ยูเอสทีอาร์ แฉ ไทยกีดกันการค้าสารพัดรูปแบบ เก็บภาษีนำเข้าสุดโหด ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ปิดกั้นการลงทุนภาคบริการ และยังมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอยู่สูงมาก แถมไม่เชื่อน้ำยารัฐบาลไทยแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้ ชี้การทำซีแอลยาไม่โปร่งใส ทำให้ไทยอาจจะไม่พ้นสถานะประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ ในการพิจารณาปลายเดือน เม.ย.นี้ และมีแนวโน้มถูกตัดสิทธิจีเอสพี
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) ได้นำเสนอรายงานการประเมินปัญหาและอุปสรรคทางการค้าของประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ ประจำปี 2551 (National Trade Estimate Report on Foreign Trade Barriers 2008) ต่อสภาคองเกรส และ นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ลงนามเห็นชอบแล้ว โดยในรายงานมีการระบุถึงไทย ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับที่ 27 ว่า ในปี 2550 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าไทยสูงถึง 14,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯเท่ากับปี 2549 โดยนำเข้าจากไทย 22,800 ล้านเหรียญแต่ส่งออกมาไทยเพียง 8,400 ล้านเหรียญเท่านั้น
ขณะเดียวกัน ยังได้ชี้ให้เห็นว่า ไทยมีการกำหนดนโยบายที่เป็นอุปสรรคทางการค้าจำนวนมาก ตั้งแต่นโยบายการนำเข้า ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูงมากในแทบจะทุกสินค้า การจัดซื้อโดยรัฐ ที่ขาดความโปร่งใส การอุดหนุนการส่งออกโดยรัฐ การป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่ขาดประสิทธิภาพและขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังมีข้อกีดกันทางด้านการลงทุน ที่แม้ไทยและสหรัฐฯจะมีสนธิสัญญาและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งไทยให้สิทธิชาวอเมริกันเยี่ยงคนในชาติ แต่ก็ยังจำกัด การลงทุนในอีกหลายสาขา รวมถึงรัฐบาลไทยยังมีมาตรการคุมราคาสินค้า โดยมีสินค้าควบคุม 33 รายการและบริการควบคุม 2 บริการ
ทั้งนี้ ในด้านการนำเข้านั้น สหรัฐฯ ระบุว่า ไทยเน้นปกป้องผู้ประกอบการภายใน และปิดกั้นการเข้าสู่ตลาดของสินค้าสหรัฐฯ โครงสร้างทางภาษีของไทยซับซ้อน ไม่โปร่งใส และเก็บภาษีนำเข้าสูงมาก แม้อัตราภาษีปกติของประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 11.4% แต่มีสินค้าบางรายการที่เก็บสูงถึงกว่า 80% โดยเฉพาะในสินค้าเกษตร ยานยนต์และชิ้นส่วน รถจักรยานยนต์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผ้าฝืน กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษแข็ง และของใช้ในภัตตาคาร ขณะที่สินค้าอีกหลายชนิด เช่น น้ำมันไร้สารตะกั่ว เบียร์ ไวน์ เหล้ากลั่นต้องเสียทั้งภาษีนำเข้า ภาษีสรรพสามิต และค่าธรรมเนียมอื่นๆ รวมแล้วสูงถึง 400%
นอกจากนี้ ยังมีการกีดกันการนำเข้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลไม้สด ผักสด เนยแข็ง นอกจากจะเสียภาษีนำเข้าในอัตราสูงระหว่าง 30-50% ซึ่งสูงที่สุดในอาเซียน ไทยยังกำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า และต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราสูงอีก เช่น เนื้อวัว และเนื้อหมู ตันละ 142 เหรียญ ไก่ตันละ 286 เหรียญ เครื่องในสัตว์ตันละ 142 เหรียญ
ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา ไทยยังละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯอยู่มาก จนเมื่อปี 2550 ยูเอสทีอาร์เลื่อนสถานะของไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษด้านทรัพย์สินทางปัญญา (พีดับบลิวแอล) จากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (ดับบลิวแอล) ตามมาตรา 301 พิเศษ กฎหมายการค้าเพราะการป้องกันและปราบปรามการละเมิดแย่ลง มีการประกาศใช้สิทธิการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตร (ซีแอล) อย่างไม่โปร่งใสซึ่งสหรัฐจะนำเรื่องการแก้ไขปัญหาการละเมิดที่แย่ลงมาหารือกับรํฐบาลไทย และจะประกาศผลการทบทวนสถานะของไทยในปลายเดือน เม.ย.นี้
สำหรับภาคบริการ สหรัฐฯ เห็นว่า ไทยก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ทั้งในเรื่องของการลงทุนด้านโทรคมนาคมขณะที่ภาคการเงิน แม้จะยอมให้ต่างชาติลงทุนในธนาคารพาณิชย์ได้มากกว่า 49% แต่ก็ยังจำกัดการขยายสาขา จำกัดการถือเงินบาทในครอบครองต้องไม่เกินกว่า 125 ล้านบาท
ส่วนการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างกัน ได้หยุดการเจรจาไปแล้ว หลังจากที่ได้เจรจามาแล้ว 7 ครั้งตั้งแต่เดือน มิ.ย.2547 ขณะที่ สหรัฐฯ กำลังติดตามพัฒนาการทางการเมืองของไทยหลังการจัดตั้งรัฐบาลเมื่อเดือน ก.พ.2551 ซึ่งหากมีความชัดเจนจะมีการสานความสัมพันธ์ทางการค้าต่อไป
