OIE เลือกซีพีเอฟเป็นแห่งแรกของโลก เพื่อศึกษาระบบ Compartment ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก
นายธีรศักดิ์ อุรุนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศหรือ OIE และกรมปศุสัตว์ ได้เลือกฟาร์มไก่เนื้อของซีพีเอฟ เป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของโลก (Pilot project) เพื่อศึกษาระบบ Compartment สำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก หลังจากที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่มีการนำระบบ Compartment ขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม และซีพีเอฟก็เป็นบริษัทแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบ Compartment จากกรมปศุสัตว์ ครอบคลุมฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อและเป็ดเนื้อ ภายใต้ชื่อบริษัท 4 แห่งได้แก่ 1) บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ไก่เนื้อ), 2) บมจ.กรุงเทพโปรดิ๊วส์ (ไก่เนื้อ), 3) บจ.ซี.พี.เอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร (ไก่เนื้อ), 4) บมจ.กรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร(เป็ดเนื้อ)
นายธีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ซีพีเอฟได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดทำระบบ Compartment ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกกับกรมปศุสัตว์ มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2549 ปัจจุบันทั้ง 4 บริษัทของ CPF ที่เข้าร่วมโครงการฯดังกล่าว ได้ผ่านการตรวจรับรองคู่มือการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและผ่านการตรวจรับรองฟาร์มจากกรมปศุสัตว์แล้วทั้งสิ้น โดยมีการเก็บตัวอย่างเพื่อเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกครบกำหนด 12 เดือนต่อเนื่อง และสามารถพิสูจน์ได้ว่าทุกฟาร์มในระบบ Compartment ปลอดจากโรคไข้หวัดนกตามเงื่อนไขของกรมปศุสัตว์และมาตรฐานสากล
“ซีพีเอฟ มีความพร้อมในด้านพื้นฐานการจัดการฟาร์มและมีมาตรฐานฟาร์มที่ดีอยู่แล้ว เมื่อนำระบบ Compartment เข้ามาใช้และเพิ่มความเข้มงวดในบางจุดให้มากขึ้น ก็สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้จริงว่า ทุกๆฟาร์ม รวมถึงเขตกันชน (Buffer zone) ของแต่ละ Compartment ไม่มีเชื้อไข้หวัดนก” นายธีรศักดิ์กล่าวและว่า ระบบ Compartment ไม่เพียงสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคไข้หวัดนกเท่านั้น แต่ยังช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคระบาดสัตว์อื่นๆ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง และเป็นหลักประกันความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการตลาดสินค้าอาหารที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ ระบบ Compartment หรือ ระบบแยกส่วนการเลี้ยง มี 4 องค์ประกอบหลักที่สำคัญ ได้แก่ 1.)มาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity Management) 2.) การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพื้นที่กันชนในรัศมี 1 กม. รอบฟาร์ม (Surveillance) 3.)การควบคุมโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพื้นที่กันชนในรัศมี 1 กม.รอบฟาร์ม 4.) ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)
นายธีรศักดิ์ อุรุนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศหรือ OIE และกรมปศุสัตว์ ได้เลือกฟาร์มไก่เนื้อของซีพีเอฟ เป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของโลก (Pilot project) เพื่อศึกษาระบบ Compartment สำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก หลังจากที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่มีการนำระบบ Compartment ขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม และซีพีเอฟก็เป็นบริษัทแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบ Compartment จากกรมปศุสัตว์ ครอบคลุมฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อและเป็ดเนื้อ ภายใต้ชื่อบริษัท 4 แห่งได้แก่ 1) บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ไก่เนื้อ), 2) บมจ.กรุงเทพโปรดิ๊วส์ (ไก่เนื้อ), 3) บจ.ซี.พี.เอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร (ไก่เนื้อ), 4) บมจ.กรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร(เป็ดเนื้อ)
นายธีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ซีพีเอฟได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดทำระบบ Compartment ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกกับกรมปศุสัตว์ มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2549 ปัจจุบันทั้ง 4 บริษัทของ CPF ที่เข้าร่วมโครงการฯดังกล่าว ได้ผ่านการตรวจรับรองคู่มือการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและผ่านการตรวจรับรองฟาร์มจากกรมปศุสัตว์แล้วทั้งสิ้น โดยมีการเก็บตัวอย่างเพื่อเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกครบกำหนด 12 เดือนต่อเนื่อง และสามารถพิสูจน์ได้ว่าทุกฟาร์มในระบบ Compartment ปลอดจากโรคไข้หวัดนกตามเงื่อนไขของกรมปศุสัตว์และมาตรฐานสากล
“ซีพีเอฟ มีความพร้อมในด้านพื้นฐานการจัดการฟาร์มและมีมาตรฐานฟาร์มที่ดีอยู่แล้ว เมื่อนำระบบ Compartment เข้ามาใช้และเพิ่มความเข้มงวดในบางจุดให้มากขึ้น ก็สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้จริงว่า ทุกๆฟาร์ม รวมถึงเขตกันชน (Buffer zone) ของแต่ละ Compartment ไม่มีเชื้อไข้หวัดนก” นายธีรศักดิ์กล่าวและว่า ระบบ Compartment ไม่เพียงสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคไข้หวัดนกเท่านั้น แต่ยังช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคระบาดสัตว์อื่นๆ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง และเป็นหลักประกันความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการตลาดสินค้าอาหารที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ ระบบ Compartment หรือ ระบบแยกส่วนการเลี้ยง มี 4 องค์ประกอบหลักที่สำคัญ ได้แก่ 1.)มาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity Management) 2.) การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพื้นที่กันชนในรัศมี 1 กม. รอบฟาร์ม (Surveillance) 3.)การควบคุมโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพื้นที่กันชนในรัศมี 1 กม.รอบฟาร์ม 4.) ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)