BRICS bank may open by year end: Report
16/05/2015
ไชน่าเดลี่ หนังสือพิมพ์ของทางการจีน รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของกลุ่ม “บริกส์” ซึ่งก็คือกลุ่ม 5 ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ของโลก ที่ประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้ โดยรายงานนี้อ้างอิงการเปิดเผยของรองรัฐมนตรีคลังจีนที่กล่าวว่า ธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ แห่งนี้น่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2015 นี้ และชาติที่จะเข้าเป็นสมาชิกของแบงก์แห่งนี้ก็จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ 5 ชาติบริกส์เท่านั้น
เอเชียไทมส์อ้างอิงข่าวชิ้นหนึ่งของ “ไชน่าเดลี่” (China Daily) หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของทางการจีน ที่รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของกลุ่ม “บริกส์” หรือกลุ่ม 5 ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ของโลก ซึ่งประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้
ตามรายงานของไชน่าเดลี่ สือ เหยาปิน (Shi Yaobin) รองรัฐมนตรีว่าการคลังของจีน เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) ที่ผ่านมาว่า สถาบันการเงินแห่งนี้ หรือที่นิยมเรียกขานกันว่า ธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ (BRICS Development Bank) คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2015 นี้หรือตอนเริ่มต้นของปี 2016 และสมาชิกภาพของแบงก์แห่งนี้จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เฉพาะ 5 ชาติสมาชิกกลุ่มบริกส์เท่านั้น
รองรัฐมนตรีสือแถลงแจกแจงว่า สถาบันการเงินแห่งนี้จะเปิดกว้างต้อนรับสมาชิกของสหประชาชาติทุกๆ ราย ซึ่งทางคณะกรรมการผู้ว่าการของธนาคารพิจารณาอนุมัติให้เข้าร่วม
เขาเปิดเผยต่อไปว่า เวลานี้งานเตรียมการสำหรับเปิดดำเนินการแบงก์เพื่อการพัฒนาระดับพหุภาคีแห่งใหม่นี้ กำลังเดินหน้าไปด้วยดี โดยที่กำลังมีการจัดทำกฎบัตรข้อบังคับของธนาคาร เพื่อส่งให้รัฐสภาของแต่ละชาติสมาชิกอนุมัติรับรองต่อไป รวมทั้งมีการดำเนินการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการซึ่งจะมีลักษณะเป็นสำนักงานพหุภาคี ตลอดจนมีการจัดทำข้อบัญญัติของทางธนาคาร และตกลงกันเกี่ยวกับนโยบายเฉพาะเจาะจงในบางเรื่อง
ทั้งนี้ รายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ได้รับการเปิดเผยเอาไว้ในคำแถลงฉบับหนึ่งซึ่งโพสต์อยู่บนเว็บไซต์ของกระทรวงการคลังของจีนแล้ว นอกจากนั้นคำแถลงยังระบุว่าจะมีการประชุมหารือครั้งแรกของคณะกรรมการผู้ว่าการของแบงก์แห่งนี้ตอนต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ในระหว่างการประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ในรัสเซีย โดยที่ในการประชุมหารือหนแรกนี้ จะมีการลงมติแต่งตั้งประธานและรองประธานของธนาคารอย่างเป็นทางการอีกด้วย
ความคืบหน้าต่างๆ เหล่านี้บังเกิดขึ้นในเวลาไม่ถึง 1 ปี นับตั้งแต่ที่บรรดาผู้นำของ 5 ชาติสมาชิกกลุ่มบริกส์ ประกาศว่าจะดำเนินการจัดตั้งแบงก์แห่งนี้ ซึ่งใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่” (New Development Bank) แต่รู้จักเรียกขานกันมากกว่าในนาม ธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ (BRICS Development Bank)
