(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
So many secrets in the East China Sea
By Pepe Escobar
10/10/2013
ปฏิกิริยาจากภายนอกซึ่งเกิดขึ้นจากการที่จีนประกาศเขตพื้นที่แสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศนั้น แทบทั้งหมดอยู่ในลักษณะของการแสดงความเป็นปรปักษ์ ตรงกันข้ามกับฝ่ายจีนเองที่กลับนำเสนอเหตุผลข้อโต้แย้งของตนด้วยท่าทีรอมชอมเป็นส่วนใหญ่ กุญแจที่จะแก้ไขคลี่คลายเรื่องเขต ADIZ นี้ ตลอดจนเรื่องหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ ซึ่งเกี่ยวข้องพัวพันกันนั้น ขึ้นอยู่กับโตเกียว ซึ่งควรที่จะปลดชนวนของปัญหานี้ด้วยการยอมรับถึงการกระทำแบบฉวยโอกาสในยุคจักรวรรดินิยมในอดีตของตน จากนั้นก็มาเริ่มต้นประพฤติตนเฉกเช่นมหาอำนาจเอเชียชาติหนึ่ง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ไส้ติ่งบริวารผู้ว่าได้ใช้ฟังของฝ่ายตะวันตก
ตั้งแต่ที่จีนประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ (air defense identification zone หรือ ADIZ) ขึ้นในทะเลจีนตะวันออกเป็นต้นมา มันก็เกิดเป็นเกมหมากล้อม “โกะ” ทางภูมิรัฐศาสตร์อันมีเสน่ห์ชวนให้ติดตามชมไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบ
เสียงวิจารณ์ที่ออกมาจากสหรัฐฯนั้น คือแรงปั่นให้เกิดความดุเดือดเพิ่มขึ้นๆ โดยมีการใช้ถ้อยคำโวหารชนิดแรงๆ อย่างเช่น การกระทำเช่นนี้ของจีนไม่ต่างอะไรจาก “การกวัดแกว่งดาบท้าทาย”, การแสดงท่าที “ชวนทะเลาะวิวาท”, และ “การยั่วยุ” ตามอำเภอใจฝ่ายเดียว ทั้งนี้ การพบปะหารือกันในกรุงปักกิ่งเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กับรองประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยลดทอนเรื่องนี้ลงไปเลย
สี กับ ไบเดน พูดจาอะไรกันบ้าง ทางทำเนียบขาวรายงานเอาไว้ โดยสามารถติดตามได้ที่เว็บเพจนี้ (http://www.scmp.com/news/china/article/1373555/xi-and-biden-what-white-house-says-they-talked-about-full-transcript) ขณะที่ทางฝ่ายปักกิ่งไม่ได้มีการเผยแพร่รายละเอียดของการหารือ ส่วนความคิดเห็นที่ไปไกลสุดขีดนั้น มีตัวอย่างให้เห็นจากข้อเขียนเรื่อง "China must not copy Kaiser's errors” (จีนต้องไม่ลอกเลียนความผิดพลาดของพระเจ้าไกเซอร์) ของ มาร์ติน วูลฟ์ (Martin Wolf) ในหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ (Financial Times)
ฉบับวันที่ 3 ธันวาคม 2013 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงฉันทามติอันเอียงกระเท่เร่ในแวดวงภาคการเงินของลอนดอน ถึงแม้ได้เพียรพยายามที่จะกลบเกลื่อนด้วยการพูดไปถึงยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
คราวนี้ลองเปรียบเทียบความเห็นเช่นนี้ กับทัศนะในสื่อมวลชนของทางการจีนดูบ้าง ตั้งแต่ท่าทีแบบมุ่งรอมชอมมากหน่อยอย่างบทความชิ้นนี้ (http://www.chinadaily.com.cn/opinion/2013-12/05/content_17152733.htm ) ของหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ ไปจนถึงชิ้นซึ่งออกมายืนกรานเรื่องอำนาจอธิปไตยของจีนอย่างไม่มียั้งมือ ในหนังสือพิมพ์โกลบอลไทมส์ (http://www.globaltimes.cn/content/829971.shtml#.UrEoYNySyb9)
การเปรียบเทียบทำให้เราเกิดข้อสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์ขึ้นมาว่า แท้ที่จริงแล้วต้นตอจริงๆ ของการยั่วยุน่าจะเป็นฝ่ายญี่ปุ่น ไม่ใช่ฝ่ายจีนเลย
**กำแพงทางทะเลที่มุ่งปิดล้อมจีน**
เนื้อหาทั้งหมดของละครเรื่องนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของเกาะเล็กๆ และโขดหินกลางทะเลไม่กี่แห่ง ซึ่งจีนขนานนามว่า “เตี้ยวอี๋ว์” (Diaoyu) ส่วนญี่ปุ่นเรียกชื่อว่า “เซงกากุ” (Senkaku) หรือกระทั่งไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของช่องทางในการเข้าถึงน่านน้ำรอบๆ หมู่เกาะจิ๋วๆ แห่งนี้ ซึ่งว่ากันว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่มีการประมาณค่ากันออกมาอย่างเปิดเผย หากแต่มันเป็นเรื่องใหญ่ยักษ์กว่านั้นมาก เป็นเรื่องระดับที่พัวพันถึงอนาคตของจีนในการก้าวขึ้นไปเป็นมหาอำนาจทางทะเล และทำการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกับสหรัฐฯทีเดียว
ขอเราให้เริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริงจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับทะเลจีนตะวันออกแห่งนี้ เอกสารหลายๆ ชิ้นในยุคเมจิของญี่ปุ่น เป็นข้อพิสูจน์ยืนยันอย่างปราศจากข้อสงสัยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นไม่เพียงยอมรับว่าหมู่เกาะเหล่านี้เป็นของจีน (อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา) แต่ยังกำลังวางแผนกโลบายที่จะฮุบเอาดินแดนเหล่านี้มาเป็นของพวกเขาอีกด้วย และนั่นคือสิ่งที่บังเกิดขึ้นจริงๆ ในปี 1895 ในระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งแรก (first Sino-Japanese war) ซึ่งเป็นช่วงจังหวะเวลาในประวัติศาสตร์ที่จีนอยู่ในฐานะอ่อนแออย่างที่สุด
ภายหลังที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึดครองดินแดนจีนเอาไว้เป็นจำนวนมาก และวันเวลาผ่านไปอีกจวบจนกระทั่งเมื่อแดนอาทิตย์อุทัยเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง วอชิงตันก็ได้เข้าเป็นผู้ควบคุมดูแลพื้นที่ซึ่งจีนกับญี่ปุ่นพิพาทกันอยู่ในเวลานี้ ทั้งนี้มีเอกสารที่ลงนามโดยฝ่ายญี่ปุ่นฉบับหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาให้สัญญาว่าจะคืนหมู่เกาะแห่งนี้ให้จีนภายหลังสงคราม ทว่าไม่เคยมีการทำตามคำมั่นสัญญานี้เลย กระทั่งถึงปี 1972 สหรัฐฯก็ได้ส่งมอบ “การบริหาร” หมู่เกาะเล็กๆ แห่งนี้ให้แก่ญี่ปุ่น –แต่ก็ไม่ได้มีการประกาศออกมาให้ชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของดินแดนนี้ สัญญาสุภาพบุรุษระหว่างนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล (Zhou Enlai) ของจีน กับนายกรัฐมนตรีคากูเออิ ทานากะ (Kakuei Tanaka) ของญี่ปุ่น มีการกล่าวผูกพันเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน ทว่ามันก็ถูกเพิกเฉยทิ้งขว้างไม่แยแส
ลงท้ายโตเกียวก็ใช้วิธีเข้าซื้อหมู่เกาะเล็กๆ แห่งนี้ จากตระกูล คูริฮาระ (Kurihara) ซึ่งเป็นเอกชนผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของดินแดนนี้ จากนั้นก็ประกาศให้ดินแดนส่วนนี้ตกเป็นของแผ่นดินในเดือนกันยายน 2012 หรือเพียง 1 วันหลังจากการประชุมซัมมิตระหว่าง หู จิ่นเทา (Hu Jintao) ประธานาธิบดีของจีนในเวลานั้น กับ นายกรัฐมนตรี โยชิฮิโกะ โนดะ (Yoshihiko Noda) ของญี่ปุ่น และเรื่องนี้ยังคงเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ หู ได้บอกกับ โนดะ ว่า ในเรื่องหมู่เกาะแห่งนี้ อย่าได้เปลี่ยนแปลงสถานะเดิมที่เป็นอยู่
มาถึงช่วงระยะหลังๆ นี้ เหมือนกับต้องการให้เรื่องราวเลวร้ายลงไปอีก คณะรัฐบาลโอบามา ได้ออกมาแถลงเตือนอันตรายแบบ “ขีดเส้นใต้สีแดง” โดยมีเนื้อหาย้ำยืนยันว่า วอชิงตันจะเข้าสนับสนุนญี่ปุ่นในกรณีที่เกิดสงครามขึ้นมารอบๆ หมู่เกาะเล็กๆ นี้
หากมองกันในแง่ของยุทธศาสตร์ระดับทั่วโลกแล้ว เรื่องราวจะยิ่งสลับซับซ้อนกว่านั้นเสียอีก กล่าวคือ ในทางเป็นจริงแล้วทุกๆ เส้นทางการค้าทางทะเลของจีนล้วนแล้วแต่จะต้องแล่นผ่านจุดที่มีลักษณะเป็นคอขวดอยู่จำนวนหนึ่ง โดยจุดเหล่านี้ถ้าหากไม่ได้มีพรมแดนซึ่งควบคุมโดยประเทศผู้เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ก็ดูแลโดยชาติซึ่งไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นพันธมิตรกับจีน
ทดลองสร้างจินตนาการดู สมมุติตัวคุณเองเป็นนักยุทธศาสตร์ทางนาวีของจีนคนหนึ่ง คุณกวาดมองดูภูมิทัศน์ทางทะเลรอบๆ ตัวคุณ และทั้งหมดที่คุณเห็นก็คือสิ่งที่พวกนักยุทธศาสตร์เรียกกันว่า “สายโซ่แห่งดินแดนวงล้อมชั้นแรก” (First Island Chain) สายโซ่หรือเส้นซึ่งลากเชื่อมเกาะใหญ่และทวีปต่างๆ ที่รายล้อมอยู่นอกชายฝั่งมหาสมุทรของจีน จนกลายเป็นรูปวงโค้งขึ้นมานี้ อาจเริ่มต้นไล่เรียงตั้งแต่ญี่ปุ่น และหมู่เกาะริวกิว และคาบสมุทรเกาหลี ในทางด้านเหนือ แล้วจากนั้นลงมาทางใต้ ผ่านไต้หวัน, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ไปจนจรดออสเตรเลีย ภาพเส้นวงโค้งนี้ย่อมกลายเป็นฝันร้ายอย่างสุดๆ ของคุณทีเดียว เพราะสมมุติว่าเกิดการเผชิญหน้าอย่างร้ายแรงใดๆ ขึ้นตามบริเวณวงโค้งดังกล่าวแล้ว กองทัพเรือสหรัฐฯจะสามารถเคลื่อนกองเรือบรรทุกเครื่องบินของตนเข้ามาโดยรอบ และสร้างปัญหาอย่างร้ายแรงให้แก่จีนในการเข้าถึงน้ำมันของตนเองซึ่งขนส่งเข้ามาโดยผ่านทางช่องแคบมะละกา
