(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
The real lessons from North Korea’s threats
By Chung Min Lee
12/04/2013
บางทีการข่มขู่คุกคามอย่างเร่งเร้าและดุดันของ คิม จองอึน อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า จอมพลวัยหนุ่มของเกาหลีเหนือผู้นี้ยังคงกำลังพยายามที่จะพิสูจน์ตนเองต่อเหล่านายพลของเขาเท่านั้น นี่เป็นบทเรียนประการแรกจากการแสดงท่าทียั่วยุในระลอกนี้ของเขา บทเรียนประการที่สองก็คือประวัติศาสตร์นั้นนิยมชมชอบเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, และอิสรภาพ และด้วยเหตุฉะนี้ ถ้าหาก คิม ตัดสินใจที่จะเดินไปบนทางเลือกแห่งการใช้อาวุธนิวเคลียร์แล้ว เกาหลีเหนือก็จะถึงขั้นสิ้นสูญไม่อาจดำรงคงอยู่อีกต่อไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ขณะที่ คิม จองอึน งัดเอาลูกเล่นแห่งการข่มขู่คุกคาม ออกมาวางแบเพิ่มเติมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความกระฉับกระเฉงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนอยู่นี้ ผู้คนจำนวนมากย่อมอดสงสัยไม่ได้ว่า หรือว่าเขากำลังไตร่ตรองที่จะลงมือดำเนินการยั่วยุครั้งใหญ่โตขึ้นมาจริงๆ ทั้งนี้เริ่มต้นตั้งแต่การยิงขีปนาวุธพิสัยไกลในเดือนธันวาคม 2012, การทดลองนิวเคลียร์ครั้งที่ 3 ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เพิ่งผ่านมา, การประกาศแต่เพียงฝ่ายเดียวให้ข้อตกลงหยุดยิงในสงครามเกาหลีเป็นโมฆะ, การยกเลิกโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนระหว่างฝ่ายทหารของเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้, การคุกคามที่จะใช้นิวเคลียร์โจมตีสหรัฐอเมริกา, และการปิดนิคมอุตสาหกรรมแกซอง (Kaesong Industrial Complex) ในทางพฤตินัย เปียงยางดูเหมือนกับกำลังเคลื่อนตัวอยู่บนเส้นทางแห่งความเป็นปรปักษ์ด้วยอาการเร่งเร้าและดุดัน
แต่ถ้าหาก คิม กำลังพิจารณาไตร่ตรองอยู่จริงๆ ที่จะเคลื่อนตัวไปบนหนทางการทหารอย่างจริงจังแล้ว เขาก็ควรต้องตระหนักว่าการเดินหมากเช่นนี้จะเป็นสัญญาณแสดงถึงจุดจบของ สปปก. (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ภาษาอังกฤษคือ DPRK ซึ่งย่อมาจาก Democratic People's Republic of Korea ) อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้ ไม่เพียงเพราะเนื่องจากเกาหลีใต้กับสหรัฐฯจะดำเนินการตอบโต้อย่างฉับพลันทันควันและเด็ดขาดหนักแน่นต่อการโจมตีใดๆ ของเกาหลีเหนือเท่านั้น หากแต่ยังเพราะเนื่องจากเกาหลีเหนือไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขใดๆ เลยที่จะเปิดสงคราม
