xs
xsm
sm
md
lg

ที่ปรึกษา ปธน.เตือน “ปูติน” อย่าทำเกินเหตุ-ชี้ไม่มีเหตุอันควรส่งทหารบุก “ไครเมีย”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย
รอยเตอร์ - สภาที่ปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชนฝากคำเตือนถึงประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน วานนี้ (2 มี.ค.) ว่ารัสเซียยังไม่ควรส่งทหารบุกคาบสมุทรไครเมีย เนื่องจากพลเมืองรัสเซียที่นั่นยังไม่เผชิญความเสี่ยงร้ายแรงถึงขั้นที่รัฐบาลต้องส่งทหารเข้ารุกรานดินแดนของยูเครน

ถ้อยแถลงจากคณะที่ปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชน 27 คน สะท้อนให้เห็นความกังวลในหมู่ชาวรัสเซียหัวเสรีที่หวั่นเกรงผลกระทบจากความก้าวร้าวที่มอสโกกำลังแสดงต่อเพื่อนบ้าน

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (1) รัฐสภารัสเซียได้ลงมติรับรองคำสั่งของประธานาธิบดีปูติน ที่ให้ส่งทหารเข้าไปยังเขตปกครองตนเองไครเมีย โดยอ้างว่าจำเป็นต้องปกป้องสวัสดิภาพของพลเมืองรัสเซียที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีโดยกลุ่มติดอาวุธที่สนับสนุนรัฐบาลใหม่ในกรุงเคียฟ หลังจากที่สภายูเครนลงมติถอดถอนประธานาธิบดีวิกเตอร์ ยานูโควิช ผู้มีจุดยืนเอียงข้างรัสเซีย

สภาที่ปรึกษาประธานาธิบดีด้านการพัฒนาสังคมพลเรือนและสิทธิมนุษยชนชี้ว่า ความกังวลของรัฐบาลนั้น “เกินกว่าเหตุ”

“จริงอยู่ว่าสถานการณ์ในไครเมียเวลานี้เข้าข่ายไร้ขื่อแป มีการใช้ความรุนแรงโดยพวกที่เป็นตัวแทนกลุ่มการเมืองต่างๆ... แต่การส่งทหารจากภายนอกเข้าไปแทรกแซง ซึ่งถือว่าละเมิดอธิปไตยของเพื่อนบ้านและขัดต่อพันธกรณีที่รัสเซียมีต่อนานาชาติ ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของสถานการณ์ในขณะนี้”

สภาที่ปรึกษาระบุด้วยว่า แม้ ส.ส.รัสเซียจะอ้างถึงยอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุรุนแรงบนคาบสมุทรไครเมียว่าเป็นเหตุอันควรให้รัฐบาลส่งทหารเข้าแทรกแซง แต่การเจ็บตายทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นในช่วง 2 วันมานี้ และสิ่งที่รัฐบาลทำอาจผลักดันให้รัสเซียและยูเครนต้อง “เข้าสู่ภาวะสงคราม”

“การใช้กำลังทหารจะนำมาซึ่งความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงยิ่งกว่าเดิม”

ที่ผ่านมา ปูติน มักไม่ค่อยใส่ใจคำเตือนของสภาที่ปรึกษาชุดนี้ ซึ่งนักวิจารณ์หลายคนมองว่า เป็นเพียงคณะทำงานที่ตั้งขึ้นเป็น “ฉากบังหน้า” ว่ามอสโกก็ให้ความสำคัญต่อหลักประชาธิปไตยและยอมรับการวิจารณ์ถกเถียงเรื่องสิทธิมนุษยชน

ขณะที่เจ้าหน้าที่และ ส.ส.รัสเซียย้ำถึงความจำเป็นในการส่งกองกำลังเข้าควบคุมไครเมีย โดยอ้างถึงพวกชาตินิยมหัวรุนแรงในยูเครนที่มีตะวันตกหนุนหลังอยู่ แต่ก็มีสัญญาณบอกว่าพลเมืองหมีขาวบางส่วนเริ่มหวั่นเกรงผลกระทบจากการทำสงครามกับยูเครน ซึ่ง ปูติน เคยเรียกว่าเป็น “บ้านพี่เมืองน้อง” ของรัสเซีย

“ผมมั่นใจว่าไม่มีชาวรัสเซียคนใดต้องการให้เกิดสงครามขึ้น” กริกอรี คาราซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับรายการทอล์กโชว์ชื่อดัง

“เราไม่เห็นด้วยกับการใช้คำคำนี้ หารือความสัมพันธ์กับยูเครน ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดกับเรา”

อย่างไรก็ดี คาราซินย้ำคำเตือนของปูตินว่า มอสโกพร้อมที่จะปกป้องพลเมืองของตน รวมถึงผู้ที่ใช้ภาษารัสเซียในยูเครน
ผู้สนับสนุนยูเครนชูป้ายต่อต้านประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์
ยานพาหนะทหารซึ่งเชื่อว่าเป็นของกองกำลังรัสเซีย จอดอยู่ใกล้ๆ ค่ายทหารของยูเครนในหมู่บ้านเปเรวัลโนโย ชานเมืองซิมเฟโรโพล เมืองหลวงของเขตปกครองตนเองไครเมีย
In Pics :  “ยานูโควิช” ยังคงเป็น "ปธน.ยูเครน" ในสายตารัสเซีย “ทหารยูเครนในไครเมีย” ถูกปลดอาวุธ - ดึงจีนเข้าร่วมหวังคานอำนาจตะวันตก
In Pics : “ยานูโควิช” ยังคงเป็น "ปธน.ยูเครน" ในสายตารัสเซีย “ทหารยูเครนในไครเมีย” ถูกปลดอาวุธ - ดึงจีนเข้าร่วมหวังคานอำนาจตะวันตก
ในวันนี้(3)นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ดมีตรี เมดเวเดฟ กล่าวยืนยันถึงความชอบธรรมในการยังคงเป็นผู้นำของวิกเตอร์ ยานูโควิช ที่ถูกรัฐสภายูเครนลงมติปลดจากตำแหน่งในปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาถึงแม้อำนาจการสั่งการของเขา จะเกือบเป็นศูนย์ แล้วก็ตาม ท่ามกลางภาพวิกฤตในไครเมียที่มีรถคอนวอยทหารของรัสเซีย 13 คันขนทหารรัสเซียหลายร้อยนายถือปืนกระจายประจำทั่วทุกจุดทั่วไครเมีย พร้อมทั้งทำการปลดอาวุธทหารยูเครนและห้ามเข้าหรืออกจากไครเมีย ในขณะที่หากมีสงครามเกิดขึ้นจริง กองทัพยูเครนจะเป็นเสมือนแค่คนแคระเมื่อเปรียบเที่ยบกับกองทัพรัสเซีย ด้านรัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศรัสเซีย กริกอรี คาราซินให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ช่วงดึกเมื่อวานนี้(2)ยืนยันว่า รัสเซียไม่ต้องการประกาศทำสงครามกับยูเครนที่เป็นเสมือนบ้านพี่เมืองน้องกับรัสเซีย และล่าสุดวันนี้(3) เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียได้มีการปรึกษาหารือในกรอบกว้างกับจีนถึงสถานการณ์ล่าสุดในยูเครนหลังถูกโดดเดี่ยวหนักในประชาคมโลก
กำลังโหลดความคิดเห็น