(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Truth and dare in US aid to Israel
By Chase Madar
10/02/2014
ปกติแล้ว ในแวดวงการเมืองการบริหารในกรุงวอชิงตัน เรื่องการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศนั้น ถือเป็นหัวข้ออ่อนไหวที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาอันรุนแรงขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพวกนิยมการตัดลดงบประมาณรายจ่าย กระนั้นก็ตาม ยังคงปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่า ทั้งๆ ที่อิสราเอลคือผู้ที่ได้รับประโยชน์รายใหญ่ที่สุดจากงบประมาณความช่วยเหลือต่างประเทศของสหรัฐฯมาอย่างยาวนาน แถมแทบทั้งหมดยังเป็นความช่วยเหลือทางการทหารเสียด้วย แต่กลับไม่ค่อยมีใครใส่ใจขุดคุ้ยตรวจสอบเอาเสียเลย เฉพาะในปี 2013 ที่ผ่านมาอิสราเอลนั้นได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐฯเป็นมูลค่าถึง 3,100 ล้านดอลลาร์ เรียกได้ว่าสหรัฐฯส่งให้อิสราเอลใช้ ตั้งแต่แก๊สน้ำตา ไปจนถึงฝูงเครื่องบินขับไล่เอฟ-16 และเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ “อาปาเช่” ไปจนถึง “อาวุธยิงทำลายบังเกอร์” ทว่าทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เมื่อพิจารณาจากแง่มุมของการแก้ไขคลี่คลายวิกฤตการณ์ที่ไม่รู้จบไม่รู้สิ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางแล้ว กลับปรากฏว่าแทบไม่ได้ก่อให้เกิดผลเป็นชิ้นเป็นอันอะไรเลย
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอน 2)
**ความเห็นแก่ตัวในทางยุทธศาสตร์และความช่วยหลือทางการทหารแบบไม่มีเงื่อนไข**
ในแวดวงของนักเคลื่อนไหวรณรงค์ต่อสู้ทั้งหลาย เรื่องที่อเมริกาให้ความอุปถัมภ์ทางการทหารแก่อิสราเอล ก็เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีการอภิปรายถกเถียงอะไรกันนัก เหตุผลสำคัญก็คือแพกเกจความช่วยเหลือนี้ได้รับการปกป้องอย่างแน่นหนาล้ำลึกเหลือเกิน จนมองไม่เห็นเลยว่าความพยายามใดๆ ที่จะตัดหั่นงบประมาณนี้ลงมาจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเหตุนี้เอง การรณรงค์ของขบวนการ BDS (ขบวนการคว่ำบาตร, ถอนการลงทุน, และลงโทษ boycott, divestment, and sanction movement ) อิสราเอลในทั่วโลก จึงมุ่งเน้นหนักไปที่พวกเป้าหมายเล็กๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะทำได้สำเร็จ ถึงแม้ ยูเซฟ มูเนย์เยอร์ (Yousef Munayyer) ผู้อำนวยการบริหารของ “กองทุนเยรูซาเลม” (Jerusalem Fund) ซึ่งเป็นกลุ่มรณรงค์กลุ่มหนึ่ง บอกกับผมว่า ขบวนการ BDS นั้นมีวิสัยทัศน์ในระยะยาวที่จะกดดันให้วอชิงตันยุติความช่วยเหลือทางทหารต่ออิสราเอลด้วย ท่าทีเช่นนี้เมื่อพิจารณาในแง่ของยุทธวิธีก็คือว่าสมเหตุสมผล และทั้งกองทุนเยรูซาเลม ทั้งกลุ่มรณรงค์สหรัฐฯเพื่อให้ยุติการยึดครองของอิสราเอล ต่างก็เข้าเกี่ยวข้องมีส่วนอยู่ในการรณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางทหารที่อเมริกาให้แก่อิสราเอล
พวกที่เราอาจจะงุนงงและเข้าใจได้ลำบากมากขึ้น เห็นจะเป็นพวกกลุ่มนักล็อบบี้ที่โฆษณาป่าวร้องตนเองเป็น กลุ่ม “นิยมสันติภาพ” บ้าง, นักต่อสู้เพื่อให้เกิด “การสนทนา” และ “การพูดจากัน” บ้าง, ทว่ากลุ่มเหล่านี้กลับมีจุดยืนเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่อิสราเอล เหมือนๆ กันกับพวกกลุ่มล็อบบี้ที่แสดงตนเป็นสายเหยี่ยวอย่างเปิดเผย ตัวอย่างเช่น กลุ่ม เจ สตรีท (J Street) กลุ่มไม่แสวงหากำไรที่ตั้งฐานอยู่ในกรุงวอชิงตันและป่าวร้องว่าตนเองเป็นกลุ่ม “นิยมอิสราเอลและนิยมสันติภาพ” กลุ่มนี้ พยายามเสนอตัวว่าเป็นทางเลือกที่ยึดแนวทางสายกลาง ซึ่งน่าให้ความสนับสนุนมากกว่ากลุ่มล็อบบี้ทรงอำนาจอย่าง คณะกรรมการกิจการสาธารณะอิสราเอลอเมริกัน (American Israel Public Affairs Committee ใช้อักษรย่อว่า AIPAC) เจ สตรีท บอกว่ากลุ่มตนสนับสนุนทั้งความช่วยเหลือทางทหาร “ที่ตรงไปตรงมา” และทั้งงบประมาณเพิ่มเติมใดๆ ก็ตามที่วอชิงตันเสนอให้แก่กองทัพอิสราเอล สำหรับ กลุ่ม “ชาวอเมริกันเพื่อสันติภาพเดี๋ยวนี้เลย” (Americans for Peace Now) ก็มีจุดยืนคล้ายคลึงกัน โดยระบุว่าวอชิงตันควรที่จะให้ “ความช่วยเหลือที่ตรงไปตรงมา” แก่อิสราเอล เพื่อเป็นหลักประกันว่า อิสราเอลจะสามารถรักษา “ความเหนือชั้นทางการทหารในเชิงคุณภาพ” เอาไว้ได้ ในที่นี้ผมคงต้องขอพูดออกตัวว่า ถึงแม้จะต้องเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่ามีความคิดแบบยึดติดกับตัวหนังสือมากเกินไป แต่ผมก็ขอแสดงความเห็นว่ากลุ่มใดๆ ก็ตามที่เห็นชอบสนับสนุนแพกเกจให้ความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลแก่ประเทศที่กำลังปฏิบัติตนอย่างอิสราเอลนั้น ต้องเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ “นิยมสันติภาพ” อย่างแน่นอน มันก็คงคล้ายๆ กับพวกกลุ่มสมานฉันท์อเมริกลางแห่งยุคกลางทศวรรษ 1980 ซึ่งประกาศอ้างตนเรียกร้องสันติภาพ แต่เวลาเดียวกันนั้นกลับล็อบบี้วอชิงตันให้ยังคงสนับสนุนงบประมาณแก่พวกคอนทราส์ (Contras กลุ่มต่อต้านรัฐบาลฝ่ายซ้ายในนิการากัวเวลานั้น) และกองทัพเอลซัลวาดอร์
