บล.เคจีไอ เล็งเจรจาดึงกองทุนอันดับหนึ่งของเกาหลี “บลจ.ซัมซุงฯ” ลงทุนไทยเด็กซ์ เซ็ต 50 อีทีเอฟ พร้อมปรับเป้าเพิ่มเอยูเอ็ม ปีนี้เป็น 10,000 ล้านบาท หลังจากใช้ระยะเวลาแค่ 4 เดือน มูลค่ากองทุนโตทะลุ 3 พันล้านบาท ขณะเดียวกัน เตรียมจับมือ บลจ.วรรณ รับบริหารอีทีเอฟหุ้นกลุ่มพลังงานของตลาดหลักทรัพย์ ด้าน “ผู้บริหาร” ตั้งเป้ามูลค่าธุรกรรมเอสบีแอลปีนี้ 1 หมื่นล้านบาท
นางสาวนฤมล อาจอำนวยวิภาส ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยถึง แผนการดำเนินงานปี 2551 นี้ ว่า ในเดือนกุมภาพันธ์นี้บริษัทจะเดินทางไปพบกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ซัมซุง อินเวสเม้นท์ทรัสต์ ประเทศเกาหลี เพื่อเจรจาให้ทาง บ.ซัมซุงฯเข้ามาลงทุนในกองทุนเปิดไทยเด็กซ์ เซ็ต 50 อีทีเอฟ ของไทย (TDEX) เพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบันได้มีการลงทุนบ้างแล้ว
สำหรับ บลจ.ซัมซุง อินเวสเม้นท์ทรัสต์ เป็นกองทุนอันดับ 1 ในประเทศเกาหลี มีมูลค่าการลงทุนรวม 3 ล้านล้านบาท โดยมีการลงทุนในกองทุนอิควิตี้ อีทีเอฟ (Exchange Traded Funds) จำนวน 9 กองทุน มูลค่ารวม 70,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทได้ปรับเป้ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (เอยูเอ็ม) กองทุน ไทยเด็กซ์ เซ็ต 50 อีทีเอฟ ปี 2551 เพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 8,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2550 มีเอยูเอ็มอยู่ที่ 2,396 ล้านบาท เนื่องจากการเมืองมีความชัดเจนจะทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น หาก บลจ.ซัมซุงฯ สนใจเข้ามาลงทุนในสัดส่วนถึง 1% ของเอยูเอ็มทั้งหมดจะถือว่ามีมูลค่าที่สูงมาก
“ช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนรายใหญ่ของแต่ละโบรกเกอร์ได้มีการติดต่อที่จะเข้าลงทุน ขณะที่บริษัทเองจะมีการเสนอขายแก่นักลงทุนต่างประเทศ โดยในปีนี้บริษัทมีแผนจะเดินทางไปโรดโชว์ที่เกาหลี ไต้หวัน จีน รวมถึง กำลังศึกษาจะไปโรดโชว์ที่อินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม จากเดือนธันวาคม ได้มีการไปโรดโชว์ที่ สิงคโปร์ และ ฮ่องกง แล้ว”
สำหรับในวันที่ 31 มกราคม 2551 เอยูเอ็ม ของ TDEX เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านบาท เป็นวันแรก มีจำหน่วยลงทุน 530 ล้านหน่วย ซึ่งถือว่าเติบโตรวดเร็วมาก เพราะใช้เวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น จากมูลค่าเริ่มต้นที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันแรก (6 ก.ย. 50) มีมูลค่าแค่ 1,011 ล้านบาท แบ่งเป็น 177.99 หน่วย แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
“ที่ผ่านมา บริษัทได้ติดต่อไปยังกองทุนต่างประเทศ เพื่อชักชวนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่ประเด็นแรกที่กองทุนต่างประเทศถาม คือ มาตรการกันเงินสำรองที่ยังไม่มีการยกเลิก ทำให้กองทุนต่างๆ ไม่ให้บริษัทเข้าพบ หากมีการยกเลิกหรือผ่อนเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี เพราะในอเมริกานั้นมีปัญหาทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคและประเทศไทย”
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่ตลาดหลักทรัพย์จะจัดตั้งกองทุนอีทีเอฟหุ้นกลุ่มพลังงาน มูลค่าเริ่มต้นไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท และตลาดหลักทรัพย์จะร่วมลงทุน 30 ล้านบาทนั้น นางสาวนฤมล กล่าวว่า บล.เคจีไอ จะร่วมกับ บลจ.วรรณ ยื่นข้อเสนอในการเข้าไปจัดตั้งและบริหารกองทุนดังกล่าว ซึ่งคาดว่า ตลาดหลักทรัพย์จะเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอภายในเดือนนี้ ก่อนจะที่สรุปผลการคัดเลือก บลจ.ได้ในเดือนมีนาคม และออกกองทุนได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ขณะเดียวกัน บริษัทยังสนใจที่จะเข้าร่วมจัดตั้งกองทุนอีทีเอฟอิงดัชนีใหม่ “ฟุตซี่” ของตลาดหลักทรัพย์ เช่นกัน
