(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Beijing reaps bitter fruit in Hong Kong
By Peter Lee
29/09/2014
การที่ประชาชนในฮ่องกงจำนวนมากมีความรู้สึกแปลกแยกต่อปักกิ่ง และการที่พลเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาก่อความยุ่งยากต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมของนครแห่งนี้ ต่างก็เป็นเรื่องซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนอันล้ำลึก แล้วก็เลยถูกต่อยอดด้วยข้อกล่าวอ้างที่ว่าปักกิ่งได้ทรยศไม่ทำตามคำมั่นสัญญาที่จะให้ชาวฮ่องกงทุกคนมีสิทธิเลือกตั้งผู้นำของตนภายในปี 2017 ในขณะที่ข้ออ้างเรื่องตระบัดสัตย์นั้นเป็นเรื่องเท็จซึ่งเที่ยวเร่ขายโดยขบวนการนิยมประชาธิปไตย แต่การที่รัฐบาลฮ่องกงใช้แก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทยเข้าเล่นงานประชาชนของตนเอง ก็ทำให้การเล่นลิ้นตลบตะแลงเกี่ยวกับ “หลักกฎหมายพื้นฐาน” เหล่านี้ ถูกบดบังจนมองกันไม่ค่อยเห็น
เป็นเรื่องเราสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายกว่ามาก ว่าทำไมสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงเล่นงานอย่างหนักหน่วงต่อ อิลฮัม โตห์ติ (Ilham Tohti) “ปัญญาชนสาธารณะ” (public intellectual) ชาวอุยกูร์
หากวินิจฉัยจากข้อความต่างๆ ที่เป็นคำพูดและข้อเขียนของเขา โดยที่ยอมรับกันด้วยว่าเป็นข้อความซึ่งตัดตอนคัดสรรกันมา เพื่อเอามาใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีของ “ศาลเตี้ย” (ซึ่งได้ตัดสินให้เขารับโทษ “ถูกจองจำอย่างไม่มีกำหนด” ทว่าได้รับการรายงานข่าวอย่างไม่ถูกต้องนักในโลกตะวันตกว่าเป็นการ “ถูกคุมขังตลอดชีวิต”) เราก็ยังคงจะสามารถกล่าวได้ว่า อิลฮัม ได้วาดหวังที่จะอาศัยตำแหน่งอาจารย์ ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในซินเจียง (ซินเกียง) ของเขา เพื่ออบรมบ่มเพาะกลุ่มแกนนำนักศึกษาสักกลุ่มหนึ่งขึ้นมา เป็นกลุ่มแกนนำนักศึกษาซึ่งมีความสำนึกอย่างแรงกล้าในอัตลักษณ์แห่งความเป็นชาวอุยกูร์, มีความรู้สึกแปลกแยกจากระบอบปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน, และมีความมั่นอกมั่นใจในเรื่องสิทธิและในเรื่องความจำเป็นที่จะต้องก่อกวนสร้างความปั่นป่วน เพื่อทำให้ซินเจียงมีอำนาจปกครองตนเองเพิ่มขึ้นไปกว่าเดิมอีกมาก ในภาวะที่ต้องเผชิญกับมหาอำนาจผู้ยึดครองชาวต่างด้าว
ถ้าหากสิ่งต่างๆ เป็นไปตามความวาดหวังของเขาแล้ว บางทีการเมืองของซินเจียงจะเกิดการวิวัฒนาการ กลายเป็นการเมืองแบบที่เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด และก่อให้เกิดความคับข้องใจอย่างไม่ขาดสาย รวมทั้งสร้างจิตวิญญาณแห่งการต่อต้านอย่างแข็งขันมากขึ้นเรื่อยๆ ทำนองเดียวกับที่เราสามารถพบเห็นได้ในปาเลสไตน์ --หรือตามท้องถนนในฮ่องกงเวลานี้
ตำรวจฮ่องกงนั้นได้แสดงให้เห็นถึงการขาดไร้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการแสดงออกของการเมืองแบบประชานิยมบนเวทีแห่งท้องถนน เมื่อพวกเขาตอบสนองต่อการยั่วยุของพวกนักศึกษา ซึ่งเป็นกองหน้าของขบวนการ “ออคคิวพาย” (Occupy movement) ด้วยวิธีฉีดสเปรย์พริกไทย , ยิงแก๊สน้ำตา, และยิงด้วยกระสุนยาง ในความพยายามอันผิดพลาดเหลือเกินที่จะเคลียร์ถนนสายต่างๆ ในเขตแอดมิราลตี้ (Admiralty) และนั่นเองทำให้พวกเขากลายเป็นฝ่ายปราชัยในสมรภูมิแห่งการประชาสัมพันธ์ในเวลานี้ และกระทั่งบางทีอาจจะถึงกับพ่ายแพ้ตลอดไปด้วยซ้ำ
เมื่อขบคิดทบทวนย้อนหลัง บางทีพวกนักยุทธศาสตร์ในฮ่องกงและในปักกิ่งอาจจะได้ข้อสรุปแล้วว่า วิธีตอบสนองที่ดียิ่งกว่านั้นมาก ก็คือการที่ตำรวจเฝ้าดูอยู่เฉยๆ และเปิดทางให้พวกนักศึกษาบุกตะลุยเข้าไปในสำนักงานต่างๆ ของทางรัฐบาล (ปู้โธ่เอ้ย! มันจะเป็นอะไรนักหนา ตอนที่นักศึกษาบุก ก็เป็นช่วงสุดสัปดาห์ซึ่งสำนักงานต่างๆ ก็หยุดงานปิดทำการกันอยู่แล้ว) แล้วก็ปล่อยให้มติมหาชนได้เคี้ยวได้ย่อยกันสักสองสามวัน ในการพิจารณาประเด็นที่ว่าการเมืองแบบมุ่งประจันหน้าชนิดนี้เป็นสิ่งที่สมควรต้อนรับหรือไม่
อันที่จริงแล้ว วิธีรับมือเช่นนี้แหละคือสิ่งที่รัฐบาลพรรคก๊กมิ่นตั๋งที่ถูกกล่าวหาโจมตีมากมายในไต้หวัน นำเอามาใช้เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ตอนที่ขบวนการ “ซันฟลาวเวอร์” (Sunflower) บุกเข้าไปยึดอาคารรัฐสภา (Legislative Yuan) โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ ชัยชนะทางการประชาสัมพันธ์ที่พวกนักศึกษาเคยได้มาก่อนหน้านั้น ดูเหมือนจะกลายเป็นชัยชนะที่ค่อนข้างสั้นจู๋ รวมทั้งในหมู่ผู้ประท้วงก็ยังคงมีการถกเถียงโต้แย้งกันเอง ระหว่างฝ่ายที่ต้องการให้เล่นเกมแรง กับฝ่ายที่เรียกร้องให้ใช้ความบันยะบันยัง ไม่ใช่เฮละโลเห็นดีเห็นงามไปทั้งหมดว่าไม่อาจที่จะใช้วิธีนิ่มนวลได้
จากการที่ผมได้เห็นผลลัพธ์อันชวนหดหู่ท้อใจในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อียิปต์, ปากีสถาน, หรือ ยูเครน ผมจึงไม่ได้เป็นแฟนานุแฟนของประชาธิปไตยประเภทที่ “พวกนักศึกษานักเคลื่อนไหวพากันบุกเข้ายึดครองพื้นที่และก่อการเอะอะครึกโครมขึ้นในจัตุรัสใหญ่กลางเมือง” ทั้งนี้ ถ้าหากพวกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของฮ่องกง ต้องการที่จะส่งเสียงแสดงอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนออกมาให้ปรากฏกันจริงๆ แล้ว แทนที่จะใช้กระบวนการขับดันความคิดเห็นด้วยการปฏิบัติการแบบประจันหน้าตามท้องถนนเช่นนี้ พวกเขาย่อมสามารถที่จะจัดการรณรงค์คว่ำบาตรการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในปี 2017 ซึ่งน่าจะเข้าทีกว่า (ทั้งนี้ การเลือกตั้งผู้ว่าการฮ่องกงที่จะเกิดขึ้นในปี 2017 นั้น ถ้าหากสภานิติบัญญัติของฮ่องกงลงมติผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงทุกคนจะได้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครโดยตรง ทว่าผู้สมัครซึ่งจะมาให้เลือกนั้น จะต้องผ่านการกลั่นกรองของคณะกรรมการชุดหนึ่ง ที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าสมาชิกในคณะกรรมการชุดนี้ จะต้องเป็นพวกที่เอนเอียงเห็นดีเห็นงามกับทางสาธารณรัฐประชาชนจีน)
อย่างไรก็ตาม ผมยอมรับว่า การที่ประชาชนในฮ่องกงจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกคนรุ่นหนุ่มสาว มีความรู้สึกแปลกแยกต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน และการที่พลเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาก่อความยุ่งยากต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมของนครแห่งนี้ ต่างก็เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบกระเทือนอันล้ำลึก นอกจากนั้นการที่สาธารณรัฐประชาชนใช้ความพยายามอันน่ารังเกียจ (และบางครั้งกระทั่งเป็นความพยายามอันรุนแรง) ที่จะควบคุมสื่อมวลชนท้องถิ่นอย่างแน่นหนายิ่งขึ้น ย่อมเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าปักกิ่งกำลังมุ่งมั่นที่จะ “บริหารจัดการ” และจำกัดการแสดงออกทางการเมืองในฮ่องกง
ในการจัดให้พลเมืองฮ่องกงได้ลงประชามติอย่างไม่เป็นทางการ (จริงๆ แล้ว ควรที่จะเรียกว่าเป็นการจัดให้พวกผู้นิยมประชาธิปไตยออกมาลงคะแนนว่า ในระหว่างทางเลือกแบบนิยมประชาธิปไตยต่างๆ รวม 3 ทางเลือกนั้น พวกเขาจะเลือกแบบไหน) ปรากฏว่าสามารถดึงดูดผู้สนใจให้มาออกเสียงได้ถึงเกือบๆ 800,000 เสียง ซึ่งเท่ากับประมาณ 1 ใน 5 ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดในนครแห่งนี้ทีเดียว
ดังนั้น สถานการณ์จึงอยู่ในสภาพที่เหมือนกับมีสายชนวนขนาดอ้วนใหญ่วางรอกันอยู่ตรงนั้นแล้ว และกลุ่มออคคิวพาย ฮ่องกง ก็ตัดสินใจที่จะจุดมันให้ติดไฟลุกลามขึ้นมา เริ่มต้นตั้งแต่การคว่ำบาตรไม่เข้าห้องเรียนและการชุมนุมเดินขบวนซึ่งจัดโดยสหพันธ์นักศึกษาฮ่องกง และเนื่องจากตัวผมนั้นไม่เคยหวาดกลัวเลยที่จะขยายคำเปรียบเทียบอุปมา จึงขอพูดต่อไปว่า ครั้นแล้วรัฐบาลฮ่องกงก็ได้ราดน้ำมันลงในกองเพลิงกองนี้ ด้วยการใช้สเปรย์พริกไทยและแก๊สน้ำตาฉีดฉีดใส่
ตามรายงานของ จอห์น พอมเฟรต (John Pomfret) แห่งสำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) ได้กล่าวถึงการตอบโต้ของฝ่ายตำรวจ ซึ่งมีบริบทที่น่าสนใจบางประการ ดังนี้:
นักเคลื่อนไหวนิยมประชาธิปไตยจำนวนหลายร้อยคน ได้บุกเข้าสู่สำนักงานของทางรัฐบาลในคืนวันศุกร์ (26 ก.ย.) หลังจากที่พวกผู้นำนักศึกษาซึ่งกำลังเรียกร้องให้ฮ่องกงมีประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ได้เร่งเร้าให้พวกเขาตะลุยเข้าไปในอาคารดังกล่าว
ฝ่ายตำรวจได้ใช้สเปรย์พริกไทยออกมาสกัดยับยั้ง ขณะที่พวกผู้ประท้วงพากันทำลายเครื่องกีดขวางและปีนข้ามรั้วอาคาร ในฉากเหตุการณ์อันชุลมุนวุ่นวาย ณ ใจกลางของศูนย์กลางการเงินของเอเชียแห่งนี้ ภายหลังจากที่ปักกิ่งได้ตัดสินใจปฏิเสธไม่ยอมให้มีการเลือกตั้งหาผู้นำของนครแห่งนี้กันอย่างเสรีในปี 2017
โจชัว หว่อง (Joshua Wong) ผู้นำนักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนหนุ่มวัย 17 ปีตัวผอมๆ ที่สวมแว่นตากรอบสีดำและตัดผมทรงกะลาครอบ ได้ถูกตำรวจจับกุมลากตัวออกไป ขณะที่ตัวเขาพยายามเตะและส่งเสียงร้องลั่น และพวกผู้ประท้วงก็ตะโกนและพยายามต่อสู้ช่วยเหลือเพื่อให้เขาเป็นอิสระ [1]
น่าประหลาดใจมากที่พวกสื่อมวลชนทั้งหลายดูเหมือนจะสามารถจดจำบริบทของเหตุการณ์นี้ได้น้อยเหลือเกิน ในเมื่อพวกเขาพากันใช้คำว่า “เทียนอันเหมิน!” และพากันบรรยายถึงหน้ากากป้องกันแก๊สน้ำตา ในเวลาที่รายงานเหตุการณ์ไม่สงบคราวนี้
ในความเห็นของผมแล้ว การใช้อุปมาอุปไมยสิ่งที่เกิดขึ้นในฮ่องกงคราวนี้ กับกรณีเทียนอันเหมิน น่าจะกลับกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการทำความเข้าใจถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเสียด้วยซ้ำ
เทียนอันเหมินปี 1989 นั้น เป็นขบวนการทัดทาน/ร้องทุกข์ ซึ่งพยายามนำเอาคุณลักษณะของการขัดขืนประท้วงมาซุกซ่อนอยู่ข้างหลังการต่อต้านแบบไม่ใช้ความรุนแรง และไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายการปิดเกมทางการเมืองใดๆ นอกเหนือจากความหวังที่ว่าระบอบปกครองปักกิ่งจะตอบสนองการโน้มน้าวเชิงศีลธรรมของผู้ประท้วง และยินยอมดำเนินการปฏิรูปทางประชาธิปไตยด้านต่างๆ ถ้าหากจะมีการคาดคำนวณทางการเมืองใดๆ ที่มุ่งจะใช้ประโยชน์จากการชุมนุมเดินขบวนคราวนั้นเพื่อผลักดันวาระการเมืองรูปธรรมใดๆ แล้ว มันก็เป็นสิ่งที่มาจากกลุ่มนักปฏิรูปภายในชนชั้นนำของจีนเอง
แต่สำหรับ ออคคิวพาย ฮ่องกง มันเป็นโปรแกรมของการต่อสู้แบบอารยะขัดขืน, การยกระดับความรุนแรง, และการยั่วยุ ซึ่งได้มีการวางแผนเตรียมการกันไว้อย่างระมัดระวัง ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะกระตุ้นให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นมา ซึ่งจะทำให้มติมหาชนชาวฮ่องกงเกิดการแตกขั้วแบ่งข้างไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยนี้ และบีบบังคับให้ชนชั้นนำของนครแห่งนี้ ต้องยอมสนับสนุนข้อเรียกร้องต่างๆ ของขบวนการ เพื่อที่จะยังคงสามารถรักษาฐานะทางอำนาจในท้องถิ่นตลอดจนความมั่งคั่งของพวกเขาเองเอาไว้ได้
ผมยังจะขอตั้งข้อสังเกตต่อไป ถึงแม้มันคงจะไม่ทำให้ผมเป็นที่รักใคร่ชื่นชอบของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของฮ่องกงก็ตามที นั่นคือ ขบวนการนักศึกษาปี 1989 นั้น เป็นการตอบโต้ของประชาชนต่อวิกฤตการณ์ที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ทั้งในทางการปกครอง, การบริหารจัดการเศรษฐกิจ, ตลอดจนการทุจริตคอร์รัปชั่นของระบอบปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีน ในทางตรงกันข้าม สำหรับผมแล้ว ผมมองว่าขบวนการ ออคคิวพาย ฮ่องกง ถูกจุดชนวนขึ้นมาจากการที่สาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูปสำหรับการเลือกตั้งฮ่องกงปี 2017 ซึ่งก็คือประเด็นว่าด้วยสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) ตลอดจนถูกจุดชนวนจากการคาดคำนวณของพวกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของฮ่องกงที่ว่า ถ้าหากชาวฮ่องกงได้รับประสบการณ์ของการได้ออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครบางคนกันจริงๆ ถึงแม้จะผ่านการกลั่นกรองของปักกิ่งมาก่อนชั้นหนึ่งก็ตามที มันก็อาจเพียงพอที่จะล่อหลอกให้ชาวฮ่องกงทั้งหลายหลงกล และพลอยเห็นดีเห็นงามกับการใช้ประชาธิปไตยแบบมีการบริหารจัดการของสาธารณรัฐประชาชนจีน แล้วเลยจะทำให้การปลุกปั่นยั่วยุให้ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยแบบเต็มใบ เป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น
ควรที่จะต้องระบุเอาไว้ตรงนี้ด้วยว่า ดร.เบนนี ไท่ (Dr Benny Tai) หนึ่งในผู้จัดตั้งขบวนการออคคิวพาย ฮ่องกง ขึ้นมา ไม่ได้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับ อู๋เอ่อ ไกซี (Wuer kaixi) ผู้นำนักศึกษาที่วางตัวใหญ่โต, มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง, และสุดแสนจะไม่เอาไหน แต่ก็ได้กลายเป็นหน้าตาของขบวนการปี 1989 ตรงกันข้าม เบนนี ไท่ เป็นอาจารย์นิติศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง (University of Hong Kong) ทั้งฉลาดทั้งรอบรู้ และผมคิดว่าเขาได้เตรียมตัวขบคิดมาเป็นอย่างดีเกี่ยวกับวิธีปิดเกมวิธีต่างๆ ที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งจะไม่ทำให้ปักกิ่งส่งกองทหารเข้ามาปราบปรามบดขยี้ความไม่สงบในฮ่องกงทำนองเดียวกับที่เคยกระทำในกรณีเทียนอันเหมิน และทำให้พวกนักศึกษานักเคลื่อนไหวของเขากลายเป็นวีรชนผู้สละชีพไป (ถึงแม้ผมเองแน่ใจว่า ภาพจำลองสถานการณ์เช่นนี้ก็จะเป็นภาพจำลองสถานการณ์แบบสำคัญยิ่งแบบหนึ่ง ซึ่งเขาต้องขบคิดพิจารณาอยู่อย่างแน่นอน)
ในความเห็นของผมแล้ว ในขณะที่วิกฤตการณ์ทางการเมืองคราวนี้คลี่คลายเดินหน้าไปเรื่อยๆ “ลางบอกเหตุ” ที่จะกลายเป็นกุญแจดอกสำคัญดอกหนึ่ง ซึ่งสามารถดลบันดาลโชคชะตาและยุทธศาสตร์ของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงนี้ได้ ก็คือการที่ขบวนการนี้จะแสดงความกริ้วโกรธของตนต่อชนชั้นนำทางธุรกิจในนครแห่งนี้หรือไม่ และจะแสดงออกมาในรูปลักษณ์ใด ทั้งนี้ชนชั้นนำทางธุรกิจเหล่านี้เองซึ่งเป็นผู้จัดหาการสนับสนุนในท้องถิ่นและอำนาจอิทธิพลทางการเงิน มารองรับการควบคุมดินแดนแห่งนี้ของปักกิ่ง
พวกเจ้าสัวเหล่านี้บางรายจะถูกขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยโจมตีประทับตราว่าเป็นพวกร่วมมือกับปักกิ่งเพื่อย่ำยีฮ่องกง จนทำให้ชื่อเสียงและผลประโยชน์ในท้องถิ่นของเจ้าสัวเหล่านี้ถูกคุกคามหรือไม่? ขณะเดียวกัน ก็จะมีการติดต่อทาบทามอย่างเงียบๆ กับเจ้าสัวรายอื่นๆ หรือไม่ เพื่อเสนอคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นไปได้ ในการที่เจ้าสัวพวกหลังนี้จะสามารถลดความเสี่ยงเล่นไพ่หน้าเดียว ด้วยการหันมาวางเดิมพันเล่นไพ่สองหน้า เข้าข้างทั้งฝ่ายฮ่องกงและฝ่ายปักกิ่ง? ก็อย่างที่นิยมพูดกันนั่นแหละครับ เวลาจะเป็นผู้ให้คำตอบต่อคำถามเหล่านี้
ผมขอวาดภาพจินตนาการว่า ปฏิกิริยาอย่างแรกสุดเลยของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง และพรรคคอมมิวนิสต์จีน ก็คือความรู้สึกหงุดหงิดผิดหวังต่อพวกลูกมือท้องถิ่นของพวกเขาในฮ่องกง ซึ่งล้มเหลวไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้ และเมื่อสิ่งต่างๆ ลุกลามขยายตัวออกไปก็กำลังทำให้ปักกิ่งต้องเดือดร้อนไปด้วย ดังนั้น ผมจึงเดาว่า เรื่องของฮ่องกงนี้จะต้องถูกมอบหมายให้ทีมบริหารจัดการวิกฤตการณ์อย่างลับๆ อะไรสักทีมหนึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
สำหรับทางเลือกต่างๆ ที่ปักกิ่งสามารถที่จะนำเอามาใช้ได้นั้น แน่นอนล่ะ ทางเลือกหนึ่งก็คือการส่งขบวนรถถังเข้าไปลุย (และจากนั้นก็ต้องยืนหยัดแบกรับเสียงประณามสาปแช่งจากนานาชาติ ตลอดจนเผชิญกับความเกลียดชังอย่างไม่รู้สิ้นสุดของพลเมืองฮ่องกง)
ทางเลือกอีกทางหนึ่ง ซึ่งดูจะได้รับความสนใจน้อยกว่ามาก จากพวกที่เอาแต่มุ่งเพ่งจ้องว่ามันจะเกิดเหตุการณ์แบบกรณีเทียนอันเหมิน ได้แก่การปล่อยให้ฮ่องกงค่อยๆ ถูกเคี่ยวถูกตุ๋นอยู่ในน้ำซุปของตนเอง ด้วยการอนุญาตให้ภาวะผิดปกติที่พื้นที่สำคัญถูกผู้ประท้วงยึดและการดำเนินชีวิตตามปกติของผู้คนถูกกระทบกระเทือน ได้แผ่ลามขยายตัวออกไปเรื่อยๆ จวบจนกระทั่งกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้กลับจากคนท้องถิ่นเอง หรือถ้าหากไม่อาจดำเนินไปถึงขนาดนั้นได้ อย่างน้อยที่สุดก็ปล่อยให้สถานการณ์ถูกเคี่ยวถูกตุ๋นจนกระทั่งพวกผู้มีหน้ามีตาในท้องถิ่นทั้งหลายอดทนต่อไปไม่ไหว และยื่นอุทธรณ์ร้องเรียนอย่างเปิดเผยต่อปักกิ่งเพื่อให้ช่วยเหลือนำพาพวกเขาออกมาให้พ้นจากภาวะวุ่นวาย โดยที่บางทีปักกิ่งอาจจะใช้วิธียื่นคำขาดให้ฮ่องกงกลับคืนสู่ความสงบ ควบคู่ไปกับการเสนอหมากกลเล่ห์เหลี่ยมทางกฎหมายบางประการสำหรับการเลือกตั้งผู้นำของฮ่องกงภายหลังปี 2017 โดยอาจจะอยู่ในเรื่องส่วนประกอบของคณะกรรมการการซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่คัดกรองผู้สมัครที่จะลงแข่งขันให้ชาวฮ่องกงลงคะแนนเลือกตั้ง
สำหรับการรายงานข่าวของสื่อมวลชนตะวันตกนั้น ในระยะแรกๆ นี้ยังดูเหมือนจะมีลักษณะกระจัดกระจายอยู่มาก ถึงแม้ว่าจะมีการพาดพิงอ้างอิงกันอยู่ในหลายๆ โอกาส ถึงเรื่องที่มันอาจจะกลายเป็นกรณีเทียนอันเหมินขึ้นมาอีกครั้ง
ทั้งนี้มีพวกนักหนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อยทีเดียวที่ถูกปักกิ่งขับไสเนรเทศออกมาจากแผ่นดินใหญ่ หรือไม่ก็ได้รับการปฏิบัติจากปักกิ่งอย่างไม่ถูกต้องไม่งดงาม พวกเขาเหล่านี้บางส่วนกำลังอยู่ในฮ่องกง หรือไม่ก็กำลังคันไม้คันมืออยากจะเดินทางไปที่นั่น และผมสงสัยว่าพวกเขาเหล่านี้จำนวนมากทีเดียว ในเวลาที่กำลังธำรงรักษามาตรฐานในการรายงานข่าวอย่างไร้อคติด้วยความเข้มงวดเคร่งครัดที่สุดอยู่นั้น ก็จะไม่รู้สึกไม่สบายใจอะไรเลยที่จะใช้วาระโอกาสนี้ในการเตะใส่ระบอบปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนสักทีสองที
รายงานอันเป็นเท็จที่ชวนให้รู้สึกรำคาญมากที่สุดเรื่องหนึ่ง ได้แก่สิ่งซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นฝีมือการปล่อยข่าวของทาง ออคคิวพาย ฮ่องกง แล้วมีนักหนังสือพิมพ์บางรายหยิบเอามาใช้เผยแพร่ต่อ ได้แก่การที่พูดกันว่า “สี ควรที่จะทำตัวให้เหมือน เติ้ง มากกว่านี้” (Xi Should Be More Like Deng) ซึ่งหมายความว่า สี ควรที่จะนำเอาวิธีการแบบยึดหยุ่น และยึดอยู่กับผลในทางปฏิบัติของ เติ้ง มาใช้จัดการกับสถานการณ์ฮ่องกงเวลานี้
คงต้องเตือนความจำกันก่อนว่า ในความเป็นจริงแล้ว เติ้ง ไม่เคยหวาดกลัวเลยที่จะนำเอาเรื่องซึ่งจีนอาจจะยกกำลังทหารเข้ารุกรานและยึดครองฮ่องกงจากน้ำมือของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ มาใช้เป็นหมากใบหนึ่งในเวลาเขาเจรจากับ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (Margaret Thatcher) ดังที่มีรายงานข่าวของสื่อตะวันตกระบุทบทวนว่า:
ฝ่ายจีนนั้นเตรียมพร้อมอยู่แล้วที่จะหันไปใช้ “วิธีการเรียกร้องด้วยกำลัง” ถ้าหากการเจรจา (ระหว่างจีนกับอังกฤษในเรื่องฮ่องกง) ได้จุดชนวนให้เกิดความไม่สงบขึ้นในอาณานิคมแห่งนั้น นี่เป็นคำพูดของ ลู่ ผิง (Lu Ping) ผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นหัวหน้าของฝ่ายจีนในการเจรจากับ คริส แพตเทิน (Chris Patten) ผู้ว่าการฮ่องกงคนสุดท้ายของอังกฤษ
[นายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้น และต่อมาได้รับฐานันดรศักดิ์เป็น] บารอนเนสส์ แธตเชอร์ (Baroness Thatcher) ก็กล่าวในภายหลังว่า เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งเป็นผู้นำของจีนในตอนนั้น ได้บอกกับเธออย่างตรงไปตรงมาว่า “ผมสามารถที่จะเดินตรงเข้าไป และยึดเอา (ฮ่องกง) ไว้ทั้งหมดภายในบ่ายนี้เลย” [2]
เติ้ง ยังเป็นสถาปนิกใหญ่ผู้วางโครงสร้างประชาธิปไตยแบบมีการบริหารจัดการ (managed democracy) ของฮ่องกง และก็ถูกต้องแล้วครับ เติ้ง อีกนั่นแหละ เป็นผู้ที่เปิดไฟเขียวให้กองทหารเคลื่อนเข้าสู่กรุงปักกิ่งในกรณีเทียนอันเหมิน เมื่อวันที่ 3-4 มิถุนายน 1989
จากการที่พวกนักวิจารณ์ของสื่อมวลชนตะวันตกจำนวนมาก ต่างกำลังอ้างอิงเปรียบเทียบการประท้วงที่ฮ่องกงคราวนี้กับกรณีเทียนอันเหมิน กันจนติดปาก ดังนั้น การที่พวกเขากลับยืนกรานว่า สี จิ้นผิง ควรที่จะศึกษามองหาเคล็ดลับในการบริหารจัดการกับปัญหาความเดือดร้อนของคนฮ่องกงจาก เติ้ง เสี่ยวผิง จึงเป็นเรื่องที่ก้ำกึ่งว่าจะกลายเป็นเรื่องตลกไร้สาระทีเดียว
วิธีเลือกสรรเอาเฉพาะอดีตแบบที่ตนเองต้องการจดจำเท่านั้นเช่นนี้ ยังปรากฏให้เห็นในการรายงานข่าว (หรืออย่างน้อยที่สุดก็ในการพาดหัวข่าว) ข้อกล่าวอ้างของกลุ่มออคคิวพาย ฮ่องกง ที่ว่า ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของพวกเขาในปัจจุบัน มีชนวนต้นเหตุปะทุขึ้นมา จากการที่ปักกิ่ง “ทรยศ” ต่อคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้ในเรื่องประชาธิปไตยของฮ่องกง โดยที่ได้กำหนดจะให้ผู้ออกเสียงชาวฮ่องกง ได้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) ในการเลือกตั้งผู้ว่าการฮ่องกงปี 2017 แต่แล้วเวลานี้กลับตระบัดสัตย์โดยยืนยันว่า มีแต่ผู้สมัครที่ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถลงแข่งขันให้ประชาชนลงคะแนน
ตามที่ผมค้นคว้าทำความเข้าใจมาได้นั้น การจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในแผนการพื้นฐานสำหรับฮ่องกง ของฝ่ายปักกิ่งมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ สาธารณรัฐประชาชนจีนยินยอมสัญญาที่จะให้ภาคธุรกิจ/สังคมของฮ่องกงปกครองกันเองอย่างเสรีเป็นระยะเวลา 50 ปี ก็ต่อเมื่ออยู่ในเงื่อนไขที่ว่าจะยังคงสามารถควบคุมให้ เจ้ายักษ์ใหญ่ประชาธิปไตยทางตรง ยังคงอยู่ภายในขวดแก้ว ด้วยวิธีการควบคุมบัญชีรายชื่อของผู้สมัครที่สามารถลงแข่งขันชิงตำแหน่ง
ผมยังสงสัยว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนคงจะได้บอกกล่าวกับรัฐบาลแธตเชอร์ในเวลาที่เจรจาต่อรองกันในเวลานั้นว่า ถ้าหากอังกฤษซึ่งไม่เคยสนใจที่จะให้ชาวฮ่องกงได้สิทธิเลือกตั้งผู้นำของพวกเขามาก่อนเลย กลับพยายามที่จะนำเอาระบบประชาธิปไตยทางตรงอย่างสมบูรณ์เข้ามาใช้ในฮ่องกง ในช่วงก่อนจะถึงวาระต้องส่งมอบคืนให้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1997 (อย่างที่ คริส แพตเทิน พยายามที่จะผลักดันอย่างสุดเดชสุดฤทธิ์) และทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีนต้องแบกรับภารกิจอันไม่น่ายินดี ในการรื้อถอนให้สิ่งต่างๆ กลับคืนสู่สถานะเดิม เมื่อเข้าอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งนี้แล้ว นั่นก็จะเป็นการจุดชนวนให้เกิดการ “ออคคิวพาย ฮ่องกง” (การยึดครองฮ่องกง) ขึ้นมาอย่างแท้จริง ด้วยน้ำมือของสาธารณรัฐประชาชนจีน
อย่างที่ผมได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ข้างต้น เติ้ง เสี่ยวผิง นั่นเอง คือสถาปนิกผู้วางกรอบความคิดของยุทธศาสตร์แห่งการติดตั้ง “ปุ่มสวิตซ์สังหาร” เอาไว้ในระบอบประชาธิปไตยของฮ่องกง และทำให้เสรีภาพทางเศรษฐกิจและทางสังคมของฮ่องกงภายใต้สูตร “หนึ่งประเทศ สองระบบ” (one country two systems) ถูกถ่วงดุลด้วยการที่ปักกิ่งยังคงสามารถทำการควบคุมทางการเมือง ด้วยการกีดกันขัดขวางไม่ให้มีผู้ที่อาจเป็นปรปักษ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายในส่วนผสมทางการเมืองของฮ่องกง มีโอกาสได้ขึ้นเป็นผู้บริหารของเขตบริหารพิเศษของจีนแห่งนี้
ต่อไปนี้คือสิ่งที่ เติ้ง เสี่ยวผิง พูดเอาไว้เมื่อปี 1984 เกี่ยวกับการปกครองฮ่องกง:
ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารกิจการต่างๆ ของฮ่องกงโดยประชาชนชาวฮ่องกงนั้น ควรที่จะจัดทำข้อกำหนดหรือคุณสมบัติบางอย่างบางประการเอาไว้ด้วย โดยที่จะต้องกำหนดว่า รัฐบาลของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในอนาคต จะต้องมีผู้รักชาติทั้งหลายเป็นส่วนประกอบหลักในบรรดาผู้บริหาร แน่นอนทีเดียวว่ายังควรที่จะต้องรวมเอาชาวจีนคนอื่นๆ เข้ามาด้วย ตลอดจนควรต้องเชื้อเชิญชาวต่างประเทศให้เข้ามาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเช่นเดียวกัน คราวนี้ ใครล่ะคือผู้รักชาติที่ว่านี้? ผู้รักชาติก็คือคนที่เคารพนับถือความเป็นชาติจีน ให้ความสนับสนุนอย่างจริงใจต่อการที่มาตุภูมิเข้ารับมอบอธิปไตยเหนือดินแดนฮ่องกง และไม่ได้มีความปรารถนาที่จะสร้างความเสียหายให้แก่ความมั่งคั่งรุ่งเรืองและเสถียรภาพของฮ่องกง พวกที่ผ่านเกณฑ์ผ่านข้อกำหนดเหล่านี้คือผู้รักชาติ ไม่ว่าพวกเขาจะเชื่อถือในลัทธิทุนนิยม หรือลัทธิศักดินานิยม หรือแม้กระทั่งระบอบทาส เราไม่ได้เรียกร้องให้พวกเขาต้องนิยมชมชื่นระบบสังคมนิยมของจีน เราเพียงขอให้เขารักมาตุภูมิและรักฮ่องกง [3]
เจตนารมณ์ที่ เติ้ง เสี่ยวผิง พูดออกมานี้ ได้ถูกนำไปเขียนเอาไว้ในมาตรา 45 ของ กฎหมายพื้นฐานแห่งฮ่องกง (Hong Kong Basic Law) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐธรรมนูญในทางเป็นจริงของฮ่องกง ภายหลังจากที่อธิปไตยของดินแดนแห่งนี้กลับคืนมาอยู่ในมือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1997 ทั้งนี้ มาตรา 45 ดังกล่าวมีข้อความดังนี้:
ผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive) ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong Special Administrative Region) จะคัดเลือกขึ้นมาด้วยการเลือกตั้ง หรือโดยผ่านการปรึกษาหารือ ที่จัดขึ้นในท้องถิ่น และได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลของประชาชนในส่วนกลาง
วิธีในการคัดเลือกผู้บริหารสูงสุดจะกำหนดกันเป็นรูปธรรม โดยอิงอยู่กับสถานการณ์ที่เป็นจริงของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง และโดยสอดคล้องกับหลักการว่าด้วยความก้าวหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเป็นระเบียบเรียบร้อย (principle of gradual and orderly progress) จุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือให้มีการคัดเลือกผู้บริหารสูงสุด ด้วยวิธีให้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) ภายใต้การเสนอชื่อของคณะกรรมการเสนอชื่อซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยสอดคล้องกับกระบวนวิธีแบบประชาธิปไตย [4]
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า สาธารณรัฐประชาชนมีความเห็นว่า จุดหมายปลายทาง (“จุดมุ่งหมายสูงสุด”) ของเส้นทางการปฏิรูปทางประชาธิปไตยคือ การให้ประชาชนได้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นการทั่วไป เพื่อลงคะแนนเลือกคนที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดจากบรรดาผู้สมัครซึ่งเสนอขึ้นมาโดยคณะกรรมการเสนอชื่อชุดหนึ่ง ไม่ใช่การให้ใช้สิทธิออกเสียงอย่างเป็นการทั่วทั่วไป ทั้งในการการเสนอชื่อและในกระบวนการเลือกตั้ง อย่างที่ขบวนการ ออคคิวพาย ฮ่องกง เรียกร้องต้องการอยู่ในเวลานี้
ถ้าหากรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เคยแก้ไข หรือเคยให้สัญญาที่จะแก้ไข หรือเคยแสดงนัยให้เห็นว่าจะทำการแก้ไข เกี่ยวกับความเข้าใจในเรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นการขจัดโยนทิ้งคณะกรรมการเสนอชื่อ อันเป็นเครื่องมืออันสำคัญที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการควบคุมการเมืองแห่งการเลือกตั้งในฮ่องกงแล้ว ก็ขอได้โปรดบอกให้ผมทราบด้วย ไม่เช่นนั้นแล้ว ผมก็ยังคงต้องถือว่า การป่าวร้องว่า “จีนได้ทรยศตระบัดสัตย์คำมั่นสัญญาเรื่องประชาธิปไตยของตน” คือการป่าวประกาศเรื่องเท็จ ซึ่งเผยแพร่กันออกมาก็เพียงเพื่อมุ่งสร้างผลในทางส่งเสริมผลักดันอย่างไม่เป็นธรรมชาติ ต่อฐานะความถูกต้องชอบธรรมของขบวนการ ออคคิวพาย ฮ่องกง เท่านั้นเอง
ถ้าหากจะป่าวร้องว่า “เราไม่ชอบกฎหมายพื้นฐานแห่งฮ่องกง และต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักกฎหมายนี้หลังจากที่ได้ใช้มา 17 ปี โดยที่จะอาศัยการปฏิบัติการตามท้องถนนมาเป็นเครื่องมือต่อสู้” อย่างนี้ ผมคิดว่ามันย่อมขายยากขายเย็นกว่าการตีฆ้องประกาศว่า “จีนทรยศตระบัดสัตย์” อยู่แล้ว ถึงแม้ว่าในความเห็นของผมแล้วมันจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์มากกว่า
อย่างไรก็ตาม ผมมีความรู้สึกว่า การเล่นลิ้นตลบตะแลงในทางกฎหมายเช่นนี้ กำลังถูกบดบังด้วยความโกรธกริ้วที่ว่า “รัฐบาลฮ่องกงใช้แก๊สน้ำตากับประชาชนของตนเอง” ซึ่งบางทีเรื่องหลังนี้แหละคือสิ่งที่ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยวาดหวัง ที่จะให้การอภิปรายถกเถียงทั้งหลายรวมศูนย์กันอยู่เฉพาะที่ตรงนี้ตั้งแต่แรกแล้ว
หมายเหตุ:
[1] ดูเรื่อง Hong Kong students storm government HQ to demand full democracy, Reuters, September 26, 2014.
[2] ดูเรื่อง China plotted Hong Kong invasion, The Australian, June 25, 2007.
[3] ดูเรื่อง One Country, Two Systems, peopledaily.com, June 23-24, 1984.
[4] ดูรายละเอียดได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Hong_Kong_Basic_Law_Article_45
ปีเตอร์ ลี เป็นนักเขียนที่สนใจเรื่องกิจการเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ตลอดจนจุดตัดกันระหว่างภูมิภาคเหล่านี้กับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ
Beijing reaps bitter fruit in Hong Kong
By Peter Lee
29/09/2014
การที่ประชาชนในฮ่องกงจำนวนมากมีความรู้สึกแปลกแยกต่อปักกิ่ง และการที่พลเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาก่อความยุ่งยากต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมของนครแห่งนี้ ต่างก็เป็นเรื่องซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนอันล้ำลึก แล้วก็เลยถูกต่อยอดด้วยข้อกล่าวอ้างที่ว่าปักกิ่งได้ทรยศไม่ทำตามคำมั่นสัญญาที่จะให้ชาวฮ่องกงทุกคนมีสิทธิเลือกตั้งผู้นำของตนภายในปี 2017 ในขณะที่ข้ออ้างเรื่องตระบัดสัตย์นั้นเป็นเรื่องเท็จซึ่งเที่ยวเร่ขายโดยขบวนการนิยมประชาธิปไตย แต่การที่รัฐบาลฮ่องกงใช้แก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทยเข้าเล่นงานประชาชนของตนเอง ก็ทำให้การเล่นลิ้นตลบตะแลงเกี่ยวกับ “หลักกฎหมายพื้นฐาน” เหล่านี้ ถูกบดบังจนมองกันไม่ค่อยเห็น
เป็นเรื่องเราสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายกว่ามาก ว่าทำไมสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงเล่นงานอย่างหนักหน่วงต่อ อิลฮัม โตห์ติ (Ilham Tohti) “ปัญญาชนสาธารณะ” (public intellectual) ชาวอุยกูร์
หากวินิจฉัยจากข้อความต่างๆ ที่เป็นคำพูดและข้อเขียนของเขา โดยที่ยอมรับกันด้วยว่าเป็นข้อความซึ่งตัดตอนคัดสรรกันมา เพื่อเอามาใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีของ “ศาลเตี้ย” (ซึ่งได้ตัดสินให้เขารับโทษ “ถูกจองจำอย่างไม่มีกำหนด” ทว่าได้รับการรายงานข่าวอย่างไม่ถูกต้องนักในโลกตะวันตกว่าเป็นการ “ถูกคุมขังตลอดชีวิต”) เราก็ยังคงจะสามารถกล่าวได้ว่า อิลฮัม ได้วาดหวังที่จะอาศัยตำแหน่งอาจารย์ ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในซินเจียง (ซินเกียง) ของเขา เพื่ออบรมบ่มเพาะกลุ่มแกนนำนักศึกษาสักกลุ่มหนึ่งขึ้นมา เป็นกลุ่มแกนนำนักศึกษาซึ่งมีความสำนึกอย่างแรงกล้าในอัตลักษณ์แห่งความเป็นชาวอุยกูร์, มีความรู้สึกแปลกแยกจากระบอบปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน, และมีความมั่นอกมั่นใจในเรื่องสิทธิและในเรื่องความจำเป็นที่จะต้องก่อกวนสร้างความปั่นป่วน เพื่อทำให้ซินเจียงมีอำนาจปกครองตนเองเพิ่มขึ้นไปกว่าเดิมอีกมาก ในภาวะที่ต้องเผชิญกับมหาอำนาจผู้ยึดครองชาวต่างด้าว
ถ้าหากสิ่งต่างๆ เป็นไปตามความวาดหวังของเขาแล้ว บางทีการเมืองของซินเจียงจะเกิดการวิวัฒนาการ กลายเป็นการเมืองแบบที่เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด และก่อให้เกิดความคับข้องใจอย่างไม่ขาดสาย รวมทั้งสร้างจิตวิญญาณแห่งการต่อต้านอย่างแข็งขันมากขึ้นเรื่อยๆ ทำนองเดียวกับที่เราสามารถพบเห็นได้ในปาเลสไตน์ --หรือตามท้องถนนในฮ่องกงเวลานี้
ตำรวจฮ่องกงนั้นได้แสดงให้เห็นถึงการขาดไร้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการแสดงออกของการเมืองแบบประชานิยมบนเวทีแห่งท้องถนน เมื่อพวกเขาตอบสนองต่อการยั่วยุของพวกนักศึกษา ซึ่งเป็นกองหน้าของขบวนการ “ออคคิวพาย” (Occupy movement) ด้วยวิธีฉีดสเปรย์พริกไทย , ยิงแก๊สน้ำตา, และยิงด้วยกระสุนยาง ในความพยายามอันผิดพลาดเหลือเกินที่จะเคลียร์ถนนสายต่างๆ ในเขตแอดมิราลตี้ (Admiralty) และนั่นเองทำให้พวกเขากลายเป็นฝ่ายปราชัยในสมรภูมิแห่งการประชาสัมพันธ์ในเวลานี้ และกระทั่งบางทีอาจจะถึงกับพ่ายแพ้ตลอดไปด้วยซ้ำ
เมื่อขบคิดทบทวนย้อนหลัง บางทีพวกนักยุทธศาสตร์ในฮ่องกงและในปักกิ่งอาจจะได้ข้อสรุปแล้วว่า วิธีตอบสนองที่ดียิ่งกว่านั้นมาก ก็คือการที่ตำรวจเฝ้าดูอยู่เฉยๆ และเปิดทางให้พวกนักศึกษาบุกตะลุยเข้าไปในสำนักงานต่างๆ ของทางรัฐบาล (ปู้โธ่เอ้ย! มันจะเป็นอะไรนักหนา ตอนที่นักศึกษาบุก ก็เป็นช่วงสุดสัปดาห์ซึ่งสำนักงานต่างๆ ก็หยุดงานปิดทำการกันอยู่แล้ว) แล้วก็ปล่อยให้มติมหาชนได้เคี้ยวได้ย่อยกันสักสองสามวัน ในการพิจารณาประเด็นที่ว่าการเมืองแบบมุ่งประจันหน้าชนิดนี้เป็นสิ่งที่สมควรต้อนรับหรือไม่
อันที่จริงแล้ว วิธีรับมือเช่นนี้แหละคือสิ่งที่รัฐบาลพรรคก๊กมิ่นตั๋งที่ถูกกล่าวหาโจมตีมากมายในไต้หวัน นำเอามาใช้เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ตอนที่ขบวนการ “ซันฟลาวเวอร์” (Sunflower) บุกเข้าไปยึดอาคารรัฐสภา (Legislative Yuan) โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ ชัยชนะทางการประชาสัมพันธ์ที่พวกนักศึกษาเคยได้มาก่อนหน้านั้น ดูเหมือนจะกลายเป็นชัยชนะที่ค่อนข้างสั้นจู๋ รวมทั้งในหมู่ผู้ประท้วงก็ยังคงมีการถกเถียงโต้แย้งกันเอง ระหว่างฝ่ายที่ต้องการให้เล่นเกมแรง กับฝ่ายที่เรียกร้องให้ใช้ความบันยะบันยัง ไม่ใช่เฮละโลเห็นดีเห็นงามไปทั้งหมดว่าไม่อาจที่จะใช้วิธีนิ่มนวลได้
จากการที่ผมได้เห็นผลลัพธ์อันชวนหดหู่ท้อใจในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อียิปต์, ปากีสถาน, หรือ ยูเครน ผมจึงไม่ได้เป็นแฟนานุแฟนของประชาธิปไตยประเภทที่ “พวกนักศึกษานักเคลื่อนไหวพากันบุกเข้ายึดครองพื้นที่และก่อการเอะอะครึกโครมขึ้นในจัตุรัสใหญ่กลางเมือง” ทั้งนี้ ถ้าหากพวกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของฮ่องกง ต้องการที่จะส่งเสียงแสดงอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนออกมาให้ปรากฏกันจริงๆ แล้ว แทนที่จะใช้กระบวนการขับดันความคิดเห็นด้วยการปฏิบัติการแบบประจันหน้าตามท้องถนนเช่นนี้ พวกเขาย่อมสามารถที่จะจัดการรณรงค์คว่ำบาตรการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในปี 2017 ซึ่งน่าจะเข้าทีกว่า (ทั้งนี้ การเลือกตั้งผู้ว่าการฮ่องกงที่จะเกิดขึ้นในปี 2017 นั้น ถ้าหากสภานิติบัญญัติของฮ่องกงลงมติผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงทุกคนจะได้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครโดยตรง ทว่าผู้สมัครซึ่งจะมาให้เลือกนั้น จะต้องผ่านการกลั่นกรองของคณะกรรมการชุดหนึ่ง ที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าสมาชิกในคณะกรรมการชุดนี้ จะต้องเป็นพวกที่เอนเอียงเห็นดีเห็นงามกับทางสาธารณรัฐประชาชนจีน)
อย่างไรก็ตาม ผมยอมรับว่า การที่ประชาชนในฮ่องกงจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกคนรุ่นหนุ่มสาว มีความรู้สึกแปลกแยกต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน และการที่พลเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาก่อความยุ่งยากต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมของนครแห่งนี้ ต่างก็เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบกระเทือนอันล้ำลึก นอกจากนั้นการที่สาธารณรัฐประชาชนใช้ความพยายามอันน่ารังเกียจ (และบางครั้งกระทั่งเป็นความพยายามอันรุนแรง) ที่จะควบคุมสื่อมวลชนท้องถิ่นอย่างแน่นหนายิ่งขึ้น ย่อมเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าปักกิ่งกำลังมุ่งมั่นที่จะ “บริหารจัดการ” และจำกัดการแสดงออกทางการเมืองในฮ่องกง
ในการจัดให้พลเมืองฮ่องกงได้ลงประชามติอย่างไม่เป็นทางการ (จริงๆ แล้ว ควรที่จะเรียกว่าเป็นการจัดให้พวกผู้นิยมประชาธิปไตยออกมาลงคะแนนว่า ในระหว่างทางเลือกแบบนิยมประชาธิปไตยต่างๆ รวม 3 ทางเลือกนั้น พวกเขาจะเลือกแบบไหน) ปรากฏว่าสามารถดึงดูดผู้สนใจให้มาออกเสียงได้ถึงเกือบๆ 800,000 เสียง ซึ่งเท่ากับประมาณ 1 ใน 5 ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดในนครแห่งนี้ทีเดียว
ดังนั้น สถานการณ์จึงอยู่ในสภาพที่เหมือนกับมีสายชนวนขนาดอ้วนใหญ่วางรอกันอยู่ตรงนั้นแล้ว และกลุ่มออคคิวพาย ฮ่องกง ก็ตัดสินใจที่จะจุดมันให้ติดไฟลุกลามขึ้นมา เริ่มต้นตั้งแต่การคว่ำบาตรไม่เข้าห้องเรียนและการชุมนุมเดินขบวนซึ่งจัดโดยสหพันธ์นักศึกษาฮ่องกง และเนื่องจากตัวผมนั้นไม่เคยหวาดกลัวเลยที่จะขยายคำเปรียบเทียบอุปมา จึงขอพูดต่อไปว่า ครั้นแล้วรัฐบาลฮ่องกงก็ได้ราดน้ำมันลงในกองเพลิงกองนี้ ด้วยการใช้สเปรย์พริกไทยและแก๊สน้ำตาฉีดฉีดใส่
ตามรายงานของ จอห์น พอมเฟรต (John Pomfret) แห่งสำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) ได้กล่าวถึงการตอบโต้ของฝ่ายตำรวจ ซึ่งมีบริบทที่น่าสนใจบางประการ ดังนี้:
นักเคลื่อนไหวนิยมประชาธิปไตยจำนวนหลายร้อยคน ได้บุกเข้าสู่สำนักงานของทางรัฐบาลในคืนวันศุกร์ (26 ก.ย.) หลังจากที่พวกผู้นำนักศึกษาซึ่งกำลังเรียกร้องให้ฮ่องกงมีประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ได้เร่งเร้าให้พวกเขาตะลุยเข้าไปในอาคารดังกล่าว
ฝ่ายตำรวจได้ใช้สเปรย์พริกไทยออกมาสกัดยับยั้ง ขณะที่พวกผู้ประท้วงพากันทำลายเครื่องกีดขวางและปีนข้ามรั้วอาคาร ในฉากเหตุการณ์อันชุลมุนวุ่นวาย ณ ใจกลางของศูนย์กลางการเงินของเอเชียแห่งนี้ ภายหลังจากที่ปักกิ่งได้ตัดสินใจปฏิเสธไม่ยอมให้มีการเลือกตั้งหาผู้นำของนครแห่งนี้กันอย่างเสรีในปี 2017
โจชัว หว่อง (Joshua Wong) ผู้นำนักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนหนุ่มวัย 17 ปีตัวผอมๆ ที่สวมแว่นตากรอบสีดำและตัดผมทรงกะลาครอบ ได้ถูกตำรวจจับกุมลากตัวออกไป ขณะที่ตัวเขาพยายามเตะและส่งเสียงร้องลั่น และพวกผู้ประท้วงก็ตะโกนและพยายามต่อสู้ช่วยเหลือเพื่อให้เขาเป็นอิสระ [1]
น่าประหลาดใจมากที่พวกสื่อมวลชนทั้งหลายดูเหมือนจะสามารถจดจำบริบทของเหตุการณ์นี้ได้น้อยเหลือเกิน ในเมื่อพวกเขาพากันใช้คำว่า “เทียนอันเหมิน!” และพากันบรรยายถึงหน้ากากป้องกันแก๊สน้ำตา ในเวลาที่รายงานเหตุการณ์ไม่สงบคราวนี้
ในความเห็นของผมแล้ว การใช้อุปมาอุปไมยสิ่งที่เกิดขึ้นในฮ่องกงคราวนี้ กับกรณีเทียนอันเหมิน น่าจะกลับกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการทำความเข้าใจถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเสียด้วยซ้ำ
เทียนอันเหมินปี 1989 นั้น เป็นขบวนการทัดทาน/ร้องทุกข์ ซึ่งพยายามนำเอาคุณลักษณะของการขัดขืนประท้วงมาซุกซ่อนอยู่ข้างหลังการต่อต้านแบบไม่ใช้ความรุนแรง และไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายการปิดเกมทางการเมืองใดๆ นอกเหนือจากความหวังที่ว่าระบอบปกครองปักกิ่งจะตอบสนองการโน้มน้าวเชิงศีลธรรมของผู้ประท้วง และยินยอมดำเนินการปฏิรูปทางประชาธิปไตยด้านต่างๆ ถ้าหากจะมีการคาดคำนวณทางการเมืองใดๆ ที่มุ่งจะใช้ประโยชน์จากการชุมนุมเดินขบวนคราวนั้นเพื่อผลักดันวาระการเมืองรูปธรรมใดๆ แล้ว มันก็เป็นสิ่งที่มาจากกลุ่มนักปฏิรูปภายในชนชั้นนำของจีนเอง
แต่สำหรับ ออคคิวพาย ฮ่องกง มันเป็นโปรแกรมของการต่อสู้แบบอารยะขัดขืน, การยกระดับความรุนแรง, และการยั่วยุ ซึ่งได้มีการวางแผนเตรียมการกันไว้อย่างระมัดระวัง ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะกระตุ้นให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นมา ซึ่งจะทำให้มติมหาชนชาวฮ่องกงเกิดการแตกขั้วแบ่งข้างไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยนี้ และบีบบังคับให้ชนชั้นนำของนครแห่งนี้ ต้องยอมสนับสนุนข้อเรียกร้องต่างๆ ของขบวนการ เพื่อที่จะยังคงสามารถรักษาฐานะทางอำนาจในท้องถิ่นตลอดจนความมั่งคั่งของพวกเขาเองเอาไว้ได้
ผมยังจะขอตั้งข้อสังเกตต่อไป ถึงแม้มันคงจะไม่ทำให้ผมเป็นที่รักใคร่ชื่นชอบของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของฮ่องกงก็ตามที นั่นคือ ขบวนการนักศึกษาปี 1989 นั้น เป็นการตอบโต้ของประชาชนต่อวิกฤตการณ์ที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ทั้งในทางการปกครอง, การบริหารจัดการเศรษฐกิจ, ตลอดจนการทุจริตคอร์รัปชั่นของระบอบปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีน ในทางตรงกันข้าม สำหรับผมแล้ว ผมมองว่าขบวนการ ออคคิวพาย ฮ่องกง ถูกจุดชนวนขึ้นมาจากการที่สาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูปสำหรับการเลือกตั้งฮ่องกงปี 2017 ซึ่งก็คือประเด็นว่าด้วยสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) ตลอดจนถูกจุดชนวนจากการคาดคำนวณของพวกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของฮ่องกงที่ว่า ถ้าหากชาวฮ่องกงได้รับประสบการณ์ของการได้ออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครบางคนกันจริงๆ ถึงแม้จะผ่านการกลั่นกรองของปักกิ่งมาก่อนชั้นหนึ่งก็ตามที มันก็อาจเพียงพอที่จะล่อหลอกให้ชาวฮ่องกงทั้งหลายหลงกล และพลอยเห็นดีเห็นงามกับการใช้ประชาธิปไตยแบบมีการบริหารจัดการของสาธารณรัฐประชาชนจีน แล้วเลยจะทำให้การปลุกปั่นยั่วยุให้ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยแบบเต็มใบ เป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น
ควรที่จะต้องระบุเอาไว้ตรงนี้ด้วยว่า ดร.เบนนี ไท่ (Dr Benny Tai) หนึ่งในผู้จัดตั้งขบวนการออคคิวพาย ฮ่องกง ขึ้นมา ไม่ได้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับ อู๋เอ่อ ไกซี (Wuer kaixi) ผู้นำนักศึกษาที่วางตัวใหญ่โต, มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง, และสุดแสนจะไม่เอาไหน แต่ก็ได้กลายเป็นหน้าตาของขบวนการปี 1989 ตรงกันข้าม เบนนี ไท่ เป็นอาจารย์นิติศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง (University of Hong Kong) ทั้งฉลาดทั้งรอบรู้ และผมคิดว่าเขาได้เตรียมตัวขบคิดมาเป็นอย่างดีเกี่ยวกับวิธีปิดเกมวิธีต่างๆ ที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งจะไม่ทำให้ปักกิ่งส่งกองทหารเข้ามาปราบปรามบดขยี้ความไม่สงบในฮ่องกงทำนองเดียวกับที่เคยกระทำในกรณีเทียนอันเหมิน และทำให้พวกนักศึกษานักเคลื่อนไหวของเขากลายเป็นวีรชนผู้สละชีพไป (ถึงแม้ผมเองแน่ใจว่า ภาพจำลองสถานการณ์เช่นนี้ก็จะเป็นภาพจำลองสถานการณ์แบบสำคัญยิ่งแบบหนึ่ง ซึ่งเขาต้องขบคิดพิจารณาอยู่อย่างแน่นอน)
ในความเห็นของผมแล้ว ในขณะที่วิกฤตการณ์ทางการเมืองคราวนี้คลี่คลายเดินหน้าไปเรื่อยๆ “ลางบอกเหตุ” ที่จะกลายเป็นกุญแจดอกสำคัญดอกหนึ่ง ซึ่งสามารถดลบันดาลโชคชะตาและยุทธศาสตร์ของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงนี้ได้ ก็คือการที่ขบวนการนี้จะแสดงความกริ้วโกรธของตนต่อชนชั้นนำทางธุรกิจในนครแห่งนี้หรือไม่ และจะแสดงออกมาในรูปลักษณ์ใด ทั้งนี้ชนชั้นนำทางธุรกิจเหล่านี้เองซึ่งเป็นผู้จัดหาการสนับสนุนในท้องถิ่นและอำนาจอิทธิพลทางการเงิน มารองรับการควบคุมดินแดนแห่งนี้ของปักกิ่ง
พวกเจ้าสัวเหล่านี้บางรายจะถูกขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยโจมตีประทับตราว่าเป็นพวกร่วมมือกับปักกิ่งเพื่อย่ำยีฮ่องกง จนทำให้ชื่อเสียงและผลประโยชน์ในท้องถิ่นของเจ้าสัวเหล่านี้ถูกคุกคามหรือไม่? ขณะเดียวกัน ก็จะมีการติดต่อทาบทามอย่างเงียบๆ กับเจ้าสัวรายอื่นๆ หรือไม่ เพื่อเสนอคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นไปได้ ในการที่เจ้าสัวพวกหลังนี้จะสามารถลดความเสี่ยงเล่นไพ่หน้าเดียว ด้วยการหันมาวางเดิมพันเล่นไพ่สองหน้า เข้าข้างทั้งฝ่ายฮ่องกงและฝ่ายปักกิ่ง? ก็อย่างที่นิยมพูดกันนั่นแหละครับ เวลาจะเป็นผู้ให้คำตอบต่อคำถามเหล่านี้
ผมขอวาดภาพจินตนาการว่า ปฏิกิริยาอย่างแรกสุดเลยของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง และพรรคคอมมิวนิสต์จีน ก็คือความรู้สึกหงุดหงิดผิดหวังต่อพวกลูกมือท้องถิ่นของพวกเขาในฮ่องกง ซึ่งล้มเหลวไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้ และเมื่อสิ่งต่างๆ ลุกลามขยายตัวออกไปก็กำลังทำให้ปักกิ่งต้องเดือดร้อนไปด้วย ดังนั้น ผมจึงเดาว่า เรื่องของฮ่องกงนี้จะต้องถูกมอบหมายให้ทีมบริหารจัดการวิกฤตการณ์อย่างลับๆ อะไรสักทีมหนึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
สำหรับทางเลือกต่างๆ ที่ปักกิ่งสามารถที่จะนำเอามาใช้ได้นั้น แน่นอนล่ะ ทางเลือกหนึ่งก็คือการส่งขบวนรถถังเข้าไปลุย (และจากนั้นก็ต้องยืนหยัดแบกรับเสียงประณามสาปแช่งจากนานาชาติ ตลอดจนเผชิญกับความเกลียดชังอย่างไม่รู้สิ้นสุดของพลเมืองฮ่องกง)
ทางเลือกอีกทางหนึ่ง ซึ่งดูจะได้รับความสนใจน้อยกว่ามาก จากพวกที่เอาแต่มุ่งเพ่งจ้องว่ามันจะเกิดเหตุการณ์แบบกรณีเทียนอันเหมิน ได้แก่การปล่อยให้ฮ่องกงค่อยๆ ถูกเคี่ยวถูกตุ๋นอยู่ในน้ำซุปของตนเอง ด้วยการอนุญาตให้ภาวะผิดปกติที่พื้นที่สำคัญถูกผู้ประท้วงยึดและการดำเนินชีวิตตามปกติของผู้คนถูกกระทบกระเทือน ได้แผ่ลามขยายตัวออกไปเรื่อยๆ จวบจนกระทั่งกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้กลับจากคนท้องถิ่นเอง หรือถ้าหากไม่อาจดำเนินไปถึงขนาดนั้นได้ อย่างน้อยที่สุดก็ปล่อยให้สถานการณ์ถูกเคี่ยวถูกตุ๋นจนกระทั่งพวกผู้มีหน้ามีตาในท้องถิ่นทั้งหลายอดทนต่อไปไม่ไหว และยื่นอุทธรณ์ร้องเรียนอย่างเปิดเผยต่อปักกิ่งเพื่อให้ช่วยเหลือนำพาพวกเขาออกมาให้พ้นจากภาวะวุ่นวาย โดยที่บางทีปักกิ่งอาจจะใช้วิธียื่นคำขาดให้ฮ่องกงกลับคืนสู่ความสงบ ควบคู่ไปกับการเสนอหมากกลเล่ห์เหลี่ยมทางกฎหมายบางประการสำหรับการเลือกตั้งผู้นำของฮ่องกงภายหลังปี 2017 โดยอาจจะอยู่ในเรื่องส่วนประกอบของคณะกรรมการการซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่คัดกรองผู้สมัครที่จะลงแข่งขันให้ชาวฮ่องกงลงคะแนนเลือกตั้ง
สำหรับการรายงานข่าวของสื่อมวลชนตะวันตกนั้น ในระยะแรกๆ นี้ยังดูเหมือนจะมีลักษณะกระจัดกระจายอยู่มาก ถึงแม้ว่าจะมีการพาดพิงอ้างอิงกันอยู่ในหลายๆ โอกาส ถึงเรื่องที่มันอาจจะกลายเป็นกรณีเทียนอันเหมินขึ้นมาอีกครั้ง
ทั้งนี้มีพวกนักหนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อยทีเดียวที่ถูกปักกิ่งขับไสเนรเทศออกมาจากแผ่นดินใหญ่ หรือไม่ก็ได้รับการปฏิบัติจากปักกิ่งอย่างไม่ถูกต้องไม่งดงาม พวกเขาเหล่านี้บางส่วนกำลังอยู่ในฮ่องกง หรือไม่ก็กำลังคันไม้คันมืออยากจะเดินทางไปที่นั่น และผมสงสัยว่าพวกเขาเหล่านี้จำนวนมากทีเดียว ในเวลาที่กำลังธำรงรักษามาตรฐานในการรายงานข่าวอย่างไร้อคติด้วยความเข้มงวดเคร่งครัดที่สุดอยู่นั้น ก็จะไม่รู้สึกไม่สบายใจอะไรเลยที่จะใช้วาระโอกาสนี้ในการเตะใส่ระบอบปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนสักทีสองที
รายงานอันเป็นเท็จที่ชวนให้รู้สึกรำคาญมากที่สุดเรื่องหนึ่ง ได้แก่สิ่งซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นฝีมือการปล่อยข่าวของทาง ออคคิวพาย ฮ่องกง แล้วมีนักหนังสือพิมพ์บางรายหยิบเอามาใช้เผยแพร่ต่อ ได้แก่การที่พูดกันว่า “สี ควรที่จะทำตัวให้เหมือน เติ้ง มากกว่านี้” (Xi Should Be More Like Deng) ซึ่งหมายความว่า สี ควรที่จะนำเอาวิธีการแบบยึดหยุ่น และยึดอยู่กับผลในทางปฏิบัติของ เติ้ง มาใช้จัดการกับสถานการณ์ฮ่องกงเวลานี้
คงต้องเตือนความจำกันก่อนว่า ในความเป็นจริงแล้ว เติ้ง ไม่เคยหวาดกลัวเลยที่จะนำเอาเรื่องซึ่งจีนอาจจะยกกำลังทหารเข้ารุกรานและยึดครองฮ่องกงจากน้ำมือของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ มาใช้เป็นหมากใบหนึ่งในเวลาเขาเจรจากับ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (Margaret Thatcher) ดังที่มีรายงานข่าวของสื่อตะวันตกระบุทบทวนว่า:
ฝ่ายจีนนั้นเตรียมพร้อมอยู่แล้วที่จะหันไปใช้ “วิธีการเรียกร้องด้วยกำลัง” ถ้าหากการเจรจา (ระหว่างจีนกับอังกฤษในเรื่องฮ่องกง) ได้จุดชนวนให้เกิดความไม่สงบขึ้นในอาณานิคมแห่งนั้น นี่เป็นคำพูดของ ลู่ ผิง (Lu Ping) ผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นหัวหน้าของฝ่ายจีนในการเจรจากับ คริส แพตเทิน (Chris Patten) ผู้ว่าการฮ่องกงคนสุดท้ายของอังกฤษ
[นายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้น และต่อมาได้รับฐานันดรศักดิ์เป็น] บารอนเนสส์ แธตเชอร์ (Baroness Thatcher) ก็กล่าวในภายหลังว่า เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งเป็นผู้นำของจีนในตอนนั้น ได้บอกกับเธออย่างตรงไปตรงมาว่า “ผมสามารถที่จะเดินตรงเข้าไป และยึดเอา (ฮ่องกง) ไว้ทั้งหมดภายในบ่ายนี้เลย” [2]
เติ้ง ยังเป็นสถาปนิกใหญ่ผู้วางโครงสร้างประชาธิปไตยแบบมีการบริหารจัดการ (managed democracy) ของฮ่องกง และก็ถูกต้องแล้วครับ เติ้ง อีกนั่นแหละ เป็นผู้ที่เปิดไฟเขียวให้กองทหารเคลื่อนเข้าสู่กรุงปักกิ่งในกรณีเทียนอันเหมิน เมื่อวันที่ 3-4 มิถุนายน 1989
จากการที่พวกนักวิจารณ์ของสื่อมวลชนตะวันตกจำนวนมาก ต่างกำลังอ้างอิงเปรียบเทียบการประท้วงที่ฮ่องกงคราวนี้กับกรณีเทียนอันเหมิน กันจนติดปาก ดังนั้น การที่พวกเขากลับยืนกรานว่า สี จิ้นผิง ควรที่จะศึกษามองหาเคล็ดลับในการบริหารจัดการกับปัญหาความเดือดร้อนของคนฮ่องกงจาก เติ้ง เสี่ยวผิง จึงเป็นเรื่องที่ก้ำกึ่งว่าจะกลายเป็นเรื่องตลกไร้สาระทีเดียว
วิธีเลือกสรรเอาเฉพาะอดีตแบบที่ตนเองต้องการจดจำเท่านั้นเช่นนี้ ยังปรากฏให้เห็นในการรายงานข่าว (หรืออย่างน้อยที่สุดก็ในการพาดหัวข่าว) ข้อกล่าวอ้างของกลุ่มออคคิวพาย ฮ่องกง ที่ว่า ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของพวกเขาในปัจจุบัน มีชนวนต้นเหตุปะทุขึ้นมา จากการที่ปักกิ่ง “ทรยศ” ต่อคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้ในเรื่องประชาธิปไตยของฮ่องกง โดยที่ได้กำหนดจะให้ผู้ออกเสียงชาวฮ่องกง ได้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) ในการเลือกตั้งผู้ว่าการฮ่องกงปี 2017 แต่แล้วเวลานี้กลับตระบัดสัตย์โดยยืนยันว่า มีแต่ผู้สมัครที่ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถลงแข่งขันให้ประชาชนลงคะแนน
ตามที่ผมค้นคว้าทำความเข้าใจมาได้นั้น การจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในแผนการพื้นฐานสำหรับฮ่องกง ของฝ่ายปักกิ่งมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ สาธารณรัฐประชาชนจีนยินยอมสัญญาที่จะให้ภาคธุรกิจ/สังคมของฮ่องกงปกครองกันเองอย่างเสรีเป็นระยะเวลา 50 ปี ก็ต่อเมื่ออยู่ในเงื่อนไขที่ว่าจะยังคงสามารถควบคุมให้ เจ้ายักษ์ใหญ่ประชาธิปไตยทางตรง ยังคงอยู่ภายในขวดแก้ว ด้วยวิธีการควบคุมบัญชีรายชื่อของผู้สมัครที่สามารถลงแข่งขันชิงตำแหน่ง
ผมยังสงสัยว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนคงจะได้บอกกล่าวกับรัฐบาลแธตเชอร์ในเวลาที่เจรจาต่อรองกันในเวลานั้นว่า ถ้าหากอังกฤษซึ่งไม่เคยสนใจที่จะให้ชาวฮ่องกงได้สิทธิเลือกตั้งผู้นำของพวกเขามาก่อนเลย กลับพยายามที่จะนำเอาระบบประชาธิปไตยทางตรงอย่างสมบูรณ์เข้ามาใช้ในฮ่องกง ในช่วงก่อนจะถึงวาระต้องส่งมอบคืนให้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1997 (อย่างที่ คริส แพตเทิน พยายามที่จะผลักดันอย่างสุดเดชสุดฤทธิ์) และทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีนต้องแบกรับภารกิจอันไม่น่ายินดี ในการรื้อถอนให้สิ่งต่างๆ กลับคืนสู่สถานะเดิม เมื่อเข้าอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งนี้แล้ว นั่นก็จะเป็นการจุดชนวนให้เกิดการ “ออคคิวพาย ฮ่องกง” (การยึดครองฮ่องกง) ขึ้นมาอย่างแท้จริง ด้วยน้ำมือของสาธารณรัฐประชาชนจีน
อย่างที่ผมได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ข้างต้น เติ้ง เสี่ยวผิง นั่นเอง คือสถาปนิกผู้วางกรอบความคิดของยุทธศาสตร์แห่งการติดตั้ง “ปุ่มสวิตซ์สังหาร” เอาไว้ในระบอบประชาธิปไตยของฮ่องกง และทำให้เสรีภาพทางเศรษฐกิจและทางสังคมของฮ่องกงภายใต้สูตร “หนึ่งประเทศ สองระบบ” (one country two systems) ถูกถ่วงดุลด้วยการที่ปักกิ่งยังคงสามารถทำการควบคุมทางการเมือง ด้วยการกีดกันขัดขวางไม่ให้มีผู้ที่อาจเป็นปรปักษ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายในส่วนผสมทางการเมืองของฮ่องกง มีโอกาสได้ขึ้นเป็นผู้บริหารของเขตบริหารพิเศษของจีนแห่งนี้
ต่อไปนี้คือสิ่งที่ เติ้ง เสี่ยวผิง พูดเอาไว้เมื่อปี 1984 เกี่ยวกับการปกครองฮ่องกง:
ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารกิจการต่างๆ ของฮ่องกงโดยประชาชนชาวฮ่องกงนั้น ควรที่จะจัดทำข้อกำหนดหรือคุณสมบัติบางอย่างบางประการเอาไว้ด้วย โดยที่จะต้องกำหนดว่า รัฐบาลของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในอนาคต จะต้องมีผู้รักชาติทั้งหลายเป็นส่วนประกอบหลักในบรรดาผู้บริหาร แน่นอนทีเดียวว่ายังควรที่จะต้องรวมเอาชาวจีนคนอื่นๆ เข้ามาด้วย ตลอดจนควรต้องเชื้อเชิญชาวต่างประเทศให้เข้ามาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเช่นเดียวกัน คราวนี้ ใครล่ะคือผู้รักชาติที่ว่านี้? ผู้รักชาติก็คือคนที่เคารพนับถือความเป็นชาติจีน ให้ความสนับสนุนอย่างจริงใจต่อการที่มาตุภูมิเข้ารับมอบอธิปไตยเหนือดินแดนฮ่องกง และไม่ได้มีความปรารถนาที่จะสร้างความเสียหายให้แก่ความมั่งคั่งรุ่งเรืองและเสถียรภาพของฮ่องกง พวกที่ผ่านเกณฑ์ผ่านข้อกำหนดเหล่านี้คือผู้รักชาติ ไม่ว่าพวกเขาจะเชื่อถือในลัทธิทุนนิยม หรือลัทธิศักดินานิยม หรือแม้กระทั่งระบอบทาส เราไม่ได้เรียกร้องให้พวกเขาต้องนิยมชมชื่นระบบสังคมนิยมของจีน เราเพียงขอให้เขารักมาตุภูมิและรักฮ่องกง [3]
เจตนารมณ์ที่ เติ้ง เสี่ยวผิง พูดออกมานี้ ได้ถูกนำไปเขียนเอาไว้ในมาตรา 45 ของ กฎหมายพื้นฐานแห่งฮ่องกง (Hong Kong Basic Law) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐธรรมนูญในทางเป็นจริงของฮ่องกง ภายหลังจากที่อธิปไตยของดินแดนแห่งนี้กลับคืนมาอยู่ในมือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1997 ทั้งนี้ มาตรา 45 ดังกล่าวมีข้อความดังนี้:
ผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive) ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong Special Administrative Region) จะคัดเลือกขึ้นมาด้วยการเลือกตั้ง หรือโดยผ่านการปรึกษาหารือ ที่จัดขึ้นในท้องถิ่น และได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลของประชาชนในส่วนกลาง
วิธีในการคัดเลือกผู้บริหารสูงสุดจะกำหนดกันเป็นรูปธรรม โดยอิงอยู่กับสถานการณ์ที่เป็นจริงของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง และโดยสอดคล้องกับหลักการว่าด้วยความก้าวหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเป็นระเบียบเรียบร้อย (principle of gradual and orderly progress) จุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือให้มีการคัดเลือกผู้บริหารสูงสุด ด้วยวิธีให้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) ภายใต้การเสนอชื่อของคณะกรรมการเสนอชื่อซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยสอดคล้องกับกระบวนวิธีแบบประชาธิปไตย [4]
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า สาธารณรัฐประชาชนมีความเห็นว่า จุดหมายปลายทาง (“จุดมุ่งหมายสูงสุด”) ของเส้นทางการปฏิรูปทางประชาธิปไตยคือ การให้ประชาชนได้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นการทั่วไป เพื่อลงคะแนนเลือกคนที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดจากบรรดาผู้สมัครซึ่งเสนอขึ้นมาโดยคณะกรรมการเสนอชื่อชุดหนึ่ง ไม่ใช่การให้ใช้สิทธิออกเสียงอย่างเป็นการทั่วทั่วไป ทั้งในการการเสนอชื่อและในกระบวนการเลือกตั้ง อย่างที่ขบวนการ ออคคิวพาย ฮ่องกง เรียกร้องต้องการอยู่ในเวลานี้
ถ้าหากรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เคยแก้ไข หรือเคยให้สัญญาที่จะแก้ไข หรือเคยแสดงนัยให้เห็นว่าจะทำการแก้ไข เกี่ยวกับความเข้าใจในเรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นการขจัดโยนทิ้งคณะกรรมการเสนอชื่อ อันเป็นเครื่องมืออันสำคัญที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการควบคุมการเมืองแห่งการเลือกตั้งในฮ่องกงแล้ว ก็ขอได้โปรดบอกให้ผมทราบด้วย ไม่เช่นนั้นแล้ว ผมก็ยังคงต้องถือว่า การป่าวร้องว่า “จีนได้ทรยศตระบัดสัตย์คำมั่นสัญญาเรื่องประชาธิปไตยของตน” คือการป่าวประกาศเรื่องเท็จ ซึ่งเผยแพร่กันออกมาก็เพียงเพื่อมุ่งสร้างผลในทางส่งเสริมผลักดันอย่างไม่เป็นธรรมชาติ ต่อฐานะความถูกต้องชอบธรรมของขบวนการ ออคคิวพาย ฮ่องกง เท่านั้นเอง
ถ้าหากจะป่าวร้องว่า “เราไม่ชอบกฎหมายพื้นฐานแห่งฮ่องกง และต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักกฎหมายนี้หลังจากที่ได้ใช้มา 17 ปี โดยที่จะอาศัยการปฏิบัติการตามท้องถนนมาเป็นเครื่องมือต่อสู้” อย่างนี้ ผมคิดว่ามันย่อมขายยากขายเย็นกว่าการตีฆ้องประกาศว่า “จีนทรยศตระบัดสัตย์” อยู่แล้ว ถึงแม้ว่าในความเห็นของผมแล้วมันจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์มากกว่า
อย่างไรก็ตาม ผมมีความรู้สึกว่า การเล่นลิ้นตลบตะแลงในทางกฎหมายเช่นนี้ กำลังถูกบดบังด้วยความโกรธกริ้วที่ว่า “รัฐบาลฮ่องกงใช้แก๊สน้ำตากับประชาชนของตนเอง” ซึ่งบางทีเรื่องหลังนี้แหละคือสิ่งที่ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยวาดหวัง ที่จะให้การอภิปรายถกเถียงทั้งหลายรวมศูนย์กันอยู่เฉพาะที่ตรงนี้ตั้งแต่แรกแล้ว
หมายเหตุ:
[1] ดูเรื่อง Hong Kong students storm government HQ to demand full democracy, Reuters, September 26, 2014.
[2] ดูเรื่อง China plotted Hong Kong invasion, The Australian, June 25, 2007.
[3] ดูเรื่อง One Country, Two Systems, peopledaily.com, June 23-24, 1984.
[4] ดูรายละเอียดได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Hong_Kong_Basic_Law_Article_45
ปีเตอร์ ลี เป็นนักเขียนที่สนใจเรื่องกิจการเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ตลอดจนจุดตัดกันระหว่างภูมิภาคเหล่านี้กับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