(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
The real lessons from North Korea’s threats
By Chung Min Lee
12/04/2013
บางทีการข่มขู่คุกคามอย่างเร่งเร้าและดุดันของ คิม จองอึน อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า จอมพลวัยหนุ่มของเกาหลีเหนือผู้นี้ยังคงกำลังพยายามที่จะพิสูจน์ตนเองต่อเหล่านายพลของเขาเท่านั้น นี่เป็นบทเรียนประการแรกจากการแสดงท่าทียั่วยุในระลอกนี้ของเขา บทเรียนประการที่สองก็คือประวัติศาสตร์นั้นนิยมชมชอบเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, และอิสรภาพ และด้วยเหตุฉะนี้ ถ้าหาก คิม ตัดสินใจที่จะเดินไปบนทางเลือกแห่งการใช้อาวุธนิวเคลียร์แล้ว เกาหลีเหนือก็จะถึงขั้นสิ้นสูญไม่อาจดำรงคงอยู่อีกต่อไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถ้าหากเกาหลีเหนือเคยเป็นทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์สำหรับจีนในช่วงเวลาแห่งยุคสงครามเย็น ราชวงศ์คิมซึ่งเป็นราชวงศ์เผด็จการเบ็ดเสร็จที่ยังหลงเหลืออยู่ในโลกรายนี้ ก็กำลังกลายเป็นหนี้สินตัวถ่วงสำหรับจีนไปแล้วอย่างรวดเร็ว ขอให้ลองพิจารณาดูจากข้อเท็จจริงที่ว่า การค้าขายที่โซลทำกับปักกิ่งนั้นคาดหมายกันว่าจะพุ่งขึ้นไปแตะระดับ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปีภายในปี 2015 ทว่าเวลาเดียวกันนั้นเปียงยางกลับยังคงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากจีนอย่างชนิดที่ถ้าขาดหายไปก็ถึงขั้นจะเป็นจะตายขึ้นมาทีเดียว สิ่งที่ดูเหมือนเป็นตลกร้ายและน่ารบกวนใจก็คือ เกาหลีเหนือกลับตอบแทนไมตรีจิตมิตรภาพและสนองความสนับสนุนทางเศรษฐกิจของฝ่ายจีนด้วยการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาและทดสอบน้ำอดน้ำทนของจีนอย่างสุดฤทธิ์สุดเดชจนถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งสำหรับอารยธรรมซึ่งเป็นผู้บากบั่นสร้างกำแพงยักษ์อันยาวเหยียดขึ้นมา ก็ยังมีขอบเขตจำกัดสำหรับการแบ่งปันการเจือจานทางการเมืองที่ดูเหมือนกับไม่มีจุดสิ้นสุดเสียทีเช่นนี้
หากยกเว้นไม่นับเรื่องอาวุธทำลายร้ายแรงที่โสมแดงมีอยู่ในครอบครองแล้ว เกาหลีเหนือก็คือรัฐที่ล้มเหลวซึ่งประสบความล้มละลายทางศีลธรรม, เศรษฐกิจก็ทรุดโทรม, และอยู่ในสภาพโดดเดี่ยวทางการเมือง คิม จองอึนนั้นมีความเชื่ออย่างถูกต้องแล้วที่ว่า จากการที่เขาก้าวผงาดขึ้นสู่อำนาจโดยปราศจากการฝึกฝนอบรมด้านการทหารอย่างเป็นทางการตลอดจนขาดไร้ประสบการณ์ที่สามารถทดแทนกันได้ใดๆ ทั้งสิ้น เขาจึงต้องสาธิตเกียรติภูมิความน่าเชื่อถือทางการทหารของตัวเขาเองให้เป็นที่ประจักษ์แก่สถาบันชั้นนำซึ่งเป็นผู้ที่ประคับประคองตัวเขาให้คงอยู่ในอำนาจ อันได้แก่ กองทัพประชาชนเกาหลี (KPA)นั่นเอง คิม จองอึน ก็เฉกเช่นเดียวกับ คิม จองอิล ผู้บิดาของเขา ตลอดจน คิม อิลซุง ผู้เป็นปู่ของเขา ทีต่างก็ตอกตรึงตนเองเอาไว้กับกองทัพโสมแดง อย่างไรก็ดี ความแตกต่างที่สำคัญมากอยู่ตรงที่ว่า กองทัพประชาชนเกาหลีนั้นให้ความเคารพยำเกรงราชวงศ์คิมอย่างที่สุดในยุคของคิม อิลซุง หลังจากนั้นความยอมรับนับถือก็ลดน้อยถอยลงมาเป็นลำดับ
