จัดสรรรายกลาง-เล็กอ่วม แบงก์เข้มปล่อยกู้กระทบสภาพคล่องทางการเงิน ส่งผลรายเล็กเลิกกิจการ จับตาบริษัทอสังหาฯในตลาดหุ้น เฉือนขายที่ดินหวังเติมสภาพคล่อง ลดภาระดอกเบี้ย ด้านบิ๊กอสังหาฯยิ้ม! ไล่ชอปที่ดินสะสมบริษัทขาดสภาพคล่อง เผยไตรมาส2รายใหญ่ปรับตัวแชร์ส่วนแบ่งรายเล็กรายกลาง พร้อมรับอานิสงส์สต็อกบ้านพร้อมขายในมือเยอะ ผนวกรับผลดีมาตรการภาษีภาครัฐส่งผลกำไรไตรมาส2พุ่งสูงกว่า 50% ด้านPF แจงครึ่งปีหลังขึ้น 6 โครงการใหม่ มูลค่า 3,500 ล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีปัจจัยลบเข้ามากระทบค่อนข้างมากโดยเฉพาะในเรื่องของราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการก่อสร้างบ้านเดี่ยวปรับตัวขึ้นไปแล้วกว่า 15% ในขณะที่ต้นทุนการพัฒนาคอนโดฯโลว์ไรส์ปรับตัวขึ้นไป 25% ส่วนต้นทุนการพัฒนาโครงการคอนโดฯแนวสูงปรับตัวขึ้นไปแล้ว 30% ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก ทั้งที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทนอกตลาดได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ขณะที่ สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดปล่อยสินเชื่อโครงการเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางเริ่มขาดสภาพคล่อง ส่งผลให้บริษัทอสังหาฯบางส่วนเลิกกิจการไป โดยในช่วงก่อนหน้าวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 จำนวนผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯในตลาดมีจำนวน 3,000 ราย แต่หลังวิกฤติเศรษฐกิจลดลงเหลือ 300 ราย และเพิ่มจำนวนขึ้นในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ 1,000 ราย ล่าสุด หลังเกิดปัจจัยลบเข้ามากระทบตลาดอสังหาฯอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นปัญหาการขาดสภาพคล่อง ทำให้ปริมาณผู้พัฒนาโครงการลดลงมาอยู่ที่ 500ราย และคาดว่าอนาคตจะลดลงมาเหลือที่ 300 ราย
" จะเห็นได้ว่า ในช่วงนี้ ผู้ประกอบการขนาดกลางมีการปรับตัวเพิ่มสภาพคล่อง ด้วยวิธีตัดขายที่ดินสะสมในมือออกไป เพื่อนำเงินมาหมุนเวียนในบริษัทและก่อสร้างโครงการต่อ แค่เฉพาะบริษัทในตลาดหุ้นเริ่มเคลื่อนไหวตัดขายที่ดิน เช่น บริษัทปริญสิริฯ บริษัท อารียาฯ บริษัท โนเบิลฯและบริษัท อนันดาฯ" แหล่งข่าวกล่าว
ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ ค่ายแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คอวลิตี้ เฮ้าส์ฯ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ จำกัด ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) มีความได้เปรียบทางด้านการเงิน สภาพคล่องสูง ทยอยขยายพอร์ตที่ดินสะสมเพื่อพัฒนาโครงการในอนาคต เริ่มไล่ซื้อที่ดินจากกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลาง ตลอดจนนายหน้าที่ดินต่างๆจำนวนมาก โดยเฉพาะการเข้าไปซื้อที่ดินสะสมจากกลุ่มผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่อง ทำให้ได้ราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดถึง15% เนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางต่างต้องการระบายที่ดิน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยจากเงินกู้ออกไป ขณะเดียวกันยังช่วยให้มีทุนมาเติมเสริมสภาพคล่อง เพื่อใช้พัฒนาโครงการต่อไปได้
"แนวโน้มการปรับตัวของผู้ประกอบการรายเล็กในอนาคตค่อนข้างลำบาก โอกาสจะล้มหายตายจากมีค่อนข้างมาก ขณะที่รายกลางต้องปรับตัว โดยการร่วมทุนกับพันธมิตรหรือร่วมทุนกับบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดอสังหาฯ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีให้เห็นกันบ้างแล้ว และจากแนวโน้มดังกล่าว จะทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของบริษัทอสังหาฯรายเล็กและรายกลางเพิ่มสูงขึ้น"
