(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
‘Proactive pacifism’ makes Japan a target for Islamic terrorists: experts
16/11/2015
เหตุการณ์โจมตีของผู้ก่อการร้ายในกรุงปารีสเมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน ตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ญี่ปุ่นจะต้องตื่นตัวระวังภัย ขณะเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานใหญ่ทั้งการประชุมซัมมิตกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมสำคัญของโลก (จี7) ในปีหน้า และมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2020
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เจแปนไทมส์ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.japantimes.co.jp/news/2015/11/16/national/proactive-pacifism-makes-japan-target-islamic-terrorists-experts/?utm_source=Daily+News+Updates&utm_campaign=a09e2bed42-Thursday_email_updates17_11_2015&utm_medium=email&utm_term=0_c5a6080d40-a09e2bed42-332837897#.Vk8zhOIpqf7) ถึงแม้ความเสี่ยงที่กลุ่ม “รัฐอิสลาม” (ไอเอส) จะเปิดการโจมตีแบบประสานกันหลายๆ จุดบนดินแดนของญี่ปุ่น ถือว่ามีต่ำกว่าในยุโรป สืบเนื่องจากระยะทางที่ห่างไกลจากตะวันออกกลาง และทหารญี่ปุ่นก็ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องพัวพันอยู่ในภูมิภาคนั้น ทว่าพวกผู้เชี่ยวชาญก็ชี้ว่า นโยบาย “สันตินิยมแบบเชิงรุก” (proactive pacifism) ของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กำลังทำให้แดนอาทิตย์อุทัยตกอยู่ในสายตาของพวกผู้ก่อการร้ายมากขึ้นกว่าเดิม
เท่าที่ผ่านมามีชาวญี่ปุ่น 2 คน คือ เคนจิ โกโตะ (Kenji Goto) กับ ฮารุนะ ยูกาวะ (Haruna Yukawa) ถูกสังหารโดยกลุ่มหัวรุนแรงในซีเรียเมื่อเดือนมกราคม ภายหลังเกิดวิกฤตตัวประกันที่กินเวลาหลายสัปดาห์ จากนั้นในเดือนตุลาคม เกษตรกรชาวญี่ปุ่นวัย 66 ปีชื่อ คูนิโอะ โฮชิ (Kunio Hoshi) ได้ถูกฆ่าโดยฝีมือมือปืนกลุ่มหนึ่งในบังกลาเทศ ขณะที่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบพากันปฏิเสธว่าการเสียชีวิตของเขาไม่ได้มีความเกี่ยวโยงกับพวกสุดโต่งอิสลามิสต์ ทว่ากลุ่ม “รัฐอิสลาม” (ไอเอส) ได้ออกมาแถลงว่าเป็นผู้รับผิดชอบสังหารเกษตรกรญี่ปุ่นผู้นี้ ทำนองเดียวกับที่กลุ่มนี้ได้แถลงว่าเป็นผู้ก่อเหตุในกรุงปารีส
การเสียชีวิตของโอชิ บังเกิดขึ้นหลังจากญี่ปุ่นได้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยตามสถานเอกอัครราชทูตและสำนักงานทางการทูตทุกๆ แห่ง เมื่อได้ทราบถึงการคุกคามของกลุ่มไอเอสในเดือนกันยายน ทั้งนี้กลุ่มนี้ได้ระบุว่า “สำนักงานทางการทูตของญี่ปุ่น” เป็นเป้าหมายที่อาจถูกโจมตี
“ผมมองว่าความเสี่ยงของญี่ปุ่นนั้นถือว่าต่ำมาก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะละเลยไม่ใส่ใจได้” เจมส์ ซิมป์สัน (James Simpson) นักวิเคราะห์ที่ตั้งฐานอยู่ในโตเกียวและผู้ร่วมเขียนเรื่องให้ “เจนส์ ดีเฟนซ์ วีกลี่” (Jane’s Defence Weekly) กล่าวแสดงความเห็น “พิธีการตรวจคนเข้าเมืองที่เคร่งครัดอยู่แล้วของญี่ปุ่น ทำให้การโจมตีบนดินแดนญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ทว่าสำหรับชาวญี่ปุ่นในต่างแดนนั้น เป็นเป้าหมายอ่อนเปราะต่อการถูกโจมตีอย่างแน่นอน แบบที่พวกไอซิสอ้างว่าเป็นผู้ทำการโจมตีในบังกลาเทศนั่นแหละ”
