หนังไทยใกล้สูญพันธุ์ เหตุ 2 ปัจจัยลบ ทั้งเศรษฐกิจการเมือง และเทปผีซีดีเถื่อนระบาดหนักกว่าหนังเทศ จากการแอบถ่าย เล็งแก้ กม.เอาผิดคนซื้อและคนดูด้วย หวั่นไทยเป็นแหล่งอาชญากรลักลอบ เผย ถูกขึ้นบัญชี PWL เร่งปราบปรามชูกลยุทธ์ใช้กล้องพิเศษตรวจจับ
นายจาฤก กัลย์จาฤก นายกสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมหนังในปีนี้ตกลง 10% ทั้งหนังไทยและหนังต่างประเทศ เนื่องจาก 2 ปัญหาหลัก คือ ภาวะเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมือง และปัญหาการละเมิดสิทธิ์จากการแอบถ่ายหนังในโรงหนัง เพื่อมาผลิตเป็นเทปผีซีดีเถื่อน ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สมาพันธ์ฯได้ติดต่อไปยัง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หลายครั้ง เพื่อขอเข้าพบ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควร รู้สึกผิดหวังอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาหลายแนวทาง เพื่อแก้ไขปัญหา อาจจะมีการแก้กฎหมายในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ของกระทรวงพาณิชย์ ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เช่น การเอาผิดกับผู้ซื้อและผู้บริโภคเทปผีซีดีเถื่อนที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะที่ผ่านมามีแต่เพียงเอาผิดผู้กระทำการละเมิดเท่านั้น ซึ่งหากแก้ไขได้จริงก็จะยิ่งทำให้การแก้ไขมีแนวโน้มดีขึ้น หรือการหาแนวทางให้ราคาซีดีถูกลงเพื่อจูงใจผู้บริโภคมาซื้อของจริงที่ราคาไม่แพง แต่ยังไม่มีข้อสรุป
“ที่ผ่านมา หลายฝ่ายก็ช่วยกันเต็มที่ ตอนนี้ผมว่าเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์เป็นปัญหาหนักที่สุด หนังไทยปีนี้มีประมาณ 50 เรื่อง ครึ่งปีแรกฉายไปแล้ว 25 เรื่อง ถูกแอบถ่ายในโรงหนังเพื่อเอาไปทำเป็นซีดีเถื่อนทุกเรื่อง ส่วนปีหน้าหากสถานการณ์แย่ลงอีก คงเหลือ 30 กว่าเรื่อง เพราะตอนนี้ทุกค่ายก็สั่งลดจำนวนการผลิตหนังลงแล้ว ผู้ผลิตหนังอยู่ในภาวะหลังพิงฝาแล้ว ต่อไปหนังไทยคงสูญพันธุ์”
นายเอ็ดเวิร์ด นอยเบอร์เนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา หรือเอ็มพีเอ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่สองรองจากฟิลิปปินส์ ที่มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างมาก โดยในช่วงครึ่งปีแรกปีนี้ หนังต่างประเทศในไทยที่เป็นสมาชิกของเอ็มพีเอถูกละเมิดด้วยการลักลอกแอบถ่ายไปแล้ว 4 เรื่อง จากปีที่แล้วมี 1 เรื่อง เป็นการเพิ่มขึ้นถึง 300% น่าเป็นห่วงว่าไทยจะเป็นแหล่งการกระทำการลักลอบแอบถ่ายของอาชญกรทั่วโลก
ขณะที่ตัวเลขในเอเชียแปซิฟิกนั้น ในปี 2550 มีการแอบถ่าย 33 ครั้ง ส่วนปี 2549 มีประมาณ 20 ครั้ง หรือสูงขึ้น 65% ซึ่งในประเทศมาเลเซียนั้นเมื่อปีที่แล้วทางรัฐบาลได้ใช้มาตรการที่เข้มงวดและจับกุมผู้กระทำความผิดได้ 30 คน ในข้อหาแอบถ่ายหนังในโรงหนัง แต่ในวันนี้ที่ฟิลิปปินส์กลับมีปัญหากว่าอีก
นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา หรือเอ็มพีเอ กล่าวว่า เอ็มพีเอได้ใช้หลายมาตรการในการปราบปรามผู้ละเมิดสิทธิ์ซึ่งวิธีการหนึ่ง คือ การตั้งทีมตรวจจับด้วยเครื่องมือพิเศษเรียกว่า “Night Vision Goggles” เป็นกล้องพิเศษที่เริ่มนำเข้ามาจำนวน 10 ตัว ราคาเฉลี่ยที่ 80,000-100,000 บาทต่อตัว สามารถส่องดูได้ว่ามีใครที่ลักลอบการถ่ายหนัง ตอนนี้เริ่มกระจายติดตั้งตามโรงหนังบ้างแล้ว ซึ่งพื้นที่ที่มีการแอบถ่ายมากที่สุดอยู่ใน ย่านลาดพร้าว ปิ่นเกล้า พระราม 2 เป็นต้น
พ.ต.อ.ศราวุธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจแลเทคโนโลยี (ปศท.) กล่าวว่า ปีที่แล้วมีการจับกุมผู้ละเมิดลิขสิทธิ์โดยรวมประมาณ 5,000 คดี โดยเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์เพลงและหนังกว่า 3,500 คดี รวมมูลค่าเสียหายกว่า 400 ล้านบาท ซึ่งปศท กำหนดเป็นมาตรการที่สำคัญในการปราบปราม เพราะน่าเป็นห่วงว่าจะกระทบกับการค้าระหว่างไทยกับอเมริกาด้วย
เนื่องจากปีนี้ผู้แทนการค้าของอเมริกา ได้ขึ้นบัญชีไทยเป็นประเทศที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาระดับ PWL (Priority Watch List) คือ ประเทศที่ต้องจับตามองในอันดับต้นๆ ซึ่งหนักกว่าเมื่อปี 2547-2549 ที่ไทยอยู่ในระดับ WL เน้น คือ ประเทศที่ต้องจับตามอง ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและการค้าด้วย
การป้องกันการละเมิดต้องช่วยกันหลายฝ่าย ทางตำรวจเป็นเหมือนปลายน้ำเท่านั้น เมื่อเกิดขึ้นมีผู้เสียหายจึงจับกุม เราทำได้แค่ 20-30% เท่านั้น ซึ่งความผิดนั้นก็รุนแรงเหมือนกัน ในมาตรา 29 ระบุว่า การละเมิดโดยการไม่ได้รับอนุญาตทำซ้ำดัดแปลง หรือจำหน่ายเพื่อการค้า มีโทษจำคุก 4-6 ปี ปรับ 1-8 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องของศาลที่จะใช้ดุลยพินิจในการตัดสินด้วย
นายจาฤก กัลย์จาฤก นายกสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมหนังในปีนี้ตกลง 10% ทั้งหนังไทยและหนังต่างประเทศ เนื่องจาก 2 ปัญหาหลัก คือ ภาวะเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมือง และปัญหาการละเมิดสิทธิ์จากการแอบถ่ายหนังในโรงหนัง เพื่อมาผลิตเป็นเทปผีซีดีเถื่อน ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สมาพันธ์ฯได้ติดต่อไปยัง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หลายครั้ง เพื่อขอเข้าพบ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควร รู้สึกผิดหวังอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาหลายแนวทาง เพื่อแก้ไขปัญหา อาจจะมีการแก้กฎหมายในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ของกระทรวงพาณิชย์ ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เช่น การเอาผิดกับผู้ซื้อและผู้บริโภคเทปผีซีดีเถื่อนที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะที่ผ่านมามีแต่เพียงเอาผิดผู้กระทำการละเมิดเท่านั้น ซึ่งหากแก้ไขได้จริงก็จะยิ่งทำให้การแก้ไขมีแนวโน้มดีขึ้น หรือการหาแนวทางให้ราคาซีดีถูกลงเพื่อจูงใจผู้บริโภคมาซื้อของจริงที่ราคาไม่แพง แต่ยังไม่มีข้อสรุป