***บิ๊กอสังหาฯกำไรเพิ่ม50%
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวคาดการณ์ผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ของปี 51 ว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่มีผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นเกือบทุกบริษัทกว่า 50% เช่น บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ฯประมาณการว่าจะมีกำไรในไตรมาส2 มากกว่า 1,000 ล้านบาท ,บริษัท พฤกษาฯจะมียอดกำไร 500ล้านบาท ,บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ฯ และบริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ฯ คาดมีกำไร 400 ล้านบาท ,บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ฯ คาดมีกำไร 300 ล้านบาท ,บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กำไร 250ล้านบาท ส่วนบริษัท แสนสิริฯจะพลิกจากขาดทุนประมาณ280ล้านบาทมาเป็นกำไรประมาณ 100 ล้านบาท
" สำหรับปัจจัยที่ผลักดันให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ มีอัตรากำไรเพิ่มสูงกว่า50% ส่วนหนึ่งเกิดจากการเข้าไปครองส่วนแบ่งตลาดรายกลางและรายเล็กเพิ่มขึ้น เนื่องจากมียอดขายที่รอรับรู้รายได้ในมือเหลือค่อนข้างมาก ในขณะที่ผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางไม่กล้าที่จะพัฒนาบ้านพร้อมอยู่ออกมารองรับมาตรการทางภาษี แต่ผู้ประกอบการรายใหญ่กับได้ประโยชน์ เพราะกำไรเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาษีของรัฐบาล"
***PFหวั่นตัวเลขเงินเฟ้อ2หลัก
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ ประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟคฯกล่าวด้วยความเป็นห่วงว่า ในครึ่งปีหลังยังมีปัจจัยลบเข้ามากระทบรอบด้าน ทั้งอัตราเงินเฟ้อที่จะปรับขึ้นมาอยู่ในระดับตัวเลข2 หลัก การปรับอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันที่ยังไม่หยุด ราคาวัสดุก่อสร้าง และสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ ผลพวงดังกล่าวจะทำให้ปีนี้ยอดการจดทะเบียนก่อสร้างบ้านใหม่ลดลง 5% เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการก่อสร้างลงเพื่อรอต้นทุนใหม่ที่ชัดเจน
ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัทฯ ยังคงเป้ายอดขายไว้ที่ 9,000 ล้านบาท โดยในช่วง6เดือนที่ผ่านมา บริษัทมียอดขายแล้ว4,500 ล้านบาท และในครึ่งปีหลังยังมีแผนเปิดโครงการใหม่เพิ่มอีก 6 โครงการ มูลค่า 3,500 ล้านบาท
"หากคอนโดฯ 2 โครงการที่อยู่ระหว่างการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้รับการอนุมัติ บริษัทจะเปิดตัวคอนโดฯใหม่เพิ่มอีก โดยทั้ง 2 โครงการมีมูลค่าขายต่อโครงการ 4,000 ล้านบาท"
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีปัจจัยลบเข้ามากระทบค่อนข้างมากโดยเฉพาะในเรื่องของราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการก่อสร้างบ้านเดี่ยวปรับตัวขึ้นไปแล้วกว่า 15% ในขณะที่ต้นทุนการพัฒนาคอนโดฯโลว์ไรส์ปรับตัวขึ้นไป 25% ส่วนต้นทุนการพัฒนาโครงการคอนโดฯแนวสูงปรับตัวขึ้นไปแล้ว 30% ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก ทั้งที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทนอกตลาดได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ขณะที่ สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดปล่อยสินเชื่อโครงการเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางเริ่มขาดสภาพคล่อง ส่งผลให้บริษัทอสังหาฯบางส่วนเลิกกิจการไป โดยในช่วงก่อนหน้าวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 จำนวนผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯในตลาดมีจำนวน 3,000 ราย แต่หลังวิกฤติเศรษฐกิจลดลงเหลือ 300 ราย และเพิ่มจำนวนขึ้นในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ 1,000 ราย ล่าสุด หลังเกิดปัจจัยลบเข้ามากระทบตลาดอสังหาฯอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นปัญหาการขาดสภาพคล่อง ทำให้ปริมาณผู้พัฒนาโครงการลดลงมาอยู่ที่ 500ราย และคาดว่าอนาคตจะลดลงมาเหลือที่ 300 ราย
" จะเห็นได้ว่า ในช่วงนี้ ผู้ประกอบการขนาดกลางมีการปรับตัวเพิ่มสภาพคล่อง ด้วยวิธีตัดขายที่ดินสะสมในมือออกไป เพื่อนำเงินมาหมุนเวียนในบริษัทและก่อสร้างโครงการต่อ แค่เฉพาะบริษัทในตลาดหุ้นเริ่มเคลื่อนไหวตัดขายที่ดิน เช่น บริษัทปริญสิริฯ บริษัท อารียาฯ บริษัท โนเบิลฯและบริษัท อนันดาฯ" แหล่งข่าวกล่าว
ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ ค่ายแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คอวลิตี้ เฮ้าส์ฯ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ จำกัด ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) มีความได้เปรียบทางด้านการเงิน สภาพคล่องสูง ทยอยขยายพอร์ตที่ดินสะสมเพื่อพัฒนาโครงการในอนาคต เริ่มไล่ซื้อที่ดินจากกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลาง ตลอดจนนายหน้าที่ดินต่างๆจำนวนมาก โดยเฉพาะการเข้าไปซื้อที่ดินสะสมจากกลุ่มผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่อง ทำให้ได้ราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดถึง15% เนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางต่างต้องการระบายที่ดิน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยจากเงินกู้ออกไป ขณะเดียวกันยังช่วยให้มีทุนมาเติมเสริมสภาพคล่อง เพื่อใช้พัฒนาโครงการต่อไปได้
"แนวโน้มการปรับตัวของผู้ประกอบการรายเล็กในอนาคตค่อนข้างลำบาก โอกาสจะล้มหายตายจากมีค่อนข้างมาก ขณะที่รายกลางต้องปรับตัว โดยการร่วมทุนกับพันธมิตรหรือร่วมทุนกับบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดอสังหาฯ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีให้เห็นกันบ้างแล้ว และจากแนวโน้มดังกล่าว จะทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของบริษัทอสังหาฯรายเล็กและรายกลางเพิ่มสูงขึ้น"
***บิ๊กอสังหาฯกำไรเพิ่ม50%
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวคาดการณ์ผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ของปี 51 ว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่มีผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นเกือบทุกบริษัทกว่า 50% เช่น บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ฯประมาณการว่าจะมีกำไรในไตรมาส2 มากกว่า 1,000 ล้านบาท ,บริษัท พฤกษาฯจะมียอดกำไร 500ล้านบาท ,บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ฯ และบริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ฯ คาดมีกำไร 400 ล้านบาท ,บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ฯ คาดมีกำไร 300 ล้านบาท ,บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กำไร 250ล้านบาท ส่วนบริษัท แสนสิริฯจะพลิกจากขาดทุนประมาณ280ล้านบาทมาเป็นกำไรประมาณ 100 ล้านบาท
" สำหรับปัจจัยที่ผลักดันให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ มีอัตรากำไรเพิ่มสูงกว่า50% ส่วนหนึ่งเกิดจากการเข้าไปครองส่วนแบ่งตลาดรายกลางและรายเล็กเพิ่มขึ้น เนื่องจากมียอดขายที่รอรับรู้รายได้ในมือเหลือค่อนข้างมาก ในขณะที่ผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางไม่กล้าที่จะพัฒนาบ้านพร้อมอยู่ออกมารองรับมาตรการทางภาษี แต่ผู้ประกอบการรายใหญ่กับได้ประโยชน์ เพราะกำไรเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาษีของรัฐบาล"
***PFหวั่นตัวเลขเงินเฟ้อ2หลัก
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ ประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟคฯกล่าวด้วยความเป็นห่วงว่า ในครึ่งปีหลังยังมีปัจจัยลบเข้ามากระทบรอบด้าน ทั้งอัตราเงินเฟ้อที่จะปรับขึ้นมาอยู่ในระดับตัวเลข2 หลัก การปรับอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันที่ยังไม่หยุด ราคาวัสดุก่อสร้าง และสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ ผลพวงดังกล่าวจะทำให้ปีนี้ยอดการจดทะเบียนก่อสร้างบ้านใหม่ลดลง 5% เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการก่อสร้างลงเพื่อรอต้นทุนใหม่ที่ชัดเจน
ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัทฯ ยังคงเป้ายอดขายไว้ที่ 9,000 ล้านบาท โดยในช่วง6เดือนที่ผ่านมา บริษัทมียอดขายแล้ว4,500 ล้านบาท และในครึ่งปีหลังยังมีแผนเปิดโครงการใหม่เพิ่มอีก 6 โครงการ มูลค่า 3,500 ล้านบาท
"หากคอนโดฯ 2 โครงการที่อยู่ระหว่างการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้รับการอนุมัติ บริษัทจะเปิดตัวคอนโดฯใหม่เพิ่มอีก โดยทั้ง 2 โครงการมีมูลค่าขายต่อโครงการ 4,000 ล้านบาท"