(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
'Red terror' guide to battling extremists
By Francesco Sisci
14/01/2015
เหตุการณ์โจมตีเข่นฆ่าในลักษณะพฤติการณ์ก่อการร้าย ต่อสำนักงานของ “ชาร์ลี เอ็บโด” นิตยสารรายสัปดาห์แนวเสียดสีของฝรั่งเศส เป็นหลักหมายแสดงถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อในการรณรงค์ต่อสู้ของพวกอิสลามิสต์หัวรุนแรงสุดโต่งซึ่งเปิดศึกกับเหล่าชาติตะวันตก เหตุการณ์คราวนี้ควรต้องถือว่ามีความหมายสำคัญมาก เนื่องจากมันเป็นการกระทำของผู้คนที่อยู่ภายในฝรั่งเศสเอง ไม่ใช่เป็นมือปฏิบัติการซึ่งส่งมาจากต่างแดน ในสถานการณ์เช่นนี้ หนึ่งในบทเรียนจากอดีตซึ่งสามารถนำมาศึกษาเปรียบเทียบได้ น่าจะเป็นการต่อสู้กับ “การก่อการร้ายของพวกนิยมคอมมิวนิสต์” ในอิตาลีเมื่อช่วงทศวรรษ 1970 และทศวรรษ 1980
อย่างที่ผู้คนจำนวนมากพากันตั้งข้อสังเกตขึ้นมา การโจมตีเข่นฆ่าอย่างโหดร้ายป่าเถื่อนในลักษณะพฤติการณ์ก่อการร้าย ต่อสำนักงานของ “ชาร์ลี เอ็บโด” นิตยสารรายสัปดาห์แนวเสียดสีของฝรั่งเศส เป็นหลักหมายแสดงถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ ในการรณรงค์ต่อสู้ของพวกอิสลามิสต์หัวรุนแรงสุดโต่งซึ่งเปิดศึกกับเหล่าชาติตะวันตก เหตุการณ์คราวนี้ควรต้องถือว่ามีความหมายสำคัญมาก เนื่องจากมันเป็นการกระทำของผู้คนที่อยู่ภายในฝรั่งเศสเอง ไม่ใช่เป็นมือปฏิบัติการหรือผู้อพยพซึ่งมาจากต่างแดน ดังเช่นการโจมตีหลายต่อหลายครั้งในอดีตที่ผ่านมา นอกจากนั้นมันยังเป็นพฤติการณ์ซึ่งแตะต้องประสาทสัมผัสอันอ่อนไหวอย่างยิ่งของพวกประเทศตะวันตก นั่นคือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น จนกระทั่งทำให้ในเวลานี้พวกนักหนังสือพิมพ์ชาวตะวันตกอาจจะพากันรู้สึกแล้วว่า ถูกขู่ขวัญให้หวาดผวาจากภัยคุกคามของผู้ก่อการร้ายเหล่านี้
แน่นอนทีเดียว ในอดีตที่ผ่านมามีนักหนังสือพิมพ์ชาวตะวันตกจำนวนไม่น้อยถูกเข่นฆ่าถูกสังหาร ทว่ามันเป็นการสิ้นชีวิตในสนาม ในการทำหน้าที่อยู่ในประเทศมุสลิมต่างๆ ไม่ใช่ในประเทศบ้านเกิดของพวกเขาเอง นอกจากนั้นการก่อเหตุโจมตีทั้งหลายไม่ว่าจะเกิดขึ้นในอเมริกา, อังกฤษ, สเปน, หรือที่อื่นๆ ล้วนแล้วแต่ต้องได้รับความช่วยเหลือและได้รับความสนับสนุนจากพวกคนท้องถิ่นที่เห็นอกเห็นใจ โดยที่การเห็นอกเห็นใจเช่นนี้ เป็นคุณสมบัติซึ่งต่ำลงมาเพียงขั้นเดียวจากการเข้ามีส่วนร่วมในการโจมตีอย่างกระตือรือร้นแข็งขัน ข้อเท็จจริงที่ว่ามีเด็กหนุ่มชาวฝรั่งเศสท้องถิ่นซึ่งศรัทธานับถืออิสลาม ได้วางแผนและดำเนินการโจมตีคราวนี้ขึ้นมา โดยที่ระบบข่าวกรองของฝรั่งเศสเหมือนกับจะไม่ได้รู้เห็นได้ข่าวคราวอะไร ดูจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า หลายๆ ส่วนของเมืองใหญ่ๆ ในฝรั่งเศสนั้นกำลังอยู่นอกเหนือการควบคุมของทางการ และในทางเป็นจริงแล้วตกอยู่ในมือของผู้คนซึ่งมีความเห็นอกเห็นใจต่อการต่อสู้ของพวกหัวรุนแรงสุดโต่งเหล่านี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความของเอเชียไทมส์ออนไลน์เอง ได้แก่เรื่อง Don't mourn – neutralize ของ Spengler เว็บเพจ http://www.atimes.com/atimes/World/WOR-01-090115.html หรืออ่านฉบับที่เก็บความเป็นภาษาไทยแล้วได้ที่เว็บเพจ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000005735 และเรื่อง Charlie Hebdo: A failure of policy ของ Gunter Bachmann ที่เว็บเพจ http://www.atimes.com/atimes/World/WOR-01-120115.html หรืออ่านฉบับเก็บความภาษาไทยที่ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000006038)
สเปงเกลอร์ หนึ่งในผู้เขียนบทความที่เพิ่งอ้างอิงไว้ข้างต้นนี้ ได้กล่าวไว้ในบทความของเขาว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคราวนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นบ้านของชาวมุสลิมจำนวน 6 ล้านคน เท่ากับประมาณ 10% ของประชากรทั้งหมดในฝรั่งเศส กระทั่งถ้าชาวมุสลิมเหล่านี้เพียงแค่ 1% หรือเท่ากับ 6,000 คน กลายเป็นผู้เห็นอกเห็นใจกับอุดมการณ์การต่อสู้ของพวกผู้ก่อการร้าย มันก็คงจะเป็น “น้ำ” ปริมาณเพียงพอแล้ว สำหรับให้ “ปลา” อันตรายจำนวนหนึ่งแหวกว่ายเคลื่อนไหวได้ในฝรั่งเศส อย่างที่ เหมา เจ๋อตุง ได้เคยสรุปเป็นแนวคิดทฤษฎีเอาไว้ สภาวการณ์เช่นนี้ยังเป็นไปได้และสมควรที่จะขยายนำมาคิดคำนวณกันในระดับทั่วทั้งทวีปยุโรปอีกด้วย ทั้งนี้ประชากรชาวมุสลิมในยุโรปนั้นมีจำนวนรวมกันกว่า 20 ล้านคน โดยที่ในอังกฤษ, เยอรมนี, อิตาลี, และสเปน พื้นที่เขตเมืองใหญ่บางแห่งมีสภาพไม่ได้ดีกว่าแถบชานเมืองกรุงปารีสเท่าใดเลย ยิ่งเมื่อยุโรปไม่ได้มีมาตรการควบคุมทางพรมแดนอย่างแข็งขันใดๆ ต่อพลเมือง ประกอบกับมีเส้นทางรถไฟและถนนหลวงที่สามารถเดินทางได้อย่างเสรีจากชายแดนรัสเซียไปจนถึงชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของโปรตุเกส ก็ยิ่งมี “น้ำ” ปริมาณเพียงพอให้พวกผู้ก่อการร้ายหลายสิบรายสามารถแหวกว่ายได้อย่างเสรี
ในสถานการณ์เช่นนี้ หนึ่งในบทเรียนจากอดีตซึ่งสามารถนำมาศึกษาเปรียบเทียบได้ น่าจะเป็นการต่อสู้กับ “การก่อการร้ายของพวกนิยมคอมมิวนิสต์” (Red terrorism) ในอิตาลีเมื่อช่วงทศวรรษ 1970 และทศวรรษ 1980 (หมายเหตุผู้แปล – ขบวนการที่ฟรานเชสโก ซิสซี ผู้เขียนบทความชิ้นนี้เรียกว่า Red terrorism นั้น มีชื่อเรียกขานกันทั่วไปว่า Red Brigades หรือในภาษาอิตาลีใช้ว่า Brigate Rosse --ข้อมูลจาก Wikipedia)
