(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Don't mourn – neutralize
By Spengler
09/01/2015
การสังหารหมู่นักหนังสือพิมพ์และนักเขียนการ์ตูนของ “ชาร์ลี เอ็บโด” นิตยสารเชิงเสียดสีรายสัปดาห์ของฝรั่งเศส คือสิ่งบ่งชี้อย่างล่าสุดซึ่งแสดงให้เห็นว่า มะเร็งชั่วช้าแห่งการก่อการร้ายได้ลุกลามแพร่กระจายออกไปไกล จนถึงขนาดที่ว่าไม่ว่าจะใช้วิธีบำบัดรักษาอย่างไรก็ก่อให้เกิดความเจ็บปวดบอบช้ำแทบจะพอๆ กับความทุกข์ทรมานจากโรคร้ายทีเดียว กระนั้นก็ตามที เราจำเป็นที่จะต้องรักษามะเร็งร้ายนี้ ถ้ายังต้องการให้อารยธรรมมีชัยชนะเหนือความป่าเถื่อนไร้ความเจริญ ก็ดังที่ โจ ฮิลล์ นักเคลื่อนไหวจัดตั้งแรงงานชาวอเมริกันได้บอกกับมิตรสหายของเขาก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิตว่า “อย่าเอาแต่โศกเศร้าอาลัย ต้องเร่งเคลื่อนไหวจัดตั้งกันขึ้นมา”
เฉกเช่นเดียวกับนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนในทุกหนทุกแห่ง ผมขอแสดงความโศกเศร้าอาลัยต่อบรรดาเพื่อนร่วมงานของพวกเรา ณ กองบรรณาธิการของ ชาร์ลี เอ็บโด นิตยสารเชิงเสียดสีรายสัปดาห์ในฝรั่งเศส ซึ่งได้ถูกเข่นฆ่าสังหารไปเพราะมีความกล้าหาญที่จะหัวเราะเย้าแหย่ศาสนาอิสลาม แล้วต้องชำระด้วยราคาอันสุดแสนสยดสยอง
เอเชียไทมส์ออนไลน์ก็เคยมีประสบการณ์ต้องฝังศพเพื่อนร่วมงานที่ถูกสังหารโหดเช่นเดียวกัน ได้แก่ ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด (Syed Saleem Shahzad) หัวหน้าโต๊ะปากีสถานของเรา ผู้เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่โดดเด่นเยี่ยมยอด ซึ่งได้ถูกฆาตกรรมไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2011 (ดูรายละเอียดได้จากเว็บเพจ http://www.atimes.com/atimes/South_Asia/MF04Df03.html) ร่างของเขาถูกทิ้งลงไปในคลองสายหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของปากีสถาน โดยที่มีร่องรอยต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าถูกทรมาน องค์การฮิวแมนไรต์วอตช์ (Human Rights Watch) ได้ออกมากล่าวหาหน่วยงานข่าวกรองของปากีสถานว่าเป็นตัวการ ขณะที่คณะกรรมการยุติธรรมของปากีสถานชุดหนึ่งระบุในรายงานว่า ฆาตกรรมรายนี้มีสาเหตุเกี่ยวพันกับ “คู่ปรปักษ์ต่างๆ หลายหลากในสงครามต่อสู้การก่อการร้าย โดยมีทั้งรัฐปากีสถาน และพวกตัวแสดงที่มิใช่รัฐ อย่างเช่น ตอลิบาน และ อัลกออิดะห์”
เราจะไม่มีวันลืมเลือน ซาลีม หนึ่งในนักหนังสือพิมพ์ผู้กล้าหาญที่สุดและดีเยี่ยมที่สุดในรุ่นอายุของเขา และเราก็จะไม่มีวันลืมเลือนผู้วายชนม์ ณ ชาร์ลี เอ็บโด
