ส.การตลาดฯ ชี้ เศรษฐกิจครึ่งปีหลังไม่มีสัญญาณดีขึ้น คาดเดายาก พลิกไปพลิกมา ผู้บริโภคมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น จาก 6 มาตรการ แต่ขาดความเชื่อมั่น ระบุ การเมืองนิ่งเรียกความเชื่อมั่นได้ แนะภาคเอกชนปรับการจำหน่ายใหม่ เดินสายส่งสินค้าถึงยี่ปั๊ว แก้ปัญหาสินค้าระบายช้า หลังยี่ปั๊วลดต้นทุนเดินทาง เมินเข้ามารับสินค้าจำหน่าย ฟันธงสินค้าวัตถุดิบหลัก นม น้ำตาล กรมการค้าเบรกไม่ขึ้นราคาเป็นเรื่องยาก
นายสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวในงานฟันธงการตลาด 2551 ที่จัดโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกชะลอตัวลง โดยพบว่า ตัวเลขในเชิงมูลค่าเติบโต เนื่องจากสินค้ามีการปรับราคาขึ้น แต่ในเชิงปริมาณชะลอตัวลง สะท้อนให้เห็นว่า มีการใช้ที่ลดลง ทั้งนี้ เพราะอารมณ์การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคไม่มี เนื่องจากปัจจัยหลักราคาน้ำมัน และค่าครองชีพที่สูงเพิ่มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อสินค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะสินค้าระดับกลางการเติบโตลดลง เพราะผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าระดับล่างแทน ส่วนสินค้าระดับบนหรือสินค้ากลุ่มฟุ่มเฟือยไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากกลุ่มมีกำลังการซื้อ
ทั้งนี้ ภาพรวมสินค้าอุปโภคบริโภคครึ่งปีแรก มีอัตราการเติบโตไม่ถึง 4-5% ดังนั้น กลุ่มผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์การตลาด โดยเฉพาะการจัดจำหน่ายต้องเข้าถึงผู้ประกอบการรายย่อยให้มากขึ้น ด้วยการจัดจำหน่ายสินค้าถึงร้านค้ารายย่อย เพื่อแก้ปัญหายี่ปั๊วไม่เดินทางมาซื้อสินค้า เพราะต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่วนยี่ปั๊วก็ต้องวิ่งเข้าหาลูกค้ารายย่อยให้มากขึ้น จากปัจจุบันยี่ปั๊วไม่เดินทางไปหาลูกค้า ขณะที่กลุ่มสินค้าระดับกลาง ต้องเลือกว่าจะจับกลุ่มเป้าหมายระดับบนหรือล่างแทนกลุ่มระดับกลาง
สำหรับภาพรวมครึ่งปีหลังนี้ ขณะนี้วิเคราะห์สถานการณ์ยาก เพราะพลิกไปพลิกมาตลอด ถ้าไม่มีอะไรใหม่ๆ หรือสัญญาณที่ดีภาพรวมเศรษฐกิจก็ไม่มีอะไรดีขึ้น โดยมี 2 ปัจจัยที่เป็นตัวแปร ได้แก่ ราคาน้ำมัน ซึ่งในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับตลาดโลกมากกว่า เพราะมาตรการลดภาษีน้ำมัน ไม่รู้ว่าจะสามารถแบกรับได้นานแค่ไหน และปัจจัยที่ 2 คือ การเมือง เพราะขณะนี้ยังไม่เห็นว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งหากการเมืองอยู่ในสถานการณ์ที่นิ่ง จะเรียกความมั่นใจของผู้บริโภคกลับมาได้
“สถานการณ์อย่างนี้อยู่ที่ภาครัฐจะสร้างความเชื่อมั่นอย่างไร ขณะนี้ผู้ประกอบการรอความหวังอย่างเดียว ผมว่า 6 มาตรการของภาครัฐ ทำให้คนมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น แต่ปัญหาคือผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจ ขณะที่ผู้บริโภคระดับล่าง เกษตรกร มีรายได้ดีขึ้น แต่เป็นเพราะขาดความเชื่อมั่นจึงไม่กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีปัจจัยลบด้านการส่งออกในประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา เนื่องจากมีกรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหารทำให้ความสัมพันธ์ไม่ค่อยราบรื่นมากนักอาจจะส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายสินค้าที่ส่งจากประเทศไทยไปจำหน่ายในกัมพูชาก็ได้”
นายสมบุญ กล่าวต่อถึงกรณีกรมการค้าภายในขอความร่วมมือผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้าครึ่งปีหลัง ว่า ค่าขนส่งเป็นต้นทุนเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการยังมีต้นทุนการอื่นๆ อาทิ ค่าแรงงานขั้นต่ำซึ่งปรับขึ้นแล้ว 2 ครั้ง และโดยเฉพาะสินค้าที่มีวัตถุดิบหลักจากนมกับน้ำตาล ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะไม่ให้มีการปรับราคาสินค้าขึ้น ซึ่งผมว่าผู้ประกอบการก็ไม่มีใครอยากขึ้นราคา หากต้นทุนการผลิตไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นจริง เพราะการแข่งขันมีความรุนแรงอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม หากกรมการค้าภายในไม่อนุมัติให้ปรับสินค้าขึ้น ผู้ประกอบการรายเล็กจะดำเนินธุรกิจลำบาก เพราะไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ก็ต้องกัดฟันแบกรับภาระต้นทุนต่อไป และหันมาบริหารการจัดการ ลดต้นทุนต่างๆ อาทิ ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ ลดการโฆษณา เพื่อลดต้นทุนต่างๆ
นายสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวในงานฟันธงการตลาด 2551 ที่จัดโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกชะลอตัวลง โดยพบว่า ตัวเลขในเชิงมูลค่าเติบโต เนื่องจากสินค้ามีการปรับราคาขึ้น แต่ในเชิงปริมาณชะลอตัวลง สะท้อนให้เห็นว่า มีการใช้ที่ลดลง ทั้งนี้ เพราะอารมณ์การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคไม่มี เนื่องจากปัจจัยหลักราคาน้ำมัน และค่าครองชีพที่สูงเพิ่มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อสินค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะสินค้าระดับกลางการเติบโตลดลง เพราะผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าระดับล่างแทน ส่วนสินค้าระดับบนหรือสินค้ากลุ่มฟุ่มเฟือยไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากกลุ่มมีกำลังการซื้อ
ทั้งนี้ ภาพรวมสินค้าอุปโภคบริโภคครึ่งปีแรก มีอัตราการเติบโตไม่ถึง 4-5% ดังนั้น กลุ่มผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์การตลาด โดยเฉพาะการจัดจำหน่ายต้องเข้าถึงผู้ประกอบการรายย่อยให้มากขึ้น ด้วยการจัดจำหน่ายสินค้าถึงร้านค้ารายย่อย เพื่อแก้ปัญหายี่ปั๊วไม่เดินทางมาซื้อสินค้า เพราะต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่วนยี่ปั๊วก็ต้องวิ่งเข้าหาลูกค้ารายย่อยให้มากขึ้น จากปัจจุบันยี่ปั๊วไม่เดินทางไปหาลูกค้า ขณะที่กลุ่มสินค้าระดับกลาง ต้องเลือกว่าจะจับกลุ่มเป้าหมายระดับบนหรือล่างแทนกลุ่มระดับกลาง
สำหรับภาพรวมครึ่งปีหลังนี้ ขณะนี้วิเคราะห์สถานการณ์ยาก เพราะพลิกไปพลิกมาตลอด ถ้าไม่มีอะไรใหม่ๆ หรือสัญญาณที่ดีภาพรวมเศรษฐกิจก็ไม่มีอะไรดีขึ้น โดยมี 2 ปัจจัยที่เป็นตัวแปร ได้แก่ ราคาน้ำมัน ซึ่งในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับตลาดโลกมากกว่า เพราะมาตรการลดภาษีน้ำมัน ไม่รู้ว่าจะสามารถแบกรับได้นานแค่ไหน และปัจจัยที่ 2 คือ การเมือง เพราะขณะนี้ยังไม่เห็นว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งหากการเมืองอยู่ในสถานการณ์ที่นิ่ง จะเรียกความมั่นใจของผู้บริโภคกลับมาได้
“สถานการณ์อย่างนี้อยู่ที่ภาครัฐจะสร้างความเชื่อมั่นอย่างไร ขณะนี้ผู้ประกอบการรอความหวังอย่างเดียว ผมว่า 6 มาตรการของภาครัฐ ทำให้คนมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น แต่ปัญหาคือผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจ ขณะที่ผู้บริโภคระดับล่าง เกษตรกร มีรายได้ดีขึ้น แต่เป็นเพราะขาดความเชื่อมั่นจึงไม่กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีปัจจัยลบด้านการส่งออกในประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา เนื่องจากมีกรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหารทำให้ความสัมพันธ์ไม่ค่อยราบรื่นมากนักอาจจะส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายสินค้าที่ส่งจากประเทศไทยไปจำหน่ายในกัมพูชาก็ได้”
นายสมบุญ กล่าวต่อถึงกรณีกรมการค้าภายในขอความร่วมมือผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้าครึ่งปีหลัง ว่า ค่าขนส่งเป็นต้นทุนเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการยังมีต้นทุนการอื่นๆ อาทิ ค่าแรงงานขั้นต่ำซึ่งปรับขึ้นแล้ว 2 ครั้ง และโดยเฉพาะสินค้าที่มีวัตถุดิบหลักจากนมกับน้ำตาล ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะไม่ให้มีการปรับราคาสินค้าขึ้น ซึ่งผมว่าผู้ประกอบการก็ไม่มีใครอยากขึ้นราคา หากต้นทุนการผลิตไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นจริง เพราะการแข่งขันมีความรุนแรงอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม หากกรมการค้าภายในไม่อนุมัติให้ปรับสินค้าขึ้น ผู้ประกอบการรายเล็กจะดำเนินธุรกิจลำบาก เพราะไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ก็ต้องกัดฟันแบกรับภาระต้นทุนต่อไป และหันมาบริหารการจัดการ ลดต้นทุนต่างๆ อาทิ ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ ลดการโฆษณา เพื่อลดต้นทุนต่างๆ