(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Truth and dare in US aid to Israel
By Chase Madar
10/02/2014
ปกติแล้ว ในแวดวงการเมืองการบริหารในกรุงวอชิงตัน เรื่องการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศนั้น ถือเป็นหัวข้ออ่อนไหวที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาอันรุนแรงขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพวกนิยมการตัดลดงบประมาณรายจ่าย กระนั้นก็ตาม ยังคงปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่า ทั้งๆ ที่อิสราเอลคือผู้ที่ได้รับประโยชน์รายใหญ่ที่สุดจากงบประมาณความช่วยเหลือต่างประเทศของสหรัฐฯมาอย่างยาวนาน แถมแทบทั้งหมดยังเป็นความช่วยเหลือทางการทหารเสียด้วย แต่กลับไม่ค่อยมีใครใส่ใจขุดคุ้ยตรวจสอบเอาเสียเลย เฉพาะในปี 2013 ที่ผ่านมาอิสราเอลนั้นได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐฯเป็นมูลค่าถึง 3,100 ล้านดอลลาร์ เรียกได้ว่าสหรัฐฯส่งให้อิสราเอลใช้ ตั้งแต่แก๊สน้ำตา ไปจนถึงฝูงเครื่องบินขับไล่เอฟ-16 และเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ “อาปาเช่” ไปจนถึง “อาวุธยิงทำลายบังเกอร์” ทว่าทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เมื่อพิจารณาจากแง่มุมของการแก้ไขคลี่คลายวิกฤตการณ์ที่ไม่รู้จบไม่รู้สิ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางแล้ว กลับปรากฏว่าแทบไม่ได้ก่อให้เกิดผลเป็นชิ้นเป็นอันอะไรเลย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอนแรก *
พวกเราชาวอเมริกันมีแนวคิดอันตลกน่าขันเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศอยู่ไม่ใช่น้อยๆ ผลการสำรวจความคิดเห็นที่กระทำกันเมื่อไม่นานมานี้หลายๆ ครั้ง แสดงให้เห็นว่า โดยเฉลี่ยแล้ว พวกเราเชื่อว่างบประมาณแผ่นดินของสหรัฐฯนั้น มีถึง 28% ซึ่งเป็นรายการใช้จ่ายเกี่ยวกับเรื่องนี้ และดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องประหยัดมัธยัสถ์เคร่งครัดการจับจ่าย เจ้าตัวยักษ์จอมเขมือบงบประมาณตัวนี้จึงควรถูกตัดหั่นลงไปสัก 10% อย่างไรก็ดี โดยข้อเท็จจริงกลับกลายเป็นว่า งบประมาณของสหรัฐฯเพียงแค่ 1% เท่านั้นที่ถูกจัดสรรไปเป็นความช่วยเหลือต่างประเทศในทุกๆ ประเภท
กระนั้นก็ตาม เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศของสหรัฐฯนี้ ยังคงมีความจริงที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์เหลือเกินอย่างอื่นๆ อีก อย่างน้อยที่สุดก็พิสดารพอๆ กับนิยายทีเดียว คิดดูเอาเถิด ชาติซึ่งเป็นผู้ได้รับความช่วยเหลือต่างประเทศจากสหรัฐฯสูงที่สุดตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นดินแดนลำบากยากจนที่เต็มไปด้วยเด็กๆ ผู้หิวโหย หากแต่เป็นประเทศมั่งคั่งซึ่งตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อประชากรแต่ละคน อยู่ในระดับพอๆ กับระดับเฉลี่ยของสหภาพยุโรปทีเดียว โดยที่ยังสูงกว่าของประเทศอย่างอิตาลี, สเปน, หรือ เกาหลีใต้ ด้วยซ้ำไป