ทั้งนี้ ไอซิส (ISIS) เป็นหนึ่งในหลายๆ ชื่อซึ่งใช้เรียกกลุ่ม “รัฐอิสลาม” นี้
ทางด้าน มาซาโนริ นาอิโตะ (Masanori Naito) ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการตะวันออกกลางและเป็นอาจารย์อยู่ที่บัณฑิตวิทยาลัยด้านการศึกษาภูมิภาคต่างๆ ของโลก ณ มหาวิทยาลัยโดชิชา (Doshisha University) ในนครเกียวโต ให้ความเห็นว่า การออกกฎหมายความมั่นคงหลายๆ ฉบับเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นสามารถเข้าช่วยเหลือพันธมิตรที่ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธนั้น ในระยะยาวแล้วอาจทำให้ญี่ปุ่นตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มรัฐอิสลาม
“มันอาจจะใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง” นาอิโตะ กล่าว “แต่จากการผ่านกฎหมายความมั่นคงเช่นนี้ รวมทั้งถ้าคณะบริหารชุดใหม่ของสหรัฐฯภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไป ตัดสินใจที่จะเข้าปฏิบัติการทางการทหารในตะวันออกกลาง โดยที่ญี่ปุ่นอาจต้องเสนอให้ความสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงแล้ว โอกาสที่พวกผู้ก่อการร้ายจะเล่นงานญี่ปุ่นก็มีสูงขึ้นมาก”
“กลุ่มรัฐอิสลามนั้นได้ระบุว่าญี่ปุ่นเป็นส่วนหนึ่งของ “พันธมิตรตามความสมัครใจ” (ที่นำโดยสหรัฐฯ) อยู่แล้ว ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของรัฐบาลญี่ปุ่นในอนาคต ที่จะเป็นตัวตัดสินระดับความเสี่ยงของญี่ปุ่น” เขาบอก
ขณะที่ ยูทากะ ทากาโอกะ (Yutaka Takaoka) นักวิจัยอาวุโสของสถาบันตะวันออกกลางแห่งญี่ปุ่น (Middle East Institution of Japan) บอกว่า ญี่ปุ่นอาจกลายเป็น “เป้าหมายที่สมเหตุสมผล” สำหรับกลุ่มรัฐอิสลามไปก็ได้ เนื่องจากญี่ปุ่นมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพของสื่อมวลชนที่ค่อนข้างแข็งแรง ซึ่งหมายความว่าการกระทำใดๆ ของผู้ก่อการร้าย อาจได้รับการเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง และเป็นการช่วยเหลือเป้าหมายของไอเอสที่ต้องการแพร่กระจายการก่อการร้าย
ในอีกด้านหนึ่งพวกผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ญี่ปุ่นมีอะไรต้องทำอยู่มากก่อนหน้าการจัดงานระดับระหว่างประเทศใหญ่ๆ
เมื่อวันจันทร์ (16 พ.ย.) ภายหลังเกิดเหตุโจมตีกรุงปารีส ซึ่งมีผู้ถูกสังหารไปอย่างน้อย 129 คนและบาดเจ็บอีก 350 คน โยชิฮิเดะ สุงะ (Yoshihide Suga) เลขาธิการคณะรัฐบาล ซึ่งตามระบบการเมืองของญี่ปุ่นถือว่ามีอำนาจอิทธิพลสูงในคณะรัฐมนตรี ได้ออกมาประกาศว่าจะเพิ่มมาตรการในการต่อต้านการก่อการร้าย
“มีงานระดับระหว่างประเทศขนาดใหญ่ๆ กำหนดจะจัดขึ้นต่อเนื่องกันเป็นชุดทีเดียว เริ่มต้นด้วยการประชุมของกลุ่ม จี7 ในปีหน้า” สุงะ แถลง “จากนั้นเราจะมีงานแข่งขันกีฬารักบี้เวิลด์คัพในปี 2019 แล้วก็มหกรรมกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก ฤดูร้อนปี 2020 ในโตเกียว เราจึงปรารถนาที่จะใช้เหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายโจมตีคราวนี้ มาเป็นจุดพลิกผันใหญ่เพื่อเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยของเรา”
เขาให้คำมั่นสัญญาที่จะยกระดับสมรรถนะในการรวบรวมข่าวกรองของญี่ปุ่น ตลอดจนเพิ่มการรักษาความปลอดภัยตามท่าเรือ, สนามบิน, และสถานที่สำคัญอื่นๆ
ทางด้าน โยชิโอะ โอโมริ (Yoshio Omori) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยนิฮง บุงกา (Nihon Bunka University) ในกรุงโตเกียว แสดงความคิดเห็นว่า เท่าที่เห็นอยู่ในเวลานี้ มาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับการประชุมซัมมิตกลุ่ม จี7 ยังอยู่ในระดับที่ห่างไกลจากความเพียงพอ
“ผมไม่คิดว่าจะมีใครคนไหนสักคนเลยที่เห็นว่าญี่ปุ่นกำลังทำเพียงพอแล้ว” โอโมริ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าว “เรื่องหนึ่งก็คือ ญี่ปุ่นมีความอ่อนแออย่างยิ่งในเรื่องการรวบรวมข่าวกรอง ญี่ปุ่นขาดความสามารถที่จะเดินหน้าไปด้วยตัวเองในการระบุว่าใครเป็นผู้ก่อการร้ายสากล”
ทั้งนี้โอโมริระบุว่า ญี่ปุ่นยังต้องพึ่งพาอาศัยพวกพันธมิตรอย่างเช่นสหรัฐฯ ในเรื่องข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับผู้ก่อการร้าย
เพื่อทำให้การรักษาความปลอดภัยเข้มแข็งยิ่งขึ้น เขาบอกว่ารัฐบาลอาจพยายามนำเอาเทคโนโลยีตรวจตราเฝ้าระวังที่ก้าวหน้ามาใช้งาน เป็นต้นว่า เทคโนโลยีในการจดจำใบหน้า ทว่าของพวกนี้จะยังคงไร้ประโยชน์ถ้าหากตั้งแต่เริ่มต้นเลย ญี่ปุ่นไม่ได้มีฐานข้อมูลผู้ก่อการร้าย
ซิมป์สัน ที่เป็นผู้ร่วมเขียนเรื่องให้ “เจนส์ ดีเฟนซ์ วีกลี่” กล่าวเสริมว่า ญี่ปุ่นมีจุดอ่อนในเรื่องงานที่มีคนเข้าร่วมมากๆ
“ถึงแม้มีประสบการณ์รับมือผู้ก่อการร้าย จากการสู้รบปรบมือกับกลุ่มโอม ชินริเกียว (Aum Shinrikyo) ตลอดจนพวกสุดโต่งทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา แต่ญี่ปุ่นยังคงมีจุดอ่อนในเรื่องการรักษาความปลอดภัยภาคพื้นดิน” ซิมป์สัน ระบุ “ถ้าพวกที่คิดเข้าโจมตีเกิดหลุดรอดผ่านการตรวจคนเข้าเมือง และใช้ความพยายามจนประสบความสำเร็จในการจัดหาอาวุธและระเบิดแล้ว ญี่ปุ่นก็ยังมีจุดอ่อนอย่างน่ากลัวที่จะถูกโจมตีทำนองเดียวกับเหตุการณ์ในปารีสเมื่อไม่กี่วันก่อน”
เขาบอกว่า ญี่ปุ่นอาจลงเอยด้วยการต้องใช้จ่ายเงินทองเพิ่มมากขึ้น ในการดูแลรักษาความปลอดภัยในงานใหญ่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นมา
“ญี่ปุ่นต้องศึกษาติดตามทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ ตลอดจนชาติอื่นๆ ให้ดี ในขณะที่เตรียมตัวเป็นเจ้าภาพงานระหว่างประเทศใหญ่ๆ หลายๆ งานอย่างนี้” เขาบอก “ประสบการณ์ในอดีตอย่างการประชุมซัมมิตเอเปกปี 2010 ที่เมืองโยโกฮามา และการแข่งขันฟุตบอลเวิลด์คัพ (ในปี 2002) แสดงให้เห็นแล้วว่าควรจะต้องเพิ่มจุดตรวจเพื่อการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งจะต้องยกเครื่องใหญ่ในเรื่องการจัดวางกำลังตำรวจ เรื่องนี้จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมทั้งสำหรับประเทศและสำหรับจังหวัดและเมืองต่างๆ ที่เป็นเจ้าภาพ”
