ญี่ปุ่นยึด‘ความตกลงหุ้นส่วนแปซิฟิก’จากสหรัฐฯและผลักไส‘จีน’ให้ถอยไปอยู่ชายขอบ
(ซัมมิตแคลิฟอร์เนียของ‘โอบามา-สีจิ้นผิง’และบทบาทของ‘ญี่ปุ่น’ ตอน2)
โดย ปีเตอร์ ลี
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Humble pie for Xi on Sunnylands menu
By Peter Lee
06/06/2013
พวกชาวตะวันตกที่เป็นนักวิพากษ์วิจารณ์จีน พากันคาดหมายว่าในการประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ กับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ท่ามกลางแสงแดดจ้าของมลรัฐแคลิฟอร์เนียวันที่ 7-8 มิถุนายนนี้ โอบามาไม่พ้นที่จะเสียท่าเผลอไผลหลงเสน่ห์แบบหมีแพนด้าของสี ทว่าพวกเขาน่าที่จะต้องรู้สึกเซอร์ไพรซ์กันครั้งใหญ่ทีเดียว เนื่องจาก สี ยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าในจังหวะเวลาขณะนี้ สหรัฐฯต่างหากเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนอันคลี่คลายวิวัฒนาการไปตลอดเวลา โดยที่การยอมรับเช่นนี้มีเรื่องบทบาทของ ชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีนักชาตินิยมของญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเป็นอันมาก ทั้งนี้อาเบะไม่เพียงทำท่าจะประสบความสำเร็จในการสร้างกลุ่มพันธมิตรต่อต้านจีนขึ้นในเอเชียที่มีญี่ปุ่นเป็นผู้นำ โดยได้ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, กับอินเดียเป็นผู้เดินตามเท่านั้น แต่โตเกียวยังกำลังเร่งเดินหน้าผลักดันการรวมกลุ่มทางการค้าแบบ TPP ที่กีดกันจีนออกไปนอกวง ขณะที่จะทำให้การรวมกลุ่มทางการค้าแบบ RCEP ซึ่งปักกิ่งสนับสนุนอยู่ หมดบทบาทหมดความสำคัญลงไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอน 2 *
(ต่อจากตอนแรก)
เอเชียซึ่งมีฟิลิปปินส์, เวียดนาม, และอินเดีย ที่อาจจะเดินตามการนำของญี่ปุ่นในกลุ่มพันธมิตรต่อต้านจีนนั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องความอัปยศอดสูในทางการทูต หรือมีศักยภาพ (ถึงแม้ยังคงห่างไกล) ที่จะกลายเป็นภยันตรายทางทหารต่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น
มันยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของการรวมกลุ่มทางการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 2 แบบซึ่งกำลังแข่งขันชิงชัยกันอยู่อีกด้วย กล่าวคือ แบบหนึ่งเป็นกลุ่มการค้าที่เรียกว่า “ความตกลงหุ้นส่วนภาคพื้นแปซิฟิก” (Trans Pacific Partnership ใช้อักษรย่อว่า TPP) ซึ่งมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ โดยวางเป้าหมายที่จะเป็นข้อตกลงแบบ “มาตรฐานสูง” ที่จะไม่รวมเอาสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าไว้ด้วย ส่วนการรวมกลุ่มทางการค้าอีกแบบหนึ่งซึ่งอิงอยู่กับสมาคมอาเซียนและได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากจีน เรียกขานกันว่า “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค” (Regional Comprehensive Economic Partnership ใช้อักษรย่อว่า RCEP) โดยที่ RCEP มีทัศนคติในทางเอื้ออารีต้อนรับขับสู้พวกระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสาน ตลอดจนพวกรัฐวิสาหกิจทั้งหลายมากกว่า อีกทั้งไม่ได้ถึงกับคลั่งไคล้ออกหน้าออกตาที่จะปกป้องรักษาสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญานอกดินแดนตลอดจนสิทธิทางกฎหมายต่างๆ ของพวกบรรษัทนานาชาติอย่าง TPP โดยที่ RCEP นั้นก็ไม่ได้รวมเอาสหรัฐฯเข้ามาด้วย
ญี่ปุ่นได้ฉกฉวยยึดเอา TPP มาเป็นองค์ประกอบอันสำคัญยิ่งยวดประการหนึ่ง ในยุทธศาสตร์ของตนที่จะผลักไสสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ถอยออกไปอยู่ตรงแค่ชายขอบทางด้านเศรษฐกิจ และอ้างสิทธิ์ที่จะให้แดนอาทิตย์อุทัยเองได้แสดงบทบาทเป็นแกนกลางมากยิ่งขึ้น ดังที่รายงานแสดงให้เห็นภาพภูมิหลังชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียล เอ็กซ์เพรส (Financial Express) ของอินเดีย ได้ชี้เอาไว้ดังนี้:
“ตั้งแต่จุดเริ่มต้นเลย TPP มีลักษณะเป็นมากกว่าเพียงแค่การรวมตัวเพื่อการค้าระดับภูมิภาค สหรัฐฯไม่ได้หลบเลี่ยงแถมยังปล่อยให้เป็นที่เข้าใจกันไปว่า มันเป็นการรวมตัวเพื่อตอบโต้การที่จีนกำลังมีอิทธิพลบารมีทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก ตัวอาเบะเองก็ชี้ให้เห็นว่า TPP มีผลกระทบอย่างกว้างไกลเกินเลยกว่าแค่เพียงปริมณฑลทางเศรษฐกิจ การเข้าร่วมใน TPP จะเปิดทางให้ญี่ปุ่นสามารถสร้าง “ระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ” (new economic order) ร่วมกับสหรัฐฯ เป็นการสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่ๆ และก่อให้เกิดหลักประกันเรื่องเสถียรภาพขึ้นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จุดที่สำคัญมากก็คือ อาเบะมองว่าการก่อตั้งระเบียบใหม่ดังกล่าวนี้ ตลอดจนกฎเกณฑ์อย่างใหม่ๆ ของระเบียบใหม่ดังกล่าวนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการที่จะทำให้ญี่ปุ่นเองสามารถบรรลุผลประโยชน์แห่งชาติของตนได้ เมื่อพิจารณาจากการที่ญี่ปุ่นปัจจุบันกำลังพัวพันอยู่ในการพิพาททางดินแดนกับจีนเพื่อช่วงชิงหมู่เกาะเซงกากุ การที่แดนอาทิตย์อุทัยกำลังเข้าไปร่วมอยู่ใน TPP จึงสามารถที่จะตีความได้ว่า เป็นความพยายามส่วนหนึ่งของทางฝ่ายญี่ปุ่นที่จะตอบโต้ทัดทานจีนซึ่งกำลังแสดงท่าทีแบบยืนกรานแข็งกร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ ...
