(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Taiwan and China set to take a positive step forward
By George Koo
06/11/2015
การจัดประชุมซัมมิตระหว่าง หม่า อิงจิ่ว กับ สี จิ้นผิง ที่สิงคโปร์ในวันเสาร์ (7 พ.ย.) นี้ ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นการดิ้นรนเพื่อพยายามทำงานให้สำเร็จในขณะเวลามาถึงช่วงสุดท้าย สืบเนื่องจากเหลืออีกไม่กี่เดือน วาระการดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองไต้หวันของ หม่า ก็จะสิ้นสุดลงแล้ว โดยที่ผู้ซึ่งน่าจะขึ้นเป็นทายาทถัดจากเขา คือ ไช่ อิงเหวิน แห่งพรรค DPP ที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน จากการที่ ไช่ แสดงท่าทีโดยรวมไปในทางลบเกี่ยวกับความสัมพันธ์แผ่นดินใหญ่-ไต้หวัน จึงย่อมยากที่เธอจะเป็นบุคคลซึ่ง สี ปรารถนาจะให้เป็นหุ้นส่วน สำหรับการร่วมกัน “ละลายน้ำแข็งอันเย็นชา” ในช่องแคบไต้หวัน
การประชุมซัมมิตครั้งประวัติศาสตร์ระหว่าง หม่า อิงจิ๋ว ผู้นำของพรรคผู้ปกครองไต้หวัน กับ สี จิ้นผิง ผู้นำของพรรคผู้ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ กำลังจะบังเกิดขึ้นแล้ว
การประชุมในสิงคโปร์วันที่ 7 พฤศจิกายนนี้ จะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำของพรรคก๊กมิ่นตั๋ง (KMT) พบปะหารือกับผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ในรอบระยะเวลา 66 ปี คือนับตั้งแต่พรรค KMT สูญเสียอำนาจปกครองแผ่นดินใหญ่ และต้องโยกย้ายที่ตั้งของ “สาธารณรัฐจีน” (Republic of China) มาปักหลักอยู่ที่ไต้หวัน
ประกาศการประชุมซัมมิตของ สี-หม่า คราวนี้ให้ความรู้สึกแบบที่ศัพท์แสงวงการฟุตบอลอเมริกันเรียกกันว่า การขว้าง “เฮล แมรี่” (“Hail Mary” pass) นั่นคือการขว้างลูกให้ไกลที่สุดในแดนของฝ่ายตรงข้าม ในวินาทีท้ายๆ ก่อนที่จะหมดเวลาของแต่ละครึ่งหรือของเกมการแข่งขัน เผื่อว่าจะมีผู้รับลูกไปทำทัชดาวน์ได้ การที่เกิดอารมณ์ประทับใจขึ้นมาว่าช่างเหมือนการดิ้นรนเพื่อทำงานให้สำเร็จในขณะเวลามาถึงช่วงสุดท้ายเช่นนี้ เนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่งของหม่ากำลังใกล้หมดลงแล้ว และผู้ที่น่าจะเป็นทายาทสืบต่อจากเขาก็คือ ไช่ อิงเหวิน (Tsai Ing-wen) จากพรรค DPP ที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งจากการที่เธอแสดงท่าทีโดยรวมไปในทางลบ เกี่ยวกับความสัมพันธ์แผ่นดินใหญ่-ไต้หวัน ที่เรียกขานกันว่า “ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ (ไต้หวัน)” (cross-straits relations) จึงย่อมยากที่เธอจะเป็นบุคคลซึ่ง สี ปรารถนาจะให้เป็นหุ้นส่วน สำหรับการร่วมกัน “ละลายน้ำแข็งอันเย็นชา” ในช่องแคบไต้หวัน