เกี่ยวกับผู้บริหารของแบงก์เพื่อการพัฒนาแห่งนี้นั้น เวลานี้ เค.วี.คามาธ (K.V Kamath) ซึ่งเคยเป็นทั้งกรรมการผู้จัดการ และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ของ ไอซีไอซีไอ แบงก์ (ICICI Bank) ธนาคารภาคเอกชนใหญ่ที่สุดของอินเดีย รวมเป็นเวลากว่า 1 ทศวรรษ ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานคนแรกของ ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ที่จะมีทุนจดทะเบียน 100,000 ล้านดอลลาร์แล้ว ขณะที่รองประธานจะมี 4 คน หนึ่งในนั้นซึ่งเสนอชื่อโดยฝ่ายจีน ได้แก่ จู เสียน (Zhu Xian) รองประธานของธนาคารโลก
สำหรับสำนักใหญ่ของธนาคารแห่งนี้ กำหนดจัดตั้งขึ้นในย่าน ลู่เจียจุ่ย (Lujiazui) ศูนย์กลางการเงินของมหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ขณะเดียวกันก็จะมีการจัดตั้งศูนย์ภูมิภาคแอฟริกาขึ้นที่เมืองโยฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้
จากการประกาศรายละเอียดเหล่านี้ออกมา ย่อมหมายความนับแต่นี้ไปเจ้าหน้าที่ทั้งหลายจะต้องดำเนินการอย่างเร่งรีบเพื่อสร้างฐานะของแบงก์ใหม่แห่งนี้ โดยเฉพาะเมื่อต้องถูกเปรียบเทียบอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นกับองค์การทางการเงินระดับพหุภาคีรายอื่นๆ ทั้งที่กำลังดำเนินการจัดตั้งอยู่ และที่มีการจัดตั้งขึ้นมาอย่างมั่นคงแล้ว ตลอดจนกลายเป็นแรงกดดันทำให้ต้องเร่งรีบเปิดดำเนินการ “ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่” แห่งนี้ให้ได้โดยเร็วที่สุด
เรื่องที่มีลำดับความสำคัญเร่งด่วนอย่างสูงอีกเรื่องหนึ่ง ได้แก่การขีดเส้นแบ่งแยกแยะกันให้ชัดเจนว่า ธนาคารแห่งนี้มีความแตกต่างอย่างไรกับ ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบในเบื้องต้นได้อย่างใหญ่โตมโหฬารนับตั้งแต่รัฐบาลจีนเสนอให้จัดตั้งขึ้นมาตอนแรกสุดช่วงสิ้นปีที่แล้ว โดยที่สามารถดึงดูดให้ประเทศต่างๆ 57 ประเทศจากทั้งเอเชีย, ยุโรป, แอฟริกา, ละตินอเมริกา, และโอเชียนนา สมัครขอเข้าร่วม
คำแถลงในคราวนี้ของ สือ ยืนยันว่า ธนาคารบริกส์ จะแสดงบทบาทหนุนเสริมซึ่งกันและกันกับพวกองค์การการเงินเพื่อการพัฒนาที่ก่อตั้งมานานแล้วทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารโลก หรือธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank หรือ ADB) โดยที่ธนาคารบริกส์พร้อมจะเรียนรู้และร่วมมือกับแบงก์เพื่อการพัฒนาแห่งอื่นๆ ร่วมส่วนสร้างคุณูปการให้แก่การต่อเชื่อมกันทั้งภายในเอเชียและกับส่วนอื่นๆ ของโลก
ขณะที่ทางด้าน หวง เว่ย (Huang Wei) นักวิจัยของสถาบันเพื่อเศรษฐกิจและการเมืองโลก (Institute of World Economics and Politics) ในสังกัดของบัณฑิตยสถานทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Social Sciences) บอกว่า อันที่จริงมีความแตกต่างที่ชัดเจนอยู่แล้วระหว่างธนาคาร AIIB กับธนาคารบริกส์
กล่าวคือ AIIB เป็นองค์การระดับภูมิภาคที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาติเอเชียและชาติยุโรป โดยที่เงินทุนของแบงก์แห่งนี้จะมุ่งเน้นนำไปใช้ในโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ใน 2 ทวีปนี้ ขณะที่ขนาดขอบเขตของธนาคารบริกส์ จะขยายไปครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์อันหลากหลายมากกว่า
หวง ชี้ว่า AIIB จะเป็นธนาคารที่มุ่งผลเชิงพาณิชย์มากกว่า ส่วนบริกส์แบงก์จะมี “กลิ่นไอทางภูมิรัฐศาสตร์อันโดดเด่น รวมทั้งยังจะทำหน้าที่เป็นกลไกการสนทนาอย่างหนึ่งของ 5 ประเทศสมาชิกกลุ่มบริกส์” อีกด้วย
นักวิจัยผู้นี้มองว่า มีความเป็นไปได้ที่กิจกรรมของธนาคารทั้ง 2 แห่งนี้จะเหลื่อมซ้อนกัน และในบางกรณีอาจจะถึงขั้นแข่งขันกันเองด้วยซ้ำในการช่วงชิงโครงการต่างๆ แต่เขาไม่เห็นว่าการแข่งขันกันจะต้องเป็นเรื่องไม่ดีเสมอไป
ทางด้าน ฟาน หยงหมิง (Fan Yongming) ผู้อำนวยการของศูนย์เพื่อการศึกษาเรื่องบริกส์ (Center for BRICS Studies) แห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (Fudan University) นครเซี่ยงไฮ้ มองว่า “ธนาคารบริกส์เป็นตัวแทนของพลังความสามัคคีของบรรดาชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ จึงมีลักษณะเป็นกลุ่มเชิงยุทธศาสตร์ที่มีขอบเขตครอบคลุมทั่วโลก” เขากล่าวเสริมว่า ธนาคารแห่งนี้จะไม่เพียงแสดงบทบาทส่งเสริมสนับสนุนองค์การที่ก่อตั้งมาก่อนแล้วทั้งหลายเท่านั้น แต่ยังจะแสดงบทบาทในการท้าทายองค์การเหล่านี้อีกด้วย
ลำดับเวลาของการจัดตั้งธนาคารบริกส์
กุมภาพันธ์ 2012: รัฐมนตรีคลังของ 5 ชาติสมาชิกในกลุ่มบริกส์ เสนอให้จัดตั้งธนาคารแห่งนี้ขึ้น ณ การประชุมซัมมิตของกลุ่มจี-20
มีนาคม 2012: เรื่องการจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ ถูกบรรจุอย่างเป็นทางการเอาไว้ในวาระการประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ครั้งที่ 4 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย
มีนาคม 2013: การประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ครั้งที่ 5 ในเมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ มีมติให้จัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ขึ้นมา
กรกฎาคม 2014: ณ การประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ครั้งที่ 6 ที่เมืองฟอร์ตาเลซา ประเทศบราซิล ทั้ง 5 ประเทศประกาศอย่างเป็นทางการถึงการก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ ขึ้นมา โดยให้สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครเซี่ยงไฮ้
9 มีนาคม 2015: ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ลงนามในกฤษฎีกาเห็นชอบรับรองการก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์
11 พฤษภาคม 2015: อินเดียประกาศชื่อ เค.วี. คามาธ ให้เป็นประธานคนแรกของธนาคารแห่งนี้
12 พฤษภาคม 2015: จีนประกาศชื่อ จู เสียน เป็นรองประธาน
16/05/2015
ไชน่าเดลี่ หนังสือพิมพ์ของทางการจีน รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของกลุ่ม “บริกส์” ซึ่งก็คือกลุ่ม 5 ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ของโลก ที่ประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้ โดยรายงานนี้อ้างอิงการเปิดเผยของรองรัฐมนตรีคลังจีนที่กล่าวว่า ธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ แห่งนี้น่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2015 นี้ และชาติที่จะเข้าเป็นสมาชิกของแบงก์แห่งนี้ก็จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ 5 ชาติบริกส์เท่านั้น
เอเชียไทมส์อ้างอิงข่าวชิ้นหนึ่งของ “ไชน่าเดลี่” (China Daily) หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของทางการจีน ที่รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของกลุ่ม “บริกส์” หรือกลุ่ม 5 ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ของโลก ซึ่งประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้
ตามรายงานของไชน่าเดลี่ สือ เหยาปิน (Shi Yaobin) รองรัฐมนตรีว่าการคลังของจีน เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) ที่ผ่านมาว่า สถาบันการเงินแห่งนี้ หรือที่นิยมเรียกขานกันว่า ธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ (BRICS Development Bank) คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2015 นี้หรือตอนเริ่มต้นของปี 2016 และสมาชิกภาพของแบงก์แห่งนี้จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เฉพาะ 5 ชาติสมาชิกกลุ่มบริกส์เท่านั้น
รองรัฐมนตรีสือแถลงแจกแจงว่า สถาบันการเงินแห่งนี้จะเปิดกว้างต้อนรับสมาชิกของสหประชาชาติทุกๆ ราย ซึ่งทางคณะกรรมการผู้ว่าการของธนาคารพิจารณาอนุมัติให้เข้าร่วม
