(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Abe's rightward shift risks his legacy
By Andrew L Oros
08/01/2014
นายกรัฐมนตรี อาเบะ ชินโซ ของญี่ปุ่น กำลังปล่อยให้ความโน้มเอียงและอิทธิพลแบบฝ่ายขวาของเขาเอง แสดงตัวออกมาอย่างทะลักทลายเต็มที่ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่เมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา เขาเดินทางไปยังศาลเจ้าแห่งซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงโต้แย้งอย่างรุนแรง เพื่อสักการะทั้งวีรชนสงครามและอาชญากรสงครามอย่างเหมารวมไปหมดนั้น นั่นคือการหันเหเบี่ยงเบนออกมาจากความท้าทายอันแท้จริงที่เขาจะต้องเผชิญในปี 2014 นี้โดยแท้ ถ้าหากว่าอาเบะที่เปล่งรังสีแห่งความเป็นชาตินิยมอย่างแรงกล้า จะทำให้เขาสูญเสียความสนับสนุนจากพวกกลางๆ ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกญี่ปุ่นแล้ว เขาก็จะสูญเสียทรัพย์สมบัติที่กำลังอยู่ใกล้แค่มือเอื้อมไปอีกด้วย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
นายกรัฐมนตรี อาเบะ ชินโซ ของญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งครบรอบ 1 ปีพอดิบพอดีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2013 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ยังสามารถถือว่าเขานั่งเก้าอี้ตัวนี้มาเกินกว่า 2 ปีแล้วด้วยซ้ำ ถ้าหากเรานำเอาวาระการเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยแรกของเขาจากเดือนกันยายน 2006 จนถึงเดือนกันยายน 2007 มารวมไว้ด้วย นี่เป็นหลักหมายซึ่งตั้งแต่ปี 1989 เป็นต้นมา มีคนอื่นๆ อีกเพียง 3 คนเท่านั้นที่สามารถทำได้ อาเบะวาดหวังว่าจะยังคงสามารถนั่งอยู่บนเก้าอี้ตัวนี้ไปเรื่อยๆ จวบจนกระทั่งถึงกำหนดที่จะต้องจัดการเลือกตั้งระดับชาติอีกครั้งในปี 2016 (เลือกตั้งสมาชิกสภาล่างในเดือนกรกฎาคม 2016 และสมาชิกสภาสูงในเดือนธันวาคม 2016) ถ้าหากเขาทำได้สำเร็จ อาเบะก็จะกลายเป็นบุคคลที่ 4 ในยุคหลังสงครามของญี่ปุ่น ที่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้นานเกินกว่า 5 ปี และได้เข้าร่วมอยู่ในระดับเดียวกันกับนายกรัฐมนตรีแดนอาทิตย์อุทัยชื่อเสียงโด่งดังอย่าง โยชิดะ ชิเกรุ (Yoshida Shigeru ผู้ประกาศ “หลักการโยชิดะ” Yoshida Doctrine), ซาโตะ เออิซากุ (Sato Eisaku ผู้ร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สำหรับนโยบายไม่เอาอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น), และ โคอิซูมิ จุนอิชิโร (Koizumi Junichiro ซึ่งเป็นผู้วางตัว อาเบะ ให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขาในปี 2006) อย่างไรก็ตาม การที่อาเบะตัดสินใจเดินทางไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิ (Yasukuni Shrine) ในวันครบรอบ 1 ปีของการดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 ของเขา กลายเป็นการสาธิตให้เห็นความโน้มเอียงและอิทธิพลแบบฝ่ายขวาที่คุระอุอยู่ในตัวเขา และเรื่องนี้อาจจะกลายเป็นสิ่งขวางกั้น ไม่ให้เขาประสบความสำเร็จบรรลุความทะเยอทะยานดังกล่าว ตลอดจนไม่ให้เขาสามารถดำเนินการตามวาระทางนโยบายของเขาได้
สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 1 ปีแรกแห่งการนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเป็นวาระที่ 2 ของเขา บ่งบอกให้เห็นว่าอาเบะได้เรียนรู้และสามารถเก็บรับบทเรียนสำคัญๆ จากระยะเวลาการเป็นประมุขฝ่ายบริหารสมัยแรกของเขาซึ่งอุดมไปด้วยความขรุขระลำบากลำบน ถึงแม้ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา บางครั้งบางคราวเขาจะหลุดถ้อยแถลงที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งวุ่นวายออกมา แต่ในทางเป็นจริงแล้ว เขากลับมุ่งผลักดันนโยบายแบบสายกลางในด้านต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขบคิดคาดคำนวณในเชิงยุทธศาสตร์ ในแบบมีการวางแผนการระยะยาวหลายปีเพื่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและด้านความมั่นคงเอาไว้ แต่จะค่อยๆ ผลักดันทำเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แบบเนียนๆ ไม่ผลีผลาม ผลลัพธ์ก็คือ อาเบะทำอะไรสำเร็จไปมากมายทีเดียวในรอบปี 2013 เขาสามารถนำพาพรรคของเขาไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งทั้งในสภาล่างและสภาสูง ขณะที่ “อาเบะโนมิกส์” (Abenomics) ก็ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนขึ้นมา นอกจากนั้น เขายังผลักดันให้มีการกฎหมายและบทบัญญัติหลายๆ ฉบับที่ถือเป็นนโยบายสำคัญอันเกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้นว่า พระราชบัญญัติงบประมาณที่ยอดรายจ่ายด้านกลาโหมหยุดลดต่ำลงเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี (แต่กลับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.8%), พระราชบัญญัติจัดตั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council), การจัดทำและตีพิมพ์เผยแพร่เอกสารยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติอย่างเป็นทางการฉบับแรกของญี่ปุ่น, และพระราชบัญญัติความลับแห่งรัฐ ถ้าหากเราจะหยิบยืมวลีเท่ๆ ของอาเบะมาใช้บรรยายความสำเร็จเหล่านี้แล้ว อันที่เหมาะเหม็งมากก็คงจะเป็นวลีที่ว่า “ญี่ปุ่นกลับมาแล้ว”
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เขาจะเน้นหนักจุดโฟกัสไปที่เรื่องเศรษฐกิจและนโยบายด้านความมั่นคงที่บันยะบันยังไม่ได้รุนแรงร้อนฉ่าอะไร แต่ทั้งภายในญี่ปุ่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายนอกแดนอาทิตย์อุทัย ยังคงมีความหวาดกลัวไม่รู้จางคลายกันอยู่ ว่า อาเบะ “ตัวจริง” (ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีความแตกต่างกันชนิดอยู่คนละขั้วอย่าง นิวยอร์กไทมส์ กับ ไชน่าเดลี่ กลับมีความคิดเห็นเหมือนๆ กันว่า “ตัวจริง” ของอาเบะ คือ ผู้มีแนวความคิดอนุรักษนิยมแบบ “นักชาตินิยมสุดลิ่มทิ่มประตู” hyper-nationalist) นั้นยังไม่ได้ปรากฏตัวเผยโฉมออกมาให้เห็น อันที่จริงแล้ว กระทั่งตั้งแต่ก่อนหน้าที่เขาจะเดินทางไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิเมื่อช่วงสิ้นปี อาเบะก็มีทั้งหล่นหลุดคำพูด ตลอดจนทั้งแสดงการกระทำบางอย่างบางเรื่อง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันความหวั่นวิตกของพวกระแวงสงสัย เป็นต้นว่า ในหลายๆ โอกาสทีเดียว อาเบะจะตั้งคำถามแสดงความไม่เห็นด้วยกับการบรรยายประวัติศาสตร์ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่นในแบบที่ทำๆ กันอยู่ในแดนอาทิตย์อุทัย รวมทั้งเรื่องการเอ่ยขอโทษขออภัยอย่างเป็นทางการต่อประเทศต่างๆ เขายังเป็นผู้ที่รณรงค์สนับสนุนอย่างแรงกล้ามาช้านานแล้วให้แดนอาทิตย์อุทัยหวนกลับไปเผยแพร่ “การศึกษาเพื่อให้เกิดความรักชาติ” ที่มีรัฐบาลเป็นผู้อุปถัมภ์ให้ความสนับสนุน และก็ได้รวมเรื่องนี้เอาไว้ในเอกสารยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับแรกของญี่ปุ่นด้วย ก่อนหน้าที่จะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี อาเบะได้เดินทางไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิหลายต่อหลายครั้ง สถานที่แห่งนี้มีความเกี่ยวพันอย่างแนบแน่นกับอดีตกาลยุคสงครามของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นสถานที่ทางศาสนาชินโตซึ่งรัฐอุปถัมภ์อยู่ โดยที่ศาสนาชินโตแสดงความเคารพบูชาสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิว่าเป็นเทพเจ้า ยิ่งกว่านั้นศาลเจ้าแห่งนี้ยังถือเป็นที่สถิตย์ดวงวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตจากสงครามครั้งต่างๆ ของญี่ปุ่น โดยรวมถึงอาชญากรสงคราม “ชั้น เอ” (Class-A) จำนวน 12 คน ซึ่งถูกพิพากษาลงโทษโดยศาลอาชญากรสงครามแห่งโตเกียว (Tokyo War Crimes Tribunal) นอกจากนั้น ในคณะรัฐมนตรีของอาเบะตลอดจนพวกที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการของเขา ปรากฏว่ามีหลายๆ คนเป็นพวกชาตินิยมสุดโต่งยิ่งกว่าตัวอาเบะเองเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้เมื่อวินิจฉัยจากถ้อยแถลงและการกระทำของบุคคลเหล่านี้
กระนั้น พฤติกรรมต่างๆ ของอาเบะในช่วงนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 นี้ โดยสาระสำคัญแล้วก็ไม่ได้เหมือนกับสิ่งซึ่งเป็นที่นิยมชมชื่นกันในโลกอนุรักษนิยมแบบนักชาตินิยมสุดลิ่มทิ่มประตูเลย คณะรัฐบาลของเขานั้น แสดงให้เห็นถึงความอดกลั้นอดทนอย่างเตะตามาก เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์เรือของจีนหรือเครื่องบินของจีน ล่วงล้ำเข้ามาในดินแดนที่ฝ่ายญี่ปุ่นปกครองดูแลอยู่แทบจะเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่วันแรกที่เขาเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ เมื่อเกิดกรณีเรือรบจีนลำหนึ่งถึงกับล็อกเรดาร์ของระบบอาวุธประจำเรือ เล็งตรงมายังเรือพิฆาตของญี่ปุ่นลำหนึ่ง รัฐบาลของเขาก็เพียงแค่ยื่นหนังสือประท้วงในทางการทูต และแถลงต่อรัฐสภาว่านี่เป็นเหตุการณ์ที่ “น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง”
เขายังไม่ได้มีการลงมือแก้ไขรัฐธรรมนูญ, การพัฒนาสมรรถนะทางทหารเพื่อใช้ในการรุกโจมตี, หรือการประกาศถอนคำขอโทษขออภัยของรัฐบาลที่ได้ให้ไว้สืบเนื่องจากพฤติการณ์ในสมัยสงครามของญี่ปุ่น ตรงกันข้าม เอกสารยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติอย่างเป็นทางการฉบับแรกของญี่ปุ่น ประกาศว่ายึดมั่นอยู่กับแนวความคิดว่าด้วย “ลัทธิสันตินิยมแบบกระตือรือร้น” (proactive pacifism) และเสนอขอให้เพิ่มยอดรายจ่ายด้านกลาโหมเพียง 5% ในระยะเวลา 5 ปีจากนี้ไป ซึ่งเท่ากับแค่ฟื้นคืนยอดใช้จ่ายให้กลับไปอยู่ในระดับของปี 2001 หลังจากที่มีแต่การหั่นลดลงมาหลายต่อหลายปี
โปรดอย่าได้เข้าใจผิด อาเบะนั้นมองหาทางเพิ่มพูนสมรรถนะและกิจกรรมทางการทหารของญี่ปุ่นในต่างแดนอย่างแน่นอน เขายังมองหาทางแก้ไขรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นฉบับปัจจุบันที่ใช้มายาวนานตั้งแต่หลังสงคราม เพื่อให้สามารถกระทำกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นได้ รวมทั้งได้ผลักดันให้รัฐสภาผ่านกฎหมายตั้งแต่ในสมัยแรกแห่งการขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของเขา (ในเดือนพฤษภาคม 2007) ซึ่งเป็นการผลักดันให้ญี่ปุ่นเข้าใกล้การแก้ไขรัฐธรรมนูญยิ่งขึ้นอีกก้าวหนึ่ง โดยกฎหมายนี้เป็นการกำหนดระเบียบวิธีที่จะต้องดำเนินการในเวลาทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งขั้นตอนหนึ่งที่จะต้องทำก็คือการจัดลงประชามติขอความเห็นชอบจากประชาชนทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม สำหรับในขณะนี้ ยุทธศาสตร์ใหม่ทางด้านความมั่นคงแห่งชาติตลอดจนนโยบายด้านต่างๆ ของอาเบะ ยากที่จะประทับตราให้ว่าเป็นยุทธศาสตร์และนโยบายแบบนักชาตินิยมสุดลิ่มทิ่มประตู
มีสาเหตุอะไรที่ทำให้คำพูดและการกระทำของอาเบะยังไร้ความสอดคล้องกันเช่นนี้ และเรื่องนี้ส่อเค้าให้เห็นว่าอาเบะจะลงมือทำอะไรบ้างในปี 2014?