“การบริหารกองทุนอีทีเอฟพลังงานค่อนข้างยากมาก เพราะหุ้นในกลุ่มพลังงานมีทั้งหมดแค่ 23 ตัว แต่ 9 ตัวแรกมีมาร์เกตแคปคิดเป็น 97% และอีก 14 ตัวนั้น ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ทำให้ยากต่อการเข้าไปซื้อขายเพื่อที่จะนำมาออกเป็นอีทีเอฟ ขณะที่ TDEX จะมีทั้ง ฟิวเจอร์ และออปชัน SET50 ทำให้สะดวกในการซื้อขาย” นางสาวนฤมล กล่าว
สำหรับธุรกิจด้านการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (เอสบีแอล) บริษัทจะมีการขยายฐานลูกค้าสถาบันต่างประเทศมากขึ้น จากที่นักลงทุนต่างประเทศสนใจที่จะยืมหุ้นไทยจำนวนมาก นำไปขายชอร์ตเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการลงทุน โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการทำธุรกรรมเอสบีเอส เพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท จากสิ้นปี 2550 ที่มีจำนวน 8,000 ล้านบาท
ส่วนธุรกรรมด้านอนุพันธ์นอกตลาด (โอทีซี) บริษัทคาดมูลค่าธุรกรรมดังกล่าวปีนี้จำนวน 5,000 ล้านบาท แบ่งเป็นธุรกรรมที่ทำผ่าน บล.เคจีไอ 60% และผ่านพันธมิตรอีก 40% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2550 ที่มีจำนวน 3,800 ล้านบาท โดยเป็นธุรกรรมที่ทำผ่าน บล.เคจีไอ 70% และผ่านพันธมิตร 30% โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของบริษัทจะเป็นลูกค้าสถาบัน
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ดีวอร์แรนต์) ในไตรมาส3/2551 โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 400-500 ล้านบาท ซึ่งในเดือนมีนาคมนี้บริษัทจะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญในการออกดีวอร์แรนท์จากไต้หวัน, ฮ่องกง และ เกาหลี มาให้ความรู้กับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบริษัทกำลังศึกษาที่จะออกใบรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เปลี่ยนมือได้ (ทีซีอาร์) เพื่อให้นักทุนไทยสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้โดยผ่านบริษัทหลักทรัพย์ของไทย
นางสาวนฤมล อาจอำนวยวิภาส ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยถึง แผนการดำเนินงานปี 2551 นี้ ว่า ในเดือนกุมภาพันธ์นี้บริษัทจะเดินทางไปพบกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ซัมซุง อินเวสเม้นท์ทรัสต์ ประเทศเกาหลี เพื่อเจรจาให้ทาง บ.ซัมซุงฯเข้ามาลงทุนในกองทุนเปิดไทยเด็กซ์ เซ็ต 50 อีทีเอฟ ของไทย (TDEX) เพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบันได้มีการลงทุนบ้างแล้ว
สำหรับ บลจ.ซัมซุง อินเวสเม้นท์ทรัสต์ เป็นกองทุนอันดับ 1 ในประเทศเกาหลี มีมูลค่าการลงทุนรวม 3 ล้านล้านบาท โดยมีการลงทุนในกองทุนอิควิตี้ อีทีเอฟ (Exchange Traded Funds) จำนวน 9 กองทุน มูลค่ารวม 70,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทได้ปรับเป้ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (เอยูเอ็ม) กองทุน ไทยเด็กซ์ เซ็ต 50 อีทีเอฟ ปี 2551 เพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 8,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2550 มีเอยูเอ็มอยู่ที่ 2,396 ล้านบาท เนื่องจากการเมืองมีความชัดเจนจะทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น หาก บลจ.ซัมซุงฯ สนใจเข้ามาลงทุนในสัดส่วนถึง 1% ของเอยูเอ็มทั้งหมดจะถือว่ามีมูลค่าที่สูงมาก
“ช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนรายใหญ่ของแต่ละโบรกเกอร์ได้มีการติดต่อที่จะเข้าลงทุน ขณะที่บริษัทเองจะมีการเสนอขายแก่นักลงทุนต่างประเทศ โดยในปีนี้บริษัทมีแผนจะเดินทางไปโรดโชว์ที่เกาหลี ไต้หวัน จีน รวมถึง กำลังศึกษาจะไปโรดโชว์ที่อินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม จากเดือนธันวาคม ได้มีการไปโรดโชว์ที่ สิงคโปร์ และ ฮ่องกง แล้ว”
สำหรับในวันที่ 31 มกราคม 2551 เอยูเอ็ม ของ TDEX เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านบาท เป็นวันแรก มีจำหน่วยลงทุน 530 ล้านหน่วย ซึ่งถือว่าเติบโตรวดเร็วมาก เพราะใช้เวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น จากมูลค่าเริ่มต้นที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันแรก (6 ก.ย. 50) มีมูลค่าแค่ 1,011 ล้านบาท แบ่งเป็น 177.99 หน่วย แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
“ที่ผ่านมา บริษัทได้ติดต่อไปยังกองทุนต่างประเทศ เพื่อชักชวนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่ประเด็นแรกที่กองทุนต่างประเทศถาม คือ มาตรการกันเงินสำรองที่ยังไม่มีการยกเลิก ทำให้กองทุนต่างๆ ไม่ให้บริษัทเข้าพบ หากมีการยกเลิกหรือผ่อนเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี เพราะในอเมริกานั้นมีปัญหาทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคและประเทศไทย”
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่ตลาดหลักทรัพย์จะจัดตั้งกองทุนอีทีเอฟหุ้นกลุ่มพลังงาน มูลค่าเริ่มต้นไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท และตลาดหลักทรัพย์จะร่วมลงทุน 30 ล้านบาทนั้น นางสาวนฤมล กล่าวว่า บล.เคจีไอ จะร่วมกับ บลจ.วรรณ ยื่นข้อเสนอในการเข้าไปจัดตั้งและบริหารกองทุนดังกล่าว ซึ่งคาดว่า ตลาดหลักทรัพย์จะเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอภายในเดือนนี้ ก่อนจะที่สรุปผลการคัดเลือก บลจ.ได้ในเดือนมีนาคม และออกกองทุนได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ขณะเดียวกัน บริษัทยังสนใจที่จะเข้าร่วมจัดตั้งกองทุนอีทีเอฟอิงดัชนีใหม่ “ฟุตซี่” ของตลาดหลักทรัพย์ เช่นกัน
“การบริหารกองทุนอีทีเอฟพลังงานค่อนข้างยากมาก เพราะหุ้นในกลุ่มพลังงานมีทั้งหมดแค่ 23 ตัว แต่ 9 ตัวแรกมีมาร์เกตแคปคิดเป็น 97% และอีก 14 ตัวนั้น ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ทำให้ยากต่อการเข้าไปซื้อขายเพื่อที่จะนำมาออกเป็นอีทีเอฟ ขณะที่ TDEX จะมีทั้ง ฟิวเจอร์ และออปชัน SET50 ทำให้สะดวกในการซื้อขาย” นางสาวนฤมล กล่าว
สำหรับธุรกิจด้านการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (เอสบีแอล) บริษัทจะมีการขยายฐานลูกค้าสถาบันต่างประเทศมากขึ้น จากที่นักลงทุนต่างประเทศสนใจที่จะยืมหุ้นไทยจำนวนมาก นำไปขายชอร์ตเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการลงทุน โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการทำธุรกรรมเอสบีเอส เพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท จากสิ้นปี 2550 ที่มีจำนวน 8,000 ล้านบาท
ส่วนธุรกรรมด้านอนุพันธ์นอกตลาด (โอทีซี) บริษัทคาดมูลค่าธุรกรรมดังกล่าวปีนี้จำนวน 5,000 ล้านบาท แบ่งเป็นธุรกรรมที่ทำผ่าน บล.เคจีไอ 60% และผ่านพันธมิตรอีก 40% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2550 ที่มีจำนวน 3,800 ล้านบาท โดยเป็นธุรกรรมที่ทำผ่าน บล.เคจีไอ 70% และผ่านพันธมิตร 30% โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของบริษัทจะเป็นลูกค้าสถาบัน
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ดีวอร์แรนต์) ในไตรมาส3/2551 โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 400-500 ล้านบาท ซึ่งในเดือนมีนาคมนี้บริษัทจะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญในการออกดีวอร์แรนท์จากไต้หวัน, ฮ่องกง และ เกาหลี มาให้ความรู้กับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบริษัทกำลังศึกษาที่จะออกใบรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เปลี่ยนมือได้ (ทีซีอาร์) เพื่อให้นักทุนไทยสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้โดยผ่านบริษัทหลักทรัพย์ของไทย