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยได้พยายามแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชั่นในประเทศ โดยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 แต่สหรัฐฯเชื่อว่า การขาดความโปร่งใสในการบริหารประเทศ จะทำให้ปัญหากการคอร์รัปชั่นไม่หมดไปอย่างแน่นอน
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) ได้นำเสนอรายงานการประเมินปัญหาและอุปสรรคทางการค้าของประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ ประจำปี 2551 (National Trade Estimate Report on Foreign Trade Barriers 2008) ต่อสภาคองเกรส และ นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ลงนามเห็นชอบแล้ว โดยในรายงานมีการระบุถึงไทย ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับที่ 27 ว่า ในปี 2550 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าไทยสูงถึง 14,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯเท่ากับปี 2549 โดยนำเข้าจากไทย 22,800 ล้านเหรียญแต่ส่งออกมาไทยเพียง 8,400 ล้านเหรียญเท่านั้น
ขณะเดียวกัน ยังได้ชี้ให้เห็นว่า ไทยมีการกำหนดนโยบายที่เป็นอุปสรรคทางการค้าจำนวนมาก ตั้งแต่นโยบายการนำเข้า ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูงมากในแทบจะทุกสินค้า การจัดซื้อโดยรัฐ ที่ขาดความโปร่งใส การอุดหนุนการส่งออกโดยรัฐ การป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่ขาดประสิทธิภาพและขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังมีข้อกีดกันทางด้านการลงทุน ที่แม้ไทยและสหรัฐฯจะมีสนธิสัญญาและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งไทยให้สิทธิชาวอเมริกันเยี่ยงคนในชาติ แต่ก็ยังจำกัด การลงทุนในอีกหลายสาขา รวมถึงรัฐบาลไทยยังมีมาตรการคุมราคาสินค้า โดยมีสินค้าควบคุม 33 รายการและบริการควบคุม 2 บริการ
ทั้งนี้ ในด้านการนำเข้านั้น สหรัฐฯ ระบุว่า ไทยเน้นปกป้องผู้ประกอบการภายใน และปิดกั้นการเข้าสู่ตลาดของสินค้าสหรัฐฯ โครงสร้างทางภาษีของไทยซับซ้อน ไม่โปร่งใส และเก็บภาษีนำเข้าสูงมาก แม้อัตราภาษีปกติของประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 11.4% แต่มีสินค้าบางรายการที่เก็บสูงถึงกว่า 80% โดยเฉพาะในสินค้าเกษตร ยานยนต์และชิ้นส่วน รถจักรยานยนต์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผ้าฝืน กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษแข็ง และของใช้ในภัตตาคาร ขณะที่สินค้าอีกหลายชนิด เช่น น้ำมันไร้สารตะกั่ว เบียร์ ไวน์ เหล้ากลั่นต้องเสียทั้งภาษีนำเข้า ภาษีสรรพสามิต และค่าธรรมเนียมอื่นๆ รวมแล้วสูงถึง 400%
นอกจากนี้ ยังมีการกีดกันการนำเข้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลไม้สด ผักสด เนยแข็ง นอกจากจะเสียภาษีนำเข้าในอัตราสูงระหว่าง 30-50% ซึ่งสูงที่สุดในอาเซียน ไทยยังกำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า และต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราสูงอีก เช่น เนื้อวัว และเนื้อหมู ตันละ 142 เหรียญ ไก่ตันละ 286 เหรียญ เครื่องในสัตว์ตันละ 142 เหรียญ
ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา ไทยยังละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯอยู่มาก จนเมื่อปี 2550 ยูเอสทีอาร์เลื่อนสถานะของไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษด้านทรัพย์สินทางปัญญา (พีดับบลิวแอล) จากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (ดับบลิวแอล) ตามมาตรา 301 พิเศษ กฎหมายการค้าเพราะการป้องกันและปราบปรามการละเมิดแย่ลง มีการประกาศใช้สิทธิการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตร (ซีแอล) อย่างไม่โปร่งใสซึ่งสหรัฐจะนำเรื่องการแก้ไขปัญหาการละเมิดที่แย่ลงมาหารือกับรํฐบาลไทย และจะประกาศผลการทบทวนสถานะของไทยในปลายเดือน เม.ย.นี้
สำหรับภาคบริการ สหรัฐฯ เห็นว่า ไทยก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ทั้งในเรื่องของการลงทุนด้านโทรคมนาคมขณะที่ภาคการเงิน แม้จะยอมให้ต่างชาติลงทุนในธนาคารพาณิชย์ได้มากกว่า 49% แต่ก็ยังจำกัดการขยายสาขา จำกัดการถือเงินบาทในครอบครองต้องไม่เกินกว่า 125 ล้านบาท
ส่วนการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างกัน ได้หยุดการเจรจาไปแล้ว หลังจากที่ได้เจรจามาแล้ว 7 ครั้งตั้งแต่เดือน มิ.ย.2547 ขณะที่ สหรัฐฯ กำลังติดตามพัฒนาการทางการเมืองของไทยหลังการจัดตั้งรัฐบาลเมื่อเดือน ก.พ.2551 ซึ่งหากมีความชัดเจนจะมีการสานความสัมพันธ์ทางการค้าต่อไป
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยได้พยายามแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชั่นในประเทศ โดยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 แต่สหรัฐฯเชื่อว่า การขาดความโปร่งใสในการบริหารประเทศ จะทำให้ปัญหากการคอร์รัปชั่นไม่หมดไปอย่างแน่นอน