Obama extracts GCC support for Iran deal
By M K Bhadrakumar
15/05/2015
คำแถลงร่วมของการประชุมระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา กับ “หัวหน้าคณะผู้แทน” ของบรรดารัฐสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวเปอร์เซีย (GCC) ที่ออกเผยแพร่ ณ แคมป์เดวิด ในวันพฤหัสบดี (14 พ.ค.) แสดงให้เห็นว่า การเจรจาหารือคราวนี้ไม่ได้ล้มเหลวหมดท่าอย่างที่หวั่นเกรงกัน ตรงกันข้ามโอบามายังสามารถบีบคั้นให้รัฐอาหรับเหล่านี้ยอมรับว่า การทำข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์กับอิหร่าน ถือเป็นผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของ GCC ด้วย
ไม่ใช่งานง่ายๆ เลยที่จะสรุปผลการเจรจาหารือที่กรุงวอชิงตันและแคมป์เดวิดในวันพุธและวันพฤหัสบดี (13-14 พ.ค.) ที่ผ่านมา ระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา กับ “บรรดาหัวหน้าคณะผู้แทน” ของรัฐสมาชิก “คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวเปอร์เซีย (Gulf Cooperation Council ใช้อักษรย่อว่า GCC)
เริ่มตั้งแต่ว่าการประชุมคราวนี้ที่วางแผนเอาไว้ให้เป็นการประชุมซัมมิต ก็กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีผู้นำสำคัญจากฝ่าย GCC ขาดหายไปหลายคน ทั้งนี้ยกเว้นแต่ประมุขแห่งรัฐของคูเวตและกาตาร์แล้ว ประมุขแห่งรัฐของอีก 4 ชาติต่างปฏิเสธไม่ตอบรับคำเชื้อเชิญของโอบามา รายที่ออกจะน่าขบขันก็คือ กษัตริย์แห่งบาห์เรน พันธมิตรสำคัญชาติหนึ่งของสหรัฐฯในภูมิภาคนี้โดยเป็นสถานที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพเรือที่ 5 ของกองทัพเรือสหรัฐฯ นั้น ได้ทรงตัดสินพระทัยเสด็จไปทอดพระเนตรงานแสดงม้าที่ประเทศอังกฤษ แทนที่จะทรงเข้าร่วมซัมมิตคราวนี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://news.yahoo.com/absent-obama-summit-bahrain-king-expected-uk-horse-143619904--rah.html)
วอชิงตันได้แสดงอาการอดกลั้นต่อการหมิ่นหยามไม่รับคำเชิญของพระราชาธิบดีแห่งซาอุดีอาระเบียและบาห์เรน แต่ก็นั่นแหละ ไม่ใช่ความลับอะไรเลยที่ว่าคณะบริหารโอบามา และพวกชาติอาหรับริมอ่าวเปอร์เซียเหล่านี้ มีความคิดเห็นห่างไกลกันมากในประเด็นเรื่องที่สหรัฐฯกำลังหันไปมีปฏิสัมพันธ์กับอิหร่าน ชาติอาหรับเหล่านี้แสดงความวิตกต่อการที่อิหร่านกำลังมีอิทธิพลในภูมิภาคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และพวกเขาก็กำลังพยายามเรียกร้องให้สหรัฐฯประกาศค้ำประกันความมั่นคงของพวกเขาอย่างแข็งแรงหนักแน่นประดุจ “หุ้มเกราะ” หนาแกร่ง ตลอดจนให้สหรัฐฯตกลงขายอาวุธใหม่ๆ ทันสมัยแก่พวกเขา ไม่เพียงเท่านั้น ทั้งสองฝ่ายยังมีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องหนทางแก้ไขการต่อสู้ขัดแย้งต่างๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สงครามในซีเรีย
ความวิตกกังวลลึกๆ ของพวกชนชั้นปกครองริมอ่าวเปอร์เซียเหล่านี้ก็คือ การที่สหรัฐฯกับอิหร่านหันมามีปฏิสัมพันธ์กัน อาจจะเบ่งบานจนกลายเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดกันอย่างเต็มรูป ซึ่งนั่นอาจจะบังเกิดผลที่เป็นการบดบังบทบาทแต่ไหนแต่ไรมาของพวกเขาในฐานะที่เป็นพันธมิตรหลักๆ ของวอชิงตันในภูมิภาคนี้