มองออกไปนอกแวดวงของกลุ่มล็อบบี้เพื่ออิสราเอลกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ ภาพที่ได้เห็นก็ยังคงย่ำแย่ไม่ต่างอะไรกัน “ศูนย์กลางเพื่อความก้าวหน้าของอเมริกา” (Center for American Progress) กลุ่มคลังสมองที่ใกล้ชิดกับพรรคเดโมแครต มีการออกคำแถลงอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีเนื้อหาแสดงความศรัทธาความหวังใหม่ๆ ที่จะได้เห็น “กระบวนการสร้างสันติภาพ” ในตะวันออกกลาง ทว่าคำแถลงเหล่านี้กลับไม่เคยเลยที่จะเอ่ยถึงถึงประเด็นที่ว่า การที่อาวุธก้าวหน้าสุดทันสมัยของเรายังคงหลั่งไหลออกไปสู่อิสราเอลอย่างไม่มีเงื่อนไขนั้น น่าจะกลายเป็นตัวลดแรงจูงใจที่จะนำไปสู่หนทางแก้ไขสถานการณ์อย่างยุติธรรมขึ้นมา
หากเราหันไปดูกรณีของอียิปต์ ซึ่งเป็นชาติผู้รับความช่วยเหลือต่างประเทศจากวอชิงตันมากเป็นอันดับ 2 รองจากอิสราเอล เราก็จะมองเห็นทั้งข้อที่เหมือนกันและข้อที่แตกต่างกัน งบประมาณรวมกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์ที่วอชิงตันส่งไปให้แก่อียิปต์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา เป็นเครื่องค้ำประกันว่าอียิปต์ทั้งยินยอมอยู่ในสันติภาพกับอิสราเอล และทั้งเป็นผู้ภักดีต่อสหรัฐฯในช่วงสงครามเย็น โดยขณะเดียวกันนั้นก็หนุนส่งเชิดชูรัฐบาลเผด็จการที่มีประวัติทางด้านสิทธิมนุษยชนอันน่าสยดสยอง ครั้นเมื่อฝ่ายทหารอียิปต์ในยุคหลังมูบารัค สามารถฟื้นฟูอำนาจบารมีในการยึดกุมประเทศขึ้นมาได้ใหม่ เวลานี้ทางการวอชิงตันจึงกำลังเร่งทำงานเพื่อหาหนทางที่จะยังคงสามารถส่งความช่วยเหลือทางทหารไปให้อียิปต์ต่อไป ถึงแม้มีข้อห้ามของรัฐสภาสหรัฐฯอย่างชัดเจนว่า ไม่ให้ติดอาวุธแก่ระบอบปกครองใดๆ ก็ตามซึ่งขึ้นครองอำนาจด้วยการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี อย่างน้อยที่สุดฝ่ายกระแสหลักในสหรัฐฯก็ยังมีการถกเถียงอภิปรายสาธารณะกันอยู่บ้าง ในเรื่องที่ว่าควรหรือไม่ที่จะหยุดส่งความช่วยเหลือให้แก่เหล่านายพลอียิปต์ผู้ช่วงชิงอำนาจกลับคืนด้วยการใช้ความรุนแรง “โปรพับลิกา” (ProPublica) กลุ่มนักหนังสือพิมพ์เชิงสืบสวนสอบสวนที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร ถึงกับจัดทำ “คู่มืออธิบาย” ฉบับกะทัดรัด ว่าด้วยความช่วยเหลือทางทหารที่สหรัฐฯส่งให้แก่อียิปต์ --ถึงแม้พวกเขาไม่ได้เคยใช้ความพยายามดุจเดียวกันเพื่ออธิบายความช่วยเหลือทำนองนี้ที่วอชิงตันให้แก่อิสราเอลเลยก็ตาม
การนิ่งเงียบไม่มีการขุดคุ้ยวิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับอิสราเอลเช่นนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วถูกมองถูกอธิบายกันอย่างง่ายๆ ว่า เป็นเรื่องของวัฒนธรรมในแวดวงการเมืองวอชิงตัน ดังที่ จอร์จ เพอร์โควิช (George Perkovich) ผู้อำนวยการของโครงการนโยบายนิวเคลียร์ แห่งกองทุนคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) กล่าวกับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ว่า “มันก็เหมือนกับทุกๆ สิ่งที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์อิสราเอลและสหรัฐฯนั่นแหละ ถ้าหากคุณต้องการที่จะเดินหน้าต่อไปแล้ว คุณก็จะต้องไม่ไปพูดถึงมัน คุณต้องไม่วิพากษ์วิจารณ์อิสราเอล คุณต้องพิทักษ์ปกป้องอิสราเอล”
ภาวะเช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าเสียใจ เนื่องจากความช่วยเหลือทางทหารที่วอชิงตันให้แก่อิสราเอล ซึ่งกำลังกลายเป็นประเด็นล่องหนทางการเมืองในสหรัฐฯนั้น ไม่เพียงเป็นอุปสรรคขัดขวางสันติภาพอันยั่งยืนในตะวันออกกลางเท่านั้น หากยังเป็นภาระทั้งในทางยุทธศาสตร์และในทางความมั่นคงของสหรัฐฯอีกด้วย เหมือนอย่างที่ พล.อ.เดวิด เพเทรอัส (David Petraeus) ขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command หรือ CENTCOM) กล่าวขณะไปให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการการทหารของวุฒิสภา (Senate Armed Services Committee) เมื่อปี 2010 ทั้งนี้ เพเทรอัสบอกว่า ความล้มเหลวไม่สามารถบรรลุหนทางแก้ไขอันยั่งยืนให้แก่ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ กำลังทำให้วัตถุประสงค์ทางด้านนโยบายการต่าปงระเทศประการอื่นๆ ของวอชิงตันในภูมิภาคตะวันออกกลางนี้ พลอยบรรลุได้ยากลำบากยิ่งขึ้นด้วย เขาชี้อีกว่า ความล้มเหลวดังกล่าวยังกำลังบ่มเพาะความเกลียดชังต่อต้านอเมริกัน และกลายป็นปัจจัยเติมเชื้อโหมไฟให้แก่พวกอัลกออิดะห์และกลุ่มใช้ความรุนแรงอื่นๆ ในเวลาต่อมา ระหว่างที่เขาให้สัมภาษณ์สดๆ วูล์ฟ บลิตเซอร์ (Wolf Blitzer) แห่งโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว พล.อ.เจมส์ แมตทิส (James Mattis) ผู้สืบทอดตำแหน่งของ เพเทรอัสที่ CENTCOM ก็ได้พูดย้ำถึงเรื่องที่ว่า ความช่วยเหลือซึ่งสหรัฐฯให้แก่อิสราเอลกำลังกลายเป็นภาระหนัก ดังนี้:
“ในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการ CENTCOM ผมต้องจ่ายค่าความมั่นคงทางการทหารอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะชาวอเมริกันถูกมองว่าลำเอียงเข้าข้างสนับสนุนอิสราเอล และเรื่องนี้ ก็กำลังสร้างความแปลกแยกให้แก่ชาวอาหรับหัวกลางๆ ทั้งหมดอีกด้วย ชาวอาหรับหัวกลางๆ เหล่านี้เป็นผู้ซึ่งต้องการที่จะเป็นพวกเดียวกับเรา ทว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะออกไปประกาศในที่สาธารณะ ไม่สามารถไปแสดงความสนับสนุนผู้ที่ไม่ได้ให้ความเคารพชาวอาหรับปาเลสไตน์ได้”
คำพูดของพวกนายพลชาวอเมริกันพวกนี้ยังไม่น่าเชื่อถือหรือ? ถ้าอย่างนั้นลองสอบถามผู้ก่อการร้ายดูไหม คอลิด ชัยค์ โมฮัมเหม็ด (Khalid Sheikh Mohammed) คนวางแผนการโจมตี 9/11 ซึ่งเวลานี้ติดคุกอยู่ที่กวนตานาโม ได้บอกกับพวกเจ้าหน้าที่ซักถามว่า แรงจูงใจที่ทำให้เขาอยากโจมตีเล่นงานสหรัฐฯนั้น ที่สำคัญเนื่องมาจากวอชิงตันแสดงบทบาทนำในการช่วยเหลืออิสราเอลทำการรุกรานเลบานอนซ้ำแล้วซ้ำอีก และในการช่วยเหลืออิสราเอลขับไล่ไสส่งชาวปาเลสไตน์ออกจากที่อยู่ที่ทำกินของพวกเขาเองอย่างต่อเนื่อง
พวกล็อบบี้เพื่ออิสราเอลพยายามเผยแพร่เหตุผลข้อโต้แย้งต่างๆ เพื่อชักจูงหว่านล้อมให้เห็นดีเห็นงามกับเรื่องการติดอาวุธและการให้เงินสนับสนุนอิสราเอล เป็นต้นว่า การยืนยันอย่างเหนียวแน่นว่า หากถอยหนีออกจากการให้ความช่วยเหลือแก่อิสราเอลเช่นนี้แม้สักก้าวเดียว ก็จะเป็นสัญญาณแสดงถึงการที่สหรัฐฯ “ถอนตัว” เข้าสู่ “ลัทธิอยู่อย่างโดดเดี่ยว” (isolationism) แต่ว่ามันเป็นไปได้หรือที่สหรัฐฯ ผู้เป็นเจ้าเหนือใครๆ ในทั่วโลก และกำลังสาละวนยุ่งเกี่ยวพัวพันอยู่ในกิจการของโลกแทบจะทุกแง่ทุกมุม จะกลายเป็นผู้ถอนตัวออกมาอยู่อย่างโดดเดี่ยว ถ้าหากระงับการให้ความช่วยเหลือทางทหารอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุ่ร่ายแก่อิสราเอล? แล้วสหรัฐฯอยู่อย่างโดดเดี่ยวหรือเปล่าเมื่อตอนก่อนหน้าปี 1967 ซึ่งเป็นปีที่สหรัฐฯเริ่มให้ความช่วยเหลืออย่างใหญ่โตกว้างขวางแก่อิสราเอล? คำถามเหล่านี้เป็นคำตอบในตัวมันเองอยู่แล้ว
บางครั้งบางคราว การกระทำเพียงแค่ชี้ให้เห็นว่าสหรัฐฯกำลังให้ความช่วยเหลือแก่อิสราเอลมากมายขนาดไหน ก็เพียงพอที่จะกระตุ้นให้ผู้ที่กระทำเช่นนี้ถูกกล่าวหาว่ามีความจงเกลียดจงชังอิสราเอลมากเป็นพิเศษ สภาวการณ์เช่นนี้อาจจะส่งผลเสมือนกับการแบล็กเมล์เชิงอารมณ์ความรู้สึก อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีใครสักคนเสนอให้วอชิงตันเริ่มต้นส่งอาวุธไปให้แก่อาร์เมเนียปีละ 3,100 ล้านดอลลาร์ เพื่อที่อาร์เมเนียจะได้สามารถเริ่มบุกเข้าพิชิตจังหวัดนาโกร์โน-คาราบัค (Nagorno-Karabakh) ซึ่งในสมัยโบราณเคยเป็นของอาร์เมเนีย แต่ปัจจุบันเป็นของอาเซอร์ไบจาน ที่เป็นชาติเพื่อนบ้าน แผนการนี้จะต้องถูกมองว่าเหลวไหลไร้สาระจนน่าหัวเราะเยาะ – และไม่ใช่เป็นเพราะสัญชาตญาณความไม่ชอบหน้าชาวอาร์เมเนียแต่อย่างใดเลย กระนั้นก็ตาม การทึกทักเอาว่าวอชิงตันจำเป็นที่ต้องติดอาวุธให้แก่กองทัพอิสราเอลอย่างเอื้ออารี กลับกำลังถูกทำให้กลายเป็นสถาบันอย่างเป็นระบบลึกซึ้งยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เสียแล้ว
**กระบวนการสร้างสันติภาพอันจอมปลอม-แท้จริงคือกระบวนการสร้างสงคราม**
เวลานี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี ของสหรัฐฯ กำลังเป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิดกระบวนการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลางรอบใหม่ขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง หลังจากที่อเมริกาได้เคยเป็นผู้นำรื้อฟื้นกระบวนการอันยืดเยื้อไม่รู้จบเช่นนี้ขึ้นมาหลายครั้งหลายหนแล้วนับตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1970 มันไม่ใช่เป็นการพยากรณ์ที่ห้าวหาญอะไรนักหรอก ถ้าหากจะชี้ว่ารอบนี้ก็จะต้องล้มเหลวอีกเช่นเดียวกัน อันที่จริง รัฐมนตรีกลาโหม โมเช่ ยาอาลอน (Moshe Ya'alon) ของอิสราเอล ได้พูดจาล้อเลียนเคร์รีอย่างเปิดเผยไปแล้วด้วยซ้ำ จากการที่เคร์รีแสดงท่าทีเพรียกร้องหาสันติภาพ “อย่างหมกมุ่นและอย่างกับเป็นพระผู้มาโปรด” พร้อมกันนั้น ยาอาลอนระบุด้วยว่ากรอบโครงของการเจรจารอบนี้ที่เสนอกันขึ้นมาใหม่นั้น “ไม่คุ้มค่ากระดาษที่ต้องใช้เพื่อพิมพ์มันขึ้นมา” แล้วยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิสราเอลคนอื่นๆ ซึ่งแสดงอาการโกรธเกรี้ยวเคร์รี จากการที่เขาเพียงเอ่ยถึงผลสืบเนื่องในทางลบที่อิสราเอลอาจจะถูกลงโทษจากทั่วโลก ถ้าหากไม่มีสันติภาพขึ้นมาเสียที
แต่ทำไม ยาอาลอน และพวกเจ้าหน้าที่อิสราเอลคนอื่นๆ ถึงไม่ควรเปิดฉากเล่นงานเอากับเคร์รีผู้เคราะห์ร้ายล่ะ ในเมื่อ รัฐมนตรีกลาโหมผู้นี้ตลอดจนเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ต่างทราบดีอยู่แล้วว่า วอชิงตันนั้นไม่มีทางใช้ไม้แข็งมาเล่นงานอิสราเอลหรอก มีแต่การใช้ไม้นวมคอยเอาอกเอาใจเท่านั้น ไม่ว่าอิสราเอลจะถอยหลังหรือเดินหน้าไปอีกเท่าตัวในการแย่งยึดที่ดินของชาวปาเลสไตน์และในการแปรดินแดนปาเลสไตน์ให้กลายป็นอาณานิคม กระทั่งประธานาธิบดีโอบามาก็ยังคุยอวดด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจว่า สหรัฐฯไม่เคยให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่อิสราเอลอย่างมากมายเหมือนเช่นในยุคที่เขาเป็นประธานาธิบดีเลย เมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (House Foreign Affairs Committee) ก็เพิ่งลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ยกระดับฐานะของอิสราเอลขึ้นเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์รายสำคัญ” (major strategic partner) เมื่อทั้งรัฐสภาและทั้งประธานาธิบดีต่างกำลังรับรองแข็งขันว่า ความช่วยเหลือทางการทหารในระดับมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อนจะยังคงหลั่งไหลทะลักไปให้ไม่ขาดสายเช่นนี้ อิสราเอลย่อมไม่มีแรงจูงใจอย่างแท้จริงใดๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน
ปกติแล้วภาวะชะงักงันทางการทูตเช่นนี้ จะถูกโยนบาปกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของฝ่ายปาเลสไตน์ แต่เนื่องจากเวลานี้ฝ่ายนี้อยู่ในสภาพที่แทบไม่มีอะไรเหลือให้บีบคั้นกันอีกแล้ว การที่จะทำเช่นนั้นอีกในคราวนี้จึงควรถือเป็นบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทางการวอชิงตัน แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ในการชันสูตรพลิกศพภายหลังการสิ้นชีวิตไปของ “กระบวนการสร้างสันติภาพ” รอบนี้ ถึงอย่างไรก็จะไม่มีการอภิปรายถกเถียงกันในวอชิงตัน ในประเด็นที่ว่านโยบายของวอชิงตันเองนั่นแหละที่แสดงบทบาทในการขัดขวางบ่อนทำลายข้อตกลงตะวันออกกลางอันยุติธรรมและยั่งยืน
ภาวะสงบปากสงบคำเช่นนี้ยังจะยืดเยื้อไปอีกยาวนานแค่ไหน? การติดอาวุธและการทุ่มเทเงินทองไปให้แก่ประเทศร่ำรวยรายหนึ่งซึ่งกำลังแสดงพฤติการณ์ล้างเผ่าพันธุ์นั้น เป็นอะไรที่จะต้องสร้างความขุ่นเคืองให้แก่ทั้งพวกอนุรักษนิยม, พวกหัวก้าวหน้า, ตลอดจนกลุ่มการเมืองอื่นๆ ทุกๆ กลุ่มในอเมริกานั่นแหละ แล้วมีบ่อยครั้งแค่ไหนกัน ที่ในทางนโยบายการต่างประเทศ เจ้าความเห็นแก่ตัวในทางยุทธศาสตร์จะสามารถจับมือเป็นพันธมิตรได้อย่างแนบแน่นกับเรื่องสิทธิมนุษยชนและการประพฤติตนอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม?
ผู้คนที่มีปัญญาฉลาดเฉลียวทั้งหลาย สามารถไม่เห็นพ้องต้องกันหรือกระทั่งไม่อาจเห็นต้องกันได้จริงๆ เมื่อเกิดการถกเถียงกันว่าจะใช้หนทางแก้ไขแบบรัฐเดียวหรือแบบ 2 รัฐเคียงคู่กันสำหรับอิสราเอลและปาเลสไตน์ ขณะเดียวกัน ผู้คนที่มีมิตรไมตรีก็สามารถที่จะไม่เห็นด้วยกับการรณรงค์ของขบวนการ BDS ในทั่วโลก อย่างไรก็ตาม มันเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการได้ว่ าความคืบหน้าไปสู่การตกลงรอมชอมกันอย่างยุติธรรมและอย่างยั่งยืนระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ จะบังเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ถ้าหากวอชิงตันยังไม่ยุติการติดอาวุธให้แก่ฝ่ายหนึ่งตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า
“ถ้าหากไม่เป็นเพราะสหรัฐฯให้ความสนับสนุนอิสราเอลแล้ว ความขัดแย้งนี้ก็น่าจะสามารถแก้ไขคลี่คลายไปได้ตั้งนานแล้ว” โจช รึบเนอร์ กล่าวยืนยันเอาไว้เช่นนี้ พวกเราชาวอเมริกันทั้งหลายจะยอมรับรู้หรือไม่ว่ารัฐบาลของเรากำลังแสดงบทบาทอย่างกระตือรือร้น ในการทำลายโอกาสที่จะเกิดสันติภาพอันยุติธรรมและยั่งยืนระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล?
เชส มาดาร์ (@ChMadar) เป็นทนายความอยู่ที่นิวยอร์ก, เป็นผู้เขียนเรื่องให้แก่ “TomDispatch” อยู่เป็นประจำ, และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Passion of [Chelsea] Manning: The Story behind the Wikileaks Whistleblower (Verso)
(ข้อเขียนชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในบล็อกออนไลน์ TomDispatch)
Truth and dare in US aid to Israel
By Chase Madar
10/02/2014
ปกติแล้ว ในแวดวงการเมืองการบริหารในกรุงวอชิงตัน เรื่องการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศนั้น ถือเป็นหัวข้ออ่อนไหวที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาอันรุนแรงขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพวกนิยมการตัดลดงบประมาณรายจ่าย กระนั้นก็ตาม ยังคงปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่า ทั้งๆ ที่อิสราเอลคือผู้ที่ได้รับประโยชน์รายใหญ่ที่สุดจากงบประมาณความช่วยเหลือต่างประเทศของสหรัฐฯมาอย่างยาวนาน แถมแทบทั้งหมดยังเป็นความช่วยเหลือทางการทหารเสียด้วย แต่กลับไม่ค่อยมีใครใส่ใจขุดคุ้ยตรวจสอบเอาเสียเลย เฉพาะในปี 2013 ที่ผ่านมาอิสราเอลนั้นได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐฯเป็นมูลค่าถึง 3,100 ล้านดอลลาร์ เรียกได้ว่าสหรัฐฯส่งให้อิสราเอลใช้ ตั้งแต่แก๊สน้ำตา ไปจนถึงฝูงเครื่องบินขับไล่เอฟ-16 และเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ “อาปาเช่” ไปจนถึง “อาวุธยิงทำลายบังเกอร์” ทว่าทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เมื่อพิจารณาจากแง่มุมของการแก้ไขคลี่คลายวิกฤตการณ์ที่ไม่รู้จบไม่รู้สิ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางแล้ว กลับปรากฏว่าแทบไม่ได้ก่อให้เกิดผลเป็นชิ้นเป็นอันอะไรเลย
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอน 2)
**ความเห็นแก่ตัวในทางยุทธศาสตร์และความช่วยหลือทางการทหารแบบไม่มีเงื่อนไข**
ในแวดวงของนักเคลื่อนไหวรณรงค์ต่อสู้ทั้งหลาย เรื่องที่อเมริกาให้ความอุปถัมภ์ทางการทหารแก่อิสราเอล ก็เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีการอภิปรายถกเถียงอะไรกันนัก เหตุผลสำคัญก็คือแพกเกจความช่วยเหลือนี้ได้รับการปกป้องอย่างแน่นหนาล้ำลึกเหลือเกิน จนมองไม่เห็นเลยว่าความพยายามใดๆ ที่จะตัดหั่นงบประมาณนี้ลงมาจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเหตุนี้เอง การรณรงค์ของขบวนการ BDS (ขบวนการคว่ำบาตร, ถอนการลงทุน, และลงโทษ boycott, divestment, and sanction movement ) อิสราเอลในทั่วโลก จึงมุ่งเน้นหนักไปที่พวกเป้าหมายเล็กๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะทำได้สำเร็จ ถึงแม้ ยูเซฟ มูเนย์เยอร์ (Yousef Munayyer) ผู้อำนวยการบริหารของ “กองทุนเยรูซาเลม” (Jerusalem Fund) ซึ่งเป็นกลุ่มรณรงค์กลุ่มหนึ่ง บอกกับผมว่า ขบวนการ BDS นั้นมีวิสัยทัศน์ในระยะยาวที่จะกดดันให้วอชิงตันยุติความช่วยเหลือทางทหารต่ออิสราเอลด้วย ท่าทีเช่นนี้เมื่อพิจารณาในแง่ของยุทธวิธีก็คือว่าสมเหตุสมผล และทั้งกองทุนเยรูซาเลม ทั้งกลุ่มรณรงค์สหรัฐฯเพื่อให้ยุติการยึดครองของอิสราเอล ต่างก็เข้าเกี่ยวข้องมีส่วนอยู่ในการรณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางทหารที่อเมริกาให้แก่อิสราเอล
พวกที่เราอาจจะงุนงงและเข้าใจได้ลำบากมากขึ้น เห็นจะเป็นพวกกลุ่มนักล็อบบี้ที่โฆษณาป่าวร้องตนเองเป็น กลุ่ม “นิยมสันติภาพ” บ้าง, นักต่อสู้เพื่อให้เกิด “การสนทนา” และ “การพูดจากัน” บ้าง, ทว่ากลุ่มเหล่านี้กลับมีจุดยืนเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่อิสราเอล เหมือนๆ กันกับพวกกลุ่มล็อบบี้ที่แสดงตนเป็นสายเหยี่ยวอย่างเปิดเผย ตัวอย่างเช่น กลุ่ม เจ สตรีท (J Street) กลุ่มไม่แสวงหากำไรที่ตั้งฐานอยู่ในกรุงวอชิงตันและป่าวร้องว่าตนเองเป็นกลุ่ม “นิยมอิสราเอลและนิยมสันติภาพ” กลุ่มนี้ พยายามเสนอตัวว่าเป็นทางเลือกที่ยึดแนวทางสายกลาง ซึ่งน่าให้ความสนับสนุนมากกว่ากลุ่มล็อบบี้ทรงอำนาจอย่าง คณะกรรมการกิจการสาธารณะอิสราเอลอเมริกัน (American Israel Public Affairs Committee ใช้อักษรย่อว่า AIPAC) เจ สตรีท บอกว่ากลุ่มตนสนับสนุนทั้งความช่วยเหลือทางทหาร “ที่ตรงไปตรงมา” และทั้งงบประมาณเพิ่มเติมใดๆ ก็ตามที่วอชิงตันเสนอให้แก่กองทัพอิสราเอล สำหรับ กลุ่ม “ชาวอเมริกันเพื่อสันติภาพเดี๋ยวนี้เลย” (Americans for Peace Now) ก็มีจุดยืนคล้ายคลึงกัน โดยระบุว่าวอชิงตันควรที่จะให้ “ความช่วยเหลือที่ตรงไปตรงมา” แก่อิสราเอล เพื่อเป็นหลักประกันว่า อิสราเอลจะสามารถรักษา “ความเหนือชั้นทางการทหารในเชิงคุณภาพ” เอาไว้ได้ ในที่นี้ผมคงต้องขอพูดออกตัวว่า ถึงแม้จะต้องเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่ามีความคิดแบบยึดติดกับตัวหนังสือมากเกินไป แต่ผมก็ขอแสดงความเห็นว่ากลุ่มใดๆ ก็ตามที่เห็นชอบสนับสนุนแพกเกจให้ความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลแก่ประเทศที่กำลังปฏิบัติตนอย่างอิสราเอลนั้น ต้องเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ “นิยมสันติภาพ” อย่างแน่นอน มันก็คงคล้ายๆ กับพวกกลุ่มสมานฉันท์อเมริกลางแห่งยุคกลางทศวรรษ 1980 ซึ่งประกาศอ้างตนเรียกร้องสันติภาพ แต่เวลาเดียวกันนั้นกลับล็อบบี้วอชิงตันให้ยังคงสนับสนุนงบประมาณแก่พวกคอนทราส์ (Contras กลุ่มต่อต้านรัฐบาลฝ่ายซ้ายในนิการากัวเวลานั้น) และกองทัพเอลซัลวาดอร์
มองออกไปนอกแวดวงของกลุ่มล็อบบี้เพื่ออิสราเอลกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ ภาพที่ได้เห็นก็ยังคงย่ำแย่ไม่ต่างอะไรกัน “ศูนย์กลางเพื่อความก้าวหน้าของอเมริกา” (Center for American Progress) กลุ่มคลังสมองที่ใกล้ชิดกับพรรคเดโมแครต มีการออกคำแถลงอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีเนื้อหาแสดงความศรัทธาความหวังใหม่ๆ ที่จะได้เห็น “กระบวนการสร้างสันติภาพ” ในตะวันออกกลาง ทว่าคำแถลงเหล่านี้กลับไม่เคยเลยที่จะเอ่ยถึงถึงประเด็นที่ว่า การที่อาวุธก้าวหน้าสุดทันสมัยของเรายังคงหลั่งไหลออกไปสู่อิสราเอลอย่างไม่มีเงื่อนไขนั้น น่าจะกลายเป็นตัวลดแรงจูงใจที่จะนำไปสู่หนทางแก้ไขสถานการณ์อย่างยุติธรรมขึ้นมา
หากเราหันไปดูกรณีของอียิปต์ ซึ่งเป็นชาติผู้รับความช่วยเหลือต่างประเทศจากวอชิงตันมากเป็นอันดับ 2 รองจากอิสราเอล เราก็จะมองเห็นทั้งข้อที่เหมือนกันและข้อที่แตกต่างกัน งบประมาณรวมกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์ที่วอชิงตันส่งไปให้แก่อียิปต์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา เป็นเครื่องค้ำประกันว่าอียิปต์ทั้งยินยอมอยู่ในสันติภาพกับอิสราเอล และทั้งเป็นผู้ภักดีต่อสหรัฐฯในช่วงสงครามเย็น โดยขณะเดียวกันนั้นก็หนุนส่งเชิดชูรัฐบาลเผด็จการที่มีประวัติทางด้านสิทธิมนุษยชนอันน่าสยดสยอง ครั้นเมื่อฝ่ายทหารอียิปต์ในยุคหลังมูบารัค สามารถฟื้นฟูอำนาจบารมีในการยึดกุมประเทศขึ้นมาได้ใหม่ เวลานี้ทางการวอชิงตันจึงกำลังเร่งทำงานเพื่อหาหนทางที่จะยังคงสามารถส่งความช่วยเหลือทางทหารไปให้อียิปต์ต่อไป ถึงแม้มีข้อห้ามของรัฐสภาสหรัฐฯอย่างชัดเจนว่า ไม่ให้ติดอาวุธแก่ระบอบปกครองใดๆ ก็ตามซึ่งขึ้นครองอำนาจด้วยการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี อย่างน้อยที่สุดฝ่ายกระแสหลักในสหรัฐฯก็ยังมีการถกเถียงอภิปรายสาธารณะกันอยู่บ้าง ในเรื่องที่ว่าควรหรือไม่ที่จะหยุดส่งความช่วยเหลือให้แก่เหล่านายพลอียิปต์ผู้ช่วงชิงอำนาจกลับคืนด้วยการใช้ความรุนแรง “โปรพับลิกา” (ProPublica) กลุ่มนักหนังสือพิมพ์เชิงสืบสวนสอบสวนที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร ถึงกับจัดทำ “คู่มืออธิบาย” ฉบับกะทัดรัด ว่าด้วยความช่วยเหลือทางทหารที่สหรัฐฯส่งให้แก่อียิปต์ --ถึงแม้พวกเขาไม่ได้เคยใช้ความพยายามดุจเดียวกันเพื่ออธิบายความช่วยเหลือทำนองนี้ที่วอชิงตันให้แก่อิสราเอลเลยก็ตาม
การนิ่งเงียบไม่มีการขุดคุ้ยวิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับอิสราเอลเช่นนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วถูกมองถูกอธิบายกันอย่างง่ายๆ ว่า เป็นเรื่องของวัฒนธรรมในแวดวงการเมืองวอชิงตัน ดังที่ จอร์จ เพอร์โควิช (George Perkovich) ผู้อำนวยการของโครงการนโยบายนิวเคลียร์ แห่งกองทุนคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) กล่าวกับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ว่า “มันก็เหมือนกับทุกๆ สิ่งที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์อิสราเอลและสหรัฐฯนั่นแหละ ถ้าหากคุณต้องการที่จะเดินหน้าต่อไปแล้ว คุณก็จะต้องไม่ไปพูดถึงมัน คุณต้องไม่วิพากษ์วิจารณ์อิสราเอล คุณต้องพิทักษ์ปกป้องอิสราเอล”
ภาวะเช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าเสียใจ เนื่องจากความช่วยเหลือทางทหารที่วอชิงตันให้แก่อิสราเอล ซึ่งกำลังกลายเป็นประเด็นล่องหนทางการเมืองในสหรัฐฯนั้น ไม่เพียงเป็นอุปสรรคขัดขวางสันติภาพอันยั่งยืนในตะวันออกกลางเท่านั้น หากยังเป็นภาระทั้งในทางยุทธศาสตร์และในทางความมั่นคงของสหรัฐฯอีกด้วย เหมือนอย่างที่ พล.อ.เดวิด เพเทรอัส (David Petraeus) ขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command หรือ CENTCOM) กล่าวขณะไปให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการการทหารของวุฒิสภา (Senate Armed Services Committee) เมื่อปี 2010 ทั้งนี้ เพเทรอัสบอกว่า ความล้มเหลวไม่สามารถบรรลุหนทางแก้ไขอันยั่งยืนให้แก่ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ กำลังทำให้วัตถุประสงค์ทางด้านนโยบายการต่าปงระเทศประการอื่นๆ ของวอชิงตันในภูมิภาคตะวันออกกลางนี้ พลอยบรรลุได้ยากลำบากยิ่งขึ้นด้วย เขาชี้อีกว่า ความล้มเหลวดังกล่าวยังกำลังบ่มเพาะความเกลียดชังต่อต้านอเมริกัน และกลายป็นปัจจัยเติมเชื้อโหมไฟให้แก่พวกอัลกออิดะห์และกลุ่มใช้ความรุนแรงอื่นๆ ในเวลาต่อมา ระหว่างที่เขาให้สัมภาษณ์สดๆ วูล์ฟ บลิตเซอร์ (Wolf Blitzer) แห่งโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว พล.อ.เจมส์ แมตทิส (James Mattis) ผู้สืบทอดตำแหน่งของ เพเทรอัสที่ CENTCOM ก็ได้พูดย้ำถึงเรื่องที่ว่า ความช่วยเหลือซึ่งสหรัฐฯให้แก่อิสราเอลกำลังกลายเป็นภาระหนัก ดังนี้:
“ในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการ CENTCOM ผมต้องจ่ายค่าความมั่นคงทางการทหารอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะชาวอเมริกันถูกมองว่าลำเอียงเข้าข้างสนับสนุนอิสราเอล และเรื่องนี้ ก็กำลังสร้างความแปลกแยกให้แก่ชาวอาหรับหัวกลางๆ ทั้งหมดอีกด้วย ชาวอาหรับหัวกลางๆ เหล่านี้เป็นผู้ซึ่งต้องการที่จะเป็นพวกเดียวกับเรา ทว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะออกไปประกาศในที่สาธารณะ ไม่สามารถไปแสดงความสนับสนุนผู้ที่ไม่ได้ให้ความเคารพชาวอาหรับปาเลสไตน์ได้”
คำพูดของพวกนายพลชาวอเมริกันพวกนี้ยังไม่น่าเชื่อถือหรือ? ถ้าอย่างนั้นลองสอบถามผู้ก่อการร้ายดูไหม คอลิด ชัยค์ โมฮัมเหม็ด (Khalid Sheikh Mohammed) คนวางแผนการโจมตี 9/11 ซึ่งเวลานี้ติดคุกอยู่ที่กวนตานาโม ได้บอกกับพวกเจ้าหน้าที่ซักถามว่า แรงจูงใจที่ทำให้เขาอยากโจมตีเล่นงานสหรัฐฯนั้น ที่สำคัญเนื่องมาจากวอชิงตันแสดงบทบาทนำในการช่วยเหลืออิสราเอลทำการรุกรานเลบานอนซ้ำแล้วซ้ำอีก และในการช่วยเหลืออิสราเอลขับไล่ไสส่งชาวปาเลสไตน์ออกจากที่อยู่ที่ทำกินของพวกเขาเองอย่างต่อเนื่อง
พวกล็อบบี้เพื่ออิสราเอลพยายามเผยแพร่เหตุผลข้อโต้แย้งต่างๆ เพื่อชักจูงหว่านล้อมให้เห็นดีเห็นงามกับเรื่องการติดอาวุธและการให้เงินสนับสนุนอิสราเอล เป็นต้นว่า การยืนยันอย่างเหนียวแน่นว่า หากถอยหนีออกจากการให้ความช่วยเหลือแก่อิสราเอลเช่นนี้แม้สักก้าวเดียว ก็จะเป็นสัญญาณแสดงถึงการที่สหรัฐฯ “ถอนตัว” เข้าสู่ “ลัทธิอยู่อย่างโดดเดี่ยว” (isolationism) แต่ว่ามันเป็นไปได้หรือที่สหรัฐฯ ผู้เป็นเจ้าเหนือใครๆ ในทั่วโลก และกำลังสาละวนยุ่งเกี่ยวพัวพันอยู่ในกิจการของโลกแทบจะทุกแง่ทุกมุม จะกลายเป็นผู้ถอนตัวออกมาอยู่อย่างโดดเดี่ยว ถ้าหากระงับการให้ความช่วยเหลือทางทหารอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุ่ร่ายแก่อิสราเอล? แล้วสหรัฐฯอยู่อย่างโดดเดี่ยวหรือเปล่าเมื่อตอนก่อนหน้าปี 1967 ซึ่งเป็นปีที่สหรัฐฯเริ่มให้ความช่วยเหลืออย่างใหญ่โตกว้างขวางแก่อิสราเอล? คำถามเหล่านี้เป็นคำตอบในตัวมันเองอยู่แล้ว
บางครั้งบางคราว การกระทำเพียงแค่ชี้ให้เห็นว่าสหรัฐฯกำลังให้ความช่วยเหลือแก่อิสราเอลมากมายขนาดไหน ก็เพียงพอที่จะกระตุ้นให้ผู้ที่กระทำเช่นนี้ถูกกล่าวหาว่ามีความจงเกลียดจงชังอิสราเอลมากเป็นพิเศษ สภาวการณ์เช่นนี้อาจจะส่งผลเสมือนกับการแบล็กเมล์เชิงอารมณ์ความรู้สึก อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีใครสักคนเสนอให้วอชิงตันเริ่มต้นส่งอาวุธไปให้แก่อาร์เมเนียปีละ 3,100 ล้านดอลลาร์ เพื่อที่อาร์เมเนียจะได้สามารถเริ่มบุกเข้าพิชิตจังหวัดนาโกร์โน-คาราบัค (Nagorno-Karabakh) ซึ่งในสมัยโบราณเคยเป็นของอาร์เมเนีย แต่ปัจจุบันเป็นของอาเซอร์ไบจาน ที่เป็นชาติเพื่อนบ้าน แผนการนี้จะต้องถูกมองว่าเหลวไหลไร้สาระจนน่าหัวเราะเยาะ – และไม่ใช่เป็นเพราะสัญชาตญาณความไม่ชอบหน้าชาวอาร์เมเนียแต่อย่างใดเลย กระนั้นก็ตาม การทึกทักเอาว่าวอชิงตันจำเป็นที่ต้องติดอาวุธให้แก่กองทัพอิสราเอลอย่างเอื้ออารี กลับกำลังถูกทำให้กลายเป็นสถาบันอย่างเป็นระบบลึกซึ้งยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เสียแล้ว
**กระบวนการสร้างสันติภาพอันจอมปลอม-แท้จริงคือกระบวนการสร้างสงคราม**
เวลานี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี ของสหรัฐฯ กำลังเป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิดกระบวนการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลางรอบใหม่ขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง หลังจากที่อเมริกาได้เคยเป็นผู้นำรื้อฟื้นกระบวนการอันยืดเยื้อไม่รู้จบเช่นนี้ขึ้นมาหลายครั้งหลายหนแล้วนับตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1970 มันไม่ใช่เป็นการพยากรณ์ที่ห้าวหาญอะไรนักหรอก ถ้าหากจะชี้ว่ารอบนี้ก็จะต้องล้มเหลวอีกเช่นเดียวกัน อันที่จริง รัฐมนตรีกลาโหม โมเช่ ยาอาลอน (Moshe Ya'alon) ของอิสราเอล ได้พูดจาล้อเลียนเคร์รีอย่างเปิดเผยไปแล้วด้วยซ้ำ จากการที่เคร์รีแสดงท่าทีเพรียกร้องหาสันติภาพ “อย่างหมกมุ่นและอย่างกับเป็นพระผู้มาโปรด” พร้อมกันนั้น ยาอาลอนระบุด้วยว่ากรอบโครงของการเจรจารอบนี้ที่เสนอกันขึ้นมาใหม่นั้น “ไม่คุ้มค่ากระดาษที่ต้องใช้เพื่อพิมพ์มันขึ้นมา” แล้วยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิสราเอลคนอื่นๆ ซึ่งแสดงอาการโกรธเกรี้ยวเคร์รี จากการที่เขาเพียงเอ่ยถึงผลสืบเนื่องในทางลบที่อิสราเอลอาจจะถูกลงโทษจากทั่วโลก ถ้าหากไม่มีสันติภาพขึ้นมาเสียที
แต่ทำไม ยาอาลอน และพวกเจ้าหน้าที่อิสราเอลคนอื่นๆ ถึงไม่ควรเปิดฉากเล่นงานเอากับเคร์รีผู้เคราะห์ร้ายล่ะ ในเมื่อ รัฐมนตรีกลาโหมผู้นี้ตลอดจนเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ต่างทราบดีอยู่แล้วว่า วอชิงตันนั้นไม่มีทางใช้ไม้แข็งมาเล่นงานอิสราเอลหรอก มีแต่การใช้ไม้นวมคอยเอาอกเอาใจเท่านั้น ไม่ว่าอิสราเอลจะถอยหลังหรือเดินหน้าไปอีกเท่าตัวในการแย่งยึดที่ดินของชาวปาเลสไตน์และในการแปรดินแดนปาเลสไตน์ให้กลายป็นอาณานิคม กระทั่งประธานาธิบดีโอบามาก็ยังคุยอวดด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจว่า สหรัฐฯไม่เคยให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่อิสราเอลอย่างมากมายเหมือนเช่นในยุคที่เขาเป็นประธานาธิบดีเลย เมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (House Foreign Affairs Committee) ก็เพิ่งลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ยกระดับฐานะของอิสราเอลขึ้นเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์รายสำคัญ” (major strategic partner) เมื่อทั้งรัฐสภาและทั้งประธานาธิบดีต่างกำลังรับรองแข็งขันว่า ความช่วยเหลือทางการทหารในระดับมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อนจะยังคงหลั่งไหลทะลักไปให้ไม่ขาดสายเช่นนี้ อิสราเอลย่อมไม่มีแรงจูงใจอย่างแท้จริงใดๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน
ปกติแล้วภาวะชะงักงันทางการทูตเช่นนี้ จะถูกโยนบาปกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของฝ่ายปาเลสไตน์ แต่เนื่องจากเวลานี้ฝ่ายนี้อยู่ในสภาพที่แทบไม่มีอะไรเหลือให้บีบคั้นกันอีกแล้ว การที่จะทำเช่นนั้นอีกในคราวนี้จึงควรถือเป็นบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทางการวอชิงตัน แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ในการชันสูตรพลิกศพภายหลังการสิ้นชีวิตไปของ “กระบวนการสร้างสันติภาพ” รอบนี้ ถึงอย่างไรก็จะไม่มีการอภิปรายถกเถียงกันในวอชิงตัน ในประเด็นที่ว่านโยบายของวอชิงตันเองนั่นแหละที่แสดงบทบาทในการขัดขวางบ่อนทำลายข้อตกลงตะวันออกกลางอันยุติธรรมและยั่งยืน
ภาวะสงบปากสงบคำเช่นนี้ยังจะยืดเยื้อไปอีกยาวนานแค่ไหน? การติดอาวุธและการทุ่มเทเงินทองไปให้แก่ประเทศร่ำรวยรายหนึ่งซึ่งกำลังแสดงพฤติการณ์ล้างเผ่าพันธุ์นั้น เป็นอะไรที่จะต้องสร้างความขุ่นเคืองให้แก่ทั้งพวกอนุรักษนิยม, พวกหัวก้าวหน้า, ตลอดจนกลุ่มการเมืองอื่นๆ ทุกๆ กลุ่มในอเมริกานั่นแหละ แล้วมีบ่อยครั้งแค่ไหนกัน ที่ในทางนโยบายการต่างประเทศ เจ้าความเห็นแก่ตัวในทางยุทธศาสตร์จะสามารถจับมือเป็นพันธมิตรได้อย่างแนบแน่นกับเรื่องสิทธิมนุษยชนและการประพฤติตนอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม?
ผู้คนที่มีปัญญาฉลาดเฉลียวทั้งหลาย สามารถไม่เห็นพ้องต้องกันหรือกระทั่งไม่อาจเห็นต้องกันได้จริงๆ เมื่อเกิดการถกเถียงกันว่าจะใช้หนทางแก้ไขแบบรัฐเดียวหรือแบบ 2 รัฐเคียงคู่กันสำหรับอิสราเอลและปาเลสไตน์ ขณะเดียวกัน ผู้คนที่มีมิตรไมตรีก็สามารถที่จะไม่เห็นด้วยกับการรณรงค์ของขบวนการ BDS ในทั่วโลก อย่างไรก็ตาม มันเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการได้ว่ าความคืบหน้าไปสู่การตกลงรอมชอมกันอย่างยุติธรรมและอย่างยั่งยืนระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ จะบังเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ถ้าหากวอชิงตันยังไม่ยุติการติดอาวุธให้แก่ฝ่ายหนึ่งตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า
“ถ้าหากไม่เป็นเพราะสหรัฐฯให้ความสนับสนุนอิสราเอลแล้ว ความขัดแย้งนี้ก็น่าจะสามารถแก้ไขคลี่คลายไปได้ตั้งนานแล้ว” โจช รึบเนอร์ กล่าวยืนยันเอาไว้เช่นนี้ พวกเราชาวอเมริกันทั้งหลายจะยอมรับรู้หรือไม่ว่ารัฐบาลของเรากำลังแสดงบทบาทอย่างกระตือรือร้น ในการทำลายโอกาสที่จะเกิดสันติภาพอันยุติธรรมและยั่งยืนระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล?
เชส มาดาร์ (@ChMadar) เป็นทนายความอยู่ที่นิวยอร์ก, เป็นผู้เขียนเรื่องให้แก่ “TomDispatch” อยู่เป็นประจำ, และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Passion of [Chelsea] Manning: The Story behind the Wikileaks Whistleblower (Verso)
(ข้อเขียนชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในบล็อกออนไลน์ TomDispatch)