ในยุคของคิม จองอิล กองทัพประชาชนเกาหลี ได้รับผลประโยชน์อันสำคัญๆ จากการให้ความสนับสนุนต่อบุตรของคิม อิลซุง ผู้นี้ เป็นต้นว่า การได้สิทธิในการดำเนินการด้านเงินตราสกุลแข็งของกองทัพเอง, การได้รับจัดสรรทรัพยากรต่างๆ สำหรับใช้ในโครงการอาวุธนิวเคลียร์, และ นโยบาย “การทหารมาก่อนเป็นอันดับหนึ่ง” ซึ่งเริ่มที่จะบดบังอำนาจและอภิสิทธิ์ต่างๆ ของพรรคผู้ใช้แรงงานเกาหลี (ชื่ออย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ) ครั้นเมื่อถึงตอนที่ คิม จองอิล ดำเนินการเร่งรัดให้ คิม จองอึน ก้าวขึ้นครองอำนาจโดยด่วน ภายหลังที่ตัวเขาเองล้มป่วยหนักด้วยอาการโรคหลอดเลือดสมองเมื่อช่วงฤดูร้อนของปี 2008 นั้น คณะผู้นำของกองทัพประชาชนเกาหลียินยอมเห็นดีเห็นงามด้วยก็เพียงเนื่องจากไม่มีใครเลยในหมู่พวกเขาที่สามารถแข่งขันเรื่องอิทธิพลบารมี และ “ความชอบธรรม” กับราชวงศ์คิมได้ หาใช่เป็นเพราะพวกเขาเชื่อถือในคุณสมบัติความเป็นผู้นำประการต่างๆ ที่แฝงฝังอยู่ในตัวคิม จองอึน แต่อย่างใดไม่
สิ่งที่ คิม อิลซุง และ คิม จองอิล สร้างขึ้นมาโดยไม่เจตนาก็คือ กองทัพซึ่งมีภารกิจใจกลางอยู่ที่การธำรงรักษาราชวงศ์คิมเอาไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ยศทางทหารและคำเรียกขานอย่างเป็นทางการของคิม จองอึน ที่ว่า “จอมพลหนุ่ม” (Young Marshall) จึงส่อไปในทางการเป็นประมุขในนาม มากกว่าบุคคลผู้ที่เป็นประมุขทรงอำนาจอันแท้จริง
เป็นด้วยจุดอ่อนฉกาจฉกรรจ์ข้อนี้เองซึ่งเป็นชนวนทำให้ คิม จองอึน ต้องลงมือกระทำการต่างๆ ด้วยความท้าทายแข็งกร้าวยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ในสายตาของฝ่ายทหารเกาหลีเหนือนั้น คิม อิลซุงคือผู้นำทางทหารที่แท้จริงเพียงคนเดียวของราชวงศ์คิม เนื่องจากเขามีเกียรติประวัติในด้านการปฏิวัติและได้เคยสู้รบในสงครามกับเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา โดยได้รับความเสียหายและความสูญเสียพอๆ กับศึกคราวนั้น ขณะที่ คิม จองอิล แม้ไม่เคยผ่านประสบการณ์ในสมรภูมิแบบที่บิดาของเขาเคยประสบ เขาก็ได้ใช้ความพยายามอย่างหนักที่จะสร้างเขี้ยวเล็บทางทหารของตนเองขึ้นมาด้วยการวางแผนการก่อการโจมตีแบบก่อการร้ายครั้งสำคัญๆ หลายครั้ง เป็นต้นว่า การโจมตีด้วยระเบิดที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่าในปี 1983 ซึ่งสังหารผลาญชีวิตสมาชิกจำนวน 18 คนในคณะผู้ติดตามของ ชุน ดูฮวาน ผู้เป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในเวลานั้น ตลอดจนการระเบิดเครื่องบินโดยสารของสายการบินเกาหลีใต้ในปี 1987 ซึ่งผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องทั้ง 115 คนเสียชีวิตหมด
การโจมตีเรือรบโชนัน และการยิงถล่มเกาะยอนพะยอง ที่ต่างก็เกิดขึ้นในปี 2010 นั้น ได้รับการเอออวยอยู่เหมือนกันว่าเป็นฝีมือการวางแผนและการบงการของคิม จองอึน แต่เนื่องจากการโจมตีเหล่านี้บังเกิดขึ้นในตอนที่คิม จองอิล ยังคงมีชีวิตอยู่ ท่านจอมพลหนุ่มจึงยังไม่ได้แสดงเกียรติภูมิความน่าเชื่อถือทางทหารของตนเองออกมาให้เป็นที่เห็นประจักษ์อย่างแท้จริง
นี่เองเป็นเหตุผลที่ทำไมพวกกลไกโฆษณาชวนเชื่อของเกาหลีเหนือจึงกำลังทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดรู้จักเหนื่อยในการพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า คิม เป็นอัจฉริยะทางการทหารทุกกระเบียดนิ้วพอๆ กับบรรพชนของเขา ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอแสดงให้เห็นคณะผู้นำอาวุโสของกองทัพประชาชนเกาหลีกำลังทำท่าประจบประแจงขณะได้รับคำสั่งต่างๆ จากท่านจอมพลหนุ่ม, พากันจดคำชี้แนะทางทหารในขณะที่เขาออกไปตรวจงานภาคสนาม, และแสดงการเยินยอซาบซึ้งในความเฉียบแหลมทางการทหารของเขา ต่างก็ชวนให้เราหวนระลึกไปถึงพวกนายพลของซัดดัม ฮุสเซน ผู้ซึ่งยกย่องสรรเสริญเขาว่าเป็น พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกลับชาติมาเกิดใหม่ทีเดียว
คิมได้เดินเข้าไปในกับดักที่ตนเองเป็นผู้วางเอาไว้ อันได้แก่กับดักแห่งการที่ตัวเขาเองจะต้องแสดงให้ประชาชนของเขาและเหล่านายพลของเขายอมรับว่า เขาสมควรจริงๆ ที่จะได้รับการอวยยศเป็นท่านจอมพลหนุ่มผู้ซึ่งสามารถที่จะนำพาประเทศชาติของเขาให้ก้าวขึ้นไปสู่จุดสูงใหม่ๆ ด้วยการกวัดแกว่งดาบที่เขาถือเอาไว้ในมือ และด้วยการแสดงความกล้าท้าทายให้เกาหลีใต้, สหรัฐฯ, จีน, และญี่ปุ่น เข้ามาเล่นงานเขาให้ได้ คิมอาจจะรู้สึกเหล่านี้จะทำให้เขาสามารถสร้างเกียรติประวัติทางทหารของตนเองขึ้นมา ถึงแม้เขาจะผ่านช่วงเวลาที่เป็นวัยรุ่นในโรงเรียนประจำอันพิเศษสุดที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และใช้ชีวิตเปรียบประดุจเทพเจ้าในทางพฤตินัย ซึ่งไม่เหมือนกับเพื่อนร่วมชาติส่วนใหญ่ที่สุดของเขาที่ต้องมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัวและความหิวโหย
แต่ก็อย่างที่ คาร์ล ฟอน เคลาเซวิตซ์ (Carl von Clausewitz) นักยุทธศาสตร์การทหารลือนามได้เคยเตือนใจเราเอาไว้ว่า “กิจกรรมอันสลับซับซ้อนใดๆ ก็ตามที ถ้าหากจักสามารถดำเนินการไปด้วยความเชี่ยวชาญชำนาญการเป็นพิเศษในระดับใดๆ แล้ว ย่อมต้องเรียกร้องพรสวรรค์แห่งสติปัญญาและพรสวรรค์แห่งภาวะทางจิตใจ ถ้าหากมันออกมาอย่างมีความโดดเด่นและเปิดเผยตนเองในความสำเร็จอันหาได้ยากยิ่งด้วยแล้ว ผู้เป็นเจ้าของพรสวรรค์นี้ก็สมควรที่จะได้รับการเรียกขานว่าเป็น ‘อัจฉริยะ’” คำกล่าวของเคลาเซวิตซ์นี้ได้เขียนเอาไว้ตั้งแต่เมื่อเกือบๆ 200 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก คิม จองอึน นั้น ไม่ได้มีระดับสติปัญญาหรือภาวะทางจิตใจของผู้เป็นอัจฉริยะตัวจริงเลย นี่แหละคือบทเรียนบทแรกที่เราควรสรุปออกมาจากการเล่นละครตลกและการชวนทะเลาะอย่างถี่ยิบชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อนของเกาหลีเหนือ
ด้วยเหตุดังนั้น ข้อความที่จะส่งไปให้ คิม จองอึน จึงควรเป็นข้อความที่แจ่มแจ้งชัดเจนไม่มีความคลุมเครือกำกวมใดๆ นั่นก็คือ: ถ้าคุณเที่ยวก่อกวนหาเรื่อง และเกิดการสู้รบขัดแย้งขนาดใหญ่ปะทุขึ้นมาแล้ว กองทหารเกาหลีใต้และสหรัฐฯจะได้รับความเสียหายอย่างหนักหน่วงก็จริงอยู่ แต่ในท้ายที่สุดแล้วพวกเขาจะเป็นฝ่ายมีชัย และเมื่อพวกเขาเป็นผู้ชนะแล้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ก็จะถึงขั้นสิ้นสูญไม่อาจดำรงคงอยู่อีกต่อไป
บทเรียนประการที่สองก็คือ ประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้อยู่ข้างคิม จองอึน หรืออยู่ข้างเกาหลีเหนือเลย หากแต่อยู่ข้างของเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, และอิสรภาพ รัฐบาลเกาหลีใต้จักต้องเข้าใจว่านี่คือเหตุผลอันแท้จริงที่ทำไมพวกเขาไม่ควรตัวงอตัวอ่อนเมื่ออยู่ใต้แรงบีบคั้นกดดันของเกาหลีเหนือ หรือก็ดังเช่นที่ มาร์กาเรต แธตเชอร์ ผู้ล่วงลับ ได้เคยบอกกับประธานาธิบดีจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช ในตอนที่อิรักบุกเข้ารุกรานและยึดครองคูเวตว่า “ตอนนี้ไม่มีเวลาแล้วที่จะมาแสดงความโอนเอนไม่แน่นอนใดๆ”
ชุง มิน ลี (cmlee@yonsei.ac.kr) เป็นศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของบัณฑิตวิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษา (Graduate School of International Studies) มหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University)
The real lessons from North Korea’s threats
By Chung Min Lee
12/04/2013
บางทีการข่มขู่คุกคามอย่างเร่งเร้าและดุดันของ คิม จองอึน อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า จอมพลวัยหนุ่มของเกาหลีเหนือผู้นี้ยังคงกำลังพยายามที่จะพิสูจน์ตนเองต่อเหล่านายพลของเขาเท่านั้น นี่เป็นบทเรียนประการแรกจากการแสดงท่าทียั่วยุในระลอกนี้ของเขา บทเรียนประการที่สองก็คือประวัติศาสตร์นั้นนิยมชมชอบเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, และอิสรภาพ และด้วยเหตุฉะนี้ ถ้าหาก คิม ตัดสินใจที่จะเดินไปบนทางเลือกแห่งการใช้อาวุธนิวเคลียร์แล้ว เกาหลีเหนือก็จะถึงขั้นสิ้นสูญไม่อาจดำรงคงอยู่อีกต่อไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถ้าหากเกาหลีเหนือเคยเป็นทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์สำหรับจีนในช่วงเวลาแห่งยุคสงครามเย็น ราชวงศ์คิมซึ่งเป็นราชวงศ์เผด็จการเบ็ดเสร็จที่ยังหลงเหลืออยู่ในโลกรายนี้ ก็กำลังกลายเป็นหนี้สินตัวถ่วงสำหรับจีนไปแล้วอย่างรวดเร็ว ขอให้ลองพิจารณาดูจากข้อเท็จจริงที่ว่า การค้าขายที่โซลทำกับปักกิ่งนั้นคาดหมายกันว่าจะพุ่งขึ้นไปแตะระดับ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปีภายในปี 2015 ทว่าเวลาเดียวกันนั้นเปียงยางกลับยังคงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากจีนอย่างชนิดที่ถ้าขาดหายไปก็ถึงขั้นจะเป็นจะตายขึ้นมาทีเดียว สิ่งที่ดูเหมือนเป็นตลกร้ายและน่ารบกวนใจก็คือ เกาหลีเหนือกลับตอบแทนไมตรีจิตมิตรภาพและสนองความสนับสนุนทางเศรษฐกิจของฝ่ายจีนด้วยการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาและทดสอบน้ำอดน้ำทนของจีนอย่างสุดฤทธิ์สุดเดชจนถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งสำหรับอารยธรรมซึ่งเป็นผู้บากบั่นสร้างกำแพงยักษ์อันยาวเหยียดขึ้นมา ก็ยังมีขอบเขตจำกัดสำหรับการแบ่งปันการเจือจานทางการเมืองที่ดูเหมือนกับไม่มีจุดสิ้นสุดเสียทีเช่นนี้
หากยกเว้นไม่นับเรื่องอาวุธทำลายร้ายแรงที่โสมแดงมีอยู่ในครอบครองแล้ว เกาหลีเหนือก็คือรัฐที่ล้มเหลวซึ่งประสบความล้มละลายทางศีลธรรม, เศรษฐกิจก็ทรุดโทรม, และอยู่ในสภาพโดดเดี่ยวทางการเมือง คิม จองอึนนั้นมีความเชื่ออย่างถูกต้องแล้วที่ว่า จากการที่เขาก้าวผงาดขึ้นสู่อำนาจโดยปราศจากการฝึกฝนอบรมด้านการทหารอย่างเป็นทางการตลอดจนขาดไร้ประสบการณ์ที่สามารถทดแทนกันได้ใดๆ ทั้งสิ้น เขาจึงต้องสาธิตเกียรติภูมิความน่าเชื่อถือทางการทหารของตัวเขาเองให้เป็นที่ประจักษ์แก่สถาบันชั้นนำซึ่งเป็นผู้ที่ประคับประคองตัวเขาให้คงอยู่ในอำนาจ อันได้แก่ กองทัพประชาชนเกาหลี (KPA)นั่นเอง คิม จองอึน ก็เฉกเช่นเดียวกับ คิม จองอิล ผู้บิดาของเขา ตลอดจน คิม อิลซุง ผู้เป็นปู่ของเขา ทีต่างก็ตอกตรึงตนเองเอาไว้กับกองทัพโสมแดง อย่างไรก็ดี ความแตกต่างที่สำคัญมากอยู่ตรงที่ว่า กองทัพประชาชนเกาหลีนั้นให้ความเคารพยำเกรงราชวงศ์คิมอย่างที่สุดในยุคของคิม อิลซุง หลังจากนั้นความยอมรับนับถือก็ลดน้อยถอยลงมาเป็นลำดับ
ในยุคของคิม จองอิล กองทัพประชาชนเกาหลี ได้รับผลประโยชน์อันสำคัญๆ จากการให้ความสนับสนุนต่อบุตรของคิม อิลซุง ผู้นี้ เป็นต้นว่า การได้สิทธิในการดำเนินการด้านเงินตราสกุลแข็งของกองทัพเอง, การได้รับจัดสรรทรัพยากรต่างๆ สำหรับใช้ในโครงการอาวุธนิวเคลียร์, และ นโยบาย “การทหารมาก่อนเป็นอันดับหนึ่ง” ซึ่งเริ่มที่จะบดบังอำนาจและอภิสิทธิ์ต่างๆ ของพรรคผู้ใช้แรงงานเกาหลี (ชื่ออย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ) ครั้นเมื่อถึงตอนที่ คิม จองอิล ดำเนินการเร่งรัดให้ คิม จองอึน ก้าวขึ้นครองอำนาจโดยด่วน ภายหลังที่ตัวเขาเองล้มป่วยหนักด้วยอาการโรคหลอดเลือดสมองเมื่อช่วงฤดูร้อนของปี 2008 นั้น คณะผู้นำของกองทัพประชาชนเกาหลียินยอมเห็นดีเห็นงามด้วยก็เพียงเนื่องจากไม่มีใครเลยในหมู่พวกเขาที่สามารถแข่งขันเรื่องอิทธิพลบารมี และ “ความชอบธรรม” กับราชวงศ์คิมได้ หาใช่เป็นเพราะพวกเขาเชื่อถือในคุณสมบัติความเป็นผู้นำประการต่างๆ ที่แฝงฝังอยู่ในตัวคิม จองอึน แต่อย่างใดไม่
สิ่งที่ คิม อิลซุง และ คิม จองอิล สร้างขึ้นมาโดยไม่เจตนาก็คือ กองทัพซึ่งมีภารกิจใจกลางอยู่ที่การธำรงรักษาราชวงศ์คิมเอาไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ยศทางทหารและคำเรียกขานอย่างเป็นทางการของคิม จองอึน ที่ว่า “จอมพลหนุ่ม” (Young Marshall) จึงส่อไปในทางการเป็นประมุขในนาม มากกว่าบุคคลผู้ที่เป็นประมุขทรงอำนาจอันแท้จริง