คำแถลงร่วมของการประชุมซัมมิตคราวนี้ที่ออกมา ณ แคมป์เดวิด ในวันพฤหัสบดี (14 พ.ค.) (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.whitehouse.gov/the-press-office/2015/05/14/us-gulf-cooperation-council-camp-david-joint-statement) รวมทั้งภาคผนวกของคำแถลงร่วมนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.whitehouse.gov/the-press-office/2015/05/14/annex-us-gulf-cooperation-council-camp-david-joint-statement) มีความพยายามเป็นอย่างมากที่จะเสนอภาพออกมาให้เห็นว่า การประชุมระหว่างโอบามากับ “หัวหน้าคณะผู้แทน” จากพวกรัฐริมอ่าวเปอร์เซียคราวนี้ ไม่ได้ล้มเหลวหมดท่าอย่างที่หวั่นเกรงกันไว้ ทั้งนี้ ส่วนประกอบสำคัญที่สุดของคำแถลงร่วมและภาคผนวกดังกล่าวนี้ สรุปสาระสำคัญซึ่งตกลงกันจากที่ประชุมเป็น 3 ประการ ดังนี้:
**สหรัฐฯให้คำมั่นสัญญาที่จะเข้าเผชิญหน้ากับภัยคุกคามซึ่งกระทำต่อพวกชาติริมอ่าวเปอร์เซีย โดยใช้ “เครื่องมือต่างๆ รวมทั้งการใช้กำลัง”
**สหรัฐฯกับ GCC เน้นย้ำว่า การทำข้อตกลงที่ครอบคลุมรอบด้านและสามารถตรวจสอบได้ว่ามีการปฏิบัติตาม อีกทั้งสามารถคลี่คลายความกังวลห่วงใยทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับระหว่างประเทศเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านได้อย่างเต็มที่นั้น คือสิ่งที่อยู่ในผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงของบรรดารัฐสมาชิก GCC ด้วย”
**สหรัฐฯกับบรรดาชาติริมอ่าวเปอร์เซียให้สัญญาว่าจะร่วมมือกันในการดำเนินการต่อต้าน “บรรดากิจกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะไร้เสถียรภาพ” ของอิหร่าน
ไม่ต้องสงสัยเลย สิ่งที่ถือเป็นผลสำเร็จอย่างแท้จริงนั้น อยู่ตรงส่วนที่ระบุว่า ทั้งสองฝ่าย “เน้นย้ำว่า ...” เพราะมันคือการที่สหรัฐฯประสบความสำเร็จในการบีบคั้นทำให้พวกชาติหุ้นส่วนริมอ่าวเปอร์เซียเหล่านี้ ยอมรับข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านที่กำลังจะเกิดขึ้นมา โดยที่จะมีการสรุปขั้นสุดท้ายกันภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ (ทั้งนี้มีบางฝ่ายอ้างด้วยซ้ำว่า ข้อตกลงทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว รอแต่เพียงการประกาศออกมาเท่านั้น)
เพื่อเป็นการตอบแทนการยอมรับของ GCC ทางสหรัฐฯก็ยินดีประกาศยืนยันว่า ตนจะ “ใช้ส่วนประกอบทุกๆ อย่างของอำนาจ ... เพื่อป้องปรามและเพื่อเผชิญหน้า กับภัยคุกคามจากภายนอกซึ่งมีต่อบูรณภาพแห่งดินแดน ของรัฐสมาชิก GCC ทุกๆ ราย อันอยู่ในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายสหประชาชาติ”
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบันพวกรัฐ GCC ไม่ได้เผชิญกับภัยคุกคามจากการก้าวร้าวรุกรานภายนอกใดๆ ทั้งสิ้น และวอชิงตันก็กำลังประกาศขยายการค้ำประกันให้เข้มแข็งมั่นคงประดุจ “หุ้มเกราะ” หนาแกร่งเช่นนี้ บนสถานการณ์ที่สมมุติขึ้นมาว่าอาจจะเกิดขึ้นได้เท่านั้น ทั้งนี้ ซัดดัม ฮุสเซน นั้นสิ้นชีวิตแล้ว เหมือนนกโดโด้ (dodo) บนหมู่เกาะมอริเชียส ที่สูญพันธุ์ไปนมนานแล้ว
น่าสนใจมากที่คำแถลงร่วมยังเดินหน้าระบุต่อไปอีกว่า บรรดารัฐ GCC “จะปรึกษาหารือกับสหรัฐฯเมื่อมีการวางแผนการในการดำเนินปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ซึ่งเกินเลยไปจากพรมแดนของ GCC” พูดง่ายๆ ก็คือ วอชิงตันคาดหมายว่า เหล่ารัฐ GCC จะไม่เร่งรัดสถานการณ์ที่จะกลายเป็นการดึงลากเอาสหรัฐฯเข้าสู่การผจญภัยทางการทหารนั่นเอง นี่จึงหมายความว่า “หลักการซัลมาน” (Salman Doctrine ดูรายละเอียดได้ที่ http://english.alarabiya.net/en/views/news/middle-east/2015/04/01/Saudi-King-Salman-s-doctrine.html) ได้ถึงจุดจบสิ้นชีวิตลงไปอย่างรวดเร็วแบบไม่ทันนกกระจอกกินน้ำเสียแล้ว