ในเวลานั้น พวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงสุดโต่งกลุ่มหนึ่ง พยายามที่จะก่อกระแสการก่อการร้ายขึ้นในอิตาลี ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะผลักไสให้รัฐอิตาลีต้องเข้าทำการปราบปรามกวาดล้างอย่างดุดันโหดเหี้ยม พวกผู้ก่อการร้ายกลุ่มนี้วาดหวังว่าการปฏิบัติการของพวกเขาจะทำให้เกิดมีผู้เห็นอกเห็นใจขึ้นในหมู่ประชากรที่นิยมคอมมิวนิสต์ในอิตาลี โดยที่ประชากรเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มใหญ่โตทีเดียว เพราะในขณะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี (Italian Communist Party ใช้อักษรย่อว่า PCI) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองถูกกฎหมายและลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งด้วย ได้รับคะแนนเสียงถึงราว 30% ของผู้ออกเสียงทั้งหมด แต่ปรากฏว่าปฏิกิริยาตอบโต้อันชาญฉลาดทันเกมของพรรคคริสเตียนเดโมแครต (Christian Democrats ใช้อักษรย่อว่า DC) ที่เป็นพรรครัฐบาลอยู่ในตอนนั้น กลับเป็นการใช้ความพยายามเพื่อที่ดึงพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับตนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเกือบจะดึงเอาพรรคนี้เข้ามาร่วมอยู่ในระบบอำนาจกระแสหลักเอาทีเดียว นอกจากนั้นพรรคคริสเตียนเดโมแครตยังพยายามป่าวร้องแจกแจงให้เห็นว่า ในเวลานั้นยังมีภัยคุกคามจากกระแสต่อต้านคอมมิวนิสต์ จากการก่อการร้ายของพวกฟาสซิสต์ขวาจัด และดังนั้นจึงมีความเสี่ยงอย่างแท้จริงที่อิตาลีตลอดจนพรรคคอมมิวนิสต์ จะตกลงไปในท่ามกลางสงครามกลางเมือง ซึ่งเป็นการต่อสู้ขัดแย้งกันระหว่างพวกหัวรุนแรงสุดโต่งฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา
พรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี ซึ่งตกอยู่ระหว่างความชั่วร้ายที่ด้านหนึ่งต้องประสบกับความเย้ายวนให้เข้าร่วมแบ่งปันอำนาจกับชนชั้นปกครอง ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่กำลังจะถูกบดขยี้ในการปราบปรามแบบเบ็ดเสร็จ ได้ตัดสินใจเลือกหนทางหันมาช่วยเหลืออย่างเอาการเอางานในการโดดเดี่ยวกลุ่มผู้ก่อการร้ายแดง อันที่จริงแล้ว ในทางพฤตินัยนั้น ยุทธศาสตร์ภายในอิตาลีเช่นนี้ ยังมีการดำเนินการคู่ขนานไปกับความพยายามทางด้านภายนอกของคริสตจักรคาทอลิก ณ “กองบัญชาการใหญ่” ในกรุงโรม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลักที่จะก่อกระแสสนับสนุนค่านิยมเรื่องเสรีภาพขึ้นมา ในท่ามกลางการต่อสู้ที่คริสตจักรนี้กระทำกับลัทธิอเทวนิยม (หมายเหตุผู้แปล –เห็นได้ชัดว่าในที่นี้ ผู้เขียนคือฟรานเชสโก ซิสซี หมายถึงลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นลัทธิที่ไม่เชื่อถือพระเจ้า ไม่เอาศาสนา นั่นเอง) ในยุโรปตะวันออก --โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปแลนด์ ที่มีประชากรจำนวนมากเป็นคาทอลิก ความพยายามเช่นนี้ในยุโรปตะวันออก บวกกับการตัดสินใจของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีนี่เอง ได้กลายเป็นปัจจัยผลักดันให้จักรวรรดิสหภาพโซเวียต ลดทอนความมุ่งมั่นที่จะพยายามช่วยเหลือสนับสนุนพวกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ชาวอิตาลี ซึ่งมีผลทำให้กลุ่มก่อการร้าย “แดง” นี้ อ่อนแอลงไป
จากการทุ่มเทลงแรงอย่างมโหฬารในทางการเมืองเช่นนี้แหละ ก่อให้เกิดเงื่อนไขซึ่งเปรียบเสมือนการระบาย “น้ำ” ที่พวก “ปลา” นักก่อการร้ายกำลังแหวกว่ายอยู่ ให้หดพร่องลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงเปิดทางให้พวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวกรองสามารถจับปลาอันตรายเหล่านี้ได้ โดยเป็นอันตรายต่อสังคมอิตาลีและต่อประชากรชาวคอมมิวนิสต์อิตาลีซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกรักสันติ ให้น้อยที่สุดหรือกระทั่งไม่ทำให้เกิดภัยอันตรายใดๆ เลย
มาถึงตอนนี้ เราจึงควรต้องใช้ความพยายามอย่างเดียวกัน แต่ในขนาดขอบเขตที่ใหญ่โตกว้างขวางกว่าตอนนั้นมาก เพื่อพลิกผันตีโต้กระแสของพวกผู้ก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงสุดโต่งในยุโรปและในทั่วโลก ขณะเดียวกับที่รับรู้รับทราบว่าปรากฏการณ์ในปัจจุบันนั้น ในหลายๆ แง่มุมแล้ว มีความแตกต่างออกไปค่อนข้างมากจากประสบการณ์เก่าในอิตาลี
ในการใช้ความพยายามอย่างใหญ่โตมโหฬารดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แน่นอนทีเดียวที่โลกตะวันตกโดยรวม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกรัฐในทวีปยุโรปทั้งหลาย จะต้องบูรณาการและค่อยๆ หลอมรวมชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมซึ่งกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้กลมกลืนเข้ากับสังคมของตน ทว่ากระบวนการเช่นนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องทำได้ง่ายๆ ความเจ็บแค้นข้องใจในหมู่ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมนั้นมีสาเหตุที่มาที่ไปเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นย่อมได้แก่เรื่องเศรษฐกิจ การที่เศรษฐกิจของยุโรปตกอยู่ในภาวะถดถอย กำลังทำให้ตำแหน่งงานต่างๆ หายวับไปเป็นล้านๆ ตำแหน่ง ปล่อยทิ้งให้ผู้ว่างงานโผเข้าไปอยู่ในอ้อมกอดของพวกมุสลิมหัวรุนแรง หรือไม่ก็ในทางตรงกันข้ามไปเลย นั่นคือทำให้พวกกลุ่มขวาจัดพรรคการเมืองต่อต้านมุสลิมและเหยียดเชื้อชาติทั้งหลาย สามารถโผล่หัวเสนอหน้าออกมาในทั่วทั้งยุโรป ไล่ตั้งแต่พรรค UKIP ในอังกฤษ ที่ต้องการให้ประเทศถอนตัวจากสหภาพยุโรป ไปจนถึงพรรคขวาจัดในฝรั่งเศสของ มารีน เลอ แปน (Marine Le Pen) และกลุ่ม “สันนิบาตฝ่ายเหนือ” (Lega Nord) ในอิตาลี เป็นอาทิ
ด้วยเหตุนี้ ความเสี่ยงที่ยุโรปและชาวมุสลิมในยุโรป ตลอดจนประเทศมุสลิมทั้งหลายกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้ จึงมีความละม้ายคล้ายคลึงอย่างมากกับภยันตรายในอิตาลีเมื่อ 30 ปีก่อน กล่าวคือ อาจจะถูกท่วมท้นด้วยกระแสอิสลามแบบหัวรุนแรง หรือไม่ก็ในทางตรงกันข้าม อาจจะถูกซัดโครมจากพวกนักเหยียดเชื้อชาติยุโรป ซึ่งกำลังคอยดักซุ่มอยู่ตามมุมมืดต่างๆ อยู่เสมอ โดยพร้อมเข้าต่อสู้กับอิสลามในวันนี้ เฉกเช่นเดียวกับที่พวกเขาได้เคยกล่าวโทษเล่นงานชาวยิวหรือพวกสังคมนิยมมาแล้วในอดีตกาล
ภาวะแห่งการถูกผูกมัดถูกล้อมวงเอาไว้ถึง 2 ชั้นซ้อนๆ เช่นนี้ ในลำดับแรกๆ ทีเดียวอาจจะส่งผลกลายเป็นการบีบคั้นบดบี้ชาวมุสลิมสายกลางในยุโรปก่อนใครเพื่อน จากนั้นก็ถึงรอบของชาวมุสลิมสายกลางที่อยู่ในประเทศอิสลามต่างๆ ในลักษณะเดียวกันกับความชั่วร้ายสองด้านที่กระทำเอากับพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีเมื่อทศวรรษ 1970 และ 1980 นั่นเอง
ด้วยความตระหนักรับรู้ถึงอันตรายเช่นนี้แหละ เมื่อเร็วๆ นี้ ประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตอห์ เอล-ซิซี (Abdel Fattah el-Sisi) แห่งอียิปต์ จึงได้ออกมาเรียกร้องให้เหล่านักปราชญ์ทางศาสนาอิสลาม ขีดเส้นแบ่งให้ชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่างชาวมุสลิมกับพวกหัวรุนแรงสุดโต่งคลั่งสงคราม [1] ความพยายามเช่นนี้ต้องถือว่ามีความสำคัญในระดับรากเหง้าต้นตอทีเดียว กระนั้นก็ยังคงไม่เพียงพอ การที่ในโลกตะวันตกและในประเทศมุสลิมมีทัศนะที่ผิดแผกแตกต่างกัน ในเรื่องสังคมที่มีขันติธรรมความอดกลั้น กับสังคมที่ไม่มีขันติธรรมความอดกลั้น ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมอันไม่สมดุล 2 แบบขึ้นมา และความไม่สมดุลนี้ก็กลายเป็นพื้นที่เอื้ออำนวยให้ทั้งพวกหัวรุนแรงสุดโต่งอิสลามิสต์ และทั้งพวกนักลัทธิเหยียดเชื้อชาติใหม่ชาวตะวันตก (Western neo-racist) สามารถที่จะเติบใหญ่ได้ ด้วยการชี้ให้เห็นถึงความผิดแผกแตกต่างดังกล่าว
ทำไมชาวมุสลิมในโลกตะวันตกจึงสามารถที่จะตั้งมัสยิดขึ้นมาในบริเวณแค่ถัดไปจากมหาวิหารของศาสนาคริสต์ในกรุงโรม หรือใกล้ๆ กับวัดวาอารามทางพุทธศาสนา ขณะที่ชาวคริสต์, ชาวพุทธ, ชาวฮินดู, หรือชาวยิว ไม่สามารถที่จะทำอย่างเดียวกันในนครเมกกะ? ความแตกต่างเช่นนี้กำลังถูกพวกหัวรุนแรงสุดโต่งอิสลามิสต์หยิกยกขึ้นมาอ้างเป็นข้อพิสูจน์อย่างผิดๆ ว่า นี่แหละแสดงถึงความแข็งแกร่งแห่งศรัทธาความเชื่อของพวกเขา และความอ่อนแอแห่งศรัทธาความเชื่อของพวกนอกรีตนอกศาสนา และดังนั้นจึงกำลังกลายเป็นการเพิ่มกระสุนให้แก่การสู้รบต่อต้านพวกนอกรีตนอกศาสนาของพวกเขา อย่างไรก็ดี ก่อนอื่นเลยนั้น พวกหัวรุนแรงสุดโต่งเหล่านี้ก็จะต้องจัดการบดขยี้ชาวมุสลิมหัวปานกลาง ซึ่งทั้งยืนขวางทางพวกเขาอยู่ และทั้งยังเป็นผู้มีความปรารถนาที่จะส่งออกโมเดลของขันติธรรมความอดกลั้นทางศาสนาแบบยุโรป ไปยังพวกประเทศต้นกำเนิดของพวกเขาด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง ความไม่สมดุลในสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับขันติธรรมความอดกลั้นในทางศาสนาเช่นนี้ ยังกลายเป็นช่วยเหลือให้พวกนักรบครูเสดเหยียดเชื้อชาติชาวตะวันตกสามารถที่จะขยายตัวเพิ่มจำนวนออกไปอีกด้วย พวกเขาอาจจะมองเห็นอย่างผิดๆ ว่าการมีขันติธรรมความอดกลั้นทางศาสนาในยุโรป และการไร้ขันติธรรมความอดกลั้นทางศาสนาในบางประเทศอิสลามนั้น คือเหตุผลที่ทำให้ลัทธิก่อการร้ายอิสลามิสต์ขยายตัวลุกลามออกไป และดังนั้นพวกเขาจึงต้องพยายามผลักดันให้มีการใช้มาตรการต่อต้านอิสลามในบ้านเกิดของพวกเขาเอง รวมทั้งต้องใช้จุดยืนที่แข็งกร้าวยิ่งขึ้นเพื่อคัดค้านต่อต้านเหล่าประเทศอิสลาม ดังนั้นการที่จะธำรงรักษาขันติธรรมความอดกลั้นต่อศาสนาอิสลามในโลกตะวันตกและในต่างแดนอื่นๆ เอาไว้ให้ได้ ตลอดจนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่สถานการณ์จะเลวร้ายลงไปจนกลายเป็นสงครามศาสนาขึ้นมา บรรดาประเทศอิสลามเองก็จำเป็นที่จะต้องมีขันติธรรมความอดกลั้นเพิ่มขึ้นอีกมาก โดยเฉพาะขันติธรรมความอดกลั้นต่อการเผยแผ่และการขยายตัวของศาสนาอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้ บทสรุปจึงมีว่า แน่นอนทีเดียวที่โลกตะวันตกจำเป็นที่จะต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้นอีกมากในการบูรณาการชาวมุสลิมให้เข้าสู่สังคมกระแสหลัก ทว่าสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นเป็นการตอบแทนก็คือ ชาวคริสต์, ชาวยิว, ชาวโซโรแอสเตอร์, และชาวพุทธ จะต้องสามารถหวนกลับไปยังดินแดนซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศอิสลามได้เช่นกัน นั่นแหละจึงจะสามารถรักษาอิสลามให้ปลอดพ้นจากการถูกลักพาและจากการถูกทำลายโดยพวกหัวรุนแรงสุดโต่งอิสลามิสต์