ทั้งสองฝ่ายต่างพากันปฏิเสธว่า การประชุมครั้งนี้ไม่ได้เป็นการพบปะที่จัดขึ้นมาอย่างเร่งรีบในนาทีสุดท้าย หรือว่าการประชุมหนนี้เป็นการมุ่งตอบโต้ต่อสถานการณ์ความตึงเครียดที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในทะเลจีนใต้ อันที่จริงแล้วทั้งสองฝ่ายต้องใช้เวลาแรมเดือนทีเดียวกว่าจะตกลงกันได้ว่าจะเรียกขานทักทายอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไร เพื่อจะได้ไม่ต้องเกิดความอิหลักอิเหลื่อ เผชิญหน้ากับการยอมรับอย่างกลายๆ เกี่ยวกับสถานะความเป็นรัฐอธิปไตยของไต้หวัน โดยในที่สุดแล้วพวกเขาตกลงกันว่าจะเรียกกันและกันว่า “xian sheng” (เซียนเซิง ตรงกับ Mister ในภาษาอังกฤษ หรือ คุณ, นาย, ในภาษาไทย) หลังจากพบปะหารือกันแล้ว พวกเขาจะรับประทานดินเนอร์ด้วยกันในแบบ “ไม่มีเจ้าภาพ” และแบ่งกันชำระค่าอาหาร
ตามการเปิดเผยของผู้ทำหน้าเป็นโฆษกให้ หม่า ผู้นำของไต้หวันผู้นี้ได้เสนอให้จัดการประชุมหารือแบบนี้ตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยจัดให้เป็นการประชุมข้างเคียงของการประชุมซัมมิตเอเปก ทว่าปักกิ่งไม่เห็นด้วย
คำอธิบายซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปของการปฏิเสธคราวนั้นก็คือ ปักกิ่งไม่ปรารถนาที่จะก่อให้เกิดภาพใดๆ ขึ้นมาว่า ให้การรับรองไต้หวันเป็นรัฐอธิปไตยแยกต่างหากออกไป ส่วนการที่ตกลงจัดการประชุมซัมมิตในเวลานี้ขณะเหลือเวลาอีกไม่กี่เดือน หม่าก็จะอำลาตำแหน่งแล้ว ได้รับการตีความจากนักวิเคราะห์จำนวนมากว่าเนื่องมาจากปัจจัยหลายๆ ประการ
ภายหลังที่ สี จิ้นผิงเดินทางกลับจากการไปเยือนสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางรัฐพิธีด้วยความสำเร็จเป็นอันดีแล้ว เขาก็ดูมีความเชื่อมั่นในการแสดงบทบาทเป็นผู้นำที่ออกตระเวนย่ำทั่วโลกของตน และมีความสบายอกสบายใจที่จะห่มคลุมตนเองด้วยพัสตราภรณ์ของนักการทูต ดังนั้นจึงดูจะเป็นจังหวะเวลาอันเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการพบปะหารือกับผู้นำสูงสุดของไต้หวัน
ขณะที่ทางฝ่าย หม่า นั้น ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในปี 2008 เขาก็ทำงานอย่างหนักเพื่อปรับปรุงยกระดับความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ ถึงแม้ต้องถือว่าเขาล้มเหลวไม่สามารถแจกแจงความสำคัญของการมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแผ่นดินใหญ่ ให้ประชาชนของไต้หวันเกิดความเข้าอกเข้าใจได้ แต่ สี ย่อมสามารถคาดหมายได้ว่า ตัวหม่าเองนั้นมีความตระหนักและซาบซึ้งถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว อีกทั้งสามารถคาดการณ์ได้ว่าการสนทนาของพวกเขาทั้งสองจะให้ผลดีน่าพึงพอใจ
นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทลายข้อห้ามซึ่งยึดถือกันมาเก่าแก่นานนมที่ว่าผู้นำของทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่พบปะ/ไม่หารือกัน และเริ่มต้นสร้างแบบอย่างของการประชุมซัมมิตข้ามช่องแคบกันตั้งแต่บัดนี้ แทนที่จะรอไปจนถึงคณะบริหารชุดต่อไปของไต้หวัน