เป็นที่ทราบกันดีว่า ซาอุดีอาระเบียนั้นถึงขั้นคาดหมายว่าจะได้รับการค้ำประกันความมั่นคงอย่างแข็งแกร่งชนิด “หุ้มเกราะ” จากสหรัฐฯ ในรูปของเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทว่าโอบามาไม่ยินยอมถึงขนาดนั้น ในทางเป็นจริงแล้ว ในคำแถลงร่วมนี้ไม่ได้มีอะไรใหม่เกี่ยวกับจุดยืนของสหรัฐฯ เพิ่มเติมไปจากสิ่งที่เคยมีการยืนยันกันไปแล้ว โดยที่ผ่านมา โอบามาก็ประกาศอยู่เสมอว่าสหรัฐฯจะพิทักษ์คุ้มครองบรรดารัฐ GCC ให้พ้นจากภัยคุกคามของการรุกรานภายนอก
ในการต่อรองกันคราวนี้ ยังทำให้สหรัฐฯมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นในการผลักดันวาระการนำเอาระบบต่อต้านขีปนาวุธนำวิถี (ABM system) มาติดตั้งประจำการในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย นี่ย่อมหมายความว่าระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธนำวิถี ABM ของสหรัฐฯ กำลังค่อยๆ เคลื่อนคืบหน้าเข้ามาในยุทธบริเวณแห่งใหม่ ซึ่งสามารถที่จะใช้เฝ้าจับตา 3 มหาอำนาจภูมิภาคซึ่งมีโครงการพัฒนาขีปนาวุธที่กำลังรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว อันได้แก่ อิหร่าน, ปากีสถาน, และอินเดีย
ในทำนองเดียวกัน เป็นที่คาดหมายได้ว่าสหรัฐฯจะขายอาวุธใหม่ๆ ให้แก่เหล่าประเทศ GCC โดยที่พวกกลุ่มอุตสาหกรรมทหารอันทรงอิทธิพลของสหรัฐฯก็กระหายที่จะกระโจนเข้าไปอยู่แล้ว
เมื่อมองกันเป็นภาพรวม ความโดดเด่นของการเจรจาที่แคมป์เดวิคราวนี้ อยู่ตรงความสำเร็จของโอบามาในการบีบคั้นจนได้ฉันทามติออกมาว่า ข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน ถือว่าอยู่ใน “ผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคง” ของบรรดารัฐ GCC และเพื่อเป็นการตอบแทนฉันทามติที่เขาได้รับนี้ โอบามาก็ให้คำมั่นว่าสหรัฐฯจะ “ทำงานด้วยกัน” กับบรรดารัฐ GCC “เพื่อต่อต้านบรรดากิจกรรมของอิหร่านที่ก่อให้เกิดภาวะไร้เสถียรภาพ” ทว่า น่าสนใจมากที่คำแถลงร่วมยังมีข้อความเรียกร้องอิหร่านให้เข้ามีปฏิสัมพันธ์ในภูมิภาคด้วยจิตวิญญาณแห่งมิตรไมตรี และ “เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและเพื่อแก้ไขคลี่คลายความแตกต่างทั้งหลายที่อิหร่านมีกับเพื่อนบ้านของตน ทั้งนี้ด้วยวิธีการที่สันติ”
เราย่อมสามารถพูดได้ว่า เหตุผลข้อโตแย้งสำคัญที่สุดของโอบามาได้รับการยอมรับแล้ว –นั่นก็คือ ข้อตกลงด้านนิวเคลียร์สามารถก่อให้เกิดอิหร่านที่เดินสายกลางมีความบันยะบันยัง (ในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ อาชาร์ก อัล-อาวซัต Asharq al-Awsat ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันของพวกชนชั้นปกครองซาอุดีอาระเบีย ช่วงก่อนหน้านี้ในสัปดาห์นี้ โอบามาได้แสดงความสงสัยข้องใจเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า อิหร่านให้การสนับสนุนลัทธิก่อการร้าย และมีจุดมุ่งหมายในการฉวยโอกาสขยายอำนาจอิทธิพลในตะวันออกกลางด้วยกำลังทหาร แต่เขาก็พูดถึงความเชื่อของเขาที่ว่า หากสามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาเรื่องนิวเคลียร์กับอิหร่าน มันก็น่าจะทำให้เกิด “มีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นในเศรษฐกิจของอิหร่าน และมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นสำหรับประชาชนชาวอิหร่าน ซึ่งสามารถที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่พวกผู้นำที่นิยมทางสายกลางในอิหร่าน”)
