นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่ผู้บริหารบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ว่า จากการที่ได้รับรายงาน คิดว่าปัญหาของ บสย. คล้ายกับสถาบันการเงินของรัฐอื่นๆ คือต้องการเพิ่มทุน เพื่อให้องค์กรสามารถขยายงานและเดินหน้าต่อไปได้ โดยหลังจากได้รับฟังปัญหาและข้อเสนอของทุกสถาบันการเงินของรัฐที่กำกับดูแลแล้ว จะได้เร่งสรุปความเป็นไปได้ที่จะขอใช้งบประมาณปี 2552 สนับสนุนการเพิ่มทุนธนาคารของรัฐ ซึ่งจะได้หารือกับนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อรายงานสถานการณ์ของสถาบันการเงินของรัฐทั้งหมด คาดว่าจะได้หารือร่วมกันก่อนถึงเทศกาลสงกรานต์
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินของรัฐคงจะไม่ได้เป็นการเพิ่มทุนให้ครั้งเดียวกว่า 20,000 ล้านบาท แต่จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมและสามารถตอบคำถามต่อรัฐสภาได้
ทางด้านนายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. กล่าวว่า ในปี 2550 บสย. ได้ค้ำประกันสินเชื่อ 2,298 โครงการ วงเงินรวม 6,414 ล้านบาท เป็นวงเงินอนุมัติต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 7,000 ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ โดยมีการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อให้ธุรกิจ 3 อันดับแรก คือ ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกร้อยละ 57.19 ธุรกิจวัสดุก่อสร้างร้อยละ 5.66 และธุรกิจโลหะขั้นพื้นฐานร้อยละ 4.88 ซึ่งยอดอนุมัติค้ำประกันสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 รวมทั้งสิ้น 17,506 โครงการ วงเงิน 40,714.68 ล้านบาท มีภาระค้ำประกัน 8,999 โครงการ วงเงิน 22,266.08 ล้านบาท มีภาระค้ำประกันหนี้จัดชั้นด้อยคุณภาพ (NPGs) 3,309.97 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.87 ของภาระค้ำประกันรวม อย่างไรก็ดี บสย.สามารถติดตามเงินค่าประกันชดเชยคืนได้ 39.04 ล้านบาท
นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับในปี 2551 บสย. ตั้งเป้าค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 6,500 ล้านบาท แต่หากรวมโครงการตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเข้าไปด้วย จะเป็นวงเงินทั้งหมด 7,500 ล้านบาท โดยในส่วนโครงการตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ จะมีวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ลูกค้า 3,000 ราย แบ่งเป็น 3 มาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 500 ล้านบาท มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเน้นที่กลุ่มผลิตสินค้าโอท็อป 1,000 ล้านบาท และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระดับรากหญ้า 500 ล้านบาท ซึ่งจะมีการลดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้ต่ำลง เพื่อจูงใจ ซึ่งจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาพร้อมกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินของรัฐคงจะไม่ได้เป็นการเพิ่มทุนให้ครั้งเดียวกว่า 20,000 ล้านบาท แต่จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมและสามารถตอบคำถามต่อรัฐสภาได้
ทางด้านนายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. กล่าวว่า ในปี 2550 บสย. ได้ค้ำประกันสินเชื่อ 2,298 โครงการ วงเงินรวม 6,414 ล้านบาท เป็นวงเงินอนุมัติต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 7,000 ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ โดยมีการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อให้ธุรกิจ 3 อันดับแรก คือ ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกร้อยละ 57.19 ธุรกิจวัสดุก่อสร้างร้อยละ 5.66 และธุรกิจโลหะขั้นพื้นฐานร้อยละ 4.88 ซึ่งยอดอนุมัติค้ำประกันสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 รวมทั้งสิ้น 17,506 โครงการ วงเงิน 40,714.68 ล้านบาท มีภาระค้ำประกัน 8,999 โครงการ วงเงิน 22,266.08 ล้านบาท มีภาระค้ำประกันหนี้จัดชั้นด้อยคุณภาพ (NPGs) 3,309.97 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.87 ของภาระค้ำประกันรวม อย่างไรก็ดี บสย.สามารถติดตามเงินค่าประกันชดเชยคืนได้ 39.04 ล้านบาท
นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับในปี 2551 บสย. ตั้งเป้าค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 6,500 ล้านบาท แต่หากรวมโครงการตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเข้าไปด้วย จะเป็นวงเงินทั้งหมด 7,500 ล้านบาท โดยในส่วนโครงการตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ จะมีวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ลูกค้า 3,000 ราย แบ่งเป็น 3 มาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 500 ล้านบาท มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเน้นที่กลุ่มผลิตสินค้าโอท็อป 1,000 ล้านบาท และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระดับรากหญ้า 500 ล้านบาท ซึ่งจะมีการลดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้ต่ำลง เพื่อจูงใจ ซึ่งจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาพร้อมกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าของรัฐบาล