สิ่งที่เกิดขึ้นต่อนิตยสารแนวเสียดสีของฝรั่งเศสฉบับนี้ ต้องถือเป็นฝีก้าวอย่างใหม่อันน่าพรั่นพรึงของพวกผู้ก่อการร้าย ถึงแม้ที่ผ่านมาพวกเขาได้ข่มขู่คุกคามนักหนังสือพิมพ์เป็นรายบุคคลมาเป็นเวลาแรมปี และบังคับให้นักหนังสือพิมพ์จำนวนหนึ่งต้องคอยหลบซ่อนหรือต้องอยู่ในความอารักขาคุ้มครอง พอล เบอร์แมน (Paul Berman) ก็เคยกล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Flight of the Intellectuals” ของเขา ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2010 โดยระบุว่า พวกนักหนังสือพิมพ์ยุโรปแตะต้องขุดคุ้ยเรื่องของลัทธิอิสลามิสต์ (Islamism) กันน้อยมาก สืบเนื่องจากหวาดกลัวว่าชีวิตของพวกเขาจะตกอยู่ในอันตราย อย่างไรก็ตาม การบุกเข้าโจมตีอาคารสถานที่ตั้งขององค์การข่าวสาร และทำการเข่นฆ่าสังหารหมู่พนักงานกองบรรณาธิการขององค์การดังกล่าว โดยฝีมือของพวกตัวแสดงที่มิใช่รัฐเช่นนี้ ต้องถือเป็นเรื่องใหม่โดยสิ้นเชิง เราไม่เคยพบเห็นอะไรแบบนี้มาก่อนเลยในประวัติศาสตร์อันน่าสมเพชหดหู่ของการก่อการร้าย
แล้วโลกอารยะจะตอบโต้รับมืออย่างไร? การหาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยติดอาวุธมาประจำที่สำนักงานกองบรรณาธิการ ย่อมไม่ใช่คำตอบหรอก แม้กระทั่งว่ามีเงินทองมากพอที่จะว่าจ้างเจ้าหน้าที่เช่นนี้ก็ตามที เอาเข้าจริงแล้วพวกผู้ก่อการร้ายที่ใช้ปืนไรเฟิลสังหารเป็นอาวุธย่อมสามารถสยบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ติดอาวุธขนาดเบาได้อย่างง่ายดาย เวลานี้เรากำลังเผชิญหน้ากับความเป็นไปได้ที่ว่าภาคประชาสังคมในบางแห่งหนของโลกอาจจะหยุดปฏิบัติหน้าที่ไปเสียเฉยๆ มะเร็งชั่วช้านี้ได้ลุกลามแพร่กระจายออกไปจนไกล จนถึงขนาดที่ว่าไม่ว่าจะใช้วิธีบำบัดรักษาอย่างไรก็ก่อให้เกิดความเจ็บปวดบอบช้ำแทบจะพอๆ กับความทุกข์ทรมานจากโรคร้ายทีเดียว
กระนั้นก็ตามที เราจำเป็นที่จะต้องรักษามะเร็งร้ายนี้ ถ้ายังต้องการให้อารยธรรมมีชัยชนะเหนือความป่าเถื่อนไร้ความเจริญ โจ ฮิลล์ (Joe Hill) นักเคลื่อนไหวจัดตั้งแรงงานชาวอเมริกันผู้ถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากระทำฆาตกรรมซึ่งฝ่ายซ้ายมองว่าเป็นการใส่ร้ายปรักปรำ ได้บอกกับมิตรสหายของเขาว่า “อย่าเอาแต่โศกเศร้าอาลัย ต้องเร่งเคลื่อนไหวจัดตั้งกันขึ้นมา” สำหรับภารกิจของพวกเรานั้นได้แก่การขบคิดพิจารณาว่า ควรต้องทำอะไรบ้างเพื่อกำจัดกวาดล้างภัยคุกคามเช่นนี้ซึ่งมีต่อองค์การข่าวสารในทุกหนทุกแห่ง
ฝรั่งเศสในเวลานี้กำลังประสบกับภาวะอิหลักอิเหลื่อซึ่งพัวพันถึงความดำรงคงอยู่ของตนเองทีเดียว ตามการประมาณการอย่างเป็นอิสระส่วนใหญ่แล้ว (ดูรายละเอียดในเว็บเพจ http://www.gatestoneinstitute.org/4120/islamization-france ) ปัจจุบันฝรั่งเศสมีประชากรที่เป็นมุสลิมอยู่ 6 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราส่วนเท่ากับร่วมๆ 10% ของประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน ถ้าหากเราตั้งสมมุติฐานว่าประชากรเหล่านี้สักเพียงแค่ 1% ถูกทำให้กลายเป็นพวกหัวรุนแรง จนถึงจุดที่เข้าไปมีส่วนร่วมหรือให้ความสนับสนุนแก่กิจกรรมต่างๆ ของผู้ก่อการร้ายแล้ว มันก็จะเป็นจำนวนคนถึง 60,000 คน
เราไม่ได้กำลังพูดถึงผู้คน 60,000 คนที่อาจจะกลายเป็นมือระเบิดหรือเป็นนักซุ่มยิง หากแต่หมายถึงเครือข่ายให้ความสนับสนุนเครือข่ายหนึ่งซึ่งจะเปิดทางให้ผู้ก่อการร้ายจำนวนน้อยนิดกว่านี้มาก สามารถที่จะผสมปนเปเข้าไปในหมู่ประชากรวงกว้างได้อย่างไม่ยากเย็น ในประดาเขต พื้นที่ “ห้ามเข้า” (“no-go” zones) ของฝรั่งเศส (ดูรายละเอียดได้จากเว็บเพจ http://www.gatestoneinstitute.org/3305/france-no-go-zones ) เวลานี้ ต่างก็ตกอยู่ใต้การปกครองในทางเป็นจริงของแก๊งคนร้ายชาวมุสลิมไปแล้ว ยิ่งกว่านั้น ผู้ก่อการร้ายยังสามารถที่จะขู่กรรโชกประชากรมุสลิมได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร ฝรั่งเศสนั้นได้สูญเสียความสามารถในการเข้าตรวจตราดูแลความสงบเรียบร้อยในหลายๆ ส่วนของดินแดนของตนเองไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนี่หมายความว่าฝรั่งเศสไม่สามารถที่จะดำเนินการปฏิบัติการตอบโต้อย่างทรงประสิทธิภาพนั่นเอง
เพื่อมองให้เห็นจำนวนเหล่านี้โดยอยู่ภายในบริบทของมันอย่างถูกต้อง ควรต้องระบุด้วยว่าประชากรของฝรั่งเศสที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำนั้นมีจำนวนไม่ถึง 70,000 คน ทว่าประมาณ 60% ทีเดียวเป็นชาวมุสลิม (ดูรายละเอียดจากเว็บเพจ http://english.alarabiya.net/en/perspective/analysis/2014/10/30/Muslim-population-in-French-prisons-sparks-integration-debate.html) ทั้งนี้ถ้ามีผู้ก่อการร้ายที่ผ่านการฝึกฝนมาเพียงไม่กี่สิบคน และมีเครือข่ายสนับสนุนอันทรงประสิทธิภาพคอยหนุนหลังแล้ว ก็จะสามารถทำให้ชีวิตปกติสุขตามเมืองใหญ่ๆ ถึงกับสะดุดชะงักไปได้เลย
อันที่จริง ฝรั่งเศสเป็นชาติที่ดำเนินนโยบาย ใช้กฎหมายมาบังคับจัดการกับแนวคิดอิสลามแบบหัวรุนแรง ด้วยความเข้มงวดกวดขันที่สุดในบรรดาประเทศยุโรปใหญ่ๆ ด้วยกัน ดังที่ แดเนียล ไปส์ (Daniel Pipes) ได้เคยตั้งข้อสังเกตเอาไว้ (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บเพจ http://archive.frontpagemag.com/readArticle.aspx?ARTID=7982 ) ทว่าเรากลับมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของฝรั่งเศสได้ถูกพิชิตลงไปเสียแล้ว การที่พวกมือปืนทักษะสูงสามารถนำมาปืนไรเฟิลสังหารเข้ามาใช้ภายในย่านศูนย์กลางกรุงปารีส ย่อมไม่แตกต่างอะไรจากการที่พวกผู้ก่อการร้ายแสดงการสบประมาทพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทั้งหลาย
สำหรับวิธีที่ฝรั่งเศส หรือชาติอื่นใดก็ตามที สามารถนำมาใช้เพื่อยังความพ่ายแพ้ให้แก่ผู้ก่อการร้ายนั้น เป็นสิ่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว กล่าวคือ การที่จะบังคับกดดันให้ชาวมุสลิมฝรั่งเศสส่วนข้างมากต้องหันไปต่อต้านคัดค้านผู้ก่อการร้ายนั้น เจ้าหน้าที่รับผิดชอบของฝรั่งเศสจะต้องทำให้พวกเขารู้สึกหวาดกลัวรัฐฝรั่งเศส ยิ่งกว่าที่พวกเขารู้สึกหวาดกลัวผู้ก่อการร้าย
นี่ย่อมหมายถึงกิจการอันน่าสะอิดสะเอียดอย่างเช่น การเนรเทศชาวมุสลิมจำนวนมาก, การเพิกถอนสัญชาติความเป็นพลเมืองฝรั่งเศสของชาวมุสลิมจำนวนมาก, ตลอดจนการข่มขู่คุกคามรูปแบบอื่นๆ ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าจะต้องส่งผลกระทบกระเทือนผู้คนจำนวนมากที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงโดยตรงกับการก่อการร้าย ในระยะสั้นแล้ว มาตรการเหล่านี้จะทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ขณะที่โครงการในด้านการบูรณาการชาวมุสลิม ซึ่งอิงอยู่กับความเชื่อที่ว่านี่คือยาถอนพิษลัทธิความรุนแรงนั้น จะถูกโยนทิ้งลงถังขยะกันทั้งยวง ความพยายามต่างๆ เหล่านี้จะมีราคาแพงลิ่ว แต่ในที่สุดแล้วก็จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากชาวมุสลิมฝรั่งเศสส่วนใหญ่แล้วเพียงแค่ปรารถนาที่จะได้พำนักอยู่ในฝรั่งเศสต่อไป และมีช่องทางสามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้เท่านั้น
ผลลัพธ์ที่ออกมาจากมาตรการเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผลลัพธ์ที่ดีงามสวยหรูอะไรหรอก ทว่าผลลัพธ์ที่จะเลวร้ายยิ่งกว่านี้เสียอีก ย่อมได้แก่การที่ฝรั่งเศสเสื่อมโทรมถดถอยจนกลายเป็นเพียงรัฐตัวประกันเท่านั้น เราจักต้องปฏิเสธไม่ยอมที่จะเป็นตัวประกัน
สเปงเกลอร์ เป็นนามปากกาของคอลัมนิสต์ผู้โด่งดังของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ในปัจจุบันมีการเปิดเผยแล้วว่า ตัวจริงของคอลัมนิสต์ผู้นี้คือ เดวิด พี โกลด์แมน (David P Goldman) นักวิจัยอาวุโส ณ ศูนย์เพื่อการวิจัยนโยบายแห่งลอนดอน (London Center for Policy Research) และ นักวิจัย ณ มิดเดิล อีสต์ ฟอรั่ม (Middle East Forum) หนังสือเรื่อง How Civilizations Die (and why Islam is Dying, Too)ของเขา ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ เร็กเนอรีเพรส (Regnery Press) ในเดือนกันยายน 2011 และหนังสือรวมบทความว่าด้วยวัฒนธรรม, ศาสนา, และเศรษฐศาสตร์ ของเขาที่ใช้ชื่อว่า It's Not the End of the World - It's Just the End of Youก็ออกวางจำหน่ายในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน โดยสำนักพิมพ์ฟานปรากเพรส(Van Praag Press)
