(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Brief note on the Xi/Ma summit
By Francesco Sisci
08/11/2015
การพบปะหารือกันระหว่างประธานาธิบดีของจีน กับประธานาธิบดีของไต้หวัน ที่สิงคโปร์เมื่อวันเสาร์ (7 พ.ย.) แทบไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่กำลังดำเนินอยู่ในไต้หวัน นอกจากนั้นทั้ง สี จิ้นผิง หรือ หม่า อิงจิ่ว ก็ไม่ได้ไร้เดียงสาไม่รู้ความจนกระทั่งสามารถเชื่อว่า การพบปะหารือที่เกิดขึ้นมา 70 วันก่อนหน้าการหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกตั้งในไต้หวัน จะช่วยให้พรรค KMT ที่เป็นพรรคผู้ปกครองไต้หวันอยู่ขณะนี้รอดพ้นจากความปราชัยไปได้
การพบปะหารือครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กับประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว ของไต้หวัน ที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คือการพบปะหารือชนิดนี้ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเป็นคราวแรก เพราะการพบปะหารือก่อนหน้านี้ทั้งหมดล้วนแต่เป็นการเจอะเจอเจรจากันระหว่างผู้นำของ 2 พรรคการเมือง นั่นคือพรรคคอมมิวนิสต์จีน และพรรคชาตินิยม “ก๊กมิ่นตั๋ง” (KMT) ไม่ใช่ระหว่างผู้นำของจีนแผ่นดินใหญ่กับผู้นำของไต้หวัน
ด้วยเหตุนี้ บนพื้นฐานในทางพฤตินัย เรื่องนี้จึงแทบไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่กำลังดำเนินอยู่ในไต้หวัน นอกจากนั้นทั้ง สี จิ้นผิง หรือ หม่า อิงจิ่ว ก็ไม่ได้ไร้เดียงสาไม่รู้ความจนกระทั่งสามารถเชื่อว่า การพบปะหารือที่เกิดขึ้นมา 70 วันก่อนหน้าการหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกตั้งในไต้หวัน จะช่วยให้พรรค KMT ที่เป็นพรรคผู้ปกครองไต้หวันอยู่ขณะนี้รอดพ้นจากความปราชัยไปได้ ทั้งนี้ตามผลการหยั่งเสียงของสำนักต่างๆ ที่ปรากฏออกมา พรรคเดโมเครติก โปรเกรสสีฟ ปาร์ตี้ (Democratic Progressive party ใช้อักษรย่อว่า DPP) ซึ่งเป็นฝ่ายค้านในปัจจุบัน และ ไช่ อิงเหวิน (Tsai Ing-wen) ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคนี้ ต่างกำลังมีคะแนนนิยมนำหน้าพรรครัฐบาลและผู้สมัครชิงตำแหน่งของฝ่ายรัฐบาลแบบทิ้งห่าง
ในอีกด้านหนึ่ง การพบปะหารือกันระหว่างสี จิ้นผิง กับ หม่า อิงจิ่ว ต้องถือเป็นการเจรจากันครั้งประวัติศาสตร์ ก็เพราะมันเป็นตัวแทนแสดงให้เห็นถึงการรับรองในทางพฤตินัยต่อการดำรงคงอยู่ของรัฐบาลที่ถูกต้องชอบธรรมในไต้หวัน ถ้าหาก สี พบปะหารือกับ หม่า ในวันนี้ได้ สี ก็ย่อมสามารถที่จะพบปะหารือกับทายาทผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจาก หม่า ในวันพรุ่งนี้ได้ ขณะเดียวกัน มันจะทำให้เป็นเรื่องลำบากยากเย็นยิ่งขึ้นถ้าหากผู้นำในอนาคตของเกาะแห่งนี้คนไหนก็ตาม ต้องการก้าวออกมาให้พ้นจากการตกลงอย่างไม่เป็นทางการที่ได้ประทับตีตรากันเอาไว้ในคราวนี้
การตกลงเช่นนี้คือการแช่แข็งสถานการณ์ทางการเมืองของไต้หวันให้อยู่ในพื้นที่อันคลุมเครือกำกวมแต่ให้ความสะดวกทั้งแก่ไต้หวันและแก่จีน รัฐบาลไต้หวันนั้นได้รับการรับรองยอมรับจากปักกิ่ง ทว่าไม่เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลนี้ปกครองดินแดนอะไร ปกครองเกาะไต้หวันซึ่งมีฐานะเป็นมณฑลแห่งหนึ่ง, ปกครองสาธารณรัฐจีน, หรือปกครองไต้หวันที่เป็นเอกราชในทางพฤตินัย?
