(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
US irked at UK backing China-led infrastructure bank
13/03/2015
การที่อังกฤษตัดสินใจที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งรายหนึ่งของ “ธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย” ซึ่งมีจีนเป็นตัวตั้งตัวตีผลักดันอยู่ กำลังทำให้ทำเนียบขาวบังเกิดความโกรธกริ้ว โดยที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯผู้หนึ่งพูดกล่าวหาอังกฤษว่า กำลังเกิดความ ”โน้มเอียงอย่างผิดๆ ที่มุ่งไปสู่การพะเน้าพะนอเอาใจจีนอยู่เรื่อยๆ”
ทำเนียบขาวเพิ่งมีคำแถลงที่ใช้ถ้อยคำชัดเจนตรงไปตรงมา โดยประกาศว่าตนเองคาดหวังและคาดหมายว่าอังกฤษจะใช้อิทธิพลของตนเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า ในธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งใหม่ที่จีนเป็นตัวตั้งตัวตีจัดตั้งขึ้นมา และอังกฤษกำลังจะเข้าร่วมด้วยนั้น จะมีการยึดมั่นปฏิบัติตามมาตรฐานระดับสูงทางด้านธรรมาภิบาล
ในการแสดงให้เห็นรอยร้าวฉานของความสัมพันธ์พิเศษระหว่างสหรัฐฯกับอังกฤษให้สาธารณชนได้รับทราบซึ่งนานๆ ครั้งนักจึงจะเกิดขึ้นมา ทำเนียบขาวได้ส่งสัญญาณให้เห็นว่า ไม่สบายใจต่อการตัดสินใจของอังกฤษที่จะเข้าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งรายหนึ่งของ ธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) โดยกล่าวแสดงความเป็นห่วงในเรื่องที่ว่า หน่วยงานใหม่แห่งนี้จะสามารถยึดมั่นปฏิบัติตามมาตรฐานของ ธนาคารโลก ได้หรือไม่
พวกเจ้าหน้าที่วอชิงตันนั้น มองธนาคารแห่งใหม่นี้ซึ่งจะมีทุนจดทะเบียน 50,000 ล้านดอลลาร์ และจะทำหน้าที่จัดสรรเงินทุนให้แก่โครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยความระแวงสงสัย และเห็นว่ามันจะกลายเป็นคู่แข่งขันของธนาคารโลก พวกเขาเชื่อว่าปักกิ่งจะใช้ธนาคารแห่งนี้เพื่อการขยาย “อำนาจละมุน” (soft power) ของตนในภูมิภาคแถบนี้
ในคำแถลงของทำเนียบขาว ใช้ถ้อยคำเอาไว้เช่นนี้ “นี่เป็นการตัดสินใจตามอำนาจอธิปไตยของอังกฤษ เราคาดหวังและคาดหมายว่าอังกฤษจะใช้ปากเสียงของตน เพื่อผลักดันให้มีการยอมรับและปฏิบัติตามมาตรฐานอันสูงในด้านต่างๆ”
รัฐมนตรีคลัง จอร์จ ออสบอร์น (George Osborne) ของอังกฤษ ซึ่งเพิ่งเจรจาหารือเรื่องการตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งรายหนึ่งของแบงก์เพื่อการลงทุนแห่งนี้กับรัฐมนตรีคลัง แจ๊ก ลิว (Jack Lew) ของสหรัฐฯ คือผู้ที่คอยผลักดันอย่างแข็งขันให้เกิดความผูกพันทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างอังกฤษกับจีน เขาเป็นผู้ชักนำเปิดทางให้ส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนของจีน ในกิจการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พลเรือนรุ่นใหม่ๆ ในประเทศอังกฤษ ไม่เพียงเท่านั้น เขายังเป็นผู้มุ่งมั่นทำให้เป็นที่แน่ใจได้ว่า ซิตี้ ออฟ ลอนดอน (City of London ศูนย์กลางการเงินในกรุงลอนดอน) จะต้องได้เป็นสถานที่ตั้งศูนย์หักบัญชี (clearing house) สำหรับเงินหยวนจีน แห่งแรกซึ่งตั้งอยู่นอกทวีปเอเชีย
คณะรัฐบาลสหรัฐฯนั้นแสดงท่าทีให้เห็นอย่างชัดเจนชนิดไม่มีกระมิดกระเมี้ยนเลยว่า ตนเองไม่พอใจต่อการที่ออสบอร์นตัดสินใจที่จะเข้าร่วมในธนาคาร AIIB ดังที่หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ (Financial Times) รายงาน โดยอ้างเจ้าหน้าที่สหรัฐฯผู้หนึ่งกล่าวว่า “เรามีความไม่สบายใจเกี่ยวกับความโน้มเอียงอย่างผิดๆ ที่มุ่งไปสู่การพะเน้าพะนอเอาใจจีนอยู่เรื่อยๆ ซึ่งนี่ย่อมไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุดในการมีปฏิสัมพันธ์กับมหาอำนาจที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมา”
อังกฤษนั้นไม่ได้ประหลาดใจอะไรกับการที่คณะรัฐบาลสหรัฐฯตัดสินใจแถลงแสดงความห่วงใยของตนให้สาธารณชนรับทราบ หลังจากที่อังกฤษเองได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะเข้าร่วมในธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งใหม่นี้ แหล่งข่าวหลายรายระบุว่านอกเหนือจากการพูดจาหารือกันในเรื่องแผนการของอังกฤษ ในระดับรัฐมนตรีคลังของทั้งสองประเทศแล้ว เจ้าหน้าที่ของอังกฤษกับของสหรัฐฯยังมีการติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอก่อนหน้าการประกาศอย่างเป็นทางการของอังกฤษ เจ้าหน้าที่อังกฤษหลายรายกล่าวย้ำว่า จากการเข้าร่วมในแบงก์แห่งนี้ในฐานะที่เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งรายหนึ่ง อังกฤษก็จะสามารถแสดงบทบาทในการปรับแต่งรูปโฉมของสถาบันแห่งใหม่นี้ได้
ในคำแถลงที่ส่งมายังหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวใช้ข้อความว่า “จุดยืนของเราในเรื่องธนาคาร AIIB ยังคงกระจ่างชัดและคงเส้นคงวา สหรัฐฯตลอดจนระบบเศรษฐกิจใหญ่ๆ ของโลกเป็นจำนวนมาก ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนจริงจังที่จะต้องส่งเสริมเพิ่มพูนการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานในที่ต่างๆ ทั่วโลก เราเชื่อว่าสถาบันพหุภาคีใดๆ ที่จะจัดตั้งขึ้นมาใหม่ ควรที่จะยึดมั่นและปฏิบัติตามมาตรฐานอันสูงในด้านต่างๆ ของธนาคารโลกและของธนาคารพัฒนาระดับภูมิภาคทั้งหลาย
“จากการหารือถกเถียงกันอย่างมากมาย เรามีความกังวลหลายประการในเรื่องที่ว่าธนาคาร AIIB นี้จะยึดมั่นและปฏิบัติตามมาตรฐานอันสูงเหล่านี้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาล, ตลอดจนการคุ้มครองป้องกันสิ่งแวดล้อมและการคุ้มครองป้องกันทางสังคม ... ประชาคมระหว่างประเทศนั้นย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียเช่นกัน และต้องการเห็น AIIB เข้ามีส่วนเสริมต่อโครงสร้างซึ่งดำรงอยู่แล้ว รวมทั้งเข้าร่วมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเคียงข้างธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย”
ทางด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ ตลอดจนฝ่ายอื่นๆ ก็ได้ส่งเสียงร่ำร้องมาระยะหนึ่งแล้ว ว่า อังกฤษได้กลายเป็นผู้ที่พร้อมเอาอกเอาใจพะเน้าพะนอจีนมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากการที่รัฐบาลอังกฤษค่อนข้างเงียบเฉยไม่ค่อยได้พูดอะไรทั้งๆ ที่จีนกำหนดรูปแบบการเลือกตั้งซึ่งเป็นการจำกัดลิดรอนสิทธิในการออกเสียงในฮ่องกง แต่สำหรับการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ในวันพฤหัสบดี (12 มี.ค.) ของพวกเขานั้น ดูจะมุ่งโฟกัสไปที่เรื่องธนาคาร AIIB
“ผมคิดว่าสหรัฐฯนั้นมีคำถามข้อข้องใจเกี่ยวกับท่าทีของอังกฤษซึ่งมีต่อจีน ในประเด็นปัญหาอื่นๆ อยู่แล้ว และผมสันนิษฐานว่าการประกาศของอังกฤษในคราวนี้อาจจะเป็นการจุดชนวนให้เกิดความห่วงใยขึ้นมาใหม่ในวอชิงตัน เกี่ยวกับภาพรวมของการเมืองที่อังกฤษใช้เล่นกับจีน แต่ธรรมดาแล้ว (เรา) ย่อมไม่พิจารณาตัดสินชี้ขาดเรื่องอย่างนี้กันต่อหน้าสาธารณชน ผมเองยังไม่ค่อยแน่ใจถึงเหตุผลที่ทำให้สหรัฐฯเลือกจะทะเลาะกับอังกฤษด้วยประเด็นเรื่องธนาคารนี้ในตอนนี้ เพราะผมคิดว่าสหรัฐฯได้ผ่อนเพลาท่าทีของตนในเรื่องแบงก์นี้ลงมาแล้ว มันจึงทำให้ผมรู้สึกแปลกใจนิดหน่อย” แมตธิว กู๊ดแมน (Matthew Goodman) ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเศรษฐกิจเอเชีย ณ ศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (Center for Strategic and International Studies) ให้ความเห็น
กู๊ดแมนบอกว่า สหรัฐฯได้ตั้งคำถามที่ชอบด้วยเหตุผลหลายข้อทีเดียวเกี่ยวกับแบงก์ AIIB เมื่อตอนที่มีการประกาศเกี่ยวกับเรื่องนี้ครั้งแรกสุดในช่วงกลางปีที่แล้ว เป็นต้นว่า เรื่องธรรมาภิบาลของสถาบันแห่งนี้, มาตรฐานต่างๆ ในการปล่อยกู้, และระเบียบกฎเกณฑ์ในการจัดซื้อจัดจ้าง
“แต่กระนั้นก็ตาม ผมคิดว่าพวกเขาควรที่จะแสดงความปรารถนามากกว่านี้ในการเข้าร่วมการหารือถกเถียงกับจีนและชาติอื่นๆ เกี่ยวกับสถาบันนี้ ในเอเชียนั้นมีช่องว่างใหญ่มากทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยที่พวกสถาบันซึ่งมีอยู่แล้วไม่สามารถที่จะอุดช่องว่างนี้ได้ ขณะที่จีนมีเงินทองซึ่งจะสร้างคุณประโยชน์ได้ถ้าหากอยู่ในเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม”
มีบางฝ่ายสันนิษฐานว่า สหรัฐฯคือผู้ที่มีบทบาทรับผิดชอบ เมื่อตอนที่ออสเตรเลียถอยห่างออกมา จากการเข้าร่วมลงนามเป็นผู้ก่อตั้งแบงก์แห่งนี้ ในระหว่างการประชุมระดับผู้นำของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC) ในกรุงปักกิ่งเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว หลังจากมีข่าวลือกันกระฉ่อนว่าออสเตรเลียกำลังจะตัดสินใจเข้าร่วม
“จริงๆ แล้วสหรัฐฯก็ได้ไปพูดจากับออสเตรเลีย, เกาหลี, และชาติอื่นๆ เพื่อหารือกันเกี่ยวกับคำถามและความห่วงใยต่างๆ และนั่นก็ถูกตีความว่าเป็นการโน้มน้าวไม่ให้เหล่าชาติพันธมิตรเข้าร่วมในธนาคารแห่งนี้” กู๊ดแมนแจกแจง
ในส่วนของจีนนั้น ในฐานะที่เป็นระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก จีนมีความหงุดหงิดผิดหวังเพิ่มมากขึ้นทุกที จากการที่มิได้มีอิทธิพลเท่าที่ควรในไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก อีกทั้งแทบมองไม่เห็นเช่นกันว่าจะมีโอกาสเพิ่มสิทธิเพิ่มเสียงของตนได้อย่างไร ในธนาคารพัฒนาเอเชียซึ่งญี่ปุ่นหนุนหลังอยู่
(จากหนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียน (The Guandian) ฉบับวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2015 รายงานข่าวโดย นิโคลัส วัตต์ พอล ลิวอิส และ ทาเนีย บรานิแกน)
