นักวิเคราะห์มองเศรษฐกิจปีนี้โต 4.5-5.5% ชี้การส่งออกชะลอตัวจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประสานเสียงกลุ่มแบงก์ยังน่าลงทุน มีโอกาสทำกำไรสูงจากการตั้งสำรองน้อยลง และการหันเปิดการให้บริการครบวงจร และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่กลุ่มไฟแนนซ์ยังผันผวนคาดครึ่งปีหลังดีขึ้น
นายธีระพงษ์ วชิรพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.ภัทร กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “เคล็ดลับวิธีวิเคราะห์หมวดธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ แนวโน้มและหุ้นเด่น” ว่า บริษัทคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย (GDP) ในปี 2551 ไว้ที่ 4.5-5.0% โดยรัฐบาลต้องเร่งการลงทุนเพื่อชดเชยการส่งออกที่คาดว่าจะชะลอตัวตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะหดตัวจนถึงไตรมาส 3 และส่งผลกระทบต่อไทยบ้าง
สำหรับตลาดหุ้นไทยคาดไว้ว่าจะเห็นที่ 1,000 จุด ซึ่งต้องดูทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งปัจจัยทางการเมืองที่นักลงทุนต่างประเทศยังคงกังวล ว่า โดยมองการลงทุนว่าลุ่มธนาคารมีแน้วโน้มทำกำไรที่ดีในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มพลังงาน แต่ปัจจัยเสี่ยง คือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ, เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง และเศรษฐกิจในเอเชีย หากได้รับผลจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ สูง โดยแบงก์ที่น่าสนใจ คือ แบงก์กรุงเทพ และแบงก์กรุงไทย
นายสุวัฒน์ บำรุงชาติอุดม ผู้จัดการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.บัวหลวง กล่าวว่า เศรษฐกิจปีนี้จะฟื้นตัวจากปีก่อนคาด GDP ที่ 4.8-5.5% จากความเชื่อมั่นที่กลับมา และการเดินหน้าในโครงการเมกะโปรเจกต์ ขณะที่ภาคการส่งออกจะเริ่มได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวในไตรมาส 2
โดยมองการลงทุนว่า กลุ่มธนาคารมองว่ากำไรในปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมา เพราะผลจากการตั้งสำรองถึง 9 หมื่นล้านบาท รวมถึงการฟื้นตัวจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และโครงการยักษ์ของรัฐที่จะออกมา ทำให้ความต้องการสินเชื่อและการทำธุรกรรมของธนาคารมากขึ้น ซึ่งแบงก์ขนาดใหญ่จะได้เปรียบแบงก์เล็ก ในทุกด้าน รวมถึงการปรับตัวจากกฎหมายประกันเงินฝากที่คาดว่าจะประกาศใช้ได้ประมาณไตรมาส 4 ซึ่งจะทำให้เกิดการไหลเวียนเงินทุน โดยระยะยาวเงินจะไหลหาธนาคารที่มีฐานการเงินดีและมั่นคง
สำหรับกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ยังมีความผันผวนเหมือนปีที่ผ่านมา แต่โดยรวมน่าจะดีขึ้นด้วยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยที่ 1.7 หมื่นล้านบาทต่อวัน และน่าจะมีบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าปีที่ผ่านมา ช่วยชดเชยรายได้จากค่านายหน้าที่ลดผลงจากการเข้าสู่การเปิดเสรี โดยแนะนำ บล.ภัทร และ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย)
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปีนี้โดยพื้นฐานมีโอกาสที่จะขึ้นไปถึง 950-1000 จุด แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวังจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ และปัญหาการเมืองภายในประเทศ ซึ่งกลุ่มธนาคารมองว่ามีโอกาสทำกำไรได้ดีจากวิธีการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไปให้บริการที่ครบวงจร และภาครัฐที่อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น ส่งผลดีต่อการเติบโตของกลุ่มธนาคารในปีนี้ แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากสินเชื่อที่ปล่อยให้กับSMEs ที่มีความเสี่ยงจากปัญหาเศรษฐกิจและค่าเงินบาทที่แข็งค่า โดยธนาคารที่น่าสนใจ คือ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา
สำหรับกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ยังคงผันผวน คาดว่า จะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มคลี่คลาย โดยในปีนี้กลุ่ม บล.ที่ถือโดยนักลงทุนต่างชาติจะยังดีต่อเนื่อง ส่วนกลุ่ม บล.ที่ถือโดยธนาคารในระยะยาวมีแนวโน้มที่ดีจากการมีฐานลูกค้าใหม่และต้นทุนต่ำในการหาลูกค้าใหม่ ขณะที่ บล.ที่ถือโดยผู้ถือหุ้นเดิมมีแนวโน้มการถูกเทกโอเวอร์หรือการควบรวมกิจการค่อนข้างสูง โดย บล.ที่ทำธุรกิจตราสารอนุพันธ์มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในอนาคต ที่น่าสนใจก็มี บล.บัวหลวง, บล.ภัทร และ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย)
