(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Why hasn’t the Iran deal depressed oil prices?
Author: Asia Unhedged
09/04/2015
เหตุผลที่ฟังดูเข้าท่าเข้าทีมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่ การผลิตน้ำมันของอิหร่านนั้นอยู่ในสภาพเสียหายยับภายหลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979 แล้ว และยังต้องใช้เวลาอีกเป็นปีๆ กว่าที่ปริมาณน้ำมันซึ่งอิหร่านผลิตได้จะส่งผลต่อสมการอุปสงค์-อุปทานของโลกได้จริงๆ , ปัจจัยต่างๆ ทางการเมืองยังอาจทำให้ร่างข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านพังครืนลงไปได้, และตลาดน้ำมันดูจะมองกันว่าราคาได้ไปถึงระดับต่ำสุดแล้ว จึงไม่ลงต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ทำไม‘ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน’จึงไม่ได้ทำให้‘น้ำมัน’ราคาตก? มีการคาดเดาที่ฟังดูเข้าท่าเข้าทีอยู่ 3 ประการด้วยกัน
ประการแรก อย่างที่ ไบรอัน ซิงเกอร์ (Brian Singer) นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในอีเมล์ที่ส่งถึงลูกค้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว การผลิตน้ำมันของอิหร่านนั้นอยู่ในสภาพเสียหายยับภายหลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979 (จากที่เคยผลิตได้เฉียดๆ 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน กลับลงมาอยู่ในระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 1980) ถัดจากนั้นการที่อิหร่านต้องทำสงครามอย่างยืดเยื้อกับอิรักก็กลายเป็นสาเหตุสำคัญอีกส่วนหนึ่ง ประเทศนี้ต้องใช้เวลากว่า 1 ทศวรรษภายหลังสงครามกับอิรักสิ้นสุดลง จึงสามารถผลักดันผลผลิตให้กลับขึ้นไปอยู่ที่ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เวลานี้อิหร่านอาจจะยังมีน้ำมันจำนวนมากซึ่งส่งออกไม่ได้ นอนรออยู่ตามแท้งก์เก็บต่างๆ ทว่าจะต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ทีเดียวกว่าที่การผลิตของอิหร่านจะส่งผลต่อเข็มชี้วัดในสมการอุปสงค์-อุปทานของโลกได้จริงๆ
ประการที่สอง อย่างที่ แดเนียล เดรซเนอร์ (Daniel Drezner) นักวิชาการของสถาบันบรูคกิงส์ (Brooking Institute) เขียนเอาไว้ในหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.washingtonpost.com/posteverything/wp/2015/04/03/how-can-the-iran-deal-fall-apart-let-me-count-the-ways/) ยังคงมีลู่ทางอีกไม่ใช่น้อยเลยที่ข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน (ถ้าหากเราสามารถเรียกมันเป็นข้อตกลงแล้ว) จะหักพังออกเป็นเสี่ยงๆ ในระหว่างเวลานี้ไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน เอากันง่ายๆ ตั้งแต่เริ่มต้นเลยก็คือ อิหร่านกับฝ่ายตะวันตกนั้นดูเหมือนว่าจะมีแนวความคิดผิดแผกแตกต่างกันอย่างรุนแรง ในเรื่องที่ว่าพวกเขาตกลงเห็นพ้องกันว่าอย่างไรแน่ในการเจรจาที่เมืองโลซานน์, สวิตเซอร์แลนด์ พวกรีพับลิกัน (แม้กระทั่ง 2 อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ ได้แก่ เฮนรี คิสซิงเจอร์ Henry Kissinger และ จอร์จ พี. ชุลซ์ George P. Shultz ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.wsj.com/articles/the-iran-deal-and-its-consequences-1428447582) ต่างพากันแสดงอาการอกสั่นขวัญหายกับร่างข้อตกลงคราวนี้ และสงครามภายในสหรัฐฯในประเด็นว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศ ทำท่าจะระเบิดเปรี้ยงปร้างออกมาอย่างรุนแรงชนิดที่อเมริกาไม่ได้เคยเผชิญพบเห็นมานับตั้งแต่สงครามเวียดนาม ในเวลาเดียวกันนั้น สถานการณ์ในตะวันออกกลางก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายและรวดเร็ว และอย่างที่ เดรซเนอร์ กล่าวเอาไว้ว่า “สงครามที่กำลังดำเนินอยู่ทั้งในเยเมน, ซีเรีย, และอิรัก ไม่เพียงตัวของสงครามเหล่านี้เองจะอยู่ในอาการหนักหน่วงสาหัสเท่านั้น หากยังทำให้เหตุผลข้อโต้แย้งของคณะบริหารโอบามาที่ว่า ‘ต้องเลือกเอาระหว่างการยอมรับข้อตกลงนี้ หรือไม่ก็ต้องเข้าทำสงคราม’ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.politico.com/story/2015/04/obama-iran-deal-congress-116483.html) ดูน่าหวาดกลัวน้อยลงไปเยอะ”
ประการที่สาม และก็เป็นประการสำคัญที่สุด ก็คือ สำหรับพวกนักลงทุนระยะยาวแล้ว พวกเขาได้ส่งสัญญาณให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ราคาในตลาดน้ำมันได้ผ่านเลยจุดต่ำสุดแล้ว ทั้งนี้สมดุลของราคาน้ำมันอาจจะไม่ใช่การขยับขึ้นไปสู่ระดับ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ก็ไม่ใช่ลงมาในระดับ 40 ดอลลาร์ พวกผู้เล่นรายสำคัญๆ อย่างเช่นบริษัทบีพี (BP) กำลังวางเดิมพันสำหรับธุรกิจของพวกเขา ด้วยแนวความคิดที่ว่า ณ ระดับในปัจจุบัน น้ำมันที่ยังไม่ได้สูบขึ้นมานั้น ถือว่ายังมีราคาถูก โดยที่ราคาในตลาดน่าจะมีแนวโน้มขยับขึ้นไป คาดหมายกันว่า เมื่อเวลาผ่านพ้นไปอีกระยะหนึ่ง ข้อวินิจฉัยเรื่องราคาน้ำมันในระยะยาวและราคาในระยะสั้น ก็ควรที่จะมาบรรจบเจอะเจอกัน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Why hasn’t the Iran deal depressed oil prices?
Author: Asia Unhedged
09/04/2015
เหตุผลที่ฟังดูเข้าท่าเข้าทีมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่ การผลิตน้ำมันของอิหร่านนั้นอยู่ในสภาพเสียหายยับภายหลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979 แล้ว และยังต้องใช้เวลาอีกเป็นปีๆ กว่าที่ปริมาณน้ำมันซึ่งอิหร่านผลิตได้จะส่งผลต่อสมการอุปสงค์-อุปทานของโลกได้จริงๆ , ปัจจัยต่างๆ ทางการเมืองยังอาจทำให้ร่างข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านพังครืนลงไปได้, และตลาดน้ำมันดูจะมองกันว่าราคาได้ไปถึงระดับต่ำสุดแล้ว จึงไม่ลงต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ทำไม‘ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน’จึงไม่ได้ทำให้‘น้ำมัน’ราคาตก? มีการคาดเดาที่ฟังดูเข้าท่าเข้าทีอยู่ 3 ประการด้วยกัน
ประการแรก อย่างที่ ไบรอัน ซิงเกอร์ (Brian Singer) นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในอีเมล์ที่ส่งถึงลูกค้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว การผลิตน้ำมันของอิหร่านนั้นอยู่ในสภาพเสียหายยับภายหลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979 (จากที่เคยผลิตได้เฉียดๆ 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน กลับลงมาอยู่ในระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 1980) ถัดจากนั้นการที่อิหร่านต้องทำสงครามอย่างยืดเยื้อกับอิรักก็กลายเป็นสาเหตุสำคัญอีกส่วนหนึ่ง ประเทศนี้ต้องใช้เวลากว่า 1 ทศวรรษภายหลังสงครามกับอิรักสิ้นสุดลง จึงสามารถผลักดันผลผลิตให้กลับขึ้นไปอยู่ที่ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เวลานี้อิหร่านอาจจะยังมีน้ำมันจำนวนมากซึ่งส่งออกไม่ได้ นอนรออยู่ตามแท้งก์เก็บต่างๆ ทว่าจะต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ทีเดียวกว่าที่การผลิตของอิหร่านจะส่งผลต่อเข็มชี้วัดในสมการอุปสงค์-อุปทานของโลกได้จริงๆ