คิม จองอึน และเหล่านายพลของเขาอาจจะเชื่อว่า ด้วยอาวุธนิวเคลียร์, อาวุธชีวภาพและอาวุธเคมี, กองกำลังหน่วยรบพิเศษต่างๆ, และขีปนาวุธมากกว่า 1,000 ลูก เกาหลีเหนือคือฝ่ายที่ได้เปรียบในทางยุทธศาสตร์ เรื่องนี้มีส่วนเป็นจริงอยู่เหมือนกันหากพิจารณาว่าเกาหลีเหนือที่มีอาวุธนิวเคลียร์นั้นจะต้องเป็นภัยคุกคามที่มีอันตรายร้ายแรงเป็นอย่างยิ่ง ทว่าสมรรถนะการทำสงครามอย่างเหนือชั้นของเกาหลีเหนือก็มีอันเสื่อมโทรมลงไปมากแล้วในระยะเวลาหลายๆ ปีที่ผ่านมา ทั้งด้วยสภาวการณ์ขาดแคลนอาหารและเชื้อเพลิงอย่างยืดเยื้อเรื้อรัง, การที่ระบบอาวุธอันค่อนข้างทันสมัยซึ่งได้มาจากรัสเซียและจีนกำลังทยอยทรุดโทรมลงเรื่อยๆ, ตลอดจนการที่บุคลากรทางทหารต่างมีพฤติการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นอย่างยิ่งและต่างก็เล่นการเมืองมุ่งเอาตัวรอด
ยิ่งไปกว่านั้น ในขณะที่กองทัพเกาหลีใต้สมควรแล้วที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักจากการมิได้ลงมือปฏิบัติการอย่างทันทีทันควันเพื่อตอบโต้การยั่วยุต่างๆ ของเกาหลีเหนือเมื่อปี 2010 แต่ถ้าหาก คิม เชื่อว่า พัค กึน-ฮเย (Park Guen-hye) ประธานาธิบดีคนใหม่ของเกาหลีใต้ กำลังจะโอนอ่อนยินยอมจากการข่มขู่คุกคามของเขา หรือจะนั่งนิ่งทำอะไรไม่ถูกถ้าหากเกาหลีใต้ถูกโจมตีแล้ว เขาก็ควรคิดทบทวนให้ดีอีกครั้งก่อนที่จะกดปุ่มประกาศสงคราม พัค กึน-ฮเย เป็นที่รู้จักกันในฉายาว่า “หญิงเหล็ก” แห่งเกาหลีใต้ และในขณะที่เธอมีความตั้งใจมากกว่าที่จะเข้ามีปฏิสัมพันธ์ด้วยการพูดจาหารือกับเกาหลีเหนือ ทว่า คิม ก็ควรต้องรับรู้ด้วยว่า เมื่อถึงเวลาฉุกเฉินต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดแล้ว เธอจะสามารถจ้องเขม็งจนทำให้เขาต้องเป็นฝ่ายหลบสายตาอย่างแน่นอน
ในส่วนของสหรัฐฯนั้น ถึงแม้กำลังอยู่ในภาวะถูกบีบคั้นให้ต้องตัดลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวมทั่วด้าน (sequestration) รวมทั้งยังกำลังจะต้องตัดลดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มมากขึ้นไปอีก แต่ความเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐฯกับเกาหลีใต้ก็ไม่เคยเลยที่จะอยู่ในสภาพอันแข็งแกร่งขนาดนี้มาก่อน อีกทั้ง คิม ยังควรที่จะทำความเข้าใจให้ดีว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะไม่เพียงแค่ส่งอากาศยานไร้นักบิน (โดรน) เพียงไม่กี่ลำขึ้นมาตอบโต้ ถ้าหาก คิม เปิดฉากดำเนินการโจมตีทางทหารรอบใหม่ สำหรับบุคคลผู้ซึ่งเคยแสดงให้เห็นแล้วถึงความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในการเด็ดชีพอุซามะห์ บิน ลาดิน, เป็นผู้ที่ออกคำสั่งให้เพิ่มกำลังทหารขึ้นมาอย่างฉับพลันในอัฟกานิสถาน, และได้แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของเขาในการนำพาสงครามต่อสู้การก่อการร้ายขึ้นไปสู่ระดับใหม่ บารัค โอบามา ย่อมเป็นบุคคลผู้ยากยิ่งที่จะยอมแพ้ยกธงขาว ถ้าหาก คิม เชื่อว่าประธานาธิบดีโอบามากำลังจะโทรศัพท์ติดต่อกับเขาจากห้องทำงานรูปไข่ (Oval Office) ในทำเนียบขาว เพื่อขอให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินสายสัมพันธ์อันเป็นปกติระหว่างกันในท่ามกลางวิกฤตการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในเวลานี้แล้ว เขาก็ควรยุติเลิกราการเอาแต่พึ่งพาอาศัยพวกรายงานข่าวกรองของเขา ซึ่งหว่านโปรยไปด้วยคำพยากรณ์ทายทักว่าอีกไม่นานเท่าใดวอชิงตันก็จะกวัดแกว่งหางยอมโอนอ่อนขอญาติดีด้วยแล้ว