ในด้านหนึ่ง การบรรจบรวมตัวกันในระดับภูมิภาคแบบที่อิงอาศัยโมเดล RCEP จะอำนวยความสะดวกให้แก่จีนในการก้าวผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจผู้มีฐานะครอบงำเอเชีย แต่ในทางตรงกันข้าม การบรรจบรวมตัวกันแบบที่ได้แรงขับดันจาก TPP จะเปิดทางให้สหรัฐฯสามารถที่จะยืนกรานกลับสถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาอำนาจผู้มีฐานะครอบงำเอเชียได้อีกคำรบหนึ่ง” [3]
เนื่องจากการทำงานภายในระดับลึกๆ ของการเจรจาภายใต้กรอบ TPP ขึ้นชื่อลือฉาวในเรื่องการไร้ความโปร่งใส มันจึงยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเสียทีเดียวว่า เมื่อญี่ปุ่นได้รับสิทธิเข้าร่วมอย่างสมบูรณ์ในการเจรจาต่างๆ ของ TPP แล้ว จะทำให้แดนอาทิตย์อุทัยถึงขนาดมีอำนาจ (ซึ่งในทางทฤษฎีก็เป็นอภิสิทธิ์ของชาติสมาชิกรายอื่นๆ เช่นเดียวกัน) ที่จะออกเสียงคัดค้านไม่ให้ผู้สมัครรายใหม่ๆ เข้าร่วมได้หรือไม่ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากยุทธศาสตร์ว่าด้วยจีนของอาเบะแล้ว ย่อมเป็นเรื่องสมเหตุสมผลทีเดียวที่จะคาดเดากะเก็งว่า หนึ่งในปัจจัยที่ญี่ปุ่นคิดคำนวณแล้วตัดสินใจที่จะเข้าร่วมการเจรจาจัดทำ TPP ขึ้นมา ย่อมได้แก่เรื่องความสามารถที่จะมีสิทธิ์มีอำนาจในการขัดขวาง ถ้าหากจีนมีแผนการที่จะขอเข้าร่วมวง TPP ในเวลาต่อไปนี่แหละ
ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ญี่ปุ่นก็ยังเป็นชาติหนึ่งที่ได้เข้าร่วมในการเจรจาหารือเพื่อจัดทำ RCEP อีกด้วย
บางทีอีกเรื่องหนึ่งที่จะกลายเป็นจุดตายได้พอๆ กันทีเดียว ถ้าหากสาธารณรัฐประชาชนมีความวาดหวังที่จะขอเข้าร่วมวง TPP ได้แก่การที่อินเดีย ก็เป็นหุ้นส่วนอีกรายหนึ่งซึ่งเข้าร่วมทั้งในการเจรจา จัดทำTPP และในการเจรจา RCEP (สภาพเช่นนี้อาจจะเนื่องมาจากการเข้ามีส่วนร่วมกับการรวมกลุ่มทั้ง 2 แบบ เป็นสิ่งที่เหมาะสมสอดคล้องกับความทะเยอทะยานของอินเดียเอง หรือไม่ก็เนื่องจากที่ตั้งอันได้เปรียบของแดนภารตะ จึงทำให้ถูกดึงเข้าสู่ทั้ง 2 วง)
ถ้าหากญี่ปุ่นกับอินเดียรวมกำลังกันเรียกร้องให้ RCEP ต้องมีมาตรฐานในระดับเดียวกันกับของ TPP แล้ว พวกเขาก็มีอิทธิพลบารมีในทางเศรษฐกิจและในทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างเพียงพอที่จะทำให้การเจรจา TPP กลายเป็นมาตรฐานในทางพฤตินัย ส่วนการเจรจา RCEP (และสาธารณรัฐประชาชนจีน) ถูกปล่อยให้แห้งเหี่ยวอับเฉาอย่างตรงชายขอบ
การผลักไสให้จีนออกมาอยู่ตรงชายขอบ และเปิดทางให้ญี่ปุ่นเข้าครอบครองฐานะแกนกลางในบรรดาชาติประชาธิปไตยที่มีอาณาเขตทางทะเลในเอเชียและมีขนาดย่อมๆ ทั้งหลาย (โดยเนื้อหาสาระแล้วก็คือ การเล่นบทบาทเป็นกบตัวใหญ่ตัวหนึ่งในบ่อน้ำที่จะต้องมีขนาดย่อมๆ ลงมา) คือสิ่งที่ให้ผลดีแก่อาเบะอย่างชัดเจน ทว่าไม่จำเป็นที่มันจะเป็นผลดีสำหรับสหรัฐฯไปด้วย ในเมื่อสหรัฐฯจะพบว่าตัวเองต้องเบียดเสียดอยู่ในบ่อน้ำขนาดเล็กลงมา (เนื่องจากจีนถูกกีดกันออกไป) โดยที่จะต้องแบ่งปันที่ทางให้แก่ญี่ปุ่นซึ่งทั้งเป็นสังคมที่แก่ชราและทั้งมีเศรษฐกิจที่โยกคลอนโงนเงน