ยิ่งกว่านั้น ถ้าหากพรรค KMT (หรือในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไปเป็นพรรค DPP) เป็นผู้ปกครองอันถูกต้องชอบธรรมอยู่ในไทเป เช่นนี้แล้วพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ต้องเป็นผู้ปกครองอันถูกต้องชอบธรรมอยู่ในปักกิ่งเหมือนกัน นี่คือสัญญาณแสดงถึงการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับการยอมรับฐานะทางการเมืองอันสำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นครั้งที่ 2 แล้วในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยที่ครั้งแรกเกิดขึ้นระหว่างที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เดินทางไปเจรจาหารือกับผู้นำของสหราชอาณาจักรที่กรุงลอนดอนเมื่อเร็วๆ นี้ แล้วสหราชอาณาจักรและจีนระบุในคำแถลงร่วมว่า พวกเขาจะให้ความเคารพระบบการเมืองของกันและกัน
(ความคิดเห็นที่ปรากฏในคอลัมน์นี้เป็นของผู้เขียนเอง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการสะท้อนทัศนะของเอเชียไทมส์)
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นนักวิจัยอาวุโสของมหาวิทยาลัยไชน่าเหรินหมิน (China Renmin University) เป็นเจ้าของคอลัมน์ “ซิโนกราฟ” (Sinograph) ของเอเชียไทมส์ และเคยเป็นบรรณาธิการด้านเอเชียให้แก่หนังสือพิมพ์รายวันอิตาลี ลา สตัมปา (La Stampa) และผู้สื่อข่าวประจำกรุงปักกิ่งให้แก่ อิล โซเล ดิ 24 โอเร (Il Sole di 24 Ore) เขาเป็นชาวต่างประเทศคนแรกที่ได้เข้าโปรแกรมบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตสถานทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Social Sciences) เขาเขียนหนังสือว่าด้วยจีนมาแล้ว 8 เล่ม และได้รับเชิญเป็นนักวิจารณ์จากทางสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน (CCTV) อยู่บ่อยครั้ง
Brief note on the Xi/Ma summit
By Francesco Sisci
08/11/2015
การพบปะหารือกันระหว่างประธานาธิบดีของจีน กับประธานาธิบดีของไต้หวัน ที่สิงคโปร์เมื่อวันเสาร์ (7 พ.ย.) แทบไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่กำลังดำเนินอยู่ในไต้หวัน นอกจากนั้นทั้ง สี จิ้นผิง หรือ หม่า อิงจิ่ว ก็ไม่ได้ไร้เดียงสาไม่รู้ความจนกระทั่งสามารถเชื่อว่า การพบปะหารือที่เกิดขึ้นมา 70 วันก่อนหน้าการหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกตั้งในไต้หวัน จะช่วยให้พรรค KMT ที่เป็นพรรคผู้ปกครองไต้หวันอยู่ขณะนี้รอดพ้นจากความปราชัยไปได้
การพบปะหารือครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กับประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว ของไต้หวัน ที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คือการพบปะหารือชนิดนี้ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเป็นคราวแรก เพราะการพบปะหารือก่อนหน้านี้ทั้งหมดล้วนแต่เป็นการเจอะเจอเจรจากันระหว่างผู้นำของ 2 พรรคการเมือง นั่นคือพรรคคอมมิวนิสต์จีน และพรรคชาตินิยม “ก๊กมิ่นตั๋ง” (KMT) ไม่ใช่ระหว่างผู้นำของจีนแผ่นดินใหญ่กับผู้นำของไต้หวัน
