ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อปี 2551 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.0-5.8 หลังจากแนวโน้มราคาสินค้าและพลังงานยังทรงตัวในระดับสูง
วันนี้(2 พ.ค.) บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 23 เดือน ที่ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับร้อยละ 5.3 ในเดือน มี.ค. ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือน เม.ย. ขยับขึ้น ร้อยละ 2.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางปี 2549 และสูงขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวขึ้นอย่างมากของราคาสินค้าผู้บริโภคจากหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.8 โดยเฉพาะราคาข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่มร้อยละ 19.6 ผักและผลไม้ เพิ่มร้อยละ 11.1 ตลอดจนราคาในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 นำโดยน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เพิ่มร้อยละ 24.8
สำหรับแนวโน้มราคาสินค้าและพลังงานที่ยังทรงตัวในระดับสูง โดยมีความเป็นไปได้ที่จะขยับขึ้นอีกในบางรายการในระยะถัดไป ได้แก่ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ค่าขนส่ง และสินค้าอื่น ๆ ที่อาจขยับขึ้นตามค่าแรง ขั้นต่ำทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปี น่าจะยังคยู่ในระดับสูง โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อของปีนี้ขึ้นสู่กรอบร้อยละ 5.0-5.8 โดยมีค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 5.4 รวมทั้งคาดว่า แรงกดดันเงินเฟ้อจะยังคงมีน้ำหนักต่อการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุมรอบถัดไป
สำหรับผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งที่ 7 นับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2550 อีกร้อยละ 0.25 สู่ระดับร้อยละ 2.00 สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยเฟดเชื่อว่าการปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวประกอบกับมาตรการดูแลปัญหาสภาพคล่อง จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐ และบรรเทาความเสี่ยงที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะถัดไป ซึ่งแถลงการณ์ของเฟดหลังการประชุมยังคงบ่งถึงความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ
โดยเฟดได้ระบุถึงความอ่อนแอของการใช้จ่ายภาคเอกชน ปัญหาในตลาดการเงิน การหดตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่รอจะกดดันเศรษฐกิจสหรัฐในระยะถัดไป ซึ่งคาดว่า เฟดอาจจะยังคงรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่จะส่งสัญญาณยุติการปรับลดดอกเบี้ยที่ชัดเจนขึ้น แม้ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกของสหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 0.6 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ร้อยละ 0.2
อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายยังคาดว่า อัตราการขยายตัวในไตรมาส 2 น่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ และมีความเป็นไปได้เกือบร้อยละ 80 ที่เฟดจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมถัดไปในเดือน มิ.ย.นี้
วันนี้(2 พ.ค.) บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 23 เดือน ที่ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับร้อยละ 5.3 ในเดือน มี.ค. ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือน เม.ย. ขยับขึ้น ร้อยละ 2.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางปี 2549 และสูงขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวขึ้นอย่างมากของราคาสินค้าผู้บริโภคจากหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.8 โดยเฉพาะราคาข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่มร้อยละ 19.6 ผักและผลไม้ เพิ่มร้อยละ 11.1 ตลอดจนราคาในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 นำโดยน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เพิ่มร้อยละ 24.8
สำหรับแนวโน้มราคาสินค้าและพลังงานที่ยังทรงตัวในระดับสูง โดยมีความเป็นไปได้ที่จะขยับขึ้นอีกในบางรายการในระยะถัดไป ได้แก่ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ค่าขนส่ง และสินค้าอื่น ๆ ที่อาจขยับขึ้นตามค่าแรง ขั้นต่ำทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปี น่าจะยังคยู่ในระดับสูง โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อของปีนี้ขึ้นสู่กรอบร้อยละ 5.0-5.8 โดยมีค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 5.4 รวมทั้งคาดว่า แรงกดดันเงินเฟ้อจะยังคงมีน้ำหนักต่อการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุมรอบถัดไป
สำหรับผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งที่ 7 นับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2550 อีกร้อยละ 0.25 สู่ระดับร้อยละ 2.00 สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยเฟดเชื่อว่าการปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวประกอบกับมาตรการดูแลปัญหาสภาพคล่อง จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐ และบรรเทาความเสี่ยงที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะถัดไป ซึ่งแถลงการณ์ของเฟดหลังการประชุมยังคงบ่งถึงความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ
โดยเฟดได้ระบุถึงความอ่อนแอของการใช้จ่ายภาคเอกชน ปัญหาในตลาดการเงิน การหดตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่รอจะกดดันเศรษฐกิจสหรัฐในระยะถัดไป ซึ่งคาดว่า เฟดอาจจะยังคงรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่จะส่งสัญญาณยุติการปรับลดดอกเบี้ยที่ชัดเจนขึ้น แม้ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกของสหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 0.6 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ร้อยละ 0.2
อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายยังคาดว่า อัตราการขยายตัวในไตรมาส 2 น่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ และมีความเป็นไปได้เกือบร้อยละ 80 ที่เฟดจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมถัดไปในเดือน มิ.ย.นี้