ด้วยเงื่อนไขหลายๆ ประการในเอเชียซึ่งโน้มเอียงไปในทางที่ไม่เป็นผลดีต่อแดนมังกรดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บวกกับการที่ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายการต่างประเทศแบบเป็นเอกเทศซึ่งกำลังกัดกร่อนการอ้างฐานะความเป็นเจ้าของสหรัฐฯลงไปเรื่อยๆ เช่นนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงต้องหันมาเลือกดำเนินวิธีการ “เล่นไพ่สหรัฐฯ” และเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวสหรัฐฯให้เห็นดีเห็นงามว่า มีประโยชน์ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์อันหนักแน่นสมเหตุสมผลอย่างแน่นอน ถ้าหากจะลงมือเหนี่ยวรั้งญี่ปุ่น, ทำการตักเตือนอินเดีย, และเปิดทางให้จีนได้ประโยชน์บ้างในกรณีพิพาททางดินแดนและกรณีพิพาททางเศรษฐกิจอันมากมายที่แดนมังกรมีอยู่กับชาติอื่นๆ
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ปักกิ่งเองได้มีการเคลื่อนไหวในเชิงมุ่งสร้างความปรองดองหลายอย่างหลายประการทีเดียว เป็นต้นว่า จีนจัดส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปเข้าร่วมเทศกาลการสนทนาเรื่อยๆ เปื่อยๆ ประจำปี ของพวกรัฐมนตรีกลาโหมในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเรียกกันว่า “การสนทนาว่าด้วยความมั่นคงแชงกรีลา” ณ ประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการท้าทายทัดทานกระแสการประทับตีตราสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า เป็นกลุ่มคนโฉดเขลาไร้สติปัญญาซึ่งเอาแต่ก้าวร้าวมุ่งการเผชิญหน้าในประเด็นทางด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคและประเด็นทางด้านดินแดน สาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับการประชุมในปีนี้ ดังที่สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเอาไว้โดยพาดหัวเรื่องว่า “จีนหันมาหว่านมนตร์เสน่ห์ ณ เวทีความมั่นคงภูมิภาค” (China turns on the charm at regional security forum) และระบุในเนื้อข่าวดังนี้:
“การรุกด้วยวิธีหว่านโปรยมนตร์เสน่ห์ของพวกนายทหารแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนคราวนี้ บังเกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่ถึงสัปดาห์ก่อนที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน จะพบปะหารือกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ในการประชุมซัมมิตอย่างไม่เป็นทางการ โดยที่ดูเหมือนกับจะเป็นการดำเนินตามแผนการซึ่งมุ่งลดทอนน้ำเสียงแห่งความแข็งกร้าวยืนกรานในช่วงหลังๆ มานี้ของแดนมังกรเอง ด้วยการหันไปเน้นน้ำหนักที่เรื่องการร่วมมือกันและการอภิปรายถกเถียงกัน …”
“เจ้าหน้าที่อาวุโสผู้หนึ่งของสหรัฐฯซึ่งอยู่ในคณะผู้ติดตามรัฐมนตรีกลาโหม ชัค เฮเกล ไปยังเวทีประชุมที่สิงคโปร์คราวนี้ ให้ความเห็นว่าได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่โตทีเดียวในคณะผู้แทนของฝ่ายจีน 'เมื่อปีที่แล้ว จีนมีคณะผู้แทนที่เล็กเอามากๆ เป็นคณะผู้แทนที่อยู่ในระดับค่อนข้างเป็นนายทหารอาวุโสน้อย แต่ปีนี้พวกเขามากันเป็นทีมที่แข็งแรง … และมีความกระตือรือร้นมากในการเข้าร่วมการถกเถียงอภิปรายต่างๆ” เจ้าหน้าที่ผู้นี้ระบุ “นี่เป็นเรื่องที่ดีมากๆ เรานั้นต้องการให้ทุกๆ คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กัน'”[4]
ไม่เพียงเท่านี้ แดนมังกรยังมีการแสดงท่าทีประจบเอาใจอย่างระมัดระวังตัวบางอย่างบางประการ ในประเด็นว่าด้วยความตกลงหุ้นส่วนภาคพื้นแปซิฟิก โดยปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์เหรินเหมินรึเป้า ดังนี้:
“จีนกำลังเฝ้าติดตามการพูดจาหารือว่าด้วยความตกลงหุ้นส่วนภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) และหวังว่าในการเจรจากันจะมีความโปร่งใสมากขึ้นกว่านี้ หง เหล่ย (Hong Lei) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงในวันศุกร์ (31พ.ค.)
การตั้งข้อสังเกตของ หง ในคราวนี้ บังเกิดขึ้นหลังจาก ฟรานซิสโก เจ ซานเชซ (Francisco J Sanchez) ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯฝ่ายการค้าระหว่างประเทศ (US Under Secretary of Commerce for International Trade) แถลงว่าสหรัฐฯมีความยินดีต้อนรับให้จีนเข้าร่วมใน TPP …
หงแถลงต่อไปว่า จีนนั้นมีความคิดที่เปิดกว้างเกี่ยวกับพวกข้อเสนอริเริ่มเพื่อความร่วมมือกันทั้งหลาย ซึ่งมีจุดมุ่งหมายต้องการดำเนินการให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งรุ่งเรืองร่วมกันขึ้นมาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งนี้รวมถึง TPP และ RCEP”[5]
นอกไปจากนั้น ปักกิ่งยังเอื้อนเอ่ยเสียงแห่งความรอมชอมในประเด็นปัญหาว่าด้วยเกาหลีเหนืออันแสนจะยุ่งยากรบกวนใจ โดยเป็นการเอื้อนเอ่ยด้วยวิธีการปล่อยข่าวให้รั่วไหลผ่านไปที่สำนักข่าวรอยเตอร์ สาระสำคัญของข่าวที่รั่วไหลออกมาคราวนี้ ก็คือ การที่ปักกิ่งมุ่งจะสื่อสารข้อความว่า คณะผู้นำจีนนั้นได้เล่นบทโหดเอากับผู้แทนของเกาหลีเหนือ เมื่อตอนที่เขาเดินทางไปถึงกรุงปักกิ่งในตอนปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้รายงานข่าวของรอยเตอร์พูดเอาไว้ดังนี้:
“ปักกิ่งพยายามที่จะเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวให้เปียงยางยุติการทดสอบนิวเคลียร์และขีปนาวุธของตน ...
จีนนั้นกำลังส่อแสดงให้เห็นความรู้สึกหงุดหงิดผิดหวังกับเปียงยางมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้นว่า ปักกิ่งได้หันไปเห็นดีเห็นงามกับมาตรการลงโทษใหม่ๆ ของสหประชาชาติภายหลังเปียงยางทดลองนิวเคลียร์ครั้งหลังสุดในเดือนกุมภาพันธ์ รวมทั้งพวกธนาคารจีนยังได้ลดทอนธุรกิจที่กระทำกับพวกธนาคารของเกาหลีเหนือ ซึ่งถือเป็นการเดินตามสหรัฐฯที่ได้ออกมาตรการลงโทษคว่ำบาตรธนาคารเพื่อการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแห่งสำคัญที่สุดของโสมแดง
อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯผู้หนึ่งระบุว่า ข่าวที่ว่าปักกิ่งยืนกรานให้เกาหลีเหนือยุติการทดสอบนิวเคลียร์และขีปนาวุธนี้ ดูจะสอดคล้องกับสัญญาณหลายๆ ประการในช่วงหลังๆ มานี้ที่แสดงให้เห็นว่า แดนมังกรกำลังหมดความอดทนกับเปียงยาง
“สิ่งที่ผมได้ยินจากการพูดจากกับพวกเจ้าหน้าที่จีน และจากพวกเจ้าหน้าที่อเมริกันซึ่งกำลังพูดจากับฝ่ายจีนก็คือ พวกเจ้าหน้าที่ระดับท็อปของจีนในเวลานี้ต่างเน้นย้ำว่า เป้าหมายประการสำคัญที่สุดก็คือการกำจัดโปรแกรมอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ” อดีตเจ้าหน้าที่สหรัฐฯผู้นี้กล่าว [6]
และในช่วงเวลาก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีสี เดินทางถึงสหรัฐฯเพียงสองสามวัน ก็มีรายงานข่าวชิ้นหนึ่ง ระบุเอาไว้ดังนี้:
“นักธุรกิจสหรัฐฯผู้หนึ่งซึ่งไม่สามารถเดินทางออกจากประเทศจีนมาเป็นเวลาเกือบ 5 ปี ขณะนี้เพิ่งเดินทางกลับไปถึงบ้านของเขาในสหรัฐฯแล้ว นักธุรกิจผู้นี้ซึ่งมีชื่อว่า หู จื้อเฉิง (Hu Zhicheng) ถูกกักตัวอยู่ในจีนมาตั้งแต่ปี 2008 เมื่ออดีตหุ้นส่วนธุรกิจรายหนึ่งกล่าวหาเขาว่า ทำการโจรกรรมทางการค้า...
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน หง เหล่ย แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า ที่ผ่านมา มิสเตอร์หู ถูกกักตัวไม่ให้ออกนอกประเทศจีน เนื่องจากคดีความที่ยังไม่ยุติ
“เวลานี้ สืบเนื่องจากการดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย ทำให้ได้มีการยกเลิกการกักตัวเหล่านี้ไปแล้ว การพิจารณาคดีในศาลยุติธรรมอย่างเหมาะสมก็กำลังดำเนินการกันอยู่” โฆษกผู้นี้กล่าว [7]
ความริเริ่มเหล่านี้ทั้งหลายทั้งปวง คือการเสริมเติมประดับประดาให้แก่ข้อความแห่งการขอปรองดอง ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนส่งไปยังสหรัฐอเมริกานั่นเอง
**หมายเหตุ**
[3] ดูเรื่อง Where does India stand amid changing Asia-Pacific trade dynamics?, Financial Express, April 4, 2013.
[4] ดูเรื่อง China turns on the charm at regional security forum, Reuters, June 2, 2013.
[5] ดูเรื่อง China hopes for transparent U.S.-led TPP talks, People's Daily Online, June 1, 2013.
[6] ดูเรื่อง China tried to convince North Korea to give up nuclear tests - source, Reuters, June 4, 2013.
[7] ดูเรื่อง US businessman Hu Zhicheng released from China, BBC News, June 5, 2013.
