xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นชี้! กระแสต้านล่าวาฬเป็น “จักรวรรดินิยมด้านสิ่งแวดล้อม”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โจจิ โมริชิตะ กรรมาธิการของญี่ปุ่นในคณะกรรมาธิการล่าวาฬระหว่างประเทศ (IWC)
รอยเตอร์ – การต่อต้านโครงการล่าวาฬของญี่ปุ่นเป็นรูปแบบของ “จักรวรรดินิยมด้านสิ่งแวดล้อม” ที่บังคับใช้ระบบค่านิยมแบบหนึ่งกับผู้อื่น และมีพื้นฐานมาจากอารมณ์ไม่ใช่วิทยาศาสตร์เหมือนอย่างการฆ่าช้างที่ถูกต่อต้านอยู่ในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่อาวุโสของญี่ปุ่นในคณะกรรมาธิการล่าวาฬระหว่างประเทศ (IWC) กล่าววันนี้ (26)

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โตเกียวเผยแผนการเริ่มต้นการล่าวาฬอีกครั้งในมหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) ในช่วงปี 2015 ทั้งๆที่ศาลโลกตัดสินแล้วว่าการล่าก่อนหน้านี้ผิดกฎหมาย แม้ว่าพวกเขาจะตัดลดโควตาในโครงการล่าวาฬที่อ้างว่าเพื่อการวิจัยนี้แล้วก็ตาม

โจจิ โมริชิตะ กรรมาธิการของญี่ปุ่นในคณะกรรมาธิการล่าวาฬระหว่างประเทศ กล่าวว่า ข้อเสนอใหม่ซึ่งเรียกร้องให้ล่าวาฬมิงค์ 300 ตัวแทนที่ 900 ตัวนั้นเป็นความพยายามล่าสุดของโตเกียวที่จะทำให้เกิดการล่าวาฬอย่างยั่งยืนตามหลักวิทยาศาสตร์

“ประเด็นการล่าวาฬบางครั้งถูกมองว่าเป็นตัวแทนของประเด็นที่ใหญ่กว่าในญี่ปุ่น คุณอาจเคยได้ยินคำว่า ‘จักรวรรดินิยมด้านสิ่งแวดล้อม’ ” โมริชิตะ บอกต่อที่แถลงข่าว

“เมื่อคุณออกไปข้างนอกและถามคนญี่ปุ่นทั่วไปเกี่ยวกับประเด็นการล่าวาฬ พวกเขาจะบอกว่า ‘ฉันไม่กินเนื้อวาฬ’ อย่างไรก็ตาม ผมไม่ชอบความคิดของคนกินเนื้อวัวหรือคนกินเนื้อหมูที่บอกให้คนญี่ปุ่นหยุดกินเนื้อวาฬเลย”

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) ตัดสินเมื่อช่วงต้นปีว่า การล่าวาฬที่ดำเนินมาหลายสิบปีของญี่ปุ่นควรยุติได้แล้ว และโตเกียวได้ยกเลิกการล่าในแถบแอนตาร์กติกเพื่อเป็นการตอบสนอง พวกเขาดำเนินการล่าในขนาดที่เล็กลงมาในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเมื่อช่วงหน้าร้อนปีนี้

ญี่ปุ่นยืนกรานเรื่อยมาว่า สายพันธุ์วาฬส่วนใหญ่ไม่ได้เสี่ยงสูญพันธุ์และการทานเนื้อวาฬเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารที่น่าชื่นชมของพวกเขา พวกเขาเริ่มต้นสิ่งตนเองที่เรียกว่าการล่าวาฬเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในปี 1987 หนึ่งปีหลังจากข้อตกลงระงับการล่าวาฬเพื่อการพาณิชย์ถูกประกาศใช้

โมริชิตะ กล่าวว่า สถานการณ์ของญี่ปุ่นกำลังดึงให้ประเทศกำลังพัฒนาบางแห่งเข้ามาร่วมเกี่ยวพันด้วย เขาเสริมว่า ขณะที่ตามความเป็นจริงช้างกำลังตกอยู่ในภาวะอันตรายในบางพื้นที่ของแอฟริกา และในประเทศต่างๆ ที่พวกมันจำนวนมากกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตเดียวกัน หลังจากพวกเขาต้องการทำให้เกิดการใช้อย่างยั่งยืน

โมริชิตะ กล่าวว่า “ตอนนี้ช้างถูกมองว่าเป็นสัตว์มีบุญบารมี ดังนั้นเพียงแค่การสังหารก็ถือว่าเป็นความผิดในหลายพื้นที่ของโลก แต่สัตว์มีบุญบารมีไม่ได้รวมถึงแค่ช้างเท่านั้นแต่วาฬก็ด้วย”


กำลังโหลดความคิดเห็น