แอนดริว แอล โอรอส (aoros2@washcoll.edu) เป็นรองศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา ณ วอชิงตัน คอลเลจ (Washington College) ในเมืองเชสเตอร์ทาวน์ มลรัฐแมริแลนด์ และเป็นนักวิจัยวุฒิคุณอาคันตุกะ (visiting
adjunct fellow) ที่ศูนย์อีสต์-เวสต์ เซนเตอร์ กรุงวอชิงตัน ผลงานตีพิมพ์ของเขามีดังเช่น
Normalizing Japan: Politics, Identity, and the Evolution of Security Practice (Stanford University Press, 2008)
**ข้อเขียนนี้มาจาก “แพกเน็ต” (PacNet) จดหมายข่าวของ โปรแกรม แปซิฟิกฟอรัม (Pacific Forum) แห่ง ศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (Center for Strategic and International Studies หรือ CSIS) กรุงวอชิงตัน**
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Abe's rightward shift risks his legacy
By Andrew L Oros
08/01/2014
นายกรัฐมนตรี อาเบะ ชินโซ ของญี่ปุ่น กำลังปล่อยให้ความโน้มเอียงและอิทธิพลแบบฝ่ายขวาของเขาเอง แสดงตัวออกมาอย่างทะลักทลายเต็มที่ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่เมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา เขาเดินทางไปยังศาลเจ้าแห่งซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงโต้แย้งอย่างรุนแรง เพื่อสักการะทั้งวีรชนสงครามและอาชญากรสงครามอย่างเหมารวมไปหมดนั้น นั่นคือการหันเหเบี่ยงเบนออกมาจากความท้าทายอันแท้จริงที่เขาจะต้องเผชิญในปี 2014 นี้โดยแท้ ถ้าหากว่าอาเบะที่เปล่งรังสีแห่งความเป็นชาตินิยมอย่างแรงกล้า จะทำให้เขาสูญเสียความสนับสนุนจากพวกกลางๆ ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกญี่ปุ่นแล้ว เขาก็จะสูญเสียทรัพย์สมบัติที่กำลังอยู่ใกล้แค่มือเอื้อมไปอีกด้วย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
นายกรัฐมนตรี อาเบะ ชินโซ ของญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งครบรอบ 1 ปีพอดิบพอดีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2013 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ยังสามารถถือว่าเขานั่งเก้าอี้ตัวนี้มาเกินกว่า 2 ปีแล้วด้วยซ้ำ ถ้าหากเรานำเอาวาระการเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยแรกของเขาจากเดือนกันยายน 2006 จนถึงเดือนกันยายน 2007 มารวมไว้ด้วย นี่เป็นหลักหมายซึ่งตั้งแต่ปี 1989 เป็นต้นมา มีคนอื่นๆ อีกเพียง 3 คนเท่านั้นที่สามารถทำได้ อาเบะวาดหวังว่าจะยังคงสามารถนั่งอยู่บนเก้าอี้ตัวนี้ไปเรื่อยๆ จวบจนกระทั่งถึงกำหนดที่จะต้องจัดการเลือกตั้งระดับชาติอีกครั้งในปี 2016 (เลือกตั้งสมาชิกสภาล่างในเดือนกรกฎาคม 2016 และสมาชิกสภาสูงในเดือนธันวาคม 2016) ถ้าหากเขาทำได้สำเร็จ อาเบะก็จะกลายเป็นบุคคลที่ 4 ในยุคหลังสงครามของญี่ปุ่น ที่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้นานเกินกว่า 5 ปี และได้เข้าร่วมอยู่ในระดับเดียวกันกับนายกรัฐมนตรีแดนอาทิตย์อุทัยชื่อเสียงโด่งดังอย่าง โยชิดะ ชิเกรุ (Yoshida Shigeru ผู้ประกาศ “หลักการโยชิดะ” Yoshida Doctrine), ซาโตะ เออิซากุ (Sato Eisaku ผู้ร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สำหรับนโยบายไม่เอาอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น), และ โคอิซูมิ จุนอิชิโร (Koizumi Junichiro ซึ่งเป็นผู้วางตัว อาเบะ ให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขาในปี 2006) อย่างไรก็ตาม การที่อาเบะตัดสินใจเดินทางไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิ (Yasukuni Shrine) ในวันครบรอบ 1 ปีของการดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 ของเขา กลายเป็นการสาธิตให้เห็นความโน้มเอียงและอิทธิพลแบบฝ่ายขวาที่คุระอุอยู่ในตัวเขา และเรื่องนี้อาจจะกลายเป็นสิ่งขวางกั้น ไม่ให้เขาประสบความสำเร็จบรรลุความทะเยอทะยานดังกล่าว ตลอดจนไม่ให้เขาสามารถดำเนินการตามวาระทางนโยบายของเขาได้
สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 1 ปีแรกแห่งการนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเป็นวาระที่ 2 ของเขา บ่งบอกให้เห็นว่าอาเบะได้เรียนรู้และสามารถเก็บรับบทเรียนสำคัญๆ จากระยะเวลาการเป็นประมุขฝ่ายบริหารสมัยแรกของเขาซึ่งอุดมไปด้วยความขรุขระลำบากลำบน ถึงแม้ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา บางครั้งบางคราวเขาจะหลุดถ้อยแถลงที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งวุ่นวายออกมา แต่ในทางเป็นจริงแล้ว เขากลับมุ่งผลักดันนโยบายแบบสายกลางในด้านต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขบคิดคาดคำนวณในเชิงยุทธศาสตร์ ในแบบมีการวางแผนการระยะยาวหลายปีเพื่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและด้านความมั่นคงเอาไว้ แต่จะค่อยๆ ผลักดันทำเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แบบเนียนๆ ไม่ผลีผลาม ผลลัพธ์ก็คือ อาเบะทำอะไรสำเร็จไปมากมายทีเดียวในรอบปี 2013 เขาสามารถนำพาพรรคของเขาไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งทั้งในสภาล่างและสภาสูง ขณะที่ “อาเบะโนมิกส์” (Abenomics) ก็ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนขึ้นมา นอกจากนั้น เขายังผลักดันให้มีการกฎหมายและบทบัญญัติหลายๆ ฉบับที่ถือเป็นนโยบายสำคัญอันเกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้นว่า พระราชบัญญัติงบประมาณที่ยอดรายจ่ายด้านกลาโหมหยุดลดต่ำลงเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี (แต่กลับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.8%), พระราชบัญญัติจัดตั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council), การจัดทำและตีพิมพ์เผยแพร่เอกสารยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติอย่างเป็นทางการฉบับแรกของญี่ปุ่น, และพระราชบัญญัติความลับแห่งรัฐ ถ้าหากเราจะหยิบยืมวลีเท่ๆ ของอาเบะมาใช้บรรยายความสำเร็จเหล่านี้แล้ว อันที่เหมาะเหม็งมากก็คงจะเป็นวลีที่ว่า “ญี่ปุ่นกลับมาแล้ว”