ด้วยเหตุนี้ บนพื้นฐานในทางพฤตินัย เรื่องนี้จึงแทบไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่กำลังดำเนินอยู่ในไต้หวัน นอกจากนั้นทั้ง สี จิ้นผิง หรือ หม่า อิงจิ่ว ก็ไม่ได้ไร้เดียงสาไม่รู้ความจนกระทั่งสามารถเชื่อว่า การพบปะหารือที่เกิดขึ้นมา 70 วันก่อนหน้าการหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกตั้งในไต้หวัน จะช่วยให้พรรค KMT ที่เป็นพรรคผู้ปกครองไต้หวันอยู่ขณะนี้รอดพ้นจากความปราชัยไปได้ ทั้งนี้ตามผลการหยั่งเสียงของสำนักต่างๆ ที่ปรากฏออกมา พรรคเดโมเครติก โปรเกรสสีฟ ปาร์ตี้ (Democratic Progressive party ใช้อักษรย่อว่า DPP) ซึ่งเป็นฝ่ายค้านในปัจจุบัน และ ไช่ อิงเหวิน (Tsai Ing-wen) ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคนี้ ต่างกำลังมีคะแนนนิยมนำหน้าพรรครัฐบาลและผู้สมัครชิงตำแหน่งของฝ่ายรัฐบาลแบบทิ้งห่าง
ในอีกด้านหนึ่ง การพบปะหารือกันระหว่างสี จิ้นผิง กับ หม่า อิงจิ่ว ต้องถือเป็นการเจรจากันครั้งประวัติศาสตร์ ก็เพราะมันเป็นตัวแทนแสดงให้เห็นถึงการรับรองในทางพฤตินัยต่อการดำรงคงอยู่ของรัฐบาลที่ถูกต้องชอบธรรมในไต้หวัน ถ้าหาก สี พบปะหารือกับ หม่า ในวันนี้ได้ สี ก็ย่อมสามารถที่จะพบปะหารือกับทายาทผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจาก หม่า ในวันพรุ่งนี้ได้ ขณะเดียวกัน มันจะทำให้เป็นเรื่องลำบากยากเย็นยิ่งขึ้นถ้าหากผู้นำในอนาคตของเกาะแห่งนี้คนไหนก็ตาม ต้องการก้าวออกมาให้พ้นจากการตกลงอย่างไม่เป็นทางการที่ได้ประทับตีตรากันเอาไว้ในคราวนี้
การตกลงเช่นนี้คือการแช่แข็งสถานการณ์ทางการเมืองของไต้หวันให้อยู่ในพื้นที่อันคลุมเครือกำกวมแต่ให้ความสะดวกทั้งแก่ไต้หวันและแก่จีน รัฐบาลไต้หวันนั้นได้รับการรับรองยอมรับจากปักกิ่ง ทว่าไม่เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลนี้ปกครองดินแดนอะไร ปกครองเกาะไต้หวันซึ่งมีฐานะเป็นมณฑลแห่งหนึ่ง, ปกครองสาธารณรัฐจีน, หรือปกครองไต้หวันที่เป็นเอกราชในทางพฤตินัย?
ยิ่งกว่านั้น ถ้าหากพรรค KMT (หรือในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไปเป็นพรรค DPP) เป็นผู้ปกครองอันถูกต้องชอบธรรมอยู่ในไทเป เช่นนี้แล้วพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ต้องเป็นผู้ปกครองอันถูกต้องชอบธรรมอยู่ในปักกิ่งเหมือนกัน นี่คือสัญญาณแสดงถึงการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับการยอมรับฐานะทางการเมืองอันสำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นครั้งที่ 2 แล้วในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยที่ครั้งแรกเกิดขึ้นระหว่างที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เดินทางไปเจรจาหารือกับผู้นำของสหราชอาณาจักรที่กรุงลอนดอนเมื่อเร็วๆ นี้ แล้วสหราชอาณาจักรและจีนระบุในคำแถลงร่วมว่า พวกเขาจะให้ความเคารพระบบการเมืองของกันและกัน
(ความคิดเห็นที่ปรากฏในคอลัมน์นี้เป็นของผู้เขียนเอง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการสะท้อนทัศนะของเอเชียไทมส์)
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นนักวิจัยอาวุโสของมหาวิทยาลัยไชน่าเหรินหมิน (China Renmin University) เป็นเจ้าของคอลัมน์ “ซิโนกราฟ” (Sinograph) ของเอเชียไทมส์ และเคยเป็นบรรณาธิการด้านเอเชียให้แก่หนังสือพิมพ์รายวันอิตาลี ลา สตัมปา (La Stampa) และผู้สื่อข่าวประจำกรุงปักกิ่งให้แก่ อิล โซเล ดิ 24 โอเร (Il Sole di 24 Ore) เขาเป็นชาวต่างประเทศคนแรกที่ได้เข้าโปรแกรมบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตสถานทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Social Sciences) เขาเขียนหนังสือว่าด้วยจีนมาแล้ว 8 เล่ม และได้รับเชิญเป็นนักวิจารณ์จากทางสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน (CCTV) อยู่บ่อยครั้ง