เรื่องเช่นนี้จะเกิดขึ้นมาได้ ยังจำเป็นที่ความตกลงทางการเมืองต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในประเทศอิสลามจำนวนมากในปัจจุบัน จะต้องมีการคาดคำนวณและปรับเปลี่ยนกันใหม่อย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้ ภายในประเทศเหล่านี้นั้น รัฐบาลจำนวนมากได้ยินยอมอยู่อย่างสันติแม้อย่างไม่ค่อยสบายอกสบายใจนัก กับพวกอิสลามิสต์หัวรุนแรง โดยแลกเปลี่ยนกับการที่ทางการประเทศเหล่านี้วางตัวเป็นกลางและทำเมินเฉยไม่สนใจต่อกิจกรรมบางอย่างบางประการของพวกสุดโต่ง จุดประสงค์ของการยอมแลกเปลี่ยนเช่นนี้ ก็เพื่อรักษาประคับประคองให้ประเทศของพวกเขายังคงปลอดภัยไร้การโจมตีของผู้ก่อการร้าย
ในขณะที่มองกันระยะสั้นแล้ว ความตกลงเช่นนี้อาจจะทำให้ดินแดนอาณาเขตของชาติอิสลามเหล่านี้รักษาภาวะสันติไว้ได้ ทว่าในทางเป็นจริงระยะยาวแล้วมันกลับก่อให้เกิดที่ทางเพิ่มขึ้นอย่างมากมายสำหรับให้พวกหัวรุนแรงสุดโต่งสามารถเคลื่อนไหวขยายตัวเติบใหญ่ ดังสถานการณ์ที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น มันมีแต่ทำให้พวกสุดโต่งมีอำนาจอย่างมหาศาลในการกดดันรัฐบาลจำนวนมากให้หันไปสู่การไม่มีขันติธรรมความอดกลั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จะบ่มเพาะความรุนแรงสุดโต่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้นไปอีก รวมทั้งผลักดันกระบวนการทำให้อิสลามกลายเป็นความรุนแรง (radicalization of Islam) ขณะที่รัฐบาลในประเทศอิสลามก็จะสูญเสียอำนาจอิทธิพลบารมีของตนลงไปเรื่อยๆ สภาวการณ์เช่นนี้ย่อมจะส่งผลกลายเป็นการช่วยเหลือความพยายามที่จะลักพาเอาอิสลามไปเป็นตัวประกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้เนื่องจากพวกสุดโต่งทางศาสนานั้นนิยมเล่นเกมยาว โดยแทบจะไม่สนใจหรือกระทั่งไม่สนใจเอาเลยต่อเกมสั้นๆ เฉพาะหน้า ดังนั้น ในทางเป็นจริงแล้ว การยินยอมของเหล่าประเทศอิสลามเพื่อให้เกิดภาวะสันติอันน่ากระอักกระอ่วนขึ้นมาในเวลานี้ จึงกำลังกลายเป็นการแลกเปลี่ยนกับลู่ทางโอกาสที่จะเกิดสงครามกลางเมืองแบบเต็มขั้นภายในเวลาอีกไม่ไกลเกินรอ หรือแลกเปลี่ยนกับสภาวการณ์ที่ทั่วทั้งประเทศจะถูกลักพาจับเป็นตัวประกันในทางการเมืองและในทางศาสนาในอนาคตข้างหน้า
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเหล่านี้ เป็นสิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับพวกเราทุกๆ คน ไม่เฉพาะเพียงโลกตะวันตกเท่านั้น อิสลามนั้นเป็นศาสนาในระดับโลก ในทางปฏิบัติแล้วไม่มีประเทศใดที่ไม่มีชาวมุสลิมปรากฏตัวอยู่เลย และดังนั้นการแพร่ขยายของลัทธิรุนแรงสุดโต่งอิสลามิสต์ จึงเป็นอันตรายสำหรับทุกๆ คน
มาถึงตรงนี้ เราควรที่จะพูดถึงมุมมองของจีนกันบ้าง ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงเพราะพวกหัวรุนแรงสุดโต่งมุสลิม ก็กำลังเป็นภัยคุกคามดินแดนแคว้นซินเจียง (ซินเกียง) ของจีนเท่านั้น ปฏิกิริยาตอนแรกๆ ของฝ่ายจีน [2] ซึ่งได้แก่การกระตุ้นส่งเสริมให้ดำเนินการเซนเซอร์ในโลกตะวันตก เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการยั่วยุพวกอิสลามิสต์ขึ้นมาอีกนั้น แท้ที่จริงแล้วกลับกลายเป็นการเล่นไปตามบทซึ่งพวกผู้ก่อการร้ายต้องการไปเสียฉิบ เพราะการเดินเกมไปตามแนวทางนี้ ย่อมเท่ากับการบอกกับผู้ก่อการร้ายว่า ถ้าพวกเขาสร้างแรงกดดันได้หนักหน่วงเพียงพอแล้ว พวกศัตรูก็จะโอนเอนไปในทางใดทางหนึ่ง อาจจะเป็นการยอมจำนน (ยอมกระทำสิ่งซึ่งผู้ก่อการร้ายเรียกร้องต้องการ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ ยุติการล้อเลียนเกี่ยวกับอิสลาม) หรือการเปิดฉากทำสงครามเต็มขั้นต่อต้านอิสลามเสียเลย (แต่ด้วยสงครามเต็มขั้นดังกล่าว ผู้ก่อการร้ายอิสลามิสต์ก็สามารถนำมาใช้เป็นข้อพิสูจน์บอกกับชาวมุสลิมหัวปานกลางได้ว่า พวกนอกรีตนอกศาสนานั้นมีแต่ต้องการทำสงครามครูเสดต่อต้านอิสลามเท่านั้น)
การยอมให้มีการเซนเซอร์หนังสือพิมพ์นิตยสารหรือสื่อมวลชนอย่าง ชาร์ลี เอ็บโด (ไม่ว่ามันจะเป็นนิตยสารหรือสื่อที่เนื้อหาแสนจะหยาบคายลามก และกระตุ้นโทสะมากมายแค่ไหนก็ตามที) ตามที่พวกหัวรุนแรงสุดโต่งมุสลิมเรียกร้องอยู่ มีความหมายเท่ากับว่าผู้ก่อการร้ายเป็นฝ่ายชนะเรียบร้อยแล้ว และในวันต่อๆ ไปพวกเขาก็จะสามารถข่มขู่คุกคามเหล่ารัฐบาลของชาติตะวันตก แบบเดียวกับที่พวกเขาสามารถข่มขู่คุกคามเหล่าผู้ปกครองในประเทศอิสลามอยู่แล้วในเวลานี้ อันที่จริงแล้ว การข่มขู่คุกคามเช่นนี้เป็นสิ่งที่กระทำได้ยากในโลกตะวันตก เนื่องจากตลอดช่วงเวลา 1 ศตวรรษที่ผ่านมา โลกตะวันตกได้ผ่านศึกสงครามใหญ่ถึง 2 ครั้ง ได้แก่การสู้รบกับลัทธิฟาสซิสต์ และการสู้รบกับลัทธิคอมมิวนิสต์ เพื่อรักษาเชิดชูเสรีภาพแห่งการแสดงความคิดเห็นเอาไว้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ประตูแห่งการปะทะกันระหว่างอารยธรรมก็จะถูกเปิดกว้างออกไปมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลต่อเนื่องที่ไม่อาจทำนายได้ แต่ย่อมสร้างความพออกพอใจให้แก่พวกหัวรุนแรงสุดโต่ง
หมายเหตุ
[1] ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.memritv.org/clip/en/4704.htm
[2] ดูรายละเอียดภาษาจีนได้ที่ http://news.xinhuanet.com/world/2015-01/11/c_1113952852.htm
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นนักวิจัยอาวุโสที่ทำงานอยู่กับ ศูนย์เพื่อยุโรปศึกษา (Center for European Studies) ของ มหาวิทยาลัยประชาชน (People's University) ในกรุงปักกิ่ง ความคิดเห็นที่แสดงไว้ในที่นี้เป็นของตัวเขาเอง และมิได้มีความเกี่ยวข้องในทางใดๆ กับที่ทำงานของเขา