‘Proactive pacifism’ makes Japan a target for Islamic terrorists: experts
16/11/2015
เหตุการณ์โจมตีของผู้ก่อการร้ายในกรุงปารีสเมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน ตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ญี่ปุ่นจะต้องตื่นตัวระวังภัย ขณะเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานใหญ่ทั้งการประชุมซัมมิตกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมสำคัญของโลก (จี7) ในปีหน้า และมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2020
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เจแปนไทมส์ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.japantimes.co.jp/news/2015/11/16/national/proactive-pacifism-makes-japan-target-islamic-terrorists-experts/?utm_source=Daily+News+Updates&utm_campaign=a09e2bed42-Thursday_email_updates17_11_2015&utm_medium=email&utm_term=0_c5a6080d40-a09e2bed42-332837897#.Vk8zhOIpqf7) ถึงแม้ความเสี่ยงที่กลุ่ม “รัฐอิสลาม” (ไอเอส) จะเปิดการโจมตีแบบประสานกันหลายๆ จุดบนดินแดนของญี่ปุ่น ถือว่ามีต่ำกว่าในยุโรป สืบเนื่องจากระยะทางที่ห่างไกลจากตะวันออกกลาง และทหารญี่ปุ่นก็ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องพัวพันอยู่ในภูมิภาคนั้น ทว่าพวกผู้เชี่ยวชาญก็ชี้ว่า นโยบาย “สันตินิยมแบบเชิงรุก” (proactive pacifism) ของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กำลังทำให้แดนอาทิตย์อุทัยตกอยู่ในสายตาของพวกผู้ก่อการร้ายมากขึ้นกว่าเดิม
เท่าที่ผ่านมามีชาวญี่ปุ่น 2 คน คือ เคนจิ โกโตะ (Kenji Goto) กับ ฮารุนะ ยูกาวะ (Haruna Yukawa) ถูกสังหารโดยกลุ่มหัวรุนแรงในซีเรียเมื่อเดือนมกราคม ภายหลังเกิดวิกฤตตัวประกันที่กินเวลาหลายสัปดาห์ จากนั้นในเดือนตุลาคม เกษตรกรชาวญี่ปุ่นวัย 66 ปีชื่อ คูนิโอะ โฮชิ (Kunio Hoshi) ได้ถูกฆ่าโดยฝีมือมือปืนกลุ่มหนึ่งในบังกลาเทศ ขณะที่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบพากันปฏิเสธว่าการเสียชีวิตของเขาไม่ได้มีความเกี่ยวโยงกับพวกสุดโต่งอิสลามิสต์ ทว่ากลุ่ม “รัฐอิสลาม” (ไอเอส) ได้ออกมาแถลงว่าเป็นผู้รับผิดชอบสังหารเกษตรกรญี่ปุ่นผู้นี้ ทำนองเดียวกับที่กลุ่มนี้ได้แถลงว่าเป็นผู้ก่อเหตุในกรุงปารีส
การเสียชีวิตของโอชิ บังเกิดขึ้นหลังจากญี่ปุ่นได้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยตามสถานเอกอัครราชทูตและสำนักงานทางการทูตทุกๆ แห่ง เมื่อได้ทราบถึงการคุกคามของกลุ่มไอเอสในเดือนกันยายน ทั้งนี้กลุ่มนี้ได้ระบุว่า “สำนักงานทางการทูตของญี่ปุ่น” เป็นเป้าหมายที่อาจถูกโจมตี
“ผมมองว่าความเสี่ยงของญี่ปุ่นนั้นถือว่าต่ำมาก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะละเลยไม่ใส่ใจได้” เจมส์ ซิมป์สัน (James Simpson) นักวิเคราะห์ที่ตั้งฐานอยู่ในโตเกียวและผู้ร่วมเขียนเรื่องให้ “เจนส์ ดีเฟนซ์ วีกลี่” (Jane’s Defence Weekly) กล่าวแสดงความเห็น “พิธีการตรวจคนเข้าเมืองที่เคร่งครัดอยู่แล้วของญี่ปุ่น ทำให้การโจมตีบนดินแดนญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ทว่าสำหรับชาวญี่ปุ่นในต่างแดนนั้น เป็นเป้าหมายอ่อนเปราะต่อการถูกโจมตีอย่างแน่นอน แบบที่พวกไอซิสอ้างว่าเป็นผู้ทำการโจมตีในบังกลาเทศนั่นแหละ”
ทั้งนี้ ไอซิส (ISIS) เป็นหนึ่งในหลายๆ ชื่อซึ่งใช้เรียกกลุ่ม “รัฐอิสลาม” นี้
ทางด้าน มาซาโนริ นาอิโตะ (Masanori Naito) ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการตะวันออกกลางและเป็นอาจารย์อยู่ที่บัณฑิตวิทยาลัยด้านการศึกษาภูมิภาคต่างๆ ของโลก ณ มหาวิทยาลัยโดชิชา (Doshisha University) ในนครเกียวโต ให้ความเห็นว่า การออกกฎหมายความมั่นคงหลายๆ ฉบับเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นสามารถเข้าช่วยเหลือพันธมิตรที่ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธนั้น ในระยะยาวแล้วอาจทำให้ญี่ปุ่นตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มรัฐอิสลาม
“มันอาจจะใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง” นาอิโตะ กล่าว “แต่จากการผ่านกฎหมายความมั่นคงเช่นนี้ รวมทั้งถ้าคณะบริหารชุดใหม่ของสหรัฐฯภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไป ตัดสินใจที่จะเข้าปฏิบัติการทางการทหารในตะวันออกกลาง โดยที่ญี่ปุ่นอาจต้องเสนอให้ความสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงแล้ว โอกาสที่พวกผู้ก่อการร้ายจะเล่นงานญี่ปุ่นก็มีสูงขึ้นมาก”
“กลุ่มรัฐอิสลามนั้นได้ระบุว่าญี่ปุ่นเป็นส่วนหนึ่งของ “พันธมิตรตามความสมัครใจ” (ที่นำโดยสหรัฐฯ) อยู่แล้ว ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของรัฐบาลญี่ปุ่นในอนาคต ที่จะเป็นตัวตัดสินระดับความเสี่ยงของญี่ปุ่น” เขาบอก
ขณะที่ ยูทากะ ทากาโอกะ (Yutaka Takaoka) นักวิจัยอาวุโสของสถาบันตะวันออกกลางแห่งญี่ปุ่น (Middle East Institution of Japan) บอกว่า ญี่ปุ่นอาจกลายเป็น “เป้าหมายที่สมเหตุสมผล” สำหรับกลุ่มรัฐอิสลามไปก็ได้ เนื่องจากญี่ปุ่นมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพของสื่อมวลชนที่ค่อนข้างแข็งแรง ซึ่งหมายความว่าการกระทำใดๆ ของผู้ก่อการร้าย อาจได้รับการเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง และเป็นการช่วยเหลือเป้าหมายของไอเอสที่ต้องการแพร่กระจายการก่อการร้าย
ในอีกด้านหนึ่งพวกผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ญี่ปุ่นมีอะไรต้องทำอยู่มากก่อนหน้าการจัดงานระดับระหว่างประเทศใหญ่ๆ
เมื่อวันจันทร์ (16 พ.ย.) ภายหลังเกิดเหตุโจมตีกรุงปารีส ซึ่งมีผู้ถูกสังหารไปอย่างน้อย 129 คนและบาดเจ็บอีก 350 คน โยชิฮิเดะ สุงะ (Yoshihide Suga) เลขาธิการคณะรัฐบาล ซึ่งตามระบบการเมืองของญี่ปุ่นถือว่ามีอำนาจอิทธิพลสูงในคณะรัฐมนตรี ได้ออกมาประกาศว่าจะเพิ่มมาตรการในการต่อต้านการก่อการร้าย
“มีงานระดับระหว่างประเทศขนาดใหญ่ๆ กำหนดจะจัดขึ้นต่อเนื่องกันเป็นชุดทีเดียว เริ่มต้นด้วยการประชุมของกลุ่ม จี7 ในปีหน้า” สุงะ แถลง “จากนั้นเราจะมีงานแข่งขันกีฬารักบี้เวิลด์คัพในปี 2019 แล้วก็มหกรรมกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก ฤดูร้อนปี 2020 ในโตเกียว เราจึงปรารถนาที่จะใช้เหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายโจมตีคราวนี้ มาเป็นจุดพลิกผันใหญ่เพื่อเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยของเรา”
เขาให้คำมั่นสัญญาที่จะยกระดับสมรรถนะในการรวบรวมข่าวกรองของญี่ปุ่น ตลอดจนเพิ่มการรักษาความปลอดภัยตามท่าเรือ, สนามบิน, และสถานที่สำคัญอื่นๆ
ทางด้าน โยชิโอะ โอโมริ (Yoshio Omori) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยนิฮง บุงกา (Nihon Bunka University) ในกรุงโตเกียว แสดงความคิดเห็นว่า เท่าที่เห็นอยู่ในเวลานี้ มาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับการประชุมซัมมิตกลุ่ม จี7 ยังอยู่ในระดับที่ห่างไกลจากความเพียงพอ
“ผมไม่คิดว่าจะมีใครคนไหนสักคนเลยที่เห็นว่าญี่ปุ่นกำลังทำเพียงพอแล้ว” โอโมริ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าว “เรื่องหนึ่งก็คือ ญี่ปุ่นมีความอ่อนแออย่างยิ่งในเรื่องการรวบรวมข่าวกรอง ญี่ปุ่นขาดความสามารถที่จะเดินหน้าไปด้วยตัวเองในการระบุว่าใครเป็นผู้ก่อการร้ายสากล”
ทั้งนี้โอโมริระบุว่า ญี่ปุ่นยังต้องพึ่งพาอาศัยพวกพันธมิตรอย่างเช่นสหรัฐฯ ในเรื่องข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับผู้ก่อการร้าย
เพื่อทำให้การรักษาความปลอดภัยเข้มแข็งยิ่งขึ้น เขาบอกว่ารัฐบาลอาจพยายามนำเอาเทคโนโลยีตรวจตราเฝ้าระวังที่ก้าวหน้ามาใช้งาน เป็นต้นว่า เทคโนโลยีในการจดจำใบหน้า ทว่าของพวกนี้จะยังคงไร้ประโยชน์ถ้าหากตั้งแต่เริ่มต้นเลย ญี่ปุ่นไม่ได้มีฐานข้อมูลผู้ก่อการร้าย
ซิมป์สัน ที่เป็นผู้ร่วมเขียนเรื่องให้ “เจนส์ ดีเฟนซ์ วีกลี่” กล่าวเสริมว่า ญี่ปุ่นมีจุดอ่อนในเรื่องงานที่มีคนเข้าร่วมมากๆ
“ถึงแม้มีประสบการณ์รับมือผู้ก่อการร้าย จากการสู้รบปรบมือกับกลุ่มโอม ชินริเกียว (Aum Shinrikyo) ตลอดจนพวกสุดโต่งทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา แต่ญี่ปุ่นยังคงมีจุดอ่อนในเรื่องการรักษาความปลอดภัยภาคพื้นดิน” ซิมป์สัน ระบุ “ถ้าพวกที่คิดเข้าโจมตีเกิดหลุดรอดผ่านการตรวจคนเข้าเมือง และใช้ความพยายามจนประสบความสำเร็จในการจัดหาอาวุธและระเบิดแล้ว ญี่ปุ่นก็ยังมีจุดอ่อนอย่างน่ากลัวที่จะถูกโจมตีทำนองเดียวกับเหตุการณ์ในปารีสเมื่อไม่กี่วันก่อน”
เขาบอกว่า ญี่ปุ่นอาจลงเอยด้วยการต้องใช้จ่ายเงินทองเพิ่มมากขึ้น ในการดูแลรักษาความปลอดภัยในงานใหญ่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นมา
“ญี่ปุ่นต้องศึกษาติดตามทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ ตลอดจนชาติอื่นๆ ให้ดี ในขณะที่เตรียมตัวเป็นเจ้าภาพงานระหว่างประเทศใหญ่ๆ หลายๆ งานอย่างนี้” เขาบอก “ประสบการณ์ในอดีตอย่างการประชุมซัมมิตเอเปกปี 2010 ที่เมืองโยโกฮามา และการแข่งขันฟุตบอลเวิลด์คัพ (ในปี 2002) แสดงให้เห็นแล้วว่าควรจะต้องเพิ่มจุดตรวจเพื่อการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งจะต้องยกเครื่องใหญ่ในเรื่องการจัดวางกำลังตำรวจ เรื่องนี้จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมทั้งสำหรับประเทศและสำหรับจังหวัดและเมืองต่างๆ ที่เป็นเจ้าภาพ”