ท้ายที่สุด อุปสรรคประการหลังสุดและสำคัญที่สุดที่ คิม จะต้องก้าวข้ามไปให้ได้ก่อนที่เขาจะสามารถเปิดฉากดำเนินการโจมตีทางทหารอย่างจริงจังใดๆ ขึ้นมา ก็คือ “กำแพงใหญ่” ของจีน ซึ่งปรากฏออกมาเป็นบุคคลตัวเป็นๆ ในประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สำหรับ สี และคณะกรรมการการทหารส่วนกลางที่เพิ่งแต่งตั้งกันขึ้นมาใหม่ของแดนมังกรแล้ว ภาพสมมุติสถานการณ์ที่ถือเป็นฝันร้ายที่สุดก็คือการยอมปล่อยให้ คิม ดำเนินการเสี่ยงภัยทางทหารที่มีแต่สร้างความพินาศย่อยยับ ขณะที่อดีตประธานาธิบดีหู จิ่นเทา มีบุคลิกลักษณะแบบลอยตัวมากกว่า และถอยห่างยิ่งกว่าจากการปฏิบัติการต่างๆ ของฝ่ายทหาร สายสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่ประธานาธิบดีสี มีอยู่กับกองทัพปลดแอกประชาชนจีน รวมทั้งการที่เขามีความรอบรู้อันลึกซึ้งยิ่งกว่าเกี่ยวกับนโยบายทางการทหาร ย่อมหมายความว่าเขาน่าที่จะรักษาการติดตามและการเฝ้าระวังกิจกรรมความเคลื่อนไหวต่างๆ ของกองทัพประชาชนเกาหลี (Korean People's Army หรือ KPA กองทัพเกาหลีเหนือ ) เอาไว้ ด้วยความใกล้ชิดรัดกุมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ
ถ้าหาก คิม เปิดฉากดำเนินการโจมตีอีกคำรบหนึ่ง ในทำนองเดียวกับการใช้เรือดำน้ำขนาดเล็กแอบยิงตอร์ปิโดจมเรือรบ “โชนัน” (Cheonan) ของกองทัพเรือเกาหลีใต้ในเดือนเมษายน 2012 และการใช้ปืนใหญ่และจรวดถล่มโจมตีเกาะยอนพะยอง (Yeonpyong Island) ในเดือนธันวาคม 2012 แล้ว ประธานาธิบดีสีไม่น่าที่จะนั่งดูอยู่เฉยๆ และไม่ใช่เป็นเพราะ สี มีความนิยมฝักใฝ่เกาหลีใต้อย่างเด่นชัดยิ่งกว่าผู้ครองตำแหน่งนี้คนก่อนๆ หน้าเขา หากแต่เนื่องจากเขาจะไม่มองอีกต่อไปแล้วว่าเกาหลีเหนือเป็นทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ นั่นก็คือ เป็นพื้นที่กันชนระหว่างแดนมังกรกับเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ทว่ากลับมองเห็นเป็นหนี้สินเครื่องฉุดรั้งทางยุทธศาสตร์ที่อาจส่งผลกระทบให้ยุทธศาสตร์ว่าด้วยเอเชียของจีนเองต้องมีอันล้มคว่ำคะมำหงายไปเลย ในเวลาที่ สี กำลังเริ่มต้นการรวมศูนย์อำนาจให้อยู่ในมือของเขาอย่างขะมักเขม้นอยู่นี้ (เพื่อบันทึกเอาไว้ให้เป็นหลักฐานปรากฏ ควรที่จะอ้างอิงไว้ในที่นี้ว่า ตามการบอกเล่าของแหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดีหลายๆ ราย เพียงไม่นานหลังจากเกิดเหตุการณ์โจมตีเรือรบโชนันในปี 2010 รัฐบาลจีนก็ได้รับข่าวกรองอันหนักแน่นชนิดโต้เถียงไม่ได้ว่าหน่วยงานใดของเกาหลีเหนือเป็นผู้ดำเนินการโจมตีคราวนั้น ทว่าตัดสินใจที่จะไม่กดดันเปียงยาง หรือไปเข้าข้างเกาหลีใต้และประชาคมนานาชาติในการประณามโสมแดง)