US irked at UK backing China-led infrastructure bank
13/03/2015
การที่อังกฤษตัดสินใจที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งรายหนึ่งของ “ธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย” ซึ่งมีจีนเป็นตัวตั้งตัวตีผลักดันอยู่ กำลังทำให้ทำเนียบขาวบังเกิดความโกรธกริ้ว โดยที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯผู้หนึ่งพูดกล่าวหาอังกฤษว่า กำลังเกิดความ ”โน้มเอียงอย่างผิดๆ ที่มุ่งไปสู่การพะเน้าพะนอเอาใจจีนอยู่เรื่อยๆ”
ทำเนียบขาวเพิ่งมีคำแถลงที่ใช้ถ้อยคำชัดเจนตรงไปตรงมา โดยประกาศว่าตนเองคาดหวังและคาดหมายว่าอังกฤษจะใช้อิทธิพลของตนเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า ในธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งใหม่ที่จีนเป็นตัวตั้งตัวตีจัดตั้งขึ้นมา และอังกฤษกำลังจะเข้าร่วมด้วยนั้น จะมีการยึดมั่นปฏิบัติตามมาตรฐานระดับสูงทางด้านธรรมาภิบาล
ในการแสดงให้เห็นรอยร้าวฉานของความสัมพันธ์พิเศษระหว่างสหรัฐฯกับอังกฤษให้สาธารณชนได้รับทราบซึ่งนานๆ ครั้งนักจึงจะเกิดขึ้นมา ทำเนียบขาวได้ส่งสัญญาณให้เห็นว่า ไม่สบายใจต่อการตัดสินใจของอังกฤษที่จะเข้าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งรายหนึ่งของ ธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) โดยกล่าวแสดงความเป็นห่วงในเรื่องที่ว่า หน่วยงานใหม่แห่งนี้จะสามารถยึดมั่นปฏิบัติตามมาตรฐานของ ธนาคารโลก ได้หรือไม่
พวกเจ้าหน้าที่วอชิงตันนั้น มองธนาคารแห่งใหม่นี้ซึ่งจะมีทุนจดทะเบียน 50,000 ล้านดอลลาร์ และจะทำหน้าที่จัดสรรเงินทุนให้แก่โครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยความระแวงสงสัย และเห็นว่ามันจะกลายเป็นคู่แข่งขันของธนาคารโลก พวกเขาเชื่อว่าปักกิ่งจะใช้ธนาคารแห่งนี้เพื่อการขยาย “อำนาจละมุน” (soft power) ของตนในภูมิภาคแถบนี้
ในคำแถลงของทำเนียบขาว ใช้ถ้อยคำเอาไว้เช่นนี้ “นี่เป็นการตัดสินใจตามอำนาจอธิปไตยของอังกฤษ เราคาดหวังและคาดหมายว่าอังกฤษจะใช้ปากเสียงของตน เพื่อผลักดันให้มีการยอมรับและปฏิบัติตามมาตรฐานอันสูงในด้านต่างๆ”
รัฐมนตรีคลัง จอร์จ ออสบอร์น (George Osborne) ของอังกฤษ ซึ่งเพิ่งเจรจาหารือเรื่องการตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งรายหนึ่งของแบงก์เพื่อการลงทุนแห่งนี้กับรัฐมนตรีคลัง แจ๊ก ลิว (Jack Lew) ของสหรัฐฯ คือผู้ที่คอยผลักดันอย่างแข็งขันให้เกิดความผูกพันทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างอังกฤษกับจีน เขาเป็นผู้ชักนำเปิดทางให้ส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนของจีน ในกิจการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พลเรือนรุ่นใหม่ๆ ในประเทศอังกฤษ ไม่เพียงเท่านั้น เขายังเป็นผู้มุ่งมั่นทำให้เป็นที่แน่ใจได้ว่า ซิตี้ ออฟ ลอนดอน (City of London ศูนย์กลางการเงินในกรุงลอนดอน) จะต้องได้เป็นสถานที่ตั้งศูนย์หักบัญชี (clearing house) สำหรับเงินหยวนจีน แห่งแรกซึ่งตั้งอยู่นอกทวีปเอเชีย
