xs
xsm
sm
md
lg

In Clip: นิวยอร์กไทม์สชี้ สาเหตุ ไบเดนเลือก “คามาลา แฮร์ริส” ต้องการปลุกกระแสโอบามาปี 2008 ขึ้นใหม่

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




เอเจนซีส์/mgrออนไลน์ – นิวยอร์กไทม์สชี้ผ่านบทบรรณาธิการถึง สาเหตุที่โจ ไบเดน เลือก สว. คามาลา แฮร์ริส ให้ขึ้นชิงในฐานะรองประธานาธิบดีสหรัฐฯเพื่อต้องการปลุกกระแสแอฟริกันอเมริกันเหมือนสมัยปี 2008 ของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา ขึ้นใหม่ หวังให้แฮร์ริสชนกับผู้นำสหรัฐฯที่ขึ้นชื่อว่ากีดกันเชื้อชาติและเหยียดหยามสตรี


หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สรายงานเมื่อวานนี้(11 ส.ค)ว่า การที่ คามาลา แฮร์ริส สว.จากรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งมีแม่เป็นชาวอินเดียและพ่อเป็นชาวจาไมกาถูกเลือกให้เป็นคู่ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯจากพรรคเดโมแครต และถือเป็นผู้หญิงคนที่ 3 ในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันที่ได้รับการเสนอชื่อจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่สหรัฐฯในการลงชิงตำแหน่งการเมืองสูงสุดของประเทศ

บทบรรณาธิการของนิวยอร์กไทม์สชี้ว่า โจ ไบเดน ซึ่งทำหน้าที่ในฐานะรองประธานาธิบดีสหรัฐฯถึง 2 สมัยภายใต้ประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของอเมริกา บารัค โอบามา อาจต้องการมีความคาดหวังให้กระแสเรียกร้องให้แอฟริกันอเมริกันได้ปกครองประเทศเหมือนเช่นในสมัยโอบามาปี 2008 กลับมาอีกครั้ง

สื่อสหรัฐฯชี้ว่า จุดเด่นของแฮร์ริสอยู่ที่นอกเหนือจากการที่เธอเป็นผู้หญิงผิวสี เธอยังมีเป็นตัวแทนของความคาดหวังอเมริกาที่กำลังอยู่ในการเปลี่ยนแปลงก้าวไปสู่ความเท่าเทียมทางโอกาสและความยุติธรรมภายใต้สังคมอเมริกันในปัจจุบันที่มีผู้นำประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนที่กีดกันเชื่อชาติและเหยียดหยามในสตรีเพศ

เห็นได้จากนโยบายการเข้าเมืองสหรัฐฯ คำสั่งห้ามประเทศมุสลิมเข้าประเทศ การใช้ความรุนแรงของตำรวจต่อพลเมืองแอฟริกันอเมริกันจนกระทั่งต้องมีการส่งกำลังจากส่วนกลางเข้าปราบปรามหลังการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ทรัมป์ยังมีปัญหาอื้อฉาวด้านการละเมิดทางเพศมากมายนับตั้งแต่สมัยหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งสื่อสหรัฐฯเชื่อว่า จะต่อสู้ในเรื่องนี้ คามาลา หรือที่เธอกล่าวว่า ชื่อของเธออ่านออกเสียงว่า กมลา มีความหมายถึงดอกบัว นั้นมีอายุน้อยกว่า มีความเป็นคนผิวดำมากกว่า และเป็นนักต่อสู้ที่ไม่ยอมใคร เห็นได้จากการดีเบทลงชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯรอบแรกที่แฮร์ริสออกมาโต้คารมกับไบเดนในเรื่องไบเดนออกมาเชิดชูการทำงานสมาชิกสภาสูงสหรัฐฯที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพวกนิยมการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ

ในการดีเบทเธอได้กล่าวโต้ไบเดนว่า “ดิฉันไม่เชื่อว่าคุณ(โจ ไบเดน)เป็นพวกเหยียดสีผิว...แต่ดิฉันเชื่อว่าและนี่ถือเป็นการส่วนตัว ดิฉันรู้สึกเจ็บปวดเป็นอย่างมากที่ได้ยินคุณกล่าวถึงความดีงามของสว.สองคนที่สร้างอาชีพและชื่อเสียงจากการกีดกันเชื้อชาติในประเทศแห่งนี้”

และในการโต้เธอกล่าวต่อว่า “และไม่แค่นั้นคุณยังทำงานร่วมกับคนพวกนี้ในการออกมาต่อต้านนโยบายส่งรถบัส( busing : รับเด็กแอฟริกันอเมริกัน เปอร์โตริโก หรือเชื้อชาติอื่นในชุมชนยากจนเพื่อนำไปเรียนรวมกับเด็กผิวขาวในโรงเรียนคนผิวขาว) และคุณรู้ไหมว่า มีเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆคนหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองชั้น 2 เพื่อที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบโรงเรียนสหรัฐฯและเธอได้รับโอกาสขึ้นรถบัสไปโรงเรียนทุกวัน และเด็กผู้หญิงคนนั้นคือดิฉันเอง”

เดอะแอตแลนติก สื่อสหรัฐฯเคยกล่าวถึงนโยบายการส่งรถบัสไปรับเด็กผิวสีเข้าไปเรียนรวมในโรงเรียนคนรวยของคนผิวขาวว่า รถบัสโรงเรียนถือเป็นเรื่องปกติสำหรับครอบครัวอเมริกันผิวขาวส่วนใหญ่ในอเมริการวมถึง โจ ไบเดน แต่ทว่านโยบายส่งรถบัสนั้น "ไม่"