'Red terror' guide to battling extremists
By Francesco Sisci
14/01/2015
เหตุการณ์โจมตีเข่นฆ่าในลักษณะพฤติการณ์ก่อการร้าย ต่อสำนักงานของ “ชาร์ลี เอ็บโด” นิตยสารรายสัปดาห์แนวเสียดสีของฝรั่งเศส เป็นหลักหมายแสดงถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อในการรณรงค์ต่อสู้ของพวกอิสลามิสต์หัวรุนแรงสุดโต่งซึ่งเปิดศึกกับเหล่าชาติตะวันตก เหตุการณ์คราวนี้ควรต้องถือว่ามีความหมายสำคัญมาก เนื่องจากมันเป็นการกระทำของผู้คนที่อยู่ภายในฝรั่งเศสเอง ไม่ใช่เป็นมือปฏิบัติการซึ่งส่งมาจากต่างแดน ในสถานการณ์เช่นนี้ หนึ่งในบทเรียนจากอดีตซึ่งสามารถนำมาศึกษาเปรียบเทียบได้ น่าจะเป็นการต่อสู้กับ “การก่อการร้ายของพวกนิยมคอมมิวนิสต์” ในอิตาลีเมื่อช่วงทศวรรษ 1970 และทศวรรษ 1980
อย่างที่ผู้คนจำนวนมากพากันตั้งข้อสังเกตขึ้นมา การโจมตีเข่นฆ่าอย่างโหดร้ายป่าเถื่อนในลักษณะพฤติการณ์ก่อการร้าย ต่อสำนักงานของ “ชาร์ลี เอ็บโด” นิตยสารรายสัปดาห์แนวเสียดสีของฝรั่งเศส เป็นหลักหมายแสดงถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ ในการรณรงค์ต่อสู้ของพวกอิสลามิสต์หัวรุนแรงสุดโต่งซึ่งเปิดศึกกับเหล่าชาติตะวันตก เหตุการณ์คราวนี้ควรต้องถือว่ามีความหมายสำคัญมาก เนื่องจากมันเป็นการกระทำของผู้คนที่อยู่ภายในฝรั่งเศสเอง ไม่ใช่เป็นมือปฏิบัติการหรือผู้อพยพซึ่งมาจากต่างแดน ดังเช่นการโจมตีหลายต่อหลายครั้งในอดีตที่ผ่านมา นอกจากนั้นมันยังเป็นพฤติการณ์ซึ่งแตะต้องประสาทสัมผัสอันอ่อนไหวอย่างยิ่งของพวกประเทศตะวันตก นั่นคือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น จนกระทั่งทำให้ในเวลานี้พวกนักหนังสือพิมพ์ชาวตะวันตกอาจจะพากันรู้สึกแล้วว่า ถูกขู่ขวัญให้หวาดผวาจากภัยคุกคามของผู้ก่อการร้ายเหล่านี้
แน่นอนทีเดียว ในอดีตที่ผ่านมามีนักหนังสือพิมพ์ชาวตะวันตกจำนวนไม่น้อยถูกเข่นฆ่าถูกสังหาร ทว่ามันเป็นการสิ้นชีวิตในสนาม ในการทำหน้าที่อยู่ในประเทศมุสลิมต่างๆ ไม่ใช่ในประเทศบ้านเกิดของพวกเขาเอง นอกจากนั้นการก่อเหตุโจมตีทั้งหลายไม่ว่าจะเกิดขึ้นในอเมริกา, อังกฤษ, สเปน, หรือที่อื่นๆ ล้วนแล้วแต่ต้องได้รับความช่วยเหลือและได้รับความสนับสนุนจากพวกคนท้องถิ่นที่เห็นอกเห็นใจ โดยที่การเห็นอกเห็นใจเช่นนี้ เป็นคุณสมบัติซึ่งต่ำลงมาเพียงขั้นเดียวจากการเข้ามีส่วนร่วมในการโจมตีอย่างกระตือรือร้นแข็งขัน ข้อเท็จจริงที่ว่ามีเด็กหนุ่มชาวฝรั่งเศสท้องถิ่นซึ่งศรัทธานับถืออิสลาม ได้วางแผนและดำเนินการโจมตีคราวนี้ขึ้นมา โดยที่ระบบข่าวกรองของฝรั่งเศสเหมือนกับจะไม่ได้รู้เห็นได้ข่าวคราวอะไร ดูจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า หลายๆ ส่วนของเมืองใหญ่ๆ ในฝรั่งเศสนั้นกำลังอยู่นอกเหนือการควบคุมของทางการ และในทางเป็นจริงแล้วตกอยู่ในมือของผู้คนซึ่งมีความเห็นอกเห็นใจต่อการต่อสู้ของพวกหัวรุนแรงสุดโต่งเหล่านี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความของเอเชียไทมส์ออนไลน์เอง ได้แก่เรื่อง Don't mourn – neutralize ของ Spengler เว็บเพจ http://www.atimes.com/atimes/World/WOR-01-090115.html หรืออ่านฉบับที่เก็บความเป็นภาษาไทยแล้วได้ที่เว็บเพจ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000005735 และเรื่อง Charlie Hebdo: A failure of policy ของ Gunter Bachmann ที่เว็บเพจ http://www.atimes.com/atimes/World/WOR-01-120115.html หรืออ่านฉบับเก็บความภาษาไทยที่ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000006038)
สเปงเกลอร์ หนึ่งในผู้เขียนบทความที่เพิ่งอ้างอิงไว้ข้างต้นนี้ ได้กล่าวไว้ในบทความของเขาว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคราวนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นบ้านของชาวมุสลิมจำนวน 6 ล้านคน เท่ากับประมาณ 10% ของประชากรทั้งหมดในฝรั่งเศส กระทั่งถ้าชาวมุสลิมเหล่านี้เพียงแค่ 1% หรือเท่ากับ 6,000 คน กลายเป็นผู้เห็นอกเห็นใจกับอุดมการณ์การต่อสู้ของพวกผู้ก่อการร้าย มันก็คงจะเป็น “น้ำ” ปริมาณเพียงพอแล้ว สำหรับให้ “ปลา” อันตรายจำนวนหนึ่งแหวกว่ายเคลื่อนไหวได้ในฝรั่งเศส อย่างที่ เหมา เจ๋อตุง ได้เคยสรุปเป็นแนวคิดทฤษฎีเอาไว้ สภาวการณ์เช่นนี้ยังเป็นไปได้และสมควรที่จะขยายนำมาคิดคำนวณกันในระดับทั่วทั้งทวีปยุโรปอีกด้วย ทั้งนี้ประชากรชาวมุสลิมในยุโรปนั้นมีจำนวนรวมกันกว่า 20 ล้านคน โดยที่ในอังกฤษ, เยอรมนี, อิตาลี, และสเปน พื้นที่เขตเมืองใหญ่บางแห่งมีสภาพไม่ได้ดีกว่าแถบชานเมืองกรุงปารีสเท่าใดเลย ยิ่งเมื่อยุโรปไม่ได้มีมาตรการควบคุมทางพรมแดนอย่างแข็งขันใดๆ ต่อพลเมือง ประกอบกับมีเส้นทางรถไฟและถนนหลวงที่สามารถเดินทางได้อย่างเสรีจากชายแดนรัสเซียไปจนถึงชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของโปรตุเกส ก็ยิ่งมี “น้ำ” ปริมาณเพียงพอให้พวกผู้ก่อการร้ายหลายสิบรายสามารถแหวกว่ายได้อย่างเสรี
ในสถานการณ์เช่นนี้ หนึ่งในบทเรียนจากอดีตซึ่งสามารถนำมาศึกษาเปรียบเทียบได้ น่าจะเป็นการต่อสู้กับ “การก่อการร้ายของพวกนิยมคอมมิวนิสต์” (Red terrorism) ในอิตาลีเมื่อช่วงทศวรรษ 1970 และทศวรรษ 1980 (หมายเหตุผู้แปล – ขบวนการที่ฟรานเชสโก ซิสซี ผู้เขียนบทความชิ้นนี้เรียกว่า Red terrorism นั้น มีชื่อเรียกขานกันทั่วไปว่า Red Brigades หรือในภาษาอิตาลีใช้ว่า Brigate Rosse --ข้อมูลจาก Wikipedia)
ในเวลานั้น พวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงสุดโต่งกลุ่มหนึ่ง พยายามที่จะก่อกระแสการก่อการร้ายขึ้นในอิตาลี ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะผลักไสให้รัฐอิตาลีต้องเข้าทำการปราบปรามกวาดล้างอย่างดุดันโหดเหี้ยม พวกผู้ก่อการร้ายกลุ่มนี้วาดหวังว่าการปฏิบัติการของพวกเขาจะทำให้เกิดมีผู้เห็นอกเห็นใจขึ้นในหมู่ประชากรที่นิยมคอมมิวนิสต์ในอิตาลี โดยที่ประชากรเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มใหญ่โตทีเดียว เพราะในขณะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี (Italian Communist Party ใช้อักษรย่อว่า PCI) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองถูกกฎหมายและลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งด้วย ได้รับคะแนนเสียงถึงราว 30% ของผู้ออกเสียงทั้งหมด แต่ปรากฏว่าปฏิกิริยาตอบโต้อันชาญฉลาดทันเกมของพรรคคริสเตียนเดโมแครต (Christian Democrats ใช้อักษรย่อว่า DC) ที่เป็นพรรครัฐบาลอยู่ในตอนนั้น กลับเป็นการใช้ความพยายามเพื่อที่ดึงพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับตนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเกือบจะดึงเอาพรรคนี้เข้ามาร่วมอยู่ในระบบอำนาจกระแสหลักเอาทีเดียว นอกจากนั้นพรรคคริสเตียนเดโมแครตยังพยายามป่าวร้องแจกแจงให้เห็นว่า ในเวลานั้นยังมีภัยคุกคามจากกระแสต่อต้านคอมมิวนิสต์ จากการก่อการร้ายของพวกฟาสซิสต์ขวาจัด และดังนั้นจึงมีความเสี่ยงอย่างแท้จริงที่อิตาลีตลอดจนพรรคคอมมิวนิสต์ จะตกลงไปในท่ามกลางสงครามกลางเมือง ซึ่งเป็นการต่อสู้ขัดแย้งกันระหว่างพวกหัวรุนแรงสุดโต่งฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา
พรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี ซึ่งตกอยู่ระหว่างความชั่วร้ายที่ด้านหนึ่งต้องประสบกับความเย้ายวนให้เข้าร่วมแบ่งปันอำนาจกับชนชั้นปกครอง ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่กำลังจะถูกบดขยี้ในการปราบปรามแบบเบ็ดเสร็จ ได้ตัดสินใจเลือกหนทางหันมาช่วยเหลืออย่างเอาการเอางานในการโดดเดี่ยวกลุ่มผู้ก่อการร้ายแดง อันที่จริงแล้ว ในทางพฤตินัยนั้น ยุทธศาสตร์ภายในอิตาลีเช่นนี้ ยังมีการดำเนินการคู่ขนานไปกับความพยายามทางด้านภายนอกของคริสตจักรคาทอลิก ณ “กองบัญชาการใหญ่” ในกรุงโรม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลักที่จะก่อกระแสสนับสนุนค่านิยมเรื่องเสรีภาพขึ้นมา ในท่ามกลางการต่อสู้ที่คริสตจักรนี้กระทำกับลัทธิอเทวนิยม (หมายเหตุผู้แปล –เห็นได้ชัดว่าในที่นี้ ผู้เขียนคือฟรานเชสโก ซิสซี หมายถึงลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นลัทธิที่ไม่เชื่อถือพระเจ้า ไม่เอาศาสนา นั่นเอง) ในยุโรปตะวันออก --โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปแลนด์ ที่มีประชากรจำนวนมากเป็นคาทอลิก ความพยายามเช่นนี้ในยุโรปตะวันออก บวกกับการตัดสินใจของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีนี่เอง ได้กลายเป็นปัจจัยผลักดันให้จักรวรรดิสหภาพโซเวียต ลดทอนความมุ่งมั่นที่จะพยายามช่วยเหลือสนับสนุนพวกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ชาวอิตาลี ซึ่งมีผลทำให้กลุ่มก่อการร้าย “แดง” นี้ อ่อนแอลงไป
จากการทุ่มเทลงแรงอย่างมโหฬารในทางการเมืองเช่นนี้แหละ ก่อให้เกิดเงื่อนไขซึ่งเปรียบเสมือนการระบาย “น้ำ” ที่พวก “ปลา” นักก่อการร้ายกำลังแหวกว่ายอยู่ ให้หดพร่องลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงเปิดทางให้พวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวกรองสามารถจับปลาอันตรายเหล่านี้ได้ โดยเป็นอันตรายต่อสังคมอิตาลีและต่อประชากรชาวคอมมิวนิสต์อิตาลีซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกรักสันติ ให้น้อยที่สุดหรือกระทั่งไม่ทำให้เกิดภัยอันตรายใดๆ เลย
มาถึงตอนนี้ เราจึงควรต้องใช้ความพยายามอย่างเดียวกัน แต่ในขนาดขอบเขตที่ใหญ่โตกว้างขวางกว่าตอนนั้นมาก เพื่อพลิกผันตีโต้กระแสของพวกผู้ก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงสุดโต่งในยุโรปและในทั่วโลก ขณะเดียวกับที่รับรู้รับทราบว่าปรากฏการณ์ในปัจจุบันนั้น ในหลายๆ แง่มุมแล้ว มีความแตกต่างออกไปค่อนข้างมากจากประสบการณ์เก่าในอิตาลี
ในการใช้ความพยายามอย่างใหญ่โตมโหฬารดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แน่นอนทีเดียวที่โลกตะวันตกโดยรวม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกรัฐในทวีปยุโรปทั้งหลาย จะต้องบูรณาการและค่อยๆ หลอมรวมชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมซึ่งกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้กลมกลืนเข้ากับสังคมของตน ทว่ากระบวนการเช่นนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องทำได้ง่ายๆ ความเจ็บแค้นข้องใจในหมู่ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมนั้นมีสาเหตุที่มาที่ไปเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นย่อมได้แก่เรื่องเศรษฐกิจ การที่เศรษฐกิจของยุโรปตกอยู่ในภาวะถดถอย กำลังทำให้ตำแหน่งงานต่างๆ หายวับไปเป็นล้านๆ ตำแหน่ง ปล่อยทิ้งให้ผู้ว่างงานโผเข้าไปอยู่ในอ้อมกอดของพวกมุสลิมหัวรุนแรง หรือไม่ก็ในทางตรงกันข้ามไปเลย นั่นคือทำให้พวกกลุ่มขวาจัดพรรคการเมืองต่อต้านมุสลิมและเหยียดเชื้อชาติทั้งหลาย สามารถโผล่หัวเสนอหน้าออกมาในทั่วทั้งยุโรป ไล่ตั้งแต่พรรค UKIP ในอังกฤษ ที่ต้องการให้ประเทศถอนตัวจากสหภาพยุโรป ไปจนถึงพรรคขวาจัดในฝรั่งเศสของ มารีน เลอ แปน (Marine Le Pen) และกลุ่ม “สันนิบาตฝ่ายเหนือ” (Lega Nord) ในอิตาลี เป็นอาทิ
ด้วยเหตุนี้ ความเสี่ยงที่ยุโรปและชาวมุสลิมในยุโรป ตลอดจนประเทศมุสลิมทั้งหลายกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้ จึงมีความละม้ายคล้ายคลึงอย่างมากกับภยันตรายในอิตาลีเมื่อ 30 ปีก่อน กล่าวคือ อาจจะถูกท่วมท้นด้วยกระแสอิสลามแบบหัวรุนแรง หรือไม่ก็ในทางตรงกันข้าม อาจจะถูกซัดโครมจากพวกนักเหยียดเชื้อชาติยุโรป ซึ่งกำลังคอยดักซุ่มอยู่ตามมุมมืดต่างๆ อยู่เสมอ โดยพร้อมเข้าต่อสู้กับอิสลามในวันนี้ เฉกเช่นเดียวกับที่พวกเขาได้เคยกล่าวโทษเล่นงานชาวยิวหรือพวกสังคมนิยมมาแล้วในอดีตกาล
ภาวะแห่งการถูกผูกมัดถูกล้อมวงเอาไว้ถึง 2 ชั้นซ้อนๆ เช่นนี้ ในลำดับแรกๆ ทีเดียวอาจจะส่งผลกลายเป็นการบีบคั้นบดบี้ชาวมุสลิมสายกลางในยุโรปก่อนใครเพื่อน จากนั้นก็ถึงรอบของชาวมุสลิมสายกลางที่อยู่ในประเทศอิสลามต่างๆ ในลักษณะเดียวกันกับความชั่วร้ายสองด้านที่กระทำเอากับพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีเมื่อทศวรรษ 1970 และ 1980 นั่นเอง
ด้วยความตระหนักรับรู้ถึงอันตรายเช่นนี้แหละ เมื่อเร็วๆ นี้ ประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตอห์ เอล-ซิซี (Abdel Fattah el-Sisi) แห่งอียิปต์ จึงได้ออกมาเรียกร้องให้เหล่านักปราชญ์ทางศาสนาอิสลาม ขีดเส้นแบ่งให้ชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่างชาวมุสลิมกับพวกหัวรุนแรงสุดโต่งคลั่งสงคราม [1] ความพยายามเช่นนี้ต้องถือว่ามีความสำคัญในระดับรากเหง้าต้นตอทีเดียว กระนั้นก็ยังคงไม่เพียงพอ การที่ในโลกตะวันตกและในประเทศมุสลิมมีทัศนะที่ผิดแผกแตกต่างกัน ในเรื่องสังคมที่มีขันติธรรมความอดกลั้น กับสังคมที่ไม่มีขันติธรรมความอดกลั้น ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมอันไม่สมดุล 2 แบบขึ้นมา และความไม่สมดุลนี้ก็กลายเป็นพื้นที่เอื้ออำนวยให้ทั้งพวกหัวรุนแรงสุดโต่งอิสลามิสต์ และทั้งพวกนักลัทธิเหยียดเชื้อชาติใหม่ชาวตะวันตก (Western neo-racist) สามารถที่จะเติบใหญ่ได้ ด้วยการชี้ให้เห็นถึงความผิดแผกแตกต่างดังกล่าว
ทำไมชาวมุสลิมในโลกตะวันตกจึงสามารถที่จะตั้งมัสยิดขึ้นมาในบริเวณแค่ถัดไปจากมหาวิหารของศาสนาคริสต์ในกรุงโรม หรือใกล้ๆ กับวัดวาอารามทางพุทธศาสนา ขณะที่ชาวคริสต์, ชาวพุทธ, ชาวฮินดู, หรือชาวยิว ไม่สามารถที่จะทำอย่างเดียวกันในนครเมกกะ? ความแตกต่างเช่นนี้กำลังถูกพวกหัวรุนแรงสุดโต่งอิสลามิสต์หยิกยกขึ้นมาอ้างเป็นข้อพิสูจน์อย่างผิดๆ ว่า นี่แหละแสดงถึงความแข็งแกร่งแห่งศรัทธาความเชื่อของพวกเขา และความอ่อนแอแห่งศรัทธาความเชื่อของพวกนอกรีตนอกศาสนา และดังนั้นจึงกำลังกลายเป็นการเพิ่มกระสุนให้แก่การสู้รบต่อต้านพวกนอกรีตนอกศาสนาของพวกเขา อย่างไรก็ดี ก่อนอื่นเลยนั้น พวกหัวรุนแรงสุดโต่งเหล่านี้ก็จะต้องจัดการบดขยี้ชาวมุสลิมหัวปานกลาง ซึ่งทั้งยืนขวางทางพวกเขาอยู่ และทั้งยังเป็นผู้มีความปรารถนาที่จะส่งออกโมเดลของขันติธรรมความอดกลั้นทางศาสนาแบบยุโรป ไปยังพวกประเทศต้นกำเนิดของพวกเขาด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง ความไม่สมดุลในสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับขันติธรรมความอดกลั้นในทางศาสนาเช่นนี้ ยังกลายเป็นช่วยเหลือให้พวกนักรบครูเสดเหยียดเชื้อชาติชาวตะวันตกสามารถที่จะขยายตัวเพิ่มจำนวนออกไปอีกด้วย พวกเขาอาจจะมองเห็นอย่างผิดๆ ว่าการมีขันติธรรมความอดกลั้นทางศาสนาในยุโรป และการไร้ขันติธรรมความอดกลั้นทางศาสนาในบางประเทศอิสลามนั้น คือเหตุผลที่ทำให้ลัทธิก่อการร้ายอิสลามิสต์ขยายตัวลุกลามออกไป และดังนั้นพวกเขาจึงต้องพยายามผลักดันให้มีการใช้มาตรการต่อต้านอิสลามในบ้านเกิดของพวกเขาเอง รวมทั้งต้องใช้จุดยืนที่แข็งกร้าวยิ่งขึ้นเพื่อคัดค้านต่อต้านเหล่าประเทศอิสลาม ดังนั้นการที่จะธำรงรักษาขันติธรรมความอดกลั้นต่อศาสนาอิสลามในโลกตะวันตกและในต่างแดนอื่นๆ เอาไว้ให้ได้ ตลอดจนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่สถานการณ์จะเลวร้ายลงไปจนกลายเป็นสงครามศาสนาขึ้นมา บรรดาประเทศอิสลามเองก็จำเป็นที่จะต้องมีขันติธรรมความอดกลั้นเพิ่มขึ้นอีกมาก โดยเฉพาะขันติธรรมความอดกลั้นต่อการเผยแผ่และการขยายตัวของศาสนาอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้ บทสรุปจึงมีว่า แน่นอนทีเดียวที่โลกตะวันตกจำเป็นที่จะต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้นอีกมากในการบูรณาการชาวมุสลิมให้เข้าสู่สังคมกระแสหลัก ทว่าสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นเป็นการตอบแทนก็คือ ชาวคริสต์, ชาวยิว, ชาวโซโรแอสเตอร์, และชาวพุทธ จะต้องสามารถหวนกลับไปยังดินแดนซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศอิสลามได้เช่นกัน นั่นแหละจึงจะสามารถรักษาอิสลามให้ปลอดพ้นจากการถูกลักพาและจากการถูกทำลายโดยพวกหัวรุนแรงสุดโต่งอิสลามิสต์