เป็นที่คาดหมายกันว่า ไช่ อิงเหวิน ของพรรค DPP จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำคนถัดไปของไต้หวันภายหลังการเลือกตั้งซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นในปีหน้า เมื่อพิจารณาจากท่าทีของเธอซึ่งมีความเป็นมิตรน้อยกว่าหม่านักหนา จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าในสมัยแห่งการครองอำนาจของเธอ จะเกิดการประชุมซัมมิตข้ามช่องแคบขึ้นมาได้หรือไม่ และกระทั่งว่าเกิดขึ้นมาจนได้ก็อาจเป็นการพบปะหารือที่อุดมด้วยความเย็นชาและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์โภชน์ผล ด้วยเหตุนี้ ความพยายามที่จะริเริ่มสร้างแบบอย่างโดยจัดการประชุมซัมมิตหนแรกภายใต้คณะบริหารของ ไช่ จะต้องเป็นภาระหน้าที่อันลำบากยากเย็นยิ่ง
ถึงแม้ปักกิ่งจะได้ทำความตกลงทางการค้าชนิดที่ให้การอนุเคราะห์เป็นพิเศษแก่ไต้หวัน หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำข้อตกลงแม่บทว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation Framework Agreement ใช้อักษรย่อว่า ECFA) กันไปแล้ว แต่ผู้คนจำนวนมากในไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนรุ่นหนุ่มสาว กลับไม่ได้ตระหนักซาบซึ้งถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับจากการบูรณาการทางเศรษฐกิจเข้ากับแผ่นดินใหญ่
เมื่อมีการประชุมซัมมิตในสิงคโปร์ ก็เปรียบได้กับการสร้างพื้นฐานเปิดเวทีสำหรับการสนทนากันโดยตรงได้อย่างสนิทใจยิ่งขึ้น ในอนาคตปักกิ่งก็จะมีโอกาสได้พูดจากับประชาชนของไต้หวันโดยตรงมากขึ้น และโน้มน้าวชักชวนพวกเขาให้เห็นประโยชน์ของการมีความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
ไช่ นั้นแสดงการยอมรับอย่างเสียไม่ได้ต่อแนวคิดในการจัดการประชุมซัมมิตข้ามช่องแคบ โดยเธอตั้งเงื่อนไขว่าผลของการพบปะหารือจะต้องไม่ถูกเก็บอยู่ใน “กล่องดำ” ซึ่งเธอหมายถึงการเก็บผลการเจรจาเหล่านั้นเอาไว้เป็นความลับ และไม่เปิดเผยให้สาธารณชนในไต้หวันได้รับทราบ
เธอยังแสดงความกังวลว่าซัมมิตที่สิงคโปร์คราวนี้อาจจะเป็นการเดินหมากกลสร้างเซอร์ไพรซ์ในนาทีสุดท้าย ทำนองเดียวกับกระสุนปืนของมือสังหารได้พุ่งเจาะเข้าไปที่พุงของเฉิน สุยเปี่ยน และเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ของการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันเมื่อปี 2004 (เหตุการณ์ที่คนร้ายพยายามลอบสังหาร ซึ่งยังคงมีผู้ตั้งข้อสงสัยข้องใจกันอยู่มากคราวนั้น ได้ทำให้ เฉิน ที่เป็นตัวแทนของพรรค DPP ได้รับคะแนนสงสารเห็นใจ จนเพียงพอที่จะกลายเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งซึ่งได้คะแนนเสียงเฉือนคู่แข่งชนิดหวุดหวิดเฉียดฉิวที่สุด)
ในทางตรงกันข้าม หม่า พยายามออกมาให้คำมั่นรับประกันกับประชาชนไต้หวันว่า วัตถุประสงค์ของการประชุมซัมมิตในสิงคโปร์ ก็เพื่อที่จะ “เพิ่มความมั่นคงให้แก่ภาวะสันติภาพข้ามช่องแคบ และธำรงรักษาสถานะเดิมเอาไว้” เขาสัญญาด้วยว่าการพบปะหารือคราวนี้จะไม่มีการเซ็นข้อตกลงหรือออกแถลงการณ์ร่วมใดๆ ทั้งสิ้น
