บสย.สบช่องขอคลังเพิ่มทุนอีก 2,000 ล้าน หลังการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายของ รมช.คลัง อ้างจากเป้าหมายค้ำประกัน 7,500 ล้าน เป็นส่วนของการค้ำประกันสินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 3 จำนวน 2,000 ล้าน รวมสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่ขอเพิ่มทุน 16,600 ล้าน พร้อมนำเสนอรัฐมนตรีคลังต้นเดือนเมษายนนี้
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ว่า การตรวจเยี่ยม บสย.ถือเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งสุดท้ายที่อยู่ในกำกับดูแล ซึ่ง บสย.ก็เป็นสถาบันการเงินที่ควรให้การสนับสนุนเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเป็นสถาบันการเงินอีกแห่งที่ได้ขอการสนับสนุนด้านเงินทุนเพิ่มเติม เพื่อให้องค์กรสามารถขยายงานและเดินหน้าต่อไปได้ โดยหลังจากได้รับฟังปัญหาและข้อเสนอของทุกสถาบันการเงินของรัฐที่กำกับดูแลแล้ว จะได้เร่งสรุปความเป็นไปได้ที่จะขอใช้งบประมาณปี 2552 สนับสนุนการเพิ่มทุนธนาคารของรัฐ ซึ่งจะได้หารือกับ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อรายงานสถานการณ์ของสถาบันการเงินของรัฐทั้งหมด เพื่อพิจารณาอนุมัติในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินของรัฐคงจะไม่ได้เป็นการเพิ่มทุนให้ครั้งเดียวกว่า 20,000 ล้านบาท แต่จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมและสามารถตอบคำถามต่อรัฐสภาได้
“หลังจากตรวจเยี่ยมทุกแห่งผมก็จะรวบรวมข้อมูลเสนอ รมว.คลัง ทั้งในเรื่องเงินเพิ่มทุนและแนวทางการดำเนินธุรกิจของแต่ละแห่งในช่วงก่อนสงกรานต์นี้ เพื่อให้ทันกับการพิจารณางบประมาณปี 2552 และทันเวลาที่ผมได้รับปากกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งไว้ว่าจะต้องได้คำตอบภายใน 30 วัน ซึ่งในส่วน บสย.อยากให้มองว่าองค์กรนี้ไม่ได้เน้นสร้างผลกำไร แต่เน้นช่วยผู้ประกอบการขนาดย่อม ยอมรับว่า ผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมาขาดทุน แต่จริงๆ แล้วยังมีกำไรขั้นต้น แต่เมื่อหักตั้งสำรองตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้ว ทำให้ขาดทุน ซึ่งจะพิจารณาว่า บสย.จะต้องเพิ่มทุนเท่าไร” นายประดิษฐ์ กล่าว
ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่ นายประดิษฐ์ เดินทางไปตรวจเยี่ยมและขอเพิ่มทุน ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) ขอเงินรัฐอุดหนุน 4,000 ล้านบาท เป็นเงินเพิ่มทุน 3,000 ล้านบาท และอีก 1,000 ล้านบาทใช้เพื่อสนับสนุนดอกเบี้ยลูกค้า ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ (ธอส.) ขอเพิ่มทุน 10,000 ล้านบาท บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย(บตท.)ขอเพิ่มทุน 600 ล้านบาท และบสย.ขอเพิ่มทุนอีก 2,000 ล้านบาทในส่วนที่ได้รับอนุมัติแล้วแต่ยังไม่ได้เงินจริง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,600 ล้านบาท
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย.กล่าวว่า มีเป้าหมายในการค้ำประกันสินเชื่อปี 2551 รวม 7,500 ล้านบาท โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นการค้ำประกันสินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 3 ของรัฐบาลที่จะเข้าคณะรัฐมนตรีในวันที่ 25 มีนาคมนี้ จำนวน 2,000 ล้านบาท ประกอบด้วย วงเงินค้ำสินเชื่อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 500 ล้านบาท วงเงินค้ำประกันสินเชื่อโอทอปและวิสาหกิจชุมชน 1,000 ล้านบาท และวงเงินค้ำประกันสินเชื่อรากหญ้า 1,000 ล้านบาท โดยการค้ำประกันตามมาตรการกระตุ้นดังกล่าวจะคิดอัตราค่าธรรมเนียมในอัตรา 1.25-1.50% ต่ำกว่าปกติที่คิดที่ 1.75%