“ที่ผ่านมา หลายฝ่ายก็ช่วยกันเต็มที่ ตอนนี้ผมว่าเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์เป็นปัญหาหนักที่สุด หนังไทยปีนี้มีประมาณ 50 เรื่อง ครึ่งปีแรกฉายไปแล้ว 25 เรื่อง ถูกแอบถ่ายในโรงหนังเพื่อเอาไปทำเป็นซีดีเถื่อนทุกเรื่อง ส่วนปีหน้าหากสถานการณ์แย่ลงอีก คงเหลือ 30 กว่าเรื่อง เพราะตอนนี้ทุกค่ายก็สั่งลดจำนวนการผลิตหนังลงแล้ว ผู้ผลิตหนังอยู่ในภาวะหลังพิงฝาแล้ว ต่อไปหนังไทยคงสูญพันธุ์”
นายเอ็ดเวิร์ด นอยเบอร์เนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา หรือเอ็มพีเอ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่สองรองจากฟิลิปปินส์ ที่มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างมาก โดยในช่วงครึ่งปีแรกปีนี้ หนังต่างประเทศในไทยที่เป็นสมาชิกของเอ็มพีเอถูกละเมิดด้วยการลักลอกแอบถ่ายไปแล้ว 4 เรื่อง จากปีที่แล้วมี 1 เรื่อง เป็นการเพิ่มขึ้นถึง 300% น่าเป็นห่วงว่าไทยจะเป็นแหล่งการกระทำการลักลอบแอบถ่ายของอาชญกรทั่วโลก
ขณะที่ตัวเลขในเอเชียแปซิฟิกนั้น ในปี 2550 มีการแอบถ่าย 33 ครั้ง ส่วนปี 2549 มีประมาณ 20 ครั้ง หรือสูงขึ้น 65% ซึ่งในประเทศมาเลเซียนั้นเมื่อปีที่แล้วทางรัฐบาลได้ใช้มาตรการที่เข้มงวดและจับกุมผู้กระทำความผิดได้ 30 คน ในข้อหาแอบถ่ายหนังในโรงหนัง แต่ในวันนี้ที่ฟิลิปปินส์กลับมีปัญหากว่าอีก
นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา หรือเอ็มพีเอ กล่าวว่า เอ็มพีเอได้ใช้หลายมาตรการในการปราบปรามผู้ละเมิดสิทธิ์ซึ่งวิธีการหนึ่ง คือ การตั้งทีมตรวจจับด้วยเครื่องมือพิเศษเรียกว่า “Night Vision Goggles” เป็นกล้องพิเศษที่เริ่มนำเข้ามาจำนวน 10 ตัว ราคาเฉลี่ยที่ 80,000-100,000 บาทต่อตัว สามารถส่องดูได้ว่ามีใครที่ลักลอบการถ่ายหนัง ตอนนี้เริ่มกระจายติดตั้งตามโรงหนังบ้างแล้ว ซึ่งพื้นที่ที่มีการแอบถ่ายมากที่สุดอยู่ใน ย่านลาดพร้าว ปิ่นเกล้า พระราม 2 เป็นต้น
พ.ต.อ.ศราวุธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจแลเทคโนโลยี (ปศท.) กล่าวว่า ปีที่แล้วมีการจับกุมผู้ละเมิดลิขสิทธิ์โดยรวมประมาณ 5,000 คดี โดยเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์เพลงและหนังกว่า 3,500 คดี รวมมูลค่าเสียหายกว่า 400 ล้านบาท ซึ่งปศท กำหนดเป็นมาตรการที่สำคัญในการปราบปราม เพราะน่าเป็นห่วงว่าจะกระทบกับการค้าระหว่างไทยกับอเมริกาด้วย
เนื่องจากปีนี้ผู้แทนการค้าของอเมริกา ได้ขึ้นบัญชีไทยเป็นประเทศที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาระดับ PWL (Priority Watch List) คือ ประเทศที่ต้องจับตามองในอันดับต้นๆ ซึ่งหนักกว่าเมื่อปี 2547-2549 ที่ไทยอยู่ในระดับ WL เน้น คือ ประเทศที่ต้องจับตามอง ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและการค้าด้วย
การป้องกันการละเมิดต้องช่วยกันหลายฝ่าย ทางตำรวจเป็นเหมือนปลายน้ำเท่านั้น เมื่อเกิดขึ้นมีผู้เสียหายจึงจับกุม เราทำได้แค่ 20-30% เท่านั้น ซึ่งความผิดนั้นก็รุนแรงเหมือนกัน ในมาตรา 29 ระบุว่า การละเมิดโดยการไม่ได้รับอนุญาตทำซ้ำดัดแปลง หรือจำหน่ายเพื่อการค้า มีโทษจำคุก 4-6 ปี ปรับ 1-8 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องของศาลที่จะใช้ดุลยพินิจในการตัดสินด้วย