ในช่วงการเจรจาหารือแบบปิดห้องคุยกันของพวกเขาซึ่งจะกินเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงนั้น สี ควรที่จะใช้โอกาสนี้บอกกับ หม่า ว่า “คุณหม่า อีกไม่กี่เดือนคุณก็จะกลายเป็นรัฐบุรุษอาวุโสในไต้หวันแล้ว ผมหวังว่าคุณจะใช้ประโยชน์จากฐานะของคุณที่กำลังอยู่เหนือการต่อสู้แข่งขันทางการเมือง เพื่ออธิบายแจกแจงให้เป็นที่เข้าอกเข้าใจกันว่า การเกี่ยวพันโยงใยทางเศรษฐกิจข้ามช่องแคบนั้น มีความสำคัญต่อภาวะอยู่ดีมีสุขในทางเศรษฐกิจของไต้หวันขนาดไหน
“ด้วยความพยายามต่างๆ ของคุณในอดีตที่ผ่านมาที่จะกระชับสายสัมพันธ์กับแผ่นดินใหญ่ให้เข้มแข็ง เศรษฐกิจของไต้หวันจึงกำลังแข็งแกร่ง คุณจึงควรบอกกับประชาชนของไต้หวันว่า ถ้าหากและเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาตัดสินใจว่าพวกเขาไม่ปรารถนาที่จะเป็นส่วนหนึ่งของจีนแล้ว เราก็จะยกเลิกเงื่อนไขความอนุเคราะห์ทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ได้ให้แก่พี่น้องของเราอยู่ในเวลานี้ ซึ่งผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้นกับไต้หวันก็คือความวิบัติหายนะ”
เมื่อ อีริก ชู (Eric Chu) ผู้สมัครของพรรค KMT ในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีปีหน้า ได้ยินเรื่องการประชุมซัมมิต สี-หม่า ที่กำลังจะบังเกิดขึ้น เขากล่าวว่า “ทั้งสองฝ่ายของช่องแคบไต้หวัน จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับอีกฝ่ายหนึ่งต่อไป และส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือกันเพื่อก่อให้เกิดสถานการณ์แบบชนะกันทุกๆ ฝ่ายโดยอิงอยู่กับการพัฒนาที่ดำเนินไปอย่างสันติ”
การทำให้ทุกๆ ฝ่ายต่างเป็นผู้ชนะนั้น ถือเป็นรากฐานในการทูตทั่วโลกของ สี คำพูดของ ชู ควรจะเป็นสิ่งที่ สี รับฟังด้วยความรื่นรมย์ชมชื่น น่าเสียดายที่คะแนนนิยมในตัว ชู ยังตามหลัง ไช่ ห่างเหลือเกิน และเขาไม่น่าที่จะได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำไต้หวันคนต่อไป และผลักดันความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบให้ก้าวหน้าไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์แบบชนะด้วยกันทุกฝ่าย
(ข้อเขียนนี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2015 ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตของ สี จิ้นผิง และ หม่า อิงจิ๋ว ที่สิงคโปร์ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน)
ดร. จอร์จ คู เพิ่งเกษียณอายุเมื่อไม่นานมานี้จากสำนักงานให้บริการด้านคำปรึกษาระดับโลก แห่งหนึ่ง ซึ่งเขาได้ให้คำแนะนำแก่ลูกค้าเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และการดำเนินการทางธุรกิจ ของพวกเขาในประเทศจีน เขาสำเร็จการศึกษาจาก MIT, Stevens Institute, และ Santa Clara University และเป็นผู้ก่อตั้งตลอดจนเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการของ International Strategic Alliances เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ the Committee of 100, the Pacific Council for International Policy และเป็นกรรมการคนหนึ่งของ New America Media
Taiwan and China set to take a positive step forward
By George Koo
06/11/2015
การจัดประชุมซัมมิตระหว่าง หม่า อิงจิ่ว กับ สี จิ้นผิง ที่สิงคโปร์ในวันเสาร์ (7 พ.ย.) นี้ ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นการดิ้นรนเพื่อพยายามทำงานให้สำเร็จในขณะเวลามาถึงช่วงสุดท้าย สืบเนื่องจากเหลืออีกไม่กี่เดือน วาระการดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองไต้หวันของ หม่า ก็จะสิ้นสุดลงแล้ว โดยที่ผู้ซึ่งน่าจะขึ้นเป็นทายาทถัดจากเขา คือ ไช่ อิงเหวิน แห่งพรรค DPP ที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน จากการที่ ไช่ แสดงท่าทีโดยรวมไปในทางลบเกี่ยวกับความสัมพันธ์แผ่นดินใหญ่-ไต้หวัน จึงย่อมยากที่เธอจะเป็นบุคคลซึ่ง สี ปรารถนาจะให้เป็นหุ้นส่วน สำหรับการร่วมกัน “ละลายน้ำแข็งอันเย็นชา” ในช่องแคบไต้หวัน
การประชุมซัมมิตครั้งประวัติศาสตร์ระหว่าง หม่า อิงจิ๋ว ผู้นำของพรรคผู้ปกครองไต้หวัน กับ สี จิ้นผิง ผู้นำของพรรคผู้ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ กำลังจะบังเกิดขึ้นแล้ว
การประชุมในสิงคโปร์วันที่ 7 พฤศจิกายนนี้ จะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำของพรรคก๊กมิ่นตั๋ง (KMT) พบปะหารือกับผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ในรอบระยะเวลา 66 ปี คือนับตั้งแต่พรรค KMT สูญเสียอำนาจปกครองแผ่นดินใหญ่ และต้องโยกย้ายที่ตั้งของ “สาธารณรัฐจีน” (Republic of China) มาปักหลักอยู่ที่ไต้หวัน
ประกาศการประชุมซัมมิตของ สี-หม่า คราวนี้ให้ความรู้สึกแบบที่ศัพท์แสงวงการฟุตบอลอเมริกันเรียกกันว่า การขว้าง “เฮล แมรี่” (“Hail Mary” pass) นั่นคือการขว้างลูกให้ไกลที่สุดในแดนของฝ่ายตรงข้าม ในวินาทีท้ายๆ ก่อนที่จะหมดเวลาของแต่ละครึ่งหรือของเกมการแข่งขัน เผื่อว่าจะมีผู้รับลูกไปทำทัชดาวน์ได้ การที่เกิดอารมณ์ประทับใจขึ้นมาว่าช่างเหมือนการดิ้นรนเพื่อทำงานให้สำเร็จในขณะเวลามาถึงช่วงสุดท้ายเช่นนี้ เนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่งของหม่ากำลังใกล้หมดลงแล้ว และผู้ที่น่าจะเป็นทายาทสืบต่อจากเขาก็คือ ไช่ อิงเหวิน (Tsai Ing-wen) จากพรรค DPP ที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งจากการที่เธอแสดงท่าทีโดยรวมไปในทางลบ เกี่ยวกับความสัมพันธ์แผ่นดินใหญ่-ไต้หวัน ที่เรียกขานกันว่า “ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ (ไต้หวัน)” (cross-straits relations) จึงย่อมยากที่เธอจะเป็นบุคคลซึ่ง สี ปรารถนาจะให้เป็นหุ้นส่วน สำหรับการร่วมกัน “ละลายน้ำแข็งอันเย็นชา” ในช่องแคบไต้หวัน
