พิษณุโลก - บสย.เหนือล่าง ปรับกลยุทธกระจายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อยไม่เกินวงเงิน 1-3 ล้านบาท ระบุเหตุไม่เน้นบริษัทใหญ่หวังเลี่ยงปัญหาหนี้สูญ หวั่นผู้ประกอบการใช้เงินมือเติบ เผย 2 เดือน ค้ำประกันแล้วกว่า 54 ล้านบาท
นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข รักษาการผู้จัดการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม สำนักงานพิษณุโลก เปิดเผยว่า บสย.จะเน้นการกระจายการค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อยมากขึ้น โดยแถบจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยบรรษัทฯมีวงเงินค้ำประกันสูงสุดถึง 40 ล้านบาทต่อราย ซึ่งบสย.จะเน้นผู้ประกอบการที่ใช้วงเงินระดับ 1-3 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมธุรกิจในพื้นที่นั้นๆ โดยจะยังไม่เน้นตัวเลขวงเงินการปล่อยสินเชื่อ แต่จะเน้นไปที่การให้การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อย หันมาพัฒนาธุรกิจของตนเองให้มากขึ้น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องของวงเงินที่จะปล่อยกู้
นายเกรียงไกร กล่าวต่อไปว่า ธุรกิจใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างถือว่ามีจุดเด่น และเติบโตอย่างเกาะกลุ่ม ซึ่งหากรวมเป็นวอลุ่มแล้วค่อนข้างสูง และถือว่ามีศักยภาพพอสมควร แตกต่างจากภาคเหนือตอนบนที่เติบโตเฉพาะเชียงใหม่ เชียงราย
ขณะที่ตัวเลขสัดส่วนหนี้เสีย หรือ NPL มีปริมาณวงเงินหนี้เสียเพิ่มขึ้น แต่จำนวนลูกค้าที่เคยเป็นหนี้เสียลดลง อีกทั้งลูกค้าดีๆ สถาบันการเงินได้ดูแลเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากธุรกิจมีศักยภาพ ซึ่งมองภาพรวมก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ ลูกค้าบสย.ได้รับความไว้วางใจจากธนาคาร
อย่างไรก็ตาม สำหรับยอดค้ำประกันตั้งแต่ต้นปี 51 จนถึงสิ้นเดือนก.พ.51 มีตัวเลขค้ำประกันสินเชื่อไปแล้วจำนวน 28 โครงการ วงเงิน 54 ล้านบาท กระจายวงเงินไปยังจังหวัดตาก, กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ ตามลำดับ พิจารณาตามจังหวัด พบว่า ช่วงปี 50 ได้ค้ำประกันสินเชื่อบริษัทในจังหวัดอุตรดิตถ์ 28 ราย วงเงิน 56.33ล้านบาท กำแพงเพชร 53ราย วงเงิน 120.52 ล้านบาท, ตาก 47ราย วงเงิน 97.4 ล้านบาท, นครสวรรค์ 42 ราย วงเงิน 95.04ล้านบาท
พิจิตร 21 ราย วงเงิน 51.4 ล้านบาท, พิษณุโลก 30 ราย วงเงิน 80.24 ล้านบาท, เพชรบูรณ์ 82 ราย วงเงิน 179.62ล้านบาท, สุโขทัย 44 ราย วงเงิน 79.82 ล้านบาท, อุทัยธานี 4 ราย วงเงิน 4.44 ล้านบาท โดยมียอดค้ำประกันสินเชื่อรวม 351 ล้านบาท วงเงิน 764.81 ล้านบาท เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 750 ล้านบาท
นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข รักษาการผู้จัดการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม สำนักงานพิษณุโลก เปิดเผยว่า บสย.จะเน้นการกระจายการค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อยมากขึ้น โดยแถบจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยบรรษัทฯมีวงเงินค้ำประกันสูงสุดถึง 40 ล้านบาทต่อราย ซึ่งบสย.จะเน้นผู้ประกอบการที่ใช้วงเงินระดับ 1-3 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมธุรกิจในพื้นที่นั้นๆ โดยจะยังไม่เน้นตัวเลขวงเงินการปล่อยสินเชื่อ แต่จะเน้นไปที่การให้การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อย หันมาพัฒนาธุรกิจของตนเองให้มากขึ้น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องของวงเงินที่จะปล่อยกู้
นายเกรียงไกร กล่าวต่อไปว่า ธุรกิจใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างถือว่ามีจุดเด่น และเติบโตอย่างเกาะกลุ่ม ซึ่งหากรวมเป็นวอลุ่มแล้วค่อนข้างสูง และถือว่ามีศักยภาพพอสมควร แตกต่างจากภาคเหนือตอนบนที่เติบโตเฉพาะเชียงใหม่ เชียงราย
ขณะที่ตัวเลขสัดส่วนหนี้เสีย หรือ NPL มีปริมาณวงเงินหนี้เสียเพิ่มขึ้น แต่จำนวนลูกค้าที่เคยเป็นหนี้เสียลดลง อีกทั้งลูกค้าดีๆ สถาบันการเงินได้ดูแลเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากธุรกิจมีศักยภาพ ซึ่งมองภาพรวมก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ ลูกค้าบสย.ได้รับความไว้วางใจจากธนาคาร
อย่างไรก็ตาม สำหรับยอดค้ำประกันตั้งแต่ต้นปี 51 จนถึงสิ้นเดือนก.พ.51 มีตัวเลขค้ำประกันสินเชื่อไปแล้วจำนวน 28 โครงการ วงเงิน 54 ล้านบาท กระจายวงเงินไปยังจังหวัดตาก, กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ ตามลำดับ พิจารณาตามจังหวัด พบว่า ช่วงปี 50 ได้ค้ำประกันสินเชื่อบริษัทในจังหวัดอุตรดิตถ์ 28 ราย วงเงิน 56.33ล้านบาท กำแพงเพชร 53ราย วงเงิน 120.52 ล้านบาท, ตาก 47ราย วงเงิน 97.4 ล้านบาท, นครสวรรค์ 42 ราย วงเงิน 95.04ล้านบาท
พิจิตร 21 ราย วงเงิน 51.4 ล้านบาท, พิษณุโลก 30 ราย วงเงิน 80.24 ล้านบาท, เพชรบูรณ์ 82 ราย วงเงิน 179.62ล้านบาท, สุโขทัย 44 ราย วงเงิน 79.82 ล้านบาท, อุทัยธานี 4 ราย วงเงิน 4.44 ล้านบาท โดยมียอดค้ำประกันสินเชื่อรวม 351 ล้านบาท วงเงิน 764.81 ล้านบาท เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 750 ล้านบาท