เรื่องเช่นนี้จะเกิดขึ้นมาได้ ยังจำเป็นที่ความตกลงทางการเมืองต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในประเทศอิสลามจำนวนมากในปัจจุบัน จะต้องมีการคาดคำนวณและปรับเปลี่ยนกันใหม่อย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้ ภายในประเทศเหล่านี้นั้น รัฐบาลจำนวนมากได้ยินยอมอยู่อย่างสันติแม้อย่างไม่ค่อยสบายอกสบายใจนัก กับพวกอิสลามิสต์หัวรุนแรง โดยแลกเปลี่ยนกับการที่ทางการประเทศเหล่านี้วางตัวเป็นกลางและทำเมินเฉยไม่สนใจต่อกิจกรรมบางอย่างบางประการของพวกสุดโต่ง จุดประสงค์ของการยอมแลกเปลี่ยนเช่นนี้ ก็เพื่อรักษาประคับประคองให้ประเทศของพวกเขายังคงปลอดภัยไร้การโจมตีของผู้ก่อการร้าย
ในขณะที่มองกันระยะสั้นแล้ว ความตกลงเช่นนี้อาจจะทำให้ดินแดนอาณาเขตของชาติอิสลามเหล่านี้รักษาภาวะสันติไว้ได้ ทว่าในทางเป็นจริงระยะยาวแล้วมันกลับก่อให้เกิดที่ทางเพิ่มขึ้นอย่างมากมายสำหรับให้พวกหัวรุนแรงสุดโต่งสามารถเคลื่อนไหวขยายตัวเติบใหญ่ ดังสถานการณ์ที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น มันมีแต่ทำให้พวกสุดโต่งมีอำนาจอย่างมหาศาลในการกดดันรัฐบาลจำนวนมากให้หันไปสู่การไม่มีขันติธรรมความอดกลั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จะบ่มเพาะความรุนแรงสุดโต่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้นไปอีก รวมทั้งผลักดันกระบวนการทำให้อิสลามกลายเป็นความรุนแรง (radicalization of Islam) ขณะที่รัฐบาลในประเทศอิสลามก็จะสูญเสียอำนาจอิทธิพลบารมีของตนลงไปเรื่อยๆ สภาวการณ์เช่นนี้ย่อมจะส่งผลกลายเป็นการช่วยเหลือความพยายามที่จะลักพาเอาอิสลามไปเป็นตัวประกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้เนื่องจากพวกสุดโต่งทางศาสนานั้นนิยมเล่นเกมยาว โดยแทบจะไม่สนใจหรือกระทั่งไม่สนใจเอาเลยต่อเกมสั้นๆ เฉพาะหน้า ดังนั้น ในทางเป็นจริงแล้ว การยินยอมของเหล่าประเทศอิสลามเพื่อให้เกิดภาวะสันติอันน่ากระอักกระอ่วนขึ้นมาในเวลานี้ จึงกำลังกลายเป็นการแลกเปลี่ยนกับลู่ทางโอกาสที่จะเกิดสงครามกลางเมืองแบบเต็มขั้นภายในเวลาอีกไม่ไกลเกินรอ หรือแลกเปลี่ยนกับสภาวการณ์ที่ทั่วทั้งประเทศจะถูกลักพาจับเป็นตัวประกันในทางการเมืองและในทางศาสนาในอนาคตข้างหน้า
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเหล่านี้ เป็นสิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับพวกเราทุกๆ คน ไม่เฉพาะเพียงโลกตะวันตกเท่านั้น อิสลามนั้นเป็นศาสนาในระดับโลก ในทางปฏิบัติแล้วไม่มีประเทศใดที่ไม่มีชาวมุสลิมปรากฏตัวอยู่เลย และดังนั้นการแพร่ขยายของลัทธิรุนแรงสุดโต่งอิสลามิสต์ จึงเป็นอันตรายสำหรับทุกๆ คน
มาถึงตรงนี้ เราควรที่จะพูดถึงมุมมองของจีนกันบ้าง ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงเพราะพวกหัวรุนแรงสุดโต่งมุสลิม ก็กำลังเป็นภัยคุกคามดินแดนแคว้นซินเจียง (ซินเกียง) ของจีนเท่านั้น ปฏิกิริยาตอนแรกๆ ของฝ่ายจีน [2] ซึ่งได้แก่การกระตุ้นส่งเสริมให้ดำเนินการเซนเซอร์ในโลกตะวันตก เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการยั่วยุพวกอิสลามิสต์ขึ้นมาอีกนั้น แท้ที่จริงแล้วกลับกลายเป็นการเล่นไปตามบทซึ่งพวกผู้ก่อการร้ายต้องการไปเสียฉิบ เพราะการเดินเกมไปตามแนวทางนี้ ย่อมเท่ากับการบอกกับผู้ก่อการร้ายว่า ถ้าพวกเขาสร้างแรงกดดันได้หนักหน่วงเพียงพอแล้ว พวกศัตรูก็จะโอนเอนไปในทางใดทางหนึ่ง อาจจะเป็นการยอมจำนน (ยอมกระทำสิ่งซึ่งผู้ก่อการร้ายเรียกร้องต้องการ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ ยุติการล้อเลียนเกี่ยวกับอิสลาม) หรือการเปิดฉากทำสงครามเต็มขั้นต่อต้านอิสลามเสียเลย (แต่ด้วยสงครามเต็มขั้นดังกล่าว ผู้ก่อการร้ายอิสลามิสต์ก็สามารถนำมาใช้เป็นข้อพิสูจน์บอกกับชาวมุสลิมหัวปานกลางได้ว่า พวกนอกรีตนอกศาสนานั้นมีแต่ต้องการทำสงครามครูเสดต่อต้านอิสลามเท่านั้น)
การยอมให้มีการเซนเซอร์หนังสือพิมพ์นิตยสารหรือสื่อมวลชนอย่าง ชาร์ลี เอ็บโด (ไม่ว่ามันจะเป็นนิตยสารหรือสื่อที่เนื้อหาแสนจะหยาบคายลามก และกระตุ้นโทสะมากมายแค่ไหนก็ตามที) ตามที่พวกหัวรุนแรงสุดโต่งมุสลิมเรียกร้องอยู่ มีความหมายเท่ากับว่าผู้ก่อการร้ายเป็นฝ่ายชนะเรียบร้อยแล้ว และในวันต่อๆ ไปพวกเขาก็จะสามารถข่มขู่คุกคามเหล่ารัฐบาลของชาติตะวันตก แบบเดียวกับที่พวกเขาสามารถข่มขู่คุกคามเหล่าผู้ปกครองในประเทศอิสลามอยู่แล้วในเวลานี้ อันที่จริงแล้ว การข่มขู่คุกคามเช่นนี้เป็นสิ่งที่กระทำได้ยากในโลกตะวันตก เนื่องจากตลอดช่วงเวลา 1 ศตวรรษที่ผ่านมา โลกตะวันตกได้ผ่านศึกสงครามใหญ่ถึง 2 ครั้ง ได้แก่การสู้รบกับลัทธิฟาสซิสต์ และการสู้รบกับลัทธิคอมมิวนิสต์ เพื่อรักษาเชิดชูเสรีภาพแห่งการแสดงความคิดเห็นเอาไว้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ประตูแห่งการปะทะกันระหว่างอารยธรรมก็จะถูกเปิดกว้างออกไปมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลต่อเนื่องที่ไม่อาจทำนายได้ แต่ย่อมสร้างความพออกพอใจให้แก่พวกหัวรุนแรงสุดโต่ง
หมายเหตุ
[1] ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.memritv.org/clip/en/4704.htm
[2] ดูรายละเอียดภาษาจีนได้ที่ http://news.xinhuanet.com/world/2015-01/11/c_1113952852.htm
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นนักวิจัยอาวุโสที่ทำงานอยู่กับ ศูนย์เพื่อยุโรปศึกษา (Center for European Studies) ของ มหาวิทยาลัยประชาชน (People's University) ในกรุงปักกิ่ง ความคิดเห็นที่แสดงไว้ในที่นี้เป็นของตัวเขาเอง และมิได้มีความเกี่ยวข้องในทางใดๆ กับที่ทำงานของเขา