ลองคิดดูต่อไปเถิดว่า ชาติผู้ได้รับความช่วยเหลือดังกล่าวสูงที่สุดรายนี้แหละ (แถมตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา ความช่วยเหลือต่างประเทศที่เขาได้รับจากสหรัฐฯ แทบทั้งหมดเลยคือความช่วยเหลือทางการทหาร) ยังกำลังสาละวนวุ่นวายอยู่กับสิ่งซึ่งช่างละม้ายคล้ายคลึงกับโครงการล่าอาณานิคมแห่งยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 เสียเหลือเกิน กล่าวคือ เมื่อปลายทศวรรษ 1940 ผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือของเราอย่างมหาศาลรายนี้ได้ขับไล่ไสส่งประชาชนชาวพื้นเมืองราว 700,000 คนออกไปจากดินแดนที่ตนเองประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ พอมาในปี 1967 ลูกค้าของเรารายนี้ได้เข้าแย่งยึดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ถัดๆ กันไปอีกหลายผืน และนับแต่นั้นก็นำเอาประชาชนของตนเองเกือบๆ 650,000 คนไปตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ชาติผู้ได้รับความช่วยเหลือของเราก้อนมหึมาเจ้านี้ จัดแจงตัดแบ่งดินแดนต่างๆ ที่พิชิตมาได้ออกเป็นผืนเล็กๆ ย่อยๆ ด้วยวิธีจัดตั้งด่านตรวจขึ้นมาเยอะแยะ และตัดถนนจำนวนมากมายซึ่งพวกตั้งรกรากถิ่นฐานเจ้าอาณานิคมเท่านั้นจึงจะได้ใช้ประโยชน์ นอกจากนั้นเขายังสร้างกำแพงที่มีความยาวรวมกันถึง 440 ไมล์ (708 กิโลเมตร) ล้อมรอบ (และกระทั่งตัดล้ำเข้าไปข้างใน) ดินแดนที่ถูกพิชิต ก่อให้เกิดสภาพทางภูมิศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโดยแท้ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างชัดเจน
คำว่า “การล้างเผ่าพันธุ์” (Ethnic cleansing) อาจจะเป็นถ้อยคำที่รุนแรงระคายหู แต่ย่อมเหมาะสมนักที่จะนำมาใช้กับสถานการณ์ซึ่งประชาชนถูกผลักไสขับไล่ออกจากบ้านอาศัยและที่ดินทำกินของพวกเขาเอง เพียงเพราะพวกเขาไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่ถูกต้องซึ่งเจ้าอาณานิคมยินยอมให้ตั้งรกรากถิ่นฐาน ถึงแม้ว่าชาวอเมริกันจำนวนมากจะรู้สึกลังเลและทัดทานเมื่อตั้งข้อหานี้เอากับอิสราเอล – ถูกต้องแล้วครับ ประเทศนี้แหละคือผู้ได้รับความช่วยเหลือต่างประเทศของอเมริกาสูงที่สุดยิ่งกว่าชาติใดๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือทางด้านการทหาร— แต่ชาวอเมริกันหน้าไหนเลยที่จะรีรอไม่ยอมใช้คำๆ นี้ ถ้าหากภายในโลกแห่งเงากระจกสะท้อนสักโลกหนึ่ง ประดาพฤติการณ์เหี้ยมโหดทารุณทั้งหลายเหล่านี้ กลับถูกนำมากระทำสร้างความทุกข์ยากเดือดร้อนให้แก่ชาวยิวอิสราเอล?
**ความช่วยเหลือทางทหารที่ให้แก่อิสราเอล**
ถ้าหากมีการพิจารณากันตามเนื้อผ้าอย่างแท้จริงแล้ว การติดอาวุธและการส่งความช่วยเหลือทางการเงินให้แก่ชาติมั่งคั่งที่กำลังแสดงพฤติการณ์ในลักษณะดังที่กล่าวมาข้างต้น ย่อมต้องถูกมองว่าเป็นนโยบายที่เลวร้ายมากๆ กระนั้นความช่วยเหลือของอเมริกันกลับกำลังไหลทะลักไปยังอิสราเอลด้วยปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยซ้ำไป ตามข้อเท็จจริงแล้ว ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา อิสราเอลได้เขมือบดูดกลืนความช่วยเหลือดังกล่าวไปรวมเป็นเงินเกือบๆ 250,000 ล้านดอลลาร์ เฉพาะปีที่แล้วปีเดียว วอชิงตันได้อนุมัติความช่วยเหลือทางทหารให้ประมาณ 3,100 ล้านดอลลาร์ แล้วยังเพิ่มเติมสมทบด้วยการจัดสรรเงินช่วยเหลือเพื่อการร่วมมือดำเนินการวิจัยทางการทหาร และเงินช่วยเหลือเพื่อการฝึกซ้อมร่วมทางทหาร ให้อีกต่างหาก
มองกันในภาพรวมแล้ว สหรัฐฯคือผู้ที่ควักกระเป๋าจ่ายเงินงบประมาณด้านกลาโหมของอิสราเอลถึงเกือบๆ 1 ใน 4 --เรียกว่าให้กันตั้งแต่กระป๋องแก๊สน้ำตา ไปจนถึงฝูงเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 เมื่อตอนที่อิสราเอลเปิดการโจมตีใหญ่ต่อดินแดนกาซา (Gaza) ในช่วงปี 2008-2009 กองทัพอิสราเอลซึ่งใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “กองกำลังป้องกันอิสราเอล” (Israeli Defense Forces Israeli Defense Forces) ได้ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์หลากหลายนานา ทั้ง “ระเบิดปัญญาทึบ” (dumb bombs ระเบิดที่ไม่มีระบบนำวิถี) เอ็ม-92 และ เอ็ม-84, “ระเบิดอัจฉริยะ” (smart bombs) เพฟเวย์ 2 (Paveway II) และ เจดีเอเอ็ม (JDAM), เฮลิคอปเตอร์โจมตี เอเอช-64 อาปาเช่ (AH-64 Apache) ซึ่งติดตั้งขีปนาวุธนำวิถี เอจีเอ็ม-114 เฮลล์ไฟร์ (AGM-114 Hellfire), อาวุธยิงทำลายบังเกอร์ เอ็ม 141 (M141 "bunker defeat"), และพวกอาวุธพิเศษอย่างเช่น กระสุนปืนใหญ่ฟอสฟอรัสขาวขนาด 155 ม.ม. เอ็ม825เอ1 (M825A1 155mm white phosphorous munitions) ปรากฏว่าทั้งหมดเหล่านี้กองทัพอิสราเอลได้รับมาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือต่างประเทศจากสหรัฐฯ (อิสราเอลถือเป็นชาติผู้รับความช่วยเหลือที่พิเศษมากๆ ของอเมริกา นั่นคือ อิสราเอลได้รับอนุญาตให้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือทางทหารที่ได้รับจากวอชิงตันในสัดส่วน 25% ไปในการซื้อหาอาวุธที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมอาวุธของอิสราเอลเอง)
ทำไมวอชิงตันจึงต้องทุ่มเทให้อิสราเอลถึงขนาดนี้? คำตอบสามัญที่สุดและก็เป็นคำตอบที่เรียบง่ายที่สุดก็คือ เพราะอิสราเอลเป็น “พันธมิตร” ของวอชิงตัน แต่ว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วสหรัฐฯมีพันธมิตรจำนวนหลายสิบประเทศกระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก ก็ไม่เห็นมีประเทศไหนที่ได้รับการอุดหนุนช่วยเหลือด้วยเงินภาษีของชาวอเมริกันในลักษณะเช่นนี้เลย เนื่องจากระหว่างสหรัฐฯกับอิสราเอลนั้นไม่ได้เคยมีการทำสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรกันอย่างเป็นทางการใดๆ เลย อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากแง่มุมความคุ้มค่าของความสัมพันธ์นี้ซึ่งปรากฏว่าเอนเอียงกระเท่เร่ไปในทางเอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายอิสราเอลมากกว่าด้วยแล้ว คำที่ถูกต้องกว่ามากมายนักซึ่งควรนำมาใช้บรรยายความผูกพันที่อิสราเอลมีอยู่กับวอชิงตัน น่าจะเป็นคำว่า อิสราเอลคือ “รัฐบริวาร” (client state)
แถมรัฐบริวารเฉกเช่นอิสราเอลนี้ ยังไม่ได้เป็นบริวารที่ซื่อสัตย์จงรักภักดีอะไรนักเสียอีก ปกติแล้วในความสัมพันธ์กับรัฐบริวารทั่วๆ ไป การให้ความช่วยเหลือทางทหารอย่างมากมายมหาศาลขนาดนี้ควรที่จะทำให้วอชิงตันมีอำนาจบงการเหนืออิสราเอลอย่างใหญ่โตมโหฬาร แต่ในทางเป็นจริงเรากลับมองไม่เห็นร่องรอยในเรื่องนี้เอาเสียเลย ขอให้ลองเฝ้าติดตามดูเถอะ เราจะพบเห็นได้ไม่ยากเลยว่า มีน้อยครั้งนักที่เมื่อมีเจ้าหน้าที่อเมริกันเดินทางไปเยือนอิสราเอลเพื่อสานสายสัมพันธ์ทางการทูต แล้วจะไม่ได้ถูกต้อนรับด้วยการที่อิสราเอลประกาศใส่หน้าว่ากำลังจะดำเนินการแปรดินแดนของชาวปาเลสไตน์ให้กลายเป็นอาณานิคมอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น หรือถ้าใช้คำให้นุ่มนวลลงมาหน่อยก็เรียกกันว่า “การขยายเขตตั้งถิ่นฐาน” (settlement expansion)
วอชิงตันก็ให้ความช่วยเหลือแก่ปาเลสไตน์ด้วยเหมือนกัน โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับปีละ 875 ล้านดอลลาร์ในช่วงดำรงตำแหน่งสมัยแรกของโอบามา (ตัวเลขนี้เท่ากับกว่าสองเท่าตัวของงบประมาณที่ จอร์จ ดับเบิลยู บุช จัดสรรให้แก่ปาเลสไตน์ในช่วงดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของเขา) แต่ความช่วยเหลือขนาดนี้ยังคงมากกว่า 1 ใน 4 ของสิ่งที่อิสราเอลได้รับอยู่เพียงแค่นิดเดียวเท่านั้น มิหนำซ้ำความช่วยเหลือจำนวนมากทีเดียวไหลเข้าไปในพวกโครงการประเภทที่ให้ประโยชน์ให้คุณค่าสุทธิอันชวนสงสัยเคลือบแคลง อย่างเช่นการพัฒนาเครือข่ายชลประทาน ในขณะเดียวกับที่ทางอิสราเอลกำลังทำลายแอ่งน้ำใต้ดินและบ่อน้ำของชาวปาเลสไตน์ตามที่ต่างๆ ในเขตเวสต์แบงก์ (West Bank) เงินช่วยเหลือเหล่านี้ก้อนโตทีเดียวอีกก้อนหนึ่งถูกนำไปใช้ในการฝึกอบรมกองกำลังความมั่นคงชาวปาเลสไตน์ ทั้งนี้ กองกำลังอาวุธซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า “กองกำลังเดย์ตัน” (Dayton forces ตามชื่อของ คีธ เดย์ตัน Keith Dayton นายพลชาวอเมริกันซึ่งเป็นผู้นำการฝึกอบรมกองกำลังนี้ในช่วงปี 2005 จนถึงปี 2010) นี้ มีชื่อเสียงย่ำแย่ฉาวโฉ่เรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน เป็นต้นว่า มีพฤติการณ์จับกุมผู้ต้องสงสัยมาทรมาน โดยที่กระทั่งตัวนายพลเดย์ตันเองก็ยอมรับเรื่องนี้ นอกจากนั้นยังมีอดีตผู้ช่วยคนหนึ่งของเดย์ตัน ซึ่งเป็นพันเอกชาวอเมริกัน ได้เรียกกองกำลังความมั่นคงเหล่านี้ ระหว่างที่เขาพูดกับโทรทัศน์อัล-ญะซีเราะห์ (al-Jazeera) ว่า มันเป็น “แขนแห่งความมั่นคงของอิสราเอลแขนที่ 3” (third Israeli security arm) ซึ่งสร้างขึ้นมาด้วยการ “เอาต์ซอร์ส” (outsourced) ตามความเห็นของ โจช รึบเนอร์ (Josh Ruebner) ผู้อำนวยการฝ่ายปลุกจิตสำนึกภายในประเทศให้แก่ “กลุ่มรณรงค์สหรัฐฯเพื่อให้ยุติการยึดครองของอิสราเอล” (US Campaign to End the Israli Occupation) และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Shattered Hopes: Obama's Failure to Broker Israeli-Palestinian Peace” (ความหวังแหลกสลาย: ความล้มเหลวของโอบามาในการเป็นคนกลางสร้างสันติภาพอิสราเอล-ปาเลสไตน์) เขามองว่าความช่วยเหลือที่อเมริกันให้แก่ปาเลสไตน์นั้น ที่สำคัญแล้วให้ประโยชน์ในการปกป้องการยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ของอิสราเอล
เชส มาดาร์ (@ChMadar) เป็นทนายความอยู่ที่นิวยอร์ก, เป็นผู้เขียนเรื่องให้แก่ “TomDispatch” อยู่เป็นประจำ, และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Passion of [Chelsea] Manning: The Story behind the Wikileaks Whistleblower (Verso)
(ข้อเขียนชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในบล็อกออนไลน์ TomDispatch)
(อ่านต่อตอน 2 และตอน 3 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Truth and dare in US aid to Israel
By Chase Madar
10/02/2014
ปกติแล้ว ในแวดวงการเมืองการบริหารในกรุงวอชิงตัน เรื่องการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศนั้น ถือเป็นหัวข้ออ่อนไหวที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาอันรุนแรงขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพวกนิยมการตัดลดงบประมาณรายจ่าย กระนั้นก็ตาม ยังคงปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่า ทั้งๆ ที่อิสราเอลคือผู้ที่ได้รับประโยชน์รายใหญ่ที่สุดจากงบประมาณความช่วยเหลือต่างประเทศของสหรัฐฯมาอย่างยาวนาน แถมแทบทั้งหมดยังเป็นความช่วยเหลือทางการทหารเสียด้วย แต่กลับไม่ค่อยมีใครใส่ใจขุดคุ้ยตรวจสอบเอาเสียเลย เฉพาะในปี 2013 ที่ผ่านมาอิสราเอลนั้นได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐฯเป็นมูลค่าถึง 3,100 ล้านดอลลาร์ เรียกได้ว่าสหรัฐฯส่งให้อิสราเอลใช้ ตั้งแต่แก๊สน้ำตา ไปจนถึงฝูงเครื่องบินขับไล่เอฟ-16 และเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ “อาปาเช่” ไปจนถึง “อาวุธยิงทำลายบังเกอร์” ทว่าทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เมื่อพิจารณาจากแง่มุมของการแก้ไขคลี่คลายวิกฤตการณ์ที่ไม่รู้จบไม่รู้สิ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางแล้ว กลับปรากฏว่าแทบไม่ได้ก่อให้เกิดผลเป็นชิ้นเป็นอันอะไรเลย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอนแรก *
พวกเราชาวอเมริกันมีแนวคิดอันตลกน่าขันเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศอยู่ไม่ใช่น้อยๆ ผลการสำรวจความคิดเห็นที่กระทำกันเมื่อไม่นานมานี้หลายๆ ครั้ง แสดงให้เห็นว่า โดยเฉลี่ยแล้ว พวกเราเชื่อว่างบประมาณแผ่นดินของสหรัฐฯนั้น มีถึง 28% ซึ่งเป็นรายการใช้จ่ายเกี่ยวกับเรื่องนี้ และดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องประหยัดมัธยัสถ์เคร่งครัดการจับจ่าย เจ้าตัวยักษ์จอมเขมือบงบประมาณตัวนี้จึงควรถูกตัดหั่นลงไปสัก 10% อย่างไรก็ดี โดยข้อเท็จจริงกลับกลายเป็นว่า งบประมาณของสหรัฐฯเพียงแค่ 1% เท่านั้นที่ถูกจัดสรรไปเป็นความช่วยเหลือต่างประเทศในทุกๆ ประเภท
กระนั้นก็ตาม เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศของสหรัฐฯนี้ ยังคงมีความจริงที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์เหลือเกินอย่างอื่นๆ อีก อย่างน้อยที่สุดก็พิสดารพอๆ กับนิยายทีเดียว คิดดูเอาเถิด ชาติซึ่งเป็นผู้ได้รับความช่วยเหลือต่างประเทศจากสหรัฐฯสูงที่สุดตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นดินแดนลำบากยากจนที่เต็มไปด้วยเด็กๆ ผู้หิวโหย หากแต่เป็นประเทศมั่งคั่งซึ่งตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อประชากรแต่ละคน อยู่ในระดับพอๆ กับระดับเฉลี่ยของสหภาพยุโรปทีเดียว โดยที่ยังสูงกว่าของประเทศอย่างอิตาลี, สเปน, หรือ เกาหลีใต้ ด้วยซ้ำไป
ลองคิดดูต่อไปเถิดว่า ชาติผู้ได้รับความช่วยเหลือดังกล่าวสูงที่สุดรายนี้แหละ (แถมตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา ความช่วยเหลือต่างประเทศที่เขาได้รับจากสหรัฐฯ แทบทั้งหมดเลยคือความช่วยเหลือทางการทหาร) ยังกำลังสาละวนวุ่นวายอยู่กับสิ่งซึ่งช่างละม้ายคล้ายคลึงกับโครงการล่าอาณานิคมแห่งยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 เสียเหลือเกิน กล่าวคือ เมื่อปลายทศวรรษ 1940 ผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือของเราอย่างมหาศาลรายนี้ได้ขับไล่ไสส่งประชาชนชาวพื้นเมืองราว 700,000 คนออกไปจากดินแดนที่ตนเองประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ พอมาในปี 1967 ลูกค้าของเรารายนี้ได้เข้าแย่งยึดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ถัดๆ กันไปอีกหลายผืน และนับแต่นั้นก็นำเอาประชาชนของตนเองเกือบๆ 650,000 คนไปตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ชาติผู้ได้รับความช่วยเหลือของเราก้อนมหึมาเจ้านี้ จัดแจงตัดแบ่งดินแดนต่างๆ ที่พิชิตมาได้ออกเป็นผืนเล็กๆ ย่อยๆ ด้วยวิธีจัดตั้งด่านตรวจขึ้นมาเยอะแยะ และตัดถนนจำนวนมากมายซึ่งพวกตั้งรกรากถิ่นฐานเจ้าอาณานิคมเท่านั้นจึงจะได้ใช้ประโยชน์ นอกจากนั้นเขายังสร้างกำแพงที่มีความยาวรวมกันถึง 440 ไมล์ (708 กิโลเมตร) ล้อมรอบ (และกระทั่งตัดล้ำเข้าไปข้างใน) ดินแดนที่ถูกพิชิต ก่อให้เกิดสภาพทางภูมิศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโดยแท้ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างชัดเจน
คำว่า “การล้างเผ่าพันธุ์” (Ethnic cleansing) อาจจะเป็นถ้อยคำที่รุนแรงระคายหู แต่ย่อมเหมาะสมนักที่จะนำมาใช้กับสถานการณ์ซึ่งประชาชนถูกผลักไสขับไล่ออกจากบ้านอาศัยและที่ดินทำกินของพวกเขาเอง เพียงเพราะพวกเขาไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่ถูกต้องซึ่งเจ้าอาณานิคมยินยอมให้ตั้งรกรากถิ่นฐาน ถึงแม้ว่าชาวอเมริกันจำนวนมากจะรู้สึกลังเลและทัดทานเมื่อตั้งข้อหานี้เอากับอิสราเอล – ถูกต้องแล้วครับ ประเทศนี้แหละคือผู้ได้รับความช่วยเหลือต่างประเทศของอเมริกาสูงที่สุดยิ่งกว่าชาติใดๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือทางด้านการทหาร— แต่ชาวอเมริกันหน้าไหนเลยที่จะรีรอไม่ยอมใช้คำๆ นี้ ถ้าหากภายในโลกแห่งเงากระจกสะท้อนสักโลกหนึ่ง ประดาพฤติการณ์เหี้ยมโหดทารุณทั้งหลายเหล่านี้ กลับถูกนำมากระทำสร้างความทุกข์ยากเดือดร้อนให้แก่ชาวยิวอิสราเอล?
**ความช่วยเหลือทางทหารที่ให้แก่อิสราเอล**
ถ้าหากมีการพิจารณากันตามเนื้อผ้าอย่างแท้จริงแล้ว การติดอาวุธและการส่งความช่วยเหลือทางการเงินให้แก่ชาติมั่งคั่งที่กำลังแสดงพฤติการณ์ในลักษณะดังที่กล่าวมาข้างต้น ย่อมต้องถูกมองว่าเป็นนโยบายที่เลวร้ายมากๆ กระนั้นความช่วยเหลือของอเมริกันกลับกำลังไหลทะลักไปยังอิสราเอลด้วยปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยซ้ำไป ตามข้อเท็จจริงแล้ว ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา อิสราเอลได้เขมือบดูดกลืนความช่วยเหลือดังกล่าวไปรวมเป็นเงินเกือบๆ 250,000 ล้านดอลลาร์ เฉพาะปีที่แล้วปีเดียว วอชิงตันได้อนุมัติความช่วยเหลือทางทหารให้ประมาณ 3,100 ล้านดอลลาร์ แล้วยังเพิ่มเติมสมทบด้วยการจัดสรรเงินช่วยเหลือเพื่อการร่วมมือดำเนินการวิจัยทางการทหาร และเงินช่วยเหลือเพื่อการฝึกซ้อมร่วมทางทหาร ให้อีกต่างหาก
มองกันในภาพรวมแล้ว สหรัฐฯคือผู้ที่ควักกระเป๋าจ่ายเงินงบประมาณด้านกลาโหมของอิสราเอลถึงเกือบๆ 1 ใน 4 --เรียกว่าให้กันตั้งแต่กระป๋องแก๊สน้ำตา ไปจนถึงฝูงเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 เมื่อตอนที่อิสราเอลเปิดการโจมตีใหญ่ต่อดินแดนกาซา (Gaza) ในช่วงปี 2008-2009 กองทัพอิสราเอลซึ่งใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “กองกำลังป้องกันอิสราเอล” (Israeli Defense Forces Israeli Defense Forces) ได้ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์หลากหลายนานา ทั้ง “ระเบิดปัญญาทึบ” (dumb bombs ระเบิดที่ไม่มีระบบนำวิถี) เอ็ม-92 และ เอ็ม-84, “ระเบิดอัจฉริยะ” (smart bombs) เพฟเวย์ 2 (Paveway II) และ เจดีเอเอ็ม (JDAM), เฮลิคอปเตอร์โจมตี เอเอช-64 อาปาเช่ (AH-64 Apache) ซึ่งติดตั้งขีปนาวุธนำวิถี เอจีเอ็ม-114 เฮลล์ไฟร์ (AGM-114 Hellfire), อาวุธยิงทำลายบังเกอร์ เอ็ม 141 (M141 "bunker defeat"), และพวกอาวุธพิเศษอย่างเช่น กระสุนปืนใหญ่ฟอสฟอรัสขาวขนาด 155 ม.ม. เอ็ม825เอ1 (M825A1 155mm white phosphorous munitions) ปรากฏว่าทั้งหมดเหล่านี้กองทัพอิสราเอลได้รับมาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือต่างประเทศจากสหรัฐฯ (อิสราเอลถือเป็นชาติผู้รับความช่วยเหลือที่พิเศษมากๆ ของอเมริกา นั่นคือ อิสราเอลได้รับอนุญาตให้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือทางทหารที่ได้รับจากวอชิงตันในสัดส่วน 25% ไปในการซื้อหาอาวุธที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมอาวุธของอิสราเอลเอง)
ทำไมวอชิงตันจึงต้องทุ่มเทให้อิสราเอลถึงขนาดนี้? คำตอบสามัญที่สุดและก็เป็นคำตอบที่เรียบง่ายที่สุดก็คือ เพราะอิสราเอลเป็น “พันธมิตร” ของวอชิงตัน แต่ว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วสหรัฐฯมีพันธมิตรจำนวนหลายสิบประเทศกระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก ก็ไม่เห็นมีประเทศไหนที่ได้รับการอุดหนุนช่วยเหลือด้วยเงินภาษีของชาวอเมริกันในลักษณะเช่นนี้เลย เนื่องจากระหว่างสหรัฐฯกับอิสราเอลนั้นไม่ได้เคยมีการทำสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรกันอย่างเป็นทางการใดๆ เลย อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากแง่มุมความคุ้มค่าของความสัมพันธ์นี้ซึ่งปรากฏว่าเอนเอียงกระเท่เร่ไปในทางเอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายอิสราเอลมากกว่าด้วยแล้ว คำที่ถูกต้องกว่ามากมายนักซึ่งควรนำมาใช้บรรยายความผูกพันที่อิสราเอลมีอยู่กับวอชิงตัน น่าจะเป็นคำว่า อิสราเอลคือ “รัฐบริวาร” (client state)
แถมรัฐบริวารเฉกเช่นอิสราเอลนี้ ยังไม่ได้เป็นบริวารที่ซื่อสัตย์จงรักภักดีอะไรนักเสียอีก ปกติแล้วในความสัมพันธ์กับรัฐบริวารทั่วๆ ไป การให้ความช่วยเหลือทางทหารอย่างมากมายมหาศาลขนาดนี้ควรที่จะทำให้วอชิงตันมีอำนาจบงการเหนืออิสราเอลอย่างใหญ่โตมโหฬาร แต่ในทางเป็นจริงเรากลับมองไม่เห็นร่องรอยในเรื่องนี้เอาเสียเลย ขอให้ลองเฝ้าติดตามดูเถอะ เราจะพบเห็นได้ไม่ยากเลยว่า มีน้อยครั้งนักที่เมื่อมีเจ้าหน้าที่อเมริกันเดินทางไปเยือนอิสราเอลเพื่อสานสายสัมพันธ์ทางการทูต แล้วจะไม่ได้ถูกต้อนรับด้วยการที่อิสราเอลประกาศใส่หน้าว่ากำลังจะดำเนินการแปรดินแดนของชาวปาเลสไตน์ให้กลายเป็นอาณานิคมอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น หรือถ้าใช้คำให้นุ่มนวลลงมาหน่อยก็เรียกกันว่า “การขยายเขตตั้งถิ่นฐาน” (settlement expansion)
วอชิงตันก็ให้ความช่วยเหลือแก่ปาเลสไตน์ด้วยเหมือนกัน โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับปีละ 875 ล้านดอลลาร์ในช่วงดำรงตำแหน่งสมัยแรกของโอบามา (ตัวเลขนี้เท่ากับกว่าสองเท่าตัวของงบประมาณที่ จอร์จ ดับเบิลยู บุช จัดสรรให้แก่ปาเลสไตน์ในช่วงดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของเขา) แต่ความช่วยเหลือขนาดนี้ยังคงมากกว่า 1 ใน 4 ของสิ่งที่อิสราเอลได้รับอยู่เพียงแค่นิดเดียวเท่านั้น มิหนำซ้ำความช่วยเหลือจำนวนมากทีเดียวไหลเข้าไปในพวกโครงการประเภทที่ให้ประโยชน์ให้คุณค่าสุทธิอันชวนสงสัยเคลือบแคลง อย่างเช่นการพัฒนาเครือข่ายชลประทาน ในขณะเดียวกับที่ทางอิสราเอลกำลังทำลายแอ่งน้ำใต้ดินและบ่อน้ำของชาวปาเลสไตน์ตามที่ต่างๆ ในเขตเวสต์แบงก์ (West Bank) เงินช่วยเหลือเหล่านี้ก้อนโตทีเดียวอีกก้อนหนึ่งถูกนำไปใช้ในการฝึกอบรมกองกำลังความมั่นคงชาวปาเลสไตน์ ทั้งนี้ กองกำลังอาวุธซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า “กองกำลังเดย์ตัน” (Dayton forces ตามชื่อของ คีธ เดย์ตัน Keith Dayton นายพลชาวอเมริกันซึ่งเป็นผู้นำการฝึกอบรมกองกำลังนี้ในช่วงปี 2005 จนถึงปี 2010) นี้ มีชื่อเสียงย่ำแย่ฉาวโฉ่เรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน เป็นต้นว่า มีพฤติการณ์จับกุมผู้ต้องสงสัยมาทรมาน โดยที่กระทั่งตัวนายพลเดย์ตันเองก็ยอมรับเรื่องนี้ นอกจากนั้นยังมีอดีตผู้ช่วยคนหนึ่งของเดย์ตัน ซึ่งเป็นพันเอกชาวอเมริกัน ได้เรียกกองกำลังความมั่นคงเหล่านี้ ระหว่างที่เขาพูดกับโทรทัศน์อัล-ญะซีเราะห์ (al-Jazeera) ว่า มันเป็น “แขนแห่งความมั่นคงของอิสราเอลแขนที่ 3” (third Israeli security arm) ซึ่งสร้างขึ้นมาด้วยการ “เอาต์ซอร์ส” (outsourced) ตามความเห็นของ โจช รึบเนอร์ (Josh Ruebner) ผู้อำนวยการฝ่ายปลุกจิตสำนึกภายในประเทศให้แก่ “กลุ่มรณรงค์สหรัฐฯเพื่อให้ยุติการยึดครองของอิสราเอล” (US Campaign to End the Israli Occupation) และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Shattered Hopes: Obama's Failure to Broker Israeli-Palestinian Peace” (ความหวังแหลกสลาย: ความล้มเหลวของโอบามาในการเป็นคนกลางสร้างสันติภาพอิสราเอล-ปาเลสไตน์) เขามองว่าความช่วยเหลือที่อเมริกันให้แก่ปาเลสไตน์นั้น ที่สำคัญแล้วให้ประโยชน์ในการปกป้องการยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ของอิสราเอล
เชส มาดาร์ (@ChMadar) เป็นทนายความอยู่ที่นิวยอร์ก, เป็นผู้เขียนเรื่องให้แก่ “TomDispatch” อยู่เป็นประจำ, และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Passion of [Chelsea] Manning: The Story behind the Wikileaks Whistleblower (Verso)
(ข้อเขียนชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในบล็อกออนไลน์ TomDispatch)
(อ่านต่อตอน 2 และตอน 3 ซึ่งเป็นตอนจบ)