คณะรัฐบาลสหรัฐฯนั้นแสดงท่าทีให้เห็นอย่างชัดเจนชนิดไม่มีกระมิดกระเมี้ยนเลยว่า ตนเองไม่พอใจต่อการที่ออสบอร์นตัดสินใจที่จะเข้าร่วมในธนาคาร AIIB ดังที่หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ (Financial Times) รายงาน โดยอ้างเจ้าหน้าที่สหรัฐฯผู้หนึ่งกล่าวว่า “เรามีความไม่สบายใจเกี่ยวกับความโน้มเอียงอย่างผิดๆ ที่มุ่งไปสู่การพะเน้าพะนอเอาใจจีนอยู่เรื่อยๆ ซึ่งนี่ย่อมไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุดในการมีปฏิสัมพันธ์กับมหาอำนาจที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมา”
อังกฤษนั้นไม่ได้ประหลาดใจอะไรกับการที่คณะรัฐบาลสหรัฐฯตัดสินใจแถลงแสดงความห่วงใยของตนให้สาธารณชนรับทราบ หลังจากที่อังกฤษเองได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะเข้าร่วมในธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งใหม่นี้ แหล่งข่าวหลายรายระบุว่านอกเหนือจากการพูดจาหารือกันในเรื่องแผนการของอังกฤษ ในระดับรัฐมนตรีคลังของทั้งสองประเทศแล้ว เจ้าหน้าที่ของอังกฤษกับของสหรัฐฯยังมีการติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอก่อนหน้าการประกาศอย่างเป็นทางการของอังกฤษ เจ้าหน้าที่อังกฤษหลายรายกล่าวย้ำว่า จากการเข้าร่วมในแบงก์แห่งนี้ในฐานะที่เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งรายหนึ่ง อังกฤษก็จะสามารถแสดงบทบาทในการปรับแต่งรูปโฉมของสถาบันแห่งใหม่นี้ได้
ในคำแถลงที่ส่งมายังหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวใช้ข้อความว่า “จุดยืนของเราในเรื่องธนาคาร AIIB ยังคงกระจ่างชัดและคงเส้นคงวา สหรัฐฯตลอดจนระบบเศรษฐกิจใหญ่ๆ ของโลกเป็นจำนวนมาก ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนจริงจังที่จะต้องส่งเสริมเพิ่มพูนการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานในที่ต่างๆ ทั่วโลก เราเชื่อว่าสถาบันพหุภาคีใดๆ ที่จะจัดตั้งขึ้นมาใหม่ ควรที่จะยึดมั่นและปฏิบัติตามมาตรฐานอันสูงในด้านต่างๆ ของธนาคารโลกและของธนาคารพัฒนาระดับภูมิภาคทั้งหลาย
“จากการหารือถกเถียงกันอย่างมากมาย เรามีความกังวลหลายประการในเรื่องที่ว่าธนาคาร AIIB นี้จะยึดมั่นและปฏิบัติตามมาตรฐานอันสูงเหล่านี้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาล, ตลอดจนการคุ้มครองป้องกันสิ่งแวดล้อมและการคุ้มครองป้องกันทางสังคม ... ประชาคมระหว่างประเทศนั้นย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียเช่นกัน และต้องการเห็น AIIB เข้ามีส่วนเสริมต่อโครงสร้างซึ่งดำรงอยู่แล้ว รวมทั้งเข้าร่วมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเคียงข้างธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย”
ทางด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ ตลอดจนฝ่ายอื่นๆ ก็ได้ส่งเสียงร่ำร้องมาระยะหนึ่งแล้ว ว่า อังกฤษได้กลายเป็นผู้ที่พร้อมเอาอกเอาใจพะเน้าพะนอจีนมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากการที่รัฐบาลอังกฤษค่อนข้างเงียบเฉยไม่ค่อยได้พูดอะไรทั้งๆ ที่จีนกำหนดรูปแบบการเลือกตั้งซึ่งเป็นการจำกัดลิดรอนสิทธิในการออกเสียงในฮ่องกง แต่สำหรับการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ในวันพฤหัสบดี (12 มี.ค.) ของพวกเขานั้น ดูจะมุ่งโฟกัสไปที่เรื่องธนาคาร AIIB
“ผมคิดว่าสหรัฐฯนั้นมีคำถามข้อข้องใจเกี่ยวกับท่าทีของอังกฤษซึ่งมีต่อจีน ในประเด็นปัญหาอื่นๆ อยู่แล้ว และผมสันนิษฐานว่าการประกาศของอังกฤษในคราวนี้อาจจะเป็นการจุดชนวนให้เกิดความห่วงใยขึ้นมาใหม่ในวอชิงตัน เกี่ยวกับภาพรวมของการเมืองที่อังกฤษใช้เล่นกับจีน แต่ธรรมดาแล้ว (เรา) ย่อมไม่พิจารณาตัดสินชี้ขาดเรื่องอย่างนี้กันต่อหน้าสาธารณชน ผมเองยังไม่ค่อยแน่ใจถึงเหตุผลที่ทำให้สหรัฐฯเลือกจะทะเลาะกับอังกฤษด้วยประเด็นเรื่องธนาคารนี้ในตอนนี้ เพราะผมคิดว่าสหรัฐฯได้ผ่อนเพลาท่าทีของตนในเรื่องแบงก์นี้ลงมาแล้ว มันจึงทำให้ผมรู้สึกแปลกใจนิดหน่อย” แมตธิว กู๊ดแมน (Matthew Goodman) ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเศรษฐกิจเอเชีย ณ ศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (Center for Strategic and International Studies) ให้ความเห็น
กู๊ดแมนบอกว่า สหรัฐฯได้ตั้งคำถามที่ชอบด้วยเหตุผลหลายข้อทีเดียวเกี่ยวกับแบงก์ AIIB เมื่อตอนที่มีการประกาศเกี่ยวกับเรื่องนี้ครั้งแรกสุดในช่วงกลางปีที่แล้ว เป็นต้นว่า เรื่องธรรมาภิบาลของสถาบันแห่งนี้, มาตรฐานต่างๆ ในการปล่อยกู้, และระเบียบกฎเกณฑ์ในการจัดซื้อจัดจ้าง
“แต่กระนั้นก็ตาม ผมคิดว่าพวกเขาควรที่จะแสดงความปรารถนามากกว่านี้ในการเข้าร่วมการหารือถกเถียงกับจีนและชาติอื่นๆ เกี่ยวกับสถาบันนี้ ในเอเชียนั้นมีช่องว่างใหญ่มากทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยที่พวกสถาบันซึ่งมีอยู่แล้วไม่สามารถที่จะอุดช่องว่างนี้ได้ ขณะที่จีนมีเงินทองซึ่งจะสร้างคุณประโยชน์ได้ถ้าหากอยู่ในเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม”
มีบางฝ่ายสันนิษฐานว่า สหรัฐฯคือผู้ที่มีบทบาทรับผิดชอบ เมื่อตอนที่ออสเตรเลียถอยห่างออกมา จากการเข้าร่วมลงนามเป็นผู้ก่อตั้งแบงก์แห่งนี้ ในระหว่างการประชุมระดับผู้นำของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC) ในกรุงปักกิ่งเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว หลังจากมีข่าวลือกันกระฉ่อนว่าออสเตรเลียกำลังจะตัดสินใจเข้าร่วม
“จริงๆ แล้วสหรัฐฯก็ได้ไปพูดจากับออสเตรเลีย, เกาหลี, และชาติอื่นๆ เพื่อหารือกันเกี่ยวกับคำถามและความห่วงใยต่างๆ และนั่นก็ถูกตีความว่าเป็นการโน้มน้าวไม่ให้เหล่าชาติพันธมิตรเข้าร่วมในธนาคารแห่งนี้” กู๊ดแมนแจกแจง
ในส่วนของจีนนั้น ในฐานะที่เป็นระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก จีนมีความหงุดหงิดผิดหวังเพิ่มมากขึ้นทุกที จากการที่มิได้มีอิทธิพลเท่าที่ควรในไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก อีกทั้งแทบมองไม่เห็นเช่นกันว่าจะมีโอกาสเพิ่มสิทธิเพิ่มเสียงของตนได้อย่างไร ในธนาคารพัฒนาเอเชียซึ่งญี่ปุ่นหนุนหลังอยู่
(จากหนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียน (The Guandian) ฉบับวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2015 รายงานข่าวโดย นิโคลัส วัตต์ พอล ลิวอิส และ ทาเนีย บรานิแกน)