แฮร์ริสเกิดที่ ศูนย์การแพทย์ไกเซอร์ เพอร์มาเนเต (Kaiser Permanente Medical Center) ที่เมืองโอ๊คแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 1964 และพบว่าแฮร์ริสได้โอกาสขึ้นรถบัสโรงเรียนข้ามเขตจากโอ๊คแลนด์ถึงถือเป็นถิ่นคนดำและยากจนไปเรียนที่โรงเรียนประถมทาวเซน โอ๊คส์( Thousand Oaks Elementary School) ที่นอร์ท เบิร์กลีย์ ซึ่งถือเป็นถิ่นคนมีอันจะกินของพวกผิวขาว

คามาลา แฮร์ริส ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งสว.รัฐแคลิฟอร์เนีย เธอเคยทำหน้าที่ในฐานะอัยการประจำรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2010 และชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2014 ซึ่งบีบีซีได้รายงานถึงเสียงสนับสนุนจากกลุ่มคนผิวสีต้องการให้แอฟริกันอเมริกันเป็นคูชิงไบเดนในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ว่า

เอ เคย์ลา เซลเลอร์ส (A'kayla Sellers) วัย 21 ปี นักศึกษาผิวสีจากวิทยาลัยชารล์สเลสตัน( College of Charleston) แสดงความรู้สึกดีใจมากที่แฮร์ริสถูกเลือก “ดิฉันไม่แค่รู้สึกซาบซึ้งที่(ไบเดน)เลือกผู้หญิงเท่านั้นแต่ยังเป็นผู้หญิงแอฟริกันอเมริกัน ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น ดิฉันได้ติดตามคามาลามาตั้งแต่แรก ดิฉันรู้ประวัติของเธอ ดิฉันรู้ถึงการทำงานของเธอในความพยายามปฎิรูประบบเรือนจำสหรัฐฯที่อื้อฉาว แต่นั่นดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมาก”

และกล่าวอีกว่า แฮร์ริสสามารถดึงการตระหนักถึงความเป็นแอฟริกันอเมริกันออกมาให้ประจักษ์ แสดงถึงความต้องการมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของชนผิวสีในสหรัฐฯ และการตระหนักถึงความต้องการของนักศึกษาชนกลุ่มน้อยในสถาบันการศึกษาที่อเมริกันผิวขาวมีอิทธิพล ที่เซลเลอร์สชี้ไปถึงปัญหาที่แอฟริกันอเมริกันหรืชนกลุ่มน้อยต้องการได้เข้าเรียนต่อแต่มีปัญหาด้านการเงิน

ด้าน เคเจ เคียร์นีย์(KJ Kearney) นักเคลื่อนไหวความเท่าเทียมด้านสิ่งแวดล้อมวัย 37 ปีและเป็นแอฟริกันอเมริกันกล่าวถึงแฮร์ริสว่า เธอจะพูดกับไบเดนในฐานะผู้หญิงแอฟริกันอเมริกัน และจะทำให้เขาเข้าใจถึงสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชนชาวผิวดำในสหรัฐฯซึ่งเคียร์นีย์กล่าวว่า ผมหวังว่าไบเดนจะรับฟัง และชี้ว่าการที่มีแฮร์ริสยืนคู่ไบเดนบนเวทีหาเสียงจะทำให้ไบเดนดูดีมากขึ้น

และชี้ว่านี้จะเป็นสารส่งไปยังคนอเมริกันในรัฐสวิงโหวต และไม่ว่า คามาลา แฮร์ริส จะสามารถดึงดูดคนเหล่านี้ได้หรือไม่ เมื่อพวกเรากล่าวว่า “อเมริกาพร้อมไหม” และกล่าวว่า “แต่สิ่งที่พวกเราต้องการกล่าวจริงๆก็คือ อเมริกาผิวขาวพร้อมไหม” และชี้ว่า ผมหวังว่าพวกเขาคงพร้อม

นิวยอร์กไทม์สชี้ว่า และการที่ไบเดนเลือกแฮร์ริสมากกว่า อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงสหรัฐฯ ซูซาน ไรซ์ หรือคนอื่นๆ เป็นเพราะไบเดนเชื่ออย่างจริงจังในผลโพลที่รายงานว่า เขามีคะแนนนำผู้นำสหรัฐฯอยู่มาก และเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดเขาต้องการรักษามันไว้ และแฮร์ริสถือเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยมากที่สุดเมื่อเทียบกับไรซ์ที่เขามีความรู้สึกคุ้นเคยมากกว่า

อ้างอิงจากโพลิติโกรายงานเมื่อวานนี้(11)พบว่าไบเดนนำทรัมป์อยู่ 10 จุดทั่วประเทศ อ้างอิงจากการสำรวจของมหาวิทยาลัยมอนมัธ (Monmouth University) โดยไบเดนได้ไป 51 จุด และทรัมป์ 41 จุดตามลำดับ

ซึ่งหลังจากที่ข่าวแฮร์ริสได้รับเลือกให้เป็นคู่ชิงร่วมแล้ว อ้างอิงจากรายการมอร์นิงโจทางสถานีโทรทัศน์ MSNBC เช้านี้(12) ไบเดนได้ออกแคมเปญหาเสียงทางโทรทัศน์ล่าสุดทันที เป็นการโทรศัพท์ต่อสายของไบเดนไปถึงแฮร์ริสเพื่อบอกข่าวว่าเธอได้รับเลือกให้เป็นคู่ชิงร่วมกับเขา และในแอดโฆษณาทางโทรทัศน์เสียงแฮร์ริสได้กล่าวถึงสภาพปัญหาในอเมริกาโดยเฉพาะช่วงเวลาวิกฤตที่ผู้ประท้วงถูกยิงด้วยแก๊สน้ำตาภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์












กำลังโหลดความคิดเห็น