คลังเปิดเผยฐานะการคลัง 4 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวมกว่า 150,000 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 กว่าร้อยละ 185 โดยระบุเป็นผลจากการเร่งใช้จ่ายด้านการลงทุนของรัฐบาลที่ขยายตัวขึ้นมาก พร้อมคาดการณ์ GDP ปี 51 ยังโตได้ 4.5-5.5% โดยยังไม่รวมผลจากมาตรการกระตุ้น ศก.หมัก 1
วันนี้ (15 ก.พ.) นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ว่า รัฐบาลขาดดุลเงินสดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จำนวน 34,621 ล้านบาท ส่งผลให้ช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 150,267 ล้านบาท สูงกว่าการขาดดุลช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 ร้อยละ 185 โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 121,390 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 28,877 ล้านบาท ซึ่งการขาดดุลเงินสดที่เพิ่มขึ้นในช่วง 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 เป็นผลมาจากการเร่งการใช้จ่ายด้านการลงทุนของรัฐบาลที่ขยายตัวถึงร้อยละ 237.3
ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม 2551 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 100,715 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 6,320 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.9 เนื่องจากมีการจัดสรรเงินให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 10,015 ล้านบาท นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และรายได้นำส่งคลังของรัฐวิสาหกิจยังต่ำกว่าปีที่แล้ว
ขณะที่รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 158,402 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 63.2 โดยเฉพาะรายการเบิกจ่ายที่ขยายตัวขึ้นมาก คือ รายจ่ายลงทุน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 40,832 ล้านบาท หรือร้อยละ 336 ขณะที่รายจ่ายประจำขยายตัวร้อยละ 25.3 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนมกราคม 2551 ขาดดุล 57,687 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 23,066 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุล 34,621 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลด้วยการออกพันธบัตรจำนวน 16,500 ล้านบาท
โดยช่วง 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 430,286 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 ร้อยละ 4.5 โดยรายได้จัดเก็บที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีงบประมาณที่แล้ว ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษียาสูบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวน 551,676 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 ร้อยละ 38.9 แบ่งเป็นรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 504,812 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 30.4 ของวงเงินงบประมาณ 1.66 ล้านล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 46,864 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 121,390 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 28,877 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดของรัฐบาลขาดดุล 150,267 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชดเชยการขาดดุลดังกล่าวโดยการออกพันธบัตร 59,000 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 91,267 ล้านบาท
ในปี 2551 กระทรวงการคลังยังคงเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) เอาไว้ที่ระดับ 4.5-5.5% โดยยังไม่รวมปัจจัยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะประกาศออกมาเร็วๆ นี้ เพราะยังต้องรอดูในรายละเอียดว่ามีความสัมฤทธิ์ผลหรือตอบสนองอย่างไร
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ได้มีมาตรการเสริม อาทิ กองทุนหมู่บ้าน โครงการพักหนี้ประชาชน เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าจะได้ผลเร็ว และการจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี เชื่อว่า จะกระตุ้นให้มีเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบมากขึ้น
โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า นอกจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว รัฐควรมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้วย ทั้งการลงทุนสาธารณูปโภค การสนับสนุนทางการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังคงต้องติดตามสัญญาณจากต่างประเทศอย่างใกล้ชิด
วันนี้ (15 ก.พ.) นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ว่า รัฐบาลขาดดุลเงินสดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จำนวน 34,621 ล้านบาท ส่งผลให้ช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 150,267 ล้านบาท สูงกว่าการขาดดุลช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 ร้อยละ 185 โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 121,390 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 28,877 ล้านบาท ซึ่งการขาดดุลเงินสดที่เพิ่มขึ้นในช่วง 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 เป็นผลมาจากการเร่งการใช้จ่ายด้านการลงทุนของรัฐบาลที่ขยายตัวถึงร้อยละ 237.3
ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม 2551 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 100,715 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 6,320 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.9 เนื่องจากมีการจัดสรรเงินให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 10,015 ล้านบาท นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และรายได้นำส่งคลังของรัฐวิสาหกิจยังต่ำกว่าปีที่แล้ว
ขณะที่รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 158,402 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 63.2 โดยเฉพาะรายการเบิกจ่ายที่ขยายตัวขึ้นมาก คือ รายจ่ายลงทุน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 40,832 ล้านบาท หรือร้อยละ 336 ขณะที่รายจ่ายประจำขยายตัวร้อยละ 25.3 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนมกราคม 2551 ขาดดุล 57,687 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 23,066 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุล 34,621 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลด้วยการออกพันธบัตรจำนวน 16,500 ล้านบาท
โดยช่วง 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 430,286 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 ร้อยละ 4.5 โดยรายได้จัดเก็บที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีงบประมาณที่แล้ว ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษียาสูบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวน 551,676 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 ร้อยละ 38.9 แบ่งเป็นรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 504,812 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 30.4 ของวงเงินงบประมาณ 1.66 ล้านล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 46,864 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 121,390 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 28,877 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดของรัฐบาลขาดดุล 150,267 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชดเชยการขาดดุลดังกล่าวโดยการออกพันธบัตร 59,000 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 91,267 ล้านบาท
ในปี 2551 กระทรวงการคลังยังคงเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) เอาไว้ที่ระดับ 4.5-5.5% โดยยังไม่รวมปัจจัยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะประกาศออกมาเร็วๆ นี้ เพราะยังต้องรอดูในรายละเอียดว่ามีความสัมฤทธิ์ผลหรือตอบสนองอย่างไร
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ได้มีมาตรการเสริม อาทิ กองทุนหมู่บ้าน โครงการพักหนี้ประชาชน เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าจะได้ผลเร็ว และการจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี เชื่อว่า จะกระตุ้นให้มีเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบมากขึ้น
โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า นอกจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว รัฐควรมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้วย ทั้งการลงทุนสาธารณูปโภค การสนับสนุนทางการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังคงต้องติดตามสัญญาณจากต่างประเทศอย่างใกล้ชิด