ความเป็นพันธมิตรกันระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือนั้น หล่อหลอมขึ้นมาในท่ามกลางความตึงเครียดของสงครามเกาหลี ประธานเหมา เจ๋อตง ได้จัดส่ง “กองกำลังอาสาสมัครประชาชน” เข้าไปในสงครามคราวนั้นด้วยเหตุผล 3 ประการ อันได้แก่ ความหวาดผวาต่อการที่เกาหลีเหนือจะกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทางการทหารเมื่อเผชิญกับการเข้าแทรกแซงอย่างไม่คาดหมายของสหรัฐฯ, การมุ่งกีดกันขัดขวางไม่ให้เกิดประเทศเกาหลีที่รวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีความผูกพันอย่างเหนียวแน่นกับค่ายตะวันตก, และการเข้าทำสงครามในต่างแดนเพื่อกระตุ้นเพิ่มพูนความสนับสนุนภายในแดนมังกรต่อระบอบปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เวลานั้นยังอยู่ในช่วงเพิ่งเป็นทารกแบเบาะ
หลังจากศึกเกาหลียุติลง ตลอดช่วงถัดมาของยุคสมัยแห่งสงครามเย็น คณะผู้นำจีนยังคงเลือกที่จะค้ำจุนเปียงยางด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ ทั้งเพื่อให้เกาหลีเหลือเป็นกันชนคอยคั่นระหว่างแดนมังกรกับเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, และสหรัฐฯ ทั้งเพื่อให้โสมแดงคอยเป็นตัวถ่วงน้ำหนักที่จำเป็น (ถึงแม้สุดแสนจะจู้จี้เอาแต่ใจ) ในการพิพาทระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต และทั้งเพื่อแสดงออกซึ่งภราดรภาพแบบชาวสังคมนิยมที่หล่อหลอมขึ้นมาจากความผูกพันในการสู้รบหลั่งเลือดมาร่วมกัน อย่างไรก็ดี ในทุกวันนี้ เหตุผลทั้ง 3 ประการนี้กำลังถูกบดบังด้วยความเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานหลายๆ ด้าน
คุณค่าในฐานะเป็นพื้นที่กันชนสืบเนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเกาหลีเหนือเอง อาจจะดูเลิศล้ำเมื่อตอนที่จีนยังคงอ่อนแอและแตกแยกเป็นเสี่ยงๆ สืบเนื่องจากความเคลื่อนไหวมวลชนภายในแดนมังกรที่เรียกกันว่า “การก้าวกระโดดใหญ่” และ “การปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม” แต่ในทุกวันนี้ ประเทศจีนซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองและมีเสถียรภาพในระยะยาว ย่อมมองไม่เห็นเหตุผลอะไรนักที่จะต้องพึ่งพาคอยเอาอกเอาใจเกาหลีเหนือ --หนึ่งในประเทศซึ่งยากจนที่สุด, โดดเดี่ยวที่สุด, และอันตรายที่สุดของโลก
ชุง มิน ลี (cmlee@yonsei.ac.kr) เป็นศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของบัณฑิตวิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษา (Graduate School of International Studies) มหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University)
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
The real lessons from North Korea’s threats
By Chung Min Lee
12/04/2013
บางทีการข่มขู่คุกคามอย่างเร่งเร้าและดุดันของ คิม จองอึน อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า จอมพลวัยหนุ่มของเกาหลีเหนือผู้นี้ยังคงกำลังพยายามที่จะพิสูจน์ตนเองต่อเหล่านายพลของเขาเท่านั้น นี่เป็นบทเรียนประการแรกจากการแสดงท่าทียั่วยุในระลอกนี้ของเขา บทเรียนประการที่สองก็คือประวัติศาสตร์นั้นนิยมชมชอบเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, และอิสรภาพ และด้วยเหตุฉะนี้ ถ้าหาก คิม ตัดสินใจที่จะเดินไปบนทางเลือกแห่งการใช้อาวุธนิวเคลียร์แล้ว เกาหลีเหนือก็จะถึงขั้นสิ้นสูญไม่อาจดำรงคงอยู่อีกต่อไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ขณะที่ คิม จองอึน งัดเอาลูกเล่นแห่งการข่มขู่คุกคาม ออกมาวางแบเพิ่มเติมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความกระฉับกระเฉงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนอยู่นี้ ผู้คนจำนวนมากย่อมอดสงสัยไม่ได้ว่า หรือว่าเขากำลังไตร่ตรองที่จะลงมือดำเนินการยั่วยุครั้งใหญ่โตขึ้นมาจริงๆ ทั้งนี้เริ่มต้นตั้งแต่การยิงขีปนาวุธพิสัยไกลในเดือนธันวาคม 2012, การทดลองนิวเคลียร์ครั้งที่ 3 ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เพิ่งผ่านมา, การประกาศแต่เพียงฝ่ายเดียวให้ข้อตกลงหยุดยิงในสงครามเกาหลีเป็นโมฆะ, การยกเลิกโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนระหว่างฝ่ายทหารของเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้, การคุกคามที่จะใช้นิวเคลียร์โจมตีสหรัฐอเมริกา, และการปิดนิคมอุตสาหกรรมแกซอง (Kaesong Industrial Complex) ในทางพฤตินัย เปียงยางดูเหมือนกับกำลังเคลื่อนตัวอยู่บนเส้นทางแห่งความเป็นปรปักษ์ด้วยอาการเร่งเร้าและดุดัน
แต่ถ้าหาก คิม กำลังพิจารณาไตร่ตรองอยู่จริงๆ ที่จะเคลื่อนตัวไปบนหนทางการทหารอย่างจริงจังแล้ว เขาก็ควรต้องตระหนักว่าการเดินหมากเช่นนี้จะเป็นสัญญาณแสดงถึงจุดจบของ สปปก. (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ภาษาอังกฤษคือ DPRK ซึ่งย่อมาจาก Democratic People's Republic of Korea ) อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้ ไม่เพียงเพราะเนื่องจากเกาหลีใต้กับสหรัฐฯจะดำเนินการตอบโต้อย่างฉับพลันทันควันและเด็ดขาดหนักแน่นต่อการโจมตีใดๆ ของเกาหลีเหนือเท่านั้น หากแต่ยังเพราะเนื่องจากเกาหลีเหนือไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขใดๆ เลยที่จะเปิดสงคราม
คิม จองอึน และเหล่านายพลของเขาอาจจะเชื่อว่า ด้วยอาวุธนิวเคลียร์, อาวุธชีวภาพและอาวุธเคมี, กองกำลังหน่วยรบพิเศษต่างๆ, และขีปนาวุธมากกว่า 1,000 ลูก เกาหลีเหนือคือฝ่ายที่ได้เปรียบในทางยุทธศาสตร์ เรื่องนี้มีส่วนเป็นจริงอยู่เหมือนกันหากพิจารณาว่าเกาหลีเหนือที่มีอาวุธนิวเคลียร์นั้นจะต้องเป็นภัยคุกคามที่มีอันตรายร้ายแรงเป็นอย่างยิ่ง ทว่าสมรรถนะการทำสงครามอย่างเหนือชั้นของเกาหลีเหนือก็มีอันเสื่อมโทรมลงไปมากแล้วในระยะเวลาหลายๆ ปีที่ผ่านมา ทั้งด้วยสภาวการณ์ขาดแคลนอาหารและเชื้อเพลิงอย่างยืดเยื้อเรื้อรัง, การที่ระบบอาวุธอันค่อนข้างทันสมัยซึ่งได้มาจากรัสเซียและจีนกำลังทยอยทรุดโทรมลงเรื่อยๆ, ตลอดจนการที่บุคลากรทางทหารต่างมีพฤติการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นอย่างยิ่งและต่างก็เล่นการเมืองมุ่งเอาตัวรอด
ยิ่งไปกว่านั้น ในขณะที่กองทัพเกาหลีใต้สมควรแล้วที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักจากการมิได้ลงมือปฏิบัติการอย่างทันทีทันควันเพื่อตอบโต้การยั่วยุต่างๆ ของเกาหลีเหนือเมื่อปี 2010 แต่ถ้าหาก คิม เชื่อว่า พัค กึน-ฮเย (Park Guen-hye) ประธานาธิบดีคนใหม่ของเกาหลีใต้ กำลังจะโอนอ่อนยินยอมจากการข่มขู่คุกคามของเขา หรือจะนั่งนิ่งทำอะไรไม่ถูกถ้าหากเกาหลีใต้ถูกโจมตีแล้ว เขาก็ควรคิดทบทวนให้ดีอีกครั้งก่อนที่จะกดปุ่มประกาศสงคราม พัค กึน-ฮเย เป็นที่รู้จักกันในฉายาว่า “หญิงเหล็ก” แห่งเกาหลีใต้ และในขณะที่เธอมีความตั้งใจมากกว่าที่จะเข้ามีปฏิสัมพันธ์ด้วยการพูดจาหารือกับเกาหลีเหนือ ทว่า คิม ก็ควรต้องรับรู้ด้วยว่า เมื่อถึงเวลาฉุกเฉินต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดแล้ว เธอจะสามารถจ้องเขม็งจนทำให้เขาต้องเป็นฝ่ายหลบสายตาอย่างแน่นอน
ในส่วนของสหรัฐฯนั้น ถึงแม้กำลังอยู่ในภาวะถูกบีบคั้นให้ต้องตัดลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวมทั่วด้าน (sequestration) รวมทั้งยังกำลังจะต้องตัดลดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มมากขึ้นไปอีก แต่ความเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐฯกับเกาหลีใต้ก็ไม่เคยเลยที่จะอยู่ในสภาพอันแข็งแกร่งขนาดนี้มาก่อน อีกทั้ง คิม ยังควรที่จะทำความเข้าใจให้ดีว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะไม่เพียงแค่ส่งอากาศยานไร้นักบิน (โดรน) เพียงไม่กี่ลำขึ้นมาตอบโต้ ถ้าหาก คิม เปิดฉากดำเนินการโจมตีทางทหารรอบใหม่ สำหรับบุคคลผู้ซึ่งเคยแสดงให้เห็นแล้วถึงความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในการเด็ดชีพอุซามะห์ บิน ลาดิน, เป็นผู้ที่ออกคำสั่งให้เพิ่มกำลังทหารขึ้นมาอย่างฉับพลันในอัฟกานิสถาน, และได้แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของเขาในการนำพาสงครามต่อสู้การก่อการร้ายขึ้นไปสู่ระดับใหม่ บารัค โอบามา ย่อมเป็นบุคคลผู้ยากยิ่งที่จะยอมแพ้ยกธงขาว ถ้าหาก คิม เชื่อว่าประธานาธิบดีโอบามากำลังจะโทรศัพท์ติดต่อกับเขาจากห้องทำงานรูปไข่ (Oval Office) ในทำเนียบขาว เพื่อขอให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินสายสัมพันธ์อันเป็นปกติระหว่างกันในท่ามกลางวิกฤตการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในเวลานี้แล้ว เขาก็ควรยุติเลิกราการเอาแต่พึ่งพาอาศัยพวกรายงานข่าวกรองของเขา ซึ่งหว่านโปรยไปด้วยคำพยากรณ์ทายทักว่าอีกไม่นานเท่าใดวอชิงตันก็จะกวัดแกว่งหางยอมโอนอ่อนขอญาติดีด้วยแล้ว
ท้ายที่สุด อุปสรรคประการหลังสุดและสำคัญที่สุดที่ คิม จะต้องก้าวข้ามไปให้ได้ก่อนที่เขาจะสามารถเปิดฉากดำเนินการโจมตีทางทหารอย่างจริงจังใดๆ ขึ้นมา ก็คือ “กำแพงใหญ่” ของจีน ซึ่งปรากฏออกมาเป็นบุคคลตัวเป็นๆ ในประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สำหรับ สี และคณะกรรมการการทหารส่วนกลางที่เพิ่งแต่งตั้งกันขึ้นมาใหม่ของแดนมังกรแล้ว ภาพสมมุติสถานการณ์ที่ถือเป็นฝันร้ายที่สุดก็คือการยอมปล่อยให้ คิม ดำเนินการเสี่ยงภัยทางทหารที่มีแต่สร้างความพินาศย่อยยับ ขณะที่อดีตประธานาธิบดีหู จิ่นเทา มีบุคลิกลักษณะแบบลอยตัวมากกว่า และถอยห่างยิ่งกว่าจากการปฏิบัติการต่างๆ ของฝ่ายทหาร สายสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่ประธานาธิบดีสี มีอยู่กับกองทัพปลดแอกประชาชนจีน รวมทั้งการที่เขามีความรอบรู้อันลึกซึ้งยิ่งกว่าเกี่ยวกับนโยบายทางการทหาร ย่อมหมายความว่าเขาน่าที่จะรักษาการติดตามและการเฝ้าระวังกิจกรรมความเคลื่อนไหวต่างๆ ของกองทัพประชาชนเกาหลี (Korean People's Army หรือ KPA กองทัพเกาหลีเหนือ ) เอาไว้ ด้วยความใกล้ชิดรัดกุมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ
ถ้าหาก คิม เปิดฉากดำเนินการโจมตีอีกคำรบหนึ่ง ในทำนองเดียวกับการใช้เรือดำน้ำขนาดเล็กแอบยิงตอร์ปิโดจมเรือรบ “โชนัน” (Cheonan) ของกองทัพเรือเกาหลีใต้ในเดือนเมษายน 2012 และการใช้ปืนใหญ่และจรวดถล่มโจมตีเกาะยอนพะยอง (Yeonpyong Island) ในเดือนธันวาคม 2012 แล้ว ประธานาธิบดีสีไม่น่าที่จะนั่งดูอยู่เฉยๆ และไม่ใช่เป็นเพราะ สี มีความนิยมฝักใฝ่เกาหลีใต้อย่างเด่นชัดยิ่งกว่าผู้ครองตำแหน่งนี้คนก่อนๆ หน้าเขา หากแต่เนื่องจากเขาจะไม่มองอีกต่อไปแล้วว่าเกาหลีเหนือเป็นทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ นั่นก็คือ เป็นพื้นที่กันชนระหว่างแดนมังกรกับเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ทว่ากลับมองเห็นเป็นหนี้สินเครื่องฉุดรั้งทางยุทธศาสตร์ที่อาจส่งผลกระทบให้ยุทธศาสตร์ว่าด้วยเอเชียของจีนเองต้องมีอันล้มคว่ำคะมำหงายไปเลย ในเวลาที่ สี กำลังเริ่มต้นการรวมศูนย์อำนาจให้อยู่ในมือของเขาอย่างขะมักเขม้นอยู่นี้ (เพื่อบันทึกเอาไว้ให้เป็นหลักฐานปรากฏ ควรที่จะอ้างอิงไว้ในที่นี้ว่า ตามการบอกเล่าของแหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดีหลายๆ ราย เพียงไม่นานหลังจากเกิดเหตุการณ์โจมตีเรือรบโชนันในปี 2010 รัฐบาลจีนก็ได้รับข่าวกรองอันหนักแน่นชนิดโต้เถียงไม่ได้ว่าหน่วยงานใดของเกาหลีเหนือเป็นผู้ดำเนินการโจมตีคราวนั้น ทว่าตัดสินใจที่จะไม่กดดันเปียงยาง หรือไปเข้าข้างเกาหลีใต้และประชาคมนานาชาติในการประณามโสมแดง)
ความเป็นพันธมิตรกันระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือนั้น หล่อหลอมขึ้นมาในท่ามกลางความตึงเครียดของสงครามเกาหลี ประธานเหมา เจ๋อตง ได้จัดส่ง “กองกำลังอาสาสมัครประชาชน” เข้าไปในสงครามคราวนั้นด้วยเหตุผล 3 ประการ อันได้แก่ ความหวาดผวาต่อการที่เกาหลีเหนือจะกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทางการทหารเมื่อเผชิญกับการเข้าแทรกแซงอย่างไม่คาดหมายของสหรัฐฯ, การมุ่งกีดกันขัดขวางไม่ให้เกิดประเทศเกาหลีที่รวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีความผูกพันอย่างเหนียวแน่นกับค่ายตะวันตก, และการเข้าทำสงครามในต่างแดนเพื่อกระตุ้นเพิ่มพูนความสนับสนุนภายในแดนมังกรต่อระบอบปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เวลานั้นยังอยู่ในช่วงเพิ่งเป็นทารกแบเบาะ
หลังจากศึกเกาหลียุติลง ตลอดช่วงถัดมาของยุคสมัยแห่งสงครามเย็น คณะผู้นำจีนยังคงเลือกที่จะค้ำจุนเปียงยางด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ ทั้งเพื่อให้เกาหลีเหลือเป็นกันชนคอยคั่นระหว่างแดนมังกรกับเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, และสหรัฐฯ ทั้งเพื่อให้โสมแดงคอยเป็นตัวถ่วงน้ำหนักที่จำเป็น (ถึงแม้สุดแสนจะจู้จี้เอาแต่ใจ) ในการพิพาทระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต และทั้งเพื่อแสดงออกซึ่งภราดรภาพแบบชาวสังคมนิยมที่หล่อหลอมขึ้นมาจากความผูกพันในการสู้รบหลั่งเลือดมาร่วมกัน อย่างไรก็ดี ในทุกวันนี้ เหตุผลทั้ง 3 ประการนี้กำลังถูกบดบังด้วยความเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานหลายๆ ด้าน
คุณค่าในฐานะเป็นพื้นที่กันชนสืบเนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเกาหลีเหนือเอง อาจจะดูเลิศล้ำเมื่อตอนที่จีนยังคงอ่อนแอและแตกแยกเป็นเสี่ยงๆ สืบเนื่องจากความเคลื่อนไหวมวลชนภายในแดนมังกรที่เรียกกันว่า “การก้าวกระโดดใหญ่” และ “การปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม” แต่ในทุกวันนี้ ประเทศจีนซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองและมีเสถียรภาพในระยะยาว ย่อมมองไม่เห็นเหตุผลอะไรนักที่จะต้องพึ่งพาคอยเอาอกเอาใจเกาหลีเหนือ --หนึ่งในประเทศซึ่งยากจนที่สุด, โดดเดี่ยวที่สุด, และอันตรายที่สุดของโลก
ชุง มิน ลี (cmlee@yonsei.ac.kr) เป็นศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของบัณฑิตวิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษา (Graduate School of International Studies) มหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University)
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)