ทั้งสองฝ่ายต่างพากันปฏิเสธว่า การประชุมครั้งนี้ไม่ได้เป็นการพบปะที่จัดขึ้นมาอย่างเร่งรีบในนาทีสุดท้าย หรือว่าการประชุมหนนี้เป็นการมุ่งตอบโต้ต่อสถานการณ์ความตึงเครียดที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในทะเลจีนใต้ อันที่จริงแล้วทั้งสองฝ่ายต้องใช้เวลาแรมเดือนทีเดียวกว่าจะตกลงกันได้ว่าจะเรียกขานทักทายอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไร เพื่อจะได้ไม่ต้องเกิดความอิหลักอิเหลื่อ เผชิญหน้ากับการยอมรับอย่างกลายๆ เกี่ยวกับสถานะความเป็นรัฐอธิปไตยของไต้หวัน โดยในที่สุดแล้วพวกเขาตกลงกันว่าจะเรียกกันและกันว่า “xian sheng” (เซียนเซิง ตรงกับ Mister ในภาษาอังกฤษ หรือ คุณ, นาย, ในภาษาไทย) หลังจากพบปะหารือกันแล้ว พวกเขาจะรับประทานดินเนอร์ด้วยกันในแบบ “ไม่มีเจ้าภาพ” และแบ่งกันชำระค่าอาหาร
ตามการเปิดเผยของผู้ทำหน้าเป็นโฆษกให้ หม่า ผู้นำของไต้หวันผู้นี้ได้เสนอให้จัดการประชุมหารือแบบนี้ตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยจัดให้เป็นการประชุมข้างเคียงของการประชุมซัมมิตเอเปก ทว่าปักกิ่งไม่เห็นด้วย
คำอธิบายซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปของการปฏิเสธคราวนั้นก็คือ ปักกิ่งไม่ปรารถนาที่จะก่อให้เกิดภาพใดๆ ขึ้นมาว่า ให้การรับรองไต้หวันเป็นรัฐอธิปไตยแยกต่างหากออกไป ส่วนการที่ตกลงจัดการประชุมซัมมิตในเวลานี้ขณะเหลือเวลาอีกไม่กี่เดือน หม่าก็จะอำลาตำแหน่งแล้ว ได้รับการตีความจากนักวิเคราะห์จำนวนมากว่าเนื่องมาจากปัจจัยหลายๆ ประการ
ภายหลังที่ สี จิ้นผิงเดินทางกลับจากการไปเยือนสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางรัฐพิธีด้วยความสำเร็จเป็นอันดีแล้ว เขาก็ดูมีความเชื่อมั่นในการแสดงบทบาทเป็นผู้นำที่ออกตระเวนย่ำทั่วโลกของตน และมีความสบายอกสบายใจที่จะห่มคลุมตนเองด้วยพัสตราภรณ์ของนักการทูต ดังนั้นจึงดูจะเป็นจังหวะเวลาอันเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการพบปะหารือกับผู้นำสูงสุดของไต้หวัน
ขณะที่ทางฝ่าย หม่า นั้น ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในปี 2008 เขาก็ทำงานอย่างหนักเพื่อปรับปรุงยกระดับความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ ถึงแม้ต้องถือว่าเขาล้มเหลวไม่สามารถแจกแจงความสำคัญของการมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแผ่นดินใหญ่ ให้ประชาชนของไต้หวันเกิดความเข้าอกเข้าใจได้ แต่ สี ย่อมสามารถคาดหมายได้ว่า ตัวหม่าเองนั้นมีความตระหนักและซาบซึ้งถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว อีกทั้งสามารถคาดการณ์ได้ว่าการสนทนาของพวกเขาทั้งสองจะให้ผลดีน่าพึงพอใจ
นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทลายข้อห้ามซึ่งยึดถือกันมาเก่าแก่นานนมที่ว่าผู้นำของทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่พบปะ/ไม่หารือกัน และเริ่มต้นสร้างแบบอย่างของการประชุมซัมมิตข้ามช่องแคบกันตั้งแต่บัดนี้ แทนที่จะรอไปจนถึงคณะบริหารชุดต่อไปของไต้หวัน
