(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Taiwan, China summit makes no dent in opposition party support
By Radio Free Asia
10/11/2015
การพูดจาหารือครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กับประธานาธิบดี หม่า อิงจิ่ว ของไต้หวัน แทบไม่ได้ทำให้พลังสนับสนุนพรรคฝ่ายค้านบนเกาะไต้หวันเปลี่ยนแปลงไป โดยที่ ไช่ อิงเหวิน ยังคงมีคะแนนนิยมนำลิ่วในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะจัดขึ้นต้นปีหน้า อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายรายมองว่า เธอมีจุดยืนที่จำกัดตัวเองเกินไปในเรื่องนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่
การเจรจาหารือครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กับประธานาธิบดี หม่า อิงจิ่ว ของไต้หวัน ซึ่งเป็นการพบปะครั้งแรกของผู้นำระดับนี้ นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองระหว่างพรรคการเมืองของพวกเขาทั้งสองสิ้นสุดลงในปี 1949 ดูเหมือนแทบไม่มีผลอะไรเลยต่อพลังสนับสนุนพรรคฝ่ายค้านของเกาะไต้หวัน ก่อนหน้าจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคราวต่อไปในต้นปีหน้า ผลการสำรวจความคิดเห็นซึ่งเปิดเผยออกมาในวันจันทร์ (9 พ.ย.) บ่งบอกให้เห็นเช่นนี้
สี ได้พบหารือแบบปิดห้องสนทนากันเป็นเวลาสั้นๆ กับ หม่า ณ ดินแดนเป็นกลางอย่างสิงคโปร์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการเจรจาทวิภาคีกันในระดับนี้เป็นหนแรกในรอบระยะเวลา 66 ปี
พรรคคอมมิวนิสต์จีนของ สี ซึ่งกำลังปกครองจีนอยู่ในปัจจุบัน และพรรคชาตินิยม “ก๊กมิ่นตั๋ง” (ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า กว๋อหมินตั่ง ซึ่งถอดเป็นภาษาอังกฤษว่า Kuomintang และใช้อักษรย่อว่า KMT) ของ หม่า คือศัตรูคู่อาฆาตที่ทำศึกสู้รบกันอย่างขมขื่นในสงครามกลางเมือง ซึ่งปะทุขึ้นมาภายหลังการปราชัยของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 และในที่สุดรัฐบาลพรรค KMT ต้องหลบหนีออกจากนครฉงชิ่งมายังเกาะไต้หวัน ภายหลังพ่ายแพ้ปราชัยต่อกองกำลังคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง
หม่า ได้กล่าวยกย่องการประชุมซัมมิตคราวนี้ว่า เป็นผลรวมของความพากเพียรพยายามในการดำเนินงานการทูตอย่างละเอียดอ่อนเป็นเวลา 2 ปี ท่ามกล่างความเป็นจริงทั้งทางการเมือง, ทางเศรษฐกิจ, และทางการทหารของทั้งสองฝ่าย ซึ่ง “มีความสลับซับซ้อนอย่างยิ่ง”
“ผมมีความรู้สึกอย่างแรงกล้ามากว่า นับจากการพบปะหารือในวันนี้แล้ว เราควรที่จะให้คุณค่าราคาอันแท้จริงแก่เรื่องนี้ และเสาะแสวงหาหนทางต่างๆ เพื่อทำงานรอบๆ ปัญหาต่างๆ ของพวกเรา และไม่ยินยอมปล่อยให้ปัญหาเหล่านั้นมาส่งผลกระทบกระเทือนต่อทิศทางโดยรวมของพวกเรา” หม่า กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังการพบปะหารือ
“ผมคิดว่าคุณสี ก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกันนี้ ดังนั้นเราจึงกำลังจะโฟกัสไปที่ภาพใหญ่ ไม่ใช่เรื่องรายละเอียด” เขาบอก “ผมหวังว่าเราสามารถเห็นพ้องกันได้เกี่ยวกับทิศทางโดยรวม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ไต้หวันและแก่จีนแผ่นดินใหญ่”
ไช่ อิงเหวิน แห่งพรรคฝ่ายค้านยังคงมีคะแนนนำลิ่ว
อย่างไรก็ตาม ไช่ อิงเหวิน (Tsai Ing-wen) ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมเครติก โปรเกรสสีฟ ปาร์ตี้ (Democratic Progressive Party ใช้อักษรย่อว่า DPP) ยังคงมีคะแนนนำลิ่วในผลการสำรวจความคิดเห็นที่ทำกันทันทีหลังการประชุมซัมมิตคราวนี้ สื่อท้องถิ่นรายงานข่าวเมื่อวันจันทร์ (9 พ.ย.)