เขาเปิดเผยต่อไปว่า เวลานี้งานเตรียมการสำหรับเปิดดำเนินการแบงก์เพื่อการพัฒนาระดับพหุภาคีแห่งใหม่นี้ กำลังเดินหน้าไปด้วยดี โดยที่กำลังมีการจัดทำกฎบัตรข้อบังคับของธนาคาร เพื่อส่งให้รัฐสภาของแต่ละชาติสมาชิกอนุมัติรับรองต่อไป รวมทั้งมีการดำเนินการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการซึ่งจะมีลักษณะเป็นสำนักงานพหุภาคี ตลอดจนมีการจัดทำข้อบัญญัติของทางธนาคาร และตกลงกันเกี่ยวกับนโยบายเฉพาะเจาะจงในบางเรื่อง
ทั้งนี้ รายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ได้รับการเปิดเผยเอาไว้ในคำแถลงฉบับหนึ่งซึ่งโพสต์อยู่บนเว็บไซต์ของกระทรวงการคลังของจีนแล้ว นอกจากนั้นคำแถลงยังระบุว่าจะมีการประชุมหารือครั้งแรกของคณะกรรมการผู้ว่าการของแบงก์แห่งนี้ตอนต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ในระหว่างการประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ในรัสเซีย โดยที่ในการประชุมหารือหนแรกนี้ จะมีการลงมติแต่งตั้งประธานและรองประธานของธนาคารอย่างเป็นทางการอีกด้วย
ความคืบหน้าต่างๆ เหล่านี้บังเกิดขึ้นในเวลาไม่ถึง 1 ปี นับตั้งแต่ที่บรรดาผู้นำของ 5 ชาติสมาชิกกลุ่มบริกส์ ประกาศว่าจะดำเนินการจัดตั้งแบงก์แห่งนี้ ซึ่งใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่” (New Development Bank) แต่รู้จักเรียกขานกันมากกว่าในนาม ธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ (BRICS Development Bank)
เกี่ยวกับผู้บริหารของแบงก์เพื่อการพัฒนาแห่งนี้นั้น เวลานี้ เค.วี.คามาธ (K.V Kamath) ซึ่งเคยเป็นทั้งกรรมการผู้จัดการ และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ของ ไอซีไอซีไอ แบงก์ (ICICI Bank) ธนาคารภาคเอกชนใหญ่ที่สุดของอินเดีย รวมเป็นเวลากว่า 1 ทศวรรษ ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานคนแรกของ ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ที่จะมีทุนจดทะเบียน 100,000 ล้านดอลลาร์แล้ว ขณะที่รองประธานจะมี 4 คน หนึ่งในนั้นซึ่งเสนอชื่อโดยฝ่ายจีน ได้แก่ จู เสียน (Zhu Xian) รองประธานของธนาคารโลก
สำหรับสำนักใหญ่ของธนาคารแห่งนี้ กำหนดจัดตั้งขึ้นในย่าน ลู่เจียจุ่ย (Lujiazui) ศูนย์กลางการเงินของมหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ขณะเดียวกันก็จะมีการจัดตั้งศูนย์ภูมิภาคแอฟริกาขึ้นที่เมืองโยฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้
จากการประกาศรายละเอียดเหล่านี้ออกมา ย่อมหมายความนับแต่นี้ไปเจ้าหน้าที่ทั้งหลายจะต้องดำเนินการอย่างเร่งรีบเพื่อสร้างฐานะของแบงก์ใหม่แห่งนี้ โดยเฉพาะเมื่อต้องถูกเปรียบเทียบอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นกับองค์การทางการเงินระดับพหุภาคีรายอื่นๆ ทั้งที่กำลังดำเนินการจัดตั้งอยู่ และที่มีการจัดตั้งขึ้นมาอย่างมั่นคงแล้ว ตลอดจนกลายเป็นแรงกดดันทำให้ต้องเร่งรีบเปิดดำเนินการ “ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่” แห่งนี้ให้ได้โดยเร็วที่สุด
เรื่องที่มีลำดับความสำคัญเร่งด่วนอย่างสูงอีกเรื่องหนึ่ง ได้แก่การขีดเส้นแบ่งแยกแยะกันให้ชัดเจนว่า ธนาคารแห่งนี้มีความแตกต่างอย่างไรกับ ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบในเบื้องต้นได้อย่างใหญ่โตมโหฬารนับตั้งแต่รัฐบาลจีนเสนอให้จัดตั้งขึ้นมาตอนแรกสุดช่วงสิ้นปีที่แล้ว โดยที่สามารถดึงดูดให้ประเทศต่างๆ 57 ประเทศจากทั้งเอเชีย, ยุโรป, แอฟริกา, ละตินอเมริกา, และโอเชียนนา สมัครขอเข้าร่วม