ปีเตอร์ ลี เขียนบทความว่าด้วยกิจการเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ตลอดจนความเกี่ยวเนื่องของกิจการเหล่านี้กับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ
ติดตามอ่านต่อ ตอน 3 ซึ่งเป็นตอนจบ
(ซัมมิตแคลิฟอร์เนียของ‘โอบามา-สีจิ้นผิง’และบทบาทของ‘ญี่ปุ่น’ ตอน2)
โดย ปีเตอร์ ลี
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Humble pie for Xi on Sunnylands menu
By Peter Lee
06/06/2013
พวกชาวตะวันตกที่เป็นนักวิพากษ์วิจารณ์จีน พากันคาดหมายว่าในการประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ กับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ท่ามกลางแสงแดดจ้าของมลรัฐแคลิฟอร์เนียวันที่ 7-8 มิถุนายนนี้ โอบามาไม่พ้นที่จะเสียท่าเผลอไผลหลงเสน่ห์แบบหมีแพนด้าของสี ทว่าพวกเขาน่าที่จะต้องรู้สึกเซอร์ไพรซ์กันครั้งใหญ่ทีเดียว เนื่องจาก สี ยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าในจังหวะเวลาขณะนี้ สหรัฐฯต่างหากเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนอันคลี่คลายวิวัฒนาการไปตลอดเวลา โดยที่การยอมรับเช่นนี้มีเรื่องบทบาทของ ชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีนักชาตินิยมของญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเป็นอันมาก ทั้งนี้อาเบะไม่เพียงทำท่าจะประสบความสำเร็จในการสร้างกลุ่มพันธมิตรต่อต้านจีนขึ้นในเอเชียที่มีญี่ปุ่นเป็นผู้นำ โดยได้ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, กับอินเดียเป็นผู้เดินตามเท่านั้น แต่โตเกียวยังกำลังเร่งเดินหน้าผลักดันการรวมกลุ่มทางการค้าแบบ TPP ที่กีดกันจีนออกไปนอกวง ขณะที่จะทำให้การรวมกลุ่มทางการค้าแบบ RCEP ซึ่งปักกิ่งสนับสนุนอยู่ หมดบทบาทหมดความสำคัญลงไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอน 2 *
(ต่อจากตอนแรก)
เอเชียซึ่งมีฟิลิปปินส์, เวียดนาม, และอินเดีย ที่อาจจะเดินตามการนำของญี่ปุ่นในกลุ่มพันธมิตรต่อต้านจีนนั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องความอัปยศอดสูในทางการทูต หรือมีศักยภาพ (ถึงแม้ยังคงห่างไกล) ที่จะกลายเป็นภยันตรายทางทหารต่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น
มันยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของการรวมกลุ่มทางการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 2 แบบซึ่งกำลังแข่งขันชิงชัยกันอยู่อีกด้วย กล่าวคือ แบบหนึ่งเป็นกลุ่มการค้าที่เรียกว่า “ความตกลงหุ้นส่วนภาคพื้นแปซิฟิก” (Trans Pacific Partnership ใช้อักษรย่อว่า TPP) ซึ่งมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ โดยวางเป้าหมายที่จะเป็นข้อตกลงแบบ “มาตรฐานสูง” ที่จะไม่รวมเอาสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าไว้ด้วย ส่วนการรวมกลุ่มทางการค้าอีกแบบหนึ่งซึ่งอิงอยู่กับสมาคมอาเซียนและได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากจีน เรียกขานกันว่า “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค” (Regional Comprehensive Economic Partnership ใช้อักษรย่อว่า RCEP) โดยที่ RCEP มีทัศนคติในทางเอื้ออารีต้อนรับขับสู้พวกระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสาน ตลอดจนพวกรัฐวิสาหกิจทั้งหลายมากกว่า อีกทั้งไม่ได้ถึงกับคลั่งไคล้ออกหน้าออกตาที่จะปกป้องรักษาสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญานอกดินแดนตลอดจนสิทธิทางกฎหมายต่างๆ ของพวกบรรษัทนานาชาติอย่าง TPP โดยที่ RCEP นั้นก็ไม่ได้รวมเอาสหรัฐฯเข้ามาด้วย
ญี่ปุ่นได้ฉกฉวยยึดเอา TPP มาเป็นองค์ประกอบอันสำคัญยิ่งยวดประการหนึ่ง ในยุทธศาสตร์ของตนที่จะผลักไสสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ถอยออกไปอยู่ตรงแค่ชายขอบทางด้านเศรษฐกิจ และอ้างสิทธิ์ที่จะให้แดนอาทิตย์อุทัยเองได้แสดงบทบาทเป็นแกนกลางมากยิ่งขึ้น ดังที่รายงานแสดงให้เห็นภาพภูมิหลังชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียล เอ็กซ์เพรส (Financial Express) ของอินเดีย ได้ชี้เอาไว้ดังนี้:
“ตั้งแต่จุดเริ่มต้นเลย TPP มีลักษณะเป็นมากกว่าเพียงแค่การรวมตัวเพื่อการค้าระดับภูมิภาค สหรัฐฯไม่ได้หลบเลี่ยงแถมยังปล่อยให้เป็นที่เข้าใจกันไปว่า มันเป็นการรวมตัวเพื่อตอบโต้การที่จีนกำลังมีอิทธิพลบารมีทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก ตัวอาเบะเองก็ชี้ให้เห็นว่า TPP มีผลกระทบอย่างกว้างไกลเกินเลยกว่าแค่เพียงปริมณฑลทางเศรษฐกิจ การเข้าร่วมใน TPP จะเปิดทางให้ญี่ปุ่นสามารถสร้าง “ระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ” (new economic order) ร่วมกับสหรัฐฯ เป็นการสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่ๆ และก่อให้เกิดหลักประกันเรื่องเสถียรภาพขึ้นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จุดที่สำคัญมากก็คือ อาเบะมองว่าการก่อตั้งระเบียบใหม่ดังกล่าวนี้ ตลอดจนกฎเกณฑ์อย่างใหม่ๆ ของระเบียบใหม่ดังกล่าวนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการที่จะทำให้ญี่ปุ่นเองสามารถบรรลุผลประโยชน์แห่งชาติของตนได้ เมื่อพิจารณาจากการที่ญี่ปุ่นปัจจุบันกำลังพัวพันอยู่ในการพิพาททางดินแดนกับจีนเพื่อช่วงชิงหมู่เกาะเซงกากุ การที่แดนอาทิตย์อุทัยกำลังเข้าไปร่วมอยู่ใน TPP จึงสามารถที่จะตีความได้ว่า เป็นความพยายามส่วนหนึ่งของทางฝ่ายญี่ปุ่นที่จะตอบโต้ทัดทานจีนซึ่งกำลังแสดงท่าทีแบบยืนกรานแข็งกร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ ...