เป็นที่คาดหมายกันว่า ไช่ อิงเหวิน ของพรรค DPP จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำคนถัดไปของไต้หวันภายหลังการเลือกตั้งซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นในปีหน้า เมื่อพิจารณาจากท่าทีของเธอซึ่งมีความเป็นมิตรน้อยกว่าหม่านักหนา จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าในสมัยแห่งการครองอำนาจของเธอ จะเกิดการประชุมซัมมิตข้ามช่องแคบขึ้นมาได้หรือไม่ และกระทั่งว่าเกิดขึ้นมาจนได้ก็อาจเป็นการพบปะหารือที่อุดมด้วยความเย็นชาและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์โภชน์ผล ด้วยเหตุนี้ ความพยายามที่จะริเริ่มสร้างแบบอย่างโดยจัดการประชุมซัมมิตหนแรกภายใต้คณะบริหารของ ไช่ จะต้องเป็นภาระหน้าที่อันลำบากยากเย็นยิ่ง
ถึงแม้ปักกิ่งจะได้ทำความตกลงทางการค้าชนิดที่ให้การอนุเคราะห์เป็นพิเศษแก่ไต้หวัน หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำข้อตกลงแม่บทว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation Framework Agreement ใช้อักษรย่อว่า ECFA) กันไปแล้ว แต่ผู้คนจำนวนมากในไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนรุ่นหนุ่มสาว กลับไม่ได้ตระหนักซาบซึ้งถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับจากการบูรณาการทางเศรษฐกิจเข้ากับแผ่นดินใหญ่
เมื่อมีการประชุมซัมมิตในสิงคโปร์ ก็เปรียบได้กับการสร้างพื้นฐานเปิดเวทีสำหรับการสนทนากันโดยตรงได้อย่างสนิทใจยิ่งขึ้น ในอนาคตปักกิ่งก็จะมีโอกาสได้พูดจากับประชาชนของไต้หวันโดยตรงมากขึ้น และโน้มน้าวชักชวนพวกเขาให้เห็นประโยชน์ของการมีความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
ไช่ นั้นแสดงการยอมรับอย่างเสียไม่ได้ต่อแนวคิดในการจัดการประชุมซัมมิตข้ามช่องแคบ โดยเธอตั้งเงื่อนไขว่าผลของการพบปะหารือจะต้องไม่ถูกเก็บอยู่ใน “กล่องดำ” ซึ่งเธอหมายถึงการเก็บผลการเจรจาเหล่านั้นเอาไว้เป็นความลับ และไม่เปิดเผยให้สาธารณชนในไต้หวันได้รับทราบ
เธอยังแสดงความกังวลว่าซัมมิตที่สิงคโปร์คราวนี้อาจจะเป็นการเดินหมากกลสร้างเซอร์ไพรซ์ในนาทีสุดท้าย ทำนองเดียวกับกระสุนปืนของมือสังหารได้พุ่งเจาะเข้าไปที่พุงของเฉิน สุยเปี่ยน และเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ของการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันเมื่อปี 2004 (เหตุการณ์ที่คนร้ายพยายามลอบสังหาร ซึ่งยังคงมีผู้ตั้งข้อสงสัยข้องใจกันอยู่มากคราวนั้น ได้ทำให้ เฉิน ที่เป็นตัวแทนของพรรค DPP ได้รับคะแนนสงสารเห็นใจ จนเพียงพอที่จะกลายเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งซึ่งได้คะแนนเสียงเฉือนคู่แข่งชนิดหวุดหวิดเฉียดฉิวที่สุด)
ในทางตรงกันข้าม หม่า พยายามออกมาให้คำมั่นรับประกันกับประชาชนไต้หวันว่า วัตถุประสงค์ของการประชุมซัมมิตในสิงคโปร์ ก็เพื่อที่จะ “เพิ่มความมั่นคงให้แก่ภาวะสันติภาพข้ามช่องแคบ และธำรงรักษาสถานะเดิมเอาไว้” เขาสัญญาด้วยว่าการพบปะหารือคราวนี้จะไม่มีการเซ็นข้อตกลงหรือออกแถลงการณ์ร่วมใดๆ ทั้งสิ้น