คำแถลงในคราวนี้ของ สือ ยืนยันว่า ธนาคารบริกส์ จะแสดงบทบาทหนุนเสริมซึ่งกันและกันกับพวกองค์การการเงินเพื่อการพัฒนาที่ก่อตั้งมานานแล้วทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารโลก หรือธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank หรือ ADB) โดยที่ธนาคารบริกส์พร้อมจะเรียนรู้และร่วมมือกับแบงก์เพื่อการพัฒนาแห่งอื่นๆ ร่วมส่วนสร้างคุณูปการให้แก่การต่อเชื่อมกันทั้งภายในเอเชียและกับส่วนอื่นๆ ของโลก
ขณะที่ทางด้าน หวง เว่ย (Huang Wei) นักวิจัยของสถาบันเพื่อเศรษฐกิจและการเมืองโลก (Institute of World Economics and Politics) ในสังกัดของบัณฑิตยสถานทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Social Sciences) บอกว่า อันที่จริงมีความแตกต่างที่ชัดเจนอยู่แล้วระหว่างธนาคาร AIIB กับธนาคารบริกส์
กล่าวคือ AIIB เป็นองค์การระดับภูมิภาคที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาติเอเชียและชาติยุโรป โดยที่เงินทุนของแบงก์แห่งนี้จะมุ่งเน้นนำไปใช้ในโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ใน 2 ทวีปนี้ ขณะที่ขนาดขอบเขตของธนาคารบริกส์ จะขยายไปครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์อันหลากหลายมากกว่า
หวง ชี้ว่า AIIB จะเป็นธนาคารที่มุ่งผลเชิงพาณิชย์มากกว่า ส่วนบริกส์แบงก์จะมี “กลิ่นไอทางภูมิรัฐศาสตร์อันโดดเด่น รวมทั้งยังจะทำหน้าที่เป็นกลไกการสนทนาอย่างหนึ่งของ 5 ประเทศสมาชิกกลุ่มบริกส์” อีกด้วย
นักวิจัยผู้นี้มองว่า มีความเป็นไปได้ที่กิจกรรมของธนาคารทั้ง 2 แห่งนี้จะเหลื่อมซ้อนกัน และในบางกรณีอาจจะถึงขั้นแข่งขันกันเองด้วยซ้ำในการช่วงชิงโครงการต่างๆ แต่เขาไม่เห็นว่าการแข่งขันกันจะต้องเป็นเรื่องไม่ดีเสมอไป
ทางด้าน ฟาน หยงหมิง (Fan Yongming) ผู้อำนวยการของศูนย์เพื่อการศึกษาเรื่องบริกส์ (Center for BRICS Studies) แห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (Fudan University) นครเซี่ยงไฮ้ มองว่า “ธนาคารบริกส์เป็นตัวแทนของพลังความสามัคคีของบรรดาชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ จึงมีลักษณะเป็นกลุ่มเชิงยุทธศาสตร์ที่มีขอบเขตครอบคลุมทั่วโลก” เขากล่าวเสริมว่า ธนาคารแห่งนี้จะไม่เพียงแสดงบทบาทส่งเสริมสนับสนุนองค์การที่ก่อตั้งมาก่อนแล้วทั้งหลายเท่านั้น แต่ยังจะแสดงบทบาทในการท้าทายองค์การเหล่านี้อีกด้วย
ลำดับเวลาของการจัดตั้งธนาคารบริกส์
กุมภาพันธ์ 2012: รัฐมนตรีคลังของ 5 ชาติสมาชิกในกลุ่มบริกส์ เสนอให้จัดตั้งธนาคารแห่งนี้ขึ้น ณ การประชุมซัมมิตของกลุ่มจี-20
มีนาคม 2012: เรื่องการจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ ถูกบรรจุอย่างเป็นทางการเอาไว้ในวาระการประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ครั้งที่ 4 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย
มีนาคม 2013: การประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ครั้งที่ 5 ในเมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ มีมติให้จัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ขึ้นมา
กรกฎาคม 2014: ณ การประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ครั้งที่ 6 ที่เมืองฟอร์ตาเลซา ประเทศบราซิล ทั้ง 5 ประเทศประกาศอย่างเป็นทางการถึงการก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์ ขึ้นมา โดยให้สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครเซี่ยงไฮ้
9 มีนาคม 2015: ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ลงนามในกฤษฎีกาเห็นชอบรับรองการก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริกส์
11 พฤษภาคม 2015: อินเดียประกาศชื่อ เค.วี. คามาธ ให้เป็นประธานคนแรกของธนาคารแห่งนี้
12 พฤษภาคม 2015: จีนประกาศชื่อ จู เสียน เป็นรองประธาน