ประการที่สอง อย่างที่ แดเนียล เดรซเนอร์ (Daniel Drezner) นักวิชาการของสถาบันบรูคกิงส์ (Brooking Institute) เขียนเอาไว้ในหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.washingtonpost.com/posteverything/wp/2015/04/03/how-can-the-iran-deal-fall-apart-let-me-count-the-ways/) ยังคงมีลู่ทางอีกไม่ใช่น้อยเลยที่ข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน (ถ้าหากเราสามารถเรียกมันเป็นข้อตกลงแล้ว) จะหักพังออกเป็นเสี่ยงๆ ในระหว่างเวลานี้ไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน เอากันง่ายๆ ตั้งแต่เริ่มต้นเลยก็คือ อิหร่านกับฝ่ายตะวันตกนั้นดูเหมือนว่าจะมีแนวความคิดผิดแผกแตกต่างกันอย่างรุนแรง ในเรื่องที่ว่าพวกเขาตกลงเห็นพ้องกันว่าอย่างไรแน่ในการเจรจาที่เมืองโลซานน์, สวิตเซอร์แลนด์ พวกรีพับลิกัน (แม้กระทั่ง 2 อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ ได้แก่ เฮนรี คิสซิงเจอร์ Henry Kissinger และ จอร์จ พี. ชุลซ์ George P. Shultz ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.wsj.com/articles/the-iran-deal-and-its-consequences-1428447582) ต่างพากันแสดงอาการอกสั่นขวัญหายกับร่างข้อตกลงคราวนี้ และสงครามภายในสหรัฐฯในประเด็นว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศ ทำท่าจะระเบิดเปรี้ยงปร้างออกมาอย่างรุนแรงชนิดที่อเมริกาไม่ได้เคยเผชิญพบเห็นมานับตั้งแต่สงครามเวียดนาม ในเวลาเดียวกันนั้น สถานการณ์ในตะวันออกกลางก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายและรวดเร็ว และอย่างที่ เดรซเนอร์ กล่าวเอาไว้ว่า “สงครามที่กำลังดำเนินอยู่ทั้งในเยเมน, ซีเรีย, และอิรัก ไม่เพียงตัวของสงครามเหล่านี้เองจะอยู่ในอาการหนักหน่วงสาหัสเท่านั้น หากยังทำให้เหตุผลข้อโต้แย้งของคณะบริหารโอบามาที่ว่า ‘ต้องเลือกเอาระหว่างการยอมรับข้อตกลงนี้ หรือไม่ก็ต้องเข้าทำสงคราม’ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.politico.com/story/2015/04/obama-iran-deal-congress-116483.html) ดูน่าหวาดกลัวน้อยลงไปเยอะ”
ประการที่สาม และก็เป็นประการสำคัญที่สุด ก็คือ สำหรับพวกนักลงทุนระยะยาวแล้ว พวกเขาได้ส่งสัญญาณให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ราคาในตลาดน้ำมันได้ผ่านเลยจุดต่ำสุดแล้ว ทั้งนี้สมดุลของราคาน้ำมันอาจจะไม่ใช่การขยับขึ้นไปสู่ระดับ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ก็ไม่ใช่ลงมาในระดับ 40 ดอลลาร์ พวกผู้เล่นรายสำคัญๆ อย่างเช่นบริษัทบีพี (BP) กำลังวางเดิมพันสำหรับธุรกิจของพวกเขา ด้วยแนวความคิดที่ว่า ณ ระดับในปัจจุบัน น้ำมันที่ยังไม่ได้สูบขึ้นมานั้น ถือว่ายังมีราคาถูก โดยที่ราคาในตลาดน่าจะมีแนวโน้มขยับขึ้นไป คาดหมายกันว่า เมื่อเวลาผ่านพ้นไปอีกระยะหนึ่ง ข้อวินิจฉัยเรื่องราคาน้ำมันในระยะยาวและราคาในระยะสั้น ก็ควรที่จะมาบรรจบเจอะเจอกัน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)