Don't mourn – neutralize
By Spengler
09/01/2015
การสังหารหมู่นักหนังสือพิมพ์และนักเขียนการ์ตูนของ “ชาร์ลี เอ็บโด” นิตยสารเชิงเสียดสีรายสัปดาห์ของฝรั่งเศส คือสิ่งบ่งชี้อย่างล่าสุดซึ่งแสดงให้เห็นว่า มะเร็งชั่วช้าแห่งการก่อการร้ายได้ลุกลามแพร่กระจายออกไปไกล จนถึงขนาดที่ว่าไม่ว่าจะใช้วิธีบำบัดรักษาอย่างไรก็ก่อให้เกิดความเจ็บปวดบอบช้ำแทบจะพอๆ กับความทุกข์ทรมานจากโรคร้ายทีเดียว กระนั้นก็ตามที เราจำเป็นที่จะต้องรักษามะเร็งร้ายนี้ ถ้ายังต้องการให้อารยธรรมมีชัยชนะเหนือความป่าเถื่อนไร้ความเจริญ ก็ดังที่ โจ ฮิลล์ นักเคลื่อนไหวจัดตั้งแรงงานชาวอเมริกันได้บอกกับมิตรสหายของเขาก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิตว่า “อย่าเอาแต่โศกเศร้าอาลัย ต้องเร่งเคลื่อนไหวจัดตั้งกันขึ้นมา”
เฉกเช่นเดียวกับนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนในทุกหนทุกแห่ง ผมขอแสดงความโศกเศร้าอาลัยต่อบรรดาเพื่อนร่วมงานของพวกเรา ณ กองบรรณาธิการของ ชาร์ลี เอ็บโด นิตยสารเชิงเสียดสีรายสัปดาห์ในฝรั่งเศส ซึ่งได้ถูกเข่นฆ่าสังหารไปเพราะมีความกล้าหาญที่จะหัวเราะเย้าแหย่ศาสนาอิสลาม แล้วต้องชำระด้วยราคาอันสุดแสนสยดสยอง
เอเชียไทมส์ออนไลน์ก็เคยมีประสบการณ์ต้องฝังศพเพื่อนร่วมงานที่ถูกสังหารโหดเช่นเดียวกัน ได้แก่ ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด (Syed Saleem Shahzad) หัวหน้าโต๊ะปากีสถานของเรา ผู้เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่โดดเด่นเยี่ยมยอด ซึ่งได้ถูกฆาตกรรมไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2011 (ดูรายละเอียดได้จากเว็บเพจ http://www.atimes.com/atimes/South_Asia/MF04Df03.html) ร่างของเขาถูกทิ้งลงไปในคลองสายหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของปากีสถาน โดยที่มีร่องรอยต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าถูกทรมาน องค์การฮิวแมนไรต์วอตช์ (Human Rights Watch) ได้ออกมากล่าวหาหน่วยงานข่าวกรองของปากีสถานว่าเป็นตัวการ ขณะที่คณะกรรมการยุติธรรมของปากีสถานชุดหนึ่งระบุในรายงานว่า ฆาตกรรมรายนี้มีสาเหตุเกี่ยวพันกับ “คู่ปรปักษ์ต่างๆ หลายหลากในสงครามต่อสู้การก่อการร้าย โดยมีทั้งรัฐปากีสถาน และพวกตัวแสดงที่มิใช่รัฐ อย่างเช่น ตอลิบาน และ อัลกออิดะห์”
เราจะไม่มีวันลืมเลือน ซาลีม หนึ่งในนักหนังสือพิมพ์ผู้กล้าหาญที่สุดและดีเยี่ยมที่สุดในรุ่นอายุของเขา และเราก็จะไม่มีวันลืมเลือนผู้วายชนม์ ณ ชาร์ลี เอ็บโด