ไช่ นั้นกล่าวหา หม่า ว่า ออกมาทำการป่าวประกาศเอาในนาทีสุดท้ายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับการพบปะหารือกับ สี คราวนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามฟื้นชีพโชคชะตาอันย่ำแย่ของพรรคของเขา หลังจากประสบกับความหายนะในการเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า
ทว่าผลโพลที่จัดทำโดย สมาคมนโยบายข้ามช่องแคบ (Cross-Strait Policy Association) ของไต้หวัน พบว่า 48.6% ของกลุ่มตัวอย่าง 1,014 รายที่ทำการสำรวจในคราวนี้เมื่อวันอาทิตย์ (8 พ.ย.) ยังคงบอกว่าให้การสนับสนุน ไช่ และมีเพียง 21.4% ที่ระบุว่าสนับสนุน อีริก จู (Eric Chu) ผู้สมัครของ KMT
ในเวลาเดียวกัน ผู้ตอบคำถาม 46.8% บอกว่าพวกเขาไม่คิดว่า หม่า ได้ทำการปกป้องหรือธำรงรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ต่างๆ ของไต้หวันในระหว่างการพบปะหารือกับ สี เปรียบเทียบกับ 32.9% ซึ่งตอบว่าเขาได้ปกป้องหรือธำรงรักษา
นอกจากนั้นในโพลรายที่ 2 ซึ่งสำรวจจากจำนวนตัวอย่างใกล้เคียงกัน แต่ดำเนินการโดยสมาคมยุติธรรม (Justice Association) ที่เป็นกลุ่มนักวิชาการ ก็พบในทำนองเดียวกันว่า 32.7% ตอบว่าจะโหวตให้ ไช่ และเพียง 21.1% สนับสนุน จู
ทางด้าน หวัง จิว์นเถา (Wang Juntao) นักวิจารณ์ทางการเมืองซึ่งพำนักอยู่ในสหรัฐฯ ได้ให้ความเห็นว่า ความสำคัญของการประชุมซัมมิตคราวนี้ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในลักษณะเชิงสัญลักษณ์
“(สัมฤทธิผล) ประการแรกเลยก็คือ พวกเขามีช่องทางสำหรับการสื่อสารกันในระดับสูง และประการที่สองคือ ผู้นำทั้งสองสามารถที่จะพบปะเจรจากันบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันได้” หวัง แจกแจง
“นี่หมายความว่าในทางเป็นจริงแล้ว (ปักกิ่ง) รับรองไต้หวันว่าเป็นสิ่งที่มีตัวตนในทางการเมือง (political entity)”
เขามองต่อไปว่า จุดอ่อนของ ไช่ ยังคงอยู่ที่นโยบายว่าด้วยสายสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ (cross-straits หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างเกาะไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีช่องแคบไต้หวันคั่นกลาง -ผู้แปล) เนื่องจากพรรค DPP ยังคงรณรงค์ต่อสู้โดยใช้หลักนโยบายที่มุ่งให้ไต้หวันเป็นประเทศเอกราชแบบค่อยเป็นค่อยไป
“เมื่อมองกันถึงเงื่อนไขต่างๆ ในอนาคตแล้ว นโยบายเช่นนี้โดยพื้นฐานจะกลายเป็นการกำหนดน้ำเสียงและกลายเป็นการสร้างข้อจำกัดอันเข้มงวดต่างๆ ขึ้นรอบๆ ตัว ไช่ อิงเหวิน เมื่อมาถึงเรื่องนโยบายว่าด้วยจีนแผ่นดินใหญ่ของเธอ” หวัง บอก
ทางด้าน หยาง หลี่อี๋ว์ (Yang Liyu) อาจารย์เกษียณอายุแล้วซึ่งสอนทางด้านเอเชียตะวันออกศึกษา อยู่ที่มหาวิทยาลัยซีตันฮอลล์ (Seton Hall University) มลรัฐนิวเจอร์ซีย์, สหรัฐอเมริกา เห็นด้วยกับความคิดเห็นของ หวัง โดยเขากล่าวว่า หากเปรียบเทียบกับเกมเบสบอล หม่าก็เพิ่งโยนลูกหมุนโค้ง (curve-ball) เข้าใส่ ไช่
“ตอนนี้ ไช่ อิงเหวิน มีปัญหาใหญ่ๆ อยู่ 2 เรื่อง ซึ่งผมเพิ่งได้พูดจาถกแถลงกับเธอมา” หยาง กล่าวกับวิทยุเอเชียเสรี “เรื่องแรกเลยคือการที่เธอจะไม่ยอมรับรองแถลงการณ์ปี 1992 (แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ ซึ่งเห็นพ้องต้องกันโดยเจ้าหน้าที่จากทั้งฝ่ายไต้หวันและฝ่ายแผ่นดินใหญ่ บางทีจึงเรียกว่าเป็น ฉันทามติปี 1992 –ผู้แปล)”