อันที่จริงแล้ว การเกิดกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนกัน ถือเป็นบรรทัดฐานปกติในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ โดยในทะเลตะวันออก จุดโฟกัสอยู่ที่หมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ ส่วนในทะเลจีนใต้ จุดเน้นหนักย่อมอยู่ที่หมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands ซึ่งจีนอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกับไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, และเวียดนาม) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel islands ที่จีนพิพาทอยู่กับเวียดนาม) ยังไม่ต้องไปพูดถึงกรณีพิพาทอื่นๆ ที่มีอยู่ในเวลานี้ ระหว่างจีนกับ 2 ชาติที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวอะไรเท่าใดในประเด็นนี้อย่าง มาเลเซีย และบรูไน
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากทัศนะมุมมองของนักยุทธศาสตร์นาวีชาวจีนของเราแล้ว สิ่งที่วางแบอยู่เบื้องหน้า คือสิ่งที่เรียกขานกันว่า “กำแพงเมืองจีนแบบย้อนกลับ” (Reverse Great Wall นั่นคือแทนที่จะเป็นกำแพงที่จีนสร้างขึ้นเพื่อป้องกันชาติอื่นๆ ไม่ให้รุกรานตน ก็กลับเป็นกำแพงที่ชาติอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อใช้กับจีน -ผู้แปล) โดยที่วลีนี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในแวดวงการทหารอย่างเช่น วิทยาลัยการทัพเรือสหรัฐฯ (US Naval War College) ทั้งนี้มันเปรียบได้กับเป็นกำแพงน้ำทะเลซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ญี่ปุ่น ขยายยืดยาวลงมาจนจรดออสเตรเลีย โดยในทางทฤษฎีแล้ว กำแพงทะเลนี้ควรจะสามารถขัดขวางสกัดกั้นไม่ให้จีนเข้าออกมหาสมุทรแปซิฟิกได้
และถ้าสหรัฐฯเกิดจะทำการปิดล้อมขึ้นมาจริงๆ เมื่อเส้นทางการค้าทางทะเลของตนเองถูกปิดเสียแล้ว เศรษฐกิจจีนก็จะต้องตกอยู่ในความยุ่งยากวุ่นวายอย่างใหญ่หลวงแน่นอน
ในปักกิ่งนั้น พวกเขาทราบกันดีถึงข้อน่าวิตกเช่นนี้ และพวกเขาก็กำลังพยายามทำอะไรบางอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปิดล้อมเช่นนี้ขึ้นได้
**ต้องรู้จักว่าจ้างทีมงานพีอาร์มือดี**
สิ่งที่ไบเดนไม่ได้คิดที่จะบอกกล่าวกับมติมหาชนของโลก แล้วก็อย่าได้วาดหวังว่าพวกสื่อมวลชนของภาคบริษัทอเมริกันทั้งหลายจะปริปากพูดถึงเรื่องนี้ ก็คือว่า สำหรับวอชิงตันแล้ว ในการรับมือกับจีนที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมานั้น เกาะโอกินาวามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นศูนย์หลักซึ่งทำให้สหรัฐฯมีศักยภาพที่จะแผ่อำนาจออกไปจากด้านตะวันตกของญี่ปุ่น พูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า สำหรับสหรัฐฯแล้ว โอกินาวามีความสำคัญเปรียบได้กับ “กำแพงเฮเดรียน” (Hadrian's wall) ของพวกโรมันในอังกฤษยุคโบราณ
ในทางกลับกัน โอกินาวาก็มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับญี่ปุ่น ในสภาพที่โตเกียวยังคงไม่อาจตัดขาดแยกห่างจากวอชิงตันได้ เวลานี้ถ้าจะว่าไปแล้วมันก็ดูเหมือนกับว่าญี่ปุ่นกำลังยอมรับหน้าที่การเป็นทหารรับจ้างให้เพนตากอน –โดยที่เพนตากอนเองก็กำลังใช้ทหารรับจ้างมากหน้าหลายตาเหลือเกินใน “สงครามเงา” ของตนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก หรือไม่ถ้าหากเราจะพิจารณากันในแง่มุมของโมเดลธุรกิจ “ต้นทุนต่ำแต่อัตราผลตอบแทนสูง” แล้ว การวางตัวเช่นนี้ของโตเกียว ทำให้ญี่ปุ่นยังคงสามารถคุมงบประมาณใช้จ่ายทางทหารของตนให้อยู่ในระดับต่ำเพียงแค่ 1% ของจีดีพีเท่านั้น (ถึงแม้เวลานี้ ยอดรายจ่ายทางด้านนี้กำลังขยับสูงขึ้นแล้ว)
ปักกิ่งกำลังมีความพยายามจริงๆ ใช่หรือไม่ ที่จะประกาศบังคับให้พื้นที่ท้องฟ้ารอบๆ หมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์ กลายเป็นพื้นที่ทางอากาศอย่างชอบธรรมของตนขึ้นมาให้สำเร็จ โดยที่การทำเช่นนี้ย่อมเท่ากับเป็นการเริ่มต้นการเจาะ “กำแพงเฮเดรียนทางน้ำ” ให้แตกเป็นช่อง เรื่องนี้อาจจะยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่สำหรับในขณะนี้นั้น การที่จีนประกาศเขต ADIZ เหนือทะเลจีนตะวันออก ก็คือการส่งข้อความไปถึงวอชิงตัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายใหญ่ของปักกิ่งซึ่งมีการประโคมเอาไว้อย่างเอิกเกริก นโยบายดังกล่าวที่มีชื่อภาษาจีนว่า “xinxing daguo guanxi” (ความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจยิ่งใหญ่รูปแบบใหม่ New Type of Great Power Relations) กำลังถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติอย่างช้าๆ ทว่าแน่นอนมั่นคง โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ปักกิ่งอาจจะเป็นฝ่ายถูกในทางหลักการ และมีความต้องการอย่างแน่นอนชัดเจนที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดการยอมรับข้อเท็จจริงใหม่ๆ ในทะเลจีนตะวันออก ทว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้โดยสาระสำคัญแล้ว ไม่ต่างอะไรกับการที่จีนกำลังเผชิญความหายนะในทางการประชาสัมพันธ์ ถ้าจะว่าไปแล้วก็คือการสะท้อนให้เห็นว่า แดนมังกรไร้ความสามารถที่จะสร้างความมั่นอกมั่นใจให้ลูกค้า ในเวลาที่ทำการเสนอ “ขาย” เขต ADIZ ให้แก่มติมหาชนโลก ขณะเดียวกันนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็ยิ่งทำให้คณะรัฐบาลจีนไม่ว่าชุดไหนก็ตามที บังเกิดความแน่ใจชนิดไม่มีข้อกังขาเลยแม้แต่น้อย ว่าญี่ปุ่นกำลังพยายามรุกล้ำแทะเล็มดินแดนและเขตอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของคนจีนมาช้านานหลายร้อยปีแล้ว
สำหรับฝ่ายญี่ปุ่น แทนที่จะยังคงกระทำพิธีสักการะ “วีรชน” ในศาลเจ้าซึ่งถูกกล่าวหาโจมตีว่าเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่จนเลือดนองแผ่นดินในอดีต เฉกเช่นที่เคยกระทำมาปีแล้วปีเล่าไม่ยอมหยุดยอมเลิก โตเกียวย่อมสามารถที่จะปลดชนวนปัญหานี้ได้อย่างง่ายดาย ด้วยการออกมายอมรับว่าได้เคยแสดงพฤติกรรมแบบฉวยโอกาสอย่างน่ากลัวน่าชิงชังในเอเชีย ในยุคจักรวรรดินิยมของตน โตเกียวยังสามารถที่จะนิยามบทบาทของตนในเอเชียเสียใหม่ ด้วยการเริ่มต้นประพฤติตนเฉกเช่นมหาอำนาจเอเชียชาติหนึ่ง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ไส้ติ่งบริวารผู้ว่าได้ใช้ฟังของฝ่ายตะวันตก ตามความรับรู้ความเข้าใจของผู้คนเอเชียนับล้านๆ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเพียงแค่คนจีนเท่านั้น แต่เป็นผู้คนตลอดทั่วทั้งทวีปนี้ทีเดียว
ในที่สุดแล้ว หนทางเดียวที่จะปลดชนวนปัญหา เตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ/เขต ADIZ ได้ ก็จะต้องให้ปักกิ่งกับโตเกียวมานั่งที่โต๊ะเดียวกัน และหารือจัดทำสนธิสัญญาสักฉบับหนึ่งสำหรับเส้นทางเดินเรือในทะเลจีนตะวันออกทั้งหลายเหล่านี้ โดยที่ถ้าหากมีสหประชาชาติคอยทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดด้วยแล้วก็จะยอดเยี่ยมมาก ปัญหาในขณะนี้ก็คือโตเกียวเอาแต่ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาดำรงอยู่ ตอนนี้ยุทธศาสตร์ของปักกิ่งจึงเป็นการมุ่งบังคับให้ฝ่ายญี่ปุ่นยอมรับปัญหา การที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ บางทีปักกิ่งควรที่จะพิจารณาว่าจ้างใช้งานบริษัทพีอาร์อเมริกันสักแห่งหนึ่ง เหมือนๆ กับที่ใครๆ เขาก็ทำกันทั้งนั้น
เปเป้ เอสโคบาร์ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Globalistan: How the Globalized World is Dissolving into Liquid War (Nimble Books, 2007), Red Zone Blues: a snapshot of Baghdad during the surge (Nimble Books, 2007), และ Obama does Globalistan (Nimble Books, 2009) ทั้งนี้สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ pepeasia@yahoo.com.
So many secrets in the East China Sea
By Pepe Escobar
10/10/2013
ปฏิกิริยาจากภายนอกซึ่งเกิดขึ้นจากการที่จีนประกาศเขตพื้นที่แสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศนั้น แทบทั้งหมดอยู่ในลักษณะของการแสดงความเป็นปรปักษ์ ตรงกันข้ามกับฝ่ายจีนเองที่กลับนำเสนอเหตุผลข้อโต้แย้งของตนด้วยท่าทีรอมชอมเป็นส่วนใหญ่ กุญแจที่จะแก้ไขคลี่คลายเรื่องเขต ADIZ นี้ ตลอดจนเรื่องหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ ซึ่งเกี่ยวข้องพัวพันกันนั้น ขึ้นอยู่กับโตเกียว ซึ่งควรที่จะปลดชนวนของปัญหานี้ด้วยการยอมรับถึงการกระทำแบบฉวยโอกาสในยุคจักรวรรดินิยมในอดีตของตน จากนั้นก็มาเริ่มต้นประพฤติตนเฉกเช่นมหาอำนาจเอเชียชาติหนึ่ง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ไส้ติ่งบริวารผู้ว่าได้ใช้ฟังของฝ่ายตะวันตก
ตั้งแต่ที่จีนประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ (air defense identification zone หรือ ADIZ) ขึ้นในทะเลจีนตะวันออกเป็นต้นมา มันก็เกิดเป็นเกมหมากล้อม “โกะ” ทางภูมิรัฐศาสตร์อันมีเสน่ห์ชวนให้ติดตามชมไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบ
เสียงวิจารณ์ที่ออกมาจากสหรัฐฯนั้น คือแรงปั่นให้เกิดความดุเดือดเพิ่มขึ้นๆ โดยมีการใช้ถ้อยคำโวหารชนิดแรงๆ อย่างเช่น การกระทำเช่นนี้ของจีนไม่ต่างอะไรจาก “การกวัดแกว่งดาบท้าทาย”, การแสดงท่าที “ชวนทะเลาะวิวาท”, และ “การยั่วยุ” ตามอำเภอใจฝ่ายเดียว ทั้งนี้ การพบปะหารือกันในกรุงปักกิ่งเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กับรองประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยลดทอนเรื่องนี้ลงไปเลย
สี กับ ไบเดน พูดจาอะไรกันบ้าง ทางทำเนียบขาวรายงานเอาไว้ โดยสามารถติดตามได้ที่เว็บเพจนี้ (http://www.scmp.com/news/china/article/1373555/xi-and-biden-what-white-house-says-they-talked-about-full-transcript) ขณะที่ทางฝ่ายปักกิ่งไม่ได้มีการเผยแพร่รายละเอียดของการหารือ ส่วนความคิดเห็นที่ไปไกลสุดขีดนั้น มีตัวอย่างให้เห็นจากข้อเขียนเรื่อง "China must not copy Kaiser's errors” (จีนต้องไม่ลอกเลียนความผิดพลาดของพระเจ้าไกเซอร์) ของ มาร์ติน วูลฟ์ (Martin Wolf) ในหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ (Financial Times)
ฉบับวันที่ 3 ธันวาคม 2013 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงฉันทามติอันเอียงกระเท่เร่ในแวดวงภาคการเงินของลอนดอน ถึงแม้ได้เพียรพยายามที่จะกลบเกลื่อนด้วยการพูดไปถึงยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
คราวนี้ลองเปรียบเทียบความเห็นเช่นนี้ กับทัศนะในสื่อมวลชนของทางการจีนดูบ้าง ตั้งแต่ท่าทีแบบมุ่งรอมชอมมากหน่อยอย่างบทความชิ้นนี้ (http://www.chinadaily.com.cn/opinion/2013-12/05/content_17152733.htm ) ของหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ ไปจนถึงชิ้นซึ่งออกมายืนกรานเรื่องอำนาจอธิปไตยของจีนอย่างไม่มียั้งมือ ในหนังสือพิมพ์โกลบอลไทมส์ (http://www.globaltimes.cn/content/829971.shtml#.UrEoYNySyb9)
การเปรียบเทียบทำให้เราเกิดข้อสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์ขึ้นมาว่า แท้ที่จริงแล้วต้นตอจริงๆ ของการยั่วยุน่าจะเป็นฝ่ายญี่ปุ่น ไม่ใช่ฝ่ายจีนเลย
**กำแพงทางทะเลที่มุ่งปิดล้อมจีน**
เนื้อหาทั้งหมดของละครเรื่องนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของเกาะเล็กๆ และโขดหินกลางทะเลไม่กี่แห่ง ซึ่งจีนขนานนามว่า “เตี้ยวอี๋ว์” (Diaoyu) ส่วนญี่ปุ่นเรียกชื่อว่า “เซงกากุ” (Senkaku) หรือกระทั่งไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของช่องทางในการเข้าถึงน่านน้ำรอบๆ หมู่เกาะจิ๋วๆ แห่งนี้ ซึ่งว่ากันว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่มีการประมาณค่ากันออกมาอย่างเปิดเผย หากแต่มันเป็นเรื่องใหญ่ยักษ์กว่านั้นมาก เป็นเรื่องระดับที่พัวพันถึงอนาคตของจีนในการก้าวขึ้นไปเป็นมหาอำนาจทางทะเล และทำการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกับสหรัฐฯทีเดียว
ขอเราให้เริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริงจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับทะเลจีนตะวันออกแห่งนี้ เอกสารหลายๆ ชิ้นในยุคเมจิของญี่ปุ่น เป็นข้อพิสูจน์ยืนยันอย่างปราศจากข้อสงสัยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นไม่เพียงยอมรับว่าหมู่เกาะเหล่านี้เป็นของจีน (อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา) แต่ยังกำลังวางแผนกโลบายที่จะฮุบเอาดินแดนเหล่านี้มาเป็นของพวกเขาอีกด้วย และนั่นคือสิ่งที่บังเกิดขึ้นจริงๆ ในปี 1895 ในระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งแรก (first Sino-Japanese war) ซึ่งเป็นช่วงจังหวะเวลาในประวัติศาสตร์ที่จีนอยู่ในฐานะอ่อนแออย่างที่สุด
ภายหลังที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึดครองดินแดนจีนเอาไว้เป็นจำนวนมาก และวันเวลาผ่านไปอีกจวบจนกระทั่งเมื่อแดนอาทิตย์อุทัยเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง วอชิงตันก็ได้เข้าเป็นผู้ควบคุมดูแลพื้นที่ซึ่งจีนกับญี่ปุ่นพิพาทกันอยู่ในเวลานี้ ทั้งนี้มีเอกสารที่ลงนามโดยฝ่ายญี่ปุ่นฉบับหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาให้สัญญาว่าจะคืนหมู่เกาะแห่งนี้ให้จีนภายหลังสงคราม ทว่าไม่เคยมีการทำตามคำมั่นสัญญานี้เลย กระทั่งถึงปี 1972 สหรัฐฯก็ได้ส่งมอบ “การบริหาร” หมู่เกาะเล็กๆ แห่งนี้ให้แก่ญี่ปุ่น –แต่ก็ไม่ได้มีการประกาศออกมาให้ชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของดินแดนนี้ สัญญาสุภาพบุรุษระหว่างนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล (Zhou Enlai) ของจีน กับนายกรัฐมนตรีคากูเออิ ทานากะ (Kakuei Tanaka) ของญี่ปุ่น มีการกล่าวผูกพันเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน ทว่ามันก็ถูกเพิกเฉยทิ้งขว้างไม่แยแส
ลงท้ายโตเกียวก็ใช้วิธีเข้าซื้อหมู่เกาะเล็กๆ แห่งนี้ จากตระกูล คูริฮาระ (Kurihara) ซึ่งเป็นเอกชนผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของดินแดนนี้ จากนั้นก็ประกาศให้ดินแดนส่วนนี้ตกเป็นของแผ่นดินในเดือนกันยายน 2012 หรือเพียง 1 วันหลังจากการประชุมซัมมิตระหว่าง หู จิ่นเทา (Hu Jintao) ประธานาธิบดีของจีนในเวลานั้น กับ นายกรัฐมนตรี โยชิฮิโกะ โนดะ (Yoshihiko Noda) ของญี่ปุ่น และเรื่องนี้ยังคงเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ หู ได้บอกกับ โนดะ ว่า ในเรื่องหมู่เกาะแห่งนี้ อย่าได้เปลี่ยนแปลงสถานะเดิมที่เป็นอยู่
มาถึงช่วงระยะหลังๆ นี้ เหมือนกับต้องการให้เรื่องราวเลวร้ายลงไปอีก คณะรัฐบาลโอบามา ได้ออกมาแถลงเตือนอันตรายแบบ “ขีดเส้นใต้สีแดง” โดยมีเนื้อหาย้ำยืนยันว่า วอชิงตันจะเข้าสนับสนุนญี่ปุ่นในกรณีที่เกิดสงครามขึ้นมารอบๆ หมู่เกาะเล็กๆ นี้
หากมองกันในแง่ของยุทธศาสตร์ระดับทั่วโลกแล้ว เรื่องราวจะยิ่งสลับซับซ้อนกว่านั้นเสียอีก กล่าวคือ ในทางเป็นจริงแล้วทุกๆ เส้นทางการค้าทางทะเลของจีนล้วนแล้วแต่จะต้องแล่นผ่านจุดที่มีลักษณะเป็นคอขวดอยู่จำนวนหนึ่ง โดยจุดเหล่านี้ถ้าหากไม่ได้มีพรมแดนซึ่งควบคุมโดยประเทศผู้เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ก็ดูแลโดยชาติซึ่งไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นพันธมิตรกับจีน
ทดลองสร้างจินตนาการดู สมมุติตัวคุณเองเป็นนักยุทธศาสตร์ทางนาวีของจีนคนหนึ่ง คุณกวาดมองดูภูมิทัศน์ทางทะเลรอบๆ ตัวคุณ และทั้งหมดที่คุณเห็นก็คือสิ่งที่พวกนักยุทธศาสตร์เรียกกันว่า “สายโซ่แห่งดินแดนวงล้อมชั้นแรก” (First Island Chain) สายโซ่หรือเส้นซึ่งลากเชื่อมเกาะใหญ่และทวีปต่างๆ ที่รายล้อมอยู่นอกชายฝั่งมหาสมุทรของจีน จนกลายเป็นรูปวงโค้งขึ้นมานี้ อาจเริ่มต้นไล่เรียงตั้งแต่ญี่ปุ่น และหมู่เกาะริวกิว และคาบสมุทรเกาหลี ในทางด้านเหนือ แล้วจากนั้นลงมาทางใต้ ผ่านไต้หวัน, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ไปจนจรดออสเตรเลีย ภาพเส้นวงโค้งนี้ย่อมกลายเป็นฝันร้ายอย่างสุดๆ ของคุณทีเดียว เพราะสมมุติว่าเกิดการเผชิญหน้าอย่างร้ายแรงใดๆ ขึ้นตามบริเวณวงโค้งดังกล่าวแล้ว กองทัพเรือสหรัฐฯจะสามารถเคลื่อนกองเรือบรรทุกเครื่องบินของตนเข้ามาโดยรอบ และสร้างปัญหาอย่างร้ายแรงให้แก่จีนในการเข้าถึงน้ำมันของตนเองซึ่งขนส่งเข้ามาโดยผ่านทางช่องแคบมะละกา
อันที่จริงแล้ว การเกิดกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนกัน ถือเป็นบรรทัดฐานปกติในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ โดยในทะเลตะวันออก จุดโฟกัสอยู่ที่หมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ ส่วนในทะเลจีนใต้ จุดเน้นหนักย่อมอยู่ที่หมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands ซึ่งจีนอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกับไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, และเวียดนาม) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel islands ที่จีนพิพาทอยู่กับเวียดนาม) ยังไม่ต้องไปพูดถึงกรณีพิพาทอื่นๆ ที่มีอยู่ในเวลานี้ ระหว่างจีนกับ 2 ชาติที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวอะไรเท่าใดในประเด็นนี้อย่าง มาเลเซีย และบรูไน
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากทัศนะมุมมองของนักยุทธศาสตร์นาวีชาวจีนของเราแล้ว สิ่งที่วางแบอยู่เบื้องหน้า คือสิ่งที่เรียกขานกันว่า “กำแพงเมืองจีนแบบย้อนกลับ” (Reverse Great Wall นั่นคือแทนที่จะเป็นกำแพงที่จีนสร้างขึ้นเพื่อป้องกันชาติอื่นๆ ไม่ให้รุกรานตน ก็กลับเป็นกำแพงที่ชาติอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อใช้กับจีน -ผู้แปล) โดยที่วลีนี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในแวดวงการทหารอย่างเช่น วิทยาลัยการทัพเรือสหรัฐฯ (US Naval War College) ทั้งนี้มันเปรียบได้กับเป็นกำแพงน้ำทะเลซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ญี่ปุ่น ขยายยืดยาวลงมาจนจรดออสเตรเลีย โดยในทางทฤษฎีแล้ว กำแพงทะเลนี้ควรจะสามารถขัดขวางสกัดกั้นไม่ให้จีนเข้าออกมหาสมุทรแปซิฟิกได้
และถ้าสหรัฐฯเกิดจะทำการปิดล้อมขึ้นมาจริงๆ เมื่อเส้นทางการค้าทางทะเลของตนเองถูกปิดเสียแล้ว เศรษฐกิจจีนก็จะต้องตกอยู่ในความยุ่งยากวุ่นวายอย่างใหญ่หลวงแน่นอน
ในปักกิ่งนั้น พวกเขาทราบกันดีถึงข้อน่าวิตกเช่นนี้ และพวกเขาก็กำลังพยายามทำอะไรบางอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปิดล้อมเช่นนี้ขึ้นได้
**ต้องรู้จักว่าจ้างทีมงานพีอาร์มือดี**
สิ่งที่ไบเดนไม่ได้คิดที่จะบอกกล่าวกับมติมหาชนของโลก แล้วก็อย่าได้วาดหวังว่าพวกสื่อมวลชนของภาคบริษัทอเมริกันทั้งหลายจะปริปากพูดถึงเรื่องนี้ ก็คือว่า สำหรับวอชิงตันแล้ว ในการรับมือกับจีนที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมานั้น เกาะโอกินาวามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นศูนย์หลักซึ่งทำให้สหรัฐฯมีศักยภาพที่จะแผ่อำนาจออกไปจากด้านตะวันตกของญี่ปุ่น พูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า สำหรับสหรัฐฯแล้ว โอกินาวามีความสำคัญเปรียบได้กับ “กำแพงเฮเดรียน” (Hadrian's wall) ของพวกโรมันในอังกฤษยุคโบราณ
ในทางกลับกัน โอกินาวาก็มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับญี่ปุ่น ในสภาพที่โตเกียวยังคงไม่อาจตัดขาดแยกห่างจากวอชิงตันได้ เวลานี้ถ้าจะว่าไปแล้วมันก็ดูเหมือนกับว่าญี่ปุ่นกำลังยอมรับหน้าที่การเป็นทหารรับจ้างให้เพนตากอน –โดยที่เพนตากอนเองก็กำลังใช้ทหารรับจ้างมากหน้าหลายตาเหลือเกินใน “สงครามเงา” ของตนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก หรือไม่ถ้าหากเราจะพิจารณากันในแง่มุมของโมเดลธุรกิจ “ต้นทุนต่ำแต่อัตราผลตอบแทนสูง” แล้ว การวางตัวเช่นนี้ของโตเกียว ทำให้ญี่ปุ่นยังคงสามารถคุมงบประมาณใช้จ่ายทางทหารของตนให้อยู่ในระดับต่ำเพียงแค่ 1% ของจีดีพีเท่านั้น (ถึงแม้เวลานี้ ยอดรายจ่ายทางด้านนี้กำลังขยับสูงขึ้นแล้ว)
ปักกิ่งกำลังมีความพยายามจริงๆ ใช่หรือไม่ ที่จะประกาศบังคับให้พื้นที่ท้องฟ้ารอบๆ หมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์ กลายเป็นพื้นที่ทางอากาศอย่างชอบธรรมของตนขึ้นมาให้สำเร็จ โดยที่การทำเช่นนี้ย่อมเท่ากับเป็นการเริ่มต้นการเจาะ “กำแพงเฮเดรียนทางน้ำ” ให้แตกเป็นช่อง เรื่องนี้อาจจะยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่สำหรับในขณะนี้นั้น การที่จีนประกาศเขต ADIZ เหนือทะเลจีนตะวันออก ก็คือการส่งข้อความไปถึงวอชิงตัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายใหญ่ของปักกิ่งซึ่งมีการประโคมเอาไว้อย่างเอิกเกริก นโยบายดังกล่าวที่มีชื่อภาษาจีนว่า “xinxing daguo guanxi” (ความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจยิ่งใหญ่รูปแบบใหม่ New Type of Great Power Relations) กำลังถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติอย่างช้าๆ ทว่าแน่นอนมั่นคง โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ปักกิ่งอาจจะเป็นฝ่ายถูกในทางหลักการ และมีความต้องการอย่างแน่นอนชัดเจนที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดการยอมรับข้อเท็จจริงใหม่ๆ ในทะเลจีนตะวันออก ทว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้โดยสาระสำคัญแล้ว ไม่ต่างอะไรกับการที่จีนกำลังเผชิญความหายนะในทางการประชาสัมพันธ์ ถ้าจะว่าไปแล้วก็คือการสะท้อนให้เห็นว่า แดนมังกรไร้ความสามารถที่จะสร้างความมั่นอกมั่นใจให้ลูกค้า ในเวลาที่ทำการเสนอ “ขาย” เขต ADIZ ให้แก่มติมหาชนโลก ขณะเดียวกันนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็ยิ่งทำให้คณะรัฐบาลจีนไม่ว่าชุดไหนก็ตามที บังเกิดความแน่ใจชนิดไม่มีข้อกังขาเลยแม้แต่น้อย ว่าญี่ปุ่นกำลังพยายามรุกล้ำแทะเล็มดินแดนและเขตอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของคนจีนมาช้านานหลายร้อยปีแล้ว
สำหรับฝ่ายญี่ปุ่น แทนที่จะยังคงกระทำพิธีสักการะ “วีรชน” ในศาลเจ้าซึ่งถูกกล่าวหาโจมตีว่าเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่จนเลือดนองแผ่นดินในอดีต เฉกเช่นที่เคยกระทำมาปีแล้วปีเล่าไม่ยอมหยุดยอมเลิก โตเกียวย่อมสามารถที่จะปลดชนวนปัญหานี้ได้อย่างง่ายดาย ด้วยการออกมายอมรับว่าได้เคยแสดงพฤติกรรมแบบฉวยโอกาสอย่างน่ากลัวน่าชิงชังในเอเชีย ในยุคจักรวรรดินิยมของตน โตเกียวยังสามารถที่จะนิยามบทบาทของตนในเอเชียเสียใหม่ ด้วยการเริ่มต้นประพฤติตนเฉกเช่นมหาอำนาจเอเชียชาติหนึ่ง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ไส้ติ่งบริวารผู้ว่าได้ใช้ฟังของฝ่ายตะวันตก ตามความรับรู้ความเข้าใจของผู้คนเอเชียนับล้านๆ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเพียงแค่คนจีนเท่านั้น แต่เป็นผู้คนตลอดทั่วทั้งทวีปนี้ทีเดียว
ในที่สุดแล้ว หนทางเดียวที่จะปลดชนวนปัญหา เตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ/เขต ADIZ ได้ ก็จะต้องให้ปักกิ่งกับโตเกียวมานั่งที่โต๊ะเดียวกัน และหารือจัดทำสนธิสัญญาสักฉบับหนึ่งสำหรับเส้นทางเดินเรือในทะเลจีนตะวันออกทั้งหลายเหล่านี้ โดยที่ถ้าหากมีสหประชาชาติคอยทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดด้วยแล้วก็จะยอดเยี่ยมมาก ปัญหาในขณะนี้ก็คือโตเกียวเอาแต่ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาดำรงอยู่ ตอนนี้ยุทธศาสตร์ของปักกิ่งจึงเป็นการมุ่งบังคับให้ฝ่ายญี่ปุ่นยอมรับปัญหา การที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ บางทีปักกิ่งควรที่จะพิจารณาว่าจ้างใช้งานบริษัทพีอาร์อเมริกันสักแห่งหนึ่ง เหมือนๆ กับที่ใครๆ เขาก็ทำกันทั้งนั้น
เปเป้ เอสโคบาร์ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Globalistan: How the Globalized World is Dissolving into Liquid War (Nimble Books, 2007), Red Zone Blues: a snapshot of Baghdad during the surge (Nimble Books, 2007), และ Obama does Globalistan (Nimble Books, 2009) ทั้งนี้สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ pepeasia@yahoo.com.