงประมาณ 2-3% เทียบจากปีก่อน”
โดยที่ผ่านมาเรื่องของต้นทุน ยอมรับว่า ราคากระดาษสำหรับผลิตนิตยสารเพิ่มขึ้น 10-15% ถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับราคากระดาษของหนังสือพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว ส่วนหนึ่งมาจากในประเทศสามารถผลิตกระดาษสำหรับนิตยสารได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกับการขนส่งที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นแล้ว ถือว่าเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างหนัก แต่สำหรับผู้ประกอบ โดยเฉพาะที่เป็นสมาชิกในสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย เราให้สิทธิ์ในการปรับราคานิตยสาร แต่ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีรายใดปรับขึ้น ส่วนหนึ่งมองว่าอาจกลัวที่จะเสียฐานผู้อ่านลง เพราะในตลาดเองก็ยังไม่มีใครกล้าปรับราคา ยังคงกัดฟันคงราคาเดิมอยู่
นายธนาชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ครึ่งปีที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนนิตยสารปิดตัวไป 7 หัว และเกิดขึ้นใหม่เพียง 40 หัว โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นนิตยสารผู้หญิง 14 หัว และเป็นหัวนอกเพียง 3 หัว คือ ZOO, QP แมกกาซีน และ EVO ทั้งปีคาดว่าจะมีจำนวนนิตยสารเกิดใหม่น้อยกว่าปีก่อน 10% จากปกติต่อปีจะมีการเกิดนิตยสารใหม่ปีละ 100 หัว โดยทิศทางการเกิดใหม่ของนิตยสารจะเป็นนิตยสารในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นิตยสารหัวนอกชั้นนำถูกนำมาเปิดในประเทศไทยแล้วมากกว่า 90% ดังนั้น หลังจากนี้ ทิศทางการเปิดตัวนิตยสารจะเป็นหัวในประเทศมากกว่าต่างประเทศ หรืออาจจะเป็นต่างประเทศบ้าง ในกลุ่มนิชลงมา แต่ถ้าเป็นไปได้ไม่อยากให้ใครเลี่ยงลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจและการเมืองยังน่าเป็นห่วงแบบนี้
คนไทยหันอ่านนิตยสารมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดงานสัมมนา ในหัวข้อ “ศักยภาพสื่อนิตยสารไทยและแนวโน้มผู้อ่านนิตยสารในปัจจุบัน” ขึ้นในวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา โดย นายธนาชัย กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า สื่อนิตยสาร เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อแก่ผู้บริโภคมากที่สุด การลงโฆษณาในสื่อนิตยสารจึงยังสำคัญ ถึงแม้ว่าจะมีสื่อนิวมีเดียเกิดขึ้นอย่างอินเตอร์เน็ต แต่ก็มองเป็นสื่อที่จะมาเสริมสื่อหลักมากกว่ามาเป็นคู่แข็ง และคนที่หันมาทำสื่อนิวมีเดีย คือ กลุ่มคนทำมีเดียเดิม
นอกจากนี้ ทางสมาคมยังได้ทำการวิจัยในหัวข้อ “ศักยภาพสื่อนิตยสารไทยและแนวโน้มผู้อ่านในปัจจุบัน” ด้วย จากการสำรวจ พบว่า มากกว่า 60% ของผู้อ่านนิตยสาร ยืนยันว่า มีการอ่านนิตยสารมากขึ้นในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา โดยเนื้อหายอดนิยม 3 อันดับแรกของผู้ชาย คือ เทคโนโลยี, ข่าวสาร ข้อมูล และกีฬา ส่วนผู้หญิง ได้แก่ สุขภาพ, ความสวยความงาม และแฟชั่น ตามลำดับ ซึ่งพฤติกรรมการอ่านเกิดจาก ซื้อมาอ่านเองกว่า 85%