เป็นด้วยจุดอ่อนฉกาจฉกรรจ์ข้อนี้เองซึ่งเป็นชนวนทำให้ คิม จองอึน ต้องลงมือกระทำการต่างๆ ด้วยความท้าทายแข็งกร้าวยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ในสายตาของฝ่ายทหารเกาหลีเหนือนั้น คิม อิลซุงคือผู้นำทางทหารที่แท้จริงเพียงคนเดียวของราชวงศ์คิม เนื่องจากเขามีเกียรติประวัติในด้านการปฏิวัติและได้เคยสู้รบในสงครามกับเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา โดยได้รับความเสียหายและความสูญเสียพอๆ กับศึกคราวนั้น ขณะที่ คิม จองอิล แม้ไม่เคยผ่านประสบการณ์ในสมรภูมิแบบที่บิดาของเขาเคยประสบ เขาก็ได้ใช้ความพยายามอย่างหนักที่จะสร้างเขี้ยวเล็บทางทหารของตนเองขึ้นมาด้วยการวางแผนการก่อการโจมตีแบบก่อการร้ายครั้งสำคัญๆ หลายครั้ง เป็นต้นว่า การโจมตีด้วยระเบิดที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่าในปี 1983 ซึ่งสังหารผลาญชีวิตสมาชิกจำนวน 18 คนในคณะผู้ติดตามของ ชุน ดูฮวาน ผู้เป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในเวลานั้น ตลอดจนการระเบิดเครื่องบินโดยสารของสายการบินเกาหลีใต้ในปี 1987 ซึ่งผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องทั้ง 115 คนเสียชีวิตหมด
การโจมตีเรือรบโชนัน และการยิงถล่มเกาะยอนพะยอง ที่ต่างก็เกิดขึ้นในปี 2010 นั้น ได้รับการเอออวยอยู่เหมือนกันว่าเป็นฝีมือการวางแผนและการบงการของคิม จองอึน แต่เนื่องจากการโจมตีเหล่านี้บังเกิดขึ้นในตอนที่คิม จองอิล ยังคงมีชีวิตอยู่ ท่านจอมพลหนุ่มจึงยังไม่ได้แสดงเกียรติภูมิความน่าเชื่อถือทางทหารของตนเองออกมาให้เป็นที่เห็นประจักษ์อย่างแท้จริง
นี่เองเป็นเหตุผลที่ทำไมพวกกลไกโฆษณาชวนเชื่อของเกาหลีเหนือจึงกำลังทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดรู้จักเหนื่อยในการพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า คิม เป็นอัจฉริยะทางการทหารทุกกระเบียดนิ้วพอๆ กับบรรพชนของเขา ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอแสดงให้เห็นคณะผู้นำอาวุโสของกองทัพประชาชนเกาหลีกำลังทำท่าประจบประแจงขณะได้รับคำสั่งต่างๆ จากท่านจอมพลหนุ่ม, พากันจดคำชี้แนะทางทหารในขณะที่เขาออกไปตรวจงานภาคสนาม, และแสดงการเยินยอซาบซึ้งในความเฉียบแหลมทางการทหารของเขา ต่างก็ชวนให้เราหวนระลึกไปถึงพวกนายพลของซัดดัม ฮุสเซน ผู้ซึ่งยกย่องสรรเสริญเขาว่าเป็น พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกลับชาติมาเกิดใหม่ทีเดียว
คิมได้เดินเข้าไปในกับดักที่ตนเองเป็นผู้วางเอาไว้ อันได้แก่กับดักแห่งการที่ตัวเขาเองจะต้องแสดงให้ประชาชนของเขาและเหล่านายพลของเขายอมรับว่า เขาสมควรจริงๆ ที่จะได้รับการอวยยศเป็นท่านจอมพลหนุ่มผู้ซึ่งสามารถที่จะนำพาประเทศชาติของเขาให้ก้าวขึ้นไปสู่จุดสูงใหม่ๆ ด้วยการกวัดแกว่งดาบที่เขาถือเอาไว้ในมือ และด้วยการแสดงความกล้าท้าทายให้เกาหลีใต้, สหรัฐฯ, จีน, และญี่ปุ่น เข้ามาเล่นงานเขาให้ได้ คิมอาจจะรู้สึกเหล่านี้จะทำให้เขาสามารถสร้างเกียรติประวัติทางทหารของตนเองขึ้นมา ถึงแม้เขาจะผ่านช่วงเวลาที่เป็นวัยรุ่นในโรงเรียนประจำอันพิเศษสุดที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และใช้ชีวิตเปรียบประดุจเทพเจ้าในทางพฤตินัย ซึ่งไม่เหมือนกับเพื่อนร่วมชาติส่วนใหญ่ที่สุดของเขาที่ต้องมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัวและความหิวโหย
แต่ก็อย่างที่ คาร์ล ฟอน เคลาเซวิตซ์ (Carl von Clausewitz) นักยุทธศาสตร์การทหารลือนามได้เคยเตือนใจเราเอาไว้ว่า “กิจกรรมอันสลับซับซ้อนใดๆ ก็ตามที ถ้าหากจักสามารถดำเนินการไปด้วยความเชี่ยวชาญชำนาญการเป็นพิเศษในระดับใดๆ แล้ว ย่อมต้องเรียกร้องพรสวรรค์แห่งสติปัญญาและพรสวรรค์แห่งภาวะทางจิตใจ ถ้าหากมันออกมาอย่างมีความโดดเด่นและเปิดเผยตนเองในความสำเร็จอันหาได้ยากยิ่งด้วยแล้ว ผู้เป็นเจ้าของพรสวรรค์นี้ก็สมควรที่จะได้รับการเรียกขานว่าเป็น ‘อัจฉริยะ’” คำกล่าวของเคลาเซวิตซ์นี้ได้เขียนเอาไว้ตั้งแต่เมื่อเกือบๆ 200 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก คิม จองอึน นั้น ไม่ได้มีระดับสติปัญญาหรือภาวะทางจิตใจของผู้เป็นอัจฉริยะตัวจริงเลย นี่แหละคือบทเรียนบทแรกที่เราควรสรุปออกมาจากการเล่นละครตลกและการชวนทะเลาะอย่างถี่ยิบชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อนของเกาหลีเหนือ
ด้วยเหตุดังนั้น ข้อความที่จะส่งไปให้ คิม จองอึน จึงควรเป็นข้อความที่แจ่มแจ้งชัดเจนไม่มีความคลุมเครือกำกวมใดๆ นั่นก็คือ: ถ้าคุณเที่ยวก่อกวนหาเรื่อง และเกิดการสู้รบขัดแย้งขนาดใหญ่ปะทุขึ้นมาแล้ว กองทหารเกาหลีใต้และสหรัฐฯจะได้รับความเสียหายอย่างหนักหน่วงก็จริงอยู่ แต่ในท้ายที่สุดแล้วพวกเขาจะเป็นฝ่ายมีชัย และเมื่อพวกเขาเป็นผู้ชนะแล้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ก็จะถึงขั้นสิ้นสูญไม่อาจดำรงคงอยู่อีกต่อไป
บทเรียนประการที่สองก็คือ ประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้อยู่ข้างคิม จองอึน หรืออยู่ข้างเกาหลีเหนือเลย หากแต่อยู่ข้างของเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, และอิสรภาพ รัฐบาลเกาหลีใต้จักต้องเข้าใจว่านี่คือเหตุผลอันแท้จริงที่ทำไมพวกเขาไม่ควรตัวงอตัวอ่อนเมื่ออยู่ใต้แรงบีบคั้นกดดันของเกาหลีเหนือ หรือก็ดังเช่นที่ มาร์กาเรต แธตเชอร์ ผู้ล่วงลับ ได้เคยบอกกับประธานาธิบดีจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช ในตอนที่อิรักบุกเข้ารุกรานและยึดครองคูเวตว่า “ตอนนี้ไม่มีเวลาแล้วที่จะมาแสดงความโอนเอนไม่แน่นอนใดๆ”
ชุง มิน ลี (cmlee@yonsei.ac.kr) เป็นศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของบัณฑิตวิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษา (Graduate School of International Studies) มหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University)