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ว่า การตรวจเยี่ยม บสย.ถือเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งสุดท้ายที่อยู่ในกำกับดูแล ซึ่ง บสย.ก็เป็นสถาบันการเงินที่ควรให้การสนับสนุนเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเป็นสถาบันการเงินอีกแห่งที่ได้ขอการสนับสนุนด้านเงินทุนเพิ่มเติม เพื่อให้องค์กรสามารถขยายงานและเดินหน้าต่อไปได้ โดยหลังจากได้รับฟังปัญหาและข้อเสนอของทุกสถาบันการเงินของรัฐที่กำกับดูแลแล้ว จะได้เร่งสรุปความเป็นไปได้ที่จะขอใช้งบประมาณปี 2552 สนับสนุนการเพิ่มทุนธนาคารของรัฐ ซึ่งจะได้หารือกับ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อรายงานสถานการณ์ของสถาบันการเงินของรัฐทั้งหมด เพื่อพิจารณาอนุมัติในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินของรัฐคงจะไม่ได้เป็นการเพิ่มทุนให้ครั้งเดียวกว่า 20,000 ล้านบาท แต่จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมและสามารถตอบคำถามต่อรัฐสภาได้
“หลังจากตรวจเยี่ยมทุกแห่งผมก็จะรวบรวมข้อมูลเสนอ รมว.คลัง ทั้งในเรื่องเงินเพิ่มทุนและแนวทางการดำเนินธุรกิจของแต่ละแห่งในช่วงก่อนสงกรานต์นี้ เพื่อให้ทันกับการพิจารณางบประมาณปี 2552 และทันเวลาที่ผมได้รับปากกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งไว้ว่าจะต้องได้คำตอบภายใน 30 วัน ซึ่งในส่วน บสย.อยากให้มองว่าองค์กรนี้ไม่ได้เน้นสร้างผลกำไร แต่เน้นช่วยผู้ประกอบการขนาดย่อม ยอมรับว่า ผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมาขาดทุน แต่จริงๆ แล้วยังมีกำไรขั้นต้น แต่เมื่อหักตั้งสำรองตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้ว ทำให้ขาดทุน ซึ่งจะพิจารณาว่า บสย.จะต้องเพิ่มทุนเท่าไร” นายประดิษฐ์ กล่าว
ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่ นายประดิษฐ์ เดินทางไปตรวจเยี่ยมและขอเพิ่มทุน ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) ขอเงินรัฐอุดหนุน 4,000 ล้านบาท เป็นเงินเพิ่มทุน 3,000 ล้านบาท และอีก 1,000 ล้านบาทใช้เพื่อสนับสนุนดอกเบี้ยลูกค้า ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ (ธอส.) ขอเพิ่มทุน 10,000 ล้านบาท บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย(บตท.)ขอเพิ่มทุน 600 ล้านบาท และบสย.ขอเพิ่มทุนอีก 2,000 ล้านบาทในส่วนที่ได้รับอนุมัติแล้วแต่ยังไม่ได้เงินจริง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,600 ล้านบาท
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย.กล่าวว่า มีเป้าหมายในการค้ำประกันสินเชื่อปี 2551 รวม 7,500 ล้านบาท โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นการค้ำประกันสินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 3 ของรัฐบาลที่จะเข้าคณะรัฐมนตรีในวันที่ 25 มีนาคมนี้ จำนวน 2,000 ล้านบาท ประกอบด้วย วงเงินค้ำสินเชื่อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 500 ล้านบาท วงเงินค้ำประกันสินเชื่อโอทอปและวิสาหกิจชุมชน 1,000 ล้านบาท และวงเงินค้ำประกันสินเชื่อรากหญ้า 1,000 ล้านบาท โดยการค้ำประกันตามมาตรการกระตุ้นดังกล่าวจะคิดอัตราค่าธรรมเนียมในอัตรา 1.25-1.50% ต่ำกว่าปกติที่คิดที่ 1.75%