(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Telenor, Qatar firm win Myanmar phone deal
By Radio Free Asia
28/06/2013
ทางการพม่ามอบใบอนุญาตให้บริษัทเทเลนอร์ ของนอร์เวย์ และบริษัทอูริดู แห่งกาตาร์ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือภายในประเทศ นับเป็นกิจการต่างชาติ 2 รายแรกซึ่งได้รับสิทธิดังกล่าว และกว่าจะได้มารัฐบาลพม่าก็ต้องแสดงความห้าวหาญเด็ดเดี่ยวด้วยการใช้อำนาจยกเลิกการทัดทานขัดขวางของรัฐสภาที่ประสงค์ให้ชะลอการตัดสินใจในเรื่องนี้ออกไปจนกว่าจะมีการออกกฎหมายโทรคมนาคมฉบับใหม่ ซึ่งคาดหมายกันว่าจะเสร็จเรียบร้อยในเดือนกรกฎาคมนี้
ทางการพม่ามีมติเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (27 มิ.ย.) มอบใบอนุญาตให้บริษัทเทเลนอร์ (Telenor) แห่งนอร์เวย์ และบริษัทอูริดู (Ooredoo) ของกาตาร์ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือภายในประเทศขึ้นมา นับเป็นกิจการต่างชาติ 2 รายแรกซึ่งได้รับสิทธิดังกล่าว โดยที่ให้คำอธิบายว่า เลือก 2 บริษัทนี้จากรายชื่อผู้ผ่านรอบแรกซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 11 บริษัท เนื่องจากมีข้อเสนอในด้านการคิดราคาและในด้านขนาดขอบเขตความกว้างขวางของเครือข่ายซึ่งดีกว่ารายอื่นๆ
บริษัททั้งสองจะจัดสร้างและดำเนินกิจการเครือข่ายสื่อสารไร้สายทั่วประเทศพม่าเป็นเวลา 15 ปี ทั้งนี้พม่าถือเป็นหนึ่งในตลาดโทรคมนาคมที่ด้อยพัฒนาที่สุดของโลก เนื่องจากประเทศถูกตัดขาดจากส่วนอื่นๆ ของพิภพใบนี้มาเป็นเวลายาวนาน ทั้งด้วยการถูกนานาชาติลงโทษคว่ำบาตร และด้วยการเซนเซอร์อย่างเข้มงวดของอดีตระบอบปกครองทหาร
คณะกรรมการคัดเลือกและประเมินค่าข้อเสนอของผู้ดำเนินการด้านโทรคมนาคม (Telecommunications Operator Tender Evaluation and Selection Committee) ของรัฐบาลพม่าแถลงว่า การตัดสินใจเลือกผู้ชนะในคราวนี้ พิจารณาจากข้อเสนอในด้านการคิดราคาและในด้านขนาดขอบเขตความกว้างขวางของเครือข่ายที่จะดำเนินการในพม่า ซึ่งปัจจุบันนี้จากประชากรจำนวนทั้งสิ้น 60 ล้านคน ไม่ถึง 6 ล้านคนเท่านั้นที่มีโทรศัพท์มือถือใช้
“เราเชิญบริษัทผู้ชนะทั้งสองรายนี้มายังพม่า และขอให้พวกเขานำเสนอสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเสนอเอาไว้” เซต อ่อง (Set Aung) ประธานคณะกรรมการชุดนี้ เปิดเผยกับวิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ภาคภาษาพม่า (Myanmar Service) “พวกเขาให้คำมั่นสัญญาในเรื่องราคาที่พวกเขาจะใช้คิดค่าบริการ ตลอดจนให้คำมั่นสัญญาเรื่องแผนการต่างๆ เกี่ยวกับขนาดขอบเขตเครือข่ายของพวกเขา” เขากล่าวต่อและย้ำว่า ทั้งสองบริษัทต้องทำตามคำมั่นของพวกตนอย่างเข้มงวด โดย “ถ้าหากพวกเขาไม่ทำตามสัญญาของพวกเขาแล้ว พวกเขาก็จะสูญเสียธุรกิจของพวกเขาไป”
ทั้งนี้ได้มีการคัดเลือกบริษัทเทเลคอม-ออเรนจ์ (Telecom-Orange) ของฝรั่งเศส และบริษัทมารูเบนิ คอร์เปอเรชั่น (Marubeni Corporation) แห่งญี่ปุ่น เอาไว้เป็นทางเลือกสำรอง ในกรณีที่บริษัทผู้ชนะทั้งสองล้มเหลวไม่สามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในการคัดเลือก
**รัฐสภาอยู่ระหว่างร่างกฎหมายโทรคมนาคม**
การตัดสินใจให้ใบอนุญาตคราวนี้ บังเกิดขึ้นในขณะที่ “ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ (Human Rights Watch) กลุ่มเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องทั้งสองบริษัทผู้ชนะให้ระบุแจกแจงแผนการของพวกเขาในการปกป้องคุ้มครองผู้ใช้บริการจากการถูกสอดแนมและการเซนเซอร์อย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่าปัจจุบันยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่จะพิทักษ์ป้องกันสิทธิมนุษยชนในภาคโทรคมนาคมของพม่า
รัฐบาลพม่าตัดสินใจที่จะเดินหน้ามอบใบอนุญาตซึ่งพวกบริษัทเทเลคอมต่างปรารถนาได้ไว้ในครอบครองคราวนี้ ถึงแม้มีความพยายามในนาทีสุดท้ายจากพวกสมาชิกรัฐสภาที่จะให้ชะลอเอาไว้ก่อนจนกว่าจะมีการผ่านกฎหมายโทรคมนาคมฉบับใหม่ ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนร่างกันอยู่ โดยที่พวกกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างวาดหวังว่ากฎหมายใหม่ฉบับนี้จะมีบทมาตราซึ่งให้ความคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้นจากการถูกล่วงละเมิด กระนั้นก็ตามที ใบอนุญาตที่มอบให้นี้ก็มีเงื่อนไขกำหนดให้ตามทำตามกฎหมายฉบับใหม่ ที่คาดหมายกันว่าจะผ่านออกมาได้ในเดือนกรกฎาคมนี้
ทั้งนี้ ในวันที่ 26 มิถุนายน รัฐสภาพม่าได้ลงมติให้เลื่อนการตัดสินใจเรื่องนี้เพื่อรอกฎหมายฉบับใหม่ ทว่ารัฐบาลกลับตัดสินใจใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญลบล้างการขัดขวางเช่นนี้
คณะกรรมการคัดเลือกและประเมินค่าข้อเสนอของผู้ดำเนินการด้านโทรคมนาคม มีมติเลือก เทเลนอร์ และ อูริดู (ซึ่งรู้จักกันมากกว่าในชื่อเดิมว่า กาตาร์ เทเลคอม Qatar Telecom) จากบริษัทผู้ที่ผ่านรอบแรกจำนวน 11 ราย โดยที่ในรอบแรก มีผู้ยื่นข้อเสนอเข้ามาให้พิจารณาเป็นจำนวนมากกว่า 90 รายทีเดียว
พม่านั้นมีความกระตือรือร้นที่จะให้ประเทศมีบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมประชากรประมาณ 80% ภายในปี 2016 ปัจจุบันค่าใช้จ่ายเรื่องโทรศัพท์มือถือในแดนหม่องยังอยู่ในระดับสูงลิบลิ่วเมื่อเปรียบเทียบกับในประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นเครื่องโทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยนั้น ก็แพงระยับเกินกว่าที่ประชาชนส่วนใหญ่จะซื้อหามาใช้ไหว จวบจนกระทั่งสองสามปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการซื้อซิมการ์ด (SIM card) สักหมายเลขหนึ่งอาจต้องใช้เงินถึง 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯทีเดียว อีกทั้งในเวลานี้พม่ายังมีการต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตกันน้อยและความเร็วในการต่อเชื่อมก็เชื่องช้า
“พวกเราต่างหวังกันว่าบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตเหล่านี้ จะให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ดีและทำให้เราสามารถใช้โทรศัพท์ได้โดยเสียเงินน้อยลง” ชาวเมืองย่างกุ้งผู้หนึ่งบอกกับวิทยุเอเชียเสรี “พวกเราต่างรู้สึกประหลาดใจเมื่อได้ยินชื่อบริษัทที่ชนะในครั้งนี้ เพราะชื่อเหล่านี้ไม่ได้โด่งดังเป็นที่รู้จัก และพวกเราก็ไม่ค่อยเคยได้ยินกันมาก่อนเลย” เขากล่าวต่อ
ในบรรดากิจการที่เข้าแข่งขันยื่นข้อเสนอขอใบอนุญาตทว่าไม่ประสบความสำเร็จในคราวนี้ มีดังเช่น ภารตี แอร์เทล (Bharti Airtel) ของอินเดีย, สิงเทล (SingTel) ของสิงคโปร์, เคดีดีไอ (KDDI) ของญี่ปุ่น, และ เวียตเทล (Viettel) ของเวียดนาม ตลอดจน กลุ่มดิจิเซล (Digicel) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ เซอร์กี ปุน (Serge Pun) หนึ่งในมหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดของพม่า และ จอร์จ โซรอส (George Soros ) มหาเศรษฐีนักการเงินชื่อดัง
ทั้ง เทเลนอร์ และ อูริดู ขณะนี้ยังมิได้มีการเปิดเผยตัวเลขเกี่ยวกับมูลค่าของผลตอบแทนที่พวกเขายื่นเสนอเพื่อให้ได้รับใบอนุญาต ตลอดจนเงินลงทุนที่พวกเขาจะใช้ในการจัดสร้างเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วประเทศพม่า
**เตือนอย่าถือโอกาสสอดแนมผู้ใช้บริการ**
ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ ซึ่งมีฐานอยู่ในสหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องผู้ชนะได้ใบอนุญาตในครั้งนี้ทั้ง 2 ราย ให้คำมั่นสัญญาแก่สาธารณชนว่า จะยึดมั่นในนโยบายทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแข็งขัน และจะดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสอย่างกว้างขวาง
“ประวัติความเป็นมาอันยาวนานแห่งการละเมิดสิทธิต่างๆ ของพม่า ควรที่จะทำให้ผู้ชนะได้รับใบอนุญาตทั้ง 2 รายนี้ได้ฉุกใจคิดเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ของรัฐบาล, การแอบสอดแนมอย่างผิดกฎหมาย, และกระทั่งการสั่งปิดเครือข่าย” ซินเธีย หว่อง (Cynthia Wong) นักวิจัยอาวุโสด้านอินเทอร์เน็ตของ ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ แถลง “บริษัททั้งสองควรที่จะจัดเตรียมมาตรการปกป้องอันแข็งแรงให้แก่ผู้ใช้บริการของพวกเขา, แสดงตนให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าพวกเขาจะมีความโปร่งใสในเรื่องเกี่ยวกับข้อเรียกร้องต่างๆ ของรัฐบาล, และกดดันรัฐบาลให้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย”
เธอกล่าวต่อไปว่า เหล่านักลงทุนและผู้บริจาคเงินช่วยเหลือพม่าควรที่จะจับตาติดตามกิจกรรมต่างๆ ของสองบริษัทนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการเข้าไปลงทุนดำเนินกิจการของ 2 บริษัทนี้ จะเป็น “การสร้างเวที” ซึ่งมีส่วนในการชี้บ่งว่าเม็ดเงินลงทุนของต่างประเทศสามารถที่จะแสดงบทบาทอันสำคัญในการปรับปรุงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศนี้ให้ดีขึ้นได้หรือไม่
องค์การเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนแห่งนี้ระบุว่า ร่างกฎหมายโทรคมนาคมฉบับก่อน ที่ทางองค์การได้ศึกษาเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ปรากฏข้อน่ากังวลหลายประการในด้านที่ให้ความคุ้มครองป้องกันการละเมิดสิทธิยังไม่เพียงพอ
ใบอนุญาตที่ เทเลนอร์ และ อูริดู ได้มาคราวนี้ คือการที่บริษัทต่างชาติสามารถบุกเบิกเจาะเข้าไปในตลาดซึ่งก่อนหน้านี้ถูกผูกขาดอยู่แต่เฉพาะในมือของพวกรัฐวิสาหกิจโดยแท้ ทั้งนี้โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของพม่า เป็นการดำเนินการทั้งหมดทั้งสิ้นโดยภาครัฐซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมบงการของคณะปกครองทหารที่ได้ยินยอมสละอำนาจไปในเดือนมีนาคม 2011 โดยที่เมื่อเดือนมกราคมปีนี้ เต็ง ตุน (Thein Tun) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมของพม่า ได้ถูกควบคุมตัวให้อยู่แต่ภายในบ้านพักและถูกสอบสวนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เขาพัวพันเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นซึ่งโยงใยถึงการพิจารณาโครงการสร้างเครือข่ายโทรมคมนาคมทั่วประเทศที่พิจารณาตัดสินกันในครั้งนี้
วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาพม่า (Radio Free Asia's Myanmar Service) เป็นผู้รายงานข่าวนี้ เขต มาร์ (Khet Mar) เป็นผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และ เรเชล แวนเดนบริงก์ (Rachel Vandenbrink) เป็นผู้เขียนรายงานข่าวนี้เป็นภาษาอังกฤษ
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต
Telenor, Qatar firm win Myanmar phone deal
By Radio Free Asia
28/06/2013
ทางการพม่ามอบใบอนุญาตให้บริษัทเทเลนอร์ ของนอร์เวย์ และบริษัทอูริดู แห่งกาตาร์ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือภายในประเทศ นับเป็นกิจการต่างชาติ 2 รายแรกซึ่งได้รับสิทธิดังกล่าว และกว่าจะได้มารัฐบาลพม่าก็ต้องแสดงความห้าวหาญเด็ดเดี่ยวด้วยการใช้อำนาจยกเลิกการทัดทานขัดขวางของรัฐสภาที่ประสงค์ให้ชะลอการตัดสินใจในเรื่องนี้ออกไปจนกว่าจะมีการออกกฎหมายโทรคมนาคมฉบับใหม่ ซึ่งคาดหมายกันว่าจะเสร็จเรียบร้อยในเดือนกรกฎาคมนี้
ทางการพม่ามีมติเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (27 มิ.ย.) มอบใบอนุญาตให้บริษัทเทเลนอร์ (Telenor) แห่งนอร์เวย์ และบริษัทอูริดู (Ooredoo) ของกาตาร์ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือภายในประเทศขึ้นมา นับเป็นกิจการต่างชาติ 2 รายแรกซึ่งได้รับสิทธิดังกล่าว โดยที่ให้คำอธิบายว่า เลือก 2 บริษัทนี้จากรายชื่อผู้ผ่านรอบแรกซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 11 บริษัท เนื่องจากมีข้อเสนอในด้านการคิดราคาและในด้านขนาดขอบเขตความกว้างขวางของเครือข่ายซึ่งดีกว่ารายอื่นๆ
บริษัททั้งสองจะจัดสร้างและดำเนินกิจการเครือข่ายสื่อสารไร้สายทั่วประเทศพม่าเป็นเวลา 15 ปี ทั้งนี้พม่าถือเป็นหนึ่งในตลาดโทรคมนาคมที่ด้อยพัฒนาที่สุดของโลก เนื่องจากประเทศถูกตัดขาดจากส่วนอื่นๆ ของพิภพใบนี้มาเป็นเวลายาวนาน ทั้งด้วยการถูกนานาชาติลงโทษคว่ำบาตร และด้วยการเซนเซอร์อย่างเข้มงวดของอดีตระบอบปกครองทหาร
คณะกรรมการคัดเลือกและประเมินค่าข้อเสนอของผู้ดำเนินการด้านโทรคมนาคม (Telecommunications Operator Tender Evaluation and Selection Committee) ของรัฐบาลพม่าแถลงว่า การตัดสินใจเลือกผู้ชนะในคราวนี้ พิจารณาจากข้อเสนอในด้านการคิดราคาและในด้านขนาดขอบเขตความกว้างขวางของเครือข่ายที่จะดำเนินการในพม่า ซึ่งปัจจุบันนี้จากประชากรจำนวนทั้งสิ้น 60 ล้านคน ไม่ถึง 6 ล้านคนเท่านั้นที่มีโทรศัพท์มือถือใช้
“เราเชิญบริษัทผู้ชนะทั้งสองรายนี้มายังพม่า และขอให้พวกเขานำเสนอสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเสนอเอาไว้” เซต อ่อง (Set Aung) ประธานคณะกรรมการชุดนี้ เปิดเผยกับวิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ภาคภาษาพม่า (Myanmar Service) “พวกเขาให้คำมั่นสัญญาในเรื่องราคาที่พวกเขาจะใช้คิดค่าบริการ ตลอดจนให้คำมั่นสัญญาเรื่องแผนการต่างๆ เกี่ยวกับขนาดขอบเขตเครือข่ายของพวกเขา” เขากล่าวต่อและย้ำว่า ทั้งสองบริษัทต้องทำตามคำมั่นของพวกตนอย่างเข้มงวด โดย “ถ้าหากพวกเขาไม่ทำตามสัญญาของพวกเขาแล้ว พวกเขาก็จะสูญเสียธุรกิจของพวกเขาไป”
ทั้งนี้ได้มีการคัดเลือกบริษัทเทเลคอม-ออเรนจ์ (Telecom-Orange) ของฝรั่งเศส และบริษัทมารูเบนิ คอร์เปอเรชั่น (Marubeni Corporation) แห่งญี่ปุ่น เอาไว้เป็นทางเลือกสำรอง ในกรณีที่บริษัทผู้ชนะทั้งสองล้มเหลวไม่สามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในการคัดเลือก
**รัฐสภาอยู่ระหว่างร่างกฎหมายโทรคมนาคม**
การตัดสินใจให้ใบอนุญาตคราวนี้ บังเกิดขึ้นในขณะที่ “ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ (Human Rights Watch) กลุ่มเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องทั้งสองบริษัทผู้ชนะให้ระบุแจกแจงแผนการของพวกเขาในการปกป้องคุ้มครองผู้ใช้บริการจากการถูกสอดแนมและการเซนเซอร์อย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่าปัจจุบันยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่จะพิทักษ์ป้องกันสิทธิมนุษยชนในภาคโทรคมนาคมของพม่า
รัฐบาลพม่าตัดสินใจที่จะเดินหน้ามอบใบอนุญาตซึ่งพวกบริษัทเทเลคอมต่างปรารถนาได้ไว้ในครอบครองคราวนี้ ถึงแม้มีความพยายามในนาทีสุดท้ายจากพวกสมาชิกรัฐสภาที่จะให้ชะลอเอาไว้ก่อนจนกว่าจะมีการผ่านกฎหมายโทรคมนาคมฉบับใหม่ ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนร่างกันอยู่ โดยที่พวกกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างวาดหวังว่ากฎหมายใหม่ฉบับนี้จะมีบทมาตราซึ่งให้ความคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้นจากการถูกล่วงละเมิด กระนั้นก็ตามที ใบอนุญาตที่มอบให้นี้ก็มีเงื่อนไขกำหนดให้ตามทำตามกฎหมายฉบับใหม่ ที่คาดหมายกันว่าจะผ่านออกมาได้ในเดือนกรกฎาคมนี้
ทั้งนี้ ในวันที่ 26 มิถุนายน รัฐสภาพม่าได้ลงมติให้เลื่อนการตัดสินใจเรื่องนี้เพื่อรอกฎหมายฉบับใหม่ ทว่ารัฐบาลกลับตัดสินใจใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญลบล้างการขัดขวางเช่นนี้
คณะกรรมการคัดเลือกและประเมินค่าข้อเสนอของผู้ดำเนินการด้านโทรคมนาคม มีมติเลือก เทเลนอร์ และ อูริดู (ซึ่งรู้จักกันมากกว่าในชื่อเดิมว่า กาตาร์ เทเลคอม Qatar Telecom) จากบริษัทผู้ที่ผ่านรอบแรกจำนวน 11 ราย โดยที่ในรอบแรก มีผู้ยื่นข้อเสนอเข้ามาให้พิจารณาเป็นจำนวนมากกว่า 90 รายทีเดียว
พม่านั้นมีความกระตือรือร้นที่จะให้ประเทศมีบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมประชากรประมาณ 80% ภายในปี 2016 ปัจจุบันค่าใช้จ่ายเรื่องโทรศัพท์มือถือในแดนหม่องยังอยู่ในระดับสูงลิบลิ่วเมื่อเปรียบเทียบกับในประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นเครื่องโทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยนั้น ก็แพงระยับเกินกว่าที่ประชาชนส่วนใหญ่จะซื้อหามาใช้ไหว จวบจนกระทั่งสองสามปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการซื้อซิมการ์ด (SIM card) สักหมายเลขหนึ่งอาจต้องใช้เงินถึง 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯทีเดียว อีกทั้งในเวลานี้พม่ายังมีการต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตกันน้อยและความเร็วในการต่อเชื่อมก็เชื่องช้า
“พวกเราต่างหวังกันว่าบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตเหล่านี้ จะให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ดีและทำให้เราสามารถใช้โทรศัพท์ได้โดยเสียเงินน้อยลง” ชาวเมืองย่างกุ้งผู้หนึ่งบอกกับวิทยุเอเชียเสรี “พวกเราต่างรู้สึกประหลาดใจเมื่อได้ยินชื่อบริษัทที่ชนะในครั้งนี้ เพราะชื่อเหล่านี้ไม่ได้โด่งดังเป็นที่รู้จัก และพวกเราก็ไม่ค่อยเคยได้ยินกันมาก่อนเลย” เขากล่าวต่อ
ในบรรดากิจการที่เข้าแข่งขันยื่นข้อเสนอขอใบอนุญาตทว่าไม่ประสบความสำเร็จในคราวนี้ มีดังเช่น ภารตี แอร์เทล (Bharti Airtel) ของอินเดีย, สิงเทล (SingTel) ของสิงคโปร์, เคดีดีไอ (KDDI) ของญี่ปุ่น, และ เวียตเทล (Viettel) ของเวียดนาม ตลอดจน กลุ่มดิจิเซล (Digicel) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ เซอร์กี ปุน (Serge Pun) หนึ่งในมหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดของพม่า และ จอร์จ โซรอส (George Soros ) มหาเศรษฐีนักการเงินชื่อดัง
ทั้ง เทเลนอร์ และ อูริดู ขณะนี้ยังมิได้มีการเปิดเผยตัวเลขเกี่ยวกับมูลค่าของผลตอบแทนที่พวกเขายื่นเสนอเพื่อให้ได้รับใบอนุญาต ตลอดจนเงินลงทุนที่พวกเขาจะใช้ในการจัดสร้างเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วประเทศพม่า
**เตือนอย่าถือโอกาสสอดแนมผู้ใช้บริการ**
ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ ซึ่งมีฐานอยู่ในสหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องผู้ชนะได้ใบอนุญาตในครั้งนี้ทั้ง 2 ราย ให้คำมั่นสัญญาแก่สาธารณชนว่า จะยึดมั่นในนโยบายทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแข็งขัน และจะดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสอย่างกว้างขวาง
“ประวัติความเป็นมาอันยาวนานแห่งการละเมิดสิทธิต่างๆ ของพม่า ควรที่จะทำให้ผู้ชนะได้รับใบอนุญาตทั้ง 2 รายนี้ได้ฉุกใจคิดเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ของรัฐบาล, การแอบสอดแนมอย่างผิดกฎหมาย, และกระทั่งการสั่งปิดเครือข่าย” ซินเธีย หว่อง (Cynthia Wong) นักวิจัยอาวุโสด้านอินเทอร์เน็ตของ ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ แถลง “บริษัททั้งสองควรที่จะจัดเตรียมมาตรการปกป้องอันแข็งแรงให้แก่ผู้ใช้บริการของพวกเขา, แสดงตนให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าพวกเขาจะมีความโปร่งใสในเรื่องเกี่ยวกับข้อเรียกร้องต่างๆ ของรัฐบาล, และกดดันรัฐบาลให้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย”
เธอกล่าวต่อไปว่า เหล่านักลงทุนและผู้บริจาคเงินช่วยเหลือพม่าควรที่จะจับตาติดตามกิจกรรมต่างๆ ของสองบริษัทนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการเข้าไปลงทุนดำเนินกิจการของ 2 บริษัทนี้ จะเป็น “การสร้างเวที” ซึ่งมีส่วนในการชี้บ่งว่าเม็ดเงินลงทุนของต่างประเทศสามารถที่จะแสดงบทบาทอันสำคัญในการปรับปรุงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศนี้ให้ดีขึ้นได้หรือไม่
องค์การเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนแห่งนี้ระบุว่า ร่างกฎหมายโทรคมนาคมฉบับก่อน ที่ทางองค์การได้ศึกษาเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ปรากฏข้อน่ากังวลหลายประการในด้านที่ให้ความคุ้มครองป้องกันการละเมิดสิทธิยังไม่เพียงพอ
ใบอนุญาตที่ เทเลนอร์ และ อูริดู ได้มาคราวนี้ คือการที่บริษัทต่างชาติสามารถบุกเบิกเจาะเข้าไปในตลาดซึ่งก่อนหน้านี้ถูกผูกขาดอยู่แต่เฉพาะในมือของพวกรัฐวิสาหกิจโดยแท้ ทั้งนี้โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของพม่า เป็นการดำเนินการทั้งหมดทั้งสิ้นโดยภาครัฐซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมบงการของคณะปกครองทหารที่ได้ยินยอมสละอำนาจไปในเดือนมีนาคม 2011 โดยที่เมื่อเดือนมกราคมปีนี้ เต็ง ตุน (Thein Tun) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมของพม่า ได้ถูกควบคุมตัวให้อยู่แต่ภายในบ้านพักและถูกสอบสวนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เขาพัวพันเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นซึ่งโยงใยถึงการพิจารณาโครงการสร้างเครือข่ายโทรมคมนาคมทั่วประเทศที่พิจารณาตัดสินกันในครั้งนี้
วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาพม่า (Radio Free Asia's Myanmar Service) เป็นผู้รายงานข่าวนี้ เขต มาร์ (Khet Mar) เป็นผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และ เรเชล แวนเดนบริงก์ (Rachel Vandenbrink) เป็นผู้เขียนรายงานข่าวนี้เป็นภาษาอังกฤษ
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต