คลังเผยเศรษฐกิจเดือน ก.ค.ยังขยายตัวดีจากอานิสงค์การส่งออก แต่การลงทุน-บริโภคเริ่มชะลอจากดอกเบี้ยขาขึ้น ลั่นเงินสูงสุดแล้ว ส่วนดุลการค้าที่ติดลบจากการนำเข้าที่สูงนั้นไม่ถือเป็นอันตราย เพราะเป็นการนำเข้าสินค้าทุน เตรียมนำปัจจัยเสี่ยงด้านการเมืองและผลดีด้านราคาน้ำมันที่ปรับลดมาประเมินภาพรวมเศรษฐกิจใหม่เดือน ก.ย.นี้
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกที่สูงเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การบริโภคและการลงทุนยังขยายตัวดีแม้จะเริ่มชะลอตัวลงบ้างในเดือนที่ผ่านมา โดยดูได้จากยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี ที่ 16.3% และการนำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัวถึง 28.4% สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น จาก 70.8 จุดเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 71.8 จุด
ทั้งนี้ เสถียรภาพภายในประเทศยังอยู่ในระดับดี โดยในด้านเสถียรภาพภายนอกนั้น ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ 104.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 4 เท่า ในขณะที่เสถียรภาพในประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 9.2% ต่อปี ปรับตัวสูงขึ้นจาก 8.9% ต่อปี ในเดือนก่อนหน้าเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูง และราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม คาดว่า 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคนของรัฐบาลที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมและราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงในเดือนสิงหาคมจะทำให้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในอนาคตอาจปรับตัวลดลง นอกจากนี้อัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ระดับต่ำที่ 1.2% ของกำลังแรงงานรวม สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ เดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ 35.8% ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกิน 50.0% ค่อนข้างมาก
“เงินเฟ้อเดือน ก.ค.น่าจะเป็นตัวเลขที่สูงสุดแล้วเชื่อว่าเดือน ส.ค.น่าจะเริ่มชะลอตัวลง จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ส่วนดุลการค้าที่ติดลบจากการนำเข้าที่สูงนั้นไม่ถือเป็นอันตรายเพราะเป็นการนำเข้าสินค้าทุน อุปกรณ์เครื่องจักรเพื่อการผลิตไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย แม้น้ำมันจะมีการนำเข้าสูงแต่ก็มีการส่งออกไปสูงเช่นกัน”นางพรรณีส่งสัญญาณถึงคณะกรรมการนโยบานการเงิน ธปท.ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%
"การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ชาตินั้นแม้จะส่งผลดีกับผู้ออมเงินแต่ก็ทำให้ประชาชนที่มีภาระผ่อนบ้านและต้องการเงินกู้เพื่อการลงทุนมีภาระเพิ่มขึ้น เพราะหากจะกระตุ้นการลงทุนดอกเบี้ยก็ไม่ควรอยู่ในระดับสูงขณะที่กลุ่มผู้ฝากเงินที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรวยมากกว่าคนจน"
วันที่ 25 ก.ย.นี้กระทรวงการคลังจะมีการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจอีกครั้งรวมถึงผลกระทบจากปัจจัยการเมืองในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะกระทบความเชื่อมั่น รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและราคาน้ำมันที่ปรับลดลงด้วย โดยเห็นว่าราคาน้ำมันที่ปรับลดลงน่าจะทำให้แบงก์ชาติหมดความจำเป็น ในการปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปีนี้.
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกที่สูงเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การบริโภคและการลงทุนยังขยายตัวดีแม้จะเริ่มชะลอตัวลงบ้างในเดือนที่ผ่านมา โดยดูได้จากยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี ที่ 16.3% และการนำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัวถึง 28.4% สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น จาก 70.8 จุดเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 71.8 จุด
ทั้งนี้ เสถียรภาพภายในประเทศยังอยู่ในระดับดี โดยในด้านเสถียรภาพภายนอกนั้น ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ 104.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 4 เท่า ในขณะที่เสถียรภาพในประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 9.2% ต่อปี ปรับตัวสูงขึ้นจาก 8.9% ต่อปี ในเดือนก่อนหน้าเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูง และราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม คาดว่า 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคนของรัฐบาลที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมและราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงในเดือนสิงหาคมจะทำให้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในอนาคตอาจปรับตัวลดลง นอกจากนี้อัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ระดับต่ำที่ 1.2% ของกำลังแรงงานรวม สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ เดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ 35.8% ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกิน 50.0% ค่อนข้างมาก
“เงินเฟ้อเดือน ก.ค.น่าจะเป็นตัวเลขที่สูงสุดแล้วเชื่อว่าเดือน ส.ค.น่าจะเริ่มชะลอตัวลง จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ส่วนดุลการค้าที่ติดลบจากการนำเข้าที่สูงนั้นไม่ถือเป็นอันตรายเพราะเป็นการนำเข้าสินค้าทุน อุปกรณ์เครื่องจักรเพื่อการผลิตไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย แม้น้ำมันจะมีการนำเข้าสูงแต่ก็มีการส่งออกไปสูงเช่นกัน”นางพรรณีส่งสัญญาณถึงคณะกรรมการนโยบานการเงิน ธปท.ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%
"การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ชาตินั้นแม้จะส่งผลดีกับผู้ออมเงินแต่ก็ทำให้ประชาชนที่มีภาระผ่อนบ้านและต้องการเงินกู้เพื่อการลงทุนมีภาระเพิ่มขึ้น เพราะหากจะกระตุ้นการลงทุนดอกเบี้ยก็ไม่ควรอยู่ในระดับสูงขณะที่กลุ่มผู้ฝากเงินที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรวยมากกว่าคนจน"
วันที่ 25 ก.ย.นี้กระทรวงการคลังจะมีการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจอีกครั้งรวมถึงผลกระทบจากปัจจัยการเมืองในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะกระทบความเชื่อมั่น รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและราคาน้ำมันที่ปรับลดลงด้วย โดยเห็นว่าราคาน้ำมันที่ปรับลดลงน่าจะทำให้แบงก์ชาติหมดความจำเป็น ในการปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปีนี้.