นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวภายหลังเข้าพบหารือ นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่า นายแพทย์สุรพงษ์ได้ให้นโยบายเรื่องแนวทางการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี โดยให้เวลา 2 สัปดาห์ ในการกลับไปคิดหลักเกณฑ์และรายละเอียดสำหรับการพักหนี้ในรอบนี้ โดยเบื้องต้นคิดว่าอาจจะมีการใช้วงเงินเป็นเกณฑ์ในการกำหนดคุณสมบัติเกษตรกรที่ได้พักหนี้ อยู่ที่มูลหนี้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย รวมถึงพิจารณาประเภทของการเป็นหนี้ เช่น เกษตรกรอยู่ในพื้นที่ถูกน้ำท่วม ฝนแล้ง พืชเป็นโรค หรือพืชมีปัญหาด้านการตลาด เป็นต้น ซึ่งระยะเวลาการพักหนี้จะขึ้นกับความจำเป็นของเกษตรกรแต่ละราย แต่ไม่เกิน 3 ปี
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้รับการยืนยันจากนายแพทย์สุรพงษ์ ด้วยว่า จะเข้ามาเป็นประธานคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ด้วยตนเอง
แหล่งข่าวจาก ธ.ก.ส. กล่าวว่า เบื้องต้นทาง ธ.ก.ส. ได้เตรียมแนวทางสนองนโยบายพักชำระหนี้ โดยจะกำหนดว่า เกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องมีแผนการปรับโครงสร้างการผลิตที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถบอกได้ว่า จะทำให้มีรายได้มาชำระหนี้ในอนาคตได้อย่างไร ซึ่งจะต้องพิจารณาผู้เข้าร่วมโครงการเป็นรายๆ ไป ว่าแต่ละรายประสบปัญหาล้มเหลวในการผลิตอย่างไร หรือเดิมปลูกพืชที่ไม่มีอนาคต แล้วจะต้องเปลี่ยนไปทำอะไร ซึ่งหากมีแผนงานที่ดี ธ.ก.ส.ก็พร้อมจะให้เงินสนับสนุนเป็นทุนในการปรับเปลี่ยนต่อไป
อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลต้องการให้ ธ.ก.ส.สามารถปล่อยสินเชื่อเพื่อสนองนโยบายได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น คงจำเป็นต้องขยายทุนจดทะเบียนเป็น 50,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท เพื่อให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มอีก 12 เท่า ทั้งนี้ รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้เพิ่มทุนให้แล้ว 1,200 ล้านบาท จากที่ ธ.ก.ส.ได้ขอไป 6,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้รับการยืนยันจากนายแพทย์สุรพงษ์ ด้วยว่า จะเข้ามาเป็นประธานคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ด้วยตนเอง
แหล่งข่าวจาก ธ.ก.ส. กล่าวว่า เบื้องต้นทาง ธ.ก.ส. ได้เตรียมแนวทางสนองนโยบายพักชำระหนี้ โดยจะกำหนดว่า เกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องมีแผนการปรับโครงสร้างการผลิตที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถบอกได้ว่า จะทำให้มีรายได้มาชำระหนี้ในอนาคตได้อย่างไร ซึ่งจะต้องพิจารณาผู้เข้าร่วมโครงการเป็นรายๆ ไป ว่าแต่ละรายประสบปัญหาล้มเหลวในการผลิตอย่างไร หรือเดิมปลูกพืชที่ไม่มีอนาคต แล้วจะต้องเปลี่ยนไปทำอะไร ซึ่งหากมีแผนงานที่ดี ธ.ก.ส.ก็พร้อมจะให้เงินสนับสนุนเป็นทุนในการปรับเปลี่ยนต่อไป
อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลต้องการให้ ธ.ก.ส.สามารถปล่อยสินเชื่อเพื่อสนองนโยบายได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น คงจำเป็นต้องขยายทุนจดทะเบียนเป็น 50,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท เพื่อให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มอีก 12 เท่า ทั้งนี้ รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้เพิ่มทุนให้แล้ว 1,200 ล้านบาท จากที่ ธ.ก.ส.ได้ขอไป 6,000 ล้านบาท