ในด้านหนึ่ง การบรรจบรวมตัวกันในระดับภูมิภาคแบบที่อิงอาศัยโมเดล RCEP จะอำนวยความสะดวกให้แก่จีนในการก้าวผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจผู้มีฐานะครอบงำเอเชีย แต่ในทางตรงกันข้าม การบรรจบรวมตัวกันแบบที่ได้แรงขับดันจาก TPP จะเปิดทางให้สหรัฐฯสามารถที่จะยืนกรานกลับสถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาอำนาจผู้มีฐานะครอบงำเอเชียได้อีกคำรบหนึ่ง” [3]
เนื่องจากการทำงานภายในระดับลึกๆ ของการเจรจาภายใต้กรอบ TPP ขึ้นชื่อลือฉาวในเรื่องการไร้ความโปร่งใส มันจึงยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเสียทีเดียวว่า เมื่อญี่ปุ่นได้รับสิทธิเข้าร่วมอย่างสมบูรณ์ในการเจรจาต่างๆ ของ TPP แล้ว จะทำให้แดนอาทิตย์อุทัยถึงขนาดมีอำนาจ (ซึ่งในทางทฤษฎีก็เป็นอภิสิทธิ์ของชาติสมาชิกรายอื่นๆ เช่นเดียวกัน) ที่จะออกเสียงคัดค้านไม่ให้ผู้สมัครรายใหม่ๆ เข้าร่วมได้หรือไม่ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากยุทธศาสตร์ว่าด้วยจีนของอาเบะแล้ว ย่อมเป็นเรื่องสมเหตุสมผลทีเดียวที่จะคาดเดากะเก็งว่า หนึ่งในปัจจัยที่ญี่ปุ่นคิดคำนวณแล้วตัดสินใจที่จะเข้าร่วมการเจรจาจัดทำ TPP ขึ้นมา ย่อมได้แก่เรื่องความสามารถที่จะมีสิทธิ์มีอำนาจในการขัดขวาง ถ้าหากจีนมีแผนการที่จะขอเข้าร่วมวง TPP ในเวลาต่อไปนี่แหละ
ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ญี่ปุ่นก็ยังเป็นชาติหนึ่งที่ได้เข้าร่วมในการเจรจาหารือเพื่อจัดทำ RCEP อีกด้วย
บางทีอีกเรื่องหนึ่งที่จะกลายเป็นจุดตายได้พอๆ กันทีเดียว ถ้าหากสาธารณรัฐประชาชนมีความวาดหวังที่จะขอเข้าร่วมวง TPP ได้แก่การที่อินเดีย ก็เป็นหุ้นส่วนอีกรายหนึ่งซึ่งเข้าร่วมทั้งในการเจรจา จัดทำTPP และในการเจรจา RCEP (สภาพเช่นนี้อาจจะเนื่องมาจากการเข้ามีส่วนร่วมกับการรวมกลุ่มทั้ง 2 แบบ เป็นสิ่งที่เหมาะสมสอดคล้องกับความทะเยอทะยานของอินเดียเอง หรือไม่ก็เนื่องจากที่ตั้งอันได้เปรียบของแดนภารตะ จึงทำให้ถูกดึงเข้าสู่ทั้ง 2 วง)
ถ้าหากญี่ปุ่นกับอินเดียรวมกำลังกันเรียกร้องให้ RCEP ต้องมีมาตรฐานในระดับเดียวกันกับของ TPP แล้ว พวกเขาก็มีอิทธิพลบารมีในทางเศรษฐกิจและในทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างเพียงพอที่จะทำให้การเจรจา TPP กลายเป็นมาตรฐานในทางพฤตินัย ส่วนการเจรจา RCEP (และสาธารณรัฐประชาชนจีน) ถูกปล่อยให้แห้งเหี่ยวอับเฉาอย่างตรงชายขอบ
การผลักไสให้จีนออกมาอยู่ตรงชายขอบ และเปิดทางให้ญี่ปุ่นเข้าครอบครองฐานะแกนกลางในบรรดาชาติประชาธิปไตยที่มีอาณาเขตทางทะเลในเอเชียและมีขนาดย่อมๆ ทั้งหลาย (โดยเนื้อหาสาระแล้วก็คือ การเล่นบทบาทเป็นกบตัวใหญ่ตัวหนึ่งในบ่อน้ำที่จะต้องมีขนาดย่อมๆ ลงมา) คือสิ่งที่ให้ผลดีแก่อาเบะอย่างชัดเจน ทว่าไม่จำเป็นที่มันจะเป็นผลดีสำหรับสหรัฐฯไปด้วย ในเมื่อสหรัฐฯจะพบว่าตัวเองต้องเบียดเสียดอยู่ในบ่อน้ำขนาดเล็กลงมา (เนื่องจากจีนถูกกีดกันออกไป) โดยที่จะต้องแบ่งปันที่ทางให้แก่ญี่ปุ่นซึ่งทั้งเป็นสังคมที่แก่ชราและทั้งมีเศรษฐกิจที่โยกคลอนโงนเงน
ด้วยเงื่อนไขหลายๆ ประการในเอเชียซึ่งโน้มเอียงไปในทางที่ไม่เป็นผลดีต่อแดนมังกรดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บวกกับการที่ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายการต่างประเทศแบบเป็นเอกเทศซึ่งกำลังกัดกร่อนการอ้างฐานะความเป็นเจ้าของสหรัฐฯลงไปเรื่อยๆ เช่นนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงต้องหันมาเลือกดำเนินวิธีการ “เล่นไพ่สหรัฐฯ” และเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวสหรัฐฯให้เห็นดีเห็นงามว่า มีประโยชน์ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์อันหนักแน่นสมเหตุสมผลอย่างแน่นอน ถ้าหากจะลงมือเหนี่ยวรั้งญี่ปุ่น, ทำการตักเตือนอินเดีย, และเปิดทางให้จีนได้ประโยชน์บ้างในกรณีพิพาททางดินแดนและกรณีพิพาททางเศรษฐกิจอันมากมายที่แดนมังกรมีอยู่กับชาติอื่นๆ
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ปักกิ่งเองได้มีการเคลื่อนไหวในเชิงมุ่งสร้างความปรองดองหลายอย่างหลายประการทีเดียว เป็นต้นว่า จีนจัดส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปเข้าร่วมเทศกาลการสนทนาเรื่อยๆ เปื่อยๆ ประจำปี ของพวกรัฐมนตรีกลาโหมในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเรียกกันว่า “การสนทนาว่าด้วยความมั่นคงแชงกรีลา” ณ ประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการท้าทายทัดทานกระแสการประทับตีตราสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า เป็นกลุ่มคนโฉดเขลาไร้สติปัญญาซึ่งเอาแต่ก้าวร้าวมุ่งการเผชิญหน้าในประเด็นทางด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคและประเด็นทางด้านดินแดน สาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับการประชุมในปีนี้ ดังที่สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเอาไว้โดยพาดหัวเรื่องว่า “จีนหันมาหว่านมนตร์เสน่ห์ ณ เวทีความมั่นคงภูมิภาค” (China turns on the charm at regional security forum) และระบุในเนื้อข่าวดังนี้:
“การรุกด้วยวิธีหว่านโปรยมนตร์เสน่ห์ของพวกนายทหารแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนคราวนี้ บังเกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่ถึงสัปดาห์ก่อนที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน จะพบปะหารือกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ในการประชุมซัมมิตอย่างไม่เป็นทางการ โดยที่ดูเหมือนกับจะเป็นการดำเนินตามแผนการซึ่งมุ่งลดทอนน้ำเสียงแห่งความแข็งกร้าวยืนกรานในช่วงหลังๆ มานี้ของแดนมังกรเอง ด้วยการหันไปเน้นน้ำหนักที่เรื่องการร่วมมือกันและการอภิปรายถกเถียงกัน …”
“เจ้าหน้าที่อาวุโสผู้หนึ่งของสหรัฐฯซึ่งอยู่ในคณะผู้ติดตามรัฐมนตรีกลาโหม ชัค เฮเกล ไปยังเวทีประชุมที่สิงคโปร์คราวนี้ ให้ความเห็นว่าได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่โตทีเดียวในคณะผู้แทนของฝ่ายจีน 'เมื่อปีที่แล้ว จีนมีคณะผู้แทนที่เล็กเอามากๆ เป็นคณะผู้แทนที่อยู่ในระดับค่อนข้างเป็นนายทหารอาวุโสน้อย แต่ปีนี้พวกเขามากันเป็นทีมที่แข็งแรง … และมีความกระตือรือร้นมากในการเข้าร่วมการถกเถียงอภิปรายต่างๆ” เจ้าหน้าที่ผู้นี้ระบุ “นี่เป็นเรื่องที่ดีมากๆ เรานั้นต้องการให้ทุกๆ คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กัน'”[4]
ไม่เพียงเท่านี้ แดนมังกรยังมีการแสดงท่าทีประจบเอาใจอย่างระมัดระวังตัวบางอย่างบางประการ ในประเด็นว่าด้วยความตกลงหุ้นส่วนภาคพื้นแปซิฟิก โดยปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์เหรินเหมินรึเป้า ดังนี้:
“จีนกำลังเฝ้าติดตามการพูดจาหารือว่าด้วยความตกลงหุ้นส่วนภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) และหวังว่าในการเจรจากันจะมีความโปร่งใสมากขึ้นกว่านี้ หง เหล่ย (Hong Lei) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงในวันศุกร์ (31พ.ค.)
การตั้งข้อสังเกตของ หง ในคราวนี้ บังเกิดขึ้นหลังจาก ฟรานซิสโก เจ ซานเชซ (Francisco J Sanchez) ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯฝ่ายการค้าระหว่างประเทศ (US Under Secretary of Commerce for International Trade) แถลงว่าสหรัฐฯมีความยินดีต้อนรับให้จีนเข้าร่วมใน TPP …
หงแถลงต่อไปว่า จีนนั้นมีความคิดที่เปิดกว้างเกี่ยวกับพวกข้อเสนอริเริ่มเพื่อความร่วมมือกันทั้งหลาย ซึ่งมีจุดมุ่งหมายต้องการดำเนินการให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งรุ่งเรืองร่วมกันขึ้นมาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งนี้รวมถึง TPP และ RCEP”[5]
นอกไปจากนั้น ปักกิ่งยังเอื้อนเอ่ยเสียงแห่งความรอมชอมในประเด็นปัญหาว่าด้วยเกาหลีเหนืออันแสนจะยุ่งยากรบกวนใจ โดยเป็นการเอื้อนเอ่ยด้วยวิธีการปล่อยข่าวให้รั่วไหลผ่านไปที่สำนักข่าวรอยเตอร์ สาระสำคัญของข่าวที่รั่วไหลออกมาคราวนี้ ก็คือ การที่ปักกิ่งมุ่งจะสื่อสารข้อความว่า คณะผู้นำจีนนั้นได้เล่นบทโหดเอากับผู้แทนของเกาหลีเหนือ เมื่อตอนที่เขาเดินทางไปถึงกรุงปักกิ่งในตอนปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้รายงานข่าวของรอยเตอร์พูดเอาไว้ดังนี้:
“ปักกิ่งพยายามที่จะเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวให้เปียงยางยุติการทดสอบนิวเคลียร์และขีปนาวุธของตน ...
จีนนั้นกำลังส่อแสดงให้เห็นความรู้สึกหงุดหงิดผิดหวังกับเปียงยางมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้นว่า ปักกิ่งได้หันไปเห็นดีเห็นงามกับมาตรการลงโทษใหม่ๆ ของสหประชาชาติภายหลังเปียงยางทดลองนิวเคลียร์ครั้งหลังสุดในเดือนกุมภาพันธ์ รวมทั้งพวกธนาคารจีนยังได้ลดทอนธุรกิจที่กระทำกับพวกธนาคารของเกาหลีเหนือ ซึ่งถือเป็นการเดินตามสหรัฐฯที่ได้ออกมาตรการลงโทษคว่ำบาตรธนาคารเพื่อการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแห่งสำคัญที่สุดของโสมแดง
อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯผู้หนึ่งระบุว่า ข่าวที่ว่าปักกิ่งยืนกรานให้เกาหลีเหนือยุติการทดสอบนิวเคลียร์และขีปนาวุธนี้ ดูจะสอดคล้องกับสัญญาณหลายๆ ประการในช่วงหลังๆ มานี้ที่แสดงให้เห็นว่า แดนมังกรกำลังหมดความอดทนกับเปียงยาง
“สิ่งที่ผมได้ยินจากการพูดจากกับพวกเจ้าหน้าที่จีน และจากพวกเจ้าหน้าที่อเมริกันซึ่งกำลังพูดจากับฝ่ายจีนก็คือ พวกเจ้าหน้าที่ระดับท็อปของจีนในเวลานี้ต่างเน้นย้ำว่า เป้าหมายประการสำคัญที่สุดก็คือการกำจัดโปรแกรมอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ” อดีตเจ้าหน้าที่สหรัฐฯผู้นี้กล่าว [6]
และในช่วงเวลาก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีสี เดินทางถึงสหรัฐฯเพียงสองสามวัน ก็มีรายงานข่าวชิ้นหนึ่ง ระบุเอาไว้ดังนี้:
“นักธุรกิจสหรัฐฯผู้หนึ่งซึ่งไม่สามารถเดินทางออกจากประเทศจีนมาเป็นเวลาเกือบ 5 ปี ขณะนี้เพิ่งเดินทางกลับไปถึงบ้านของเขาในสหรัฐฯแล้ว นักธุรกิจผู้นี้ซึ่งมีชื่อว่า หู จื้อเฉิง (Hu Zhicheng) ถูกกักตัวอยู่ในจีนมาตั้งแต่ปี 2008 เมื่ออดีตหุ้นส่วนธุรกิจรายหนึ่งกล่าวหาเขาว่า ทำการโจรกรรมทางการค้า...
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน หง เหล่ย แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า ที่ผ่านมา มิสเตอร์หู ถูกกักตัวไม่ให้ออกนอกประเทศจีน เนื่องจากคดีความที่ยังไม่ยุติ
“เวลานี้ สืบเนื่องจากการดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย ทำให้ได้มีการยกเลิกการกักตัวเหล่านี้ไปแล้ว การพิจารณาคดีในศาลยุติธรรมอย่างเหมาะสมก็กำลังดำเนินการกันอยู่” โฆษกผู้นี้กล่าว [7]
ความริเริ่มเหล่านี้ทั้งหลายทั้งปวง คือการเสริมเติมประดับประดาให้แก่ข้อความแห่งการขอปรองดอง ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนส่งไปยังสหรัฐอเมริกานั่นเอง
**หมายเหตุ**
[3] ดูเรื่อง Where does India stand amid changing Asia-Pacific trade dynamics?, Financial Express, April 4, 2013.
[4] ดูเรื่อง China turns on the charm at regional security forum, Reuters, June 2, 2013.
[5] ดูเรื่อง China hopes for transparent U.S.-led TPP talks, People's Daily Online, June 1, 2013.
[6] ดูเรื่อง China tried to convince North Korea to give up nuclear tests - source, Reuters, June 4, 2013.
[7] ดูเรื่อง US businessman Hu Zhicheng released from China, BBC News, June 5, 2013.
ปีเตอร์ ลี เขียนบทความว่าด้วยกิจการเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ตลอดจนความเกี่ยวเนื่องของกิจการเหล่านี้กับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ
ติดตามอ่านต่อ ตอน 3 ซึ่งเป็นตอนจบ