วีระศักดิ์ รวมพลคนท่องเที่ยวและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดพัฒนาการท่องเที่ยว นัดแรก ใส่ลูกยอ “เติ้ง” ให้เกียรติเป็นที่ปรึกษา หวังได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ช่วยอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
วานนี้(1 พ.ค.51) ในการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดพัฒนาการท่องเที่ยว นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานคณะกรรมการ กล่าวว่า เป็นการประชุมนัดแรก ภายหลังจากที่ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา โดยนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ได้ให้เกียรติรับเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุดนี้ และ ยังมีที่ปรึกษาอีก 2 ท่าน คือ นายกร ทัพพะรังสี รักษาการรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และ นายวันชัย ศารทูลทัด ประธาน บอร์ด ททท. ส่วน กรรมการ จะเป็นผู้แทนมาจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยว อาทิ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บริษัทท่าอากาศยานไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ สมาคมด้านการท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น
“คณะกรรมการชุดนี้ เปรียบได้กับเป็นคณะกรรมการร่วมรัฐเอกชน หรือ กรอ. ด้านการท่องเที่ยว ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ ติดตามเร่งรัด ตรวจสอบ การดำเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยว ตามนโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยว และ ให้คำปรึกษารับฟังปัญหาจากภาคเอกชน ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข รวมไปถึงการคัดกรองเรื่องที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ มั่นใจว่า ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของนายบรรหาร ศิลปะอาชา จะช่วยเข้ามาแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างบูรณาการ”
สำหรับวาระการประชุมครั้งนี้ เป็นการแจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบพร้อมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ถึงแผนการทำงานของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ในด้านการตลาด แผนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและบุคลากร ตลอดจนปัญหาที่ภาคเอกชนกำลังประสบอยู่ขณะฯ เช่น ความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ เจ้าหน้าที่ตรงคนเข้าเมืองไม่เพียงพอ ปัญหาการคมนาคม หากต้องเปิดใช้ 2 สนามบิน แผนการตั้งสำนักงาน ททท. ในประเทศและต่างประเทศให้เพียงพอครอบคลุมนักท่องเที่ยวในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะตลาดใหม่ๆ ที่กำลังมาแรง อย่าง จีน และ อินเดีย เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการปรับแนวคิดการคำนวณวงเงินงบประมาณของ ททท. ว่าจะขอในสัดส่วน 1%ของ รายได้จากนักท่องเที่ยว ที่ ททท.ได้ประเมินไว้ในแต่ละปีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ททท.ในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งประเด็นนี้ ภาคเอกชนเห็นด้วย
เนื่องจากต้องการงบประมาณมาช่วยบูรณาการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย และ การช่วยภาคเอกชนทำการตลาด โดยในปีงบประมาณ 2552 ได้ยื่นขอไปในวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท จากแผนงานรายได้ที่ ททท.ตั้งเป้าจะสร้างรายได้รวมทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ที่ 1 ล้านล้านบาท แต่หาก กระทรวงการคลังโดยสำนักงบประมาณไม่สามารถจัดสรรให้ได้ ก็ขอให้พิจารณา 1 % ของ รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียงส่วนเดียว ซึ่ง ททท.จะได้งบประมาณราว 6 พันล้านบาท ซึ่งมากกว่าปัจจุบันที่ได้เฉลี่ยที่ปีละ 4 พันล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอแก้การทำงาน ทำให้ไทยเสียโอกาสทางการแข่งขัน
อย่างไรก็ตาม นายบรรหาร ได้ฝากให้ ที่ประชุมกลับไปทำการบ้าน จากทุกหัวข้อที่แจ้งในที่ประชุมครั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลมาแจ้งให้ที่ประชุมทราบในครั้งต่อไป โดยการประชุมคณะกรรมการชุดนี้จะมีเดือนละ 1 ครั้ง ต่างจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ที่ประชุมได้ไม่เกิน 4 ครั้งใน1 ปี โดยการทำงานจะอยู่ภายใต้กรอบข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ เท่านั้น
วานนี้(1 พ.ค.51) ในการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดพัฒนาการท่องเที่ยว นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานคณะกรรมการ กล่าวว่า เป็นการประชุมนัดแรก ภายหลังจากที่ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา โดยนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ได้ให้เกียรติรับเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุดนี้ และ ยังมีที่ปรึกษาอีก 2 ท่าน คือ นายกร ทัพพะรังสี รักษาการรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และ นายวันชัย ศารทูลทัด ประธาน บอร์ด ททท. ส่วน กรรมการ จะเป็นผู้แทนมาจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยว อาทิ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บริษัทท่าอากาศยานไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ สมาคมด้านการท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น
“คณะกรรมการชุดนี้ เปรียบได้กับเป็นคณะกรรมการร่วมรัฐเอกชน หรือ กรอ. ด้านการท่องเที่ยว ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ ติดตามเร่งรัด ตรวจสอบ การดำเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยว ตามนโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยว และ ให้คำปรึกษารับฟังปัญหาจากภาคเอกชน ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข รวมไปถึงการคัดกรองเรื่องที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ มั่นใจว่า ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของนายบรรหาร ศิลปะอาชา จะช่วยเข้ามาแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างบูรณาการ”
สำหรับวาระการประชุมครั้งนี้ เป็นการแจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบพร้อมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ถึงแผนการทำงานของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ในด้านการตลาด แผนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและบุคลากร ตลอดจนปัญหาที่ภาคเอกชนกำลังประสบอยู่ขณะฯ เช่น ความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ เจ้าหน้าที่ตรงคนเข้าเมืองไม่เพียงพอ ปัญหาการคมนาคม หากต้องเปิดใช้ 2 สนามบิน แผนการตั้งสำนักงาน ททท. ในประเทศและต่างประเทศให้เพียงพอครอบคลุมนักท่องเที่ยวในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะตลาดใหม่ๆ ที่กำลังมาแรง อย่าง จีน และ อินเดีย เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการปรับแนวคิดการคำนวณวงเงินงบประมาณของ ททท. ว่าจะขอในสัดส่วน 1%ของ รายได้จากนักท่องเที่ยว ที่ ททท.ได้ประเมินไว้ในแต่ละปีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ททท.ในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งประเด็นนี้ ภาคเอกชนเห็นด้วย
เนื่องจากต้องการงบประมาณมาช่วยบูรณาการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย และ การช่วยภาคเอกชนทำการตลาด โดยในปีงบประมาณ 2552 ได้ยื่นขอไปในวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท จากแผนงานรายได้ที่ ททท.ตั้งเป้าจะสร้างรายได้รวมทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ที่ 1 ล้านล้านบาท แต่หาก กระทรวงการคลังโดยสำนักงบประมาณไม่สามารถจัดสรรให้ได้ ก็ขอให้พิจารณา 1 % ของ รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียงส่วนเดียว ซึ่ง ททท.จะได้งบประมาณราว 6 พันล้านบาท ซึ่งมากกว่าปัจจุบันที่ได้เฉลี่ยที่ปีละ 4 พันล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอแก้การทำงาน ทำให้ไทยเสียโอกาสทางการแข่งขัน
อย่างไรก็ตาม นายบรรหาร ได้ฝากให้ ที่ประชุมกลับไปทำการบ้าน จากทุกหัวข้อที่แจ้งในที่ประชุมครั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลมาแจ้งให้ที่ประชุมทราบในครั้งต่อไป โดยการประชุมคณะกรรมการชุดนี้จะมีเดือนละ 1 ครั้ง ต่างจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ที่ประชุมได้ไม่เกิน 4 ครั้งใน1 ปี โดยการทำงานจะอยู่ภายใต้กรอบข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ เท่านั้น