ทั้งนี้สหรัฐฯแสดงท่าทีเฉยชาไม่ค่อยอยากหนุนหลังข้อกล่าวหาของฝ่ายซาอุดีอาระเบียที่ว่า อิหร่านเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการยุยงให้ประชาชนออกมาเรียกร้องการปฏิรูปเพื่อประชาธิปไตยในบาห์เรน ตลอดจนเรื่องที่ว่าพวกกบฎฮูตี (Houthis) ในเยเมน เป็นตัวแทนของอิหร่าน
ในอีกด้านหนึ่ง คำแถลงร่วมมีเนื้อหาที่เป็นการห้ามปรามอย่างเปิดเผย ไม่ให้ซาอุดีอาระเบียให้ความสนับสนุนต่อไปอีกแก่พวกกลุ่มสุดโต่งทั้งหลายในซีเรีย “อย่างเช่นกลุ่ม อัล-นุสรา (Al-Nusra)”
และ ในขณะที่พูดถึงการสู้รบขัดแย้งระดับภูมิภาคทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นที่ซีเรีย, อิรัก, ลิเบีย, หรือเยเมน คำแถลงร่วมระบุว่า สหรัฐฯกับเหล่ารัฐ GCC “ตัดสินใจที่จะกำหนดหลักการร่วมขึ้นมาชุดหนึ่ง เป็นต้นว่า หลักการแห่งการยอมรับร่วมกันว่าหนทางแก้ไขด้วยการใช้กำลังทหารนั้นไม่มี แต่การสู้รบขัดแย้งเหล่านี้สามารถแก้ไขคลี่คลายได้ก็ด้วยการใช้หนทางการเมืองและหนทางสันติเท่านั้น, หลักการแห่งการเคารพในอธิปไตยขององรัฐทั้งหลายทั้งปวง และการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของรัฐเหล่านี้”
อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญพอๆ กัน นั่นคือ ในขณะที่พูดถึงเยเมน คำแถลงร่วมเน้นย้ำถึง “ความจำเป็นอันเร่งด่วนในการปรับเปลี่ยนจากการปฏิบัติการทางทหาร ไปสู่การดำเนินกระบวนการทางการเมือง” ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ตรงกับเงื่อนไขล่วงหน้าที่ฝ่ายซาอุดีอาระเบียตั้งขึ้นมา ที่บอกว่าพวกฮูตีจะสามารถเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมืองใดๆ ได้ ก็ต่อเมื่อภายหลังพวกเขาละทิ้งดินแดนที่พวกเขายึดเอาไปได้ในช่วงหลังๆ นี้ ตลอดจนภายหลังพวกเขายอมวางอาวุธแล้ว
เมื่อพิจารณาโดยรวมทั้งหมด ซาอุดีอาระเบียซึ่งเคยแผดเสียงคำรามลั่นในระยะไม่กี่เดือนหลังมานี้ ดูเหมือนยินยอมอ่อนข้อแล้วด้วยความง่ายดายอย่างน่าประหลาดใจ แต่ก็นั่นแหละ พวกรัฐ GCC มีทางเลือกอะไรอื่นอีกหรือ นอกเหนือจากการยอมรับอย่างซาบซึ้งใจต่อสิ่งที่สหรัฐฯเสนอให้มา? โอบามาได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนจนไม่รู้จะชัดอย่างไรแล้วว่า บัดนี้เข็มทิศของเขาตั้งเอาไว้อย่างแน่วแน่ว่าจะเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับอิหร่าน และขณะนี้จึงเหลือเพียงอิสราเอลเท่านั้นที่แสดงตัวเป็นคาวบอยผู้โดดเดี่ยวในตะวันออกกลาง ซึ่งยังคงพยายามใช้หอกยาวทิ่มแทงโรงสีลมแห่งข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ทว่านี่จะไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อโอบามาหรอก
(ข้อเขียนนี้มาจาก Indian Punchline เว็บบล็อกของเอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร ดูต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ http://blogs.rediff.com/mkbhadrakumar/2015/05/15/obama-extracts-gcc-support-for-iran-deal/)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาเคยได้รับมอบหมายให้ไปประจำอยู่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี
By M K Bhadrakumar
15/05/2015
คำแถลงร่วมของการประชุมระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา กับ “หัวหน้าคณะผู้แทน” ของบรรดารัฐสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวเปอร์เซีย (GCC) ที่ออกเผยแพร่ ณ แคมป์เดวิด ในวันพฤหัสบดี (14 พ.ค.) แสดงให้เห็นว่า การเจรจาหารือคราวนี้ไม่ได้ล้มเหลวหมดท่าอย่างที่หวั่นเกรงกัน ตรงกันข้ามโอบามายังสามารถบีบคั้นให้รัฐอาหรับเหล่านี้ยอมรับว่า การทำข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์กับอิหร่าน ถือเป็นผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของ GCC ด้วย
ไม่ใช่งานง่ายๆ เลยที่จะสรุปผลการเจรจาหารือที่กรุงวอชิงตันและแคมป์เดวิดในวันพุธและวันพฤหัสบดี (13-14 พ.ค.) ที่ผ่านมา ระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา กับ “บรรดาหัวหน้าคณะผู้แทน” ของรัฐสมาชิก “คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวเปอร์เซีย (Gulf Cooperation Council ใช้อักษรย่อว่า GCC)
เริ่มตั้งแต่ว่าการประชุมคราวนี้ที่วางแผนเอาไว้ให้เป็นการประชุมซัมมิต ก็กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีผู้นำสำคัญจากฝ่าย GCC ขาดหายไปหลายคน ทั้งนี้ยกเว้นแต่ประมุขแห่งรัฐของคูเวตและกาตาร์แล้ว ประมุขแห่งรัฐของอีก 4 ชาติต่างปฏิเสธไม่ตอบรับคำเชื้อเชิญของโอบามา รายที่ออกจะน่าขบขันก็คือ กษัตริย์แห่งบาห์เรน พันธมิตรสำคัญชาติหนึ่งของสหรัฐฯในภูมิภาคนี้โดยเป็นสถานที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพเรือที่ 5 ของกองทัพเรือสหรัฐฯ นั้น ได้ทรงตัดสินพระทัยเสด็จไปทอดพระเนตรงานแสดงม้าที่ประเทศอังกฤษ แทนที่จะทรงเข้าร่วมซัมมิตคราวนี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://news.yahoo.com/absent-obama-summit-bahrain-king-expected-uk-horse-143619904--rah.html)
วอชิงตันได้แสดงอาการอดกลั้นต่อการหมิ่นหยามไม่รับคำเชิญของพระราชาธิบดีแห่งซาอุดีอาระเบียและบาห์เรน แต่ก็นั่นแหละ ไม่ใช่ความลับอะไรเลยที่ว่าคณะบริหารโอบามา และพวกชาติอาหรับริมอ่าวเปอร์เซียเหล่านี้ มีความคิดเห็นห่างไกลกันมากในประเด็นเรื่องที่สหรัฐฯกำลังหันไปมีปฏิสัมพันธ์กับอิหร่าน ชาติอาหรับเหล่านี้แสดงความวิตกต่อการที่อิหร่านกำลังมีอิทธิพลในภูมิภาคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และพวกเขาก็กำลังพยายามเรียกร้องให้สหรัฐฯประกาศค้ำประกันความมั่นคงของพวกเขาอย่างแข็งแรงหนักแน่นประดุจ “หุ้มเกราะ” หนาแกร่ง ตลอดจนให้สหรัฐฯตกลงขายอาวุธใหม่ๆ ทันสมัยแก่พวกเขา ไม่เพียงเท่านั้น ทั้งสองฝ่ายยังมีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องหนทางแก้ไขการต่อสู้ขัดแย้งต่างๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สงครามในซีเรีย
ความวิตกกังวลลึกๆ ของพวกชนชั้นปกครองริมอ่าวเปอร์เซียเหล่านี้ก็คือ การที่สหรัฐฯกับอิหร่านหันมามีปฏิสัมพันธ์กัน อาจจะเบ่งบานจนกลายเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดกันอย่างเต็มรูป ซึ่งนั่นอาจจะบังเกิดผลที่เป็นการบดบังบทบาทแต่ไหนแต่ไรมาของพวกเขาในฐานะที่เป็นพันธมิตรหลักๆ ของวอชิงตันในภูมิภาคนี้