นายธีระพงษ์ วชิรพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.ภัทร กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “เคล็ดลับวิธีวิเคราะห์หมวดธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ แนวโน้มและหุ้นเด่น” ว่า บริษัทคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย (GDP) ในปี 2551 ไว้ที่ 4.5-5.0% โดยรัฐบาลต้องเร่งการลงทุนเพื่อชดเชยการส่งออกที่คาดว่าจะชะลอตัวตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะหดตัวจนถึงไตรมาส 3 และส่งผลกระทบต่อไทยบ้าง
สำหรับตลาดหุ้นไทยคาดไว้ว่าจะเห็นที่ 1,000 จุด ซึ่งต้องดูทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งปัจจัยทางการเมืองที่นักลงทุนต่างประเทศยังคงกังวล ว่า โดยมองการลงทุนว่าลุ่มธนาคารมีแน้วโน้มทำกำไรที่ดีในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มพลังงาน แต่ปัจจัยเสี่ยง คือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ, เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง และเศรษฐกิจในเอเชีย หากได้รับผลจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ สูง โดยแบงก์ที่น่าสนใจ คือ แบงก์กรุงเทพ และแบงก์กรุงไทย
นายสุวัฒน์ บำรุงชาติอุดม ผู้จัดการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.บัวหลวง กล่าวว่า เศรษฐกิจปีนี้จะฟื้นตัวจากปีก่อนคาด GDP ที่ 4.8-5.5% จากความเชื่อมั่นที่กลับมา และการเดินหน้าในโครงการเมกะโปรเจกต์ ขณะที่ภาคการส่งออกจะเริ่มได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวในไตรมาส 2
โดยมองการลงทุนว่า กลุ่มธนาคารมองว่ากำไรในปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมา เพราะผลจากการตั้งสำรองถึง 9 หมื่นล้านบาท รวมถึงการฟื้นตัวจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และโครงการยักษ์ของรัฐที่จะออกมา ทำให้ความต้องการสินเชื่อและการทำธุรกรรมของธนาคารมากขึ้น ซึ่งแบงก์ขนาดใหญ่จะได้เปรียบแบงก์เล็ก ในทุกด้าน รวมถึงการปรับตัวจากกฎหมายประกันเงินฝากที่คาดว่าจะประกาศใช้ได้ประมาณไตรมาส 4 ซึ่งจะทำให้เกิดการไหลเวียนเงินทุน โดยระยะยาวเงินจะไหลหาธนาคารที่มีฐานการเงินดีและมั่นคง
สำหรับกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ยังมีความผันผวนเหมือนปีที่ผ่านมา แต่โดยรวมน่าจะดีขึ้นด้วยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยที่ 1.7 หมื่นล้านบาทต่อวัน และน่าจะมีบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าปีที่ผ่านมา ช่วยชดเชยรายได้จากค่านายหน้าที่ลดผลงจากการเข้าสู่การเปิดเสรี โดยแนะนำ บล.ภัทร และ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย)
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปีนี้โดยพื้นฐานมีโอกาสที่จะขึ้นไปถึง 950-1000 จุด แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวังจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ และปัญหาการเมืองภายในประเทศ ซึ่งกลุ่มธนาคารมองว่ามีโอกาสทำกำไรได้ดีจากวิธีการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไปให้บริการที่ครบวงจร และภาครัฐที่อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น ส่งผลดีต่อการเติบโตของกลุ่มธนาคารในปีนี้ แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากสินเชื่อที่ปล่อยให้กับSMEs ที่มีความเสี่ยงจากปัญหาเศรษฐกิจและค่าเงินบาทที่แข็งค่า โดยธนาคารที่น่าสนใจ คือ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา
สำหรับกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ยังคงผันผวน คาดว่า จะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มคลี่คลาย โดยในปีนี้กลุ่ม บล.ที่ถือโดยนักลงทุนต่างชาติจะยังดีต่อเนื่อง ส่วนกลุ่ม บล.ที่ถือโดยธนาคารในระยะยาวมีแนวโน้มที่ดีจากการมีฐานลูกค้าใหม่และต้นทุนต่ำในการหาลูกค้าใหม่ ขณะที่ บล.ที่ถือโดยผู้ถือหุ้นเดิมมีแนวโน้มการถูกเทกโอเวอร์หรือการควบรวมกิจการค่อนข้างสูง โดย บล.ที่ทำธุรกิจตราสารอนุพันธ์มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในอนาคต ที่น่าสนใจก็มี บล.บัวหลวง, บล.ภัทร และ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย)