(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Japan holds to dangerous plutonium separation plan
By Masako Toki and Miles Pomper
07/02/2014
ญี่ปุ่นยังไม่อาจตัดสินใจให้แน่นอนชัดเจนลงไป ในเรื่องนโยบายใหม่ทางด้านพลังงานนิวเคลียร์ หลังจากเกิดความหายนะร้ายแรงที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ และมีการปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 50 แห่งในแดนอาทิตย์อุทัย อย่างไรก็ตาม สำหรับการดำเนินการโรงงานขนาดมหึมาที่ โรกกาโช ซึ่งจะทำหน้าที่แยกสารพลูโตเนียมออกจากแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ดูเหมือนจะยังคงเดินหน้าต่อไปโดยที่ทางเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแทบจะไม่มีการพิจารณาทบทวนโครงการนี้กันใหม่เลย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ปัญหาของพลูโตเนียมส่วนเกิน**
ทันทีที่โรงงานแปรรูปแห่งนี้เริ่มดำเนินงานได้อย่างเต็มที่ ก็จะสามารถแยกพลูโตเนียมได้ประมาณ 8 ตันต่อปี ญี่ปุ่นนั้นมีพลูโตเนียมแยกเสร็จเรียบร้อยอยู่ในความครอบครองอยู่แล้ว 44.3 ตัน (ในจำนวนนี้ 9.3 ตันเก็บรักษาไว้ภายในญี่ปุ่น ส่วนอีก 35 ตันฝากไว้ที่อังกฤษและฝรั่งเศส) ในคู่มือการดำเนินงานของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ( International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) ระบุว่า พลูโตเนียมแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วจำนวนเพียงเล็กน้อยประมาณ 8 กิโลกรัม ก็สามารถใช้ทำอาวุธนิวเคลียร์ได้แล้ว ข้อเท็จจริงเช่นนี้ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯเกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางด้านนิวเคลียร์ รวมทั้งทำให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคแถบนี้รู้สึกหวาดกลัวว่า พลูโตเนียมที่ญี่ปุ่นมีเก็บสะสมไว้ อาจถูกใช้เป็นรากฐานของโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ความหวั่นไหวเช่นนี้กำลังส่งเสริมสนับสนุนให้บางประเทศพิจารณาที่จะจัดทำโครงการเช่นนี้ของตนเองขึ้นมาบ้าง
ยิ่งกว่านั้น ญี่ปุ่นยังต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดอีก 2-3 ปี จึงจะมีสมรรถนะในการนำเอาพลูโตเนียมแยกเสร็จแล้วนี้ มาผลิตให้อยู่ในรูปของเชื้อเพลิงออกไซด์ผสม (mixed oxide fuel หรือ MOX) ซึ่งสามารถที่จะเผาไหม้ในเตาปฏิกรณ์ได้ ช่วงเวลาที่คาดหมายกันไว้ว่าจะนำเอาเชื้อเพลิง J-MOX มาเริ่มดำเนินการที่โรงงานโรกกาโชได้ คือประมาณเดือนมีนาคม 2016 ทว่าพวกคนวงในระบุว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่จะต้องเลื่อนวันที่ดำเนินงานนี้ออกไปอีก ดังนั้น ถ้าหากแผนการเปิดเดินเครื่องโรงงานแปรรูป ยังคงเดินหน้าต่อไปไม่หยุดแล้ว ในอนาคตอันไม่ไกลนี้ก็จะมีช่วงระยะเวลาหนึ่งที่สต็อกพลูโตเนียมแยกสำเร็จเรียบร้อยแล้วของญี่ปุ่นจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ
สภาวการณ์เช่นนี้ขัดแย้งกับนโยบายของญี่ปุ่น และก็ขัดแย้งกับคู่มือการดำเนินการบริหารจัดการพลูโตเนียมของ IAEA ซึ่งญี่ปุ่นยึดเป็นหลักอยู่ โดยที่ทาง IAEA แนะนำให้หลีกเลี่ยงการมีพลูโตเนียมแยกเสร็จแล้ว เก็บสะสมไว้ในสต็อกมากขึ้นไม่หยุดไม่หย่อน
เมื่อปี 2003 เพื่อให้มีการยึดมั่นเคร่งครัดในหลักการว่าด้วยการหลีกเลี่ยงไม่ให้มีพลูโตเนียมส่วนเกินสะสมไว้มากขึ้นเรื่อยๆ คณะกรรมการพลังงานปรมาณูญี่ปุ่น (Japan Atomic Energy Commission) จึงได้ออกคู่มือการปฏิบัติสำหรับการบริหารพลูโตเนียมฉบับหนึ่ง ตามคู่มือการปฏิบัติดังกล่าว บรรดาสาธารณูปโภคทางด้านไฟฟ้าของญี่ปุ่นจะต้องจัดทำและเผยแพร่แผนการใช้พลูโตเนียมประจำปี ก่อนที่พวกเขาจะแยกพลูโตเนียมออกจากแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วได้ เพื่อให้สต็อกพลูโตเนียมคงอยู่ในระดับต่ำสุด อันจำเป็นสำหรับให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่นเท่านั้น
**ไม่มีการบริโภคเชื้อเพลิง MOX**
อย่างไรก็ตาม การประเมินคาดการณ์ความต้องการดังกล่าวในขณะที่ยังไม่มีนโยบายพลังงานนิวเคลียร์โดยองค์รวม, ไม่มีเตาปฏิกรณ์ใดๆ ที่เปิดดำเนินการ, ตลอดจนไม่มีโรงงานผลิตเชื้อเพลิง MOX ที่กำลังทำงานอยู่ นี่ย่อมเป็นวิธีการทำงานอันโง่เขลา ในบรรดาเตาปฏิกรณ์ 16 แห่งที่ได้ยื่นขอเดินเครื่องใหม่อีกครั้งนั้น มีอยู่ 4 แห่งที่อยู่ในข่ายได้รับการพิจารณาให้ใช้เชื้อเพลิง MOX ได้แก่ เตาปฏิกรณ์ อิกาตะ-3 (Ikata-3), ทากาฮามะ-3 (Takahama-3) และ 4, และ เกนไก-3 (Genkai-3) ทั้ง 4 แห่งนี้เคยได้รับใบอนุญาตให้ใช้เชื้อเพลิง MOX ตั้งแต่ก่อนหน้าจะเกิดอุบัติเหตุที่ฟูกูชิมะแล้วด้วยซ้ำ และยกเว้นเตาปฏิกรณ์ ทากาฮามะ-4 แล้ว อีก 3 แห่งต่างก็นำเอาเชื้อเพลิง MOX มาใช้งานกันแล้วด้วย
ยังมีเตาปฏิกรณ์อีก 2 แห่งจาก 16 แห่ง ได้แก่ โทมาริ-3 (Tomari-3) และ ชิมาเนะ-2 (Shimane-2) ก็เคยได้รับอนุญาตให้ใช้เชื้อเพลิง MOX แล้วเช่นกัน ทว่า 2 แห่งหลังนี้ยังไม่เคยนำเอาเชื้อเพลิง MOX มาใช้งานมาก่อนเลย อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากการที่ชุมชนท้องถิ่นโดยทั่วไปต่างแสดงท่าทีคัดค้านการให้เปิดโรงไฟฟ้ากันใหม่อีก จึงยังไม่มีความแน่นอนใดๆ เลยว่าเตาปฏิกรณ์เหล่านี้จะสามารถเริ่มเดินเครื่องใหม่โดยใช้เชื้อเพลิง MOX ได้หรือไม่และได้เมื่อใด ทั้งนี้มีบางฝ่ายมองว่า การใช้เชื้อเพลิง MOX จะทำให้มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากกว่าการใช้แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบเดิมด้วยซ้ำ
**บทสรุป**
ในญี่ปุ่นช่วงหลังจากฟูกูชิมะ เป็นที่ชัดเจนว่าการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในระดับที่ญี่ปุ่นเคยใช้อยู่เรื่อยมาอย่างยาวนานถึงครึ่งศตวรรษแล้วนั้น ไม่ได้รับความสนับสนุนจากสาธารณชนอีกต่อไปแล้ว ถ้าหากญี่ปุ่นอนุญาตให้โรงงานแปรรูปโรกกาโช ดำเนินงานได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ก็เป็นที่แน่นอนว่าผลผลิตจากโรงงานแห่งนี้มีแต่จะเพิ่มสต็อกของพลูโตเนียมที่แยกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการละเมิดนโยบายแห่งชาติของญี่ปุ่นเอง ตลอดจนเป็นการฝ่าฝืนคำมั่นสัญญาซึ่งแดนอาทิตย์อุทัยให้ไว้ต่อโลกทั้งในเรื่องการไม่แพร่กระจายทางนิวเคลียร์ และในเรื่องความมั่นคงทางนิวเคลียร์
อย่างน้อยที่สุด ญี่ปุ่นควรที่จะระงับการอนุญาตให้โรงงานแปรรูปแห่งนี้ดำเนินงานได้ออกไปก่อน จนกว่าโรงงานผลิตเชื้อเพลิง MOX จะเริ่มดำเนินงานได้เช่นกัน อีกทั้งควรที่จะประกาศให้คำมั่นสัญญาจะทำเช่นนี้ ต่อที่ประชุมสุดยอดความมั่นคงทางนิวเคลียร์ปี 2014 นี้เลย ถ้าหากปริมาณพลูโตเนียมที่อยู่ในความครอบครองของญี่ปุ่นยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไปอีก โดยเป็นผลมาจากการอนุญาตให้เดินเครื่องโรงงานแปรรูปแล้ว ก็ย่อมจะก่อให้เกิดความวิตกกังวลอย่างร้ายแรงทั้งภายในและภายนอกญี่ปุ่น และเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ความมั่นคงในเอเชียตะวันออกซึ่งก็อยู่ในภาวะผันแปรวูบวาบรวดเร็วอยู่แล้ว [1]
**หมายเหตุผู้แปล**
[1] ประเด็นเรื่องการครอบครองพลูโตเนียมของญี่ปุ่น ได้ถูกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน แสดงความวิตกกังวลให้ปรากฏอยู่แล้ว แม้กระทั่งก่อนหน้าที่โรงงานแปรรูปพลูโตเนียมที่โรกกาโชจะเปิดดำเนินการด้วยซ้ำไป ดังเห็นได้จากรายงานข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะขอถอดความส่วนที่เกี่ยวข้องมาเสนอไว้ในที่นี้ ดังนี้
จีนวิตกที่ญี่ปุ่นถือครองพลูโตเนียมเกรดที่ใช้ทำอาวุธได้
ปักกิ่ง, 17 ก.พ. (รอยเตอร์) – จีนแถลงเมื่อวันจันทร์ว่า ตน “รู้สึกกังวลเป็นอย่างยิ่ง” จากรายงานชิ้นหนึ่งที่ระบุว่า ญี่ปุ่นได้ขัดขืนไม่ยอมส่งพลูโตเนียมปริมาณกว่า 300 กิโลกรัมซึ่งแทบทั้งหมดอยู่ในเกรดที่สามารถทำอาวุธได้ กลับไปให้สหรัฐฯ กรณีนี้นับเป็นการพิพาทกันครั้งล่าสุดระหว่างชาติเพื่อนบ้านในเอเชีย 2 รายนี้
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นรายงานว่า วอชิงตันได้กดดันญี่ปุ่นให้คืนวัสดุนิวเคลียร์เหล่านี้ ซึ่งสามารถที่จะใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้มากถึง 50 ลูก ญี่ปุ่นนั้นได้พยายามต่อต้านขัดขืน แต่ในที่สุดแล้วก็ยินยอมตามการเรียกร้องของสหรัฐฯ
วัสดุนิวเคลียร์เหล่านี้ถูกนำเข้ามายังญี่ปุ่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการวิจัยในช่วงระหว่างทศวรรษ 1960 และรัฐบาลของประเทศทั้งสองน่าที่จะสามารถบรรลุข้อตกลงอย่างเป็นทางการในเรื่องการส่งคืน ณ ที่ประชุมสุดยอดความมั่นคงทางนิวเคลียร์ ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ ในเดือนมีนาคมนี้ เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่นระบุ
จีนนั้นเกี่ยวข้องพัวพันอยู่ในกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนอันขมขื่นกับญี่ปุ่น และได้เตือนภัยว่าญี่ปุ่นกำลังพยายามที่จะสั่งสมอาวุธอีกครั้งหนึ่งแล้ว
“จีนเชื่อว่าญี่ปุ่น ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมลงนามสนธิสัญญาห้ามแพร่กระจายทางนิวเคลียร์ ควรที่จะให้ความเคารพอย่างเข้มงวดต่อคำมั่นสัญญาระหว่างประเทศของตนในเรื่องความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และการไม่แพร่กระจายทางนิวเคลียร์” หวา ชุนอิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน แถลงเช่นนี้ในการแถลงข่าวประจำวัน
“เป็นเวลานานทีเดียวที่ญี่ปุ่นไม่ได้ส่งคืนวัสดุนิวเคลียร์ซึ่งเก็บเอาไว้ ไปให้แก่ประเทศที่พวกเขาควรจะต้องจัดส่ง นี่เป็นเหตุให้เกิดความกังวลขึ้นในประชาคมระหว่างประเทศ และแน่นอนว่าจีนก็รู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก”
(ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.reuters.com/article/2014/02/17/us-china-japan-idUSBREA1G0DW20140217)
มาซาโกะ โทกิ เป็นผู้จัดการโครงการและผู้วิจัยสมทบของโครงการการศึกษาด้านการไม่แพร่กระจายทางนิวเคลียร์ ของ ศูนย์เจมส์ มาร์ติน เพื่อการศึกษาการไม่แพร่กระจายทางนิวเคลียร์ (James Martin Center for Nonproliferation Studies) แห่ง สถาบันการระหว่างประเทศศึกษามอนเทอเรย์ (Monterey Institute of International Studies) เมืองมอนเทอเรย์, มลรัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา ส่วน ไมลส์ พอมเพอร์ เป็นผู้ชำนาญการด้านความมั่นคงทางนิวเคลียร์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี และเป็นอดีตบรรณาธิการของวารสาร “อาร์มส์ คอนโทรล ทูเดย์” (Arms Control Today) อันมีชื่อเสียง
Japan holds to dangerous plutonium separation plan
By Masako Toki and Miles Pomper
07/02/2014
ญี่ปุ่นยังไม่อาจตัดสินใจให้แน่นอนชัดเจนลงไป ในเรื่องนโยบายใหม่ทางด้านพลังงานนิวเคลียร์ หลังจากเกิดความหายนะร้ายแรงที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ และมีการปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 50 แห่งในแดนอาทิตย์อุทัย อย่างไรก็ตาม สำหรับการดำเนินการโรงงานขนาดมหึมาที่ โรกกาโช ซึ่งจะทำหน้าที่แยกสารพลูโตเนียมออกจากแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ดูเหมือนจะยังคงเดินหน้าต่อไปโดยที่ทางเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแทบจะไม่มีการพิจารณาทบทวนโครงการนี้กันใหม่เลย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ปัญหาของพลูโตเนียมส่วนเกิน**
ทันทีที่โรงงานแปรรูปแห่งนี้เริ่มดำเนินงานได้อย่างเต็มที่ ก็จะสามารถแยกพลูโตเนียมได้ประมาณ 8 ตันต่อปี ญี่ปุ่นนั้นมีพลูโตเนียมแยกเสร็จเรียบร้อยอยู่ในความครอบครองอยู่แล้ว 44.3 ตัน (ในจำนวนนี้ 9.3 ตันเก็บรักษาไว้ภายในญี่ปุ่น ส่วนอีก 35 ตันฝากไว้ที่อังกฤษและฝรั่งเศส) ในคู่มือการดำเนินงานของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ( International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) ระบุว่า พลูโตเนียมแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วจำนวนเพียงเล็กน้อยประมาณ 8 กิโลกรัม ก็สามารถใช้ทำอาวุธนิวเคลียร์ได้แล้ว ข้อเท็จจริงเช่นนี้ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯเกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางด้านนิวเคลียร์ รวมทั้งทำให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคแถบนี้รู้สึกหวาดกลัวว่า พลูโตเนียมที่ญี่ปุ่นมีเก็บสะสมไว้ อาจถูกใช้เป็นรากฐานของโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ความหวั่นไหวเช่นนี้กำลังส่งเสริมสนับสนุนให้บางประเทศพิจารณาที่จะจัดทำโครงการเช่นนี้ของตนเองขึ้นมาบ้าง
ยิ่งกว่านั้น ญี่ปุ่นยังต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดอีก 2-3 ปี จึงจะมีสมรรถนะในการนำเอาพลูโตเนียมแยกเสร็จแล้วนี้ มาผลิตให้อยู่ในรูปของเชื้อเพลิงออกไซด์ผสม (mixed oxide fuel หรือ MOX) ซึ่งสามารถที่จะเผาไหม้ในเตาปฏิกรณ์ได้ ช่วงเวลาที่คาดหมายกันไว้ว่าจะนำเอาเชื้อเพลิง J-MOX มาเริ่มดำเนินการที่โรงงานโรกกาโชได้ คือประมาณเดือนมีนาคม 2016 ทว่าพวกคนวงในระบุว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่จะต้องเลื่อนวันที่ดำเนินงานนี้ออกไปอีก ดังนั้น ถ้าหากแผนการเปิดเดินเครื่องโรงงานแปรรูป ยังคงเดินหน้าต่อไปไม่หยุดแล้ว ในอนาคตอันไม่ไกลนี้ก็จะมีช่วงระยะเวลาหนึ่งที่สต็อกพลูโตเนียมแยกสำเร็จเรียบร้อยแล้วของญี่ปุ่นจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ
สภาวการณ์เช่นนี้ขัดแย้งกับนโยบายของญี่ปุ่น และก็ขัดแย้งกับคู่มือการดำเนินการบริหารจัดการพลูโตเนียมของ IAEA ซึ่งญี่ปุ่นยึดเป็นหลักอยู่ โดยที่ทาง IAEA แนะนำให้หลีกเลี่ยงการมีพลูโตเนียมแยกเสร็จแล้ว เก็บสะสมไว้ในสต็อกมากขึ้นไม่หยุดไม่หย่อน
เมื่อปี 2003 เพื่อให้มีการยึดมั่นเคร่งครัดในหลักการว่าด้วยการหลีกเลี่ยงไม่ให้มีพลูโตเนียมส่วนเกินสะสมไว้มากขึ้นเรื่อยๆ คณะกรรมการพลังงานปรมาณูญี่ปุ่น (Japan Atomic Energy Commission) จึงได้ออกคู่มือการปฏิบัติสำหรับการบริหารพลูโตเนียมฉบับหนึ่ง ตามคู่มือการปฏิบัติดังกล่าว บรรดาสาธารณูปโภคทางด้านไฟฟ้าของญี่ปุ่นจะต้องจัดทำและเผยแพร่แผนการใช้พลูโตเนียมประจำปี ก่อนที่พวกเขาจะแยกพลูโตเนียมออกจากแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วได้ เพื่อให้สต็อกพลูโตเนียมคงอยู่ในระดับต่ำสุด อันจำเป็นสำหรับให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่นเท่านั้น
**ไม่มีการบริโภคเชื้อเพลิง MOX**
อย่างไรก็ตาม การประเมินคาดการณ์ความต้องการดังกล่าวในขณะที่ยังไม่มีนโยบายพลังงานนิวเคลียร์โดยองค์รวม, ไม่มีเตาปฏิกรณ์ใดๆ ที่เปิดดำเนินการ, ตลอดจนไม่มีโรงงานผลิตเชื้อเพลิง MOX ที่กำลังทำงานอยู่ นี่ย่อมเป็นวิธีการทำงานอันโง่เขลา ในบรรดาเตาปฏิกรณ์ 16 แห่งที่ได้ยื่นขอเดินเครื่องใหม่อีกครั้งนั้น มีอยู่ 4 แห่งที่อยู่ในข่ายได้รับการพิจารณาให้ใช้เชื้อเพลิง MOX ได้แก่ เตาปฏิกรณ์ อิกาตะ-3 (Ikata-3), ทากาฮามะ-3 (Takahama-3) และ 4, และ เกนไก-3 (Genkai-3) ทั้ง 4 แห่งนี้เคยได้รับใบอนุญาตให้ใช้เชื้อเพลิง MOX ตั้งแต่ก่อนหน้าจะเกิดอุบัติเหตุที่ฟูกูชิมะแล้วด้วยซ้ำ และยกเว้นเตาปฏิกรณ์ ทากาฮามะ-4 แล้ว อีก 3 แห่งต่างก็นำเอาเชื้อเพลิง MOX มาใช้งานกันแล้วด้วย
ยังมีเตาปฏิกรณ์อีก 2 แห่งจาก 16 แห่ง ได้แก่ โทมาริ-3 (Tomari-3) และ ชิมาเนะ-2 (Shimane-2) ก็เคยได้รับอนุญาตให้ใช้เชื้อเพลิง MOX แล้วเช่นกัน ทว่า 2 แห่งหลังนี้ยังไม่เคยนำเอาเชื้อเพลิง MOX มาใช้งานมาก่อนเลย อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากการที่ชุมชนท้องถิ่นโดยทั่วไปต่างแสดงท่าทีคัดค้านการให้เปิดโรงไฟฟ้ากันใหม่อีก จึงยังไม่มีความแน่นอนใดๆ เลยว่าเตาปฏิกรณ์เหล่านี้จะสามารถเริ่มเดินเครื่องใหม่โดยใช้เชื้อเพลิง MOX ได้หรือไม่และได้เมื่อใด ทั้งนี้มีบางฝ่ายมองว่า การใช้เชื้อเพลิง MOX จะทำให้มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากกว่าการใช้แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบเดิมด้วยซ้ำ
**บทสรุป**
ในญี่ปุ่นช่วงหลังจากฟูกูชิมะ เป็นที่ชัดเจนว่าการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในระดับที่ญี่ปุ่นเคยใช้อยู่เรื่อยมาอย่างยาวนานถึงครึ่งศตวรรษแล้วนั้น ไม่ได้รับความสนับสนุนจากสาธารณชนอีกต่อไปแล้ว ถ้าหากญี่ปุ่นอนุญาตให้โรงงานแปรรูปโรกกาโช ดำเนินงานได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ก็เป็นที่แน่นอนว่าผลผลิตจากโรงงานแห่งนี้มีแต่จะเพิ่มสต็อกของพลูโตเนียมที่แยกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการละเมิดนโยบายแห่งชาติของญี่ปุ่นเอง ตลอดจนเป็นการฝ่าฝืนคำมั่นสัญญาซึ่งแดนอาทิตย์อุทัยให้ไว้ต่อโลกทั้งในเรื่องการไม่แพร่กระจายทางนิวเคลียร์ และในเรื่องความมั่นคงทางนิวเคลียร์
อย่างน้อยที่สุด ญี่ปุ่นควรที่จะระงับการอนุญาตให้โรงงานแปรรูปแห่งนี้ดำเนินงานได้ออกไปก่อน จนกว่าโรงงานผลิตเชื้อเพลิง MOX จะเริ่มดำเนินงานได้เช่นกัน อีกทั้งควรที่จะประกาศให้คำมั่นสัญญาจะทำเช่นนี้ ต่อที่ประชุมสุดยอดความมั่นคงทางนิวเคลียร์ปี 2014 นี้เลย ถ้าหากปริมาณพลูโตเนียมที่อยู่ในความครอบครองของญี่ปุ่นยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไปอีก โดยเป็นผลมาจากการอนุญาตให้เดินเครื่องโรงงานแปรรูปแล้ว ก็ย่อมจะก่อให้เกิดความวิตกกังวลอย่างร้ายแรงทั้งภายในและภายนอกญี่ปุ่น และเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ความมั่นคงในเอเชียตะวันออกซึ่งก็อยู่ในภาวะผันแปรวูบวาบรวดเร็วอยู่แล้ว [1]
**หมายเหตุผู้แปล**
[1] ประเด็นเรื่องการครอบครองพลูโตเนียมของญี่ปุ่น ได้ถูกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน แสดงความวิตกกังวลให้ปรากฏอยู่แล้ว แม้กระทั่งก่อนหน้าที่โรงงานแปรรูปพลูโตเนียมที่โรกกาโชจะเปิดดำเนินการด้วยซ้ำไป ดังเห็นได้จากรายงานข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะขอถอดความส่วนที่เกี่ยวข้องมาเสนอไว้ในที่นี้ ดังนี้
จีนวิตกที่ญี่ปุ่นถือครองพลูโตเนียมเกรดที่ใช้ทำอาวุธได้
ปักกิ่ง, 17 ก.พ. (รอยเตอร์) – จีนแถลงเมื่อวันจันทร์ว่า ตน “รู้สึกกังวลเป็นอย่างยิ่ง” จากรายงานชิ้นหนึ่งที่ระบุว่า ญี่ปุ่นได้ขัดขืนไม่ยอมส่งพลูโตเนียมปริมาณกว่า 300 กิโลกรัมซึ่งแทบทั้งหมดอยู่ในเกรดที่สามารถทำอาวุธได้ กลับไปให้สหรัฐฯ กรณีนี้นับเป็นการพิพาทกันครั้งล่าสุดระหว่างชาติเพื่อนบ้านในเอเชีย 2 รายนี้
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นรายงานว่า วอชิงตันได้กดดันญี่ปุ่นให้คืนวัสดุนิวเคลียร์เหล่านี้ ซึ่งสามารถที่จะใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้มากถึง 50 ลูก ญี่ปุ่นนั้นได้พยายามต่อต้านขัดขืน แต่ในที่สุดแล้วก็ยินยอมตามการเรียกร้องของสหรัฐฯ
วัสดุนิวเคลียร์เหล่านี้ถูกนำเข้ามายังญี่ปุ่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการวิจัยในช่วงระหว่างทศวรรษ 1960 และรัฐบาลของประเทศทั้งสองน่าที่จะสามารถบรรลุข้อตกลงอย่างเป็นทางการในเรื่องการส่งคืน ณ ที่ประชุมสุดยอดความมั่นคงทางนิวเคลียร์ ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ ในเดือนมีนาคมนี้ เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่นระบุ
จีนนั้นเกี่ยวข้องพัวพันอยู่ในกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนอันขมขื่นกับญี่ปุ่น และได้เตือนภัยว่าญี่ปุ่นกำลังพยายามที่จะสั่งสมอาวุธอีกครั้งหนึ่งแล้ว
“จีนเชื่อว่าญี่ปุ่น ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมลงนามสนธิสัญญาห้ามแพร่กระจายทางนิวเคลียร์ ควรที่จะให้ความเคารพอย่างเข้มงวดต่อคำมั่นสัญญาระหว่างประเทศของตนในเรื่องความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และการไม่แพร่กระจายทางนิวเคลียร์” หวา ชุนอิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน แถลงเช่นนี้ในการแถลงข่าวประจำวัน
“เป็นเวลานานทีเดียวที่ญี่ปุ่นไม่ได้ส่งคืนวัสดุนิวเคลียร์ซึ่งเก็บเอาไว้ ไปให้แก่ประเทศที่พวกเขาควรจะต้องจัดส่ง นี่เป็นเหตุให้เกิดความกังวลขึ้นในประชาคมระหว่างประเทศ และแน่นอนว่าจีนก็รู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก”
(ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.reuters.com/article/2014/02/17/us-china-japan-idUSBREA1G0DW20140217)
มาซาโกะ โทกิ เป็นผู้จัดการโครงการและผู้วิจัยสมทบของโครงการการศึกษาด้านการไม่แพร่กระจายทางนิวเคลียร์ ของ ศูนย์เจมส์ มาร์ติน เพื่อการศึกษาการไม่แพร่กระจายทางนิวเคลียร์ (James Martin Center for Nonproliferation Studies) แห่ง สถาบันการระหว่างประเทศศึกษามอนเทอเรย์ (Monterey Institute of International Studies) เมืองมอนเทอเรย์, มลรัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา ส่วน ไมลส์ พอมเพอร์ เป็นผู้ชำนาญการด้านความมั่นคงทางนิวเคลียร์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี และเป็นอดีตบรรณาธิการของวารสาร “อาร์มส์ คอนโทรล ทูเดย์” (Arms Control Today) อันมีชื่อเสียง