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เขาจะเน้นหนักจุดโฟกัสไปที่เรื่องเศรษฐกิจและนโยบายด้านความมั่นคงที่บันยะบันยังไม่ได้รุนแรงร้อนฉ่าอะไร แต่ทั้งภายในญี่ปุ่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายนอกแดนอาทิตย์อุทัย ยังคงมีความหวาดกลัวไม่รู้จางคลายกันอยู่ ว่า อาเบะ “ตัวจริง” (ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีความแตกต่างกันชนิดอยู่คนละขั้วอย่าง นิวยอร์กไทมส์ กับ ไชน่าเดลี่ กลับมีความคิดเห็นเหมือนๆ กันว่า “ตัวจริง” ของอาเบะ คือ ผู้มีแนวความคิดอนุรักษนิยมแบบ “นักชาตินิยมสุดลิ่มทิ่มประตู” hyper-nationalist) นั้นยังไม่ได้ปรากฏตัวเผยโฉมออกมาให้เห็น อันที่จริงแล้ว กระทั่งตั้งแต่ก่อนหน้าที่เขาจะเดินทางไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิเมื่อช่วงสิ้นปี อาเบะก็มีทั้งหล่นหลุดคำพูด ตลอดจนทั้งแสดงการกระทำบางอย่างบางเรื่อง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันความหวั่นวิตกของพวกระแวงสงสัย เป็นต้นว่า ในหลายๆ โอกาสทีเดียว อาเบะจะตั้งคำถามแสดงความไม่เห็นด้วยกับการบรรยายประวัติศาสตร์ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่นในแบบที่ทำๆ กันอยู่ในแดนอาทิตย์อุทัย รวมทั้งเรื่องการเอ่ยขอโทษขออภัยอย่างเป็นทางการต่อประเทศต่างๆ เขายังเป็นผู้ที่รณรงค์สนับสนุนอย่างแรงกล้ามาช้านานแล้วให้แดนอาทิตย์อุทัยหวนกลับไปเผยแพร่ “การศึกษาเพื่อให้เกิดความรักชาติ” ที่มีรัฐบาลเป็นผู้อุปถัมภ์ให้ความสนับสนุน และก็ได้รวมเรื่องนี้เอาไว้ในเอกสารยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับแรกของญี่ปุ่นด้วย ก่อนหน้าที่จะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี อาเบะได้เดินทางไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิหลายต่อหลายครั้ง สถานที่แห่งนี้มีความเกี่ยวพันอย่างแนบแน่นกับอดีตกาลยุคสงครามของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นสถานที่ทางศาสนาชินโตซึ่งรัฐอุปถัมภ์อยู่ โดยที่ศาสนาชินโตแสดงความเคารพบูชาสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิว่าเป็นเทพเจ้า ยิ่งกว่านั้นศาลเจ้าแห่งนี้ยังถือเป็นที่สถิตย์ดวงวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตจากสงครามครั้งต่างๆ ของญี่ปุ่น โดยรวมถึงอาชญากรสงคราม “ชั้น เอ” (Class-A) จำนวน 12 คน ซึ่งถูกพิพากษาลงโทษโดยศาลอาชญากรสงครามแห่งโตเกียว (Tokyo War Crimes Tribunal) นอกจากนั้น ในคณะรัฐมนตรีของอาเบะตลอดจนพวกที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการของเขา ปรากฏว่ามีหลายๆ คนเป็นพวกชาตินิยมสุดโต่งยิ่งกว่าตัวอาเบะเองเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้เมื่อวินิจฉัยจากถ้อยแถลงและการกระทำของบุคคลเหล่านี้
กระนั้น พฤติกรรมต่างๆ ของอาเบะในช่วงนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 นี้ โดยสาระสำคัญแล้วก็ไม่ได้เหมือนกับสิ่งซึ่งเป็นที่นิยมชมชื่นกันในโลกอนุรักษนิยมแบบนักชาตินิยมสุดลิ่มทิ่มประตูเลย คณะรัฐบาลของเขานั้น แสดงให้เห็นถึงความอดกลั้นอดทนอย่างเตะตามาก เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์เรือของจีนหรือเครื่องบินของจีน ล่วงล้ำเข้ามาในดินแดนที่ฝ่ายญี่ปุ่นปกครองดูแลอยู่แทบจะเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่วันแรกที่เขาเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ เมื่อเกิดกรณีเรือรบจีนลำหนึ่งถึงกับล็อกเรดาร์ของระบบอาวุธประจำเรือ เล็งตรงมายังเรือพิฆาตของญี่ปุ่นลำหนึ่ง รัฐบาลของเขาก็เพียงแค่ยื่นหนังสือประท้วงในทางการทูต และแถลงต่อรัฐสภาว่านี่เป็นเหตุการณ์ที่ “น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง”
เขายังไม่ได้มีการลงมือแก้ไขรัฐธรรมนูญ, การพัฒนาสมรรถนะทางทหารเพื่อใช้ในการรุกโจมตี, หรือการประกาศถอนคำขอโทษขออภัยของรัฐบาลที่ได้ให้ไว้สืบเนื่องจากพฤติการณ์ในสมัยสงครามของญี่ปุ่น ตรงกันข้าม เอกสารยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติอย่างเป็นทางการฉบับแรกของญี่ปุ่น ประกาศว่ายึดมั่นอยู่กับแนวความคิดว่าด้วย “ลัทธิสันตินิยมแบบกระตือรือร้น” (proactive pacifism) และเสนอขอให้เพิ่มยอดรายจ่ายด้านกลาโหมเพียง 5% ในระยะเวลา 5 ปีจากนี้ไป ซึ่งเท่ากับแค่ฟื้นคืนยอดใช้จ่ายให้กลับไปอยู่ในระดับของปี 2001 หลังจากที่มีแต่การหั่นลดลงมาหลายต่อหลายปี
โปรดอย่าได้เข้าใจผิด อาเบะนั้นมองหาทางเพิ่มพูนสมรรถนะและกิจกรรมทางการทหารของญี่ปุ่นในต่างแดนอย่างแน่นอน เขายังมองหาทางแก้ไขรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นฉบับปัจจุบันที่ใช้มายาวนานตั้งแต่หลังสงคราม เพื่อให้สามารถกระทำกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นได้ รวมทั้งได้ผลักดันให้รัฐสภาผ่านกฎหมายตั้งแต่ในสมัยแรกแห่งการขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของเขา (ในเดือนพฤษภาคม 2007) ซึ่งเป็นการผลักดันให้ญี่ปุ่นเข้าใกล้การแก้ไขรัฐธรรมนูญยิ่งขึ้นอีกก้าวหนึ่ง โดยกฎหมายนี้เป็นการกำหนดระเบียบวิธีที่จะต้องดำเนินการในเวลาทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งขั้นตอนหนึ่งที่จะต้องทำก็คือการจัดลงประชามติขอความเห็นชอบจากประชาชนทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม สำหรับในขณะนี้ ยุทธศาสตร์ใหม่ทางด้านความมั่นคงแห่งชาติตลอดจนนโยบายด้านต่างๆ ของอาเบะ ยากที่จะประทับตราให้ว่าเป็นยุทธศาสตร์และนโยบายแบบนักชาตินิยมสุดลิ่มทิ่มประตู
มีสาเหตุอะไรที่ทำให้คำพูดและการกระทำของอาเบะยังไร้ความสอดคล้องกันเช่นนี้ และเรื่องนี้ส่อเค้าให้เห็นว่าอาเบะจะลงมือทำอะไรบ้างในปี 2014?
แอนดริว แอล โอรอส (aoros2@washcoll.edu) เป็นรองศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา ณ วอชิงตัน คอลเลจ (Washington College) ในเมืองเชสเตอร์ทาวน์ มลรัฐแมริแลนด์ และเป็นนักวิจัยวุฒิคุณอาคันตุกะ (visiting
adjunct fellow) ที่ศูนย์อีสต์-เวสต์ เซนเตอร์ กรุงวอชิงตัน ผลงานตีพิมพ์ของเขามีดังเช่น
Normalizing Japan: Politics, Identity, and the Evolution of Security Practice (Stanford University Press, 2008)
**ข้อเขียนนี้มาจาก “แพกเน็ต” (PacNet) จดหมายข่าวของ โปรแกรม แปซิฟิกฟอรัม (Pacific Forum) แห่ง ศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (Center for Strategic and International Studies หรือ CSIS) กรุงวอชิงตัน**
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)