คำแถลงร่วมของการประชุมซัมมิตคราวนี้ที่ออกมา ณ แคมป์เดวิด ในวันพฤหัสบดี (14 พ.ค.) (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.whitehouse.gov/the-press-office/2015/05/14/us-gulf-cooperation-council-camp-david-joint-statement) รวมทั้งภาคผนวกของคำแถลงร่วมนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.whitehouse.gov/the-press-office/2015/05/14/annex-us-gulf-cooperation-council-camp-david-joint-statement) มีความพยายามเป็นอย่างมากที่จะเสนอภาพออกมาให้เห็นว่า การประชุมระหว่างโอบามากับ “หัวหน้าคณะผู้แทน” จากพวกรัฐริมอ่าวเปอร์เซียคราวนี้ ไม่ได้ล้มเหลวหมดท่าอย่างที่หวั่นเกรงกันไว้ ทั้งนี้ ส่วนประกอบสำคัญที่สุดของคำแถลงร่วมและภาคผนวกดังกล่าวนี้ สรุปสาระสำคัญซึ่งตกลงกันจากที่ประชุมเป็น 3 ประการ ดังนี้:
**สหรัฐฯให้คำมั่นสัญญาที่จะเข้าเผชิญหน้ากับภัยคุกคามซึ่งกระทำต่อพวกชาติริมอ่าวเปอร์เซีย โดยใช้ “เครื่องมือต่างๆ รวมทั้งการใช้กำลัง”
**สหรัฐฯกับ GCC เน้นย้ำว่า การทำข้อตกลงที่ครอบคลุมรอบด้านและสามารถตรวจสอบได้ว่ามีการปฏิบัติตาม อีกทั้งสามารถคลี่คลายความกังวลห่วงใยทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับระหว่างประเทศเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านได้อย่างเต็มที่นั้น คือสิ่งที่อยู่ในผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงของบรรดารัฐสมาชิก GCC ด้วย”
**สหรัฐฯกับบรรดาชาติริมอ่าวเปอร์เซียให้สัญญาว่าจะร่วมมือกันในการดำเนินการต่อต้าน “บรรดากิจกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะไร้เสถียรภาพ” ของอิหร่าน
ไม่ต้องสงสัยเลย สิ่งที่ถือเป็นผลสำเร็จอย่างแท้จริงนั้น อยู่ตรงส่วนที่ระบุว่า ทั้งสองฝ่าย “เน้นย้ำว่า ...” เพราะมันคือการที่สหรัฐฯประสบความสำเร็จในการบีบคั้นทำให้พวกชาติหุ้นส่วนริมอ่าวเปอร์เซียเหล่านี้ ยอมรับข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านที่กำลังจะเกิดขึ้นมา โดยที่จะมีการสรุปขั้นสุดท้ายกันภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ (ทั้งนี้มีบางฝ่ายอ้างด้วยซ้ำว่า ข้อตกลงทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว รอแต่เพียงการประกาศออกมาเท่านั้น)
เพื่อเป็นการตอบแทนการยอมรับของ GCC ทางสหรัฐฯก็ยินดีประกาศยืนยันว่า ตนจะ “ใช้ส่วนประกอบทุกๆ อย่างของอำนาจ ... เพื่อป้องปรามและเพื่อเผชิญหน้า กับภัยคุกคามจากภายนอกซึ่งมีต่อบูรณภาพแห่งดินแดน ของรัฐสมาชิก GCC ทุกๆ ราย อันอยู่ในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายสหประชาชาติ”
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบันพวกรัฐ GCC ไม่ได้เผชิญกับภัยคุกคามจากการก้าวร้าวรุกรานภายนอกใดๆ ทั้งสิ้น และวอชิงตันก็กำลังประกาศขยายการค้ำประกันให้เข้มแข็งมั่นคงประดุจ “หุ้มเกราะ” หนาแกร่งเช่นนี้ บนสถานการณ์ที่สมมุติขึ้นมาว่าอาจจะเกิดขึ้นได้เท่านั้น ทั้งนี้ ซัดดัม ฮุสเซน นั้นสิ้นชีวิตแล้ว เหมือนนกโดโด้ (dodo) บนหมู่เกาะมอริเชียส ที่สูญพันธุ์ไปนมนานแล้ว
น่าสนใจมากที่คำแถลงร่วมยังเดินหน้าระบุต่อไปอีกว่า บรรดารัฐ GCC “จะปรึกษาหารือกับสหรัฐฯเมื่อมีการวางแผนการในการดำเนินปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ซึ่งเกินเลยไปจากพรมแดนของ GCC” พูดง่ายๆ ก็คือ วอชิงตันคาดหมายว่า เหล่ารัฐ GCC จะไม่เร่งรัดสถานการณ์ที่จะกลายเป็นการดึงลากเอาสหรัฐฯเข้าสู่การผจญภัยทางการทหารนั่นเอง นี่จึงหมายความว่า “หลักการซัลมาน” (Salman Doctrine ดูรายละเอียดได้ที่ http://english.alarabiya.net/en/views/news/middle-east/2015/04/01/Saudi-King-Salman-s-doctrine.html) ได้ถึงจุดจบสิ้นชีวิตลงไปอย่างรวดเร็วแบบไม่ทันนกกระจอกกินน้ำเสียแล้ว
เป็นที่ทราบกันดีว่า ซาอุดีอาระเบียนั้นถึงขั้นคาดหมายว่าจะได้รับการค้ำประกันความมั่นคงอย่างแข็งแกร่งชนิด “หุ้มเกราะ” จากสหรัฐฯ ในรูปของเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทว่าโอบามาไม่ยินยอมถึงขนาดนั้น ในทางเป็นจริงแล้ว ในคำแถลงร่วมนี้ไม่ได้มีอะไรใหม่เกี่ยวกับจุดยืนของสหรัฐฯ เพิ่มเติมไปจากสิ่งที่เคยมีการยืนยันกันไปแล้ว โดยที่ผ่านมา โอบามาก็ประกาศอยู่เสมอว่าสหรัฐฯจะพิทักษ์คุ้มครองบรรดารัฐ GCC ให้พ้นจากภัยคุกคามของการรุกรานภายนอก
ในการต่อรองกันคราวนี้ ยังทำให้สหรัฐฯมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นในการผลักดันวาระการนำเอาระบบต่อต้านขีปนาวุธนำวิถี (ABM system) มาติดตั้งประจำการในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย นี่ย่อมหมายความว่าระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธนำวิถี ABM ของสหรัฐฯ กำลังค่อยๆ เคลื่อนคืบหน้าเข้ามาในยุทธบริเวณแห่งใหม่ ซึ่งสามารถที่จะใช้เฝ้าจับตา 3 มหาอำนาจภูมิภาคซึ่งมีโครงการพัฒนาขีปนาวุธที่กำลังรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว อันได้แก่ อิหร่าน, ปากีสถาน, และอินเดีย
ในทำนองเดียวกัน เป็นที่คาดหมายได้ว่าสหรัฐฯจะขายอาวุธใหม่ๆ ให้แก่เหล่าประเทศ GCC โดยที่พวกกลุ่มอุตสาหกรรมทหารอันทรงอิทธิพลของสหรัฐฯก็กระหายที่จะกระโจนเข้าไปอยู่แล้ว
เมื่อมองกันเป็นภาพรวม ความโดดเด่นของการเจรจาที่แคมป์เดวิคราวนี้ อยู่ตรงความสำเร็จของโอบามาในการบีบคั้นจนได้ฉันทามติออกมาว่า ข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน ถือว่าอยู่ใน “ผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคง” ของบรรดารัฐ GCC และเพื่อเป็นการตอบแทนฉันทามติที่เขาได้รับนี้ โอบามาก็ให้คำมั่นว่าสหรัฐฯจะ “ทำงานด้วยกัน” กับบรรดารัฐ GCC “เพื่อต่อต้านบรรดากิจกรรมของอิหร่านที่ก่อให้เกิดภาวะไร้เสถียรภาพ” ทว่า น่าสนใจมากที่คำแถลงร่วมยังมีข้อความเรียกร้องอิหร่านให้เข้ามีปฏิสัมพันธ์ในภูมิภาคด้วยจิตวิญญาณแห่งมิตรไมตรี และ “เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและเพื่อแก้ไขคลี่คลายความแตกต่างทั้งหลายที่อิหร่านมีกับเพื่อนบ้านของตน ทั้งนี้ด้วยวิธีการที่สันติ”
เราย่อมสามารถพูดได้ว่า เหตุผลข้อโตแย้งสำคัญที่สุดของโอบามาได้รับการยอมรับแล้ว –นั่นก็คือ ข้อตกลงด้านนิวเคลียร์สามารถก่อให้เกิดอิหร่านที่เดินสายกลางมีความบันยะบันยัง (ในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ อาชาร์ก อัล-อาวซัต Asharq al-Awsat ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันของพวกชนชั้นปกครองซาอุดีอาระเบีย ช่วงก่อนหน้านี้ในสัปดาห์นี้ โอบามาได้แสดงความสงสัยข้องใจเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า อิหร่านให้การสนับสนุนลัทธิก่อการร้าย และมีจุดมุ่งหมายในการฉวยโอกาสขยายอำนาจอิทธิพลในตะวันออกกลางด้วยกำลังทหาร แต่เขาก็พูดถึงความเชื่อของเขาที่ว่า หากสามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาเรื่องนิวเคลียร์กับอิหร่าน มันก็น่าจะทำให้เกิด “มีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นในเศรษฐกิจของอิหร่าน และมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นสำหรับประชาชนชาวอิหร่าน ซึ่งสามารถที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่พวกผู้นำที่นิยมทางสายกลางในอิหร่าน”)