“ส่วนเรื่องที่สองคือการที่เธอจะไม่ยินยอมทิ้งขว้างละวางแนวความคิดในเรื่องการประกาศเอกราชของไต้หวัน” เขาบอก “จากทัศนะมุมมองของปักกิ่งแล้ว ... นี่ทำให้ไม่มีพื้นฐานใดๆ เลยสำหรับการพัฒนาสายสัมพันธ์อย่างสันติไม่ว่าจะในรูปลักษณ์อย่างไรก็ตามที”
ไม่มีการข่มขู่คุกคามทางการทหารอีกแล้ว?
หยางให้ความเห็นต่อไปว่า การประชุมซัมมิตคราวนี้ก่อให้เกิดดอกผลที่สำคัญมากแก่ไต้หวัน 2 ประการด้วยกัน
“ประการแรกคือ ไต้หวันสามารถยื่นขอเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรระดับระหว่างประเทศต่างๆ ในลักษณะท่าทีที่เหมาะสมได้ รวมทั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) และแผนการริเริ่มหนึ่งแถบเศรษฐกิจหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road initiative)” เขากล่าว (ทั้งธนาคาร AIIB และแผนการริเริ่มนี้ ต่างมีปักกิ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง –ผู้แปล)
“ประการที่สองก็คือจะไม่มีการข่มขู่คุกคามทางการทหารใดๆ ตราบเท่าที่ไต้หวันไม่ได้แสวงหาทางประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ”
การผูกพันทางเศรษฐกิจกับปักกิ่งอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น ภายใต้พรรคก๊กมิ่นตั๋ง (KMT) ของหม่า ได้เป็นชนวนให้เกิดปฏิกิริยาความไม่พอใจจากสาธารณชนในไต้หวันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยแสดงออกอย่างชัดเจนที่สุดในการเคลื่อนไหวของขบวนการ “ดอกทานตะวัน” (Sunflower movement) ซึ่งนำโดยนักศึกษา และได้บุกเข้าไปยึดอาคารสถานที่หลายแห่งของรัฐบาล เพื่อประท้วงข้อตกลงการค้าทวิภาคีตามที่มีการเสนอกันออกมา
ไต้หวันนั้นมีการปกครองแยกต่างหากจากจีนแผ่นดินใหญ่ในตลอดช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองไต้หวันเป็นเมืองขึ้น (ปี 1895 – 1945) และนับตั้งแต่ที่ระบอบปกครองของ KMT หลบหนีมายังเกาะแห่งนี้ในปี 1949
ผู้พำนักอาศัย 23 ล้านคนบนเกาะที่ปัจจุบันปกครองแบบประชาธิปไตยแห่งนี้ จำนวนมากถือว่าตนเองเป็นชาวไต้หวันไม่ใช่เป็นชาวจีน และดังนั้นจึงมีพลังสนับสนุนทางการเมืองอย่างกว้างขวางสำหรับการปกครองตนเองในทางพฤตินัย ถ้ายังไม่ถึงกับเป็นการปกครองแบบชาติเอกราชอย่างเป็นทางการ
ข่าวนี้รายงานโดย สือ ซาน (Shi Shan) ทางวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาจีนกลาง (RFA’s Mandarin Service) และโดย ไต้ เว่ยเซิน (Dai Weisen) ทางภาคภาษากวางตุ้ง (RFA’s Cantonese Service) แปลและเขียนเป็นภาษาอังกฤษโดย ลุยเซตตา มูดี (Luisetta Mudie)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต
Taiwan, China summit makes no dent in opposition party support
By Radio Free Asia
10/11/2015
การพูดจาหารือครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กับประธานาธิบดี หม่า อิงจิ่ว ของไต้หวัน แทบไม่ได้ทำให้พลังสนับสนุนพรรคฝ่ายค้านบนเกาะไต้หวันเปลี่ยนแปลงไป โดยที่ ไช่ อิงเหวิน ยังคงมีคะแนนนิยมนำลิ่วในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะจัดขึ้นต้นปีหน้า อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายรายมองว่า เธอมีจุดยืนที่จำกัดตัวเองเกินไปในเรื่องนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่
การเจรจาหารือครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กับประธานาธิบดี หม่า อิงจิ่ว ของไต้หวัน ซึ่งเป็นการพบปะครั้งแรกของผู้นำระดับนี้ นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองระหว่างพรรคการเมืองของพวกเขาทั้งสองสิ้นสุดลงในปี 1949 ดูเหมือนแทบไม่มีผลอะไรเลยต่อพลังสนับสนุนพรรคฝ่ายค้านของเกาะไต้หวัน ก่อนหน้าจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคราวต่อไปในต้นปีหน้า ผลการสำรวจความคิดเห็นซึ่งเปิดเผยออกมาในวันจันทร์ (9 พ.ย.) บ่งบอกให้เห็นเช่นนี้
สี ได้พบหารือแบบปิดห้องสนทนากันเป็นเวลาสั้นๆ กับ หม่า ณ ดินแดนเป็นกลางอย่างสิงคโปร์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการเจรจาทวิภาคีกันในระดับนี้เป็นหนแรกในรอบระยะเวลา 66 ปี
พรรคคอมมิวนิสต์จีนของ สี ซึ่งกำลังปกครองจีนอยู่ในปัจจุบัน และพรรคชาตินิยม “ก๊กมิ่นตั๋ง” (ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า กว๋อหมินตั่ง ซึ่งถอดเป็นภาษาอังกฤษว่า Kuomintang และใช้อักษรย่อว่า KMT) ของ หม่า คือศัตรูคู่อาฆาตที่ทำศึกสู้รบกันอย่างขมขื่นในสงครามกลางเมือง ซึ่งปะทุขึ้นมาภายหลังการปราชัยของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 และในที่สุดรัฐบาลพรรค KMT ต้องหลบหนีออกจากนครฉงชิ่งมายังเกาะไต้หวัน ภายหลังพ่ายแพ้ปราชัยต่อกองกำลังคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง
หม่า ได้กล่าวยกย่องการประชุมซัมมิตคราวนี้ว่า เป็นผลรวมของความพากเพียรพยายามในการดำเนินงานการทูตอย่างละเอียดอ่อนเป็นเวลา 2 ปี ท่ามกล่างความเป็นจริงทั้งทางการเมือง, ทางเศรษฐกิจ, และทางการทหารของทั้งสองฝ่าย ซึ่ง “มีความสลับซับซ้อนอย่างยิ่ง”
“ผมมีความรู้สึกอย่างแรงกล้ามากว่า นับจากการพบปะหารือในวันนี้แล้ว เราควรที่จะให้คุณค่าราคาอันแท้จริงแก่เรื่องนี้ และเสาะแสวงหาหนทางต่างๆ เพื่อทำงานรอบๆ ปัญหาต่างๆ ของพวกเรา และไม่ยินยอมปล่อยให้ปัญหาเหล่านั้นมาส่งผลกระทบกระเทือนต่อทิศทางโดยรวมของพวกเรา” หม่า กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังการพบปะหารือ
“ผมคิดว่าคุณสี ก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกันนี้ ดังนั้นเราจึงกำลังจะโฟกัสไปที่ภาพใหญ่ ไม่ใช่เรื่องรายละเอียด” เขาบอก “ผมหวังว่าเราสามารถเห็นพ้องกันได้เกี่ยวกับทิศทางโดยรวม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ไต้หวันและแก่จีนแผ่นดินใหญ่”
ไช่ อิงเหวิน แห่งพรรคฝ่ายค้านยังคงมีคะแนนนำลิ่ว
อย่างไรก็ตาม ไช่ อิงเหวิน (Tsai Ing-wen) ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมเครติก โปรเกรสสีฟ ปาร์ตี้ (Democratic Progressive Party ใช้อักษรย่อว่า DPP) ยังคงมีคะแนนนำลิ่วในผลการสำรวจความคิดเห็นที่ทำกันทันทีหลังการประชุมซัมมิตคราวนี้ สื่อท้องถิ่นรายงานข่าวเมื่อวันจันทร์ (9 พ.ย.)
ไช่ นั้นกล่าวหา หม่า ว่า ออกมาทำการป่าวประกาศเอาในนาทีสุดท้ายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับการพบปะหารือกับ สี คราวนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามฟื้นชีพโชคชะตาอันย่ำแย่ของพรรคของเขา หลังจากประสบกับความหายนะในการเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า
ทว่าผลโพลที่จัดทำโดย สมาคมนโยบายข้ามช่องแคบ (Cross-Strait Policy Association) ของไต้หวัน พบว่า 48.6% ของกลุ่มตัวอย่าง 1,014 รายที่ทำการสำรวจในคราวนี้เมื่อวันอาทิตย์ (8 พ.ย.) ยังคงบอกว่าให้การสนับสนุน ไช่ และมีเพียง 21.4% ที่ระบุว่าสนับสนุน อีริก จู (Eric Chu) ผู้สมัครของ KMT
ในเวลาเดียวกัน ผู้ตอบคำถาม 46.8% บอกว่าพวกเขาไม่คิดว่า หม่า ได้ทำการปกป้องหรือธำรงรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ต่างๆ ของไต้หวันในระหว่างการพบปะหารือกับ สี เปรียบเทียบกับ 32.9% ซึ่งตอบว่าเขาได้ปกป้องหรือธำรงรักษา
นอกจากนั้นในโพลรายที่ 2 ซึ่งสำรวจจากจำนวนตัวอย่างใกล้เคียงกัน แต่ดำเนินการโดยสมาคมยุติธรรม (Justice Association) ที่เป็นกลุ่มนักวิชาการ ก็พบในทำนองเดียวกันว่า 32.7% ตอบว่าจะโหวตให้ ไช่ และเพียง 21.1% สนับสนุน จู
ทางด้าน หวัง จิว์นเถา (Wang Juntao) นักวิจารณ์ทางการเมืองซึ่งพำนักอยู่ในสหรัฐฯ ได้ให้ความเห็นว่า ความสำคัญของการประชุมซัมมิตคราวนี้ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในลักษณะเชิงสัญลักษณ์
“(สัมฤทธิผล) ประการแรกเลยก็คือ พวกเขามีช่องทางสำหรับการสื่อสารกันในระดับสูง และประการที่สองคือ ผู้นำทั้งสองสามารถที่จะพบปะเจรจากันบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันได้” หวัง แจกแจง
“นี่หมายความว่าในทางเป็นจริงแล้ว (ปักกิ่ง) รับรองไต้หวันว่าเป็นสิ่งที่มีตัวตนในทางการเมือง (political entity)”
เขามองต่อไปว่า จุดอ่อนของ ไช่ ยังคงอยู่ที่นโยบายว่าด้วยสายสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ (cross-straits หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างเกาะไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีช่องแคบไต้หวันคั่นกลาง -ผู้แปล) เนื่องจากพรรค DPP ยังคงรณรงค์ต่อสู้โดยใช้หลักนโยบายที่มุ่งให้ไต้หวันเป็นประเทศเอกราชแบบค่อยเป็นค่อยไป
“เมื่อมองกันถึงเงื่อนไขต่างๆ ในอนาคตแล้ว นโยบายเช่นนี้โดยพื้นฐานจะกลายเป็นการกำหนดน้ำเสียงและกลายเป็นการสร้างข้อจำกัดอันเข้มงวดต่างๆ ขึ้นรอบๆ ตัว ไช่ อิงเหวิน เมื่อมาถึงเรื่องนโยบายว่าด้วยจีนแผ่นดินใหญ่ของเธอ” หวัง บอก
ทางด้าน หยาง หลี่อี๋ว์ (Yang Liyu) อาจารย์เกษียณอายุแล้วซึ่งสอนทางด้านเอเชียตะวันออกศึกษา อยู่ที่มหาวิทยาลัยซีตันฮอลล์ (Seton Hall University) มลรัฐนิวเจอร์ซีย์, สหรัฐอเมริกา เห็นด้วยกับความคิดเห็นของ หวัง โดยเขากล่าวว่า หากเปรียบเทียบกับเกมเบสบอล หม่าก็เพิ่งโยนลูกหมุนโค้ง (curve-ball) เข้าใส่ ไช่
“ตอนนี้ ไช่ อิงเหวิน มีปัญหาใหญ่ๆ อยู่ 2 เรื่อง ซึ่งผมเพิ่งได้พูดจาถกแถลงกับเธอมา” หยาง กล่าวกับวิทยุเอเชียเสรี “เรื่องแรกเลยคือการที่เธอจะไม่ยอมรับรองแถลงการณ์ปี 1992 (แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ ซึ่งเห็นพ้องต้องกันโดยเจ้าหน้าที่จากทั้งฝ่ายไต้หวันและฝ่ายแผ่นดินใหญ่ บางทีจึงเรียกว่าเป็น ฉันทามติปี 1992 –ผู้แปล)”
“ส่วนเรื่องที่สองคือการที่เธอจะไม่ยินยอมทิ้งขว้างละวางแนวความคิดในเรื่องการประกาศเอกราชของไต้หวัน” เขาบอก “จากทัศนะมุมมองของปักกิ่งแล้ว ... นี่ทำให้ไม่มีพื้นฐานใดๆ เลยสำหรับการพัฒนาสายสัมพันธ์อย่างสันติไม่ว่าจะในรูปลักษณ์อย่างไรก็ตามที”
ไม่มีการข่มขู่คุกคามทางการทหารอีกแล้ว?
หยางให้ความเห็นต่อไปว่า การประชุมซัมมิตคราวนี้ก่อให้เกิดดอกผลที่สำคัญมากแก่ไต้หวัน 2 ประการด้วยกัน
“ประการแรกคือ ไต้หวันสามารถยื่นขอเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรระดับระหว่างประเทศต่างๆ ในลักษณะท่าทีที่เหมาะสมได้ รวมทั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) และแผนการริเริ่มหนึ่งแถบเศรษฐกิจหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road initiative)” เขากล่าว (ทั้งธนาคาร AIIB และแผนการริเริ่มนี้ ต่างมีปักกิ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง –ผู้แปล)
“ประการที่สองก็คือจะไม่มีการข่มขู่คุกคามทางการทหารใดๆ ตราบเท่าที่ไต้หวันไม่ได้แสวงหาทางประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ”
การผูกพันทางเศรษฐกิจกับปักกิ่งอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น ภายใต้พรรคก๊กมิ่นตั๋ง (KMT) ของหม่า ได้เป็นชนวนให้เกิดปฏิกิริยาความไม่พอใจจากสาธารณชนในไต้หวันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยแสดงออกอย่างชัดเจนที่สุดในการเคลื่อนไหวของขบวนการ “ดอกทานตะวัน” (Sunflower movement) ซึ่งนำโดยนักศึกษา และได้บุกเข้าไปยึดอาคารสถานที่หลายแห่งของรัฐบาล เพื่อประท้วงข้อตกลงการค้าทวิภาคีตามที่มีการเสนอกันออกมา
ไต้หวันนั้นมีการปกครองแยกต่างหากจากจีนแผ่นดินใหญ่ในตลอดช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองไต้หวันเป็นเมืองขึ้น (ปี 1895 – 1945) และนับตั้งแต่ที่ระบอบปกครองของ KMT หลบหนีมายังเกาะแห่งนี้ในปี 1949
ผู้พำนักอาศัย 23 ล้านคนบนเกาะที่ปัจจุบันปกครองแบบประชาธิปไตยแห่งนี้ จำนวนมากถือว่าตนเองเป็นชาวไต้หวันไม่ใช่เป็นชาวจีน และดังนั้นจึงมีพลังสนับสนุนทางการเมืองอย่างกว้างขวางสำหรับการปกครองตนเองในทางพฤตินัย ถ้ายังไม่ถึงกับเป็นการปกครองแบบชาติเอกราชอย่างเป็นทางการ
ข่าวนี้รายงานโดย สือ ซาน (Shi Shan) ทางวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาจีนกลาง (RFA’s Mandarin Service) และโดย ไต้ เว่ยเซิน (Dai Weisen) ทางภาคภาษากวางตุ้ง (RFA’s Cantonese Service) แปลและเขียนเป็นภาษาอังกฤษโดย ลุยเซตตา มูดี (Luisetta Mudie)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต