(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Will emerging markets come back?
By MICHAEL PETTIS
05/03/2014
ความล้มเหลวในตลาดเกิดใหม่เมื่อช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนสับสนกันมากว่าทิศทางต่อไปของประเทศกำลังพัฒนาจะมุ่งไปหนใด แต่การณ์ก็ปรากฏออกมาว่า เราไม่ควรจะมองเหตุการณ์ที่อุบัติขึ้นในช่วงระยะนี้ว่าเป็นเรื่องน่าประหลาดใด ทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรแห่งโลกาภิวัตน์
ไมเคิล เปตติส ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ปักหลักอยู่ในกรุงปักกิ่ง ได้พัฒนาสร้างชื่อเป็นที่เลื่องลือมาช้านานในบล็อกของเขาชื่อ “ตลาดการเงินจีน” (China Financial Markets http://blog.mpettis.com/) ซึ่งเป็นแหล่งนำเสนอความคิดเห็นของเขาต่อระบบเศรษฐกิจจีน แนวคิดสำคัญของเขามุ่งพิจารณาปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่จีนเผชิญอยู่ในเรื่องของการปรับสมดุล ไปสู่โมเดลที่ตั้งบนฐานของการบริโภคมากขึ้น เอเชียไทมส์ออนไลน์ ขอนำเสนอการวิเคราะห์ของเขาซึ่งแหลมคม ออกสู่ความรับรู้ของสาธารณชนวงกว้างยิ่งขึ้น
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**การฉีกคู่ในทศวรรษ 1970**
อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวไม่อาจจะยั่งยืนได้ ภายในระบบเศรษฐกิจของจีนช่วงนานทีเดียวก่อนที่วิกฤติจะเกิดขึ้น เราได้เห็นกันแล้วถึงปัญหาการลงทุนมากเกินเพื่อสร้างศักยภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ภาคอสังหาฯ และภาคก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ภายในประเทศกำลังพัฒนาอย่างบราซิล สิ่งนี้คู่ขนานอยู่กับการลงทุนในการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ต้นน้ำ โดยดำรงอยู่บนสมมุติฐานการเติบโตในจีนซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง อุปสงค์ที่อ่อนตัวลงในประเทศร่ำรวย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริโภคที่ลดน้อยลง ควรจะไปลดปริมาณรวมของการลงทุนโลก เพราะเราเดือดร้อนกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากปัญหาศักยภาพการผลิตล้นเกิน ทั้งนี้ อาจสรุปลงเป็นระบบได้ดังนี้
1.ยุคก่อนวิกฤต โลกได้มีการลงทุนล้นเกินไปแล้วภายในภาคอสังหาฯและในศักยภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยอยู่บนพื้นฐานที่มีการทำนายอัตราโตของการบริโภคไว้อย่างไม่สมจริง
2.วิกฤตโลกบีบคั้นให้อัตราขยายตัวของการบริโภคต้องร่วงดิ่งลงมา นี้ควรจะตีความได้ว่า หากระดับการลงทุนอยู่ในระดับที่สูงเกินไปในยุคก่อนวิกฤต การลงทุนล้นเกินก็ย่อมต้องรุนแรงมากขึ้นหลังเกิดวิกฤต
3.แทนที่จะหั่นทอนการลงทุน แต่ปรากฏว่าโลกกำลังพัฒนาโต้ตอบกับการร่วงดิ่งของอุปสงค์ในประเทศร่ำรวยโดยไปเพิ่มการลงทุนอย่างมหาศาล โดยที่ว่าปัจจัยหนุนเนื่องตรงนี้ส่วนหนึ่งมาจากความกังวลว่าความเปลี่ยนแปลงของระดับการบริโภคในยุโรปและสหรัฐฯ จะเป็นเหตุให้ภาคส่งออกล่มสลาย แล้วไปส่งผลกระทบร้ายแรงต่อปัญหาการว่างงานซึ่งหนักหน่วงอยู่แล้วให้พุ่งสู่ระดับอันตราย
เห็นได้ชัดว่าสิ่งนี้ย่อมจะไม่ยั่งยืน และไม่ต้องประหลาดใจเลยที่ปริมาณหนี้สินที่ทะยานสูง ได้ส่งผลในขณะนี้ในทางที่บีบบังคับให้การทะยานตัวของภาคการลงทุนต้องยุติลง ผลก็คือ ปัจจุบันนี้ เรากำลังจะต้องประสบปัญหาอย่างครบเครื่อง คือ อัตราโตชะลอตัวภายในการบริโภคของประเทศร่ำรวย แต่บัดนี้ ปัญหานี้ไม่ได้รับการบรรเทาโดยการขยายตัวของการลงทุนภายในประเทศกำลังพัฒนา หนำซ้ำยังถูกซ้ำเติมด้วยเพราะโลกกำลังพัฒนามีอัตราโตของการลงทุนแผ่วลง ภายในสองสามปีข้างหน้า อุปสงค์จะฟื้นตัวในสหรัฐฯ แต่อุปสงค์จะยังไม่เกิดขึ้นในยุโรป แถมจะอ่อนล้าในโลกกำลังพัฒนาด้วย
พวกเราล้วนเคยได้เห็นเหตุการณ์เหล่านี้กันมาแล้ว ในกลางทศวรรษ 1970 สหรัฐฯและยุโรปต่างติดหล่มอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเป็นผลกระทบจากหลายๆ ปัจจัยหน้าตาคุ้นเคย อาทิ นโยบายการเงินผ่อนปรนในทศวรรษ 1960 ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงพุ่งลิ่วทะยานสูง ตลอดจนการหมดงบประมาณมหาศาลให้กับโครงการประชานิยมชื่อดังของประธานาธิบดีจอห์นสัน กับการถลำลึกอยู่ในสงครามเวียดนาม องค์ประกอบเหล่านี้ได้บีบคั้นให้สหรัฐฯ ต้องเข้าสู่ช่วงของการปรับตัวชนิดที่ดูไม่จืดเลย กล่าวคือ แทนที่จะน้อมรับกับภาวะหดตัวของอุปสงค์โลก กลายเป็นว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาถูกท่วมทับด้วยเม็ดเงินต้นทุนต่ำ ซึ่งอัดฉีดเข้าไปโดยพวกแบงก์ระหว่างประเทศที่เร่งรีไซเคิลเงินฝากที่มาจากการขายน้ำมันราคาแพง ภาวะท่วมอย่างนี้ไปทวีความรุนแรงของปัญหาการลงทุนเฟ้อในหลากหลายประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการสะสมการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องนานกว่าสิบปีแล้ว ในการนี้ ขณะที่โลกตะวันตกได้รับความเสียหาย แต่พวกเขาก็ยังเติบโตต่อ และอาจเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่พวกแบงก์เกอร์และนักธุรกิจออกมาพูดกันถึงเรื่องว่าประเทศกำลังพัฒนาตีชิ่งออกจากปัญหาการเติบโตในสหรัฐฯ และยุโรป
ผลสุดท้ายน่าจะเป็นอะไรที่ทายกันได้ไม่ยาก ระดับหนี้สินของประเทศกำลังพัฒนากระฉูดสูงลิ่วตลอดหลายปีท้ายๆ ของทศวรรษ 1970 และทันทีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ตระหนักถึงปัญหาเงินเฟ้อในประเทศ ก็ลุกขึ้นมาปิดก๊อกยับยั้งไม่ให้สภาพคล่องทะลักออกสู่ระบบได้ ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวบีบคั้นให้โลกกำลังพัฒนาทั้งปวง และบรรดาประเทศในละตินอเมริกาทั้งหมด ตกเข้าสู่ “ทศวรรษที่สูญเปล่า” ซึ่งเป็นช่วงที่การเติบโตชะลอตัว การว่างงานสูง ความวุ่นวายทางการเมือง และความทุกข์ยากทางการเงิน แน่นอนว่าในทศวรรษ 1970 เงินทุนหลักที่ขับเคลื่อนให้การลงทุนทะยานตัวนั้น เป็นเงินออมในย่านตะวันออกกลาง ซึ่งมีระดับรายได้จากการขายน้ำมันพุ่งสูงขึ้นมาอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ผู้คนจะขยายการบริโภคได้ทัน ทุกวันนี้ เงินทุนหลักที่ขับเคลื่อนให้การลงทุนทะยานตัว มาจากเงินออมที่ได้ทวีตัวขึ้นอย่างมหาศาลในจีน โดยที่ความจำกัดเชิงโครงสร้างได้ทำให้ผลผลิตของจีนขยายตัวเร็วเกินกว่าความสามารถที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านั้นได้ทัน
ผลที่ตามมาคือ ตลอดสองสามปีข้างหน้า อุปสงค์โลกจะอ่อนตัวลงหนักข้อกว่าที่เคยเป็นมานับจากช่วงที่เกิดวิกฤต ผู้บริโภคในอเมริกาเหนือ ยุโรป ตลอดจนบรรดาชนชั้นกลางที่เพิ่งเข้าสู่ความรุ่มรวยกันหมาดๆ ทั่วโลก จะเดินหน้าหั่นลดการบริโภคลงเพื่อทำการจ่ายคืนลดหนี้สิน ในท้ายที่สุด นักลงทุนในจีน ละตินอเมริกา และเอเชีย ก็จะปรับตัวกับปัญหาศักยภาพการผลิตล้นเกิน/ปัญหามูลหนี้พุ่งสูง โดยยอมหั่นลดการลงทุน กระนั้นก็ตาม ถ้าเราเอาแต่หั่นค่าใช้จ่ายเพื่อให้สามารถจ่ายคืนหนี้ ภาระหนี้ของเรามีแต่จะเพิ่มขึ้น ภยันตรายที่หนักหนากว่านั้นคือ ยิ่งภาระหนี้วิ่งจี๋ขึ้นไป เราก็จะยิ่งหั่นลดค่าใช้จ่ายสาหัสหนักเข้า และภาระหนี้ก็พุ่งเพิ่มทับซ้อนขึ้นไป (แล้วจะมีบางประเทศทั้งที่ยุโรปและในโลกกำลังพัฒนา ที่จะเข้าสู่ภาวะล้มละลาย)
ไม่มีสิ่งใดในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการปรับเปลี่ยน อุปสงค์อ่อนตัวเพราะระบบเศรษฐกิจโลกได้รับความเสียหายจากแนวโน้มที่การออมของโลกถูกบีบให้ทวีตัว พร้อมกับบีบให้การบริโภคของโลกลดต่ำลง ทั้งนี้ การบริโภคในอนาคตที่จะถดถอย จะทำให้การลงทุนในปัจจุบันมีอัตรากำไรน้อยลง ดังนั้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกับการลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยควบคู่ที่ส่งผลลัพธ์เป็นอุปสงค์ จึงมีแนวโน้มจะชะงักงันไปเนิ่นนานหลายปี
**ความบีบคั้นต่อครัวเรือนระดับกลาง**
มีอยู่ 2 กระบวนการที่ถูกกล่าวโทษหนักที่สุดว่าเป็นตัวการให้อุปสงค์อ่อนล้า ประการแรก คนรวยบริโภครายได้น้อยกว่าที่คนจนจับจ่ายใช้สอยรายได้ที่รับมา โดยที่ความไม่เท่าเทียมของรายได้ซึ่งทวีตัวขึ้นในหลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐฯ ส่งผลเป็นการบีบคั้นต่ออัตราการออม ประการที่สอง นโยบายที่ส่งผลเป็นการกดดันให้รายได้ของครัวเรือนลดลงเมื่อเทียบกับจีดีพีรวมของประเทศ สภาพการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นอยู่ในประเทศอย่างจีนและเยอรมนี ความไม่สมดุลของรายได้ส่งผลบีบคั้นต่ออัตราเงินออมในประเทศเหล่านี้ไปสู่ระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
นับเป็นหลายปีทีเดียวที่เงินออมส่วนเกินของประเทศร่ำรวยและประเทศที่มีความไม่สมดุลรุนแรงด้านรายได้ เป็นปัจจัยที่หนุนเนื่องความเฟ้อในการบริโภคที่เกิดขึ้นท่ามกลางชนชั้นกลางทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสหรัฐฯ และยุโรป อย่างไรก็ตาม วิกฤตปี 2007 – 2008 ได้มายุติเจ้ากระบวนการซึ่งไม่อาจจะดำเนินยั่งยืนไปได้เรื่อยๆ นี้ลงแล้ว
เราควรจะมาทบทวนดูว่าแนวโน้มเชิงโครงสร้างที่บีบคั้นให้การออมพุ่งเพิ่มขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่อาจจะเลี่ยงได้สักระยะหนึ่ง โดยการเร่งการบริโภคให้เฟ้อด้วยการอัดฉีดของสินเชื่อ หรือมิเช่นนั้นก็โดยการเร่งเคลื่อนการลงทุนแบบไม่ก่อเกิดการผลิตให้มากยิ่งขึ้นอีก ทั้งสองแนวนี้เกิดขึ้นมาแล้วทั่วโลกในทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว ทั้งสองทางนี้ต่างก็ไม่อาจจะยั่งยืนได้ กล่าวคือ ในระบบเศรษฐกิจของโลกซึ่งเป็นระบบปิดนั้น มีเพียงสองทางที่จะบีบให้อัตราเงินออมเพิ่มได้อย่างยั่งยืน ทางหนึ่งคือ การเพิ่มการลงทุนที่ก่อให้เกิดการผลิต หรือมิเช่นนั้นก็ได้แก่การปล่อยให้ปัญหาว่างงานของโลกพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบันนี้ โลกของเราเผชิญอยู่กับสองทางเลือก ขณะที่โลกกำลังพัฒนาพากันเดินหน้าหั่นลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนที่สิ้นเปลืองสูญเปล่านั้น หนทางเดียวที่จะเพิ่มการลงทุนที่ก่อให้เกิดการผลิต อยู่ที่ว่าประเทศต่างๆ ซึ่งมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ (สหรัฐฯเป็นรายที่เห็นชัด และยังมีอินเดียกับประเทศอื่นๆ ที่ละเลยการลงทุนภายในประเทศมานาน) จะต้องมาเข้าร่วมในการสร้างยุคนิวดีลระดับโลก
หากไม่ทำดังนั้น โลกย่อมจะไม่เหลือทางเลือกอื่นใด นอกจากการจมอยู่ในปัญหาการว่างงานรุนแรงต่อไปอีกหลายปี จนกว่าประเทศอย่างสหรัฐฯ ทำการกระจายรายได้ลงไปให้ทั่วถึง และประเทศอย่างจีน ทำการเพิ่มสัดส่วนของรายได้ครัวเรือนต่อมูลค่าจีดีพีรวม ในการนี้ การดำเนินการทั้งสองประการล้วนแต่ไม่ง่ายเลยในบริบททางการเมือง อย่างไรก็ตาม ตราบที่รายได้ของครัวเรือนปกติทั่วไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังไม่ได้เป็นสัดส่วนใหญ่ในโครงสร้างรวมของจีดีพีโลก ซึ่งพวกเขาเสียโอกาสไปในช่วงสองทศวรรษที่เสียเปล่า ตราบนั้นโลกก็จะยังคงต้องเผชิญอยู่แต่กับทางเลือกเดิมๆ คือ ปริมาณหนี้เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง การลงทุนที่ก่อให้เกิดการผลิตเพิ่มมากขึ้น หรือการจมอยู่ในปัญหาว่างงานรุนแรงทั่วโลก ซึ่งจะเป็นเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางการค้า
ตลาดเกิดใหม่อาจจะสามารถฟื้นตัวดีขึ้นมาในไม่ช้า แต่การฟื้นตัวก็จะต้องเผชิญกับปัญหาร้ายๆ ชุดเดิม ในระหว่างที่ยังไม่เกิดการฟื้นตัว การขาดความสมดุลในโลกก็จะไม่หายไปไหน และตราบที่ยังไม่เกิดยุคนิวดีลทั่วโลก โลกจะมีเพียงทางเลือกเดียวในปัญหาอุปสงค์อ่อนตัว คือภาระหนี้พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งกว่านั้น โลกจะถูกสำทับซ้ำเติมด้วยความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งมิได้เกิดเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา หากเกิดขึ้นในยุโรปส่วนที่อ่อนแอจัดๆ พร้อมกันนี้ เราสามารถเตรียมใจไว้พบเห็นว่า ทุกข์เข็ญในประเทศกำลังพัฒนาจะสาหัสหนักข้อยิ่งๆ ขึ้นไปในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
ไมเคิล เปตติส ทำงานอยู่ในกองทุนคาร์เนกี้เพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (the Carnegie Endowment for International Peace) และเป็นศาสตราจารย์ด้านการเงิน ณ สำนัก Guanghua School of Management แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง โดยเป็นผู้ชำนาญการตลาดการเงินจีน เขาเคยสอนที่สำนัก School of Economics and Management แห่งมหาวิทยาลัยชิงหวา ระหว่างปี 2002 – 2004 และที่สำนัก Graduate School of Business แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ระหว่างปี 1992 – 2001 นอกจากนั้น เขาเป็นหัวหน้าคณะนักยุทธศาสตร์ ของบริษัทหลักทรัพย์ Guosen Securities (HK) ซึ่งเป็นวานิชธนกิจจากเซินเจิ้น
Will emerging markets come back?
By MICHAEL PETTIS
05/03/2014
ความล้มเหลวในตลาดเกิดใหม่เมื่อช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนสับสนกันมากว่าทิศทางต่อไปของประเทศกำลังพัฒนาจะมุ่งไปหนใด แต่การณ์ก็ปรากฏออกมาว่า เราไม่ควรจะมองเหตุการณ์ที่อุบัติขึ้นในช่วงระยะนี้ว่าเป็นเรื่องน่าประหลาดใด ทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรแห่งโลกาภิวัตน์
ไมเคิล เปตติส ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ปักหลักอยู่ในกรุงปักกิ่ง ได้พัฒนาสร้างชื่อเป็นที่เลื่องลือมาช้านานในบล็อกของเขาชื่อ “ตลาดการเงินจีน” (China Financial Markets http://blog.mpettis.com/) ซึ่งเป็นแหล่งนำเสนอความคิดเห็นของเขาต่อระบบเศรษฐกิจจีน แนวคิดสำคัญของเขามุ่งพิจารณาปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่จีนเผชิญอยู่ในเรื่องของการปรับสมดุล ไปสู่โมเดลที่ตั้งบนฐานของการบริโภคมากขึ้น เอเชียไทมส์ออนไลน์ ขอนำเสนอการวิเคราะห์ของเขาซึ่งแหลมคม ออกสู่ความรับรู้ของสาธารณชนวงกว้างยิ่งขึ้น
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**การฉีกคู่ในทศวรรษ 1970**
อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวไม่อาจจะยั่งยืนได้ ภายในระบบเศรษฐกิจของจีนช่วงนานทีเดียวก่อนที่วิกฤติจะเกิดขึ้น เราได้เห็นกันแล้วถึงปัญหาการลงทุนมากเกินเพื่อสร้างศักยภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ภาคอสังหาฯ และภาคก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ภายในประเทศกำลังพัฒนาอย่างบราซิล สิ่งนี้คู่ขนานอยู่กับการลงทุนในการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ต้นน้ำ โดยดำรงอยู่บนสมมุติฐานการเติบโตในจีนซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง อุปสงค์ที่อ่อนตัวลงในประเทศร่ำรวย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริโภคที่ลดน้อยลง ควรจะไปลดปริมาณรวมของการลงทุนโลก เพราะเราเดือดร้อนกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากปัญหาศักยภาพการผลิตล้นเกิน ทั้งนี้ อาจสรุปลงเป็นระบบได้ดังนี้
1.ยุคก่อนวิกฤต โลกได้มีการลงทุนล้นเกินไปแล้วภายในภาคอสังหาฯและในศักยภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยอยู่บนพื้นฐานที่มีการทำนายอัตราโตของการบริโภคไว้อย่างไม่สมจริง
2.วิกฤตโลกบีบคั้นให้อัตราขยายตัวของการบริโภคต้องร่วงดิ่งลงมา นี้ควรจะตีความได้ว่า หากระดับการลงทุนอยู่ในระดับที่สูงเกินไปในยุคก่อนวิกฤต การลงทุนล้นเกินก็ย่อมต้องรุนแรงมากขึ้นหลังเกิดวิกฤต
3.แทนที่จะหั่นทอนการลงทุน แต่ปรากฏว่าโลกกำลังพัฒนาโต้ตอบกับการร่วงดิ่งของอุปสงค์ในประเทศร่ำรวยโดยไปเพิ่มการลงทุนอย่างมหาศาล โดยที่ว่าปัจจัยหนุนเนื่องตรงนี้ส่วนหนึ่งมาจากความกังวลว่าความเปลี่ยนแปลงของระดับการบริโภคในยุโรปและสหรัฐฯ จะเป็นเหตุให้ภาคส่งออกล่มสลาย แล้วไปส่งผลกระทบร้ายแรงต่อปัญหาการว่างงานซึ่งหนักหน่วงอยู่แล้วให้พุ่งสู่ระดับอันตราย
เห็นได้ชัดว่าสิ่งนี้ย่อมจะไม่ยั่งยืน และไม่ต้องประหลาดใจเลยที่ปริมาณหนี้สินที่ทะยานสูง ได้ส่งผลในขณะนี้ในทางที่บีบบังคับให้การทะยานตัวของภาคการลงทุนต้องยุติลง ผลก็คือ ปัจจุบันนี้ เรากำลังจะต้องประสบปัญหาอย่างครบเครื่อง คือ อัตราโตชะลอตัวภายในการบริโภคของประเทศร่ำรวย แต่บัดนี้ ปัญหานี้ไม่ได้รับการบรรเทาโดยการขยายตัวของการลงทุนภายในประเทศกำลังพัฒนา หนำซ้ำยังถูกซ้ำเติมด้วยเพราะโลกกำลังพัฒนามีอัตราโตของการลงทุนแผ่วลง ภายในสองสามปีข้างหน้า อุปสงค์จะฟื้นตัวในสหรัฐฯ แต่อุปสงค์จะยังไม่เกิดขึ้นในยุโรป แถมจะอ่อนล้าในโลกกำลังพัฒนาด้วย
พวกเราล้วนเคยได้เห็นเหตุการณ์เหล่านี้กันมาแล้ว ในกลางทศวรรษ 1970 สหรัฐฯและยุโรปต่างติดหล่มอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเป็นผลกระทบจากหลายๆ ปัจจัยหน้าตาคุ้นเคย อาทิ นโยบายการเงินผ่อนปรนในทศวรรษ 1960 ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงพุ่งลิ่วทะยานสูง ตลอดจนการหมดงบประมาณมหาศาลให้กับโครงการประชานิยมชื่อดังของประธานาธิบดีจอห์นสัน กับการถลำลึกอยู่ในสงครามเวียดนาม องค์ประกอบเหล่านี้ได้บีบคั้นให้สหรัฐฯ ต้องเข้าสู่ช่วงของการปรับตัวชนิดที่ดูไม่จืดเลย กล่าวคือ แทนที่จะน้อมรับกับภาวะหดตัวของอุปสงค์โลก กลายเป็นว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาถูกท่วมทับด้วยเม็ดเงินต้นทุนต่ำ ซึ่งอัดฉีดเข้าไปโดยพวกแบงก์ระหว่างประเทศที่เร่งรีไซเคิลเงินฝากที่มาจากการขายน้ำมันราคาแพง ภาวะท่วมอย่างนี้ไปทวีความรุนแรงของปัญหาการลงทุนเฟ้อในหลากหลายประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการสะสมการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องนานกว่าสิบปีแล้ว ในการนี้ ขณะที่โลกตะวันตกได้รับความเสียหาย แต่พวกเขาก็ยังเติบโตต่อ และอาจเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่พวกแบงก์เกอร์และนักธุรกิจออกมาพูดกันถึงเรื่องว่าประเทศกำลังพัฒนาตีชิ่งออกจากปัญหาการเติบโตในสหรัฐฯ และยุโรป
ผลสุดท้ายน่าจะเป็นอะไรที่ทายกันได้ไม่ยาก ระดับหนี้สินของประเทศกำลังพัฒนากระฉูดสูงลิ่วตลอดหลายปีท้ายๆ ของทศวรรษ 1970 และทันทีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ตระหนักถึงปัญหาเงินเฟ้อในประเทศ ก็ลุกขึ้นมาปิดก๊อกยับยั้งไม่ให้สภาพคล่องทะลักออกสู่ระบบได้ ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวบีบคั้นให้โลกกำลังพัฒนาทั้งปวง และบรรดาประเทศในละตินอเมริกาทั้งหมด ตกเข้าสู่ “ทศวรรษที่สูญเปล่า” ซึ่งเป็นช่วงที่การเติบโตชะลอตัว การว่างงานสูง ความวุ่นวายทางการเมือง และความทุกข์ยากทางการเงิน แน่นอนว่าในทศวรรษ 1970 เงินทุนหลักที่ขับเคลื่อนให้การลงทุนทะยานตัวนั้น เป็นเงินออมในย่านตะวันออกกลาง ซึ่งมีระดับรายได้จากการขายน้ำมันพุ่งสูงขึ้นมาอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ผู้คนจะขยายการบริโภคได้ทัน ทุกวันนี้ เงินทุนหลักที่ขับเคลื่อนให้การลงทุนทะยานตัว มาจากเงินออมที่ได้ทวีตัวขึ้นอย่างมหาศาลในจีน โดยที่ความจำกัดเชิงโครงสร้างได้ทำให้ผลผลิตของจีนขยายตัวเร็วเกินกว่าความสามารถที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านั้นได้ทัน
ผลที่ตามมาคือ ตลอดสองสามปีข้างหน้า อุปสงค์โลกจะอ่อนตัวลงหนักข้อกว่าที่เคยเป็นมานับจากช่วงที่เกิดวิกฤต ผู้บริโภคในอเมริกาเหนือ ยุโรป ตลอดจนบรรดาชนชั้นกลางที่เพิ่งเข้าสู่ความรุ่มรวยกันหมาดๆ ทั่วโลก จะเดินหน้าหั่นลดการบริโภคลงเพื่อทำการจ่ายคืนลดหนี้สิน ในท้ายที่สุด นักลงทุนในจีน ละตินอเมริกา และเอเชีย ก็จะปรับตัวกับปัญหาศักยภาพการผลิตล้นเกิน/ปัญหามูลหนี้พุ่งสูง โดยยอมหั่นลดการลงทุน กระนั้นก็ตาม ถ้าเราเอาแต่หั่นค่าใช้จ่ายเพื่อให้สามารถจ่ายคืนหนี้ ภาระหนี้ของเรามีแต่จะเพิ่มขึ้น ภยันตรายที่หนักหนากว่านั้นคือ ยิ่งภาระหนี้วิ่งจี๋ขึ้นไป เราก็จะยิ่งหั่นลดค่าใช้จ่ายสาหัสหนักเข้า และภาระหนี้ก็พุ่งเพิ่มทับซ้อนขึ้นไป (แล้วจะมีบางประเทศทั้งที่ยุโรปและในโลกกำลังพัฒนา ที่จะเข้าสู่ภาวะล้มละลาย)
ไม่มีสิ่งใดในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการปรับเปลี่ยน อุปสงค์อ่อนตัวเพราะระบบเศรษฐกิจโลกได้รับความเสียหายจากแนวโน้มที่การออมของโลกถูกบีบให้ทวีตัว พร้อมกับบีบให้การบริโภคของโลกลดต่ำลง ทั้งนี้ การบริโภคในอนาคตที่จะถดถอย จะทำให้การลงทุนในปัจจุบันมีอัตรากำไรน้อยลง ดังนั้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกับการลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยควบคู่ที่ส่งผลลัพธ์เป็นอุปสงค์ จึงมีแนวโน้มจะชะงักงันไปเนิ่นนานหลายปี
**ความบีบคั้นต่อครัวเรือนระดับกลาง**
มีอยู่ 2 กระบวนการที่ถูกกล่าวโทษหนักที่สุดว่าเป็นตัวการให้อุปสงค์อ่อนล้า ประการแรก คนรวยบริโภครายได้น้อยกว่าที่คนจนจับจ่ายใช้สอยรายได้ที่รับมา โดยที่ความไม่เท่าเทียมของรายได้ซึ่งทวีตัวขึ้นในหลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐฯ ส่งผลเป็นการบีบคั้นต่ออัตราการออม ประการที่สอง นโยบายที่ส่งผลเป็นการกดดันให้รายได้ของครัวเรือนลดลงเมื่อเทียบกับจีดีพีรวมของประเทศ สภาพการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นอยู่ในประเทศอย่างจีนและเยอรมนี ความไม่สมดุลของรายได้ส่งผลบีบคั้นต่ออัตราเงินออมในประเทศเหล่านี้ไปสู่ระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
นับเป็นหลายปีทีเดียวที่เงินออมส่วนเกินของประเทศร่ำรวยและประเทศที่มีความไม่สมดุลรุนแรงด้านรายได้ เป็นปัจจัยที่หนุนเนื่องความเฟ้อในการบริโภคที่เกิดขึ้นท่ามกลางชนชั้นกลางทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสหรัฐฯ และยุโรป อย่างไรก็ตาม วิกฤตปี 2007 – 2008 ได้มายุติเจ้ากระบวนการซึ่งไม่อาจจะดำเนินยั่งยืนไปได้เรื่อยๆ นี้ลงแล้ว
เราควรจะมาทบทวนดูว่าแนวโน้มเชิงโครงสร้างที่บีบคั้นให้การออมพุ่งเพิ่มขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่อาจจะเลี่ยงได้สักระยะหนึ่ง โดยการเร่งการบริโภคให้เฟ้อด้วยการอัดฉีดของสินเชื่อ หรือมิเช่นนั้นก็โดยการเร่งเคลื่อนการลงทุนแบบไม่ก่อเกิดการผลิตให้มากยิ่งขึ้นอีก ทั้งสองแนวนี้เกิดขึ้นมาแล้วทั่วโลกในทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว ทั้งสองทางนี้ต่างก็ไม่อาจจะยั่งยืนได้ กล่าวคือ ในระบบเศรษฐกิจของโลกซึ่งเป็นระบบปิดนั้น มีเพียงสองทางที่จะบีบให้อัตราเงินออมเพิ่มได้อย่างยั่งยืน ทางหนึ่งคือ การเพิ่มการลงทุนที่ก่อให้เกิดการผลิต หรือมิเช่นนั้นก็ได้แก่การปล่อยให้ปัญหาว่างงานของโลกพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบันนี้ โลกของเราเผชิญอยู่กับสองทางเลือก ขณะที่โลกกำลังพัฒนาพากันเดินหน้าหั่นลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนที่สิ้นเปลืองสูญเปล่านั้น หนทางเดียวที่จะเพิ่มการลงทุนที่ก่อให้เกิดการผลิต อยู่ที่ว่าประเทศต่างๆ ซึ่งมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ (สหรัฐฯเป็นรายที่เห็นชัด และยังมีอินเดียกับประเทศอื่นๆ ที่ละเลยการลงทุนภายในประเทศมานาน) จะต้องมาเข้าร่วมในการสร้างยุคนิวดีลระดับโลก
หากไม่ทำดังนั้น โลกย่อมจะไม่เหลือทางเลือกอื่นใด นอกจากการจมอยู่ในปัญหาการว่างงานรุนแรงต่อไปอีกหลายปี จนกว่าประเทศอย่างสหรัฐฯ ทำการกระจายรายได้ลงไปให้ทั่วถึง และประเทศอย่างจีน ทำการเพิ่มสัดส่วนของรายได้ครัวเรือนต่อมูลค่าจีดีพีรวม ในการนี้ การดำเนินการทั้งสองประการล้วนแต่ไม่ง่ายเลยในบริบททางการเมือง อย่างไรก็ตาม ตราบที่รายได้ของครัวเรือนปกติทั่วไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังไม่ได้เป็นสัดส่วนใหญ่ในโครงสร้างรวมของจีดีพีโลก ซึ่งพวกเขาเสียโอกาสไปในช่วงสองทศวรรษที่เสียเปล่า ตราบนั้นโลกก็จะยังคงต้องเผชิญอยู่แต่กับทางเลือกเดิมๆ คือ ปริมาณหนี้เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง การลงทุนที่ก่อให้เกิดการผลิตเพิ่มมากขึ้น หรือการจมอยู่ในปัญหาว่างงานรุนแรงทั่วโลก ซึ่งจะเป็นเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางการค้า
ตลาดเกิดใหม่อาจจะสามารถฟื้นตัวดีขึ้นมาในไม่ช้า แต่การฟื้นตัวก็จะต้องเผชิญกับปัญหาร้ายๆ ชุดเดิม ในระหว่างที่ยังไม่เกิดการฟื้นตัว การขาดความสมดุลในโลกก็จะไม่หายไปไหน และตราบที่ยังไม่เกิดยุคนิวดีลทั่วโลก โลกจะมีเพียงทางเลือกเดียวในปัญหาอุปสงค์อ่อนตัว คือภาระหนี้พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งกว่านั้น โลกจะถูกสำทับซ้ำเติมด้วยความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งมิได้เกิดเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา หากเกิดขึ้นในยุโรปส่วนที่อ่อนแอจัดๆ พร้อมกันนี้ เราสามารถเตรียมใจไว้พบเห็นว่า ทุกข์เข็ญในประเทศกำลังพัฒนาจะสาหัสหนักข้อยิ่งๆ ขึ้นไปในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
ไมเคิล เปตติส ทำงานอยู่ในกองทุนคาร์เนกี้เพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (the Carnegie Endowment for International Peace) และเป็นศาสตราจารย์ด้านการเงิน ณ สำนัก Guanghua School of Management แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง โดยเป็นผู้ชำนาญการตลาดการเงินจีน เขาเคยสอนที่สำนัก School of Economics and Management แห่งมหาวิทยาลัยชิงหวา ระหว่างปี 2002 – 2004 และที่สำนัก Graduate School of Business แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ระหว่างปี 1992 – 2001 นอกจากนั้น เขาเป็นหัวหน้าคณะนักยุทธศาสตร์ ของบริษัทหลักทรัพย์ Guosen Securities (HK) ซึ่งเป็นวานิชธนกิจจากเซินเจิ้น