“หมอเลี้ยบ” ลั่นเศรษฐกิจไทยยังโต 6% เตรียมสรุปเมกะโปเจกต์เสนอนักลงทุนเดือนหน้า สศค.ชี้ เศรษฐกิจไตรมาส 2 ยังขยายตัวจากส่งออกและการบริโภค ยอมรับการลงทุนเริ่มสะดุดเหตุเอกชนไม่มั่นใจการเมือง ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลงอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 71.9 จุด ระบุอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปียังน่าห่วง ยันเป้าจีดีพีครึ่งปีหลังยังขยายตัวได้ในระดับ 5-5.5%
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับประมาณการทางเศรษฐกิจขยายตัวลดลง ว่า ขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ครึ่งปีหลังถ้าเงินเฟ้อไม่รุนแรงและหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นหลังมีมาตรการต่างๆ ออกมาตัวเลขการขยายตัวในอัตรา 6% ในภาวะเงินเฟ้อสูงก็ถือเป็นอัตราที่เหมาะสม
นพ.สุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สรุปภาพรวมโครงการเมกะโปรเจกต์ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ขนส่งมวลชนทางอากาศ, ขนส่งระบบราง, ระบบน้ำ, สาธารณสุข และการศึกษา เพื่อเตรียมนำเสนอต่อทูตประเทศต่างๆ นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้ได้รับทราบความชัดเจนภายในเดือนสิงหาคมนี้
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนมิถุนายน และไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดี โดยมีการส่งออก และการบริโภคเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญโดยเฉพาะการส่งออกที่ขยายตัวเกินคาดในระดับ 25.2% ส่วนการบริโภคที่ขยายตัวนั้นจะเห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นและยอดการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นเครื่องชี้แนวโน้มการบริโภคในอนาคตปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 71.9 จุด จากระดับ 72.5 จุด ในไตรมาสแรกของปี 2551 เนื่องจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองและราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน แม้จะยังขยายตัวต่อเนื่องแต่เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวลงจากปัจจุบัน โดยเฉพาะเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัว 8.4% ต่อปี ในเดือนมิถุนายน และ 10.1% ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 31.3% ต่อปี สอดคล้องกับเครื่องชี้การลงทุนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนมิถุนายน และไตรมาส 2 ที่กลับมาหดตัว -20.9% ต่อปี และ -5.6% ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนถึงภาพรวมการลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณการชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างที่วัดจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวได้ดีที่ 25.9% ต่อปี และ 29.3% ต่อปี ในเดือนมิถุนายนและในไตรมาสที่ 2 ตามลำดับ อันเป็นผลจากมาตรการลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายปูนซีเมนต์ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกที่ 3.5% ต่อปีในเดือนพฤษภาคม หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องมาโดยตลอดในช่วง 17 เดือนที่ผ่านมา
“การลงทุนในหมดเครื่องมือเครื่องจักรเริ่มลดลงสะท้อน ว่า การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงแม้จะมีนักลงทุนเข้ามามากขึ้น และมองว่า เศรษฐกิจเริ่มฟื้น แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นห่วงเรื่องการเมืองและสอบถามเข้ามามาก เพราะต้องการความมั่นใจ ซึ่งการที่รัฐบาล และ รมว.คลัง ยังเดินหน้านโนบายต่อไปก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่ง” นางพรรณี กล่าว
นางพรรณี กล่าวว่า ส่วนรายได้จัดเก็บภาษีของรัฐบาลจาก 3 กรมจัดเก็บยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัว 3.7% ต่อปีในเดือนมิถุนายน และ 12.1% ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ รายได้จัดเก็บจากภาษีฐานรายได้ขยายตัว 3.7% ต่อปีในเดือนมิถุนายน และขยายตัวที่ 16.2% ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 12.2% ต่อปี สะท้อนถึงรายได้ของประชาชนและผู้ประกอบการที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี ด้านภาษีฐานการบริโภคขยายตัวในระดับสูงที่ 16.0% และ 15.8% ต่อปีในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ตามลำดับ เนื่องจากระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นประกอบกับการบริโภคยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง
สำหรับรายจ่ายงบประมาณในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 143.2 พันล้านบาท และ 424.6 พันล้านบาท ตามลำดับ สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ 94.0% ของกรอบวงเงินงบประมาณปีงบประมาณ 2551 ซึ่งสะท้อนบทบาทภาคการคลังในช่วงที่การใช้จ่ายภาคเอกชนยังไม่สามารถฟื้นตัวเต็มที่
ขณะที่การส่งออกในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ขยายตัวได้ในระดับสูงมาก โดยมูลค่าการส่งออกในเดือนมิถุนายน และในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 16.3 และ 45.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ หรือขยายตัวที่ 27.4% ต่อปี และ 25.2% ต่อปี ตามลำดับ สำหรับสาเหตุหลักที่มูลค่าการส่งออกยังขยายตัวได้ดี โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในตลาดส่งออกใหม่ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงค์โปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง
สำหรับการนำเข้าในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ปรับตัวสูงขึ้นมากจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นหลัก ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าขยายตัวชะลอลงตามการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยการนำเข้าในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 15.6 และ 45.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวถึง 30.7% ต่อปี และ 29.7% ต่อปี ตามลำดับ สำหรับดุลการค้าในเดือนมิถุนายนเกินดุลที่ 0.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดุลการค้าในไตรมาสที่ 2 กลับมาเกินดุลการค้าเล็กน้อยที่ 0.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับการขาดดุลการค้าในไตรมาสที่ 1 จำนวน -1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเงินเฟ้อและราคาน้ำมันโดยมองว่าหลัง6มาตรการ 6 เดือนมีผลน่าจะช่วยกดเงินเฟ้อทั้งปีลงมาจาก 7-8% เหลือ 6-7% ได้ ส่วนน้ำมันขณะนี้เริ่มลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้จาก 130 เหรียญต่อบาร์เรล ปัจจุบันอยู่ที่ 121 เหรียญต่อบาร์เรล จึงเชื่อว่า จีดีพีครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ที่ 5-5.5% ซึ่งต่ำกว่าครึ่งปีแรกที่น่าจะอยู่ในอัตรา 5.9%ส่วนไตรมาส 2 น่าจะขยายตัวที่ 5.8% เทียบกับไตรมาสแรกอยู่ที่ 6%โดยหากเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้จีดีพีทั้งปีน่าจะอยู่ในระดับ 5.6%
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับประมาณการทางเศรษฐกิจขยายตัวลดลง ว่า ขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ครึ่งปีหลังถ้าเงินเฟ้อไม่รุนแรงและหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นหลังมีมาตรการต่างๆ ออกมาตัวเลขการขยายตัวในอัตรา 6% ในภาวะเงินเฟ้อสูงก็ถือเป็นอัตราที่เหมาะสม
นพ.สุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สรุปภาพรวมโครงการเมกะโปรเจกต์ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ขนส่งมวลชนทางอากาศ, ขนส่งระบบราง, ระบบน้ำ, สาธารณสุข และการศึกษา เพื่อเตรียมนำเสนอต่อทูตประเทศต่างๆ นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้ได้รับทราบความชัดเจนภายในเดือนสิงหาคมนี้
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนมิถุนายน และไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดี โดยมีการส่งออก และการบริโภคเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญโดยเฉพาะการส่งออกที่ขยายตัวเกินคาดในระดับ 25.2% ส่วนการบริโภคที่ขยายตัวนั้นจะเห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นและยอดการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นเครื่องชี้แนวโน้มการบริโภคในอนาคตปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 71.9 จุด จากระดับ 72.5 จุด ในไตรมาสแรกของปี 2551 เนื่องจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองและราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน แม้จะยังขยายตัวต่อเนื่องแต่เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวลงจากปัจจุบัน โดยเฉพาะเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัว 8.4% ต่อปี ในเดือนมิถุนายน และ 10.1% ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 31.3% ต่อปี สอดคล้องกับเครื่องชี้การลงทุนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนมิถุนายน และไตรมาส 2 ที่กลับมาหดตัว -20.9% ต่อปี และ -5.6% ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนถึงภาพรวมการลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณการชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างที่วัดจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวได้ดีที่ 25.9% ต่อปี และ 29.3% ต่อปี ในเดือนมิถุนายนและในไตรมาสที่ 2 ตามลำดับ อันเป็นผลจากมาตรการลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายปูนซีเมนต์ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกที่ 3.5% ต่อปีในเดือนพฤษภาคม หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องมาโดยตลอดในช่วง 17 เดือนที่ผ่านมา
“การลงทุนในหมดเครื่องมือเครื่องจักรเริ่มลดลงสะท้อน ว่า การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงแม้จะมีนักลงทุนเข้ามามากขึ้น และมองว่า เศรษฐกิจเริ่มฟื้น แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นห่วงเรื่องการเมืองและสอบถามเข้ามามาก เพราะต้องการความมั่นใจ ซึ่งการที่รัฐบาล และ รมว.คลัง ยังเดินหน้านโนบายต่อไปก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่ง” นางพรรณี กล่าว
นางพรรณี กล่าวว่า ส่วนรายได้จัดเก็บภาษีของรัฐบาลจาก 3 กรมจัดเก็บยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัว 3.7% ต่อปีในเดือนมิถุนายน และ 12.1% ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ รายได้จัดเก็บจากภาษีฐานรายได้ขยายตัว 3.7% ต่อปีในเดือนมิถุนายน และขยายตัวที่ 16.2% ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 12.2% ต่อปี สะท้อนถึงรายได้ของประชาชนและผู้ประกอบการที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี ด้านภาษีฐานการบริโภคขยายตัวในระดับสูงที่ 16.0% และ 15.8% ต่อปีในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ตามลำดับ เนื่องจากระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นประกอบกับการบริโภคยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง
สำหรับรายจ่ายงบประมาณในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 143.2 พันล้านบาท และ 424.6 พันล้านบาท ตามลำดับ สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ 94.0% ของกรอบวงเงินงบประมาณปีงบประมาณ 2551 ซึ่งสะท้อนบทบาทภาคการคลังในช่วงที่การใช้จ่ายภาคเอกชนยังไม่สามารถฟื้นตัวเต็มที่
ขณะที่การส่งออกในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ขยายตัวได้ในระดับสูงมาก โดยมูลค่าการส่งออกในเดือนมิถุนายน และในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 16.3 และ 45.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ หรือขยายตัวที่ 27.4% ต่อปี และ 25.2% ต่อปี ตามลำดับ สำหรับสาเหตุหลักที่มูลค่าการส่งออกยังขยายตัวได้ดี โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในตลาดส่งออกใหม่ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงค์โปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง
สำหรับการนำเข้าในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ปรับตัวสูงขึ้นมากจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นหลัก ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าขยายตัวชะลอลงตามการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยการนำเข้าในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 15.6 และ 45.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวถึง 30.7% ต่อปี และ 29.7% ต่อปี ตามลำดับ สำหรับดุลการค้าในเดือนมิถุนายนเกินดุลที่ 0.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดุลการค้าในไตรมาสที่ 2 กลับมาเกินดุลการค้าเล็กน้อยที่ 0.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับการขาดดุลการค้าในไตรมาสที่ 1 จำนวน -1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเงินเฟ้อและราคาน้ำมันโดยมองว่าหลัง6มาตรการ 6 เดือนมีผลน่าจะช่วยกดเงินเฟ้อทั้งปีลงมาจาก 7-8% เหลือ 6-7% ได้ ส่วนน้ำมันขณะนี้เริ่มลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้จาก 130 เหรียญต่อบาร์เรล ปัจจุบันอยู่ที่ 121 เหรียญต่อบาร์เรล จึงเชื่อว่า จีดีพีครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ที่ 5-5.5% ซึ่งต่ำกว่าครึ่งปีแรกที่น่าจะอยู่ในอัตรา 5.9%ส่วนไตรมาส 2 น่าจะขยายตัวที่ 5.8% เทียบกับไตรมาสแรกอยู่ที่ 6%โดยหากเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้จีดีพีทั้งปีน่าจะอยู่ในระดับ 5.6%