สิ่งที่เกิดขึ้นต่อนิตยสารแนวเสียดสีของฝรั่งเศสฉบับนี้ ต้องถือเป็นฝีก้าวอย่างใหม่อันน่าพรั่นพรึงของพวกผู้ก่อการร้าย ถึงแม้ที่ผ่านมาพวกเขาได้ข่มขู่คุกคามนักหนังสือพิมพ์เป็นรายบุคคลมาเป็นเวลาแรมปี และบังคับให้นักหนังสือพิมพ์จำนวนหนึ่งต้องคอยหลบซ่อนหรือต้องอยู่ในความอารักขาคุ้มครอง พอล เบอร์แมน (Paul Berman) ก็เคยกล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Flight of the Intellectuals” ของเขา ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2010 โดยระบุว่า พวกนักหนังสือพิมพ์ยุโรปแตะต้องขุดคุ้ยเรื่องของลัทธิอิสลามิสต์ (Islamism) กันน้อยมาก สืบเนื่องจากหวาดกลัวว่าชีวิตของพวกเขาจะตกอยู่ในอันตราย อย่างไรก็ตาม การบุกเข้าโจมตีอาคารสถานที่ตั้งขององค์การข่าวสาร และทำการเข่นฆ่าสังหารหมู่พนักงานกองบรรณาธิการขององค์การดังกล่าว โดยฝีมือของพวกตัวแสดงที่มิใช่รัฐเช่นนี้ ต้องถือเป็นเรื่องใหม่โดยสิ้นเชิง เราไม่เคยพบเห็นอะไรแบบนี้มาก่อนเลยในประวัติศาสตร์อันน่าสมเพชหดหู่ของการก่อการร้าย
แล้วโลกอารยะจะตอบโต้รับมืออย่างไร? การหาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยติดอาวุธมาประจำที่สำนักงานกองบรรณาธิการ ย่อมไม่ใช่คำตอบหรอก แม้กระทั่งว่ามีเงินทองมากพอที่จะว่าจ้างเจ้าหน้าที่เช่นนี้ก็ตามที เอาเข้าจริงแล้วพวกผู้ก่อการร้ายที่ใช้ปืนไรเฟิลสังหารเป็นอาวุธย่อมสามารถสยบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ติดอาวุธขนาดเบาได้อย่างง่ายดาย เวลานี้เรากำลังเผชิญหน้ากับความเป็นไปได้ที่ว่าภาคประชาสังคมในบางแห่งหนของโลกอาจจะหยุดปฏิบัติหน้าที่ไปเสียเฉยๆ มะเร็งชั่วช้านี้ได้ลุกลามแพร่กระจายออกไปจนไกล จนถึงขนาดที่ว่าไม่ว่าจะใช้วิธีบำบัดรักษาอย่างไรก็ก่อให้เกิดความเจ็บปวดบอบช้ำแทบจะพอๆ กับความทุกข์ทรมานจากโรคร้ายทีเดียว
กระนั้นก็ตามที เราจำเป็นที่จะต้องรักษามะเร็งร้ายนี้ ถ้ายังต้องการให้อารยธรรมมีชัยชนะเหนือความป่าเถื่อนไร้ความเจริญ โจ ฮิลล์ (Joe Hill) นักเคลื่อนไหวจัดตั้งแรงงานชาวอเมริกันผู้ถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากระทำฆาตกรรมซึ่งฝ่ายซ้ายมองว่าเป็นการใส่ร้ายปรักปรำ ได้บอกกับมิตรสหายของเขาว่า “อย่าเอาแต่โศกเศร้าอาลัย ต้องเร่งเคลื่อนไหวจัดตั้งกันขึ้นมา” สำหรับภารกิจของพวกเรานั้นได้แก่การขบคิดพิจารณาว่า ควรต้องทำอะไรบ้างเพื่อกำจัดกวาดล้างภัยคุกคามเช่นนี้ซึ่งมีต่อองค์การข่าวสารในทุกหนทุกแห่ง
ฝรั่งเศสในเวลานี้กำลังประสบกับภาวะอิหลักอิเหลื่อซึ่งพัวพันถึงความดำรงคงอยู่ของตนเองทีเดียว ตามการประมาณการอย่างเป็นอิสระส่วนใหญ่แล้ว (ดูรายละเอียดในเว็บเพจ http://www.gatestoneinstitute.org/4120/islamization-france ) ปัจจุบันฝรั่งเศสมีประชากรที่เป็นมุสลิมอยู่ 6 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราส่วนเท่ากับร่วมๆ 10% ของประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน ถ้าหากเราตั้งสมมุติฐานว่าประชากรเหล่านี้สักเพียงแค่ 1% ถูกทำให้กลายเป็นพวกหัวรุนแรง จนถึงจุดที่เข้าไปมีส่วนร่วมหรือให้ความสนับสนุนแก่กิจกรรมต่างๆ ของผู้ก่อการร้ายแล้ว มันก็จะเป็นจำนวนคนถึง 60,000 คน
เราไม่ได้กำลังพูดถึงผู้คน 60,000 คนที่อาจจะกลายเป็นมือระเบิดหรือเป็นนักซุ่มยิง หากแต่หมายถึงเครือข่ายให้ความสนับสนุนเครือข่ายหนึ่งซึ่งจะเปิดทางให้ผู้ก่อการร้ายจำนวนน้อยนิดกว่านี้มาก สามารถที่จะผสมปนเปเข้าไปในหมู่ประชากรวงกว้างได้อย่างไม่ยากเย็น ในประดาเขต พื้นที่ “ห้ามเข้า” (“no-go” zones) ของฝรั่งเศส (ดูรายละเอียดได้จากเว็บเพจ http://www.gatestoneinstitute.org/3305/france-no-go-zones ) เวลานี้ ต่างก็ตกอยู่ใต้การปกครองในทางเป็นจริงของแก๊งคนร้ายชาวมุสลิมไปแล้ว ยิ่งกว่านั้น ผู้ก่อการร้ายยังสามารถที่จะขู่กรรโชกประชากรมุสลิมได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร ฝรั่งเศสนั้นได้สูญเสียความสามารถในการเข้าตรวจตราดูแลความสงบเรียบร้อยในหลายๆ ส่วนของดินแดนของตนเองไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนี่หมายความว่าฝรั่งเศสไม่สามารถที่จะดำเนินการปฏิบัติการตอบโต้อย่างทรงประสิทธิภาพนั่นเอง
เพื่อมองให้เห็นจำนวนเหล่านี้โดยอยู่ภายในบริบทของมันอย่างถูกต้อง ควรต้องระบุด้วยว่าประชากรของฝรั่งเศสที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำนั้นมีจำนวนไม่ถึง 70,000 คน ทว่าประมาณ 60% ทีเดียวเป็นชาวมุสลิม (ดูรายละเอียดจากเว็บเพจ http://english.alarabiya.net/en/perspective/analysis/2014/10/30/Muslim-population-in-French-prisons-sparks-integration-debate.html) ทั้งนี้ถ้ามีผู้ก่อการร้ายที่ผ่านการฝึกฝนมาเพียงไม่กี่สิบคน และมีเครือข่ายสนับสนุนอันทรงประสิทธิภาพคอยหนุนหลังแล้ว ก็จะสามารถทำให้ชีวิตปกติสุขตามเมืองใหญ่ๆ ถึงกับสะดุดชะงักไปได้เลย
อันที่จริง ฝรั่งเศสเป็นชาติที่ดำเนินนโยบาย ใช้กฎหมายมาบังคับจัดการกับแนวคิดอิสลามแบบหัวรุนแรง ด้วยความเข้มงวดกวดขันที่สุดในบรรดาประเทศยุโรปใหญ่ๆ ด้วยกัน ดังที่ แดเนียล ไปส์ (Daniel Pipes) ได้เคยตั้งข้อสังเกตเอาไว้ (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บเพจ http://archive.frontpagemag.com/readArticle.aspx?ARTID=7982 ) ทว่าเรากลับมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของฝรั่งเศสได้ถูกพิชิตลงไปเสียแล้ว การที่พวกมือปืนทักษะสูงสามารถนำมาปืนไรเฟิลสังหารเข้ามาใช้ภายในย่านศูนย์กลางกรุงปารีส ย่อมไม่แตกต่างอะไรจากการที่พวกผู้ก่อการร้ายแสดงการสบประมาทพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทั้งหลาย
สำหรับวิธีที่ฝรั่งเศส หรือชาติอื่นใดก็ตามที สามารถนำมาใช้เพื่อยังความพ่ายแพ้ให้แก่ผู้ก่อการร้ายนั้น เป็นสิ่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว กล่าวคือ การที่จะบังคับกดดันให้ชาวมุสลิมฝรั่งเศสส่วนข้างมากต้องหันไปต่อต้านคัดค้านผู้ก่อการร้ายนั้น เจ้าหน้าที่รับผิดชอบของฝรั่งเศสจะต้องทำให้พวกเขารู้สึกหวาดกลัวรัฐฝรั่งเศส ยิ่งกว่าที่พวกเขารู้สึกหวาดกลัวผู้ก่อการร้าย
นี่ย่อมหมายถึงกิจการอันน่าสะอิดสะเอียดอย่างเช่น การเนรเทศชาวมุสลิมจำนวนมาก, การเพิกถอนสัญชาติความเป็นพลเมืองฝรั่งเศสของชาวมุสลิมจำนวนมาก, ตลอดจนการข่มขู่คุกคามรูปแบบอื่นๆ ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าจะต้องส่งผลกระทบกระเทือนผู้คนจำนวนมากที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงโดยตรงกับการก่อการร้าย ในระยะสั้นแล้ว มาตรการเหล่านี้จะทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ขณะที่โครงการในด้านการบูรณาการชาวมุสลิม ซึ่งอิงอยู่กับความเชื่อที่ว่านี่คือยาถอนพิษลัทธิความรุนแรงนั้น จะถูกโยนทิ้งลงถังขยะกันทั้งยวง ความพยายามต่างๆ เหล่านี้จะมีราคาแพงลิ่ว แต่ในที่สุดแล้วก็จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากชาวมุสลิมฝรั่งเศสส่วนใหญ่แล้วเพียงแค่ปรารถนาที่จะได้พำนักอยู่ในฝรั่งเศสต่อไป และมีช่องทางสามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้เท่านั้น
ผลลัพธ์ที่ออกมาจากมาตรการเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผลลัพธ์ที่ดีงามสวยหรูอะไรหรอก ทว่าผลลัพธ์ที่จะเลวร้ายยิ่งกว่านี้เสียอีก ย่อมได้แก่การที่ฝรั่งเศสเสื่อมโทรมถดถอยจนกลายเป็นเพียงรัฐตัวประกันเท่านั้น เราจักต้องปฏิเสธไม่ยอมที่จะเป็นตัวประกัน
สเปงเกลอร์ เป็นนามปากกาของคอลัมนิสต์ผู้โด่งดังของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ในปัจจุบันมีการเปิดเผยแล้วว่า ตัวจริงของคอลัมนิสต์ผู้นี้คือ เดวิด พี โกลด์แมน (David P Goldman) นักวิจัยอาวุโส ณ ศูนย์เพื่อการวิจัยนโยบายแห่งลอนดอน (London Center for Policy Research) และ นักวิจัย ณ มิดเดิล อีสต์ ฟอรั่ม (Middle East Forum) หนังสือเรื่อง How Civilizations Die (and why Islam is Dying, Too)ของเขา ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ เร็กเนอรีเพรส (Regnery Press) ในเดือนกันยายน 2011 และหนังสือรวมบทความว่าด้วยวัฒนธรรม, ศาสนา, และเศรษฐศาสตร์ ของเขาที่ใช้ชื่อว่า It's Not the End of the World - It's Just the End of Youก็ออกวางจำหน่ายในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน โดยสำนักพิมพ์ฟานปรากเพรส(Van Praag Press)