ในช่วงการเจรจาหารือแบบปิดห้องคุยกันของพวกเขาซึ่งจะกินเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงนั้น สี ควรที่จะใช้โอกาสนี้บอกกับ หม่า ว่า “คุณหม่า อีกไม่กี่เดือนคุณก็จะกลายเป็นรัฐบุรุษอาวุโสในไต้หวันแล้ว ผมหวังว่าคุณจะใช้ประโยชน์จากฐานะของคุณที่กำลังอยู่เหนือการต่อสู้แข่งขันทางการเมือง เพื่ออธิบายแจกแจงให้เป็นที่เข้าอกเข้าใจกันว่า การเกี่ยวพันโยงใยทางเศรษฐกิจข้ามช่องแคบนั้น มีความสำคัญต่อภาวะอยู่ดีมีสุขในทางเศรษฐกิจของไต้หวันขนาดไหน
“ด้วยความพยายามต่างๆ ของคุณในอดีตที่ผ่านมาที่จะกระชับสายสัมพันธ์กับแผ่นดินใหญ่ให้เข้มแข็ง เศรษฐกิจของไต้หวันจึงกำลังแข็งแกร่ง คุณจึงควรบอกกับประชาชนของไต้หวันว่า ถ้าหากและเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาตัดสินใจว่าพวกเขาไม่ปรารถนาที่จะเป็นส่วนหนึ่งของจีนแล้ว เราก็จะยกเลิกเงื่อนไขความอนุเคราะห์ทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ได้ให้แก่พี่น้องของเราอยู่ในเวลานี้ ซึ่งผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้นกับไต้หวันก็คือความวิบัติหายนะ”
เมื่อ อีริก ชู (Eric Chu) ผู้สมัครของพรรค KMT ในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีปีหน้า ได้ยินเรื่องการประชุมซัมมิต สี-หม่า ที่กำลังจะบังเกิดขึ้น เขากล่าวว่า “ทั้งสองฝ่ายของช่องแคบไต้หวัน จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับอีกฝ่ายหนึ่งต่อไป และส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือกันเพื่อก่อให้เกิดสถานการณ์แบบชนะกันทุกๆ ฝ่ายโดยอิงอยู่กับการพัฒนาที่ดำเนินไปอย่างสันติ”
การทำให้ทุกๆ ฝ่ายต่างเป็นผู้ชนะนั้น ถือเป็นรากฐานในการทูตทั่วโลกของ สี คำพูดของ ชู ควรจะเป็นสิ่งที่ สี รับฟังด้วยความรื่นรมย์ชมชื่น น่าเสียดายที่คะแนนนิยมในตัว ชู ยังตามหลัง ไช่ ห่างเหลือเกิน และเขาไม่น่าที่จะได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำไต้หวันคนต่อไป และผลักดันความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบให้ก้าวหน้าไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์แบบชนะด้วยกันทุกฝ่าย
(ข้อเขียนนี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2015 ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตของ สี จิ้นผิง และ หม่า อิงจิ๋ว ที่สิงคโปร์ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน)
ดร. จอร์จ คู เพิ่งเกษียณอายุเมื่อไม่นานมานี้จากสำนักงานให้บริการด้านคำปรึกษาระดับโลก แห่งหนึ่ง ซึ่งเขาได้ให้คำแนะนำแก่ลูกค้าเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และการดำเนินการทางธุรกิจ ของพวกเขาในประเทศจีน เขาสำเร็จการศึกษาจาก MIT, Stevens Institute, และ Santa Clara University และเป็นผู้ก่อตั้งตลอดจนเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการของ International Strategic Alliances เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ the Committee of 100, the Pacific Council for International Policy และเป็นกรรมการคนหนึ่งของ New America Media