ทั้งนี้สหรัฐฯแสดงท่าทีเฉยชาไม่ค่อยอยากหนุนหลังข้อกล่าวหาของฝ่ายซาอุดีอาระเบียที่ว่า อิหร่านเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการยุยงให้ประชาชนออกมาเรียกร้องการปฏิรูปเพื่อประชาธิปไตยในบาห์เรน ตลอดจนเรื่องที่ว่าพวกกบฎฮูตี (Houthis) ในเยเมน เป็นตัวแทนของอิหร่าน
ในอีกด้านหนึ่ง คำแถลงร่วมมีเนื้อหาที่เป็นการห้ามปรามอย่างเปิดเผย ไม่ให้ซาอุดีอาระเบียให้ความสนับสนุนต่อไปอีกแก่พวกกลุ่มสุดโต่งทั้งหลายในซีเรีย “อย่างเช่นกลุ่ม อัล-นุสรา (Al-Nusra)”
และ ในขณะที่พูดถึงการสู้รบขัดแย้งระดับภูมิภาคทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นที่ซีเรีย, อิรัก, ลิเบีย, หรือเยเมน คำแถลงร่วมระบุว่า สหรัฐฯกับเหล่ารัฐ GCC “ตัดสินใจที่จะกำหนดหลักการร่วมขึ้นมาชุดหนึ่ง เป็นต้นว่า หลักการแห่งการยอมรับร่วมกันว่าหนทางแก้ไขด้วยการใช้กำลังทหารนั้นไม่มี แต่การสู้รบขัดแย้งเหล่านี้สามารถแก้ไขคลี่คลายได้ก็ด้วยการใช้หนทางการเมืองและหนทางสันติเท่านั้น, หลักการแห่งการเคารพในอธิปไตยขององรัฐทั้งหลายทั้งปวง และการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของรัฐเหล่านี้”
อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญพอๆ กัน นั่นคือ ในขณะที่พูดถึงเยเมน คำแถลงร่วมเน้นย้ำถึง “ความจำเป็นอันเร่งด่วนในการปรับเปลี่ยนจากการปฏิบัติการทางทหาร ไปสู่การดำเนินกระบวนการทางการเมือง” ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ตรงกับเงื่อนไขล่วงหน้าที่ฝ่ายซาอุดีอาระเบียตั้งขึ้นมา ที่บอกว่าพวกฮูตีจะสามารถเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมืองใดๆ ได้ ก็ต่อเมื่อภายหลังพวกเขาละทิ้งดินแดนที่พวกเขายึดเอาไปได้ในช่วงหลังๆ นี้ ตลอดจนภายหลังพวกเขายอมวางอาวุธแล้ว
เมื่อพิจารณาโดยรวมทั้งหมด ซาอุดีอาระเบียซึ่งเคยแผดเสียงคำรามลั่นในระยะไม่กี่เดือนหลังมานี้ ดูเหมือนยินยอมอ่อนข้อแล้วด้วยความง่ายดายอย่างน่าประหลาดใจ แต่ก็นั่นแหละ พวกรัฐ GCC มีทางเลือกอะไรอื่นอีกหรือ นอกเหนือจากการยอมรับอย่างซาบซึ้งใจต่อสิ่งที่สหรัฐฯเสนอให้มา? โอบามาได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนจนไม่รู้จะชัดอย่างไรแล้วว่า บัดนี้เข็มทิศของเขาตั้งเอาไว้อย่างแน่วแน่ว่าจะเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับอิหร่าน และขณะนี้จึงเหลือเพียงอิสราเอลเท่านั้นที่แสดงตัวเป็นคาวบอยผู้โดดเดี่ยวในตะวันออกกลาง ซึ่งยังคงพยายามใช้หอกยาวทิ่มแทงโรงสีลมแห่งข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ทว่านี่จะไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อโอบามาหรอก
(ข้อเขียนนี้มาจาก Indian Punchline เว็บบล็อกของเอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร ดูต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ http://blogs.rediff.com/mkbhadrakumar/2015/05/15/obama-extracts-gcc-support-for-iran-deal/)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาเคยได้รับมอบหมายให้ไปประจำอยู่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี