(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Ukraine at risk from austerity demands
By Frederic Mousseau
13/08/2014
แพกเกจความช่วยเหลือทางการเงินจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และ ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ที่ให้แก่ยูเครนนั้น ประกอบด้วยเงื่อนไขกำหนดให้ต้องดำเนินการปฏิรูปอย่างเข้มงวดในด้านต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างเลวร้ายยิ่งต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของชาวยูเครน และเพิ่มจำนวนคนยากจนในประเทศนี้
โอกแลนด์, สหรัฐอเมริกา - ขณะที่การสู้รบในยูเครนปรากฏเป็นข่าวพาดหัวอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน สิ่งที่แทบไม่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่เอาเสียเลยก็คือ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างประเทศ คือปัจจัยซึ่งมีความสำคัญมากในความขัดแย้งในยูเครนปัจจุบัน
ตอนช่วงปลายปี 2013 ความขัดแย้งกันระหว่างพวกยูเครนที่โปรสหภาพยุโรป กับชาวยูเครนที่โปรรัสเซีย ได้ยกระดับเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งนำไปสู่การโค่นล้มประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูโควิช (Viktor Yanukovych) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 อีกทั้งเร่งให้เกิดการประจันหน้ากันครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างฝ่ายตะวันออก-ฝ่ายตะวันตก หลังจากยุคสงครามเย็นเป็นต้นมา
ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในวิกฤตการณ์ ซึ่งนำไปสู่การประท้วงที่มีผู้บาดเจ็บล้มตาย และในที่สุดก็มีการโค่นล้มยานูโควิชให้หลุดออกจากตำแหน่งดังกล่าว ได้แก่การที่เขาปฏิเสธไม่ยอมลงนามในข้อตกลงคบค้าสมาคมกับอียู (EU association agreement) ซึ่งมีเนื้อหาที่ทำให้ยูเครนเปิดทำการค้าเสรีและบูรณาการทางการเมืองกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นข้อตกลงฉบับนี้ยังถูกผูกเอาไว้กับเงินกู้จำนวน 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) อีกด้วย ตรงกันข้าม ยานูโควิชกลับหันไปเลือกรับแพกเกจความช่วยเหลือจากรัสเซีย ซึ่งมีมูลค่า 15,000 ล้านดอลลาร์ บวกกับการได้ซื้อแก๊สธรรมชาติจากรัสเซียในราคาลดพิเศษ 33%
หลังจากยานูโควิชถูกขับไล่ออกไป และคณะรัฐบาลที่เป็นฝ่ายโปรอียูขึ้นครองอำนาจแทนที่ในตอนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ความสัมพันธ์ที่ยูเครนมีอยู่กับพวกสถาบันการเงินระหว่างประเทศทั้งหลายก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และถึงขั้นที่ไอเอ็มเอฟตกลงอนุมัติแพกเกจความช่วยเหลือแก่ยูเครนในเดือนพฤษภาคม 2014
ไม่เพียงเท่านั้น ทางด้าน จิม ยอง คิม (Jim Yong Kim) ประธานธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ก็ได้ออกมาประกาศโครงการให้ความช่วยเหลือ 3,500 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 22 พฤษภาคม ทั้งนี้ ประธานธนาคารโลกได้กล่าวยกย่องทางการผู้รับผิดชอบของยูเครน ที่กำลังพัฒนาจัดทำโปรแกรมการปฏิรูปอย่างครอบคลุมรอบด้าน ตลอดจนแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามแผนการดังกล่าวด้วยความสนับสนุนจากเวิลด์แบงก์
อย่างไรก็ตาม เขากลับไม่ได้เอ่ยถึงเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ แบบสำนักเสรีนิยมใหม่ (neo-liberal school) ซึ่งธนาคารโลกผูกติดมากับเงินกู้ก้อนนี้ด้วย เป็นต้นว่า รัฐบาลยูเครนจะต้องจำกัดอำนาจของตนเอง ด้วยการยกเลิกหรือผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นสิ่งที่ขัดขวางการแข่งขัน รวมทั้งลดทอนจำกัดบทบาทของรัฐในการเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจ
แท้ที่จริงแล้ว การที่ทั้งเวิลด์แบงก์และไอเอ็มเอฟ เร่งรัดจัดหาแพกเกจความช่วยเหลือให้แก่ยูเครนในคราวนี้ ก็เป็นการให้รางวัลแก่รัฐบาลใหม่ของประเทศนี้ ซึ่งได้ตกลงผูกพันที่จะกระทำตามวาระของพวกเสรีนิยมใหม่เหล่านี้นั่นเอง
การแข่งขันระหว่างฝ่ายตะวันออก-ฝ่ายตะวันตก เพื่อช่วงชิงยูเครนนั้น สาระสำคัญที่สุดก็คือการช่วงชิงการควบคุมทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ของประเทศนี้ เป็นต้นว่า ยูเรเนียม และแร่ธาตุอื่นๆ รวมทั้งประเด็นในทางภูมิรัฐศาสตร์ อย่างเช่น การเข้าเป็นสมาชิกในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ของยูเครน
ไม่เพียงเท่านั้น เดิมพันในการช่วงชิงยูเครน ยังเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรที่ใหญ่โตของประเทศนี้อีกด้วย ทั้งนี้ยูเครนมีฐานะเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ตลอดจนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดอันดับ 5 นี่เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งยวดซึ่งมักถูกมองข้ามมาโดยตลอด ประเทศนี้มีท้องทุ่งอันใหญ่โตกว้างขวางที่ผืนดินเป็นดินดำอันอุดมสมบูรณ์ จึงสามารถให้ผลผลิตธัญญาหารปริมาณสูง จนกล่าวได้ว่า ยูเครนเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของยุโรป
ในช่วงระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ภาคการเกษตรของยูเครนมีลักษณะโดดเด่นในเรื่องที่มีการรวมศูนย์การผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ภายในพื้นที่การเกษตรกว้างขวางมหึมา ซึ่งตกเป็นของผู้ครอบครองไม่กี่ราย ขณะที่ระบบทำการเกษตรก็เป็นแบบเข้มข้นขนาดใหญ่ ไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดเลยที่พวกบริษัทต่างชาติเข้ามาปรากฏตัวในภาคการเกษตรของประเทศนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับที่ตัวเลขขนาดของการถือครองพื้นที่การเกษตรก็ไต่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในระยะไม่กี่ปีหลังๆ นี้ มีพวกบริษัทต่างชาติทำสัญญาเข้าครอบครองที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเกษตรเป็นเนื้อที่มากกว่า 1.6 ล้านเฮกตาร์ (สูงกว่า 10 ล้านไร่) ทีเดียว
เป้าหมายของพวกบริษัทตะวันตกในเวลานี้จึงมีอยู่ว่า ทำอย่างไรให้รัฐบาลยูเครนกำหนดนโยบายต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่พวกเขา เป็นต้นว่า ในขณะที่ยูเครนไม่อนุญาตให้ใช้พืชและสัตว์ตัดต่อทางพันธุกรรม (genetically modified organisms หรือ GMOs) ในการเกษตร ทว่าในมาตรา 404 ของข้อตกลงที่ประเทศนี้ทำไว้กับอียู ซึ่งเป็นมาตราว่าด้วยการเกษตรนั้น มีข้อความวรรคหนึ่งซึ่งไม่ค่อยเป็นที่สนใจกันนัก ข้อความดังกล่าวระบุว่า “ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการขยายการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ”
เมื่อพิจารณาจากสภาวการณ์ที่ภาคการเกษตรของยูเครนเองกำลังอยู่ในอาการขาดแคลนทรัพยากรหลายๆ ด้านและต้องต่อสู้ดิ้นรนให้ได้มาซึ่งทรัพยากรเหล่านี้ ขณะที่พวกนักลงทุนต่างชาติก็กำลังไหลทะลักเข้ามาในภาคเศรษฐกิจนี้อย่างคึกคัก จึงทำให้เกิดคำถามอันสำคัญขึ้นมาว่า โครงการปฏิรูปด้านต่างๆ ที่ยูเครนกำลังถูกตั้งเงื่อนไขให้ดำเนินการนั้น จะส่งผลให้ประโยชน์แก่ยูเครนและเกษตรกรชาวยูเครนหรือไม่ โดยเฉพาะในด้านการเพิ่มความมั่นคงให้แก่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของพวกเขา หรือว่ามันจะกลายเป็นการแผ้วถางทางสำหรับให้พวกบริษัทต่างชาติสามารถเข้าถึงทรัพย์สินและที่ดินต่างๆ ได้อย่างสะดวกง่ายดายมากขึ้น
ทั้งนี้ ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนการปฏิรูปอย่างเช่น การลดเลิกระเบียบกฎเกณฑ์ควบคุมตลาดเมล็ดพันธุ์และตลาดปุ๋ย มันก็หมายความด้วยว่า ภาคการเกษตรของยูเครนกำลังถูกบังคับให้เปิดประตูอ้าซ่าแก่พวกบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติอย่างเช่น ดูปองต์ และ มอนซานโต
ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมต่างๆ ของธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟ (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บเพจ http://www.oaklandinstitute.org/press-release-world-bank-and-imf-open-ukraine-western-interests) ตลอดจนตัวเงินกู้และเงื่อนไขกำหนดให้ยูเครนต้องดำเนินโครงการปฏิรูป ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ในเวลานี้ดูเหมือนกำลังเอื้อประโยชน์ให้แก่การขยายตัวของพวกกิจการด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในภาคการเกษตรของยูเครน โดยที่กิจการดังกล่าวก็มีบริษัทต่างชาตินั่นแหละเป็นเจ้าของ
ท่ามกลางสถานการณ์อันปั่นป่วนวุ่นวายในปัจจุบัน เวิลด์แบงก์และไอเอ็มเอฟในเวลานี้กลับยังคงเดินหน้าผลักดันให้ยูเครนดำเนินการปฏิรูปเพิ่มมากขึ้น ทั้งเพื่อปรับปรุงยกระดับบรรยากาศอันเหมาะสมแก่การดำเนินธุรกิจ และเพื่อเพิ่มพูนการลงทุนของภาคเอกชน โดยที่ในเดือนมีนาคม 2014 อาร์เซนิจ ยัตเซนยุค (Arsenij Yatsenyuk) ซึ่งในเวลานั้นยังมีฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ได้เร่งรีบออกมาแสดงการยอมรับมาตรการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอันเข้มงวดและเจ็บปวดทั้งหลาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพกเกจเงินกู้มูลค่า 17,000 ล้านดอลลาร์จากไอเอ็มเอฟ แถมยังระบุว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเจรจาต่อรองไม่ว่าเงื่อนไขข้อใดก็ตามอีกด้วย
แต่มาตรการปฏิรูปอันเข้มงวดของไอเอ็มเอฟเหล่านี้ จะส่งผลกระทบกระเทือนทั้งต่อนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน, ภาคการเงิน, นโยบายทางการคลัง, ภาคพลังงาน, ธรรมาภิบาล, และด้านบรรยากาศทางธุรกิจ
เงินกู้จากไอเอ็มเอฟนี้ ยังถือเป็นเงื่อนไขที่ยูเครนต้องรับมาให้เรียบร้อย ก่อนที่สหภาพยุโรปและสหรัฐฯจะให้ความสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติมต่อไปอีก เป็นที่คาดหมายกันว่า ถ้าหากมีการดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ เหล่านี้อย่างเต็มที่แล้ว ก็น่าจะทำให้สินค้าผู้บริโภคที่จำเป็นทั้งหลายมีราคาเพิ่มขึ้นมาก, ขณะที่อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็จะสูงขึ้นจาก 47% เป็น 66%, ส่วนราคาค่าแก๊สก็จะปรับเพิ่มขึ้นราว 50% มีความหวั่นเกรงกันว่ามาตรการเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมในทางลบอย่างหนักหน่วง, ส่งผลทำให้มาตรฐานการครองชีพทรุดต่ำ และจำนวนคนยากจนก็จะเพิ่มขึ้นมาก
ถึงแม้ยูเครนเริ่มต้นดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ เพื่อมุ่งส่งเสริมภาคธุรกิจมาตั้งแต่ช่วงที่ประธานาธิบดียานูโควิชครองอำนาจ โดยผ่านโครงการที่ใช้ชื่อว่า “โครงการบริการคำแนะนำเพื่อบรรยากาศการลงทุนของยูเครน” (Ukraine Investment Climate Advisory Services Project) ตลอดจนมีการปรับปรุงระเบียบวิธีในด้านการค้าและการโอนทรัพย์สินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทว่าความทะเยอทะยานของเขาที่จะหล่อหลอมประเทศให้อยู่ในมาตรฐานต่างๆ ของเวิลด์แบงก์และไอเอ็มเอฟนั้น ก็ยังไม่ได้กระทบไปถึงนโยบายในด้านอื่นๆ ตลอดจนไม่ได้สั่นคลอนความภักดีที่เขามีต่อรัสเซีย ซึ่งในที่สุดแล้วมันก็กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เขาถูกถอดออกจากตำแหน่ง
หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลที่โปรฝ่ายตะวันตกขึ้นมาแล้ว ก็มีการเร่งรัดในเรื่องการปรับตัวเชิงโครงสร้าง ตามที่ถูกผลักดันจากพวกสถาบันระหว่างประเทศ ตลอดจนมีเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามามากขึ้น โดยจุดมุ่งหมายอันสำคัญก็คือ การให้พวกบริษัทต่างชาติสามารถถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรขนาดใหญ่ๆ ได้เพิ่มขึ้นไปอีก ตลอดจนให้ภาคการเกษตรในประเทศเกิดกระบวนการแปรเปลี่ยนไปสู่การบริหารจัดการแบบบริษัทธุรกิจอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
จากประสบการณ์ที่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายทั่วโลกได้เคยผ่านโปรแกรมปรับตัวเชิงโครงสร้างทำนองนี้กันมา ทำให้เราอาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่า เศรษฐกิจของยูเครนจะตกอยู่ในความควบคุมของต่างชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ความยากจนและความไม่เท่าเทียมก็จะสูงขึ้นเช่นกัน ในขณะที่พวกมหาอำนาจตะวันตกพรักพร้อมแล้วที่จะดำเนินการลงโทษคว่ำบาตรรัสเซียสำหรับการแทรกแซงรุกล้ำเข้าไปในยูเครน ทว่ากลับยังไม่เป็นที่ชัดเจนเลยว่าพวกโครงการ มาตรการและเงื่อนไขต่างๆ ที่เวิลด์แบงก์กับไอเอ็มเอฟบังคับใช้เอากับยูเครนนั้น จะช่วยปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวยูเครน ตลอดจนจะช่วยสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจอันยั่งยืนของยูเครนขึ้นมาได้อย่างไร
เฟรเดอริก มุสโซ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายของ สถาบันโอกแลนด์ (Oakland Institute) และเป็นผู้ร่วมเขียนรายงานเรื่อง "Walking on the West Side: the World Bank and the IMF in the Ukraine Conflict" (ก้าวเดินไปกับฝ่ายตะวันตก: ธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟในความขัดแย้งที่ยูเครน)
ข้อเขียนชิ้นนี้มาจาก สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) http://www.ipsnews.net ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศที่มีสำนักข่าวระดับโลก (สำนักข่าวไอพีเอส) เป็นแกนกลาง ไอพีเอสก่อตั้งขึ้นในปี 1964 มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเสนอข่าวด้านพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ, สิทธิมนุษยชน, สิ่งแวดล้อม, ตลอดจนเรื่องนโยบายการต่างประเทศของพวกมหาอำนาจพัฒนาแล้ว ซึ่งมองจากแง่มุมของการที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศกำลังพัฒนา
Ukraine at risk from austerity demands
By Frederic Mousseau
13/08/2014
แพกเกจความช่วยเหลือทางการเงินจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และ ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ที่ให้แก่ยูเครนนั้น ประกอบด้วยเงื่อนไขกำหนดให้ต้องดำเนินการปฏิรูปอย่างเข้มงวดในด้านต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างเลวร้ายยิ่งต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของชาวยูเครน และเพิ่มจำนวนคนยากจนในประเทศนี้
โอกแลนด์, สหรัฐอเมริกา - ขณะที่การสู้รบในยูเครนปรากฏเป็นข่าวพาดหัวอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน สิ่งที่แทบไม่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่เอาเสียเลยก็คือ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างประเทศ คือปัจจัยซึ่งมีความสำคัญมากในความขัดแย้งในยูเครนปัจจุบัน
ตอนช่วงปลายปี 2013 ความขัดแย้งกันระหว่างพวกยูเครนที่โปรสหภาพยุโรป กับชาวยูเครนที่โปรรัสเซีย ได้ยกระดับเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งนำไปสู่การโค่นล้มประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูโควิช (Viktor Yanukovych) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 อีกทั้งเร่งให้เกิดการประจันหน้ากันครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างฝ่ายตะวันออก-ฝ่ายตะวันตก หลังจากยุคสงครามเย็นเป็นต้นมา
ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในวิกฤตการณ์ ซึ่งนำไปสู่การประท้วงที่มีผู้บาดเจ็บล้มตาย และในที่สุดก็มีการโค่นล้มยานูโควิชให้หลุดออกจากตำแหน่งดังกล่าว ได้แก่การที่เขาปฏิเสธไม่ยอมลงนามในข้อตกลงคบค้าสมาคมกับอียู (EU association agreement) ซึ่งมีเนื้อหาที่ทำให้ยูเครนเปิดทำการค้าเสรีและบูรณาการทางการเมืองกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นข้อตกลงฉบับนี้ยังถูกผูกเอาไว้กับเงินกู้จำนวน 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) อีกด้วย ตรงกันข้าม ยานูโควิชกลับหันไปเลือกรับแพกเกจความช่วยเหลือจากรัสเซีย ซึ่งมีมูลค่า 15,000 ล้านดอลลาร์ บวกกับการได้ซื้อแก๊สธรรมชาติจากรัสเซียในราคาลดพิเศษ 33%
หลังจากยานูโควิชถูกขับไล่ออกไป และคณะรัฐบาลที่เป็นฝ่ายโปรอียูขึ้นครองอำนาจแทนที่ในตอนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ความสัมพันธ์ที่ยูเครนมีอยู่กับพวกสถาบันการเงินระหว่างประเทศทั้งหลายก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และถึงขั้นที่ไอเอ็มเอฟตกลงอนุมัติแพกเกจความช่วยเหลือแก่ยูเครนในเดือนพฤษภาคม 2014
ไม่เพียงเท่านั้น ทางด้าน จิม ยอง คิม (Jim Yong Kim) ประธานธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ก็ได้ออกมาประกาศโครงการให้ความช่วยเหลือ 3,500 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 22 พฤษภาคม ทั้งนี้ ประธานธนาคารโลกได้กล่าวยกย่องทางการผู้รับผิดชอบของยูเครน ที่กำลังพัฒนาจัดทำโปรแกรมการปฏิรูปอย่างครอบคลุมรอบด้าน ตลอดจนแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามแผนการดังกล่าวด้วยความสนับสนุนจากเวิลด์แบงก์
อย่างไรก็ตาม เขากลับไม่ได้เอ่ยถึงเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ แบบสำนักเสรีนิยมใหม่ (neo-liberal school) ซึ่งธนาคารโลกผูกติดมากับเงินกู้ก้อนนี้ด้วย เป็นต้นว่า รัฐบาลยูเครนจะต้องจำกัดอำนาจของตนเอง ด้วยการยกเลิกหรือผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นสิ่งที่ขัดขวางการแข่งขัน รวมทั้งลดทอนจำกัดบทบาทของรัฐในการเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจ
แท้ที่จริงแล้ว การที่ทั้งเวิลด์แบงก์และไอเอ็มเอฟ เร่งรัดจัดหาแพกเกจความช่วยเหลือให้แก่ยูเครนในคราวนี้ ก็เป็นการให้รางวัลแก่รัฐบาลใหม่ของประเทศนี้ ซึ่งได้ตกลงผูกพันที่จะกระทำตามวาระของพวกเสรีนิยมใหม่เหล่านี้นั่นเอง
การแข่งขันระหว่างฝ่ายตะวันออก-ฝ่ายตะวันตก เพื่อช่วงชิงยูเครนนั้น สาระสำคัญที่สุดก็คือการช่วงชิงการควบคุมทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ของประเทศนี้ เป็นต้นว่า ยูเรเนียม และแร่ธาตุอื่นๆ รวมทั้งประเด็นในทางภูมิรัฐศาสตร์ อย่างเช่น การเข้าเป็นสมาชิกในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ของยูเครน
ไม่เพียงเท่านั้น เดิมพันในการช่วงชิงยูเครน ยังเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรที่ใหญ่โตของประเทศนี้อีกด้วย ทั้งนี้ยูเครนมีฐานะเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ตลอดจนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดอันดับ 5 นี่เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งยวดซึ่งมักถูกมองข้ามมาโดยตลอด ประเทศนี้มีท้องทุ่งอันใหญ่โตกว้างขวางที่ผืนดินเป็นดินดำอันอุดมสมบูรณ์ จึงสามารถให้ผลผลิตธัญญาหารปริมาณสูง จนกล่าวได้ว่า ยูเครนเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของยุโรป
ในช่วงระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ภาคการเกษตรของยูเครนมีลักษณะโดดเด่นในเรื่องที่มีการรวมศูนย์การผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ภายในพื้นที่การเกษตรกว้างขวางมหึมา ซึ่งตกเป็นของผู้ครอบครองไม่กี่ราย ขณะที่ระบบทำการเกษตรก็เป็นแบบเข้มข้นขนาดใหญ่ ไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดเลยที่พวกบริษัทต่างชาติเข้ามาปรากฏตัวในภาคการเกษตรของประเทศนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับที่ตัวเลขขนาดของการถือครองพื้นที่การเกษตรก็ไต่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในระยะไม่กี่ปีหลังๆ นี้ มีพวกบริษัทต่างชาติทำสัญญาเข้าครอบครองที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเกษตรเป็นเนื้อที่มากกว่า 1.6 ล้านเฮกตาร์ (สูงกว่า 10 ล้านไร่) ทีเดียว
เป้าหมายของพวกบริษัทตะวันตกในเวลานี้จึงมีอยู่ว่า ทำอย่างไรให้รัฐบาลยูเครนกำหนดนโยบายต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่พวกเขา เป็นต้นว่า ในขณะที่ยูเครนไม่อนุญาตให้ใช้พืชและสัตว์ตัดต่อทางพันธุกรรม (genetically modified organisms หรือ GMOs) ในการเกษตร ทว่าในมาตรา 404 ของข้อตกลงที่ประเทศนี้ทำไว้กับอียู ซึ่งเป็นมาตราว่าด้วยการเกษตรนั้น มีข้อความวรรคหนึ่งซึ่งไม่ค่อยเป็นที่สนใจกันนัก ข้อความดังกล่าวระบุว่า “ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการขยายการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ”
เมื่อพิจารณาจากสภาวการณ์ที่ภาคการเกษตรของยูเครนเองกำลังอยู่ในอาการขาดแคลนทรัพยากรหลายๆ ด้านและต้องต่อสู้ดิ้นรนให้ได้มาซึ่งทรัพยากรเหล่านี้ ขณะที่พวกนักลงทุนต่างชาติก็กำลังไหลทะลักเข้ามาในภาคเศรษฐกิจนี้อย่างคึกคัก จึงทำให้เกิดคำถามอันสำคัญขึ้นมาว่า โครงการปฏิรูปด้านต่างๆ ที่ยูเครนกำลังถูกตั้งเงื่อนไขให้ดำเนินการนั้น จะส่งผลให้ประโยชน์แก่ยูเครนและเกษตรกรชาวยูเครนหรือไม่ โดยเฉพาะในด้านการเพิ่มความมั่นคงให้แก่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของพวกเขา หรือว่ามันจะกลายเป็นการแผ้วถางทางสำหรับให้พวกบริษัทต่างชาติสามารถเข้าถึงทรัพย์สินและที่ดินต่างๆ ได้อย่างสะดวกง่ายดายมากขึ้น
ทั้งนี้ ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนการปฏิรูปอย่างเช่น การลดเลิกระเบียบกฎเกณฑ์ควบคุมตลาดเมล็ดพันธุ์และตลาดปุ๋ย มันก็หมายความด้วยว่า ภาคการเกษตรของยูเครนกำลังถูกบังคับให้เปิดประตูอ้าซ่าแก่พวกบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติอย่างเช่น ดูปองต์ และ มอนซานโต
ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมต่างๆ ของธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟ (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บเพจ http://www.oaklandinstitute.org/press-release-world-bank-and-imf-open-ukraine-western-interests) ตลอดจนตัวเงินกู้และเงื่อนไขกำหนดให้ยูเครนต้องดำเนินโครงการปฏิรูป ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ในเวลานี้ดูเหมือนกำลังเอื้อประโยชน์ให้แก่การขยายตัวของพวกกิจการด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในภาคการเกษตรของยูเครน โดยที่กิจการดังกล่าวก็มีบริษัทต่างชาตินั่นแหละเป็นเจ้าของ
ท่ามกลางสถานการณ์อันปั่นป่วนวุ่นวายในปัจจุบัน เวิลด์แบงก์และไอเอ็มเอฟในเวลานี้กลับยังคงเดินหน้าผลักดันให้ยูเครนดำเนินการปฏิรูปเพิ่มมากขึ้น ทั้งเพื่อปรับปรุงยกระดับบรรยากาศอันเหมาะสมแก่การดำเนินธุรกิจ และเพื่อเพิ่มพูนการลงทุนของภาคเอกชน โดยที่ในเดือนมีนาคม 2014 อาร์เซนิจ ยัตเซนยุค (Arsenij Yatsenyuk) ซึ่งในเวลานั้นยังมีฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ได้เร่งรีบออกมาแสดงการยอมรับมาตรการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอันเข้มงวดและเจ็บปวดทั้งหลาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพกเกจเงินกู้มูลค่า 17,000 ล้านดอลลาร์จากไอเอ็มเอฟ แถมยังระบุว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเจรจาต่อรองไม่ว่าเงื่อนไขข้อใดก็ตามอีกด้วย
แต่มาตรการปฏิรูปอันเข้มงวดของไอเอ็มเอฟเหล่านี้ จะส่งผลกระทบกระเทือนทั้งต่อนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน, ภาคการเงิน, นโยบายทางการคลัง, ภาคพลังงาน, ธรรมาภิบาล, และด้านบรรยากาศทางธุรกิจ
เงินกู้จากไอเอ็มเอฟนี้ ยังถือเป็นเงื่อนไขที่ยูเครนต้องรับมาให้เรียบร้อย ก่อนที่สหภาพยุโรปและสหรัฐฯจะให้ความสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติมต่อไปอีก เป็นที่คาดหมายกันว่า ถ้าหากมีการดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ เหล่านี้อย่างเต็มที่แล้ว ก็น่าจะทำให้สินค้าผู้บริโภคที่จำเป็นทั้งหลายมีราคาเพิ่มขึ้นมาก, ขณะที่อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็จะสูงขึ้นจาก 47% เป็น 66%, ส่วนราคาค่าแก๊สก็จะปรับเพิ่มขึ้นราว 50% มีความหวั่นเกรงกันว่ามาตรการเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมในทางลบอย่างหนักหน่วง, ส่งผลทำให้มาตรฐานการครองชีพทรุดต่ำ และจำนวนคนยากจนก็จะเพิ่มขึ้นมาก
ถึงแม้ยูเครนเริ่มต้นดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ เพื่อมุ่งส่งเสริมภาคธุรกิจมาตั้งแต่ช่วงที่ประธานาธิบดียานูโควิชครองอำนาจ โดยผ่านโครงการที่ใช้ชื่อว่า “โครงการบริการคำแนะนำเพื่อบรรยากาศการลงทุนของยูเครน” (Ukraine Investment Climate Advisory Services Project) ตลอดจนมีการปรับปรุงระเบียบวิธีในด้านการค้าและการโอนทรัพย์สินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทว่าความทะเยอทะยานของเขาที่จะหล่อหลอมประเทศให้อยู่ในมาตรฐานต่างๆ ของเวิลด์แบงก์และไอเอ็มเอฟนั้น ก็ยังไม่ได้กระทบไปถึงนโยบายในด้านอื่นๆ ตลอดจนไม่ได้สั่นคลอนความภักดีที่เขามีต่อรัสเซีย ซึ่งในที่สุดแล้วมันก็กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เขาถูกถอดออกจากตำแหน่ง
หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลที่โปรฝ่ายตะวันตกขึ้นมาแล้ว ก็มีการเร่งรัดในเรื่องการปรับตัวเชิงโครงสร้าง ตามที่ถูกผลักดันจากพวกสถาบันระหว่างประเทศ ตลอดจนมีเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามามากขึ้น โดยจุดมุ่งหมายอันสำคัญก็คือ การให้พวกบริษัทต่างชาติสามารถถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรขนาดใหญ่ๆ ได้เพิ่มขึ้นไปอีก ตลอดจนให้ภาคการเกษตรในประเทศเกิดกระบวนการแปรเปลี่ยนไปสู่การบริหารจัดการแบบบริษัทธุรกิจอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
จากประสบการณ์ที่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายทั่วโลกได้เคยผ่านโปรแกรมปรับตัวเชิงโครงสร้างทำนองนี้กันมา ทำให้เราอาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่า เศรษฐกิจของยูเครนจะตกอยู่ในความควบคุมของต่างชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ความยากจนและความไม่เท่าเทียมก็จะสูงขึ้นเช่นกัน ในขณะที่พวกมหาอำนาจตะวันตกพรักพร้อมแล้วที่จะดำเนินการลงโทษคว่ำบาตรรัสเซียสำหรับการแทรกแซงรุกล้ำเข้าไปในยูเครน ทว่ากลับยังไม่เป็นที่ชัดเจนเลยว่าพวกโครงการ มาตรการและเงื่อนไขต่างๆ ที่เวิลด์แบงก์กับไอเอ็มเอฟบังคับใช้เอากับยูเครนนั้น จะช่วยปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวยูเครน ตลอดจนจะช่วยสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจอันยั่งยืนของยูเครนขึ้นมาได้อย่างไร
เฟรเดอริก มุสโซ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายของ สถาบันโอกแลนด์ (Oakland Institute) และเป็นผู้ร่วมเขียนรายงานเรื่อง "Walking on the West Side: the World Bank and the IMF in the Ukraine Conflict" (ก้าวเดินไปกับฝ่ายตะวันตก: ธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟในความขัดแย้งที่ยูเครน)
ข้อเขียนชิ้นนี้มาจาก สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) http://www.ipsnews.net ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศที่มีสำนักข่าวระดับโลก (สำนักข่าวไอพีเอส) เป็นแกนกลาง ไอพีเอสก่อตั้งขึ้นในปี 1964 มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเสนอข่าวด้านพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ, สิทธิมนุษยชน, สิ่งแวดล้อม, ตลอดจนเรื่องนโยบายการต่างประเทศของพวกมหาอำนาจพัฒนาแล้ว ซึ่งมองจากแง่มุมของการที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศกำลังพัฒนา